กระแส Net Zero Emission กับโอกาสพลิกฟื้นภาคเกษตรและอาหารของอีสาน

หลายสิบปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยขยายตัวช้า ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีรายได้น้อย ประเทศยังติดกับดักรายได้ปานกลาง รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งปรับเปลี่ยนการพัฒนาเศรษฐกิจไปในรูปแบบใหม่ ซึ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy)
.
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายเศรษฐกิจแบบยั่งยืน คือ การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)
.
🧑‍🌾 ทำไมภาคเกษตรและอาหารต้องสนใจกระแส Net Zero Emission?
.
ภาคเกษตรและอาหารเป็นต้นตอสำคัญที่ทำให้เกิด Climate Change โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเกือบ 1 ใน 3 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกท้ังหมด
.
สำหรับภาคเกษตรและอาหารของไทย ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน สูงกว่าเวียดนามที่เป็นคู่แข่งสำคัญในการส่งออกสินค้าเกษตรอย่างข้าว ปศุสัตว์ รวมท้ังฟิลิปปินส์และมาเลเซียซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญในการส่งออกผลไม้
.
แต่ผู้ประกอบการเกษตรและอาหารกลับยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับเทรนด์ Net Zero Emission สะท้อนจากจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างน้อย อีกท้ังผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารส่วนใหญ่เป็น SMEs ถึง 94% ซึ่งมีข้อจำกัดท้ังในด้านเงินทุนและองค์ความรู้
.
📢 ท่ามกลาง “ความไม่พร้อม” ธุรกิจจึงต้องเร่งปรับตัว
.
ธุรกิจเกษตรและอาหารของไทยต้องเร่งปรับตัวกับเทรนด์ Net Zero Emission อย่างจริงจัง เพื่อให้สอดรับกับ BCG Economy โดยเฉพาะในมิติด้านการค้า เนื่องจากผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญมากขึ้นกับผลของอุตสาหกรรมอาหารที่มีต่อ Climate Change
.
ขณะเดียวกันประเทศผู้นำเข้าสำคัญ ๆ ก็เริ่มมีการออกกฎระเบียบหรือมาตรการทางการค้าที่มุ่งเน้นในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกหากผู้ประกอบการยังไม่ปรับตัวหรือปรับตัวไม่ทัน
.
ตัวอย่าง สหภาพยุโรป (EU) ที่เริ่มทยอยบังคับใช้ Eco-Labeling Scheme หรือการติดฉลากคาร์บอนบนผลิตภัณฑ์อาหาร รวมไปถึงมาตรการที่มีโอกาสขยายขอบเขตไปยังสินค้าเกษตรและอาหาร เช่น มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM)
.
ส่วนสหรัฐฯ ก็เริ่มมีการพิจารณาร่างกฎหมายที่กำหนดให้เก็บภาษีพรมแดนคาร์บอน (Carbon Border Tax) สำหรับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศ ยกเว้นประเทศที่มีการบังคับใช้กฎหมายที่จำกัดหรือลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ใกล้เคียงกับกฎหมายประเทศตน
.
🌾 ทำไม “อีสาน” ควรเป็นพื้นที่นำร่องของการปรับตัว?
.
ภาคอีสานมีเนื้อที่คิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ และเป็นพื้นที่เกษตรกว่า 58% โดยหนึ่งในสินค้าเกษตรแปรรูปที่ส่งออกมากที่สุด คือ ข้าวหอมมะลิ และผลิตภัณฑ์จากข้าว
.
แต่เนื่องจาก “การเพาะปลูกข้าว” เป็นกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในภาคเกษตรของไทย (50.7%) จากกระบวนการทางชีวภาพที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ ที่สร้างก๊าซมีเทนในช่วงที่มีการขังน้ำในนา ซึ่งก๊าซมีเทนแม้คิดเป็นสัดส่วนไม่มากแต่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนสูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 21 เท่า
.
ยังไม่รวมไปถึงการใช้ปุ๋ย และการเผาเศษวัสดุเหลือใช้จากการเพาะปลูก ที่ก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เช่นกัน ดังนั้นหากไม่ใส่ใจเรื่อง Net Zero Emission อนาคตอาจถูกกีดกันทางการค้าไม่ทางตรงก็ทางอ้อม โดยเฉพาะในตลาดสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ
.
กลับกัน หากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้านการลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร ร่วมกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญคอยพัฒนา วิจัย ให้คำปรึกษา ก็อาจช่วยให้ผู้ประกอบการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ง่ายขึ้น เช่น
.
– การปลูกข้าวเปียกสลับแห้ง (AWD) ที่นอกจากจะช่วยลดการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้อีกด้วย
.
– การนำสินค้าเกษตรและวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรอย่างแกลบจากข้าว ฟางข้าว ไปผลิตเป็นพลังงานสะอาด
.
– การพัฒนาเทคโนโลยีจุลินทรีย์ที่เรียกว่า Micro-Aggregates เพื่อช่วยกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ช่วยให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น อีกท้ังยังสร้างโอกาสของผู้ประกอบการในการขายคาร์บอนเครดิตได้อีกด้วย
.
สุดท้าย “ธุรกิจที่มีภาพลักษณ์ถึงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) จะไม่ใช่แค่การสร้างมูลค่า แต่ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้กับผู้ผลิตอีกทาง”
.
.
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์, ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และรายงาน Road to BCG Economy กระแส Net Zero Emission… จัดทำโดย Krungthai COMPASS
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top