น้ำท่วมกับสถานการณ์ตลาดแรงงานอีสาน

ภาคอีสานเป็นแหล่งกำลังแรงงานสำคัญของประเทศ เนื่องจากมีจำนวนประชากรมากที่สุด (คิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ) โดยประชากร 9.3 ล้านคนอยู่ในวัยทำงาน และกว่าครึ่งหนึ่งทำงานในภาคเกษตรกรรม รองลงมาเป็นภาคบริการ
.
ตลาดแรงงานอีสานกำลังเผชิญความท้าทายเชิงโครงสร้าง ด้วยสัดส่วนแรงงานสูงอายุและผู้อยู่นอกกำลังแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลิตภาพแรงงานอยู่ในระดับต่ำ
.
รวมไปถึง ทักษะแรงงานที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (Skill Mismatch) ซึ่งปัจจุบันตลาดมีความต้องการแรงงานสายอาชีพหรือระดับ ปวช./ปวส. สูง ขณะที่แรงงานที่เข้าสู่ตลาดส่วนใหญ่เป็นระดับอุดมศึกษา แรงงานจำนวนมากจึงต้องยอมทำงานต่ำกว่าระดับ หรือไม่ก็ย้ายไปทำงานในภูมิภาคอื่น ๆ ที่สามารถให้ตำแหน่งงานและค่าจ้างที่สูงขึ้นได้
.
สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้แรงงานอีสานถูกเลิกจ้างและย้ายกลับภูมิลำเนา แต่ความสามารถของภาคเกษตรกรรมในการรองรับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจกลับลดลงเมื่อเทียบกับอดีต เนื่องจากเกษตรกรหรือครอบครัวจำนวนมากไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินแต่เป็นผู้เช่าหรือรับจ้างทำการเกษตรแทน และส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงผู้ผลิตต้นน้ำเท่านั้น
.
.
ผลกระทบของน้ำท่วมต่อแรงงานอีสาน
.
เป็นที่รู้กันว่า สภาวะน้ำท่วมหรืออุทกภัยสามารถสร้างความสูญเสียทั้งกับชีวิต ทรัพย์สินทางกายภาพ รายได้ที่ขาดหายไปในช่วงภัยพิบัติ รวมไปถึงทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ โรคติดต่อ และการหยุดชะงักของการศึกษาและบริการสาธารณสุข
.
แต่นอกจากที่กล่าวมานี้ สภาวะน้ำท่วมยังส่งผลกระทบต่อทัศนคติและพฤติกรรมการเข้าสู่ระบบประกันภัยของครัวเรือนภาคเกษตรกรรมได้อีกด้วย
.
งานวิจัยของ Lertamphainont et al. (2558) ได้ทำการศึกษาผลกระทบของมหาอุทกภัยต่อครัวเรือนชาวนาในประเทศไทย โดยใช้การสำรวจและทดลองภาคสนาม ซึ่งได้ประยุกต์วิธีการทางเศรษฐมิติเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนคติและพฤติกรรมระหว่าง 2 กลุ่ม ประกอบด้วย
.
1. กลุ่มทดลอง (Treatment Group) ได้แก่ ครัวเรือนชาวนาที่มีพื้นที่นาจมน้ำเป็นเวลานานและได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยตรงจากเหตุการณ์ดังกล่าว
.
2. กลุ่มควบคุม (Control Group) ได้แก่ ครัวเรือนชาวนาที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงในปีนั้น ซึ่งกลุ่มนี้อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากมหาอุทกภัยผ่านทางระบบเศรษฐกิจที่ชะลอตัว (Spillover Effects)
.
โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงถึงขอบเขตและระยะเวลาของน้ำท่วมขังในปี 2554 มาช่วยในการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมของครัวเรือนตัวอย่าง
.
และเพื่อป้องกันความแตกต่างทางทัศนคติของครัวเรือนทั้งสองกลุ่มที่มีมาแต่เดิม หรือในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Endogeneity Problem ซึ่งอาจส่งผลให้การศึกษาครั้งนี้มีความเบี่ยงเบน (Biased) จึงได้แยกกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีความเสี่ยงต่ออุทกภัยสูง (Flood Prone) และกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ (Non-Flood Prone)
.
ทำให้งานวิจัยนี้ได้กลุ่มตัวอย่างครัวเรือนชาวนามาจำนวน 426 ครัวเรือน จาก 44 หมู่บ้านใน 4 จังหวัดที่ปลูกข้าวมากของไทย โดยครึ่งหนึ่งเป็นจังหวัดในภาคอีสาน คือ นครราชสีมา และขอนแก่น
.
จากหนึ่งในผลการศึกษา พบว่าครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบมีความต้องการซื้อประกันภัยธรรมชาติและผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มฐานะยากจนและปานกลาง สอดคล้องกับการที่มหาอุทกภัยทําให้มีการเพิ่มขึ้นของความไม่ชอบความเสี่ยงของคนกลุ่มเหล่านี้ ส่วนการคาดการณ์ถึงการเกิดมหาอุทกภัยในอนาคต พบว่าความเป็นไปได้ที่จะพึ่งพิงความช่วยเหลือจากรัฐไม่ได้มีผลลบอย่างมีนัยสำคัญต่อความต้องการซื้อประกันภัย
.
อย่างไรก็ตาม ด้วยโครงการประกันภัยพืชผลในประเทศไทยแม้จะมีการศึกษามาตั้งแต่ปี 2513 แต่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงมหาอุทกภัยปี 2554 ซึ่งห่างจากงานวิจัยนี้ (ปี 2558) ไม่นาน ดังนั้นผลการศึกษานี้ก็อาจสะท้อนได้เพียงความเป็นไปได้ถึงการพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์การประกันภัยธรรมชาติและพืชผลทางการเกษตรในประเทศไทยให้มีความยั่งยืนเท่านั้น
.
แม้ปัจจุบันภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเมื่อเกิดภัยพิบัติอยู่ตลอด แต่การที่ครัวเรือนภาคเกษตรกรรมบางส่วนยอมเสียเงินค่าเบี้ยประกันเพิ่มเติม ก็พออนุมานได้ว่า เฉพาะเงินเยียวยาอาจไม่เพียงพอกับต้นทุนที่พวกเขาลงไปกับการทำเกษตร
.
.
หลักเกณฑ์เงินเยียวยาเกษตรกร จากสถานการณ์น้ำท่วม ปี 2564
.
1. เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรหรือปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัยพิบัติ
2. มีพื้นที่เสียหายสิ้นเชิงอยู่ในพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564
.
.
อัตราเงินเยียวยาเกษตรกรที่รัฐจะจ่ายตามระเบียบของกระทรวงการคลัง ปี 2564
.
ข้าว ไร่ละ 1,340 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่
พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่
ไม้ผล ไม้ยืนต้นและอื่น ๆ ไร่ละ 4,048 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่
.
และหากเกษตรกรทำประกันภัยพืชผลไว้ด้วย ก็จะได้รับการคุ้มครองเพิ่มเติมจากการเคลมประกันเช่นกัน
.
.
อ้างอิงจาก:
https://www.pier.or.th/forums/2020/14/
https://www.pier.or.th/abri…/2015/12/flood-and-farmers/…
https://news.thaipbs.or.th/content/274088
https://www.tgia.org/crop-ins/history-TH_10
.
ข้อมูลเพิ่มเติม:
https://www.bangkokbiznews.com/news/930313
https://www.prachachat.net/economy/news-773576
https://isranews.org/…/isranew…/103128-isranews-214.html

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top