.
ทั้งนี้จำนวนที่นักศึกษาปี 1 ที่เข้าศึกษาทึกระดับการศึกษาทั้ง ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ระดับปริญญาเอก ที่ปรากฏอยู่นี้ ไม่ได้การันตีถึงคุณภาพ หรือ ความนิยม เพราะจำนวนนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้ง
- โควต้าจำนวนที่เปิดรับของแต่ละคณะ
- คะแนนของแต่ละคณะในแต่ละรอบที่นักศึกษายื่น
- จำนวนนักศึกษาที่ยื่นในแต่ละคณะที่อาจมียื่นเกินโควต้าที่รับ หรือน้อยกว่าโควต้าที่รับ
- คณะ สาขา หรือ หลักสูตรเปิดรับ อาจมีจำกัดในเพียงมหาวิทยาลัยเท่านั้น
จังหวัด | มหาวิทยาลัย | จำนวนนักศึกษาเข้าใหม่ |
มหาสารคาม | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | 14,435 คน |
ขอนแก่น | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | 9,299 คน |
อุบลราชธานี | มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี | 5,013 คน |
นครราชสีมา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี | 4,917 คน |
นครราชสีมา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา | 4,608 คน |
อุบลราชธานี | มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี | 4,507 คน |
นครราชสีมา | มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา | 4,111 คน |
อุดรธานี | มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | 4,015 คน |
นครพนม | มหาวิทยาลัยนครพนม | 2,875 คน |
สกลนคร | มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร | 2,638 คน |
บุรีรัมย์ | มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ | 2,554 คน |
ขอนแก่น | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น | 2,259 คน |
สกลนคร | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร | 2,112 คน |
มหาสารคาม | มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม | 2,078 คน |
เลย | มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย | 1,881 คน |
หมายเหตุ: เป็นข้อมูลจำนวนนักศึกษาใหม่ ปี 2567
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ “อีสาน” เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะและศักยภาพรองรับอุตสาหกรรมในอนาคต ล่าสุดจากข้อมูลของปี 2567 พบว่า 15 มหาวิทยาลัยในภาคอีสานมีจำนวนนักศึกษาใหม่เข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการทางการศึกษาและการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับเศรษฐกิจที่ขยายตัว
มหาวิทยาลัย ศูนย์กลางของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีสาน
จากข้อมูลจำนวนนักศึกษาใหม่ ปี 2567 พบว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นสถาบันการศึกษาที่มีนักศึกษาใหม่มากที่สุดในอีสานถึง 14,435 คน ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีนักศึกษาใหม่ 9,299 คน และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 5,013 คน ซึ่งแต่ละแห่งถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางวิชาการและเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจในพื้นที่
.
การมีนักศึกษาใหม่จำนวนมากส่งผลกระทบเชิงบวกต่อพื้นที่อย่างไร?
การขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย การเพิ่มขึ้นของนักศึกษาส่งผลให้เกิดความต้องการที่พักอาศัยใกล้มหาวิทยาลัยมากขึ้น ส่งผลให้ราคาที่ดินและอพาร์ตเมนต์ในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยเติบโตขึ้น อีกทั้ง ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร คาเฟ่ และธุรกิจบริการอื่นๆ อย่างเช่น ฟิตเนส ร้านทำผม หรือพื้นที่ทำงานร่วม (Co-working Space) มีโอกาสขยายตัวและเติบโตขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มนักศึกษา
.
มหาวิทยาลัยกับอนาคตเศรษฐกิจอีสาน
การที่ภาคอีสานมีมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และมีจำนวนนักศึกษามาก ถือเป็นโอกาสสำคัญในการยกระดับภูมิภาคไปสู่การศูนย์กลางเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูง โดยอุตสาหกรรมใหม่ อย่างเช่น การแพทย์ เทคโนโลยีดิจิทัล และธุรกิจด้านการเกษตรอัจฉริยะ มีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย
.
อีกทั้งในอนาคตภาครัฐและเอกชนสามารถร่วมมือกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับการเติบโตของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าเป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน การสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนา รวมถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายอุตสาหกรรมเข้ากับมหาวิทยาลัยมากขึ้น เพื่อให้แรงงานที่สำเร็จการศึกษาสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น “ศูนย์บริการทางการแพทย์ชั้นเลิศ” มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ “เขตนวัตกรรมสุขภาพโคราช” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
.
การศึกษาไม่ใช่เพียงแค่เครื่องมือพัฒนาทางสังคม แต่ยังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำของภูมิภาคนี้เป็นสัญญาณที่ดีว่าภาคอีสานกำลังพัฒนาไปสู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจและนวัตกรรมในอนาคต
.
.
อ้างอิงจาก:
- กลุ่มพัฒนาและบริหารจัดการข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ (พข.)
- เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย