AgriTech พลิกโฉมอนาคต ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรไทย

คำกล่าวที่ว่า “เกษตรกรรมคือวิถีชีวิตแห่งสังคมไทย” โดยเฉพาะคนอีสานที่กว่า 3.57 ล้านครัวเรือนประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก แต่กลับต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภาพต่ำ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและภัยคุกคามทางธรรมชาติ รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ต่างมองว่าการก้าวเข้าสู่ธุรกิจเกษตรเป็นเรื่องยากและอาจไม่คุ้มค่า
.
เทคโนโลยี IoT ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่เข้ามาช่วยปลดล็อกปัญหาและสร้างความ
ท้าทายหลายประการให้กับธุรกิจเกษตร รวมท้ังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีเกษตร (Agritech: Agricultural Technology)
.
AgriTech คืออะไร ?
.
Agritech คือ การนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน จากเดิมที่ใช้องค์ความรู้และประสบการณ์เดิม (Knowhow) ในการจัดการผลิตและพึ่งพาการใช้แรงงานแต่เพียงอย่างเดียวมาเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการเพาะปลูก (Precision Farming) ในการเพิ่มผลิตภาพให้กับธุรกิจเกษตรซึ่งถือเป็นปัญหาเรื้อรังมายาวนาน รวมทั้งลดการพึ่งพาแรงงานซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง
.
IoT สำหรับธุรกิจเกษตรเริ่มต้นจากการใช้เทคโนโลยี “เซ็นเซอร์” ติดตามและตรวจสอบ สถานะข้อมูลที่จำเป็นในการเพาะปลูกแบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยผู้ประกอบการในการตัดสินใจและการบริหารจัดการ การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ความเข้มของแสง อุณหภูมิ ความชื้นในดิน สภาพอากาศ เป็นต้น โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกเชื่อมโยงผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และเก็บเข้าไปอยู่ในระบบคลาวด์ (Cloud)
.
ก่อนจะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์และประมวลผลส่งกลับไปยังผู้ใช้งาน ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นจุดตั้งต้นสำคัญ ที่จะนำมาใช้พัฒนาร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ที่จะทำหน้าที่คิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจในกระบวนการเพาะปลูกแทนมนุษย์มากยิ่งขึ้น
.
.
5 เหตุผลที่ธุรกิจเกษตรควรปรับตัวมาใช้ IoT
.
1. เทคโนโลยี IoT จะเป็นตัวช่วยให้เกษตรรุ่นใหม่ (Young Farmer) ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
.
ในลักษณะ Decentralized โดยจะทำให้ผู้ประกอบการแต่ละรายสามารถบริหารจัดการผลิตได้ด้วยตนเองจากการใช้ฐานข้อมูลที่มีแบบเรียลไทม์ และมีความเฉพาะเจาะจงกับพื้นที่ผลิตจริง อีกทั้งรับมือความท้าทายของผู้ประกอบการ ในยุคสินค้าออร์แกนิคกำลังเป็นที่นิยม
.
2. ช่วยลดความเสียหายของผลผลิตจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
.
ปรากฏการณ์เอลนิโญ่มีความถี่มากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้สภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกโดยรวมมีความแปรปรวน และส่งผลกระทบมากขึ้นเป็นลำดับ สะท้อนจากดัชนีชี้วัดปรากฏการณ์เอลนิโญ่ (El Niño) และลานิญ่า (La Nina) หรือ Oceanic Niño Index (ONI) ซึ่งอุณหภูมิพื้นผิวโลกที่สูงขึ้น ยิ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมในภูมิภาคเขตร้อน
.
สำหรับตัวอย่างบริษัทที่มีการนำเทคโนโลยี IoT ในกลุ่ม Soil Sensors มาช่วยลดความเสี่ยงจาก Climate Change กล่าวคือรัฐบาลท้องถิ่นเมือง Oregon ได้ร่วมสนับสนุนให้แก่ชาวสวนฟารม์บลูเบอรี่ นำอุปกรณ์ HydraProbe มาใช้เพื่อวัดความชื้นในดิน ในแต่ละระดับความลึก เนื่องจากพืชสวนอย่างบลูเบอรี่ ค่อนข้างอ่อนไหวต่อการขาดน้ำอย่างมาก
.
โดย HydraProbe จะประเมินการใช้น้ำและการใส่ปุ๋ยได้อย่างแม่นยำ ให้สอดคล้องกับช่วงการดูดซับอาหารของรากพืช และยังช่วยลดการใช้สารกำจัดเชื้อราที่เป็นไปตามกฎระเบียบในการควบคุมคุณภาพน้ำ รวมไปถึงยังมีฟังก์ชัน แจ้งเตือนที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในช่วงที่สภาพอากาศร้อนจัดและหนาวจัด ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้มากขึ้นจากการประหยัดต้นทุนนั่นเอง
.
3. รองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เน้นสินค้าปลอดสารพิษมากขึ้น
.
เทคโนโลยี IoT จะเป็นผู้ช่วยสำหรับธุรกิจเกษตรในการรับมือความท้าทายของผู้ประกอบการในยุคสินค้าออร์แกนิคที่ต้องลดการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก แต่ยังคงคุณภาพของผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ดีท่าเดิม
.
สำหรับตัวอย่างบริษัทที่นำเทคโนโลยี IoT มาใช้ในโรงงานผลิตพืชที่ปลอดสารเคมี ได้แก่ บริษัท 808 Factory (ญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นโรงงานผลิตพืชด้วยแสง LED (Plant Factory with Artificial LED: PFAL) เชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น โดยเน้นผลิตผักสดพร้อมทานในกลุ่มผักสลัด ภายใต้พื้นที่โรงงานกว่า 10,000 ตรม. ที่มีอัตราการผลิตสูงถึง 120,000 ต้น ทำให้ในแต่ละวันสามารถจำหน่ายผักได้ถึง 20,000 ต้นต่อวัน (80 กรัมต่อต้น) กระจายไปยังร้านค้าและร้านอาหารในเขตคันโตและชูบูเป็นส่วนใหญ่
.
ยิ่งกว่านั้น ด้วยโรงงานผลิตพืชแบบระบบปิดและใช้เซ็นเซอร์เพื่อควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแสงสว่าง ระบบน้ำ สภาพอากาศ และการให้ปุ๋ย เพื่อคงมาตรฐานทั้งในแง่ของคุณภาพ สี ขนาด และรสชาติ ทั้งยังปราศจากสารเคมีและยาฆ่าแมลง ทำให้ราคาผักสลัดของ 808 Factory สูงกว่าผักสลัดในแปลงปลูกทั่วไปราว 2-3 เท่า
.
4. IoT for Agriculture เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่ภาครัฐเน้นส่งเสริมอย่างจริงจัง
.
ยกตัวอย่างเช่น การสนับสนุนเงินให้เปล่าในการลงทุนระบบซอฟต์แวร์ในการเช่าใช้บริการระบบ ค่าอุปกรณ์ Hardware Smart Device และ มาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับผู้ให้บริการ IoT และผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจเกษตร อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคล 8 ปี โดยไม่จำกัดวงเงิน
.
นอกจากนี้ภาครัฐยังตั้งเป้าเปลี่ยน “Survived Farmer” ให้เป็น “Smart Farmer”ผ่านโครงการ Digital Agriculture เช่น การพัฒนา Big Data/IoT ในภาคเกษตร การพัฒนา Cloud Service สำหรับภาคเกษตร รวมทั้งการใช้ Precision Technology อีกด้วย
.
5. โรคระบาด COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ภาคเกษตรปรับตัวมาใช้ IoT มากขึ้น
.
เพื่อทดแทนการใช้แรงงานคน ลดโอกาสการสัมผัสและการติดต่อกันระหว่างมนุษย์ ปัจจุบันมีการนำอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned aerial vehicles: UAVs) หรือที่เรารู้จักกันดี ในชื่อ “โดรน (Drone)” มาใช้ในฟังก์ชันทางการเกษตรมากขึ้น เนื่องจากมีขนาดเล็กและมีระบบการบินอัตโนมัติ จึงทำให้สามารถควบคุมการทำงานได้ง่าย สะดวก และมีความแม่นยำสูง
.
อย่างไรก็ตาม IoT เป็นการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรที่มีความเฉพาะเจาะจง (Customization) ซึ่งต้องพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน รวมทั้งรูปแบบของเทคโนโลยีที่เหมาะกับสินค้าเกษตรแต่ละประเภทด้วย ดังนั้นคงไม่ง่ายหากจะให้สิ่งเหล่านี้เข้ามามีบทบาทต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรไทย ที่จำนวนมากยังเป็นเกษตรแบบดั้งเดิม สำคัญที่ภาครัฐควรเข้ามาสนับสนุนทั้งด้านการให้ความรู้คน จัดหาทุนสำหรับพัฒนาเทคโนโลยี และต่อยอดไปในการผลิตที่หลากหลายขึ้น
.
.
อ่านเพิ่มเติม
https://krungthai.com/…/EconomyResourcesDownload_446IoT…

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top