SHARP ADMIN

จีนบุกไทยจากภายใน ผ่านการตั้งโรงงานในไทยของชาวจีน

ฮู้บ่ว่า? นอกจากสินค้าจากจีนที่ทะลักมาไทยแล้ว จีนยังเริ่มย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น โดยในปีล่าสุดมีโรงงานตั้งใหม่กว่า 179 แห่งที่มีการลงทุนจากจีน . หลังจากการเกิดสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในปี 2560 ส่งผลให้จีนได้เริ่มมีการมองหาตลาดใหม่ๆ ในการขายสินค้าที่ผลิตออกมามหาศาลในประเทศ ทำให้สินค้าจีนมีแนวโน้มที่จะทะลักมายังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีประเทศใน GMS รวมถึงไทยเป็นเป้าหมายด้วยเช่นกัน . การทะลักของสินค้าจากจีน สามารถส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในไทยได้ในหลายมิติ ในด้านหนึ่งผู้ประกอบการบางส่วนก็ได้รับอานิสงค์จากการนำเข้าสินค้าจากจีนที่เพิ่มขึ้น จากสินค้าที่มีราคาถูกลง มีความหลากหลาย หรือแม้กระทั่งการนำเข้าจากจีนเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ  อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะในภาคการผลิต กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการแข่งขันภายในประเทศที่เข้มข้น ตลอดจนความยากลำบากในการแข่งขันด้านต้นทุนให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งจากต่างประเทศได้ ผลกระทบดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการในภาคการผลิต โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการบางรายไม่สามารถรับมือกับปัญหาการทะลักของสินค้าจีนได้ จนนำไปสู่การปิดโรงงานหรือยุติการดำเนินกิจการในที่สุด . นอกจากการทะลักเข้ามาของสินค้าจีนแล้ว จีนยังเริ่มขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น ผ่านการจัดตั้งหรือร่วมลงทุนในโรงงานภายในประเทศ ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดแนวโน้มนี้คือสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งทำให้จีนสามารถใช้ไทยเป็นฐานการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการเก็บภาษีสินค้าจีนที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่สมัยที่โดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก นอกจากนี้ ตลาดภายในประเทศไทยเองยังมีความต้องการสินค้าจากจีนสูง ทำให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวจีนมองเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจ ส่งผลให้การย้ายฐานการผลิตมายังไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รูปภาพ 1 : มูลค่าการลงทุนโดยตรงในภาคการผลิตจากประเทศจีน ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย รูปภาพ 2 : จำนวนและมูลค่าการลงทุนของโครงการจากจีน ที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน . มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากจีนในภาคการผลิตของไทยเติบโตกว่า 6 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 7 ปี โดยเพิ่มขึ้นจาก 5,547 ล้านบาท ก่อนสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ เป็น 38,401 ล้านบาท ในปี 2566  สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีบทบาทสำคัญในฐานะจุดยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการขยายฐานการผลิตของจีน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่จีนมีความได้เปรียบ เช่น พลาสติก โลหะ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ ที่ไทยมีการพึ่งพาจากจีนสูง รวมถึงกลยุทธ์การย้ายฐานการผลิตของจีนเพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของชาติตะวันตกและสิทธิประโยชน์จาก BOI ยังผลักดันให้จีนขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากยิ่งขึ้น รูปภาพ 3 : จำนวนการตั้งโรงงานในปี 2567 โดยจำแนกตามสัญชาติที่มีการลงทุน ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมโรงงานอุตสาหกรรม รูปภาพ 4 : มูลค่าการลงทุนในบริษัทของโรงงานตั้งใหม่ที่มีการลงทุนจากจีน ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมโรงงานอุตสาหกรรม . ในปี 2567 มีการตั้งโรงงานที่ได้รับการลงทุนจากจีนกว่า 179 แห่ง และเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการตั้งโรงงานในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้าจะพบว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนการตั้งโรงงานที่มีจีนลงทุนมากถึง 164% ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงงานอื่นๆที่ไม่มีการลงทุนจากจีน รวมถึงเม็ดเงินการลงทุนในโรงงานจากจีนที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 11,387 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่จีนให้ความสำคัญกับตลาดไทยมากขึ้นทั้งในด้านการรองรับสินค้านำเข้าจากจีนและโอกาสที่จะเติบโตในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสำหรับการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ รูปภาพ 5 : ประเภทของโรงงานตั้งใหม่ที่มีการลงทุนจากจีน จำแนกตามขนาดของโรงงาน ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมโรงงานอุตสาหกรรม . การลงทุนจากจีนในโรงงานของไทยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมที่จีนได้เปรียบและไทยมีการพึ่งพาสินค้าจากจีนสูง […]

จีนบุกไทยจากภายใน ผ่านการตั้งโรงงานในไทยของชาวจีน อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาเบิ่ง งบการเงินเจ้าสัว ขนมขบเคี้ยวรายได้พันล้าน

คุณเพิ่ม โมรินทร์ (แซ่เตีย) เป็นชาวจีนที่อพยพเข้ามาหาโอกาสในชีวิตที่ดีกว่าในเมืองไทยโดยเขาเริ่มต้นธุรกิจด้วยการนำเงินและทรัพย์สินที่มีติดตัวมาร่วมหุ้นกับเพื่อนเปิดร้านขายของชำที่ย่านคลองเตย ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานมาจังหวัดนครราชสีมา โดยในปี 2501 ได้เปิดร้านสาขาพลล้าน จากการสังเกตเห็นว่าชาวบ้านนิยมเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมองว่าจังหวัดนครราชสีมาเปรียบเสมือนประตูสู่อีสาน ซึ่งน่าจะมีการพัฒนาได้อีกมาก เขาจึงแปรรูปเนื้อหมูเป็นหมูหยองและหมูแผ่น พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย จนกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในปัจจุบัน หากพิจารณาสัดส่วนของรายได้ จะพบว่า 3 อันดับแรกของรายได้หลักมาจาก ข้าวตัง ซึ่งทำยอดขายสูงสุดที่ 471 ล้านบาท ในปี 2566 คิดเป็น 31.5% ของรายได้จากการขายสินค้า ข้าวตังเป็นสินค้ายอดนิยมของเจ้าสัวที่ผู้บริโภคคุ้นเคยเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นขนมที่เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย สามารถรับประทานเล่นหรือทานคู่กับอาหารอื่นก็ได้ อีกทั้งยังหาซื้อได้ง่าย ทำให้ข้าวตังของเจ้าสัวครองใจผู้บริโภคมายาวนาน ถัดมาคือ ขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู ซึ่งทำรายได้ 297 ล้านบาท คิดเป็น 20% ของรายได้จากการขายสินค้า และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหนึ่งมาจากการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใช้ชีวิตเร่งรีบมากขึ้น ทำให้ขนมประเภทนี้เป็นทางเลือกที่เข้าถึงง่ายและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อันดับที่สามคือ แครกเกอร์ธัญพืช ซึ่งทำรายได้ 232 ล้านบาท คิดเป็น 15.5% ของรายได้จากการขายสินค้า จุดเด่นของแครกเกอร์ธัญพืชคือการเป็นขนมขบเคี้ยวที่สอดคล้องกับเทรนด์รักสุขภาพ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ส่งผลให้สินค้ากลุ่มนี้มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี นอกจากรายได้จากการขายสินค้าแล้ว การดำเนินธุรกิจย่อมมาพร้อมกับ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทต้องบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ ต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของรายได้ในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 บริษัทสามารถสร้าง กำไรสุทธิที่เติบโตสูงถึง 614.7% ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนและการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ ผลประกอบการที่ดีขึ้นไม่เพียงส่งผลเชิงบวกต่อนักลงทุนในตลาดหุ้น แต่ยังสะท้อนถึงการขยายตัวของฐานผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขนมขบเคี้ยวไทยยังมีน้อยเมื่อเทียบกับแบรนด์ต่างประเทศ แต่เจ้าสัวมองเห็นโอกาสในการพัฒนา Local Snack จากวัตถุดิบไทยแท้ เช่น ข้าวตังหมูหยองและ Meat Snack ที่มีเอกลักษณ์และคุณค่าโภชนาการสูง เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ ทั้งในไทยและตลาดต่างประเทศ โดยเน้นสร้างมูลค่าให้วัตถุดิบไทยและขยายตลาดขนมขบเคี้ยวไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ปัจจุบันแบรนด์เจ้าสัวมีทั้งอาหารและขนมรวมกันกว่าสามร้อยชนิด ในแต่ละปีจะมีสินค้าออกใหม่แปดถึงสิบตัว สินค้าตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายและ lifestyle ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ของผู้บริโภค ทั้งของทานเล่น และอาหารพร้อมปรุงพร้อมทาน ตอบโจทย์ทั้ง Ready to Eat & Ready to Cook พาซอมเบิ่ง “เจ้าสัว” แบรนด์ของฝากเจ้าดังโคราช ว่าที่หุ้นใหม่ภาคอีสาน อ้างอิงจาก เว็บไซต์ของบริษัท, แบบ 56-1 One Report, รายงานข้อมูลสรุปของการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชน, ลงทุนแมน, The Cloud

ชวนมาเบิ่ง งบการเงินเจ้าสัว ขนมขบเคี้ยวรายได้พันล้าน อ่านเพิ่มเติม »

Mondelēz ผู้ผลิตขนมหวานเจ้าใหญ่ของโลก ที่ลงทุน 1 ในโรงงานที่น้ำพอง ขอนแก่น

Chairman & CEO: Dirk Van De Put Mondelēz International บริษัทสัญชาติอเมริกันที่แยกตัวออกมาจาก Kraft Foods ในปี 2555   ชื่อบริษัท: บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2507 ทุนจดทะเบียน: 104 ล้านบาท สถานที่ตั้ง: เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ส่วนแบ่งการตลาดทั่วประเทศ: 50% ในกลุ่มผลิตลูกกวาดและขนม รายได้ปี 2566: 6,226 ล้านบาท (+17%) กำไรปี 2566: 328 ล้านบาท (+110%)   โรงงานลาดกระบังก่อตั้งในปี 2550 เป็นศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุดสำหรับหมากฝรั่งและลูกอมในภูมิภาค AMEA โดยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังกว่า 10 ประเทศ   ชื่อบริษัท: บริษัท มอนเดลีซ (ประเทศไทย) จำกัด ปีที่จดทะเบียน: พ.ศ. 2532 ทุนจดทะเบียน: 150 ล้านบาท สถานที่ตั้ง: อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ส่วนแบ่งการตลาดทั่วประเทศ: 18% ในกลุ่มผลิตลูกกวาดและขนม รายได้ปี 2566: 2,254 ล้านบาท (+7%) กำไรปี 2566: 707 ล้านบาท (+28%)   โรงงานขอนแก่นก่อตั้งในปี 2543 เป็นศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผลิตและส่งออกเครื่องดื่มชนิดผงในภูมิภาค AMEA (Asia, Middle East, Africa) ผลิตภัณฑ์ของโรงงานถูกส่งออกไปยัง 36 ประเทศ โดยฟิลิปปินส์และจีนเป็นตลาดหลัก คิดเป็นสัดส่วน 80% ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ โรงงานขอนแก่นยังได้รับการยอมรับว่าเป็นสถานที่แห่งแรกของ Mondelēz ที่เปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ได้สำเร็จ   ตัวอย่างสินค้าที่ขายในไทย Cadbury DAIRY MILK HALLS Clorets Dentyne OREO RITZ TOBLERONE   ไม่ว่าจะเป็น ‘บิด ชิมครีม จุ่มนม’ สโลแกนติดหูจากโฆษณาของโอรีโอที่หลายคนคุ้นเคยและทำตาม หรือ TOBLERONE ช็อกโกแลตที่โดดเด่นด้วยรูปทรงสามเหลี่ยม อันได้รับแรงบันดาลใจจากภูเขา Matterhorn ในสวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงขนมชื่อดังอีกมากมาย ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้การบริหารของ Mondelēz International (มอนเดลีซ) บริษัทข้ามชาติสัญชาติอเมริกันที่หลายคนคุ้นชื่อจากฉลากขนมที่เราหยิบทานกันอยู่บ่อยๆ

Mondelēz ผู้ผลิตขนมหวานเจ้าใหญ่ของโลก ที่ลงทุน 1 ในโรงงานที่น้ำพอง ขอนแก่น อ่านเพิ่มเติม »

มาตรการได้ผล! อ้อยเผาอีสานลดลง นักวิชาการแนะใช้กลไกตลาดเพิ่มมูลค่าและความยั่งยืน

เผาอ้อย สาเหตุจากต้นทุน กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง  การเผาอ้อย เป็นกรรมวิธีที่ชาวไร่อ้อยทำในช่วงเก็บเกี่ยวอ้อยจนกลายเป็นวัฒนธรรม โดยเฉพาะในช่วงเปิดหีบอ้อยช่วงเดือนธันวาคม-ช่วงต้นปี ซึ่งสาเหตุหลักที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยเลือกที่จะทำการเผา มาจากปัจจัยด้าน “ต้นทุน” เนื่องมาจากแรงงานตัดอ้อยสดหาได้ยากกว่า แรงงานไม่ชอบตัดอ้อยสด เพราะยุ่งยาก เสี่ยงที่โดนใบอ้อยบาดมือ และใช้เวลามากกว่า ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้มีต้นทุนค่าแรงที่สูง เจ้าของไร่อ้อยหลายรายจึงมองว่าไม่คุ้มค่าที่จะจ้าง และเลือกที่จะใช้วิธีการเผาแล้วจึงเก็บเกี่ยว   ปัจจัยต่อมาคือการใช้รถตัดอ้อยเพื่อแก้ปัญหาแรงงานนั้นทำไม่ได้ทั่วถึงเนื่องจากในบางพื้นที่สภาพทางกายภาพไม่เหมาะสมกับรถตัด ได้แก่ พื้นที่ที่เป็นเนิน มีหินเยอะ มีต้นไม้เยอะ พื้นที่ลุ่มที่มีน้ำขังได้ง่าย นอกจากนั้นการใช้รถตัดอ้อยนั้นมีต้นทุนที่สูง จำนวนรถตัดมีไม่มาก และไร่อ้อยบางพื้นที่รถตัดเข้าไปได้ยาก และเสี่ยงที่จะไม่คุ้มค่า ลักษณะของแปลงของเกษตรกรไร่อ้อยในภาคอีสานเป็นแปลงขนาดเล็ก เกษตรกรมีจำนวนมากในบางโรงอาจมีเกษตรกรมากถึงเป็น 10,000 ราย ในการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เช่นรถตัดอ้อยเข้าไปในแปลงขนาดเล็กนั้นจะไม่คุ้มทุนเพราะต้องเสียหัวแปลงท้ายแปลงในการกลับรถเสี่ยงต่อการที่รถตัดอ้อยจะเหยียบอ้อย การที่แปลงไร่อ้อยกระจายอยู่ทั่วไปไม่รวมตัวกันทำให้การเคลื่อนย้ายรถตัดทำได้ลำบาก อาจมีต้นทุนที่สูงจึงทำให้หารถเข้าไปตัดได้ยาก  คุณภาพของการบริการรถตัดอ้อยก็ส่งผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรเช่นกันเพราะถ้าหากคนขับรถตัดไม่ชิดดินทำให้ตออ้อยถอนขึ้นหรือเหยียบตออ้อยจะทำให้อัตราการงอกในปีต่อไปค่อนข้างต่ำและเกิดการสูญเสียในปีต่อๆไป   นอกเหนือจากปัจจัยสำคัญในข้างต้นแล้ว ก็ยังมีอีกหลายปัจจัย เช่น ปัญหาไฟไหม้ธรรมชาติ หรือไฟที่เผาจากแปลงอื่นลุกลามมา นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องการแข่งขัน ที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยต้องทำการรีบเร่งให้ผลผลิตของตนออกสู่ตลาดก่อนรายอื่น จึงต้องทำการเผาอ้อยเพื่อเร่งเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจเกิดไฟไหม้ลามไปถึงแปลงอื่นๆได้   การแข่งขันระหว่างโรงงานอาจเป็นเหตุจูงใจให้มีการจุดไฟเผาไร่อ้อย เพื่อบังคับให้เกษตรกร เร่งการเก็บเกี่ยวหากไม่มีคิวหีบก็จะต้องขายอ้อยที่ไหนก็ได้แบบเร่งด่วนเพื่อไม่ให้น้ำหนักอ้อยไฟไหม้สูญเสียไปมากกว่าที่ควรเป็น ซึ่งอาจเกิดไฟไหม้ลามไปถึงแปลงอื่นๆได้   ภาคอีสาน เป็นภูมิภาคที่มีการปลูกอ้อยมากที่สุดในในประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงมีการเผาอ้อยมากที่สุดตามไปด้วย โดยปริมาณอ้อยไฟไหม้ที่เกษตรชาวไร่อ้อยอีสานได้นำมาขายให้โรงงานมีปริมาณทั้งสิ้น 14 ล้านตัน หรือเป็นสัดส่วนกว่า 34% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบในภาคอีสาน การเผาอ้อยนั้นเป็นอีกหนึ่งต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาควัน เศษที่เถ้า ฝุ่น PM2.5 ผนวกกับช่วงต้นปีมีความกดอากาศต่ำอยู่แล้ว จึงส่งผลให้ปัญหามลภาวะหนักขึ้นไปอีกและกลายเป็นปัญหาที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทุกปี  เผาอ้อยเฮ็ดหยัง? ต้นตอฝุ่นควัน กับเหตุผลที่หลายคนยังไม่รู้ สัดส่วนอ้อยเผาเข้าหีบอีสานลดลง จากมาตรการที่เข้มงวดขึ้น ปีเก็บเกี่ยว 2567/68 นี้ บอร์ดคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ได้เพิ่มความเข้มงวดในการเก็บเกี่ยวและซื้อขายอ้อยของชาวไร่และโรงงาน เพื่อลดปัญหาการเผาและฝุ่นควัน ผ่านการสนับสนุนให้เก็บเกี่ยวอ้อยสดเพิ่มขึ้น เพิ่มมูลค่าให้กับใบและยอดอ้อยผ่านการรับซื้อจากชาวไร่ มีการสนับสนุนและดูแลเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวอ้อยสด ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้ชาวไร่ประมาณ 120 บาทต่อตันอ้อย อีกทั้งในปีนี้มีมาตรการหักเงินชาวไร่ตามสัดส่วนของอ้อยเผาที่ส่งเข้าโรงงาน ตั้งแต่ 30-130 บาทต่อตัน นอกจากนั้นยังมีบทลงโทษแก่โรงงานน้ำตาลที่มีการรับซื้ออ้อยเผาเกินสัดส่วน ดังเช่นในกรณีของ บริษัท น้ำตาลไทย อุดรธานี ที่ได้ถูกสั่งปิดชั่วคราวหลังจากมีการรับซื้ออ้อยเผาเป็นปริมาณมาก   โดยจากมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในปีเก็บเกี่ยวนี้ เมื่อเปรียบเทียบจากปริมาณอ้อยเข้าหีบหลังจากเปิดหีบ 45 วัน ของปีการผลิต 2566/2567 และ 2567/2568  พบว่าตัวเลขการรับซื้ออ้อยเผาของโรงงานน้ำตาลภาคอีสานลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยปีการผลิต 2566/2567 (เปิดหีบ 12 ธ.ค. 2566) มีปริมาณอ้อยเผาเข้าหีบ 7 ล้านตัน คิดเป็น 30% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบรวม ขณะที่ปีการผลิต 2567/2568 (เปิดหีบ 6 ธ.ค. 2567) พบว่าปริมาณอ้อยเผาเข้าหีบลดลงเป็น 4.2 ล้านตัน และคิดเป็นเพียง 20% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบรวมในปีนี้ สะท้อนผลในเชิงบวกของการใช้มาตรการ เป็นแนวทางการลดปัญหาการเผาอ้อยและมลภาวะต่อไป

มาตรการได้ผล! อ้อยเผาอีสานลดลง นักวิชาการแนะใช้กลไกตลาดเพิ่มมูลค่าและความยั่งยืน อ่านเพิ่มเติม »

แบงก์ไทย🇹🇭อนุมัติยากนัก 🇨🇳 สินเชื่อจีนเตรียมบุก หวังดันยอดรถ EV🚘อนุมัติง่าย ดอกเบี้ยต่ำ

ยอดรถจดทะเบียนภาคอีสานยังซบเซาตลอดปี 67 จากบทความที่ยกมาข้างต้น จะพบว่ายอดจดทะเบียนภาคอีสานยังซบเซา รวมถึงสถานการณ์ทั้งประเทศก็ไม่ต่างกันมากนัก โดยเฉพาะตลาดรถกระบะที่ซบเซามากที่สุดในรอบ 5 ปี อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น และหนี้เสีย(NPL) รวมทั้งหนี้ที่ต้องเฝ้าระวังหรือชำระล่าช้าเพิ่มมากขึ้น ด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และอนุมัติวงเงิน สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ยากมากยิ่งขึ้น โดยตัวเลขประมาณการณ์การอนุมัติไม่ผ่านของสินเชื่อปรับตัวสูงขึ้นถึง 20-30% โดยเฉพาะในกลุ่มอาชีพค้าขาย และอาชีพอิสระ ที่อาจมีการปฏิเสธสินเชื่อสูงมากขึ้นด้วย ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อสถานการณ์โดยรวม ดังต่อไปนี้ ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในไทยไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: แม้จะมีการสนับสนุนจากรัฐบาลและแผนที่ชัดเจนสำหรับการนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ แต่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในไทยในปี 2566 ก็ต่ำกว่าเป้าหมายอย่างมาก สาเหตุหลักมาจากความยากลำบากในการขอสินเชื่อจากธนาคารสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า แม้ความต้องการรถไฟฟ้าของผู้บริโภคมีแนวโน้มให้ความสนใจมากขึ้น และต้องการใช้สิทธิ์ในการสนับสนุนการซื้อจากภาครัฐ ธนาคารไม่ยอมให้กู้ยืมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า: อัตราสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงในตลาดยานยนต์ไทยทำให้ธนาคารระมัดระวังในการให้กู้ยืมสำหรับรถยนต์ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่มีงานไม่เป็นทางการ เช่น ฟรีแลนซ์, ค้าขาย โอกาสและช่องว่างทางธุรกิจของธุรกิจการเงินจากจีน สถาบันการเงินจีนเข้ามาแทนที่: เพื่อเติมเต็มช่องว่างนี้ สถาบันการเงินจีนได้เข้าสู่ตลาดไทยด้วยเงื่อนไขสินเชื่อที่ยืดหยุ่นกว่า อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า และขั้นตอนการอนุมัติที่ง่ายกว่า ทั้งยังเพื่อช่วยส่งเสริมการรุกตลาดของรถยนต์ EV ในไทย และเพื่อทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรถ EV สามารถเร่งทำยอดขายก่อนที่โควต้าการนำเข้าต่อการผลิตรถภายในไทยที่บังคับไว้จะเพิ่มขึ้นในปีถัดไป ผู้ให้กู้ยืมชาวจีนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี: สถาบันเหล่านี้ใช้ AI และข้อมูลขนาดใหญ่ในการประเมินความน่าเชื่อถือเหนือกว่าคะแนนเครดิตแบบดั้งเดิม ทำให้บุคคลที่มีแหล่งรายได้ไม่เป็นทางการสามารถมีคุณสมบัติสำหรับสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจที่จะทำในรูปแบบ FinTech(แอพกระเป๋าเงินดิจิตอล) หรือ รูปแบบ Virtual Bank (ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา) เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินการทางการเงิน รวมถึง นำเทคโนโลยีจากจีนที่เชี่ยวชาญในการทำ SuperApp ที่รวมทุกบริการไว้ในแอปเดียว และให้บริการ Fintech อย่างที่แบรนด์จีนเข้ามาทำตลาดในไทยก่อนหน้านี้ อย่างเช่น ShopeePayLater, LazadaPayLater, หรืออย่าง Grab PayLater ที่ใช้เทคโนโลยีตรวจเช็คพฤติกรรมการใช้จ่าย การจ่ายที่ตรงเวลา และอื่นๆ เพื่อนำมาคำนวณเครดิตในการปล่อยสินเชื่อ นั่นเอง ตัวเลือกในตลาดที่มากขึ้นและเพิ่มการแข่งขันด้วยดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งหากสถานบันการเงินจากต่างชาติเข้ามาเป็นตัวเลือกให้ลูกค้าย่อมทำให้เกิดการแข่งขัน และดึงดูดด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ต้องรอดูสถานการณ์และดูแนวโน้มต่อไป เพราะ แม้จะมีแนวโน้มว่าสินเชื่อรถยนต์ EV จีนจะปล่อยแบบลดต้น-ลดดอก แต่ก็ยังไม่ได้รับการยืนยัน เพียงแต่หากเกิดขึ้นจริง ย่อมทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนตลาด ลิซซิ่งสินเชื่อรถยนต์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ที่อาจจะตามาในอนาคต ความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลทางการเงินของจีน: การเพิ่มขึ้นของสถาบันการเงินจีนในตลาดยานยนต์ไทยก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการแข่งขันที่อาจเกิดขึ้นและผลกระทบระยะยาวต่อระบบการเงินไทย ที่จะไม่เฉพาะในวงการของรถยนต์ รวมถึงความกังวลจากการเข้าถึงสินเชื่อที่ง่ายขึ้น เนื่องจากหนี้รถยนต์เป็นภาระที่ค่อนข้างก้อนใหญ่ซึ่งจะส่งผลให้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น ความท้าทายที่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยต้องเผชิญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยากลำบากในการขอสินเชื่อจากธนาคารสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า นำเสนอการเกิดขึ้นของสถาบันการเงินจีนเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ ซึ่งนำเสนอตัวเลือกสินเชื่อที่ยืดหยุ่นและเข้าถึงได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของอิทธิพลทางการเงินของจีนในตลาดไทย รวมทั้งยังต้องมีการผ่านข้อบังคับ และข้อกฎหมายในประเทศไทยตามการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้น จำเป็นต้องติดตามการอัพเดตกันต่อไปว่า สินเชื่อจากจีนนี้จะมาเมื่อไหร่ในรูปแบบใด และจะเข้ามามีบทบาทในตลาดการเงินของไทยมากน้อยเพียงใด   โค้วยู่ฮะ อีซูซุ กับความท้าทาย ในตลาดรถกระบะ ปี 2567

แบงก์ไทย🇹🇭อนุมัติยากนัก 🇨🇳 สินเชื่อจีนเตรียมบุก หวังดันยอดรถ EV🚘อนุมัติง่าย ดอกเบี้ยต่ำ อ่านเพิ่มเติม »

NARIT! เผย “สาเหตุหลัก” ที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 อาจไม่ใช่แค่ “การเผา-การใช้รถ”

พาสำรวจเบิ่ง จุดเผาใน GMS หนึ่งในสาเหตุ PM 2.5   ในทุกฤดูหนาวอากาศที่เย็นตัว พร้อมกับความกดอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผนวกกับลมประจำฤดูที่พัดลมหนาวจากตะวันออกเฉียงหนือ จาก Infographic ที่แสดงจุดเผาในประเทศเพื่อนบ้านจะพบว่า มลพิษทางอากาศทั้งในประเทศและต่างประเทศก็เป็นอีก 1 สาเหตุของมลภาวะทางอากาศ ไม่ว่ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ทั้ง โรงงานอุตสาหกรรม, การใช้รถที่เผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และที่กำลังเป็นประเด็นสังคม คือ การเผาในทางการเกษตร ทั้ง นาข้าว อ้อย และข้าวโพด ล่าสุดสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NARIT เสนอให้มีการตรวจสอบและศึกษาวิจัยสาเหตุของฝุ่น PM2.5 อย่างจริงจัง เพื่อหาต้นตอที่แท้จริงโดยนำวิเคราะห์ฝุ่นด้วยเทคนิคดาราศาสตร์มาใช้ ศึกษาฝุ่นด้วยเทคนิคดาราศาสตร์ “การเผา-การใช้รถ” อาจไม่ใช่ “สาเหตุหลัก” ฝุ่น PM2.5 รองผู้อำนวยการ NARIT เผย ต้นตอหลักของการเกิดฝุ่น PM2.5 มาจากการเผาและการใช้รถไม่ถึงครึ่ง แต่เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า “ละอองลอยทุติยภูมิ” ในงาน NARIT The Next Big Leap เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 68 ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) หรือ NARIT ได้มีการกล่าวถึงการนำองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์มาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่งรวมถึงปัญหาใหญ่ใกล้ตัวอย่าง “วิกฤตฝุ่น PM2.5” ด้วย ดร. วิภู รุโจปการ รองผู้อำนวยการ NARIT บอกว่า นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้เทคนิค “Mass Spectrometry” (แมสสเปกโทรเมทรี) ในการศึกษาองค์ประกอบฝุ่นเพื่อหาว่าต้นตอจริง ๆ ของฝุ่น PM2.5 มาจากการเผาตามที่มีการเข้าใจกันเป็นวงกว้างจริงหรือไม่ Mass Spectrometry คือการจำแนกโครงสร้างของโมเลกุลสารต่าง ๆ ออกมาในรูปแบบของสเปกตรัม ซึ่งทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า สารนั้น ๆ มีองค์ประกอบที่แตกต่างกันเป็นอะไรบ้าง เช่น นักดาราศาสตร์จะใช้ตรวจวัดสเปกตรัมรังสีคอสมิกในบรรยากาศดวงจันทร์ ในที่นี้ ก็สามารถนำมาใช้ศึกษาฝุ่นได้และสิ่งนี้กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทยในปีนี้ด้วย ดร.วิภูบอกว่า ก่อนหน้านี้ในปี 2016 งานวิจัยต่างประเทศเคยมีการทดลองใช้ ACSM ใกล้กับกรุงมิลาน ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองอุตสาหกรรมของอิตาลี และมีประชากรมาก มีหลายองค์ประกอบที่คล้ายกรุงเทพและเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนั้นออกมาว่า ในระยะเวลา 1 ปี องค์ประกอบโดยเฉลี่ยของฝุ่น PM2.5 ประกอบด้วย สารประกอบอินทรีย์ถึง 58% รองลงมาคือไนเตรท (NO3) 21% ตามด้วยซัลเฟต (SO4) 12% และแอมโมเนีย (NH4) 8% งานวิจัย Variations in the chemical composition of

NARIT! เผย “สาเหตุหลัก” ที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 อาจไม่ใช่แค่ “การเผา-การใช้รถ” อ่านเพิ่มเติม »

อะไรๆ ก็หม่าล่า พามาเบิ่ง หม่าล่าในอีสาน ยังฮอตฮิต หรือแค่กระแส(ที่เริ่มแผ่ว)

ถ้าพูดถึงอาหารยอดฮิตยอดนิยมตตอนนี้ก็คงหนีไม่พ้น “หม่าล่า” อาหารรสชาติเผ็ดชาที่เป็นเอกลักษณ์สไตล์จีน ที่ตอนนี้เป็นที่นิยมในหมู่เด็กวัยรุ่นนักเรียนนักศึกษาไปจนถึงวัยทำงาน ซึ่งตอนนี้ก็มีธุรกิจร้านอาหารหม่าล่าผุดขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารแนวสตรีทฟู้ด (ร้านอาหารข้างทาง) ร้านอาหารปิ้งย่างชาบูบุฟเฟต์อลาคาส ที่มีคนยืนต่อคิวเข้าร้านมากกว่าร้อยคิวต่อหนึ่งวัน ฮู้บ่ว่าจริงๆ “หม่าล่า” ที่คนไทยพูดติดปากกันเป็นชื่ออาหาร แต่จริงๆแล้วคำว่า “หม่าล่า” นั้นแปลว่า อาการเผ็ดหรือเผ็ดจนลิ้นชา ซึ่งความเผ็ดนั้นมาจากเครื่องเทศ “ฮวาเจียว” ซึ่งเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งจากพริกไทยเสฉวน หรือ Sichuan Pepper  ความชื่นชอบรสชาติเผ็ดชาที่เป็นของแปลกใหม่ และถูกใจคนไทยจนถึงปัจจุบัน ทำให้ร้านหม่าล่าผุดขึ้นมามากมาย จำนวนร้านหม่าล่าเปิดเยอะกว่าก็อาจเป็นเพราะด้วยจำนวนประชากรที่มากกว่าเชียงใหม่ รวมไปถึงจำนวนพื้นที่และพลังสื่อโซเชียลที่ช่วยกระจายร้านอร่อย ร้านเด็ด ร้านดังแชร์ให้คนตามมากินกันได้ง่ายกว่า แม้ว่าร้านหม่าล่าเป็นกระแสมาสักพักใหญ่ๆแล้ว ร้านดังที่เป็นกระแสก็ยังเป็นที่นิยมมักเป็นร้านที่สร้างความแตกต่างจากที่อื่นได้ก่อน ยกตัวอย่างเช่น ร้านสุกกี้จินดา ที่ผสมความเป็นหม่าล่ากับหม้อชาบูเข้าด้วยกัน และยังเพิ่มจุดขายคือ สุกี้เสียบไม้ ซึ่งเป็นการใช้ความสะดวกสบายที่ใช้สายพานในการเสริฟอาหาร และด้วยความเป็นไม้ทำให้ลูกค้าสามารถกำหนดงบประมาณของตัวเองได้ และในช่วงที่เป็นกระแสในโลกออนไลน์ ก็ได้ไอเดียมาจากช่วงโรคระบาดโควิด-19 ที่ต้องใส่ใจความสะอาด และสุขอนามัยกลายมาเป็นสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังเพิ่มมากขึ้น ไอเดียหม้อแยกจึงสร้างความไว้วางใจ และช่วยประกอบการตัดสินใจได้ ยิ่งไปกว่านั้น สไตล์การกินแบบหม้อแยกยังเจาะกลุ่มเป้าหมายคนที่อยากกินคนเดียว ปัจจุบันขยายสาขาไปแล้วกว่า 40 สาขา แบ่งเป็นเจ้าของแบรนด์บริหารเอง 7 สาขา สาขาแฟรนไชส์ 33 สาขา   . ย้อนกลับไปช่วงปี 2566 ร้านหม่าล่าในไทยมีจำนวน 16,000 ร้าน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 7.3% ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่อย่าง LINE MAN ได้เผยสถิติที่สุดแห่งปี 2566 ด้านอาหาร พบว่าเมนูยอดฮิตจากผู้ใช้บริการกว่า 10 ล้านคน จากร้านอาหารกว่า 1 ล้านร้านใน 77 จังหวัด คือ หมาล่าเสียบไม้และสุกี้ชาบูหมาล่า เมนูดาวรุ่งสุดร้อนแรง มีผู้ใช้บริการ LINE MAN สั่งมากกว่า 1 ล้านออเดอร์ เพิ่มขึ้นถึง 45% เมื่อเทียบกับปี 2565 มีการพูดถึง หม่าล่า ถึง 3,697 ข้อความ Engagement 315,561 ครั้ง . ประเภทอาหารหม่าล่าที่คนบนโลกออนไลน์สนใจมากที่สุด ชาบูหม่าล่า 46% สุกี้หม่าล่า 37% ปิ้งย่างหม่าล่า 17% . ถ้าลองวิเคราะห์สถานการณ์ของกิจการ . จุดแข็งของกิจการ มีเมนูอาหารที่หลากหลาย วัตถุดิบมีคุณภาพ ราคาถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับ คุณภาพของอาหาร ปรุงด้วยสตรเฉพาะของทางร้าน  สถานที่ตั้งร้านอยู่ในแหล่งชุมชนและมีบริการจัดส่งในชุมชน มีการแนะนาเมนูอาหารใหม่ๆ และโปรโมชั่นใหม่ๆ ผ่านช่องทางต่างๆ เช่นเว็บ เพจ ทางเฟสบุ๊ค ไลน์  มีอุปกรณ์อานวยความสะดวกในร้าน โดยมีเครื่องปรับอากาศที่เปิดตลอดเวลา และมีบริการ Free WIFI ให้แก่ลูกค้าเล่นระหว่างนั่งรออาหาร

อะไรๆ ก็หม่าล่า พามาเบิ่ง หม่าล่าในอีสาน ยังฮอตฮิต หรือแค่กระแส(ที่เริ่มแผ่ว) อ่านเพิ่มเติม »

สกลนคร-บึงกาฬ จังหวัดต้นแบบหน่วยงานรัฐโปร่งใส

ความโปร่งใสเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องอยู่คู่กับหน่วยงานและองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้ดำเนินการจัดทำการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) เพื่อให้หน่วยงานและประชาชนรับรู้ถึงความโปร่งใสขององค์กรต่าง ๆ และนำข้อมูลไปปรับปรุงพัฒนา รูปแบบการประเมินตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา สำนักงาน ป.ป.ช. จะเป็นผู้ดำเนินการประเมินเอง โดยมีคะแนนประเมินตั้งแต่ 0-100 คะแนน และเกณฑ์ผ่านการประเมินที่ 85.00 คะแนนขึ้นไป ผลการประเมิน ITA ในปีงบประมาณ 2567 จากการสรุปผลการประเมินหน่วยงานภาครัฐในแต่ละจังหวัด พบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) มีเพียง 2 จังหวัดที่หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่: จังหวัดสกลนคร จำนวนหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์: 142 หน่วยงาน คะแนนเฉลี่ย: 97.32 คะแนน หน่วยงานที่มีคะแนนสูงสุด: เทศบาลตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ ซึ่งได้คะแนน 99.89 จังหวัดบึงกาฬ จำนวนหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์: 59 หน่วยงาน คะแนนเฉลี่ย: 96.90 คะแนน หน่วยงานที่มีคะแนนสูงสุด: เทศบาลตำบลท่าสะอาด อำเภอเซกา ซึ่งได้คะแนน 99.91 ทั้งสองจังหวัดนี้ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของหน่วยงานรัฐในด้านการดำเนินงานด้วยคุณธรรมและความโปร่งใส ภาพรวมในภาคอีสาน สำหรับภาพรวมในภาคอีสาน มีหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ทั้งสิ้น 2,629 หน่วยงาน จากทั้งหมด 2,985 หน่วยงาน คิดเป็นสัดส่วน 88% โดยมีข้อมูลสัดส่วนหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ในจังหวัดที่โดดเด่นและจังหวัดที่ต้องัฒนาต่อไป ดังนี้   จังหวัดที่มีสัดส่วนหน่วยงานผ่านเกณฑ์สูง (รองจากสกลนครและบึงกาฬ) อำนาจเจริญ สัดส่วนที่ผ่าน: 98.46% (64 จาก 65 หน่วยงาน) คะแนนเฉลี่ย: 94.57 หนองคาย สัดส่วนที่ผ่าน: 97.10% (67 จาก 69 หน่วยงาน) คะแนนเฉลี่ย: 94.10 ขอนแก่น สัดส่วนที่ผ่าน: 96.90% (219 จาก 226 หน่วยงาน) คะแนนเฉลี่ย: 94.78   จังหวัดที่มีสัดส่วนหน่วยงานผ่านเกณฑ์ต่ำ มหาสารคาม สัดส่วนที่ผ่าน: 75.69% (109 จาก 144 หน่วยงาน) คะแนนเฉลี่ย: 88.07 ศรีสะเกษ สัดส่วนที่ผ่าน: 68.81% (150 จาก 218 หน่วยงาน) คะแนนเฉลี่ย: 86.82 หนองบัวลำภู สัดส่วนที่ผ่าน: 68.12% (47 จาก 69

สกลนคร-บึงกาฬ จังหวัดต้นแบบหน่วยงานรัฐโปร่งใส อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่งหนี้สาธารณะแต่ละประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง GMS

. ​​จากข้อมูลปี 2566  ไทยเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงสุดในอาเซียน โดยมียอดหนี้กว่า 11,131 พันล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายในการบริหารเศรษฐกิจ ในขณะที่กัมพูชา มียอดหนี้ต่ำสุดในกลุ่มนี้เพียง 374 พันล้านบาท ทำให้ประเทศกัมพูชาดูเหมือนจะมีเสถียรภาพทางการเงินที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน   ตารางเปรียบเทีบหนี้สินสาธารณะของแต่ละประเทศ(บาท,ดอลลาร์) ประเทศ พันล้านบาท พันล้านดอลลาร์ เป็นเปอร์เซ็นของ​GDP มูลค่าgdpของแต่ละประเทศ(พันล้านดอลล่าร์) เวียดนาม 5,530 158 37% 429.7 กัมพูชา 374.54 11.24 37.2% 31.77 ลาว 460.51 13.83 108% 15.84 ไทย 11,131.63 318.05 62.14% 514.9   สาเหตุในการก่อหนี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน: ประเทศต่างๆ มักก่อหนี้เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน รถไฟ สนามบิน เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ การช่วยเหลือภาคเอกชน: ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลอาจต้องกู้เงินเพื่อช่วยเหลือภาคเอกชนให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ การขาดดุลงบประมาณ: หากรายได้ของรัฐบาลน้อยกว่ารายจ่าย รัฐบาลก็จำเป็นต้องกู้เงินมาชดเชย ปัจจัยทางการเมือง: การตัดสินใจก่อหนี้บางครั้งอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางการเมือง เช่น การหาเสียงเลือกตั้ง หรือการสร้างผลงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ภาระดอกเบี้ย: หนี้สาธารณะที่สูงจะส่งผลให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยจำนวนมาก ซึ่งอาจกระทบต่องบประมาณที่ควรจะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐาน ความน่าเชื่อถือทางการเงิน: หนี้สาธารณะที่สูงเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือทางการเงินของประเทศ ทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่มั่นใจและอาจถอนเงินลงทุนออกไป อัตราแลกเปลี่ยน: หนี้สาธารณะที่สูงอาจทำให้สกุลเงินของประเทศอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าและบริการ และอาจทำให้ราคาสินค้าภายในประเทศสูงขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจ: หนี้สาธารณะที่สูงอาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว เพราะรัฐบาลอาจต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมากในการชำระหนี้แทนที่จะนำไปลงทุนในกิจกรรมที่สร้างการเติบโต ผลกระทบต่อประชาชน การลดลงของบริการสาธารณะ: เมื่อรัฐบาลต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยจำนวนมาก อาจต้องลดการลงทุนในบริการสาธารณะ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ภาษีที่สูงขึ้น: เพื่อนำเงินมาชำระหนี้สาธารณะ รัฐบาลอาจต้องเพิ่มอัตราภาษี ซึ่งเป็นภาระแก่ประชาชน ความไม่เสมอภาค: หนี้สาธารณะที่สูงอาจทำให้เกิดความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ เพราะประชาชนบางกลุ่มอาจได้รับผลกระทบจากหนี้สาธารณะมากกว่ากลุ่มอื่นๆ หมายเหตุ: การวิเคราะห์นี้เป็นเพียงภาพรวมเบื้องต้น การวิเคราะห์ที่ละเอียดจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เช่น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ นโยบายทางการเงินและการคลัง และปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อหนี้สาธารณะ   ที่มา เว็ปไซต์ :NBT-connext ,moneybuffalo ,khmertimeskh ,vir ,tradingeconomics ,worldeconomics พามาเบิ่ง GDP ย้อนหลัง 35 ปี ของอีสานบ้านเฮาและเพื่อนบ้าน GMS  

พามาเบิ่งหนี้สาธารณะแต่ละประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง GMS อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 8 ปีผ่านไป ไทยขาดดุลจีนมากแค่ไหน

ฮู้บ่ว่า ไทยมีแนวโน้มที่จะขาดดุลทางการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการขาดดุลทางการค้ากับจีนในปีที่ผ่านมา( มกราคม – พฤศจิกายน) มากถึง 1.47 ล้านล้านบาท   . จีนนับว่าเป็นประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักกับไทยมาอย่างยาวนานและเป็นประเทศที่ไทยมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าเข้ามามากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ในขณะเดียวกันไทยก็ขาดดุลทางการค้ากับจีนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเริ่มสร้างความกังวลให้กับผู้ผลิตในประเทศไทย ที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากสินค้านำเข้าจากจีนที่มากเกินไปกระทั่งเรียกได้ว่าเป็นสินค้าทะลักจากจีน   . ในช่วงก่อนสงครามทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ในปี 2561 ขณะนั้นไทยเองก็มีการนำเข้าสินค้าจากจีนมากกว่าส่งออกไปจีนมากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ส่งผลให้พอเกิดสงครามการค้าขึ้นที่จีนได้รับผลกระทบจากนโยบายทางภาษีศุลกากรจากสหรัฐอเมริกาและทำให้สินค้าจีนที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามีต้นทุนที่สูงขึ้นและได้เริ่มมองหาตลาดใหม่ๆเพื่อรองรับสินค้า ซึ่งเป้าหมายในการเป็นตลาดรองรับสินค้าจากจีนก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมไทยของเราด้วยนั่นเอง   . หากเปรียบเทียบระหว่างช่วงก่อนสงครามการค้าและในปัจจุบัน จะพบว่า ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจากจีนต่อการนำเข้าทั้งหมดในช่วงก่อนสงครามการค้าที่ 20% แต่ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 26% ซึ่งบ่งบอกถึงการพึ่งพาสินค้านำเข้าจากจีนที่มากขึ้น โดยมีสินค้าที่โดดเด่นหลักๆคือสินค้าประเภท อุปกรณ์ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้า ซึ่งเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงที่สุดที่ไทยได้นำเข้าจากจีนในปีที่ผ่านมา ในด้านการส่งออกของไทย จะมีสินค้าหลักเป็นสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์จากสินค้าเกษตร ได้แก่ ผลไม้และลูกนัต ยางและผลิตภัณฑ์จากยางเป็นต้น    . การนำเข้าสินค้าจากจีนที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ย่อมส่งผลกระทบกับประเทศไทยเองในหลายๆด้าน ซึ่งก็มีปัญหาที่หลายๆฝ่ายกังวลอย่างเช่น ผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศนั้นจะไม่สามารถแข่งกับสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในภาคการผลิต ที่ผลิตสินค้าใกล้เคียงกันกับสินค้าที่ไทยนำเข้ามาจากจีน ในส่วนของผู้ประกอบการภาคการค้า มีบางส่วนที่ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน แต่ก็มีผู้ประกอบการที่ได้รับอานิสงส์จากการนำเข้าสินค้าจากจีน จากต้นทุนด้านราคาที่ถูกลง    . เนื่องจากปัญหาของการนำเข้าจากจีนที่มากขึ้น สามารถสร้างผลกระทบให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและกระจายไปยังเศรษฐกิจในวงกว้าง ส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวควรมีการเร่งปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสีย และหาทางออกหรือแนวทางการป้องกันที่ครอบคลุมมากเพียงพอที่จะป้องกันภาคธุรกิจภายในประเทศ หรืออย่างน้อยก็สามารถทำให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวเพื่อสู้กับปัญหาสินค้าทะลักจากต่างประเทศได้ ลาวถูกแซงหน้า จากสินค้าจีนล้นด่านชายแดนอีสาน : เปรียบเทียบการนำเข้าก่อน-หลังสงครามการค้า สินค้า🇨🇳จีนทะลักครองสัดส่วนการนำเข้าสินค้าผ่านแดนอีสานสูงถึง 83% เปิด เส้นทางขนส่งสินค้า ออนไลน์ ทำไมต้องผ่าน “มุกดาหาร” 2 วัน ส่งไว จีน-ไทย ไม่เกินจริง

พามาเบิ่ง 8 ปีผ่านไป ไทยขาดดุลจีนมากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top