Thorr แบรนด์คราฟต์อีสาน

พัฒนาเสื่อกกยังไง ให้มียอดขายหลักแสนบาทต่อเดือน
.
.
เมื่อพูดถึง “งานคราฟต์” (Craft) คนรุ่นใหม่มักนึกถึงงานฝีมือที่ใส่ความร่วมสมัยลงไป ไม่ว่าจะเป็นเซรามิกคราฟต์ วู้ดคราฟต์ หรือแม้กระทั่งคราฟต์เบียร์และคราฟต์คอฟฟี่ ที่ได้แทรกซึมเข้ามาในไลฟ์สไตล์คนเมืองพร้อม ๆ กับกระแสสโลว์ไลฟ์
.
แต่ครั้งนี้ เราจะพามาทำความรู้จักกับ “Thorr” แบรนด์คราฟต์อีสาน ของคุณอุ๋งอิ๋ง-ธัญญ์นภัส กิ่งสุวรรณ ที่พัฒนาเสื่อกกธรรมดาสู่ของแต่งบ้านสไตล์โมเดิร์น จนสามารถเพิ่มมูลค่าให้หัตถกรรมพื้นบ้าน และสร้างงานสร้างโอกาสให้คนในท้องถิ่น
.
.
👆 มองเห็น “ปัญหา” ก่อนโอกาส
จากปัญหาที่ทำให้หัตถกรรมจักสานเสื่อกกของชาวบ้านไม่สามารถไปต่อได้ คือ ถูกจำกัดให้เป็นแค่เสื่อปูนั่งกินข้าว และมีแต่ลายซ้ำกัน ขาดซึ่งเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ แทบดูไม่ออกเลยว่าเสื่อผืนนี้มาจากร้อยเอ็ด มหาสารคาม หรือขอนแก่น
.
หรือหากมองแบบฉาบฉวยคงเป็นเรื่องของสีและการดีไซน์ สอง คุณภาพการผลิต ชนิดของต้นกก ความคงทนถาวร สาม ช่องทางจำหน่าย นั่นเป็นปัญหาหลักที่ทำไมเสื่อกกถึงขายในกลุ่มคนรุ่นใหม่และ Luxury ไม่ได้
.
จากการมองเห็นปัญหาดังกล่าวทางแบรนด์จึงเริ่มแก้ปัญหาด้วยการลงพื้นที่ เพื่อดูว่าเสื่อทั้งหมดมีกี่ผืน กี่ลาย และก็ได้พบว่าเสื่อที่มีแต่เดิมนั้นมีลายค่อนข้างซับซ้อน สวยแต่เยอะ ยากต่อการจดจำ ฉะนั้น เสื่อกกของแบรนด์ จึงต้องดูมีรสนิยม แต่ไม่ถึงกับ Aggressive และไม่ต้องดูเหนือกว่าคนอื่นตลอดเวลา
.
Thorr จึงตั้งจุดยืนของแบรนด์ไว้ 3 ข้อ คือ
1. ต้องจับตลาดกลุ่มบนให้ได้
2. ต้องปรับเปลี่ยนเรื่องคุณภาพและราคา
3. ต้องเป็นสากล ใช้งานได้จริง และไม่ขายดราม่า
.
ส่วนปัญหาเรื่องการทอลายเดิมซ้ำไปมา จนขาดเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นนั้น ปกติการทอจะมี 2 แบบ คือ แบบใช้อุปกรณ์ (ท่อพีวีซี) กับแบบใช้ทักษะช่างทอ ซึ่งหากจะทอแบบแรก 10 ลาย ต้องมีท่อพีวิซี 10 ชุด ทางแบรนด์จึงเลือกการทอแบบที่สอง โดยให้คนทอที่มีทักษะชำนาญสอนคนที่ทอไม่เป็น
.
เริ่มต้นจากลายที่ทอง่าย เพราะ หนึ่ง ลายมินิมอล น้อยแต่มากจะขายดี สอง ความสวยงามยังอยู่ สาม เป็นผลดีกับช่างทอ บางทีมีเพิ่มเทคนิคมัดย้อมบ้าง เล่นลายบาง อย่างลายดอกพิกุล ซึ่งเป็นหนึ่งในลายที่อยู่ในลายขิต เลือกมาเพียงลายเดียวแล้วทอซ้ำจนเกิดเป็นดอกพิกุลต่อกัน เรียกได้ว่าโมเดิร์นไปอีกแบบ
.
.
💵 ยอดขายพุ่ง “หลักแสนบาทต่อเดือน”
จากยอดขายหลักพันบาทต่อเดือน เพิ่มเป็นหลักหมื่น และปัจจุบันเป็นหลักแสนกว่าบาทต่อเดือน มีกำไร 30-40% จากตอนแรกที่เริ่มจ้างช่างทอ 2-3 คน ตอนนี้เพิ่มเป็น 30 กว่าคน
.
การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ Thorr คือการได้ไปงานแฟร์ต่างประเทศอย่าง Maison & Objet 2018 ที่ประเทศฝรั่งเศส พร้อมกับได้วางขายในไอคอนคราฟต์ ทำให้มีคนรู้จักมากขึ้น
.
สุดท้าย การเกิดขึ้นของ Thorr ไม่ได้สร้างเพียงรายได้ให้กับเจ้าของแบรนด์เท่านั้น แต่ยังเป็นการให้โอกาสชาวบ้านในชุมชนและจังหวัดข้างเคียงในภาคอีสานมีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน ได้เห็นคนสูงอายุรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า หาเงินเองได้ ไม่ต้องให้ลูกหลานส่งเงินให้ใช้ และยังได้เห็นคนรุ่นใหม่หันมาสนใจและเห็นคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น
.
.
อ้างอิง
https://readthecloud.co/thorr-living/
https://www.prachachat.net/spinoff/lifestyle/news-333386
https://atkitchenmag.com/thorr-design-home-decor/
https://www.baanlaesuan.com/…/the-maker-the-new-age-of…
.
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top