SHARP ADMIN

Go Wholesale รุกอีสาน เปิดสาขาอุดร ขอนแก่น

ชื่อบริษัท: บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด โฮลเซลล์ จำกัด ปีที่จดทะเบียน: 24 พ.ย. 2565 ทุนจดทะเบียน: 1,800 รายได้ปี 2566: 479 ล้านบาท กำไรปี 2566: -342 ล้านบาท ผู้บริหาร: คุณสุชาดา อิทธิจารุกุล สาขาอุดรธานี ลำดับสาขา: 11 วันที่เปิด: 17 ม.ค. 2568 ที่ตั้ง: 217 ถ.เลี่ยงเมืองหนองคาย ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 ขนาดพื้นที่: ตั้งอยู่บนพื้นที่ 37 ไร่ พื้นที่ขายกว่า 9,100 ตร.ม. ภาพจาก Inside Udon   สาขาขอนแก่น ลำดับสาขา: 12 วันที่เปิด: 22 ม.ค. 2568 ที่ตั้ง: 1/51 ถ.ประชาสโมสร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 ขนาดพื้นที่: ตั้งอยู่บนพื้นที่ 27 ไร่ พื้นที่ขายประมาณ 9,000 ตร.ม. ภาพจาก Khon Kaen Update   สาขาทั่วประเทศ  กรุงเทพมหานคร 3 สาขา ชลบุรี 2 สาขา ปทุมธานี 1 สาขา เชียงใหม่ 1 สาขา สมุทรปราการ 1 สาขา ภูเก็ต 2 สาขา อุดรธานี 1 สาขา ขอนแก่น 1 สาขา Go Wholesale ศูนย์ค้าส่งน้องใหม่ในประเทศไทยจากเครือเซ็นทรัลที่พึ่งเกิดใหม่ในปี 2565 และเปิดสาขาแรกในปี 2566 มีสินค้าให้เลือกมากมายกว่า 20,000 รายการ การเข้ามาของ Go Wholesale แน่นอนว่าเข้ามาเพื่อเป็นคู่แข่งกับ Makro ของเครือซีพีโดยตรง โดยทาง Go Wholesale ได้คุณสุชาดา อิทธิจารุกุล มานำทัพในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด โฮลเซลล์ ในธุรกิจเครือ CRC เป็นที่ทราบกันดีว่าคุณสุชาดา อิทธิจารุกุล เป็นผู้คร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจค้าส่งมานานเกือบ 3 […]

Go Wholesale รุกอีสาน เปิดสาขาอุดร ขอนแก่น อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง โฉนดที่ดินของเเต่ละจังหวัดในอีสาน เปลี่ยนเเปลงเพิ่มขึ้นไปมากเท่าใด ในช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมา

. โฉนดที่ดิน ถือเป็นเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินประเภทหนึ่ง ที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะใช้เอกสารดังกล่าว ในการแสดงความเป็นเจ้าของ และใช้ในการประกอบธุรกรรมด้านต่างๆ เช่น ซื้อ ขาย จำนอง เป็นต้น  . ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานจากข้อมูลของกรมที่ดินพบว่า จังหวัดนครราชสีมาเเละขอนเเก่นเป็นจังหวัดที่มีโฉนดที่ดินมากที่สุดในประเทศเป็นอันดับที่ 2  เเละ  3 เป็นรองเพียงกรุงเทพมหานคร โดยมีปริมาณเอกสารสิทธิประเภทโฉนดที่ดินอยู่ที่1,566,201 เเปลงเเละ 1,166,513  เเปลง ตามลําดับ ส่วนกรุงเทพมหานครมากสุดในประเทศอยู่ที่ 2,182,095 เเปลง จากทั้งหมด 37,272,607 เเปลงทั่วประเทศ  . ในช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมา(พ.ศ.2559- 2567) เมื่อมองถึงร้อยละการเปลี่ยนเเปลงที่เพิ่มขึ้นจะพบว่าจังหวัดที่มีโฉนดที่ดินเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือบึงกาฬ ที่ร้อยละ 22.73 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนเเปลงของทั้งภูมิภาคที่อยู่ที่ร้อยละ 15.67 ส่วนจังหวัดนครราชสีมาที่มีโฉนดที่ดินมากที่สุดกลับเปลี่ยนเเปลงเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 14.04 . โดยโฉนดที่ดินของทั้งภูมิภาคในปัจจุบันอยู่ที่ 12,343,003 เเปลง ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงในด้านการถือครองและการจัดการโฉนดที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐาน การขยายตัวของเขตเมือง และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชน ความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การสิ่งเเวดล้อม การสํารวจดูการเปลี่ยนเเปลงเอกสารสิทธ์ในที่ดิน โดยเฉพาะโฉนดที่ดินจึงมีประโยชน์เเก่ผู้ที่สนใจเเละสามารถนําข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการวิเคราะห์วางเเผนด้านต่างๆ . พาสำรวจเบิ่ง “ราคาที่ดินต่ำสุด-สูงสุด” แต่จังหวัดในภาคอีสาน ที่มา : กรมที่ดิน . ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #ที่ดิน #โฉนด #โฉนดที่ดิน

พามาเบิ่ง โฉนดที่ดินของเเต่ละจังหวัดในอีสาน เปลี่ยนเเปลงเพิ่มขึ้นไปมากเท่าใด ในช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมา อ่านเพิ่มเติม »

3 วัดชื่อดังของแต่ละประเทศเพื่อนบ้าน สายบุญห้ามพลาด!

วันนี้เราจะพามาแนะนำวัดชื่อดังที่สายบุญห้ามพลาด ต้องได้ลองไปสักครั้งหนึ่งในชีวิต   ไทย(อีสาน) – วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา  วัดเก่าแก่ในตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด เป็นวัดสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตของ พระเทพวิทยาคม หรือ “หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ” พระเกจิชื่อดังซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ ภายในวัดมีสิ่งปลูกสร้างสำคัญ ๆ อยู่หลายอาคาร ได้แก่ พระอุโบสถ พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ หอแก้ว หอระฆัง อาคารประชาสัมพันธ์ ศูนย์โอทอป (OTOP) และที่โดดเด่นสวยงามอย่างมากคือ หอเทพวิทยาคม เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา (อาคารปริสุทธปัญญา) ซึ่งเป็นอุทยานธรรม 5 ชั้น กลางบึงน้ำขนาดใหญ่    -วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่ที่ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ภายในวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วิจิตรตระการตา และเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระใส” พระพุทธรูปสำคัญคู่เมือง เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ในสมัยล้านช้าง หล่อด้วยทองสีสุก หน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว ซึ่งในช่วงวันสงกรานต์ของทุกปี จะมีการจัดงานสมโภชและขบวนแห่ให้ชาวหนองคายได้สรงน้ำหลวงพ่อพระใสเพื่อความเป็นสิริมงคลกันอีกด้วย   -วัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองยโสธร ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองยโสธร อำเภอเมืองยโสธร ภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ “พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์” หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน เป็นพระบูชาคู่บ้านคู่เมืองของยโสธรและเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำเมืองที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย และพระธาตุอานนท์ พระธาตุเก่าแก่ที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน   ลาว –วัดเชียงทอง สร้างขึ้นใน พ.ศ.2103 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เป็นวัดสวยของหลวงพระบางที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ที่นี่ถือว่าเป็นวัดเก่าแก่ และสวยที่สุดในหลวงพระบาง จนได้รับการยกย่องจากนักโบราณคดีว่าเป็น “อัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมสกุลช่างล้านช้าง” เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างตอนเหนือที่งดงามมาก  จุดเด่นที่ต้องห้ามพลาดเลยก็คือ วิหารพระม่าน และหอพระพุทธไสยาสน์ ผนังด้านนอกทาพื้นเป็นสีชมพูกุหลาบ ตกแต่งดอกลวดลายสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของเมืองหลวงพระบาง ถ้าใครได้มาเที่ยวหลวงพระบางแล้ว ไม่ได้แวะมาเยือนวัดเชียงทอง แทบเหมือนมาไม่ถึงหลวงพระบางเลยทีเดียว   –พระธาตุพูสี ตั้งอยู่บนยอดเขากลางเมืองหลวงพระบาง ที่มีความสูงถึง 150 เมตรเลยทีเดียว สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอนุรุท ประมาณปี พ.ศ.2337 และเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ของชาวหลวงพระบาง มีพระพุทธรูป และรอยพระพุทธบาทเก่าแก่ การขึ้นพระธาตุพูสี ต้องเดินขึ้นบันไดจำนวน 328 ขั้น ทางขึ้นพระธาตุมี 2 ทาง คือทางฝั่งแม่น้ำคาน กับฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งมีความสวยงามต่างกันไป อีกทั้งด้านบนยังเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยที่สุดของหลวงพระบาง สามารถมองเห็นวิวหลวงพระบางได้แบบ 360 องศาเลยทีเดียว   –วัดโพนไซ วัดโพนไซ หรือ วัดโพนชัยชนะสงคราม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2344 โดยพระเจ้าอนุรุทธราช กษัตริย์แห่งหลวงพระบาง พระอุโบสถเป็นศิลปะแบบหลวงพระบาง ในอดีตมีความเชื่อกันว่า

3 วัดชื่อดังของแต่ละประเทศเพื่อนบ้าน สายบุญห้ามพลาด! อ่านเพิ่มเติม »

อำนาจเจริญ ความท้าทายที่ต้องก้าวข้าม จังหวัดที่มูลค่าเศรษฐกิจน้อยที่สุดในอีสาน

อำนาจเจริญ อีกหนึ่งจังหวัดที่มีความท้าทายที่ต้องก้าวผ่านนั่นคือ ความเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมากที่สุดในภาคอีสาน .   ถ้าเราพูดถึงเศรษฐกิจ ย่อมมีทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ดี และไม่ดีแตกต่างกันไปในแต่พื้นที่ ที่ผ่านมาเพจ อีสาน อินไซต์ ของเพวกเราได้นำเสนอข้อมูลด้านเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัดซึ่งมีสัดส่วนตั้งแต่ดีมากไปจนถึงแย่ที่สุดและนี่เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนที่สูงมากเลยทีเดียว .   วันนี้อีสาน อินไซต์ สิพามาเบิ่ง สถานการณ์เศรษฐกิจและข้อมูลต่างๆของจังหวัด อำนาจเจริญ .   1.ข้อมูลพื้นฐาน จังหวัดอำนาจเจริญ มีขนาดพื้นที่ ประมาณ 3,161 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 374,372 คน ถือว่ามีประชากรน้อยสุดลำดับที่ 19 ในภาคอีสาน มีประชากรมากกว่ามุกดาหารเท่านั้น โดยในปี 2564 จังหวัดอำนาจเจริญมีขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด อยู่ที่ 21,693 ล้านบาท และรายได้ต่อหัวของจังหวัดอยู่ที่ 77,048 บาท .   .   2.สถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดอำนาจเจริญจะมีการผสมผสานระหว่างธรรมชาติกับธรรมะที่การสมผสานกันอย่างลงตัว อย่างพระมงคลมิ่งเมืองและพุทธอุทยานนั้น จะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์พระหน้าตักกว้าง 11 เมตร ความสูงจากระดับพื้นดินถึงยอดเปลวรัศมีกว่า 20 เมตร โดยเป็น พระมงคลมิ่งเมือง จะเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบอินเดีย ที่เข้ามายังภาคอีสาน เมื่อพันปีก่อนนั่นเอง และบรรจุพระสารีริกธาตุ ที่ได้รับมาจากประเทศอินเดียไว้ที่องค์พระด้วย ใครที่ได้มากราบไหว้ขอพรนั้น ก็เลยเหมือนได้ไปกราบไหว้พระสารีริกธาตุที่ประเทศอินเดียนั่นเอง และอีกที่นึง นั่นคือน้ำตกตาดใหญ่ เป็นสถานที่ทางธรรมชาติอีกจุดของจังหวัดอำนาจเจริญตั้งอยู่ใน ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน โดยสายน้ำแห่งนี้เกิดขึ้นมาจากลำห้วยทม ไหลผ่านพลาญหินทรายลงไป มีขนาดกว้างกว่า 30 เมตร และสูงเกือบ 2-3 เมตรเลยทีเดียว ที่สำคัญยังมีน้ำไหลกันตลอดทั้งปีอีกด้วย แต่น้ำจะเยอะมากในหน้าฝน และสวยที่สุดช่วงปลายฝนต้นหนาว   .   3.โครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจ SME ในปี 2565 จังหวัดอำนาจเจริญมีขนาดเศรษฐกิจของจังหวัด  (GPP) อยู่ที่ 21,693 ล้านบาท ด้วยตัวเลขนี้ทำให้อำนาจเจริญอยู่อันดับสุดท้ายของภูมิภาค แต่มีรายได้ต่อหัว (GPP Per Capita) อยู่ที่ 81,556 บาท อยู่ในลำดับที่ 13 ของภูมิภาค โดยจังหวัดอำนาจเจริญมีโครงสร้างเศรษฐกิจดังนี้   ภาคการบริการ คิดเป็น 49% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร อยู่ที่ 1,240 ราย ภาคการเกษตร คิดเป็น 28% โดยธุรกิจ SME ที่มากที่สุด คือ การเลี้ยงโคนมและโคเนื้อ อยู่ที่ 259 ราย ภาคการผลิต

อำนาจเจริญ ความท้าทายที่ต้องก้าวข้าม จังหวัดที่มูลค่าเศรษฐกิจน้อยที่สุดในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พลิกโฉมนครพนม กับสุดยอดโครงการคมนาคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

จังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทั้งด้านประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจ ด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) เท่ากับ 50,217,015 บาท นครพนมยังมีบทบาทสำคัญในฐานะประตูเชื่อมต่อไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 สะพานมิตรภาพแห่งนี้เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 โดยเชื่อมต่อจังหวัดนครพนมกับแขวงคำม่วนของประเทศลาว ด้วยความยาว 780 เมตร และทัศนียภาพที่สวยงามของแนวเขา สะพานแห่งนี้กลายเป็นเส้นทางสำคัญทั้งในด้านการท่องเที่ยวและการค้า ระหว่างประเทศไทย เวียดนาม และจีนตอนใต้ ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทย-ลาวแสดงให้เห็นถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังลาวที่ 6,705 ล้านบาท และการนำเข้าสินค้าจากลาวที่ 64,302 ล้านบาท สะพานแห่งนี้จึงเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนย้ายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาค โครงการพัฒนาด้านคมนาคมสำคัญในอนาคต เพื่อยกระดับศักยภาพของจังหวัดนครพนม ภาครัฐได้ผลักดันหลากหลายโครงการคมนาคมที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและการขนส่งในพื้นที่ 1. รถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม เส้นทาง: บ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3) ระยะทาง: 355 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ: 66,848 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จ: พ.ศ. 2571 ศักยภาพ: เชื่อมต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับพื้นที่เศรษฐกิจทางตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) รองรับผู้โดยสารได้ถึง 3.8 ล้านคนต่อปี เพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์เกษตร ซีเมนต์ และสินค้าอุปโภคบริโภค มากถึง 700,000 ตันต่อปี 2. ศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม พิกัด: ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม มูลค่าโครงการ: 1,300 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จ: พ.ศ. 2568 ศักยภาพ: เป็นศูนย์รวมการรวบรวม คัดแยก และกระจายสินค้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ สนับสนุนการเชื่อมโยงกับรถไฟทางคู่และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ 3. ถนนสายเชื่อมศูนย์ซ่อมอากาศยาน-ศูนย์กลางการค้าส่งชายแดน พิกัด: สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 – ทล.212 อำเภอท่าอุเทน (ระยะทาง 23.1 กิโลเมตร) มูลค่าโครงการ: 949 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จ: พ.ศ. 2568 ศักยภาพ: เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมระหว่างไทยและลาว สนับสนุนการขนส่งสินค้าด้วยระบบโลจิสติกส์ที่ครบวงจร เพิ่มโอกาสด้านการค้าและการลงทุน ด้วยศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังจะเกิดขึ้น นครพนมจึงเป็นพื้นที่ที่มีอนาคตสดใสในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการคมนาคม นอกจากจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของจังหวัด ยังส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน.   ที่มา: ประชาสัมพันธ์กระทรวงคมนาคม, กรมการขนส่งทางบก, สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครพนม, การรถไฟแห่งประเทศไทย, สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

พลิกโฉมนครพนม กับสุดยอดโครงการคมนาคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง คนอีสานยังดูโทรทัศน์/ฟังวิทยุกันอยู่บ่ เเละคนเเต่ละจังหวัดมักช่องไหนมากสุด

. การสื่อสารถือได้ว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ สามารถทำให้สังคมดำรงอยู่ได้และเกิดการผลักดันสังคม ให้พัฒนาไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งสังคมและประเทศจะพัฒนาได้นั้น ประชาชนจะต้องได้รับความรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติความเชื่อ พฤติกรรม และวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เกิดขึ้น การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้แก่ชุมชนและประเทศชาติ . เเม้ในยุคปัจจุบันผู้คนจะใช้โทรศัพย์มือถือมากขึ้น เเต่ประชาชนร้อยละ 80.7 ระบุว่ารับรู้ข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์มากที่สุด มากกว่า สื่อสังคมออนไลน์เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ติ๊กต็อก รองลงมาคือพูดคุยกับคนรอบตัว เเละวิทยุก็ยังเป็นอีกช่องทางสื่อสารที่สําคัญ . ในภาคอีสานจากการสำรวจการรับฟัง/รับชมรายการ ของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ . พบว่า ร้อยละของประชาชนที่รับชมรายการจากสถานีโทรทัศน์ มากที่สุดอยู่จังหวัดศรีสะเกษ 97.1 % รองลงมาคือบึงกาฬเเละขอนเเก่น โดยสถานีโทรทัศน์ที่รับชมมากที่สุดจะมีอยู่ 2 ช่องคือ ช่อง 7 HD เเละ ช่อง 3 HD . ส่วนวิทยุนั้นร้อยละของประชาชนที่รับฟังรายการจากสถานีวิทยุมากสุดอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด 72.9 % ส่วนน้อยสุดอยู่ที่หนองคาย 16.3 % สถานีวิทยุที่รับฟังมากที่สุด จะเป็นวิทยุชุมชนไม่ก็ สวท.   โดยช่วงเวลาที่คนอีสานรับฟังวิทยุมากสุด คือช่วง  5.00-09.00 น. เเต่รับชมโทรทัศน์มากสุดในช่วง 18.01-21.00 น. . อาชีพข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้าง ของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ รับฟังวิทยุมากสุดเป็นร้อยละ 39.2  ส่วนอาชีพอื่น ๆ เช่น พ่อบ้าน/แม่บ้าน ข้าราชการบำนาญ ชรา ว่างงาน/ไม่มีงานทำรับชมโทรทัศน์มากสุดถึงร้อยละ 90.6 . เเละจากการสํารวจ รายการที่ต้องการฟัง  ร้อยละของประชาชนที่รับฟังรายการจากสถานีวิทยุ จำแนกตามรายการวิทยุที่ต้องการรับฟัง 5 อันดับแรก 1.รายการข่าวสาร 73.7% 2.รายการเพลง 60.9% 3.รายการข่าวสารและบันเทิง 26.7% 4.รายการบันเทิง 18.7% 5.รายการท้องถิ่น 13.1% . รายการโทรทัศน์ที่ต้องการรับชม ร้อยละของประชาชนที่รับชมรายการจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ จำแนกตามรายการโทรทัศน์ที่ต้องการ รับชม 5 อันดับแรก 1.รายการข่าวสาร 68.5% 2.รายการละคร 53.2% 3.รายการข่าวสารและบันเทิง  41.8% 4.รายการบันเทิง 40.3% 5.รายการกีฬา 28.5% . ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ,กรมประชาสัมพันธ์ หมายเหตุ : เป็นร้อยละของกลุ่มตัวอย่างประชาชนผู้ตอบสัมภาษณ์ . ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่

พามาเบิ่ง คนอีสานยังดูโทรทัศน์/ฟังวิทยุกันอยู่บ่ เเละคนเเต่ละจังหวัดมักช่องไหนมากสุด อ่านเพิ่มเติม »

อ.ศรีเมืองใหม่ เอกลักษณ์ผังเมืองแปดทิศอันโดดเด่นแห่งเมืองอุบล

การวางผังเมืองถือเป็นหัวใจสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองและชุมชนให้สมดุล ยั่งยืน และตอบสนองความต้องการของประชากรในระยะยาว โดยในภาคอีสาน มีอำเภอหนึ่งที่นับเป็น “Unseen of Isan” ด้วยผังเมืองที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ลักษณะของผังเมืองแห่งนี้เป็นรูปแปดเหลี่ยมแปดทิศ ซึ่งเปรียบเสมือนใยแมงมุมที่สะท้อนถึงความเป็นระเบียบและความงดงามอย่างลงตัว อำเภอแห่งนี้คือ อำเภอศรีเมืองใหม่ ตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ความเป็นมาและความโดดเด่นของผังเมืองแปดทิศ อำเภอศรีเมืองใหม่ เดิมมีชื่อว่า “เมืองโขงเจียม” เป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ติดแม่น้ำโขง ความโดดเด่นของผังเมืองอำเภอนี้คือการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแปดเหลี่ยม โดยมีสวนสาธารณะศรีเมืองใหม่ตั้งอยู่ตรงกลาง พร้อมถนนแปดสายที่แยกออกจากสวนสาธารณะ ทำให้ภาพรวมของผังเมืองดูคล้ายใยแมงมุม ข้อดีของผังเมืองรูปแบบนี้คือความเป็นระเบียบ สวยงาม และเอื้อต่อการพัฒนาในอนาคต ไม่เพียงแต่ตอบสนองการใช้งานในปัจจุบัน แต่ยังสร้างความสมดุลระหว่างพื้นที่สาธารณะและพื้นที่อยู่อาศัยอย่างลงตัว การวางผังเมืองของอำเภอศรีเมืองใหม่เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2500 ขณะนั้นยังเป็น “บ้านศรีเมืองใหม่” ในอำเภอโขงเจียม ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอศรีเมืองใหม่ คำว่า “ศรีเมืองใหม่” หมายถึง “ที่อยู่อาศัยใหม่ที่เพียบพร้อมด้วยความสุข ความเจริญ และความสง่างาม” ซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจในการพัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็นต้นแบบของความเจริญในภูมิภาค รูปภาพจาก: กลุ่ม facebook ศรีเมืองใหม่…….บ้านเฮา   ผังเมืองแปดทิศ ความพิเศษที่พบได้ยาก ผังเมืองรูปแบบแปดทิศนี้พบได้ยากในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ในประเทศจีน มีเมืองหนึ่งที่มีผังเมืองลักษณะคล้ายกันคือ เมืองเท๋อเค่อสือ ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เมืองนี้ถูกออกแบบตามแนวคิด “ปากั้ว” ซึ่งเป็นศาสตร์ฮวงจุ้ยเกี่ยวกับพลังงานในทิศต่างๆ อีกทั้งยังเป็นเมืองเดียวในจีนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร   ธรรมชาติอันงดงามของศรีเมืองใหม่ นอกจากความโดดเด่นของผังเมืองแล้ว อำเภอศรีเมืองใหม่ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงาม อย่าง วนอุทยานน้ำตกผาหลวง ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลนาเลิน ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีเพียงชั่วโมงเศษ น้ำตกผาหลวงมีจุดเด่นในเรื่องความหลากหลายของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำตก ป่าไม้ หินผา และทิวทัศน์อันสวยงาม กิจกรรมที่สามารถทำได้ที่นี่มีหลากหลาย เช่น เดินป่า ตั้งแคมป์ ชมดาวในยามค่ำคืน หรือพักผ่อนหย่อนใจในบรรยากาศธรรมชาติ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: วนอุทยานน้ำตกผาหลวง อำเภอศรีเมืองใหม่คืออัญมณีแห่งภาคอีสานที่ไม่ควรพลาด ด้วยผังเมืองที่มีเอกลักษณ์ มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมอย่างลงตัว รูปภาพจาก: Facebook วนอุทยานน้ำตกผาหลวง ที่มา: เว็บไซต์เทศบาลตำบลศรีเมืองใหม่ Ubon Outdoor การท่องเที่ยวจีน – CNTO Bangkok 4 จังหวัด คูเมืองโบราณในอีสาน วิทยาการการจัดการน้ำในเมืองโบราณของคนในอดีต  

อ.ศรีเมืองใหม่ เอกลักษณ์ผังเมืองแปดทิศอันโดดเด่นแห่งเมืองอุบล อ่านเพิ่มเติม »

เติบโตด้วยตนเอง..‘อุดรธานี’ ถูกผลักดันจากภาครัฐน้อยกว่า ‘ขอนแก่น’ จริงหรือ?

  ความรุ่งเรืองของ ‘อุดร’ จากอดีต กระทั่ง ปัจจุบัน อุดรธานี จังหวัดใหญ่แห่งอีสานที่เจริญเติบโตมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และช่วงสงครามเย็น โดยในยุคสงครามเย็น ช่วงปี พ.ศ. 2497-2505 มีสหรัฐฯ เข้ามาช่วยพัฒนาโครงสร้างในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ถนนมิตรภาพ วางรากฐานสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมไปถึงสนามบิน ส่งผลให้ในยุคนั้น อุดรธานีเป็นที่ถึงดูดของคนต่างท้องที่ ต่างเชื้อชาติ ตั้งรกราก ไม่ว่าจะเป็น ทหารอเมริกัน คนเวียดนามที่ลี้ภัยสงคราม คนจีนที่เข้ามาค้าขาย  ส่งผลให้เม็ดเงินมหาศาลเข้ามายังอุดรธานี ซึ่งความเจริญของอุดรในยุคนั้นสะท้อนได้จากการที่มีร้านอาหาร ผับ บาร์ สถานบันเทิง อยู่เต็มเมือง มีความทันสมัยทางด้านวัฒนธรรม อาหาร แฟชั่น แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ในอีสาน   รูปภาพจาก: Yothin Samrandee    เรื่องราวในอดีตยังคงมีผลมาจวบจนปัจจุบัน โดยสภาพสังคมของเมืองอุดร หลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม มีชุมชนคนจีนและเวียดนามอาศัยอยู่มาก มีฝรั่งเดินอยู่ทั่วไป มีคนลาวเข้ามาช้อปปิ้งทุกวัน โดยยอดผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติของอุดรฯ ในช่วง ม.ค.- พ.ย. 2567 มีจำนวน 9.5 แสนคน อันดับ 2 ในอีสานรองจากเมืองติดริมโขงอย่างหนองคาย แต่พบว่าอุดรธานีมีรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ 12,508 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าหนองคายที่เท่ากับ  8,183 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าคนลาวในเวียงจันทน์ซึ่งมีกำลังซื้อสูง เดินทางผ่านเข้ามายังด่านหนองคายเพื่อเข้ามาจับจ่ายใช้สอยในเมืองอุดรนั่นเอง นอกจากนั้นตลอด 15 ปีที่ผ่านมา  สนามบินอุดรธานี ยังมีสถิติเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารสูงที่สุดอันดับ 1 ในอีสานทุกปี  โดยในปี 2566 และ 2567 มีจำนวนผู้โดยสารรวมกว่า 3.6 ล้านคน โดยอันดับ 2 คือ สนามบินขอนแก่น มีจำนวน 3.1 ล้านคน รูปภาพจาก: กรมท่าอากาศยาน Agoda เผย อุดรธานีคว้าอันดับ 1 จุดหมายท่องเที่ยวสุดคุ้ม    จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าอุดรธานีเป็นเมืองค้าขายและหมุดหมายการท่องเที่ยวที่สำคัญของทั้งคนไทยและต่างชาติ อย่างไรก็ตาม มีหลายๆเสียงที่บอกว่า อุดรธานีนั้นป็นจังหวัดใหญ่ในอีสานที่ถูกภาครัฐให้ความสำคัญน้อยกว่าจังหวัดอื่นอย่างขอนแก่น? เรื่องนี้ จริงเท็จแค่ไหน Isan insight & Outlook สิพามาเบิ่ง   ‘อุดร’ ถูกลดความสำคัญ ‘ขอนแก่น’ กลายเป็นตัวเลือกแรกของรัฐ ประเด็นนี้ต้องมองย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2500 เป็นช่วงที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เข้ามามีอำนาจทางการเมือง ได้ให้กำเนิดนโยบาย “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก” เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่างๆของไทย โดยใช้ ‘แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่หนึ่ง’

เติบโตด้วยตนเอง..‘อุดรธานี’ ถูกผลักดันจากภาครัฐน้อยกว่า ‘ขอนแก่น’ จริงหรือ? อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 10 สถานที่ท่องเที่ยวในภาคอีสานที่ควรไปเยือนสักครั้ง

. อุทยานแห่งชาติผาแต้ม (จังหวัดอุบลราชธานี) . หาดดอกเกด (จังหวัดกาฬสินธุ์) . สามพันโบก (จังหวัดอุบลราชธานี) . หินสามวาฬ (จังหวัดบึงกาฬ) . วัดป่าภูก้อน (จังหวัดอุดรธานี) . ภูทอก (จังหวัดบึงกาฬ) . ปราสาทหินพนมรุ้ง (จังหวัดบุรีรัมย์) . Blue Lagoon ภูผาม่าน (จังหวัดขอนแก่น) . หมู่บ้านช้าง (จังหวัดสุรินทร์) . เมืองเชียงคาน (จังหวัดเลย) . สถานที่ท่องเที่ยวในภาคอีสานนั้นช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในหลายด้าน เช่น รายได้จากค่าธรรมเนียมเข้าชม การจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และยังมีธุรกิจผุดขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น  ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจร้านอาหาร และการขนส่ง ที่ช่วยให้เกิดการจ้างงานคนในชุมชนต่างๆ ทำให้เกิดการกระจายรายได้ในชุมชน . รายได้จากการท่องเที่ยวภาคอีสานปี พ.ศ 2567 นั้นสูงถึง 75,366 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ากว่า 19.4% เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว รัฐบาลและเอกชนจึงต้องมีการลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ทางเดิน และสาธารณูปโภค สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลให้คนในชุมชนได้รับประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้น และผลกระทบที่ตามมาแน่นอนคือเรื่องการรักษาสิ่งแวดหากไม่การควบคุมที่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดปัญหาขยะมากมายตามสถานที่ท่องเที่ยว  . เราจึงควรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวเพื่อไม่แออัดเกินไปและเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยว อีกอย่างการส่งเสริมการใช้วัสดุรีไซเคิลยังช่วยลดปัญหาขยะ และยังสามารถส่งเสริมให้คนในชุมชนผลิตบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาห่อสินค้าผลิตภัณฑ์ชองชุมชน แถมเป็นการสร้างงานและสร้างรายได้ให้คนในชุมชนได้อีกด้วย . ที่มา: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย . ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์#สถานที่ท่องเที่ยวภาคอีสาน#ท่องเที่ยว#เที่ยวอีสาน  

พามาเบิ่ง 10 สถานที่ท่องเที่ยวในภาคอีสานที่ควรไปเยือนสักครั้ง อ่านเพิ่มเติม »

Seagate โคราช หนึ่งในผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่ของโลก

ชื่อบริษัท: บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ปีที่ก่อตั้ง (โรงงานผลิตในไทย): โรงงานเทพารักษ์ พ.ศ. 2531 โรงงานโคราช พ.ศ. 2539 โรงงานโคราช 2 พ.ศ. 2558 ทุนจดทะเบียน: 30,829 ล้านบาท ประเภทธุรกิจ: การผลิตอุปกรณ์ต่อพ่วง (26209) ส่วนแบ่งการตลาดในประเทศ: 36.36%* สำนักงานใหญ่: ฟรีมอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา HDD ของ Seagate มีรุ่นอะไรบ้าง: IronWolf / Pro Exos SkyHawk BarraCuda Portable Hard Drive   ปี รายได้รวม (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง 2565 180,663 8.34 2566 146,451 -24.79 2567 125,073 -14.59   ปี กำไรสุทธิ (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง 2565 5,318 7.56 2566 4,345 -18.3 2567 3,712 -14.57   ขนาดโรงงานการผลิตของ Seagate ทั่วโลก ประเทศ พื้นที่โดยประมาณ (ตร.ม.)** โคราช 251,000 สิงคโปร์ 140,000 มินนิโซตา 101,000 จีน (อู๋ซี) 65,000 มาเลเซีย (ยะโฮร์) 58,000 ไอร์แลนด์เหนือ 44,000 เทพารักษ์ 42,000 หมายเหตุ:  เป็นการเปรียบเทียบรายได้รวมของบริษัทกับธุรกิจทุกขนาดที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันทั้งประเทศ พื้นที่ของโรงงานเป็นการแปลงหน่อยจาก ตร.ฟุต เป็น ตร.ม. ทำให้อาจมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ฮู้บ่ว่า? ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกฮาร์ดดิสก์รายใหญ่อันดับสองของโลก เป็นรองเพียงประเทศจีนเท่านั้น โดยในปี 2566 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8,151 ล้านดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวลดลงจากปีก่อนหน้าที่ 11,537 ล้านดอลลาร์ สรอ. (-29.35%) เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศจีน และประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Drive: HDD) รายใหญ่ของโลก แต่ว่าการส่งออกนั้นไม่ใช่ในนามของแบรนด์สินค้าภายในประเทศตนเอง กล่าวคือประเทศเหล่านี้เป็นฐานการผลิตให้กับแบรนด์ใหญ่ๆ ที่มาตั้งโรงงานการผลิตภายในประเทศ ดังนั้นหากเรามองดูการครองส่วนแบ่งการตลาดของแบรนด์ผู้ขาย HDD ทั่วโลกนั้นจะพบว่าแบรนด์ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกมากที่สุดอันดับ 3 อันดับแรก

Seagate โคราช หนึ่งในผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่ของโลก อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top