หมดวัยแต่ “ไม่หมดไฟในการทำงาน”
เมื่อคนอายุ 60 ปีขึ้นไป กว่า 1.9 แสนคนในอีสาน ยังอยากพัฒนาขีดความสามารถอยู่ . การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในต้นสหัสวรรษนี้ ประชากรโลกมีอายุสูงขึ้นเนื่องจากอัตราการเกิดที่ลดและผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น . ปี 2563 โลกของเรามีประชากรรวม 7,795 ล้านคน เป็น “ผู้สูงอายุ” ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 1,050 ล้านคน หรือคิดเป็น 14% ของประชากรโลก . ส่วนอาเซียน มีประชากรรวม 664 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุท่ีมีอายุ 60 ปีขึ้นไป 73 ล้านคน หรือคิดเป็น 11% ของประชากรอาเซียน . สำหรับประเทศไทยนั้น มีประชากรรวม 66.5 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 18% ของประชากรทั้งประเทศ . ถึงแม้ไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี 2548 แล้ว ตามหลักเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติที่ว่า มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 10% ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งในปีนั้นไทยมีผู้สูงอายุ 10.4% . แต่รู้หรือไม่ว่าสิ้นปี 2564 นี้ ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) ตามหลักเกณฑ์ คือมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และคาดการณ์ว่าในปี 2574 เราจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) คือมีประชากรสูงอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ . โดย 5 จังหวัดที่มี “ผู้สูงอายุ” หรือประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากที่สุด (นับจำนวนคน) ในปี 2564 อันดับ 1 กรุงเทพมหานคร มีผู้สูงอายุ รวม 1,296,919 คน อันดับ 2 นครราชสีมา มีผู้สูงอายุ รวม 537,421 คน อันดับ 3 ขอนแก่น มีผู้สูงอายุ รวม 367,316 คน อันดับ 4 เชียงใหม่ มีผู้สูงอายุ รวม 351,216 …