Article

บทความ จากบทวิเคราะห์เศรษฐกิจอีสาน ทั้ง ISAN Outlook และข้อมูลต่างๆ ที่เปิดเผยสู่สาธารณะ รวบรวมให้คุณรู้ทันทุกข้อมูล เศรษฐกิจ การเมือง สังคม อีสาน

“น้องอึ่ง” สัตว์เศรษฐกิจต่อยอดธุรกิจอาหารกระป๋อง

“ย่างเข้าเดือนหกฝนก็ตกพรำ ๆ กบมันก็ร้องงึมงำ ระงมไปทั่วท้องนา” เมื่อได้ยินเพลงนี้หลายคนคงจะนึกถึงบรรยากาศของท้องทุ่งชนบทที่ชโลมไปด้วยฝน ซึ่งนอกจากเสียงของความชุ่มฉ่ำในท้องนาแล้ว จะไม่พูดถึงเสียงสัตว์เล็กสัตว์น้อยอย่าง “อึ่งอ่าง” หนึ่งในสัญญาณเตือนการมาถึงของฤดูฝนก็คงไม่ได้ . เราชาว ISAN Insight & Outlook จึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ “น้องอึ่ง” สัตว์ที่เป็นเมนคอร์สในเมนู “ต้มอึ่งใส่ใบมะขามอ่อน” ที่พี่น้องอีสานหลายคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ห้ามพลาด” . ที่พูดเช่นนี้ เพราะปกติแล้วต้มอึ่งจะหากินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น คือ ในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูที่อึ่งอ่างจะออกมาเล่นน้ำ หาอาหาร และผสมพันธุ์กัน โดยพวกมันจะใช้การส่งเสียงร้องเรียกหาคู่ในขณะที่ฝนตก และหลังจากที่หมดช่วงนี้ไปอึ่งอ่างก็จะกลับไปจำศีลอยู่ใต้พื้นดิน จะออกมาให้เห็นใหม่อีกครั้งก็ช่วงฤดูฝนของปีถัดไป . อาจกล่าวได้ว่า ช่วงที่อึ่งอ่างออกมาเล่นน้ำหาอาหารถือเป็นโอกาสทองให้ใครหลาย ๆ คนออกไปจับพวกมัน เพราะนอกจากจะนำมาประกอบอาหารภายในครัวเรือนแล้ว หากเหลือก็ยังสามารถนำไปขายตามตลาดท้องถิ่นได้อีกด้วย โดยเฉพาะในแถบพื้นที่ภาคอีสานและภาคกลาง (ภาคที่คนอีสานอพยพเข้าไปทำงานมากที่สุด) . ส่วนราคาของอึ่งในช่วงฝนแรกจะขึ้นอยู่กับชนิดของอึ่ง เช่น อึ่งข้างลายจะอยู่ที่ 200 บาท/กิโลกรัม ซึ่งถ้าขายคละกับตัวมีไข่จะอยู่ที่ 250 บาท/กิโลกรัม หรือถ้าเฉพาะตัวที่มีไข่ก็ยิ่งมีราคาแพงขึ้น เฉลี่ยประมาณ 300 – 400 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงเทียบเท่ากับการซื้อเนื้อหมู เนื้อไก่ 2 – 3 กิโลเลย . น่าสังเกตว่า แม้จะมีราคาสูงตามความหายาก แต่ผู้บริโภคจำนวนมากก็ยอมจ่ายเพื่อให้ได้รับประทาน ส่งผลให้จำนวนอึ่งอ่างที่นำมาจำหน่ายในท้องตลาดยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นผู้ค้ารายใดที่สามารถนำอึ่งอ่างมาจำหน่ายช่วงนี้ได้ ก็มีโอกาสขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเช่นกัน . . สำรวจผู้เพาะเลี้ยงอึ่งอ่างในตลาด . อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้าว่า อึ่งอ่างตามธรรมชาติจะสามารถจับได้ในช่วงฤดูฝนที่มีปีละครั้งเท่านั้น นอกเหนือจากนี้คนก็ยังมีความต้องการสูงในช่วงนอกฤดู เพราะอึ่งสามารถนำมาทำเป็นเมนูอาหารที่หลากหลายไม่เฉพาะต้มอึ่งใบมะขามอ่อนได้ ไม่ว่าจะเป็นต้มยำอึ่ง ปิ้งย่างอึ่ง และต้มโคล้งอึ่ง จึงทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่มองเห็นโอกาสสร้างรายได้หันมา “เพาะเลี้ยงลูกอึ่งอ่างขาย” กันมากขึ้น . ยกตัวอย่างผู้จำหน่ายอนุบาลอึ่งอ่างรายหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี ที่สามารถสร้างรายได้จากการขายลูกอึ่งอ่างได้ถึง 32,000 บาท/สัปดาห์ โดยลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาจากจังหวัดหนองคาย ร้อยเอ็ด ชลบุรี และเพชรบูรณ์ จะรับซื้อแล้วนำไปเลี้ยงต่อจนโต ก่อนจะจำหน่ายออกสู่ท้องตลาดอีกที แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดอยู่ ยิ่งช่วงหลังที่เริ่มมีการต่อยอดไปสู่ธุรกิจอาหารที่หลากหลายขึ้นด้วย . ตัวอย่างนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา ที่เบื้องต้นจะรับซื้ออึ่งอ่างจากชาวบ้านในพื้นที่ แล้วนำไปแปรรูปเป็นต้มอึ่งบรรจุกระป๋องพร้อมรับประทาน โดยเลือกใช้อึ่งเพ้าหรืออึ่งปากขวด เพราะพวกมันมีจุดเด่นที่ไข่ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค . ส่วนกรรมวิธีการแปรรูปก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน กล่าวคือ เมื่อทำความสะอาดอึ่งและเอาไส้ออกจนหมดแล้ว ก็จะนำไปลวกพอสุก บรรจุใส่กระป๋องพร้อมราดน้ำซุปที่เตรียมไว้ลงไป ก่อนจะนำบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวไปไล่อากาศออกและปิดฝาพร้อมฆ่าเชื้อ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้ได้นานไปอีก 1 ปี . แน่นอนว่าได้รับผลตอบรับจากผู้บริโภคอย่างล้นหลาม จนการผลิตไม่ทันต่อความต้องการเช่นกัน ยิ่งแต่เดิมทีสามารถผลิตได้ประมาณวันละ 120-150 กระป๋อง เมื่อเจอสถานการณ์ COVID-19 ที่มีผลต่อการเข้าเรียนของนักศึกษา ก็ทำให้กำลังการผลิตเหลือเพียงวันละ 80 กระป๋องเท่านั้น การจำหน่ายจึงหมดได้ในระยะเวลาอันสั้น . มาถึงตรงนี้ …

“น้องอึ่ง” สัตว์เศรษฐกิจต่อยอดธุรกิจอาหารกระป๋อง อ่านเพิ่มเติม »

คุณคิดว่า “ความสุข” ของคนในสังคมเราอยู่ระดับไหน ?

จากภาพรวมความสุขของคนไทย . รายงาน The World Happiness Report 2021 ที่ดำเนินการสำรวจข้อมูลดัชนีความสุขมวลรวมของแต่ละประเทศทั่วโลก เปิดเผยว่าในปี 2020 ประเทศไทยมีดัชนีความสุขอยู่ในอันดับที่ 48 (5.885 คะแนน) ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงระหว่างปี 2017 ถึง 2019 ดัชนีความสุขของเราอยู่ในอันดับที่ 44 (5.999 คะแนน) เท่ากับว่าถดถอยลงมา 4 อันดับ (-0.114 คะแนน) . โดยเกณฑ์ที่ใช้วัดในปีนี้ ประกอบด้วย GDP ต่อหัว, อัตราการว่างงาน, สวัสดิการสังคม, จำนวนปีที่เหลือของชีวิตที่ (คาดว่า) ยังมีสุขภาพดี, เสรีภาพในการใช้ชีวิต, มุมมองของการเป็นผู้ให้, การรับรู้เกี่ยวกับคอร์รัปชัน รวมไปถึงประเด็นที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ อย่างการเสียชีวิตจาก COVID-19 ที่ทำให้ผู้สัมภาษณ์ต้องเปลี่ยนรูปแบบการเก็บข้อมูลจากการพูดคุยต่อหน้าไปเป็นการโทร . . ความสุขของคนไทยรายภาค – จังหวัด . ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ได้ทำการสำรวจความสุขของประชาชนคนไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป (ตลอดปี 2020) ผ่านคำถามสุขภาพจิต 15 ข้อในแบบสอบถามที่มีคะแนนเต็ม 45 คะแนน ผลปรากฏว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือมีคะแนนความสุขเฉลี่ยสูงสุด คือ 34.36 คะแนน รองลงมาเป็นภาคใต้ 34.18 คะแนน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 33.88 คะแนน ภาคกลาง 33.53 คะแนน ส่วนเขตกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ) มีคะแนนความสุขต่ำกว่าภาคอื่น ๆ คือ 32.06 คะแนน . หรือหากเจาะลึกเป็นรายจังหวัด ที่มีคะแนนความสุข 7 อันดับแรก จะประกอบด้วย 1.มหาสารคาม (37.39 คะแนน) 2.ชุมพร (37.21 คะแนน) 3.ชัยภูมิ (37.15 คะแนน) 4.น่าน (37.04 คะแนน) 5.ร้อยเอ็ด (36.64 คะแนน) 6.สมุทรสาคร (36.40 คะแนน) และ7.บึงกาฬ (36.37 คะแนน) ซึ่งในแรงก์นี้ถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่ามีจังหวัดในพื้นที่ภาคอีสานถึง 4 จังหวัด . โดยปัจจัยสนับสนุนที่สอดคล้องกับสภาพสังคม ไม่ว่าจะเป็นความผูกพัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทั้งกับคนในครอบครัว ชุมชน หรือที่ทำงาน ตลอดจนสภาพแวดล้อมและความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีผลอย่างมากกับความสุขของพวกเขาเหล่านี้ . …

คุณคิดว่า “ความสุข” ของคนในสังคมเราอยู่ระดับไหน ? อ่านเพิ่มเติม »

การกลับคืนถิ่น ผลของ COVID-19 จะช่วยหรือซ้ำเติมปรากฏการณ์สมองไหลของอีสาน

“จากอีสานบ้านนามาอยู่กรุง จากแดนทุ่งลุยลาย ชัยภูมิบ้านเดิมถิ่นเกิดกาย บ่ได้หมายจากจร” . ท่อนเปิดของเนื้อเพลง “คิดถึงทุ่งลุยลาย” ที่ลูกอีสานหลายคนรู้จักและร้องตามกันได้อย่างสนุกสนาน แต่นอกจากทำนองที่ช่วยกระตุ้นให้ทั้งร่างกายขยับแล้ว ก็คงเป็นเนื้อร้องที่ตรงใจใครหลายคน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องพลัดถิ่นเพื่อไปแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ในเมืองกรุง . ยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ตั้งแต่ระลอก 2 เป็นต้นมา ที่ทำให้เราได้เห็นภาพเหตุการณ์แรงงานคืนถิ่นจำนวนมาก ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเรามีการเคลื่อนย้ายประชากรจากภูมิภาคต่าง ๆ เข้าสู่เขตเศรษฐกิจหลัก อย่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไปไม่น้อยเลย . เนื่องจากแรงผลักดันทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประชากรย้ายถิ่น คือ โอกาสการมีงานทำ รายได้ การศึกษา และฐานะความเป็นอยู่ในภาพรวม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เมื่อเปรียบเทียบการย้ายถิ่นระหว่างจังหวัดแล้ว กรุงเทพฯ จะเป็นพื้นที่ที่มีการย้ายถิ่นเข้าและย้ายถิ่นออกสูงที่สุดในปี 2020 โดยเป็นการย้ายเข้าประมาณ 82,000 คน และย้ายออกประมาณประมาณ 127,300 คน จากผู้ย้ายถิ่นทั้งหมด 1.05 ล้านคน . หรือถ้าเทียบการย้ายถิ่นระหว่างภาค ในปีเดียวกันนี้ ภาคอีสานก็ทำสถิติทั้งการย้ายถิ่นเข้าและย้ายถิ่นออกจากกรุงเทพฯ สูงที่สุดเช่นกัน โดยเป็นการย้ายถิ่นเข้าประมาณ 35,800 คน และย้ายถิ่นออกประมาณ 60,400 คน จากผู้ย้ายถิ่นระหว่างภาค 0.39 ล้านคน (คิดจากผู้ย้ายถิ่นเฉพาะภายในประเทศ 1.02 ล้านคน) . ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่าการย้ายถิ่นที่ดูจะเป็นเรื่องปกติของมนุษย์นั้น สัมพันธ์กับ “ปรากฏการณ์สมองไหล” อย่างไร ? . ก่อนอื่นต้องรู้จักคำว่า สมองไหล (brain drain หรือ human capital flight) เดิมทีใช้นิยามถึงการอพยพ ของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี จากทวีปยุโรปไปยังอเมริกาเหนือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง . ต่อมาปรากฏการณ์นี้ถูกนำมาใช้อธิบายถึงประเทศใดก็ตามที่ต้องสูญเสียคนชั้นมันสมอง ซึ่งมักเป็นการอพยพออกจากประเทศของกลุ่มบุคคลที่มีทักษะหรือความรู้เฉพาะด้าน โดยที่ผ่านมาปรากฏการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาที่กำลังเผชิญปัญหาไม่ว่าจะเป็นในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือแม้กระทั่งอนามัยสิ่งแวดล้อม . เมื่อนำมาพูดในบริบทของภูมิภาค ก็จะหมายถึงผู้มีความรู้ความสามารถ ที่ควรจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภูมิภาคนั้น แต่กลับต้องอพยพโยกย้ายไปทำงานหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น ซึ่งปรากฏการณ์สมองไหล มักถูกตีความว่าเป็นการสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้อพยพบางส่วนก็นำทักษะความรู้ต่าง ๆ ที่รัฐบาลหรือบริษัทเอกชนเป็นฝ่ายสนับสนุนไปด้วย ทำให้ต้องเสียเงินทุนและเวลาในการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะสูงขึ้นมาใหม่ . แม้ในสถานการณ์ COVID-19 จะทำให้แรงงานกลับคืนถิ่นจำนวนมาก แต่หากเราลองเจาะดูในมิติเซ็กเตอร์จะพบว่า แรงงานกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักคือแรงงานที่ทำงานในภาคบริการ โรงแรม และภัตตาคาร . สอดคล้องกับผลสำรวจด้านอาชีพของผู้ย้ายถิ่นปี 2020 ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นผู้จัดทำ โดยกลุ่มใหญ่สุด คือ กลุ่มอาชีพที่ต้องใช้ทักษะปานกลางและต่ำ เช่น อาชีพงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า 1.6 แสนคน รองลงมาเป็นอาชีพพื้นฐาน เช่น คนทำความสะอาด คนงานด้านเกษตรกรรม และคนงานก่อสร้าง 1.05 แสนคน ผู้ปฏิบัติงานฝีมือในด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง 0.97 …

การกลับคืนถิ่น ผลของ COVID-19 จะช่วยหรือซ้ำเติมปรากฏการณ์สมองไหลของอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

อาชีพหลัก vs รายได้หลักของคนอีสาน

ในอดีตดินแดนอีสานผู้คนกล่าวขานถึงความแห้งแล้งและยากจน แต่ในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก พื้นที่เหล่านี้กลับกลายเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรสำคัญของประเทศ . คนอีสานกว่า 3.57 ล้านครัวเรือนประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก พื้นที่กว่า 63.9 ล้านไร่เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ประกอบด้วยพื้นที่ทำนา 41.7 ล้านหรือคิดเป็น 65% ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด . ถึงอย่างนั้นอาชีพเกษตรกรก็นับว่าเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงแต่ผลตอบแทนต่ำ (high risk, low return) ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ ระบบการผลิต กลไกราคา และอื่น ๆ อีกมากมาย . สาเหตุสำคัญที่ทำให้รายได้ของเกษตรกรอีสานต่ำ . 1. ผลผลิตต่อไร่ต่ำ จากข้อจำกัดทางกายภาพของภาคอีสาน ที่มีแหล่งชลประทานน้อยครอบคลุม พื้นที่การเกษตรเพียงร้อยละ 9.8 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด บางพื้นที่ประสบกับภัยแล้งซ้ำซาก การมีดินเค็มมากถึง ร้อยละ 30.2 ของพื้นที่การเกษตร ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ . 2. ต้นทุนการผลิตสูง ต้นทุนการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคอีสาน ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.8 ต่อปี ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.4 ต่อปี ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย . 3. เกษตรกรรายย่อยไม่มีอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างขาย ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพแตกต่างกัน และมีผลผลิตในจำนวนไม่มากนัก เมื่อขายออกสู่ท้องตลาดจึงถูกกดราคาผลผลิตให้ต่ำ เหล่าเกษตรกรเลือกที่จะผลักดันลูกหลานออกจากระบบเกษตร ให้ไปแสวงหาอาชีพอื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าและรายได้ดีกว่า อาทิ แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ไปจนถึงภาคบริการและรับจ้าง เมื่อดูจีดีพีรายภูมิภาค พบว่ามีสัดส่วนรายได้ที่มาจากนอกภาคการเกษตรกรรมสูงถึงร้อยละ 81 ส่วนภาคเกษตรมีเพียงร้อยละ 19 ในปี 2562 . กิจกรรมที่มีสัดส่วนรายได้สูงสุดในอีสาน ได้แก่ ภาคการผลิตโรงงาน (Manufacturing) มีสัดส่วนร้อยละ 24 ภาคค้าส่งและค้าปลีก การซ่อมยานยนต์ฯ (Wholesale and retail trade and repair of motor vehicles) มีสัดส่วนร้อยละ 15 และภาคการศึกษา (education) มีสัดส่วนร้อยละ 12 รายได้หลักของคนอีสานจึงไม่ได้มาจากภาคเกษตรกรรม แต่มาจากนอกภาคเกษตรกรรม . ถึงแม้ภาคอีสานจะพึ่งพารายได้จากกิจกรรมนอกภาคเกษตรกรรมในสัดส่วนที่สูง แต่ยังคงเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งปัญหาเรื่องผลิตภาพที่ต่ำกว่าทุกภาค หรือปัญหาเชิงโครงสร้างที่อยู่กับคนอีสานมายาวนาน โดยเฉพาะในเรื่องของการกระจายรายได้ . เป็นโจทย์ที่ท้าทายว่าจะทำอย่างไรให้เกิดการสร้างงานใหม่ ๆ ที่มีรายได้ สร้างความมั่นคงทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร ดึงคนที่มีคุณภาพ มีความรู้กลับมาทำงานที่ภูมิลำเนาเพื่อเพิ่มผลิตภาพ แทนที่จะย้ายไปทำงานที่กรุงเทพฯ นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้มากขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาเศรษฐกิจอีสานให้เติบโตต่อไปได้ . . หมายเหตุ: …

อาชีพหลัก vs รายได้หลักของคนอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ปลาร้าอีสาน โอกาสในการสร้างธุรกิจที่ไม่ควรมองข้าม

หากให้นึกถึงอาหารที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นของภาคอีสาน หลายคนคงจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ส้มตำ” เพราะด้วยรสชาติที่จัดจ้านทั้งความเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ได้อย่างลงตัว ผสานกับวัตถุดิบหลักที่ถือเป็นกุญแจสำคัญของความแซ่บนัวอย่าง “ปลาร้า” ก็คงไม่แปลกที่จะผลักให้อาหารจานนี้กลายมาเป็นเมนูยอดฮิตติดปากของใครหลาย ๆ คน . ปลาร้าหรือที่ภาษาอีสานเรียก “ปลาแดก” เป็นอาหารท้องถิ่นสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะปลาร้าอีสานของไทย ซึ่งต้องเล่าก่อนว่าอีสานเป็นภูมิภาคที่มีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ทำให้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ต้องหาวิธีถนอมอาหารให้สามารถรับประทานได้นานตลอดทั้งปีโดยที่ไม่เน่าเสียไปก่อน จึงเกิดกรรมวิธีการนำปลามาหมักไว้ระยะเวลาหนึ่ง เพื่อถนอมอาหารให้อยู่ได้นานขึ้น ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น “ความมั่นคงในการดำรงชีวิตของคนอีสาน” ก็ได้ . ส่วนประกอบและวิธีการทำปลาร้าของคนอีสานจะค่อนข้างแตกต่างจากพื้นที่อื่น เพราะปลาร้าจะมีสีน้ำตาลปนดำและมีกลิ่นแรงเฉพาะตัว โดยส่วนประกอบสำคัญจะมีอยู่ด้วยกัน 3 อย่าง คือ . 1.ปลา ที่นำมาทำสามารถเป็นได้ทั้งปลาขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ และเป็นปลาน้ำจืด ที่นิยมกันมากจะเป็นปลาเนื้ออ่อน เช่น ปลากด ปลากระดี่ และปลาขาว . 2. รำข้าว ใช้ใส่ในปลาร้าระหว่างที่มีการหมัก หากเป็นแบบดั้งเดิมจะเป็นรำข้าวซ้อมมือ . 3. เกลือ ในกรรมวิธีการหมักปลาร้า คือ เกลือสินเธาว์ เพราะเป็นเกลือที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นและไม่ทำให้ปลาร้าเน่าเสีย . ทั้งนี้แหล่งผลิตปลาร้าที่มีชื่อเสียงที่สุดของภาคอีสานจะอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ อุบลราชธานี ขอนแก่น และนครราชสีมา เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่ติดกับแม่น้ำที่เป็นแหล่งน้ำสำคัญของชาวอีสาน ทำให้การหาวัตถุดิบเพื่อนำมาทำปลาร้าเป็นไปโดยง่ายและมีต้นทุนต่ำกว่าที่อื่น ๆ . แม้การผลิตปลาร้าในอดีตจะเป็นเพียงการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้บริโภคภายในครัวเรือน แต่ปัจจุบันได้มีการผลิตปลาร้าเพื่อจัดจำหน่ายในเชิงพาณิชย์มากขึ้น จากธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตปลาร้าขนาดใหญ่ ที่ได้รับการสนับสนุนและพัฒนาในเรื่องของวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ รวมไปถึงกรรมวิธีการผลิตให้ถูกสุขลักษณะตามหลักสากล เห็นได้จากในปี 2561 ที่คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการผลิตปลาร้าเทียบเท่ากับมาตรฐานสากลไว้ . ประกอบกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ที่ได้สนับสนุนการลงทุน การส่งออกปลาร้า โดยได้ออกกฎหมายยกเว้นอากรขาออก และกำหนดให้ปลาร้าเป็นสินค้าที่ไม่มีการควบคุมในการส่งออกไปต่างประเทศ (เว้นแต่ประเทศผู้นําเข้าต้องการการรับรองเกี่ยวกับเรื่องใด ผู้ส่งออกก็ต้องไปขอใบรับรองก่อนการส่งออก) ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตปลาร้าสามารถขยายตัวไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้น . ที่ผ่านมาในประเทศมีกำลังการผลิตปลาร้าอยู่ที่ 20,000 – 40,000 ตัน/ปี คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 800 ล้านบาท/ปี มีอัตราการบริโภคปลาร้าประมาณ 15 – 40 กรัม/คน/วัน และมีปริมาณการซื้อขายปลาร้าทั่วประเทศคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 9 ล้านบาท/วัน หรือหากยกตัวอย่างรายได้ของผู้จำหน่ายปลาร้ารายใหญ่ท่านหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นจะอยู่ที่ประมาณ 10,000-15,000 บาท/วัน คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 4,500,000 บาท /ปี . “เม็ดเงินมหาศาลที่สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการได้ขนาดนี้ เป็นผลมาจากแนวโน้มในการบริโภคปลาร้าภายในประเทศมากขึ้น” . แล้วการจำหน่ายปลาร้าไปต่างประเทศล่ะเป็นอย่างไร ? . จากกลุ่มลูกค้าหลักที่บริโภคปลาร้าในต่างประเทศ คือ คนไทยและคนเอเชีย เช่น ลาว เวียดนาม กัมพูชา โดยตลาดที่ส่งออกสำคัญ เป็นตลาดของประเทศเพื่อนบ้านและตลาดอื่น ๆ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และตะวันออกกลางที่มีแรงงานไทยหรือคนเอเชียไปอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ผลิตภัณฑ์ปลาร้าสามารถสร้างมูลค่ารวมการส่งออกได้มากกว่า 20 ล้านบาท/ปี . …

ปลาร้าอีสาน โอกาสในการสร้างธุรกิจที่ไม่ควรมองข้าม อ่านเพิ่มเติม »

อยากได้ของถูก ไม่ต้องไปไหน รถโมบายพาณิชย์ช่วยได้

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกล่าสุด “สายพันธุ์เดลตา” ที่ทั้งรวดเร็วและก่อให้เกิดอาการรุนแรง โดยเฉพาะกับคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน จนส่งให้ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นเป็น New High อยู่หลายครั้ง ผู้คนจำนวนมากจึงตอบสนองมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ ช่วยชาติ ด้วยการหันไปซื้อสินค้าออนไลน์ ไม่ก็อาศัยรถโมบายพาณิชย์เพื่อตุนเสบียงแทน . เมื่อพูดอย่างนี้แล้ว หลายคนอาจสงสัยว่า “รถโมบายพาณิชย์” คืออะไร ? . รถโมบายพาณิชย์หรือที่รู้จักกันในชื่อ “รถพุ่มพวง” เป็นรถกระบะเปิดท้ายหรือแต่งท้ายเพื่อขายของสด ของแห้ง และของใช้จำเป็น มีลักษณะเด่นคือ สินค้าจะถูกจัดเรียงในกระบะ บางส่วนก็ใส่ถุงและห้อยเป็นพวง ๆ ไว้ทั่วตัวรถ . จากความเดือดร้อนของประชาชนตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จึงได้เปิดตัวโครงการพาณิชย์ลดราคาช่วยประชาชน ซึ่งได้นำรถโมบายพาณิชย์ตระเวนไปจำหน่ายสินค้าราคาถูกในพื้นที่ชุมชน ให้ประชาชนที่ต้องกักตัวหรือไม่สามารถเดินทางไปซื้อสินค้าสามารถซื้อสินค้าตามที่ตัวเองต้องการได้ . เริ่มจากพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แล้วขยายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ จำนวนกว่า 1,000 คัน โดยภาคอีสานเองก็ไปมาแล้วหลายจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี และศรีสะเกษ . ทั้งนี้หลายคนอาจสงสัยอีกว่ารถโมบายพาณิชย์ของกระทรวงพาณิชย์ต่างจากรถพุ่มพวงที่มีอยู่แต่เดิมอย่างไร ? . รถโมบายพาณิชย์จะขายสินค้าที่หลากหลายกว่า บางรายการราคาถูกกว่าท้องตลาด และผู้ซื้อสามารถตรวจสอบราคาได้อย่างเป็นธรรม โดยสินค้าที่มีขาย ได้แก่ หมวดอาหาร ทั้งของสดและของแห้ง หมวดซอสปรุงรส หมวดผลิตภัณฑ์ชำระร่างกาย หมวดผลิตภัณฑ์ซักล้าง หมวดของใช้ประจำวัน เช่น ครีมทาผิว ผ้าอนามัย และหมวดยารักษาโรค ซึ่งสินค้าอุปโภคบริโภคเหล่านี้บางรายการถูกนำมาลดราคาสูงถึง 60% . เพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้ประชาชน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและการบริโภคของประชาชน ให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับเกษตรกรหรือผู้ผลิตในแต่ละท้องถิ่น และเพิ่มการจ้างงาน ด้วยการจ้างผู้ขับรถกระบะในพื้นที่นั้น ๆ วิ่งขายสินค้าให้ . สำหรับผู้ที่สนใจซื้อของจากรถโมบายพาณิชย์ สามารถตรวจสอบจังหวัดหรือพื้นที่ที่รถจะไปจอด รวมถึงราคาและสินค้าที่ขายได้จากเว็บไซต์ https://xn--b3cruqnhd7jcv0m8e.com/ หรือสแกนผ่านคิวอาร์โค้ดที่ติดอยู่ข้างรถได้ โดยอาทิตย์นี้ (16-20 สิงหาคม) รถโมบายพาณิชย์จะเคลื่อนไปยังจังหวัดนนทบุรี บุรีรัมย์ และสุรินทร์ . . อ้างอิง https://bit.ly/3m0ohaZ https://bit.ly/3m36j7C https://bit.ly/3iM3FkJ

“ผังเมืองอีสาน” ภาพสะท้อนการพัฒนาระดับภูมิภาค

ถ้าพูดถึงผังเมืองในประเทศไทย หลายคนคงจะคุ้นหน้าคุ้นตากันดีกับผังเมืองของกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ถ้าพูดถึงผังเมืองในภูมิภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่มักเรียกติดปากกันว่า “ภาคอีสาน” เชื่อว่ามีคนอีกมากที่ยังไม่รู้รูปแบบ รวมไปถึงแผนการพัฒนาผังเมืองในระยะยาวว่าจะมีทิศทางอย่างไร และเป็นประโยชน์กับการดำเนินชีวิตของตัวเองมากน้อยแค่ไหน . ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่า “ผังเมือง” ในไทย เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง มีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาของประเทศในภาพรวม ผ่านนโยบายที่มีรูปแบบเป็นลำดับศักย์ของผังลงมา (คล้ายกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) จากผังประเทศ ลงมาผังภาค ผังจังหวัด และผังพื้นที่ ซึ่งแต่ละกระทรวง หน่วยงาน หรือองค์กร ก็จะต้องจัดทำแผนให้สอดคล้องกับผังนโยบายหลัก . ไม่ว่าจะเป็นการจัดระเบียบพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การเชื่อมโยงระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การรักษาสภาพแวดล้อม หรือแม้แต่การบูรณะสถานที่และวัตถุสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นและใกล้เคียงเกิดความสะดวกสบาย รู้สึกปลอดภัย สามารถเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐานได้อย่างเท่าเทียม อาจรวมไปถึงสามารถใช้ประโยชน์จากผลสำเร็จของแผนมาพัฒนาธุรกิจของตัวเองได้ . แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้น ก็ต้องรู้ด้วยว่าผังเมืองแต่ละผังมีกรอบกฎหมายที่มากำหนดและบังคับใช้ต่างกัน เช่น ในพื้นที่ที่มีการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อยู่ภายใต้การพัฒนาของภาคเอกชน ได้แก่ ย่านที่อยู่อาศัย ย่านพาณิชยกรรม ย่านอุตสาหกรรม และย่านเกษตรกรรม เราจะสามารถสร้างอะไร ห้ามสร้างอะไร หรือความสูงได้แค่ไหน (ไม่ให้บดบังทัศนียภาพ) ซึ่งรายละเอียดยิบย่อยที่ซ้อนทับกันอยู่นี้จะทำให้การจัดทำหรือแก้ไขผังเมืองเป็นไปอย่างยากลำบาก . ครั้งนี้เราจึงอยากพาทุกคน “มาเบิ่งดู” การดำเนินงานด้านผังเมืองผ่านการจัดรูปที่ดิน (Land Readjustment) ซึ่งถูกนำมาใช้มากที่สุดวิธีการหนึ่ง (แม้ยังประสบปัญหาการใช้อำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่) โดยมุ่งไปที่ภาคอีสาน ภูมิภาคที่มักมีภาพจำของชนบท ความแห้งแล้ง และยากต่อการพัฒนา ว่าในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา มีจังหวัดใดบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลงของผังเมือง . . การจัดรูปที่ดิน คือ การนำเเปลงที่ดินหลาย ๆ เเปลงมารวมกัน แล้วจัดรูปใหม่ให้เป็นระเบียบ พร้อมทั้งวางระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เเละบริการสาธารณะต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานตลอดโครงการ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาเมืองอย่างเป็นระบบควบคู่ไปกับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน . . ตัวอย่างโครงการจัดรูปที่ดินในภาคอีสานทั้งที่อยู่ในระหว่างดำเนินการและเสร็จสิ้นแล้ว . ปีงบประมาณ 2557 โครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณถนนปัทมานนท์ อําเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองกระตึ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ระยะที่ 1 . ปีงบประมาณ 2558 โครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนศรีมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสารคาม ระยะที่ 1 โครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณชุมชนตาดแคน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณชุมชนบ้านศาลาแดง ตําบลตาดทอง อําเภอเมือง จังหวัดยโสธร โครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณทุ่งนาเมี่ยง เทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย โครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ โครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณผังเมืองรวมเมืองบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา . ปีงบประมาณ 2559 โครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณตําบลแก่งเลิงจาน และตําบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสารคาม ระยะที่ 2 …

“ผังเมืองอีสาน” ภาพสะท้อนการพัฒนาระดับภูมิภาค อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top