SHARP ADMIN

ฮู้บ่ว่า จาก 108 พระพุทธรูปคู่เเผ่นดิน เเดนอีสานมีองค์พระปฎิมาเพียง 3 องค์ 

ฮู้บ่ว่า จาก 108 พระพุทธรูปคู่เเผ่นดิน เเดนอีสานมีองค์พระปฎิมาเพียง 3 องค์  . . พระพุทธรูปหรือพระปฏิมาเป็นสัญลักษณ์เเทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พุทธศาสนิกชนสักการะบูชาด้วยความระลึกถึงพระศาสดา พระพุทธปฏิมาทุกองค์แสดงให้เห็นถึงความ รุ่งเรื่องไพบูลย์ของพุทธศาสนาโดยประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอารามต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนอย่างแน่นแฟ้น ทั้งนำความเป็นสิริมงคลและอานุภาพแห่งพระพุทธปฏิมาปกแผ่คุ้มครองชาวไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา . จำนวน 108 เป็นตัวเลขมงคลในทางพระพุทธศาสนา ตามคัมภีร์ชิ้นาลังการฎีกาของลังการะบุว่าเป็นมงคลที่พราหมณได้เห็นจากฝ่าพระบาทของเจ้าชายสิทธัตฉะเมื่อประสูติได้ 5 วัน ดังปรากฏการจำหลักลวดลายมงคล 108 ประการที่ฝ่าพระบาทพระพุทธไสยาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามและมงคลในทางโหราศาสตร์ ซึ่งอ้างกำลังเทวดาอัฐเคราะห์ได้ 108  เช่นกัน  . กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้เลือกสรรพระพุทธปฏิมามาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองจากทั่วประเทศจํานวน 108 องค์ ตามเลขมงคลในทางศาสนาพุทธ อันเป็นหลักฐานเเสดงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาที่ประดิษฐานอย่างมุ่นคงในประเทศไทย  . โดยในภาคอีสานมีองค์พระปฏิมาที่ได้รับการเลือกสรรเพียง 3 องค์ดังต่อไปนี้  . 1.หลวงพ่อองค์ตื้อ ที่ตั้ง : วัดศรีชมพูองค์ตื้อ หนองคาย  ขนาด : ​​สูง 4 เมตร หน้าตักกว้าง 3.29 เมตร รูปแบบศิลปะ :  ล้านช้าง อายุ :  ต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ความสําคัญ : เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสําริดที่ใหญ่ที่สุดในหนองคาย เป็นที่เคารพของประชาชนทั้งสองฝั่งเเม่นํ้าโขง ตำนานที่เกี่ยวข้อง : ตำนานกล่าวถึงการหล่อพระเจ้าองค์ตื้อ วัดศรีชมพูองค์ตื้อนี้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมีพระราชดำริจะหล่อพระเจ้าองค์ตื้อขึ้นที่บ้านน้ำโหม่ง และได้ชักชวนชาวบ้านให้มาร่วมบุญ ซึ่งชาวบ้านในท้องที่และต่างถิ่นต่างนำทองเหลือง ทองแดงมาตามจิตศรัทธาได้น้ำหนักรวมกัน 1 ตื้อ มีการแยกกันหล่อเป็นส่วนๆ ในวันสุดท้ายมีการหล่อพระเกศ เริ่มตั้งแต่เช้าแต่ก็ไม่เสร็จเพราะทองยังไม่ละลายดี พอถึงเวลาเพลก็แยกย้ายกันไป ทิ้งเบ้าไว้ในเตา เมื่อกลับมาอีกครั้ง ปรากฏทองถูกเทใส่เบ้าแล้วและมีลักษณะที่งามกว่าที่คาดไว้ เมื่อสอบถามจึงรู้ว่า มีชายชรานุ่งขาวห่มขาวมายกเบ้าจนสำเร็จ   หลวงพ่อพระใส ที่ตั้ง : วัดโพธิ์ชัย  หนองคาย  ขนาด : หน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว สูง 4 คืบ 1 นิ้ว รูปแบบศิลปะ :  ล้านช้าง อายุ :  ปลายพุทธศตวรรษที่ 22 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ความสําคัญ : หลวงพ่อพระใสหรือหลวงพ่อเกวียนหักตามตํานาน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่สักการะของศาสนิกชนทั้งสองฝั่งเเม่นํ้าโขง ตำนานที่เกี่ยวข้อง : หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง ตำนานเล่าสืบต่อว่า พระธิดา 3 องค์ ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และตั้งชื่อตามนามของตนไว้ว่า พระเสริม พระสุก […]

ฮู้บ่ว่า จาก 108 พระพุทธรูปคู่เเผ่นดิน เเดนอีสานมีองค์พระปฎิมาเพียง 3 องค์  อ่านเพิ่มเติม »

ยอดรถจดทะเบียนภาคอีสานยังซบเซาตลอดปี 67

แผนที่ประเทศ กรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ รถยนต์ส่วนบุคคล 289,196 14,329 36,687 57,840 50,315 16,831 43,893 % การเปลี่ยนแปลงเที่ยบกับปี 2566 -19.0% -28.6% -31.6% -24.8% -22.6% -21.1% -25.9% รถจักรยานยนต์ 464,876 83,447 235,087 434,642 258,919 124,723 298,117 % การเปลี่ยนแปลงเที่ยบกับปี 2566 -8.1% -9.2% -12.0% -8.6% -6.4% -16.4% -0.3%   จังหวัดอีสาน รถยนต์ส่วนบุคคล % การเปลี่ยนแปลงเที่ยบกับปี 2566 รถจักรยานยนต์ % การเปลี่ยนแปลงเที่ยบกับปี 2566 ชัยภูมิ 1,928 -24.5% 14,908 -5.6% ยโสธร 1,013 -24.5% 9,056 -9.1% อุบลราชธานี 5,964 -24.4% 31,129 -6.8% ศรีสะเกษ 1,625 -28.4% 16,565 -8.7% บุรีรัมย์ 2,254 -32.4% 30,565 -22.5% นครราชสีมา 11,849 -20.7% 43,436 -10.4% สุรินทร์ 1,719 -26.1% 27,576 -3.3% อำนาจเจริญ 735 -8.6% 5,495 -5.4% หนองบัวลำภู 1,075 -23.9% 9,630 -16.7% บึงกาฬ 733 -20.8% 8,905 -12.2% หนองคาย 1,066 -33.7% 11,845 -7.3% เลย 1,489 -28.9% 16,250 16.4% อุดรธานี 6,214 -26.8% 41,532 -14.2% นครพนม 1,327 -18.4% 9,276 -4.8% สกลนคร 1,977 -27.9% 34,869 -4.5% ขอนแก่น

ยอดรถจดทะเบียนภาคอีสานยังซบเซาตลอดปี 67 อ่านเพิ่มเติม »

เปิดสถิติการมาใช้สิทธิเลือกตั้ง นายก อบจ.โคราช 2563

ISAN Insight and Outlook ขอพาย้อนดูสถิติการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563 ซึ่งในครั้งนั้น ชาวโคราชที่มีสิทธิเลือกตั้งมีจำนวนทั้งสิ้น 2,066,071 คน กระจายใน 48 เขตเลือกตั้ง มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งรวม 1,276,563 คน คิดเป็นสัดส่วน 61.8% ของผู้มีสิทธิทั้งหมด โดยมีบัตรเสีย 6.9% และบัตรที่ไม่เลือกผู้สมัครใด 5.9% . สำหรับผลคะแนนการเลือกตั้งนายก อบจ. ในปี 2563 นั้น ผู้ที่ได้รับเลือกคือ นางยลดา หวังศุภกิจโกศล ด้วยคะแนน 617,351 เสียง ซึ่งทิ้งห่างอันดับสองคือ นายสาธิต ปิติวรา ที่ได้คะแนน 255,482 เสียง ตามด้วย นายสำเริง แหยงกระโทก ในอันดับสามที่ได้ 219,041 คะแนน ส่วนอันดับสี่และห้าคือ นายวิฑูรย์ ชาติปฏิมาพงษ์ และ นายตรีเพชร พรหมนิติพันธุ์ ตามลำดับ . การเลือกตั้งนายก อบจ. นครราชสีมาในปี 2568 นี้ ถูกจับตามองอย่างมากในฐานะจุดเปลี่ยนสำคัญของจังหวัดใหญ่อันดับต้น ๆ ในภาคอีสาน ผลลัพธ์ที่ได้จะส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาของจังหวัดในอนาคตอย่างไร ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด ที่มา: สำนักคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดนครราชสีมา, องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา . #ISANInsightandOutlook #บ้านเมืองอีสาน #ISANEcon #เศรษฐกิจอีสาน #อบจ #นายก

เปิดสถิติการมาใช้สิทธิเลือกตั้ง นายก อบจ.โคราช 2563 อ่านเพิ่มเติม »

ยังห่าง 200 เท่า!! ค่าเฉลี่ยจำนวนประชากรต่อรถสันดาป vs รถไฟฟ้า

สถานการณ์ปัจจุบันของรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์น้ำมันในภาคอีสาน . ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นถึงจำนวนผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์น้ำมันในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน โดยในหลายจังหวัดยังคงมีประชากรที่ใช้งานรถยนต์น้ำมันเป็นสัดส่วนที่สูงกว่ารถยนต์ไฟฟ้าอย่างมาก ตัวอย่างเช่น:   จังหวัดขอนแก่น มีรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 10,282 คัน และรถยนต์น้ำมันถึง 922,008 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนประชากร 172 คนต่อรถไฟฟ้า 1 คัน และประชากร 2 คนต่อรถน้ำมัน 1 คัน   จังหวัดนครราชสีมา มีรถยนต์ไฟฟ้า 11,418 คัน เทียบกับรถน้ำมัน 1,430,537 คัน โดยประชากรต่อรถไฟฟ้าเท่ากับ 1 คันต่อ 230 คน   ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะเริ่มเป็นที่ยอมรับในภาคอีสาน แต่ยังคงมีจำนวนผู้ใช้งานน้อยเมื่อเทียบกับรถยนต์น้ำมันที่ยังเป็นตัวเลือกหลักสำหรับประชาชน . แต่ทว่ายานยนต์ไฟฟ้ากลับมีความสำคัญต่อเป้าหมาย Net Zero ของไทยอย่างมีนัยสำคัญ   การใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions ภายในปี 2065 ตามที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ รถยนต์ไฟฟ้าช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ เนื่องจากไม่มีการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศ เช่น PM2.5 ซึ่งก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ เป็นต้น . ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่าน แม้รถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นตัวเลือกที่ยั่งยืน แต่ภาคอีสานยังคงเผชิญกับความท้าทายหลายประการ:   1.โครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่สมบูรณ์ เช่น จำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าที่จำกัด ข้อมูลจากเว็บไซต์ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า.com เว็บไซต์ที่รวบรวมจุดบริการที่ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าระบุว่าในภาคอีสานมีสถานีชาร์จเพียงแค่ 334 จุด คิดเป็นสัดส่วน สถานีชาร์จ 1 จุด ต้องรองรับรถยนต์ไฟฟ้ามากถึง 149 คันในปัจจุบัน   2.ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าที่ยังสูง ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงได้ถึงแม้ราคาจะถูกลงกว่าช่วง 2-3ปีที่แล้วก็ตาม โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับรถสันดาปแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ที่มีรายได้ไม่มากนักยังคงตัดสินใจเลือกรถน้ำมันอยู่   3.ความเชื่อมั่นในเทคโนโลยียังเป็นข้อกังวลสำหรับผู้บริโภคหลายคน เนื่องจากเรามักจะเห็นข่าวว่ามีอุบัติเหตุเกี่ยวกับแบตเตอรี่ของยานยนต์ไฟฟ้าอยู่บ่อยครั้ง บ้างเสียหายเล็กน้อย บ้างก็อันตรายถึงขั้นระเบิด ทำให้ความเชื่อมั่นในเทคโนโลยียังต้องพิสูจน์ให้ผู้บริโภคอยู่ . บทสรุปการเปลี่ยนผ่านจากการใช้รถยนต์น้ำมันไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าในภาคอีสานไม่เพียงแต่ช่วยลดมลพิษทางอากาศ แต่ยังเป็นก้าวสำคัญสู่เป้าหมาย Net Zero ของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการเปลี่ยนผ่านนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งรัฐบาล เอกชน และประชาชน เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น .   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #รถไฟฟ้า #รถEV #รถยนต์

ยังห่าง 200 เท่า!! ค่าเฉลี่ยจำนวนประชากรต่อรถสันดาป vs รถไฟฟ้า อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง “ไทยเด็ด” รวมสินค้าเด็ดๆจากแดนอีสานบนเว็บไทยเด็ด

พามาเบิ่ง “ไทยเด็ด” รวมสินค้าเด็ดๆจากแดนอีสานบนเว็บไทยเด็ด . ก่อนอื่นต้องพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ “ไทยเด็ด” กันเสียก่อน โครงการ “ไทยเด็ด” โดยบริษัท PTT OR เป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าท้องถิ่นจากชุมชนทั่วประเทศไทย โดยเลือกสรรสินค้าที่โดดเด่นจากผู้ประกอบการในท้องถิ่น โดยสินค้าจะแบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ 1.เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ 2.เครื่องดื่ม 3.ของใช้ และ 4.อาหาร โดยวางจำหน่ายในพื้นที่เฉพาะที่เรียกว่า “มุมสินค้าไทยเด็ด” ภายในสถานีบริการน้ำมัน PTT ทั่วประเทศ หลังจากได้รู้จักกับ ไทยเด็ด ไปคร่าวๆกันแล้ว ขอให้อีสานอินไซต์ได้พาทุกท่านไปทำความรู้จักผลิตภัณฑ์เด็ดๆบางส่วนจากอีสานที่อยู่ในโครงการไทยเด็ดกันต่อเลย . โดยเริ่มที่ เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ เป็นหมวดแรก ตัวอย่างสินค้าเช่น 1. ”ผ้าทอย้อมคราม บ้านดอนกอย” จากจังหวัดสกลนคร ผลิตผ้าโดยใช้เส้นใยจากธรรมชาติที่เป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่น มั่นใจได้ด้วยมาตรฐาน มผช. และ OTOP 5 ดาว 2.กระเป๋าจากแดนนครราชสีมา “ผ้าไหมไทย ฅญาบาติก” ผลิตภัณฑ์จากผืนผ้าไหมแท้ 100 % ที่ใช้เทคนิคบาติกในการสร้างสรรค์งาน มาตรฐาน มผช.   ต่อมาที่หมวด เครื่องดื่ม ในหมวดนี้ค่อนข้างน่าสนใจเนื่องจากสินค้าจากแดนอีสานมีเพียงแค่ 1 ชิ้นเท่านั้น นั่นก็คือ “น้ำมัลเบอร์รี่ ตราโนอาห์วี่” จากจังหวัดขอนแก่น ผลต้นหม่อน (Mulberry) สามารถนํามาแปรรูปได้หลากหลาย ที่ผ่านมาตรฐาน อย. เป็นที่เรียบร้อย โดยตลาดเครื่องดื่มยังมีผู้เล่นแค่รายเดียว นี่อาจเป็นโอกาส ที่ดีของผู้ประกอบการที่ต้องการเล่นในธุรกิจนี้เลยทีเดียว   หมวดที่สามคือ ของใช้ ซึ่งตัวอย่างของสินค้าหมวดนี้ได้แก่ 1. “ไม้นวด Kanyawooden” ไม้นวดคุณภาพเยี่ยมจากบุรีรัมย์ พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตหัตถกรรมจากไม้ตาลบ้านหนองบอน พร้อมเครื่องการันตีอีกมากมายไม่ว่าจะเป้น มผช., OTOP 5 ดาว, OTOP Select และ สิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา 2. “สารบำรุงพืชชีวภาพ BioVis” สารบำรุงพืชที่มีคุณภาพด้วยกระบวนการทางชีวภาพ จากอำนาจเจริญ ด้วยแนวคิดส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy เปลี่ยนสิ่งที่ไม่มีมูลค่าอย่างเศษอาหารให้มีมูลค่า และมีประโยชน์ขึ้นมา   หมวดที่มีสินค้าจากอีสานเยอะที่สุด “อาหาร” (มีมาตรฐาน อย. ทุกชิ้น) อาจเป็นเพราภาคอีสานที่มีความอุมสมบูรณ์ มีอาหารที่เป็นเอกลักษณ์และหลากหลาย จึงมีสินค้ามากกว่าหมวดอื่นอยู่หลายเท่าตัว โดยตัวอย่างของสินค้าในหมวดนี้ได้แก่ 1. “ขนมจีนไทยอบแห้ง ตรา Mr.BOB ข้าวกล้อง” สินค้าจากจังหวัดกาฬสินธุ์ สินค้าอบแห้งที่ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารสามารถทานได้อย่างปลอดภัย 2. “ผัดหมี่โคราชพร้อมซอสผัดสำเร็จรูป ร้านเพ็ญนภา” ของขึ้นชื่อจากเมืองโคราช รสชาติที่กลมกล่อม เข้มข้น เป็นเอกลักษณ์แบบฉบับหมี่ตะคุท้องถิ่นแท้ๆ และ 3.

พามาเบิ่ง “ไทยเด็ด” รวมสินค้าเด็ดๆจากแดนอีสานบนเว็บไทยเด็ด อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง💄💋 Watsons เปิดครบ77 จังหวัดเมื่อปีที่เเล้ว เเล้วในอีสานมีกี่สาขา

พามาเบิ่ง Watsons เปิดครบ77 จังหวัดเมื่อปีที่เเล้ว เเล้วในอีสานมีกี่สาขา   ความสวยงามและสุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญจนเป็นเทรนด์ที่คนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจมากกว่าในอดีต ธุรกิจด้านความงามและสุขภาพก็เติบโตขึ้นทุกปี หากพูดถึงร้านค้าค้าปลีกด้านสุขภาพและความงามหลายคนคงนึกถึง Watsons เเต่ทราบหรือไม่ว่าร้านค้าปลีกนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากฮ่องกงเเละมีอายุเกือบ 200 ปีมาเเล้ว    ชื่อร้าน Watsons มีที่มาจากโทมัส บอสเวลล์ วัตสัน (Thomas Boswell Watson) ผู้ก่อตั้ง โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นร้านขายยาในฮ่องกง ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2384  ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เอ.เอส. วัตสัน กรุ๊ป ผู้ค้าปลีกด้านสุขภาพและความงามระดับสากลที่ใหญ่ที่สุดในโลก  เข้ามาในประเทศไทยภายใต้เครือเซ็นทรัลจดทะเบียนในชื่อบริษัท เซ็นทรัล วัตสัน จํากัด    เส้นทาง “วัตสัน” ในประเทศไทย พ.ศ. 2539 เปิดสาขาเเรก ที่ตึกมณียา เซ็นเตอร์ พ.ศ. 2548 ครบรอบ 9 ปี พร้อมฉลองครบ 100 สาขา พ.ศ. 2555 เปิดสาขาครบในภาคตะวันตก พ.ศ. 2557 เปิดสาขาครบในภาคตะวันออก พ.ศ. 2558 ฉลองครบรอบ 333 สาขา พ.ศ. 2561 ฉลองครบรอบ 500 สาขา พ.ศ. 2562 เปิดสาขาครบในภาคกลาง พ.ศ. 2564 เปิดสาขาครบในภาคใต้ พ.ศ. 2565 เปิดสาขาครบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2566 เปิดสาขาครบในภาคตะวันออกภาคเหนือเเละครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย   ถือเป็น Watsons ร้านเพื่อสุขภาพและความงามรายเเรกที่เปิดครบ 77 จังหวัดเเละตั้งเป้าจะเปิดเพิ่มปีละ 50 สาขา Watsons ในปัจจุบันปี 2567 ทั่วประเทศมี 742 สาขา ในอีสานมี  130 สาขาเป็นรองจาก กทม โดยนครราชสีมามีจํานวนสาขามากสุดที่ 22 สาขา    โดย Watsons มีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่โดดเด่นคือ โปรโมชัน  “ชิ้นที่สอง 1 บาท”  ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์เรือธงของธุรกิจเเละมีในส่วนแคมเปญโปรโมเชื่อม ชอป-เชื่อม-ลด  ช่องทางการขายในรูปแบบ O+O (Offline Plus Online) เชื่อมโลกช้อปปิงออฟไลน์และออนไลน์ ที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างมาก อีกทั้งยังมีการจําหน่ายผลิตภัณฆ์จากเเบรนด์ของ Watsons เอง    หากมองไปที่ผลประกอบการ จะพบว่ารายได้เเละกําไรของ Watsons เป็นบวกเเละกําลังเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังโควิด 19

พามาเบิ่ง💄💋 Watsons เปิดครบ77 จังหวัดเมื่อปีที่เเล้ว เเล้วในอีสานมีกี่สาขา อ่านเพิ่มเติม »

เผย Fan-Art 3D น้องปูกลอง ต่อยอดจาก Mascot 2D จังหวัดมหาสารคาม

เผยภาพเรนเดอร์ 3 มิติ “น้องปูกลอง” งานแฟนอาร์ตจาก Thitiphat Thepwiriviriyaphong หนุ่มร้อยเอ็ด ได้เผยแพร่การสานต่อผลงาน Mascot ที่จะชนะการประกวดของจังหวัดมหาสารคาม ในกลุ่ม Blender Community Thailand จนได้รับคำชื่นชมในผลงานกันอย่างล้นหลาม . หลังจากมีกระแสในโซเชียลมีเดียในหลากหลายความเห็น ล่าสุด ทางหน่วยงานได้ออกแถลงการณ์ จังหวัดมหาสารคาม ออกแถลงการณ์ชี้แจงประเด็น ผลการประกวดมาสคอตประจำจังหวัดฯ ยืนยันตัดสินด้วยความโปร่งใสและคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของจังหวัดมหาสารคามเป็นสำคัญ ตามที่จังหวัดมหาสารคาม มอบหมายให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม ดำเนินโครงการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ จังหวัดมหาสารคาม กิจกรรม การประกวดและจัดทำมาสคอต (Mascot) จังหวัดมหาสารคาม เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม ในการกระตุ้นการท่องเที่ยว และส่งเสริมการตลาด เผยแพร่ภาพลักษณ์ชื่อเสียงของจังหวัด รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัด โดยมีการประกาศผลการประกวดฯ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา นั้น จากกระแสความคิดเห็นของประชาชนที่แสดงความกังวลและตั้งคำถามเกี่ยวกับ ผลการประกวดมาสคอต ประจำจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งจังหวัดมหาสารคามขอขอบคุณสำหรับความสนใจและข้อเสนอแนะ ที่มีต่อกิจกรรมครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง จังหวัดมหาสารคามขอเรียนชี้แจงในส่วนของเกณฑ์การตัดสินมี 5 ด้าน ซึ่งได้แจ้งประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางของสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย 1. แนวความคิดในการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ 2. การสื่อความหมายเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของจังหวัด เพื่อใช้เป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวของจังหวัดมหาสารคาม 3. ความสวยงามและความครบถ้วนสมบูรณ์ขององค์ประกอบ 4. ความโดดเด่น จดจำง่าย และความเด่นชัด 5. ความเหมาะสมและการใช้งานได้จริงในการประชาสัมพันธ์ กระบวนการตัดสินผลงานมี 2 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1: จังหวัดมหาสารคามได้จัดให้มีการโหวตมาสคอตที่ส่งมาประกวดทุกผลงานผ่านทาง Google Form ในระหว่างวันที่ 12 – 22 ธันวาคม 2567 โดยผลงานที่มียอดโหวตอันดับที่ 1 – 5 จะผ่านเข้ารอบตัดสินในรอบที่ 2 รอบที่ 2: จังหวัดมหาสารคามได้เชิญผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมต่าง ๆ ภายในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 205 ท่าน เพื่อร่วมพิจารณาตัดสินผลงาน โดยเจ้าของผลงานที่ผ่านเข้ารอบจะต้องมานำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยผลงานที่ชนะการประกวดในครั้งนี้ ได้แก่ “น้องปูกลอง” เจ้าของผลงาน : นางสาวอิสราภรณ์ ลามี จังหวัดมหาสารคามขอเรียนว่า การตัดสินในครั้งนี้ดำเนินไปด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของจังหวัดมหาสารคามเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนทุกท่านจะถูกนำไปปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมในอนาคต เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและสะท้อนเสียงของประชาชนให้มากยิ่งขึ้น และขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามและร่วมกันพัฒนาจังหวัดมหาสารคามของเรา

เผย Fan-Art 3D น้องปูกลอง ต่อยอดจาก Mascot 2D จังหวัดมหาสารคาม อ่านเพิ่มเติม »

ติดลบต่อเนื่อง!! บ้านสร้างใหม่ในอีสาน จังหวัดส่วนใหญ่ยังหดตัว ตลอดปี 67

  หมายเหตุ: บ้าน ในที่นี้นับรวมเฉพาะ บ้าน, บ้านแฝด, บ้านแถว, ทาวน์เฮาส์ และทาวน์โฮม   สถานการณ์การสร้างบ้านใหม่ในภาคอีสานหดตัวหนักแบบ YoY . จากข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างบ้านใหม่ในภาคอีสาน พบว่ามีการลดลงของตัวเลขแบบปีต่อปี (YoY) ในหลายจังหวัดอย่างชัดเจน ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม และต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับเดือนพฤศจิกายน ปี 2567 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปี 2566 หลายจังหวัดในภาคอีสานมีสถิติการสร้างบ้านใหม่ที่ลดลงอย่างมาก โดยบางจังหวัดมีการลดลงสูงถึง 31% เช่น จังหวัดบุรีรัมย์ ขณะที่จังหวัดที่มียอดการสร้างบ้านเพิ่มขึ้น เช่น สุรินทร์ +166% . ภาพรวมของการลดลงในภาคอีสานในหลายจังหวัด เช่น ขอนแก่น -28%, นครราชสีมา -20%, และอุดรธานี -1% การหดตัวของสถิติการสร้างบ้านใหม่สะท้อนถึงการชะลอตัวในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ ข้อมูลบ่งชี้ว่าปัจจัยหลายประการอาจส่งผลต่อสถานการณ์ดังกล่าว เช่น   1.กำลังซื้อที่ลดลงของประชาชน ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค ส่งผลต่อรายได้และกำลังซื้อของประชาชน โดยเฉพาะในภาคอีสานที่เน้นเกษตรกรรม และราคาสินค้าเกษตรช่วงนี้ก็ไม่แน่นอน ซ้ำยังมีหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงราว 90% ซึ่งบ่งบอกถึงภาคประชาชนนั้นมีปัจจัยอยู่มาก 2.อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวในระดับประเทศส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคอีสาน นักลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์มีความระมัดระวังมากขึ้นในการพัฒนาโครงการใหม่ 3.การย้ายถิ่นฐานของคนรุ่นใหม่ จากชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เกิดจากหลายปัจจัย เช่น โอกาสในการทำงานที่หลากหลายและรายได้ที่สูงกว่า รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า เช่น การเข้าถึงบริการสุขภาพ การศึกษา และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และแนวโน้มของคนรุ่นใหม่นิยมเช่าอยู่มากขึ้น . ข้อมูลที่น่าสนใจของปี 2567 และปีอื่นๆ พบว่าสถิติการสร้าบ้านใหม่มี High Season ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งมีตัวเลขสูงกว่าช่วงเดือนอื่นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ในเดือนมกราคม จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวนการสร้างบ้านใหม่สูงสุดที่ 1,188 หลัง แต่ในเดือนพฤศจิกายนเหลือเพียง 932 หลัง (-21% จากเดือนมกราคม) หรือจังหวัดขอนแก่น เริ่มต้นที่ 752 หลังในเดือนมกราคม และลดลงเหลือ 638 หลังในเดือนพฤศจิกายน -15%   ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น ปัจจัยทางฤดูกาลที่สภาพอากาศในช่วงต้นปีมักจะเป็นฤดูแล้ง ทำให้การก่อสร้างดำเนินไปได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการและประชาชนเริ่มต้นแผนการลงทุนหลังจากสิ้นปีที่ผ่านมา รวมถึงโปรโมชั่นทางการเงินจากธนาคารที่มักมีในช่วงต้นปีเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจสร้างบ้านใหม่ อย่างไรก็ตามเราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าตัวเลขการบ้านใหม่ของภาคอีสาน ลดลงจากหลายที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด ด้วยปัจจัยที่ได้กล่าวไปข้างต้น . โดยสรุปการลดลงของสถิติการสร้างบ้านใหม่ในภาคอีสานเป็นภาพสะท้อนของปัญหาเศรษฐกิจและโครงสร้างในระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ด้วยมาตรการที่เหมาะสมและการสนับสนุนที่ตรงจุด การฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอีสานยังคงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในอนาคต สู้ต่อไปพี่น้อง! . ที่มา: กรการปกครอง, ธนาคารแห่งประเทศไทย ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight

ติดลบต่อเนื่อง!! บ้านสร้างใหม่ในอีสาน จังหวัดส่วนใหญ่ยังหดตัว ตลอดปี 67 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามกำลังแซงหน้าประเทศไทย?

ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามกำลังแซงหน้าประเทศไทย! สถานการณ์การส่งออกข้าวทั่วโลกในปี 5 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่ารวมเฉลี่ยสูงถึง 9 แสนล้านบาท สำหรับประเทศผู้ส่งออกทั้งหมด เมื่อเทียบกับปี 2019 สะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์ที่ผู้คนต้องการบริโภคข้าวมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ก็มีการแข่งขันเพื่อขยายตลาดส่งออกข้าวให้ครอบคลุมทั่วโลก . โดย ไทย และ เวียดนาม ถือเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 และ 3 ของโลกเป็นรองอินเดีย โดยในปี 2020-2021 จะพบว่าเวียดนามมีการส่งออกแซงไทย . . สาเหตุที่เวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้นทุนแรงงาน: เวียดนามมีต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่าไทย ทำให้สามารถผลิตข้าวในราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น เทคโนโลยีการเกษตร: รัฐบาลเวียดนามสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ในระดับที่สูงกว่าไทย (เฉลี่ยประมาณ 970 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ไทยประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่) ความยืดหยุ่นในการทำการค้า: เวียดนามมีความสามารถในการเจรจาข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ ซึ่งช่วยลดอุปสรรคทางภาษีและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การขยายตลาดใหม่: เวียดนามเน้นการขยายตลาดส่งออกข้าวไปยังประเทศในแอฟริกา, จีน, และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีความต้องการข้าวราคาประหยัดและข้าวที่มีคุณภาพหลากหลาย   ความต่างของการส่งออกข้าวระหว่างไทยกับเวียดนาม เวียดนามส่งออกข้าวเกรดรองในปริมาณมาก ซึ่งมีราคาที่ต่ำกว่าและเป็นที่ต้องการของตลาดประเทศกำลังพัฒนา เช่น แอฟริกาและเอเชียใต้ ในขณะที่ไทยมุ่งเน้นการส่งออกข้าวหอมมะลิและข้าวเกรดพรีเมียมที่มีราคาสูง ทำให้เสียส่วนแบ่งตลาดข้าวทั่วไปให้กับเวียดนาม   ปี ไทย(ล้านตัน) เวียดนาม(ล้านตัน) 2019 7.6 6.4 2020 5.7 6.2 2021 6.1 6.2 2022 7.7 7.1 2023 8.7 8.1 จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2563-2566 ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปี 2566 เวียดนามสามารถส่งออกข้าวได้มากกว่าไทย . แม้ไทยจะถูกหลายชาติแซงหน้าด้วยกำลังการผลิตที่สูงกว่า อีกทั้งปัญหาของการส่งออกข้าวไทย สาเหตุสำคัญคือ ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง ค่าเงินบาทแข็ง พันธุ์ข้าวไทยไม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค สร้างผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยมูลค่านับหมื่นล้านบาท . ขณะที่ตลาดสำคัญของข้าวหอมมะลิยังคงนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เช่น สหรัฐฯ แคนาดา ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คาดว่า หลังจากนี้ตลาดจะกลับเข้าสู่ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงอีกครั้ง เนื่องจากอินเดียได้ยกเลิกมาตรการจำกัดการส่งออก ทั้งการยกเลิกภาษีส่งออกและการกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำ ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกของอินเดียสามารถส่งออกได้โดยไม่มีข้อจำกัด ประกอบกับอินเดียยังมีอุปทานข้าวปริมาณมากและราคาค่อนข้างต่ำ . อีกทั้งการส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืน กลายเป็นนโยบายหลักที่แต่ละชาติให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของข้าวให้เป็นที่นิยมและครองส่วนแบ่งการตลาดให้ได้มากที่สุดแล้ว ยังได้ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ที่จะลดการสร้างมลภาวะจากเกษตรกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยไทยเล็งไปที่การพัฒนาคุณภาพและส่งออกข้าวเกรดพรีเมียมราคาสูงมากขึ้นนั้นเอง . ที่มา เว็ปไซต์: fftc.org,กระทรวงพาณิชย์,statista

พามาเบิ่ง ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามกำลังแซงหน้าประเทศไทย? อ่านเพิ่มเติม »

ข้อมูลน่าฮู้ 🇹🇭อีสาน กับ 🇨🇳จีน

สิพามาเบิ่ง ข้อมูลน่าฮู้ของอิสาน กับ จีน   . ภาคอีสานของไทย และประเทศจีนแม้ว่าจะเปรียบเทียบกันได้ยากในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากขนาดของพื้นที่ จำนวนประชากร รวมถึงทรัพยากรที่ต่างกันมาก แต่ด้วยประวัติศาสตร์ การย้ายถิ่นฐานของประชากร และการค้าที่มีร่วมกันมาอย่างยาวนาน จึงทำให้ภาคอีสานส่วนหนึ่งก็ได้รับอิทธิพลมาจากจีนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงของอีสานยังคงต้องพึ่งพาจีนเป็นหลัก เนื่องจากการเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งนำมาสู่โอกาสมากมายที่นำมาซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ภาคอีสานรวมถึงประเทศไทยจำเป็นต้องมองเห็นความสำคัญ   . ➤ด้านเศรษฐกิจ ภาคอีสาน: เศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมมีรายได้จากการปลูกข้าว ข้าวโพด อ้อย และยางพารา มี GRP อยู่ที่ 1.76 ล้านล้านบาท โดยที่มีค่าแรงขั้นต่ำโดยเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2567 อยู่ที่ 343 บาทต่อวันและมีรายได้เฉลี่ยต่อประชากรอยู่ที่ 95,948 บาทต่อปี นอกจากนี้อิสานยังมีประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักคือ ลาว, จีน และเวียดนาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งสัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ของภาคอิสานที่ต้องการจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศในแถบ GMS นี้ โดยในปัจจุบัน การนำเข้าสินค้าฝั่งอีสานมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากจีนมากขึ้นเป็นอันดับที่ 1 แซงหน้าลาวที่เคยเป็นประเทศที่เรานำเข้าสินค้ามากที่สุดในครั้งอดีต ซึงเกิดขึ้นจากรถไฟลาวจีน ที่เป็นทางเชื่อมสำคัญในการลำเลียงสินค้าทั้งจากจีนมาไทย และจากไทยไปยังจีน   จีน : เป็นประเทศมหาอำนาจที่มีขนาดเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้ามากที่สุดในโลก โดยมีสินค้าสำคัญอย่าง อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงยานยนต์และส่วนประกอบ ที่เป็นสินค้าที่มูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของหลายประเทศทั่วโลก ทั้งนี้จีนยังคงมีปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ควรเฝ้าระวังหลายด้าน เช่น ผลกระทบจากนโยบายทางการค้า เงินฝืด และราคาที่พุ่งสูงของอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งรายได้เฉลี่ยต่อประชากรที่ไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าของ GDP เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ทำให้การกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ชนบทยังทำได้ไม่ทั่วถึงมากนัก    . ➤ด้านภูมิศาสตร์ ภาคอีสาน: ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีพื้นที่ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 20 จังหวัด ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีเทือกเขาภูพานและภูหลวงเป็นแนวแบ่งเขตทางทิศตะวันตก แม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล  จีน: เป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 – 4  ของโลก และมีพรมแดนติดกับประเทศอื่นๆมากถึง 14 ประเทศ ทำให้มีสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยมีแม่น้ำสายหลักอยู่ 2 เส้นคือแม่น้ำหวงและแม่น้ำแยงซี ปัญหาด้านภูมิศาสตร์ที่พบคือ ปัญหาการขยายตัวของทะเลทราย    . ➤ด้านประชากร ภาคอีสาน: มีประชากรประมาณ 21.7 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยลาว พูดภาษาไทยอีสาน จีน: มีประชากรมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ทำให้มีความหลากหลายของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่    . ➤ด้านวัฒนธรรม ภาคอีสาน: ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ขอม

ข้อมูลน่าฮู้ 🇹🇭อีสาน กับ 🇨🇳จีน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top