ถึงเวลาแล้วหรือยัง? ที่จะเปลี่ยนภาพจำอีสานในแง่ลบ ให้กลับมาทรงพลังด้วย “Soft Power”
ถึงแม้จะอยู่ในยุคที่ทุกคนต่างเรียกร้องถึงความเท่าเทียม แต่กลับปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีคนบางกลุ่มที่มีพฤติกรรมย่ำยีเหยียดหยามโดยเฉพาะในเรื่องของชาติพันธ์ุอื่น ๆ อยู่ และมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีโดยเฉพาะกับคนอีสาน . สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยบางส่วนยังมีปมที่ฝังลึกในระดับจิตสำนึก และยังไม่เข้าใจปัญหาเชิงโครงสร้างที่ดีพอ ทำให้มองคนไม่เท่ากัน จึงไม่เป็นไปตามแนวความคิดตามระบอบประชาธิปไตย ที่ตั้งอยู่บนความเสมอภาคของความเป็นมนุษย์ . “ความม่วนซื่น” หรือความสนุกสนานนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนอีสานมาโดยตลอด หากมองย้อนกลับไปดูอุตสาหกรรมบันเทิงอีสานในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะพบว่าอีสานมีทรัพยากรที่เอื้ออำนวยในการสร้าง Soft power ที่ทรงพลังสามารถที่จะต่อยอดทัดเทียมกับต่างประเทศได้ในอนาคต . . ก่อนอื่น หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า “Soft power” ที่เอ่ยถึงนั้นคืออะไร . มันเป็นการขยายอิทธิพล การเปลี่ยนแปลงความคิด การทำให้ผู้คนมีส่วนร่วม หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้อื่น โดยไม่ใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญ (Hard Power) อย่างอำนาจเศรษฐกิจ อำนาจทางการทหาร เพื่อบีบบังคับให้ประเทศต่าง ๆ ต้องยอมปฏิบัติตามสิ่งที่เราต้องการ . ยกตัวอย่าง Soft power ของเกาหลีใต้ เช่น วงบอยแบนด์และเกิร์ลกรุ๊ป อย่าง BTS และ BLACKPINK ที่ได้สร้างชื่อเสียงโด่งดัง สร้างอิทธิพลต่อคนทั่วทั้งโลก รวมไปถึงวัฒนธรรมเรื่องอาหารการกิน มาตรฐานความงามต่าง ๆ ที่เข้ามามีบทบาทหรือมีอิทธิพลในสังคมไทยเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน . จะเห็นว่าวัฒนธรรมต่าง ๆ หรือหลายสิ่งหลายอย่างที่มีผลต่อพฤติกรรมของเราในการดำเนินชีวิตแต่ละวันนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากการถูกบังคับแต่อย่างใด แต่เกิดจากพลังของเจ้า Soft power ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของเรานั่นเอง . . กลับมาดูอุตสาหกรรมบันเทิงอีสานในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2553-2563) ที่มีทั้งผลงานเพลง ละคร และภาพยนตร์ ที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นอีสานออกมาอย่างต่อเนื่อง ในหลาย ๆ เรื่องก็มีความโดดเด่นและได้รับความนิยมจนสามารถสร้างกระแส “อีสานฟีเวอร์” พร้อมกับกวาดรายได้เข้าสู่อุตสาหกรรมหลักร้อยล้านบาทเลยทีเดียว . ปี 2553 เพลงคิดฮอด เป็นการร่วมร้องของวงร็อคระดับประเทศ “Bodyslam” กับนักร้องหมอลำระดับตำนาน “ศิริพร อำไพพงษ์” ถือเป็นการก้าวข้ามความแตกต่างของช่วงวัย และวัฒนธรรม ให้เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นที่เดิมไม่ได้ฟังเพลงลูกทุ่งให้อยากที่จะได้ยิน ถือเป็นอีกหนึ่งขั้นของการพัฒนาเพลงลูกทุ่งอีสาน . ปี 2554 ภาพยนตร์ ปัญญา เรณู หนังรักวัยเด็ก ที่ถ่ายทอดชีวิตของเด็กอีสานได้อย่างเป็นธรรมชาติเป็นที่พูดถึงอย่างมากในหมู่คนดู ก้าวข้ามโปรดักชันอลังการให้เป็นการฉายภาพชีวิตปกติธรรมดาของคนอีสาน จนทำรายได้ถึง 12.82 ล้านบาท . ปี 2555 ภาพยนตร์ ปัญญา เรณู 2 ทำรายได้ถึง 19 ล้านบาท กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนมอง “หนังอีสาน” ด้วยสายตาที่แตกต่างไป ทั้งยังช่วยตอกย้ำความปังว่าเรื่องเล่าของคนอีสานสามารถเป็นเส้นเรื่องหลัก และเป็นหนังที่ดีและน่าสนใจได้ . เพลง ขอใจเธอแลกเบอร์โทร ด้วยท่อนฮุก (Hook) ที่ติดหูอย่าง “ท่านกำลังเข้าสู่บริการรับฝากหัวใจ” ของหญิงลี …
ถึงเวลาแล้วหรือยัง? ที่จะเปลี่ยนภาพจำอีสานในแง่ลบ ให้กลับมาทรงพลังด้วย “Soft Power” อ่านเพิ่มเติม »