May 2023

พามาฮู้จัก “ฟาร์มกำนันเตียง” อาณาจักรโคขุนแห่งอีสาน

“ฟาร์มกำนันเตียง” เป็นผู้ให้ความรู้เรื่องโคขุน การเลี้ยงดู ไปจนถึงการสร้างความยั่งยืนทางด้านอาชีพค้าขายโคขุนให้กับเกษตรกรโคขุนทุกระดับ อีกทั้งยังคัดสรรเนื้อคุณภาพพรีเมี่ยม ราคาที่ทุกคนจับต้องได้ เพื่อให้คนไทยได้ลิ้มลองรสชาติของเนื้อโคขุนไทย และรู้ว่า “เนื้อโคขุนไทย คุณภาพไม่แพ้ชาติใดในโลก” เส้นทางของ “ฟาร์มกำนันเตียง” เป็นอย่างไร? 2535 คุณทองเตียง บริบาล ได้เริ่มก่อตั้งฟาร์มโคขุนในจังหวัดศรีสะเกษโดยมีวัวเริ่มต้นเพียง 5 ตัว 2548 มีการรวมกลุ่มกัน เพื่อเลี้ยงโคขุนส่งขายให้ฟาร์มกำนันเตียงโดยมีสมาชิกเริ่มต้นเพียง 5 ครอบครัว ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ครอบครัว สมาชิกมีวัวเพิ่มขึ้นมา 100 ตัว ฟาร์มกำนันเตียงมี 600 ตัว 2559 ได้ก่อตั้งกลุ่มให้ถูกต้องภายใต้ ชื่อ กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนดอกลำดวน ปัจจุบันมีโคขุนภายในกลุ่มเพิ่มขึ้นมาอีก 250 ตัว รวมมีโคขุนไม่น้อยกว่า 850 ตัว และโคแม่พันธุ์ไม่น้อยกว่า 1,500 ตัว 2560 ก่อตั้ง บริษัท คิดขาย บูชเชอร์แอนด์เรสเตอรองท์ จำกัด 2561 มีสมาชิก 55 ครอบครัว มีโคขุนเพิ่มขึ้นมาอีก 500 ตัว รวมมีโคขุนไม่น้อยกว่า 1,000 ตัว และโคแม่พันธุ์ไม่น้อยกว่า 2,500 ตัว อีกทั้งเริ่มสร้างร้านอาหารแม่เฮาปิ้งย่างและชาบู 2562 มีสมาชิก 300 ครอบครัว มีโคขุนเพิ่มขึ้นมาอีก 1,000 ตัว รวมมีโคขุนไม่น้อยกว่า 2,000 ตัว และโคแม่พันธุ์ไม่น้อยกว่า 3,500 ตัว อีกทั้งเริ่มสร้างร้านขายเนื้อโคขุนฟาร์มกำนันเตียง (Butchers Shop) 2563 เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารโคขุน 2564 เริ่มก่อสร้างโรงงานตัดแต่งและแปรรูปเนื้อโคขุน อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#ฟาร์มกำนันเตียง #ฟาร์มโคขุน #โคขุน

พามาเบิ่ง พระโคพันธุ์ไทย 4 พันธุ์โคไทย 4 ภาคพื้นเมือง

พามาเบิ่ง พระโคพันธุ์ไทย 4 พันธุ์โคไทย 4 ภาคพื้นเมือง   โคพื้นเมือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Bos Taurus L. เป็นโคที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน มีขนาดเล็ก ทนร้อน ทนต่อโรคและแมลง หากินเก่ง ให้ลูกดก สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบได้ดี ซึ่งเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ที่กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ และพื้นที่เลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มลดลง  การเลี้ยงโคพื้นเมืองจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่เกษตรกรรายย่อยนำมาเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้ แต่ ปัญหาที่สำคัญ คือ ปัจจุบันโคพื้นเมืองมีปริมาณลดลง เนื่องจากมีการนำโคสายเลือดยุโรปมาผสมพันธุ์ และมีการขยายพื้นที่เลี้ยงอย่างกว้างขวาง ทำให้ได้โคลูกผสมที่ให้ผลผลิตที่สูงขึ้น ได้คุณภาพเนื้อและราคาที่ดีกว่า ดังนั้นโคพื้นเมืองจึงมีปริมาณลดลง เนื่องจาก นโยบายการเลี้ยงโคที่รัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา ได้เน้นการผลิตเพื่อบริโภคและทดแทนการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศทำให้เกษตรกรหันมาเลี้ยง โคพันธุ์ต่างประเทศทั้งพันธุ์แท้และลูกผสมจนทำให้โคพื้นเมืองไม่ได้รับความเอาใจใส่ในด้านการเลี้ยงดู การปรับปรุงพันธุ์และขาดการอนุรักษ์พันธุ์อย่างจริงจัง ทำให้โคพื้นเมืองซึ่งสามารถเจริญเติบโตและขยาย พันธุ์ได้ดีในสภาพแวดล้อมของเกษตรกรถูกละเลยไป ทั้งๆที่โคพื้นเมืองมีคุณลักษณะที่โดดเด่นเหมาะสมกับ สภาพการเลี้ยงดูของเกษตรกรและสภาพท้องถิ่นมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังใช้ ต้นทุนในการเลี้ยงดูต่ำกว่าโคพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ   ข้อดีของโคพื้นเมือง เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกอาหาร เพราะผ่านการคัดเลือกแบบธรรมชาติในการเลี้ยงแบบไล่ต้อน โดยเกษตรกร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มีอย่างจำกัดได้เป็นอย่างดี ให้ลูกดก ส่วนใหญ่ให้ปีละตัว เพราะเกษตรกรคัดแม่โคที่ไม่ให้ลูกออกอยู่เสมอ ทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี ใช้แรงงานได้ดี แม่โคพื้นเมืองเหมาะที่จะนำมาผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์หรือผสมเทียมกับพันธุ์อื่น เช่น บราห์มันโคพันธุ์ตาก โคกำแพงแสน หรือโคกบินทร์บุรี มีเนื้อแน่น เหมาะกับการประกอบอาหารไทยสามารถใช้งานได้ ข้อเสีย เป็นโคขนาดเล็ก เพราะถูกคัดเลือกมาในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารจำกัด ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงขุน เพราะมีขนาดเล็กไม่สามารถทำน้ำหนักซากได้ตามที่ตลาดโคขุนต้องการ คือที่น้ำหนักมีชีวิต 450 กก. และเนื้อไม่มีไขมันแทรก เนื่องจากแม่โคมีขนาดเล็ก จึงไม่เหมาะสมที่จะผสมกับโคพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ชาร์โรเล่ส์ และซิมเมนทัล เพราะอาจมีปัญหาการคลอดยาก   อ้างอิงจาก:  ตลาดโค และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พันธุ์วัวภาคอีสาน #วัวอีสาน #วัวไทย #วัวพันธุ์ไทย #วันพืชมงคล #อุบลราชธานี #ชัยภูมิ   

ทำความฮู้จัก 8 พันธุ์ข้าวในภาคอีสาน 

ทำความฮู้จัก 8 พันธุ์ข้าวในภาคอีสาน    วันพืชมงคลในปีนี้ ตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา จัดตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงเกษตรกรของชาติ มีมานานตั้งแต่สมัยอยุธยา ในพิธีกรรมนั้น จะใช้พระโคเสี่ยงทาย หากพระโคทานสิ่งไหน จะมีความหมายอย่างไร โดยอาหารเสี่ยงทาย #วันพืชมงคล ประกอบด้วย  ข้าว ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้น คือ ข้าว หรือ ข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี ถั่ว หรือ งา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี น้ำ หรือ หญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ เหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขาย กับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง   โดยวันนี้ทาง ISAN Insight จะพามาฮู้จัก 8 #พันธุ์ข้าวอีสาน และแนวโน้มโอกาสด้านอุตสาหกรรมข้าว ในปี 2566-2568  ผลผลิตข้าวมีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลงเล็กน้อย โดยยังมีปัจจัยบวกด้าน (1) ปริมาณน้ำฝนที่คาดว่าจะเอื้ออำนวย (ปี 2567-2568 คาดว่ายังได้อานิสงส์จากภาวะ La Niña) และ (2) มาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ    อย่างไรก็ตาม ผลผลิตยังมีปัจจัยเสี่ยงจาก (1) เกษตรกรหันไปปลูกพืชพลังงานและพืชสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่นที่มีราคาสูงทดแทน อาทิ มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ (2) ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นโดยเฉพาะราคาปุ๋ยทำให้เกษตรกรบางส่วนลดการใช้ปุ๋ยอาจทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง การบริโภคในประเทศคาดว่าจะทรงตัวหรือขยายตัวจากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ หนุนความต้องการจากร้านอาหาร โรงแรม การผลิตอาหาร และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ด้านการส่งออกข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก (1) ภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่น่าจะเริ่มทยอยฟื้นตัวในปี 2567-2568 และ (2) ความต้องการสต็อกอาหารต่อเนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ   อ้างอิงจาก: กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.thaipbs.or.th/news/content/327620  https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-outlook-2023-2025    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พันธุ์ข้าวภาคอีสาน #ข้าวอีสาน #มหาสารคาม #ร้อยเอ็ด #ยโสธร #ศรีสะเกษ #สุรินทร์ #สกลนคร #กาฬสินธุ์ #อุบลราชธานี #นครราชสีมา #บุรีรัมย์ #ขอนแก่น #หนองคาย

ชวนเบิ่ง อาณาจักรฟาร์มวัวรายใหญ่แห่งภาคอีสาน .

เนื่องในวันนี้เป็นวันพืชมงคล วันนี้ ISAN Insight & Outlook ชวนเบิ่งว่า “อาณาจักรฟาร์มวัว” อยู่หม่องใด๋แหน่ของภาคอีสานและมีรายได้รวมหลายปานใด๋? อันดับที่ 1 บริษัท สิทธิโชค 1962 จำกัด มีรายได้รวม 31 ล้านบาท อยู่ที่ นครราชสีมา อันดับที่ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภู-พิงค์ 2018 มีรายได้รวม 21 ล้านบาท อยู่ที่ สุรินทร์ อันดับที่ 3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนากร แดรี่ ฟาร์ม มีรายได้รวม 10 ล้านบาท อยู่ที่ นครราชสีมา อันดับที่ 4 บริษัท บ้านไร่ กรีน ออแกนิค จำกัด มีรายได้รวม 7 ล้านบาท อยู่ที่ นครราชสีมา อันดับที่ 5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชนบท ฟาร์ม มีรายได้รวม 6 ล้านบาท อยู่ที่ นครราชสีมา อันดับที่ 6 บริษัท ฟาร์มบุญเลี้ยง จำกัด มีรายได้รวม 3.5 ล้านบาท อยู่ที่ มุกดาหาร อันดับที่ 7 บริษัท หนองบัว แดรี่ จำกัด มีรายได้รวม 3.1 ล้านบาท อยู่ที่ หนองบัวลำภู อันดับที่ 8 ห้างหุ้นส่วนจำกัด กัปตันฟาร์มวากิว มีรายได้รวม 2 ล้านบาท อยู่ที่ สุรินทร์ หมายเหตุ: เป็นข้อมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจการเลี้ยงโคนมและโคเนื้อ (รหัสประเภทธุรกิจ 01411) อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปีงบการเงิน 2564 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจฟาร์มวัว#ฟาร์มวัว #ธุรกิจ #Business #ธุรกิจอีสาน

ชวนเบิ่ง 7 อันดับธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตรที่มีรายได้รวมมากที่สุดในภาคอีสาน .

อันดับที่ 1 บริษัท ทองอุไรพัฒนา จำกัด ธุรกิจ การเลี้ยงสุกร รายได้รวม 1,704 ล้านบาท จังหวัด ขอนแก่น อันดับที่ 2 บริษัท โรงสีหิรัณย์เจริญ จำกัด ธุรกิจ โรงสีข้าว รายได้รวม 934 ล้านบาท จังหวัด สุรินทร์ อันดับที่ 3 บริษัท อาร์.เอ็ม.ซี.ฟาร์ม จำกัด ธุรกิจ การเลี้ยงสุกร รายได้รวม 811 ล้านบาท จังหวัด บุรีรัมย์ อันดับที่ 4 บริษัท อรรณพชัยภูมิฟาร์ม จำกัด ธุรกิจ การเลี้ยงไก่เนื้อ รายได้รวม 635 ล้านบาท จังหวัด ชัยภูมิ อันดับที่ 5 บริษัท กิจเจริญโพลทรี 1999 จำกัด ธุรกิจ การเลี้ยงสัตว์ปีก รายได้รวม 573 ล้านบาท จังหวัด บุรีรัมย์ อันดับที่ 6 บริษัท สินพรพงศ์ จำกัด ธุรกิจ การเลี้ยงไก่เนื้อ รายได้รวม 568 ล้านบาท จังหวัด บุรีรัมย์ อันดับที่ 7 บริษัท ซุปเปอร์ เอ้กซ์ จำกัด ธุรกิจ การเลี้ยงไก่ไข่ รายได้รวม 563 ล้านบาท จังหวัด ขอนแก่น จากอันดับข้างต้น จะเห็นได้ว่า ธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตรในขอนแก่น มีรายได้รวมกันมากที่สุด อยู่ที่ 2,267 ล้านบาท เนื่องจากขอนแก่นเป็นพื้นที่ที่มีการเพาะเลี้ยงพืชอาหารสัตว์อย่างหลากหลาย ทำให้สามารถผลิตอาหารสัตว์คุณภาพสูงได้ในปริมาณมาก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ฟาร์มเลี้ยงไก่มีการเติบโตและกำไรสูงขึ้น อ้างอิงจาก: – CredenData #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร #การเกษตร #ธุรกิจ #Business #ธุรกิจอีสาน

UBE เริ่ดคักหลาย เดินหน้ากลยุทธ์นวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร สู่เป้าหมายบริษัท Food Tech .

นางสาวสุรียส โควสุรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันสำปะหลังรายใหญ่ของประเทศไทย ได้เปิดเผยว่า “ภาพรวมผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1/2566 เป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทาย ทั้งจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูง และอุปทานมันสำปะหลังที่ลดลงมาก ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่ในจังหวัดอุบลราชธานี และพื้นที่ใกล้เคียงในไตรมาสที่ 4/2565 ถือเป็นน้ำท่วมใหญ่ในรอบกว่า 43 ปี กระทบแหล่งเพาะปลูกมันสำปะหลังโดยตรง ส่งผลให้อุปทานมันสำปะหลังในฤดูกาลนี้ลดลงกว่า 30% ซึ่งบริษัท ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของธุรกิจเอทานอล ปริมาณยอดขายเอทานอลเกรดเชื้อเพลิงยังทรงตัว เนื่องจากได้อานิสงส์จากการเปิดเมือง และฤดูกาลท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี บริษัทมีแผนเพิ่มปริมาณการขายด้วยการผลักดันการใช้แก๊สโซฮอล์ E20 เป็นน้ำมันพื้นฐาน อีกทั้งคาดการณ์ได้ผลบวกจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะกลับเข้าไทยประมาณ 30 ล้านคนในปี 2566 จะเป็นแรงหนุนอุปสงค์การใช้เอทานอลในช่วงที่เหลือของปี ส่วนเอทานอลเกรดอุตสาหกรรม อุปสงค์ลดลงจากสถานการณ์โควิดที่เริ่มคลี่คลาย ซึ่งบริษัทได้ทำกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง และเดินหน้าผลักดันการเปิดเสรีเอทานอลเกรดอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อเพิ่มปริมาณขาย ด้านธุรกิจแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ด้วยการขยายตลาดต่างประเทศใหม่ๆ เพื่อนำเสนอฟลาวมันสำปะหลังไปใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของลูกค้า รวมถึงเพิ่มช่องทางการตลาดเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคในประเทศ โดยล่าสุดได้เพิ่มช่องทางจำหน่ายแป้งทอดกรอบ ภายใต้แบรนด์ Tasuko ในร้านสะดวกซื้อต่างๆ แล้ว นอกจากนี้ บริษัทยังเดินหน้าเปิดรับความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อผลักดันการพัฒนาผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลังและฟลาวมันสำปะหลัง เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่มีความหลากหลายในการนำไปใช้ รองรับเป้ากลยุทธ์การก้าวสู่บริษัท Food Tech ในอนาคต” ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1/2566 ของ UBE สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 บริษัท มีรายได้รวมที่ 1,499.2 ล้านบาท ลดลง 3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 26.2 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุหลักมาจากต้นทุนวัตถุดิบมันสำปะหลัง และปริมาณขายที่ลดลงของเอทานอลเกรดอุตสาหกรรม และแป้งมันสำปะหลัง สำหรับทิศทางการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2/2566 ยังคงเป็นช่วงที่ท้าทายจากปริมาณวัตถุดิบมันสำปะหลัง และราคามันสำปะหลังทรงตัวในระดับสูง อย่างไรก็ดี คาดการณ์สถานการณ์ขาดแคลนวัตถุดิบจะคลี่คลายในไตรมาสที่ 3/2566 เมื่อผลผลิตฤดูกาลใหม่เริ่มเก็บเกี่ยว ประกอบกับการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว จะหนุนอุปสงค์เอทานอล ทั้งนี้ บริษัท ยังคงสานต่อกลยุทธ์ด้านความร่วมมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มสัดส่วนปริมาณการขายสินค้ากลุ่มมูลค่าสูง ทั้งแป้งออร์แกนิคและฟลาวมันสำปะหลัง และยังอยู่ในระหว่างการศึกษา และแสวงหาโอกาสเพื่อต่อยอดไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ ควบคู่ไปกับการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการต้นทุน และมุ่งเน้นกิจกรรมการตลาด ทั้งการเข้าสู่ตลาดใหม่ในต่างประเทศ และการขยายช่องทางการจำหน่ายสำหรับผลิตภัณฑ์ในประเทศให้หลากหลายและต่อเนื่องมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญกับการสร้างความยั่งยืนในด้านวัตถุดิบ ด้วยการเดินหน้า “โครงการ อีสานล่าง 2 โมเดล” บูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในเรื่องการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สามารถบริหารจัดการแปลงมันสำปะหลังอินทรีย์ได้อย่างยั่งยืน อ้างอิงจาก: https://www.bangkokbiznews.com/environment/1067926 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#UBE #อุบลไบโอเอทานอล #FoodTech#Business …

UBE เริ่ดคักหลาย เดินหน้ากลยุทธ์นวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร สู่เป้าหมายบริษัท Food Tech . อ่านเพิ่มเติม »

ในปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าเกษตรเหล่านี้ ราคาเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด๋ ?

ในปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าเกษตรเหล่านี้ ราคาเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด๋ ?    ความต้องการสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกและบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ข้าวเปลือก ไก่เนื้อ และไข่ไก่สดคละ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มลดลงจากปริมาณผผลผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมูและกุ้งขาว   แนวโน้มความต้องการของสินค้าเกษตร เดือนพฤษภาคม ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ และข้าวเปลือก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นความต้องการข้าวหอมมะลิเพื่อใช้ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้น และจากสต็อกข้าวของผู้บริโภคข้าวรายใหญ่ของโลกลดลงอาทิ จีน อินโดนีเซีย อีกทั้งผลผลิตข้าวที่ออกสู่ตลาดเริ่มลดลงเนื่องจากเป็นช่วงสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง    หมู มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น จากปัจจัยราคาวัตถุดิบ อาหารสัตว์และต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ปัญหาสภาพอากาศร้อน ทำให้สุกรเจริญ เติบโตช้าปริมาณ ผลผลิตเนื้อสุกรจึงออกสู่ตลาดได้น้อย   กุ้ง มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากคาดว่าการส่งออกกุ้งของไทยจะมีแนวโน้มลดลง จากความต้องการนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา เช่น ตลาดญี่ปุ่นที่เผชิญกับภาวะเงินเฟ้อในระดับสูง และจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงในช่วงสิ้นสุดฤดู High Season ขณะที่คาดว่าปริมาณกุ้งจะยังคงออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากการที่เกษตรกรยังคงเร่งจับกุ้งในช่วงที่สภาพอากาศร้อนจัดเพื่อลดความเสียหาย ซึ่งคาดการณ์ว่าฤดูร้อนจะสิ้นสุดในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2566   อ้างอิงจาก: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส.   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ราคาสินค้าเกษตร #ราคาสินค้าเกษตร66 

พามาเบิ่ง ผลเลือกตั้งอีสาน ปี 2566 อย่างไม่เป็นทางการ (จาก กกต.)

พามาเบิ่ง ผลเลือกตั้งอีสาน ปี 2566 อย่างไม่เป็นทางการ (จาก กกต.)   ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ (15 พ.ค.) กกต. นับแล้ว 99%  เลือกตั้งอีสานทั้งหมด 133 เขต ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 17,453,038 คน ผู้มาใช้สิทธิ 12,437,018 คน คิดเป็น 71.26%  โดยสามารถเช็คผลการเลือกตั้งย้อนหลังภาพรวมได้ที่ https://www.ectreport.com/overview หรือรายจังหวัดที่ https://www.ectreport.com/by-province  หมายเหตุ: ผลคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. อย่างไม่เป็นทางการ ได้ผ่านการตรวจสอบของ กปน. จนท.บันทึกข้อมูล และอนุกรรมการประจำอำเภอ/เขตเลือกตั้งในเบื้องต้นแล้ว   อ้างอิงจาก: สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง  #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ผลการเลือกตั้ง2566 #เลือกตั้ง66 #เลือกตั้ง2566 #เลือกตั้งอีสาน

หนี้สินกับความกังวลของคนอีสานเป็นจั้งใด๋ ? มาเบิ่งคำตอบได้ใน  งานวิจัยความสัมพันธ์ของระบบเศรษฐกิจชุมชนกับทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน

หนี้สินกับความกังวลของคนอีสานเป็นจั้งใด๋ ? มาเบิ่งคำตอบได้ใน  งานวิจัยความสัมพันธ์ของระบบเศรษฐกิจชุมชนกับทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน   โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวาพร ฟองทอง และคณะ สำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 4 พื้นที่ โดยใช้กลุ่มตัวแทน ครัวเรือนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก จำนวนทั้งสิ้น 1,067 ครัวเรือน ประกอบด้วย  จ.ขอนแก่น จำนวน 406 ครัวเรือน  จ.มหาสารคาม จำนวน 113 ครัวเรือน  จ.อุดรธานี จำนวน 277 ครัวเรือน  จ.นครราชสีมา จำนวน 271 ครัวเรือน    จากการสำรวจพบว่า สัดส่วนรายจ่ายของครัวเรือนหมุนเวียนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะรายจ่าย ด้านค่าอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคในครัวเรือน กิจกรรมทางศาสนา (เงินทำบุญ/ซองผ้าป่า) รวมไปถึงค่าซื้อสลากกินแบ่ง/หวย/การพนันอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่มากกว่า 90 % โดยในพื้นที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครอบคลุมไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ รวมไปถึง โรงพยาบาล  ซึ่งทางด้านค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษาเกิดขึ้นทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ไม่ต่างกันมาก ในบางครัวเรือน จะให้บุตรหลานเข้าเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนในพื้นที่ และเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาในตัวอำเภอหรือโรงเรียนนอกพื้นที่ เนื่องจากโรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษามักกระจุกตัวในตัวอำเภอและเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในเขตพื้นที่นั้น ๆ ทางด้านหนี้สินกับความกังวลของครัวเรือนในพื้นที่ จ.อุดรธานี และ จ.นครราชสีมา ที่มีความกังวลหนี้สินที่นำมาลงทุนด้านการเกษตร จากการสัมภาษณ์บางครัวเรือนให้เหตุผลว่า ที่มีความกังวลเนื่องจาก “ผลผลิตไม่เป็นไปตามคาด ไหนจะแล้งบ้าง น้ำท่วมข้าวบ้าง” “ราคาผลผลิตตกต่ำ” “ต้นทุนพวกน้ำมัน ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงแพง ขายข้าวได้ก็ไม่พอที่จะใช้หนี้” ในขณะที่ครัวเรือนที่มีความกังวลด้านหนี้สินที่กู้ยืมเพื่อมาใช้จ่ายในครัวเรือนทั่วไป ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น และ จ.มหาสารคาม ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว หลายครัวเรือนให้เหตุผลว่า “บางช่วงที่รายได้ไม่พอกับรายจ่ายทำให้ต้องกู้ยืมมาเพื่อมาใช้จ่ายในแต่ละวัน” บางครัวเรือนกู้นอกระบบทำให้มีความกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนอกระบบสูงกว่าในระบบมาก แต่ด้วยความจำเป็นทำให้ต้องกู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อวัน   อ้างอิงจาก: งานวิจัยความสัมพันธ์ของระบบเศรษฐกิจชุมชนกับทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวาพร ฟองทอง และคณะ สนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ขอนแก่น #มหาสารคาม #อุดรธานี #นครราชสีมา#มข #เศรษฐศาสตร์มข #สสส

พามาเบิ่ง อาณาจักรโรงสีข้าว รายใหญ่แห่งภาคอีสาน

ใกล้ถึงวันพืชมงคลแล้ว มื้อนี้ ISAN Insight & Outlook สิพามาเบิ่งธุรกิจโรงสีข้าวในภาคอีสาน ว่ามีบริษัทใด๋แหน่ อยู่จังหวัดใด๋ และมีรายได้ส่ำใด๋ อันดับที่ 1 เกษตรวิสัย ไรซ์ อินเตอร์เทรด จำกัด จังหวัดร้อยเอ็ด รายได้รวม 1,730 ล้านบาท อันดับที่ 2 กล้าทิพย์ จำกัด จังหวัดหนองบัวลำภู รายได้รวม 1,307 ล้านบาท อันดับที่ 3 โรงสีทรัพย์อนันต์ จำกัด จังหวัดสุรินทร์ รายได้รวม 1,139 ล้านบาท อันดับที่ 4 ย่งฮวดอินเตอร์ไรซ์ จำกัด จังหวัดร้อยเอ็ด รายได้รวม 1,090 ล้านบาท อันดับที่ 5 อีสเทิร์นไรซ์มิลล์ จำกัด จังหวัดกาฬสินธุ์ รายได้รวม 1,080 ล้านบาท อันดับที่ 6 โรงสีข้าว ป.ณัฐตพล จำกัด จังหวัดขอนแก่น รายได้รวม 1,046 ล้านบาท อันดับที่ 7 โรงสีแสงทองไรซ์กรุ๊ป จำกัด จังหวัดอุดรธานี รายได้รวม 965 ล้านบาท จังหวัดที่มีโรงสีข้าวมากที่สุดในภาคอีสาน คือ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีจำนวนโรงสีข้าว 27 แห่ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว อีกทั้งยังมีที่ดินและสภาพอากาศที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกข้าว ทำให้มีการผลิตข้าวอย่างต่อเนื่องและมีปริมาณผลผลิตที่สูง ซึ่งข้าวที่ปลูกในร้อยเอ็ดมีคุณภาพที่ดีและแตกต่างจากพื้นที่อื่น โดยเฉพาะข้าวกล้อง ข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียว ที่มีความนิยมในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร้อยเอ็ดยังมีการลงทุนในโรงสีข้าวอย่างต่อเนื่อง โรงสีข้าวในจังหวัดมีการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยในกระบวนการผลิต ทำให้ข้าวที่ผลิตมีคุณภาพและมีความสามารถในการส่งออกข้าวในปริมาณมาก อีกทั้งโรงสีข้าวในพื้นที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมีการสร้างรายได้สูงจากการส่งออกข้าว อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#โรงสีข้าว #ธุรกิจ #ร้อยเอ็ด

Scroll to Top