Shabulogy ร้านชาบู-ปิ้งย่างที่ใช้หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารเจ้าแรกในอีสาน

ยุคที่ใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ มักมุ่งเป้าไปที่ธุรกิจร้านอาหาร เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ (ดูเหมือน) ง่าย กำหนดเงินลงทุนเองได้ ไม่ต้องอาศัยทักษะใดเป็นพิเศษ และที่สำคัญ (น่าจะ) ได้กำไรเยอะ แต่จริง ๆ แล้วการทำร้านอาหารหนึ่งร้านให้ประสบความสำเร็จและอยู่รอดในระยะยาว อาจมีปัจจัยมากกว่าที่คิด
.
ครั้งนี้ ISAN Insight & Outlook จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “ร้าน Shabulogy โปรเจกต์นี้มีแต่จุก” ร้านชาบู-ปิ้งย่างที่อยาก “สร้างความสนุก” และส่งมอบประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้ที่มาทาน ผ่านการสัมภาษณ์คุณแอมป์ ผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรงของร้าน
.
.
คิดและเริ่มทำจาก “สิ่งที่ชอบ”
.
สำหรับจุดเริ่มต้นของร้าน Shabulogy คุณแอมป์บอกกับเราว่า เริ่มจากการที่ตนเองเป็นคนชอบทานเนื้อ และเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว พื้นที่บริเวณรอบมหาลัยขอนแก่นมีร้านอาหารที่เสิร์ฟเมนูเนื้อยังไม่มาก จึงมีความคิดอยากทำร้านนี้ขึ้น
.
.
ทุกร้านมั่นใจว่า “อาหารของตัวเองอร่อย”
.
“ผู้ประกอบการร้านค้าทุกคนไม่ว่าจะอาลาคาร์ทหรือบุฟเฟต์ต่างก็มั่นใจว่า ‘อาหารของตัวเองอร่อย’ แต่ความอร่อยกลับเป็นสิ่งพื้นฐานมาก ๆ ที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จ เพราะสิ่งที่เหลือ อย่างเรื่องของการบริหารงานคือความท้าทาย คุณจะจัดการกับลูกค้ายังไง จะสร้างการบริการแบบไหนให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจแล้วกับมาใช้บริการซ้ำ”
.
.
นึกถึงเรา ต้องนึกถึง “ความสนุก”
.
นอกจากอาหารอร่อย และการบริการที่ประทับใจ คุณแอมป์ก็อยากให้ลูกค้าเวลานึกถึงร้าน Shabulogy จะต้องนึกถึง “ความสนุก” เป็นร้านชาบู-ปิ้งย่างที่สนุก ทั้งจากการรับประทานเนื้อโดยไม่ต้องกังวลเรื่องของเวลา เพราะที่ร้านเผื่อเวลาให้ถึง 2 ชั่วโมง ดนตรีและหน้ายิ้มแย้มจากน้องไล้ก้า หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารของร้าน รวมไปถึงประสบการณ์ในการได้ทดลองอะไรใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น การสั่งอาหารผ่าน QR Code หรือการปรุงแต่งน้ำจิ้ม-น้ำซุปตามความชอบ
.
“ร้านมีการนำหุ่นยนต์มาช่วยเสริฟอาหาร เนื่องจากมองว่าเข้ากับแบรนด์ จะว่าเป็นเจ้าแรกในอีสานที่นำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยเสิร์ฟก็ได้”
.
ไลก้า ช่วยได้มากในเรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน ช่วงก่อนโควิด ที่ร้านเปิดตั้งแต่เช้า ลูกค้ายังไม่หนาแน่น พนักงานสามารถให้บริการพร้อมกับไลก้า 2 คนได้ หรือช่วงที่พนักงานต้องเคลียร์โต๊ะ ก็สามารถให้ไลก้าวิ่งเสิร์ฟก่อนได้ ยิ่งทางร้านที่ใช้ระบบ QR Code ในการรับออเดอร์อยู่แล้ว ก็ทำให้สามารถออกอาหารได้รวดเร็วขึ้น ที่สำคัญ ไลก้า ไม่บ่น ไม่งอแง และเรียกความสนใจจากเด็ก ๆ ได้ค่อนข้างมาก
.
ส่วนช่วงโควิด แม้กระทบยอดขาย 30-50% แต่ด้วยทางร้านเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าผู้ใหญ่ที่มีกำลังซื้อ ทำให้ยังสามารถประคับประคองกิจการได้ รวมถึงมีการปรับเวลาเปิดมาเป็นช่วงเย็น (ไพรม์ไทม์) คำนวณสต็อกสินค้าเป็นรายอาทิตย์ สลับเมนูพิเศษทุกเดือน เพิ่มบริการเดลิเวอรี่ และให้ความสำคัญกับความสะอาดมากขึ้น
.
“โควิดทำให้เราต้องแข่งขันกับตัวเองอยู่ตลาด ส่วนคู่แข่งในตลอดเป็นเรื่องปกติ การที่เรามีคู่แข่ง ส่วนหนึ่งก็สะท้อนว่าเรามาถูกทาง”
.
.
เทคโนโลยีเป็นเพียงตัวช่วย แต่ทำแทนพนักงานไม่ได้ทั้งหมด
.
โดยเฉพาะเรื่องของความรู้สึก การทำความเข้าใจมนุษย์ด้วยกันเอง
.
“ถ้าอยากให้ลูกค้าแฮปปี้ ก็ต้องดูแลพนักงานในร้านให้แฮปปี้ก่อน, เราอยากให้พนักงานตื่นเช้าและยังอยากมาทำงานอยู่ เพราะถ้าเขาหน้าบูดหน้าบึ้งมา บริการไม่ดี ลูกค้าก็คงทานอาหารไม่อร่อย”
.
.
Human error เกิดขึ้นได้ แต่จะทำยังไงให้ลูกสึกว่าเราจะไม่ผิดพลาดกับเรื่องเดิมอีก
.
ร้านให้ความสำคัญกับพนักงงาน เพราะพวกเขาคือด่านหน้า ในฐานะผู้บริหารจึงต้องทำให้เขารู้สึกมั่นใจว่า เค้าทำงานด้วยความมั่นใจ ให้ความรู้ ให้ข้อมูลที่สามารถตอบลูกค้าได้
.
“ข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ แต่จะทำยังไงให้มันเกิดขึ้นน้อยสุด จะทำยังไงให้ลูกค้ารู้สึกว่า คุณสามารถแก้ปัญหาให้เขาได้ ทำให้เรื่องที่คอมเพลนทุกอย่างจบภายในร้าน”
.
.
อย่ามองข้ามการเทรนด์พนักงาน
.
ที่ร้านจะมีการเทรนด์นิ่งอยู่ตลอด แม้แต่เรื่องที่ว่าควรยืนต่อหน้าลูกค้ายังไง พูดคุยกับลูกค้ายังไง ถ้าจะปฏิเสธคุณควรจะใช้ประโยคแบบไหน เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกว่าถูกปฏิเสธ
.
“เราจะสร้างทางเลือกให้ลูกค้า, ถึงแม้จะเป็นการปฏิเสธ แต่ประโยคของคุณจะต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเขามีทางเลือก”
.
สุดท้ายคุณแอมป์ทิ้งท้ายว่า “ทุกคนสามารถเปิดร้านอาหารได้ แต่การจะอยู่รอดเป็นเรื่องของการบริหารงาน ความอร่อยเป็นสิ่งพื้นฐานอยู่แล้ว”
.
.
ร้าน Shabulogy ถ.หน้าแฟลตตำรวจ ข้างสนามฟุตบอล GZ Wembley กังสดาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เปิดให้บริการทุกวัน
จันทร์-ศุกร์: 16.00-22.30 น.
เสาร์-อาทิตย์ / นักขัตฤกษ์: 11.00-22.30 น.
โทร: 095-197-5571
.
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top