Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

พาเปิดเบิ่ง แผนที่ขุมทรัพย์ 9 จุดไทยส่งไฟฟ้าให้กัมพูชา โกยเงินเข้าประเทศ 48 ล้านต่อเดือน

ท่ามกลางประเด็นพิพาทระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา แม้จะมีเสียงยืนยันจากฝ่ายไทยถึงความพยายามในการเจรจา แต่การตอบโต้ที่ร้อนแรง อย่างเช่น การปิดด่านชายแดน และการประกาศตัดไฟฟ้า-อินเทอร์เน็ต ได้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่ยังคงเปราะบางในทางปฏิบัติ การซื้อขายกระแสไฟฟ้าที่หล่อเลี้ยงพื้นที่ชายแดนของกัมพูชาด้วยเงินกว่า 48 ล้านบาทต่อเดือน จาก 9 จุดเชื่อมโยงไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) แม้ความขัดแย้งทางการเมืองจะปะทุขึ้นเป็นระยะ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) เป็นผู้เล่นหลักในการส่งออกไฟฟ้าไปยังกัมพูชาผ่านจุดเชื่อมโยงในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคอีสานของไทย 9 จุดไทยที่ส่งไฟฟ้าให้กัมพูชา อยู่ที่ไหนบ้าง⁉️ เทศบาลบ้านคลองลึก อำภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (วงจจรที่ 1 และ วงจรที่ 2) ปริมาณกำลังไฟฟ้าสูงสุดตามสัญญา : 20.0 MW สถานีไฟฟ้าต้นทาง : สถานีไฟฟ้าอรัญประเทศ 2 ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย/เดือนในปี 2567 : วงจรที่ 1 : 14,332,546.20 บาท และวงจรที่ 2 : 12,854,255.39 บาท บ้านด่าน ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ปริมาณกำลังไฟฟ้าสูงสุดตามสัญญา : 3.5 MW สถานีไฟฟ้าต้นทาง : สถานีไฟฟ้าปราสาท 1 ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย/เดือนในปี 2567 : 2,205,183.80 บาท บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ปริมาณกำลังไฟฟ้าสูงสุดตามสัญญา : 10.0 MW สถานีไฟฟ้าต้นทาง : สถานีไฟฟ้าคลองใหญ่ ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย/เดือนในปี 2567 : 9,476,227.31 บาท บ้านซับตารี ตำบลทุ่งขนาน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ปริมาณกำลังไฟฟ้าสูงสุดตามสัญญา : 3.0 MW สถานีไฟฟ้าต้นทาง : สถานีไฟฟ้าสอยดาว ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย/เดือนในปี 2567 : 2,041,783.55 บาท บ้านสวนสัม อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ปริมาณกำลังไฟฟ้าสูงสุดตามสัญญา : 1.0 MW สถานีไฟฟ้าต้นทาง : สถานีไฟฟ้าโป่งน้ำร้อน 2 (ชั่วคราว) ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย/เดือนในปี 2567 : 1,607,943.24 บาท บ้านเขาดิน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ปริมาณกำลังไฟฟ้าสูงสุดตามสัญญา : 8.0 MW สถานีไฟฟ้าต้นทาง : สถานีไฟฟ้าวังน้ำเย็น ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย/เดือนในปี 2567 […]

พาเปิดเบิ่ง แผนที่ขุมทรัพย์ 9 จุดไทยส่งไฟฟ้าให้กัมพูชา โกยเงินเข้าประเทศ 48 ล้านต่อเดือน อ่านเพิ่มเติม »

พาย้อนเบิ่ง ปมขัดแย้ง 46 ปี จากหักมิตรรักสู่ศัตรู “อิสราเอล-อิหร่าน” จุดฉนวนวิกฤตพลังงานโลกที่ไทยถึงต้องจับตา

วิกฤตตะวันออกกลางปะทุ อิสราเอลเปิดฉาก “Operation Rising Lion” ถล่มอิหร่าน ส่งผลให้สงครามทวีความรุนแรง กลางเดือนมิถุนายน 2025 สถานการณ์ในตะวันออกกลางเข้าสู่จุดเดือดสูงสุด เมื่ออิสราเอลได้เปิดปฏิบัติการโจมตีครั้งใหญ่ในอิหร่านภายใต้รหัส “Operation Rising Lion” โดยมีเป้าหมายทำลายโครงสร้างพื้นฐานนิวเคลียร์ โรงงานผลิตมิสไซล์ และผู้นำทางทหารของอิหร่าน รายงานยืนยันการเสียชีวิตของ นายพลฮอสเซน ซาลามี ผู้บัญชาการกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม และนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์คนสำคัญ ซึ่งถือเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของอิหร่าน การโจมตีครั้งนี้จุดชนวนให้อิหร่านตอบโต้กลับทันที ด้วยการยิงมิสไซล์ถล่มเมืองเทลอาวีฟและไฮฟาทางตอนเหนือของอิสราเอลอย่างรุนแรง สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อโรงไฟฟ้าและโรงกลั่นน้ำมันในไฮฟา และมีรายงานผู้เสียชีวิตหลายราย นอกจากนี้ ยังมีข่าวว่าอาคารสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลอิหร่านในกรุงเตหะรานก็ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีด้วยเช่นกัน หัวใจของความขัดแย้งเชิงยุทธศาสตร์นี้ยังคงอยู่ที่โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน อิสราเอลมองว่าการที่อิหร่านครอบครองอาวุธนิวเคลียร์จะกลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการดำรงอยู่ของตน ขณะที่อิหร่านยืนกรานว่าโครงการนิวเคลียร์มีวัตถุประสงค์เพื่อสันติ เช่น การผลิตพลังงานและการแพทย์ แต่เคยมีคำกล่าวบางส่วนจากผู้นำอิหร่านที่เคยแย้มถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพื่อการป้องปราม ได้ยิ่งเพิ่มความกังวลและเชื้อไฟให้กับสถานการณ์ที่ตึงเครียดอยู่แล้วให้ปะทุขึ้นไปอีกขั้น นี่ไม่ใช่แค่การปะทะ แต่คือจุดสูงสุดของความขัดแย้งที่ยาวนานกว่า 46 ปี ระหว่างสองขั้วอำนาจในตะวันออกกลาง แม้เหตุการณ์จะเกิดห่างไกลออกไปหลายพันกิโลเมตร แต่คลื่นกระแทกกลับสะเทือนมาถึงประเทศไทย โดยเฉพาะหัวใจของแรงงานไทยอย่างภาคอีสาน จากมิตรสู่ศัตรู รอยร้าวประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่ความเดือดระอุ ความสัมพันธ์อิสราเอล-อิหร่านเคยรุ่งเรืองด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจก่อนปี 1979 หลังการปฏิวัติอิสลาม อิหร่านได้ประกาศตนเป็นศัตรูถาวรของรัฐยิว โดยไม่ยอมรับการมีอยู่ของอิสราเอล และเริ่มให้การสนับสนุน กลุ่มต่อต้านอิสราเอล เช่น Hezbollah ในเลบานอน Hamas ในฉนวนกาซา Houthi ในเยเมน รวมถึงกองกำลังติดอาวุธในอิรักและซีเรีย ทำให้ความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศกลายเป็นสงครามตัวแทนที่แผ่ขยายไปทั่วภูมิภาค   ในปัจจุบันความขัดแย้งในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง โดยเฉพาะตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของพลังงานโลก ส่งผลกระทบมาถึงประเทศปลายทางอย่างประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อความตึงเครียดพุ่งสูง ความเสี่ยงในการขนส่งน้ำมันผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญที่ลำเลียงน้ำมันกว่า 20% ของโลกก็เพิ่มขึ้นตามมา ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งทะยานกดดันต้นทุนการผลิต การขนส่ง และค่าครองชีพภายในประเทศ เศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักต้องเผชิญกับภาวะชะลอตัว เนื่องจากต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูงขึ้น และความกังวลของคู่ค้าต่อสถานการณ์ความไม่แน่นอนในตลาดโลก ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้น กดดันให้ประชาชนต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นไปอีก อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในอิสราเอลและอิหร่าน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของคนจากภาคอีสาน จากข้อมูลล่าสุด มีแรงงานไทยในอิสราเอลมากถึง 24,494 คน และในอิหร่านอีกราว 90 คน ที่น่าตกใจคือ กว่า 80% ของแรงงานเหล่านี้มาจากภาคอีสาน ไม่ว่าจะเป็นครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี และมุกดาหาร ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ทำงานในภาคเกษตร ปศุสัตว์ และก่อสร้าง ส่งเงินกลับบ้านเพื่อจุนเจือครอบครัว สร้างบ้าน ส่งลูกเรียน และปลดหนี้สิน นี่คือก็ถือได้ว่าคือกระดูกสันหลังของครอบครัวนั่นเอง เมื่อสถานการณ์ตึงเครียด รัฐบาลอิสราเอลอาจสั่งอพยพหรือจำกัดพื้นที่แรงงาน ส่งผลให้การส่งเงินกลับบ้านหยุดชะงักทันที ครอบครัวในอีสานนับหมื่นต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินอย่างไม่ทันตั้งตัว หากสถานการณ์ลุกลามจนกลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบ และแรงงานนับหมื่นต้องอพยพกลับไทย นั่นอาจหมายถึงการที่ตลาดแรงงานในประเทศต้องรองรับแรงงานจำนวนมหาศาลอย่างกะทันหัน ซึ่งเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะดูดซับแรงงานเหล่านี้ได้ทั้งหมด การหายไปของรายได้จากแรงงานต่างแดนจะสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาคอีสาน ตั้งแต่ร้านค้าชุมชน ตลาดสด ไปจนถึงหนี้สินครัวเรือนและการลงทุนในท้องถิ่นนั่นเอง อ้างอิงจาก: – ประชาชาติธุรกิจ – Thai PBS – บีบีซีไทย   ติดตาม

พาย้อนเบิ่ง ปมขัดแย้ง 46 ปี จากหักมิตรรักสู่ศัตรู “อิสราเอล-อิหร่าน” จุดฉนวนวิกฤตพลังงานโลกที่ไทยถึงต้องจับตา อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🇰🇭กัมพูชากับความมั่นคงด้านพลังงาน “เส้นบางๆ ของการพึ่งพา”

  ฮู้บ่ว่า ? หลังการงดนำเข้าไฟฟ้าจากไทยของกัมพูชา ได้ดำเนินการตามประกาศของรัฐบาล กัมพูชาจึงหันไปเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าจากเวียดนามเพื่อชดเชยไฟฟ้าจากไทย เป็นเหตุให้หลายพื้นที่ไฟฟ้าไม่เสถียร และปอยเปตไฟฟ้ากว่า 20 นาที   ข้อมูลของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านไฟฟ้า Electricity Advisory Committee (EAC) 2023 เปิดเผยว่ากัมพูชาต้องนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านถึง 66.73% ขณะที่ผลิตได้เองภายในประเทศเพียง 33.27% โดยประเทศที่ส่งออกไฟฟ้าเข้ากัมพูชามากที่สุดคือ ลาว 57.46% เวียดนาม 25.09% และไทย 17.45% นอกจากนี้เมื่อเดือนตุลาคม 2024 กัมพูชาได้เซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าเพิ่มจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มอีก มากกว่า 50% หรือ 600 เมกะวัตต์ ซึ่งไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่นำเข้าจากไทยจะให้บริการประชาชนในพื้นที่จังหวัดบริเวณชายแดนไทยกัมพูชาเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งในเมืองปอยเปต ซึ่งที่เป็นที่ตั้งของบ่อนการพนัน โรงแรม และที่ทำการของบรรดาของธุรกิจสแกรมเมอร์ . แม้กัมพูชามีความพยายามจะมีความพยายามผลิตพลังงานหมุนเวียนในประเทศให้มากถึง 70% ภายในปี 2573 ภายในปี 2030 และจัดหาไฟฟ้าให้ครอบคลุมกับประชาชนทุกครัวเรือน 100% ภายในปี 2020 แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากการขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ในประเทศและโครงข่ายไฟฟ้าแห่งชาติที่ไม่สามารถเข้าถึงหมู่บ้านในชนบทหลายแห่ง . ความล้าสมัยของการผลิตไฟฟ้าในประเทศและความน่าเชื่อถือ ทำให้มีความพยายามลงทุนเพื่อทำให้มีความทันสมัยเพิ่มขีดความสามารถในการส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยมีค่าใช้จ่ายที่คาดการณ์ไว้ถึง 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็ยังไม่สามารถลงทุนเพิ่มได้เนื่องจากปัญหาด้านการหาแหล่งเงินทุนและงบประเทศ . สำหรับกัมพูชานับว่าเป็นประเทศที่มีอัตราค่าไฟต่อหน่วยสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลกโดยข้อมูลจาก CEIC Data ระบุว่า ค่าไฟปัจจุบัน (8 มกราคม 2568) ของกัมพูชาอยู่ที่ 780 เรียลกัมพูชา หรือประมาณ 6.70 บาทต่อหน่วย เป็นรองเพียงแค่ฟิลิปปินส์ที่ 7.10 บาทต่อหน่วย และสิงคโปร์ 8.01 บาทต่อหน่วย และคาดว่าจะแพงขึ้นกว่านี้เมื่อไฟฟ้าหายไปจากระบบ และต้องเร่งซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ แทน ซึ่งทำให้กัมพูชาไม่ได้มีอำนาจต่อรอง เพราะต้องพึ่งพาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

พามาเบิ่ง🇰🇭กัมพูชากับความมั่นคงด้านพลังงาน “เส้นบางๆ ของการพึ่งพา” อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง โรงงานผลิตเครื่องดื่มของเครือบุญรอด และไทยเบฟ

ภาค รายได้: ล้านบาท ภาคอีสาน 52,368 ภาคกลาง 43,056 ภาคใต้ 3,084 ภาคเหนือ 29,615 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 124,097 เครือ ชื่อบริษัท รายได้รวม (2567) (ล้านบาท) %YoY รายได้ กำไรขาดทุน (ล้านบาท) %YoY กำไร จังหวัด ผลิต ไทยเบฟเวอเรจ บริษัท อธิมาตร จำกัด 4,415 3.6 144 -4.9 บุรีรัมย์ กลั่นสุรา บริษัท เอส.เอส.การสุรา จำกัด 4,751 1.0 134 -11.8 อุบลราชธานี กลั่นสุรา บริษัท แก่นขวัญ จำกัด 5,015 -0.4 117 -33.9 ขอนแก่น กลั่นสุรา บริษัท เทพอรุโณทัย จำกัด 4,424 1.5 43 -57.1 หนองคาย กลั่นสุรา บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) (โรงงานนครราชสีมา) นครราชสีมา เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ บุญรอดบริวเวอรี่ บริษัท ขอนแก่น บริวเวอรี่ จำกัด 31,962 19.1 876 123.3 ขอนแก่น เบียร์, น้ำดื่ม, โซดา บริษัท มหาสารคาม เบเวอเรช จำกัด 1,801 -5.2 110 -0.6 มหาสารคาม น้ำดื่ม, โซดา โรงงานเครือ รายได้รวม (ล้านบาท) กำไรขาดทุน (ล้านบาท) จำนวนจังหวัดที่มีการตั้งโรงงาน บุญรอดบริวเวอรี่ 110,768 4,135 8 (8 โรงงาน) ไทยเบฟเวอเรจ 127,546 3,057 16 (20 โรงงาน) ไทยเบฟเวอเรจ (เสริมสุข) 13,905 236 6 (7 โรงงาน) หมายเหตุ: ข้อมูลรายได้รวมของบริษัทเป็นการนับรายได้เฉพาะรายได้จากบริษัทที่มีโรงงานเท่านั้น ไม่ได้เป็นการนับรายได้รวมทั้งหมดจากทุกธุรกิจ เครื่องดื่ม หนึ่งในสินค้าอุปโภคบริโภคที่อยู่คู่กับชีวิตประจำวันของผู้คนไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ก็ตาม เราทุกคนล้วนต้องบริโภคเครื่องดื่มในแต่ละวัน สินค้าประเภทนี้มีผู้เล่นจำนวนมากในตลาด แต่หากพูดถึงแบรนด์รายใหญ่ที่คุ้นหูคนไทย ชื่อที่มักจะถูกนึกถึงก่อนเสมอก็คือ “บุญรอดบริวเวอรี่” หรือ

พามาเบิ่ง โรงงานผลิตเครื่องดื่มของเครือบุญรอด และไทยเบฟ อ่านเพิ่มเติม »

“ทัพไทย” เบอร์ 14 โลก🏆พาส่องเบิ่ง “กองกำลังรบ” เพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขง และบทบาทสำคัญของกองกำลังสุรนารี

ทัพไทยอันดับ 14 โลก พลานุภาพทางทหารในลุ่มน้ำโขง และบทบาทสำคัญของกองกำลังสุรนารี ต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ และธุรกิจ สถานการณ์ชายแดนเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวและมีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ตามแนวชายแดนในลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เผชิญกับความท้าทายด้านความมั่นคงในหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด การค้ามนุษย์ และที่สำคัญ คือ การลักลอบเข้าเมือง หรือแม้แต่ความขัดแย้งภายในประเทศเพื่อนบ้านที่อาจส่งผลกระทบข้ามมายังฝั่งไทย จากข้อมูล Global Firepower 2025 กองทัพไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 14 ของโลก ด้วยจำนวนกำลังพลประจำการกว่า 363,850 นาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของกองทัพไทยในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในเทคโนโลยีทางการทหารที่ทันสมัย การฝึกซ้อมที่เข้มข้น และยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอด พลานุภาพนี้ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือในการปกป้องอธิปไตยเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย เมื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขง พบว่าจีนเป็นมหาอำนาจทางทหารอันดับ 1 ของโลก (2,035,000 นาย) ตามมาด้วยเวียดนามอันดับ 10 (600,000 นาย) กัมพูชาอันดับ 23 (221,000 นาย) เมียนมาอันดับ 38 (150,000 นาย) และลาวอันดับ 53 (130,000 นาย) โดยการจัดอันดับและจำนวนกำลังพลเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของพลานุภาพทางทหารในภูมิภาค และชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ไทยจะต้องรักษาสมดุลทางอำนาจและเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพนั่นเอง   บทบาทสำคัญของกองกำลังสุรนารีมีอะไรบ้าง⁉️ ในด้านของความมั่นคงภายในประเทศและชายแดน “กองกำลังสุรนารี” ซึ่งมีที่ตั้งและขอบเขตความรับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (อย่างเช่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี) มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการปกป้องอธิปไตยและรักษาความสงบสุขในพื้นที่ ภารกิจหลักของกองกำลังสุรนารีไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การป้องกันการรุกรานจากภายนอกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการแก้ไขปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและการดำเนินธุรกิจในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น การปราบปรามยาเสพติด การค้ามนุษย์ การลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งตามแนวชายแดน และการพัฒนาและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ห่างไกล หน่วยงานหลักในสังกัดของกองกำลังสุรนารี เช่น หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 26 และ 23 ที่รับผิดชอบพื้นที่ชายแดนในจังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์ รวมถึงหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 12 ซึ่งมีภารกิจในการสนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยทหารหลัก แสดงให้เห็นถึงการจัดโครงสร้างที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการรับมือกับภัยคุกคามในหลากหลายรูปแบบ   ความมั่นคงชายแดนที่เข้มแข็งจากบทบาทของทัพไทยและกองกำลังสุรนารีส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจอย่างไร⁉️ เมื่อพื้นที่ชายแดนมีความปลอดภัยและมีเสถียรภาพ ก็จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนและการค้าชายแดน ผู้ประกอบการเองก็จะมีความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนและดำเนินธุรกิจมากขึ้นนั่นเอง อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการค้าชายแดนที่เติบโตอย่างยั่งยืน หรือแม้กระทั่งการส่งเสริมการท่องเที่ยว ความปลอดภัยก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สุดในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว หากพื้นที่ชายแดนมีความมั่นคง การท่องเที่ยวในจังหวัดชายแดนภาคอีสานก็จะเติบโต ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและรายได้ให้กับคนในพื้นที่   การที่ทัพไทยติดอันดับ 14 ของโลก ไม่ได้เป็นเพียงตัวเลขที่น่าภาคภูมิใจเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงขีดความสามารถในการปกป้องประเทศชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน “ช่องบก” จ.อุบลราชธานีนี้ ก็มีกองกำลังสุรนารีเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนภาคตอีสาน ซึ่งบทบาทของกองกำลังเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การทหาร แต่ยังครอบคลุมไปถึงมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และการพัฒนา การรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาคนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่เพื่อปกป้องอธิปไตยเท่านั้น แต่ยังเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและธุรกิจ สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนอย่างยั่งยืนนั่นเอง   อ้างอิงจาก: – Global Fire Power 2025 – TNN  

“ทัพไทย” เบอร์ 14 โลก🏆พาส่องเบิ่ง “กองกำลังรบ” เพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขง และบทบาทสำคัญของกองกำลังสุรนารี อ่านเพิ่มเติม »

ISAN Insight ชวนมาเฮ็ดงาน THE STANDARD VOLUNTEER ประจำปี 2568  ในงาน The Secret Sauce Business Weekend อีสาน 2025

THE STANDARD VOLUNTEER ขอเชิญชวนนักศึกษาที่สนใจและต้องการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการจัดการงานอีเวนต์ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ THE STANDARD EVENT VOLUNTEER ประจำปี 2568  ในงาน The Secret Sauce Business Weekend อีสาน 2025 งานสัมมนาธุรกิจระดับภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดโดย THE STANDARD ร่วมกับพาร์ตเนอร์ชั้นนำมากมาย 📍 วันที่จัดงาน: 4-5 กรกฎาคม 2568 ณ จังหวัดขอนแก่น ภายในงานจะพบกับผู้นำธุรกิจระดับประเทศ เวทีเสวนาเข้มข้นจาก The Secret Sauce พร้อมกิจกรรม Business Trip และ Business Matching โดยเปิดพื้นที่ให้กับนักธุรกิจ นักลงทุน และคนรุ่นใหม่ ได้มาร่วมเรียนรู้และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจอย่างเข้มข้นตลอด 2 วัน คุณสมบัติของผู้สมัคร: 🔘 อายุ 20 ปีขึ้นไป 🔘 ไม่จำกัดคณะหรือสาขาวิชาที่ศึกษา 🔘 หากกำลังศึกษาอยู่ในคณะวิทยาการจัดการ / การจัดการอีเวนต์ / การจัดการโรงแรม จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ 🔘 โครงการฝึกงานนี้จัดขึ้นตามนโยบายของบริษัท เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะให้กับผู้เข้าร่วม โดยไม่มีการจ่ายค่าตอบแทน ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมจะได้รับอาหารทุกมื้อ ตลอดระยะเวลา 2 วันของกิจกรรม พร้อมใบเกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วม   สิ่งที่คุณจะได้รับจากโครงการ: 📌 ลงมือปฏิบัติงานจริงกับงานอีเวนต์ขนาดใหญ่ระดับมืออาชีพ 📌 สัมผัสประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้นำทางความคิดระดับประเทศ 📌 มีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานของทีม THE STANDARD EVENT อย่างใกล้ชิด 📌 พบปะผู้คน สร้างคอนเนกชัน และเรียนรู้ทักษะ Soft Skill ที่ใช้ได้จริง   👉คลิกเพื่อ สมัคร   📌 (10คน) Volunteer Coordinator    หน้าที่ : ประสานงาน ดูแล และอำนวยความสะดวกให้กับ Speaker ในส่วนของ Main Stage, Expertise Stage และ Business Matching ⏰ตารางเวลา 4 July 2025 11.00-12.30 น ประชุมรับบรีฟ นัดหมายการทำงานทั้ง 2 วัน 14.00-21.00 น Business Matching 5 July 2025   

ISAN Insight ชวนมาเฮ็ดงาน THE STANDARD VOLUNTEER ประจำปี 2568  ในงาน The Secret Sauce Business Weekend อีสาน 2025 อ่านเพิ่มเติม »

สหรัฐฯ ลงดาบ! แผงโซลาร์กัมพูชาโดนภาษี 3,521%

ฮู้บ่ว่า? กัมพูชาอาจถูกสหรัฐฯ สั่งเก็บภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์สูงถึง 3,521%    . ในขณะที่โลกเร่งเดินหน้าเข้าสู่ยุคพลังงานสะอาด สหรัฐอเมริกาได้จุดชนวนความสั่นสะเทือนในอุตสาหกรรมแผงโซลาร์เซลล์อีกครั้ง หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าแผงโซลาร์เซลล์จากกัมพูชาในอัตราสูงสุดถึง 3,521% ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการดำเนินการด้านภาษีที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายปี   . มาตรการภาษีดังกล่าวเกิดจากผลการสอบสวนที่พบว่า บริษัทจีนใช้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา ไทย เวียดนาม และมาเลเซีย ซึ่งเป็นฐานการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากต้นทุนการส่งออก ที่เป็นผลมาจากสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ   . สาเหตุที่กัมพูชาถูกประกาศการขึ้นภาษีในอัตราสูงสุด เนื่องจาก บริษัทผู้ผลิตในกัมพูชา เช่น Solar Long และ Hounen Solar ได้ถอนตัวจากการให้ความร่วมมือในกระบวนการสอบสวน ส่งผลให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ มองว่าขาดความโปร่งใส และได้กำหนดภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงสุด ส่งผลให้การส่งออกแผงโซลาร์เซลล์ของกัมพูชาอาจได้รับผลกกระทบอย่างรุนแรง เนื่องจากการส่งออกแผงโซลาร์เซลล์ของกัมพูชาพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ กว่า 97.7% ของการส่งออกทั้งหมด   . ประเทศไทยเอง ก็ได้รับการขึ้นภาษีการนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์จากสหรัฐฯ ในอัตราที่สูงด้วยเช่นกัน โดยสูงถึง 375% แต่จากการตรวจสอบพบว่า สินค้าที่ถูกขึ้นภาษีจากสหรัฐฯ จะเป็นสินค้าที่ถูกส่งออกโดยบริษัทจีน ที่ได้ย้ายฐานการผลิตมาในประเทศไทย    . ผลกระทบต่อการส่งออกโซลาร์เซลล์ของไทยอาจอยู่ในระดับที่รุนแรง เนื่องจากไทยมีมูลค่าการส่งออกแผงโซลาร์เซลล์และสัดส่วนการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ที่สูง ซึ่งอาจสร้างผลกระทบในวงกว้างสู่ผู้ผลิตในประเทศที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน ในกรณีที่บริษัทดังกล่าวมีการใช้สินค้าและวัตถุดิบในประเทศในการผลิตสินค้า  แต่ผลกระทบต่อผู้ผลิตอาจเบาลงลงหากบริษัทดังกล่าวใช้วัตถุดิบนำเข้าหรือใช้วัตถุดิบจากโรงงานจีนที่เข้ามาตั้งในประเทศไทย และอาจเป็นผลทำให้ผู้ผลิตในประเทศสามารถเติบโตได้ จากข้อได้เปรียบด้านต้นทุนการส่งออก   ที่มา : The guardian, Reuters, Trademap 🇺🇸สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย🇹🇭 ใครกระทบ? และภาษี 36% คำนวณจากอะไร? สินค้าส่งออกการเกษตรจากอีสานจะกระทบหรือไม่❓   Cambodia อาจเป็น (S)cambodia เมื่ออุตสาหกรรม Scam มีรายได้กว่า 40% ของ GDP กัมพูชา

สหรัฐฯ ลงดาบ! แผงโซลาร์กัมพูชาโดนภาษี 3,521% อ่านเพิ่มเติม »

เมื่อ ‘คนไทย’ ไม่แพ้ใคร…แม้แต่เรื่องงาน‼️ พาส่องเบิ่ง ชั่วโมงทำงานของคนไทยและเพื่อนบ้านอาเซียน

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมจะมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง แต่หากมองลึกลงไปถึงชีวิตแรงงาน จะพบว่าความมั่นคงนั้นอาจยังไปไม่ถึงพวกเขา  จากข้อมูลล่าสุดในปี 2567 คนไทยมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 42.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของหลายประเทศในอาเซียน และสูงเป็นอันดับ 5 รองจากกัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน ขณะที่ประเทศอื่นอย่างอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์ ซึ่งมีระบบแรงงานใกล้เคียง กลับมีชั่วโมงการทำงานที่ต่ำกว่าชัดเจน เมื่อย้อนดูข้อมูลย้อนหลัง 12 ปี จะพบว่าแนวโน้มชั่วโมงการทำงานของคนไทยมีความเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2556 คนไทยเคยทำงานเฉลี่ยสูงถึง 44.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เลยทีเดียว จากนั้นลดลงอย่างต่อเนื่องถึงจุดต่ำสุดที่ 40.8 ชั่วโมงในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศต้องเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 อย่างเต็มที่ และจะเห็นได้ว่าหลังจากนั้น ชั่วโมงการทำงานกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปี 2564-2567 ซึ่งอาจหมายถึงความจำเป็นของแรงงานที่ต้องทำงานมากขึ้นเพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปในช่วงวิกฤต และเพื่อให้เพียงพอกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเอง การที่คนไทยต้องทำงานมากกว่าหลายประเทศนั้น ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีชั่วโมงการทำงานใกล้เคียงกันอย่างสิงคโปร์หรือมาเลเซีย จะพบว่าผลิตภาพแรงงานของไทยยังตามหลังอยู่ สะท้อนถึงระบบเศรษฐกิจที่ยังอาศัยแรงงานในภาคที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ ทั้งการผลิตที่ไม่เน้นนวัตกรรม หรือภาคบริการที่ยังอยู่ในระดับพื้นฐาน ทำให้การทำงานในแต่ละชั่วโมงของแรงงานไทยไม่สามารถสร้างผลผลิตได้อย่างคุ้มค่า ส่งผลให้รายได้ต่อชั่วโมงต่ำ และต้องชดเชยด้วยการทำงานเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง โดยสิ่งที่น่ากังวลไปยิ่งกว่านั้นคือผลกระทบทางสังคมและคุณภาพชีวิตของแรงงานชาวไทย ชั่วโมงการทำงานที่สูงนั่นต้องแลกมาด้วยเวลาที่ลดลงในการดูแลครอบครัว พัฒนาทักษะตนเอง หรือแม้แต่การพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจในระยะยาว โดยเฉพาะในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ ประเทศต่าง ๆ เริ่มให้ความสำคัญกับแนวคิด “ทำงานอย่างชาญฉลาด มากกว่าทำงานหนัก” หรือ Work smart, not work hard แต่ประเทศไทยยังคงวนเวียนอยู่ในวัฒนธรรมการทำงานหนักเพื่อแลกกับรายได้ที่ยังไม่มั่นคงเพียงพอ การทำงานที่ยาวนานของแรงงานส่วนหนึ่งสะท้อนถึงระบบค่าจ้างขั้นต่ำที่ยังไม่เพียงพอกับค่าครองชีพในเมืองใหญ่ นอกจากนี้แรงงานจำนวนมากยังทำงานแบบชั่วคราวหรือพาร์ทไทม์ ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูงแต่จะไม่มีหลักประกันทางสังคม และไม่มีสวัสดิการใดรองรับหากเกิดปัญหาเรื่องสุขภาพหรือรายได้นั่นเอง   อ้างอิงจาก: – Statista – สำนักงานสถิติแห่งชาติ – The Standard – BLT Bangkok – AMARIN 34 HD   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ชั่วโมงการทำงาน #ชั่วโมงการทำงานของคนไทย #คนไทยทำงานหนัก #แรงงานไทย

เมื่อ ‘คนไทย’ ไม่แพ้ใคร…แม้แต่เรื่องงาน‼️ พาส่องเบิ่ง ชั่วโมงทำงานของคนไทยและเพื่อนบ้านอาเซียน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ปลดล็อกศักยภาพ เปิดมูลค่าลงทุน 3 จังหวัด SEZ อีสาน ประตูเศรษฐกิจสู่ GMS

หมวด หน่วย นครพนม หนองคาย มุกดาหาร จำนวนธุรกิจจดทะเบียนใหม่ปี 2567 แห่ง 68 123 117 มูลค่าทุนจดทะเบียนปี 2567 ล้านบาท 100 164 476 จำนวนธุุรกิจทั้งหมด แห่ง 910 1475 1160 มูลค่าทุนจดทะเบียนรวม ล้านบาท 3864 7104 10069 ผลประกอบการงบการเงิบปี 2566 ธุรกิจ ขายยานพาหนะ การผลิตสุรากลั่น ขายส่งผักผลไม้ มูลค่า (ล้านบาท) 4805 4359 7441 ธุรกิจ ขายเชื้อเพลิงยานยนต์ ขายยานพาหนะ ขายสินค้าทั่วไป มูลค่า (ล้านบาท) 2124 2126 3276 ธุรกิจ ขายสินค้าทั่วไป ขายเครื่อวจักรทางการเกษตร การผลิตน้ำตาล มูลค่า (ล้านบาท) 1933 1265 3075 ต่างชาติที่ลงทุนสูงสุด ประเทศ ลาว จีน จีน ทุนจดทะเบียน 54 43 14 ประเทศ อเมริกัน ลาว มาเลเซีย ทุนจดทะเบียน 20 33 9 ประเทศ สิงคโปร์ ฝรั่งเศส ลาว ทุนจดทะเบียน 3 5 7 เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) คือ พื้นที่ที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการลงทุน การค้าชายแดน และการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยรัฐจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่เหล่านี้เป็นพิเศษ เช่น การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษี การผ่อนคลายกฎหมายแรงงานต่างด้าว การอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อลดความซ้ำซ้อนและขั้นตอนทางราชการในการดำเนินธุรกิจ ประเทศไทยเริ่มผลักดันแนวคิดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างจริงจังในปี 2541 โดยมีจุดเริ่มต้นจากแนวคิด “ระเบียงเศรษฐกิจ” (Economic Corridor) ซึ่งธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) โดยการผลักดันพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อการเปลี่ยนระเบียงการขนส่ง (Transport Corridors) ให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มการเชื่อมโยงการค้า การลงทุน และการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาค ต่อมาในปี 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในการจัดตั้ง SEZ เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยมีเป้าหมายให้ SEZ เป็นเครื่องมือกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจจากศูนย์กลางไปยังพื้นที่ชายแดน ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาค

พามาเบิ่ง ปลดล็อกศักยภาพ เปิดมูลค่าลงทุน 3 จังหวัด SEZ อีสาน ประตูเศรษฐกิจสู่ GMS อ่านเพิ่มเติม »

จากอ่าวไทยสู่แหล่งพลังงานหลักในภาคอีสาน พาเปิดขุมทรัพย์ “ปิโตรเลียม” ที่สร้างมูลค่ามหาศาล

ปิโตรเลียมพลิกโฉมเศรษฐกิจไทย พยุงความมั่นคงทางพลังงาน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความมั่นคงทางพลังงานอย่างเต็มตัวนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ด้วยการค้นพบและเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติ จากแหล่งเอราวัณในอ่าวไทย ตามมาด้วยการผลิตน้ำมันดิบ จากแหล่งสิริกิติ์ จังหวัดกำแพงเพชรในปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นการพลิกโฉมพลังงานของประเทศจากผู้พึ่งพิงสู่ผู้ผลิตเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง แหล่งปิโตรเลียมของไทยนั้นมีความหลากหลาย ทั้งในอ่าวไทยและบนบก โดยในภาคอีสานของเรา ก็เป็นที่ตั้งของขุมทรัพย์พลังงานสำคัญอย่างแหล่งก๊าซธรรมชาติ สินภูฮ่อม และแหล่งก๊าซธรรมชาติ น้ำพอง สองฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นและเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของชาติ   แหล่งสินภูฮ่อม ขุมทรัพย์แห่งความมั่งคั่งและการพึ่งพาตนเอง แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม ซึ่งตั้งอยู่บนแปลงสัมปทาน EU1 และ E5N ครอบคลุมพื้นที่ 232.2 ตารางกิโลเมตร ในจังหวัดอุดรธานีและขอนแก่น ได้เริ่มเดินเครื่องผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยให้ผลผลิตเป็นก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว ด้วยอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 95 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลวเฉลี่ย 200 บาร์เรลต่อวัน (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2567) คิดเป็นสัดส่วนถึง 3% ของปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติทั้งประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพอันมหาศาลของแหล่งสินภูฮ่อมในการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพลังงานของประเทศนั่นเอง การที่แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อมสามารถสร้างรายได้กว่า 2,425.2 ล้านบาท ในช่วงปี 2560-2563 ยิ่งตอกย้ำถึงศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่สูงมาก การลงทุนในโครงการปิโตรเลียมขนาดใหญ่นี้จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น การค้นพบก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ประมาณ 30 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ถือเป็นข่าวดีอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย ในสภาวะที่ราคาพลังงานโลกผันผวนและไม่แน่นอน การมีแหล่งพลังงานภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ลดการนำเข้าของพลังงาน ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดโลก และสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศในระยะยาวอีกด้วย การผลิตปิโตรเลียมในปริมาณมากย่อมนำมาซึ่งโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การดำเนินงานของแหล่งสินภูฮ่อมในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและขอนแก่นยังเป็นการกระจายเม็ดเงินลงทุนและรายได้ไปสู่ภูมิภาค ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น สร้างงาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โดยตรง   แหล่งน้ำพอง หัวใจแห่งการผลิตกระแสไฟฟ้าภาคอีสาน แหล่งก๊าซน้ำพอง ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2522 และเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2533 โดยมีพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมจำนวน 34.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอน้ำพอง และอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น มีการผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งถูกส่งตรงไปยังโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงประชาชนกว่าล้านครัวเรือนในภาคอีสาน นอกจากนี้ แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพองยังสร้างรายได้กว่า 750 ล้านบาท แหล่งก๊าซน้ำพองมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าในภาคอีสาน การมีแหล่งพลังงานในท้องถิ่นช่วยลดการสูญเสียพลังงานจากการส่งผ่านระยะไกล และสร้างความมั่นคงทางไฟฟ้าให้กับภูมิภาคอีกด้วย การใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งภายในประเทศย่อมมีต้นทุนที่ถูกกว่าการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและท้ายที่สุดก็ส่งผลดีต่อค่าครองชีพของประชาชน การดำเนินงานของแหล่งก๊าซน้ำพองสร้างโอกาสในการจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่น ทั้งในส่วนของการสำรวจ การผลิต การบำรุงรักษา และบริการที่เกี่ยวข้อง     แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อมและแหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง ไม่เพียงแต่เป็นขุมทรัพย์พลังงานที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ แต่ยังเป็นเสาหลักสำคัญในการค้ำจุน ความมั่นคงทางพลังงาน และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอย่างแท้จริง การลงทุนและพัฒนาแหล่งพลังงานภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจแหล่งใหม่ๆ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ในขณะที่สถานการณ์พลังงานโลกที่มีความผันผวนและปัจจัยต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป การมีแหล่งพลังงานภายในประเทศที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงต่างชาติ

จากอ่าวไทยสู่แหล่งพลังงานหลักในภาคอีสาน พาเปิดขุมทรัพย์ “ปิโตรเลียม” ที่สร้างมูลค่ามหาศาล อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top