การตลาดแบบวัวสีม่วงคืออะไร
การตลาดแบบวัวสีม่วง ต่างจากการตลาดทั่วไปที่เรารู้จักหรือไม่ รวมไปถึง “สีไทย” จะเกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องนี้ มาติดตามกัน… ทำไมต้องเป็นสีไทยในเมื่อมีสีสำเร็จรูปให้ใช้กันอยู่แล้ว? . อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้าแล้วว่า “สีไทย” ค่อย ๆ เลือนหายไปจากชีวิตประจำวันของผู้คน ทำให้ปัจจุบันมีการใช้งานอยู่แค่ในวงแคบ ๆ (เป็น Rare Item) และแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะคุ้นชินกับชื่อเรียกสีกันอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าชื่อที่กล่าวมานั้นเป็นอย่างไร เราจึงอยากช่วยขยายความคำว่า “อัตลักษณ์” ที่โดดเด่นของสี ซึ่งประกอบไปด้วย . 1. ปรุงจากวัสดุธรรมชาติ ทั่งเปลือกไม้ ใบไม้ สัตว์ หิน ดิน และแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงขี้เถ้าเขม่าควันไฟ ที่จะถูกนำมาสกัด หมัก หรือคัดแยก ก่อนจะไปผสมกับสารที่มีคุณสมบัติเกาะติดผิวหน้าวัสดุไม่ว่าจะเป็น ไขมัน ไข่ขาว ขี้ผึ้ง (wax) น้ำมันลินสีด (limseed oil) หรือยางไม้ (Gum Arabic) ที่ได้จากต้นไม้สกุลอคาเซีย . 2. ความงามด้านวรรณศิลป์ จากชื่อเรียกสีไทยที่มีความหมายดี โดยส่วนใหญ่เป็นชื่อที่มาจากธรรมชาติ เช่น เขียวตอง น้ำไหล ม่วงเม็ดมะปราง ควายเผือก หงสบาท (สีออกชมพูเหมือนเท้าของหงส์) ฟ้าแลบ (สีแสง คือ ขาวอมชมพู) และขาวผ่อง (ขาวนวลออกเหลือง) เป็นต้น . 3. มีรากฐานจากความเชื่อ ความศรัทธา เช่น การใช้สีแดงชาด (ที่ได้จากแร่ซินนาบาร์) เพื่อแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ แสดงถึงบรรยากาศของสวรรค์ จึงเป็นเหตุว่า ทำไมผนังโบสถ์ตามวัดเก่าจึงมักเป็นสีแดง โดยเฉพาะฉากหลังพระพุทธรูปที่มีสีทอง ก็เพื่อขับให้องค์พระดูเด่น สง่างาม เหมือนอยู่บนสวรรค์นั่นเอง . 4. ความงามของเฉดสีไทย จากแม่สี 5 สี (กลุ่มสีเบญจรงค์) ประกอบไปด้วย สีดำ ขาว แดง เหลือง และคราม ที่เมื่อนำมาผสมกันสามารถแบ่งออกได้อีก 5 หมู่สี ได้แก่ สีส้ม เขียว ม่วง นํ้าตาล และทอง โดยแต่ละสีก็ให้ความรู้สึกแตกต่างกัน ไม่ว่าจะนำเฉดสีที่ตัดกันมากแค่ไหนมาผสมกัน ก็ยังกลมกล่อมลงตัว มีทั้งลักษณะพาสเทล (นุ่มนวลเหมือนมีฝุ่นแป้งผสม) และสดฉ่ำ . ส่วน “สีสำเร็จรูป” แม้จะสะดวกในการใช้งานมากกว่า แต่ข้อเสียก็คือ ส่วนใหญ่เป็น “เคมี” หากใช้ไปนาน ๆ อาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนังตรงที่ผู้ใช้สัมผัสเป็นประจำได้ จะโดดเด่นไปเพื่ออะไร ถ้าการตลาดแบบเดิมดีอยู่แล้ว? . ก่อนอื่นเราอยากให้ทุกคนเข้าใจความโดดเด่นผ่านมุมมองการตลาดของ 3 ยุค ที่เราปรับมาจากหนังสือ Purple […]
การตลาดแบบวัวสีม่วงคืออะไร อ่านเพิ่มเติม »