“ทำน้อยได้มาก” ยกระดับภาคเกษตร ภาคเศรษฐกิจหลักของอีสาน

ยกระดับภาคเกษตร
ภาคเศรษฐกิจหลักของอีสาน สู่ฐานเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศ
.
เป็นที่น่าจับตามองเมื่อ สศช. กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำกรอบแนวคิดการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC) ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย ให้เป็นฐานเศรษฐกิจชีวภาพ หรือ NeEC – Bioeconomy ของประเทศ
.
ภายใต้โมเดล BCG ซึ่งเป็นแนวคิดการใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบด้านทรัพยากรชีวภาพ เพื่อปลดล็อกการผลิต โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในรูปแบบเดิมที่ “ทำมากถึงได้มาก” ไปสู่การผลิตแบบ “ทำน้อยแต่ได้มาก”
.
จากรายงานศึกษาการยกระดับเศรษฐกิจอีสานด้วย Bio-economy เผยแพร่โดย ธปท. ชี้ว่า หลายประเทศในยุโรปประสบความสำเร็จในการยกระดับภาคเกษตรด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ ส่งผลให้มีรายได้สูงขึ้น ซึ่งภาคอีสานเองมีความเชื่อมโยงกับภาคเกษตรสูง ทำให้มีศักยภาพในการต่อยอด และจะได้รับประโยชน์มากจากการพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจชีวภาพ
.
📌 โอกาสของอีสาน สำหรับเศรษฐกิจชีวภาพมีอะไรบ้าง
.
1. อีสานเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวิภาพสำคัญของไทย โดยมีสัดส่วนผลผลิตที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญ เช่น ข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง กว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ทั้งยังมีโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรคิดเป็น 1 ใน 5 ของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดในภาค โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์แป้ง น้ำตาล และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
.
2. ภาคเกษตรมีบทบาทสำคัญต่ออีสาน โดยมีสัดส่วนสูง คิดเป็น 1 ใน 5 ของโครงสร้างเศรษฐกิจ และแรงงานอีสานกว่า 6.5 ล้านคนอยู่ในภาคเกษตร นอกจากนี้อุตสาหกรรมอีสานส่วนใหญ่ยังเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร ที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในอีสาน
.
3. มีความได้เปรียบเชิงพื้นที่ในการเชื่อมโยงไปยังตลาดสำคัญ ตามยุทธศาสตร์ชาติที่ยกระดับให้อีสานเป็นศูนย์เศรษฐกิจนวัตกรรม และการกระจายสินค้าไปสู่อนุภูมิภาคข้างเคียง
.
4. ความพร้อมของหน่วยงานในพื้นที่ทั้งภาครัฐ เกษตรกร เอกชน สถาบันการศึกษา ที่มีการร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและการวิจัย (Innovation Center) เพื่อเป็นแหล่งศึกษา วิจัย เชื่อมโยง และถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างกันในพื้นที่อีกด้วย
.
✅ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เริ่มปรากฎให้เห็นในภาคอีสาน
.
โรงงานนํ้าตาลเริ่มต่อยอดนํ้าตาลทรายดั้งเดิมสู่ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Bio-based Chemicals สำหรับการผลิตอาหารคนและสัตว์ เช่น สารให้ความหวานที่มีแคลอรี่ตํ่า โพรไบโอติกส์ที่เป็นส่วนผสมอาหารและนม สารสกัดยีสต์จากชานอ้อย
.
การวิจัยใช้สารนาโนซิลิกอนจากแกลบทำขั้วแบตเตอรี่ พัฒนาข้าวหอมมะลิเป็นเครื่องดื่มข้าวฮางงอก ข้าวปลอดกลูเตน โรงแป้งมันสำปะหลังอุบลฯ ส่งเสริมเกษตรกรทำมันอินทรีย์
.
อย่างไรก็ตามการลงทุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภาคยังตํ่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ยังไม่มีแรงจูงใจลงทุน สะท้อนจากการขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ส่วนใหญ่เพื่อแปรรูปสินค้าเกษตรขั้นต้น
.
ด้านผู้ประกอบการรายกลางและเล็กมีข้อจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยี เพราะมีต้นทุนสูง และยังต้องการการสนับสนุน ด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ขณะที่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพยังคงมีต้นทุนสูงกว่าสินค้าดั้งเดิม ทั้งยังไม่มีความมั่นใจในตลาดว่าจะมีการรองรับหรือไม่
.
🔎 ภาคเอกชนมองการพัฒนาเศรษฐกิจอีสานอย่างไร
.
การพัฒนาเศรษฐกิจอีสานนั้นภาคเอกชนมองว่าไม่ได้เน้นไปที่เทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรมหนัก ที่ต้องใช้เครื่องจักรหุ่นยนต์สมัยใหม่เป็นหลัก แต่เน้นภาคบริการ เช่น การบริการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการเกษตรที่ยกระดับราคาให้มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับการเป็นเมืองอาหาร ที่จะให้บริการแก่ทุกเมืองในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริการการขนส่งโลจิสติกส์ การบริการด้านสุขภาพ เป็นต้น
.
การพัฒนา NeEC-Bioeconomy จึงเป็นโอกาสของเกษตรกร SMEs และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ รวมทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่ที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรม Bioeconomy ทั้งนี้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและผลักดันจากทุกภาคส่วนให้เกิดสภาวะแวดล้อมในพื้นที่ที่ทำให้เกิดการร่วมคิด วางแผน และขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างบูรณาการ เพื่อผลักดันนโยบายให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่และประเทศโดยรวม
.
.
อ้างอิง:
https://www.thansettakij.com/economy/508682
https://www.bot.or.th/…/Reg…/DocLib14/RL_Bio-economy.pdf
https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=11845…
.
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top