ในปีที่ผ่านมา
ราคาสินค้าเกษตรเหล่านี้
ราคาเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด๋ ?
ความต้องการสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกและบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ข้าวเปลือก ไก่เนื้อ และไข่ไก่สดคละ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มลดลงจากปริมาณผผลผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมูและกุ้งขาว
แนวโน้มความต้องการของสินค้าเกษตร เดือนพฤษภาคม
ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ และข้าวเปลือก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นความต้องการข้าวหอมมะลิเพื่อใช้ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้น และจากสต็อกข้าวของผู้บริโภคข้าวรายใหญ่ของโลกลดลงอาทิ จีน อินโดนีเซีย อีกทั้งผลผลิตข้าวที่ออกสู่ตลาดเริ่มลดลงเนื่องจากเป็นช่วงสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง
หมู มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น จากปัจจัยราคาวัตถุดิบ อาหารสัตว์และต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ปัญหาสภาพอากาศร้อน ทำให้สุกรเจริญ เติบโตช้าปริมาณ ผลผลิตเนื้อสุกรจึงออกสู่ตลาดได้น้อย
กุ้ง มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากคาดว่าการส่งออกกุ้งของไทยจะมีแนวโน้มลดลง จากความต้องการนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา เช่น ตลาดญี่ปุ่นที่เผชิญกับภาวะเงินเฟ้อในระดับสูง และจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงในช่วงสิ้นสุดฤดู High Season ขณะที่คาดว่าปริมาณกุ้งจะยังคงออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากการที่เกษตรกรยังคงเร่งจับกุ้งในช่วงที่สภาพอากาศร้อนจัดเพื่อลดความเสียหาย ซึ่งคาดการณ์ว่าฤดูร้อนจะสิ้นสุดในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2566
อ้างอิงจาก:
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ราคาสินค้าเกษตร #ราคาสินค้าเกษตร66