SHARP ADMIN

เริ่มแล้ว วันแรก!💥7 เดือน 7 นครพนม & เลย เทศกาลดึงดูดนักท่องเที่ยวเมืองรอง กระตุ้นเศรษฐกิจ

เริ่มแล้ว วันแรก!💥7 เดือน 7 นครพนม & เลย เทศกาลดึงดูดนักท่องเที่ยวเมืองรอง กระตุ้นเศรษฐกิจ . 🐉พิธีบวงสรวงพญาศรีสัตตนาคราช 2567🙏 คณะนางรำกว่า 1,200 คนและแขกรับเชิญพิเศษ❤งดงาม อ่อนช้อย!! น้ำตาล ชลิตา ส่วนเสน่ห์ miss universe Thailand 2559 นำพิธีรำบวงสรวงพญาศรีสัตตนาคราช นครพนม วันที่ 7 เดือน 7 ที่ผ่านมา นครพนมคึกคัก นักท่องเที่ยวหนาแน่น ที่พักเต็มทุกแห่ง โดยงานจัดตั้งแต่ 7-13 กรกฎาคม สร้างเม็ดเงินในพื้นที่และกระตุ้นการท่องเที่ยวยกระดับเข้าสู่เมืองท่องเที่ยวหลัก ภาพจาก: สำนักงานประชาสัมพันธ์นครพนม สุดยิ่งใหญ่! นครพนมเปิดงานบวงสรวงพญาศรีสัตตนาคราช ‘7 เดือน 7 ปี 67’ รวมพลังความเชื่อความศรัทธา มีนางรำร่วมรำบวงสรวงพญาศรีสัตตนาคราช กว่า 1,200 คน วันที่ 7 ก.ค. 67 เวลา 19.00 น. นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดงานบวงสรวงพญาศรีสัตตนาคราช ประจำปี 2567 ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ พร้อมด้วยนายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นายวันไซ พองสะหวัน เจ้าแขวงคำม่วง สปป.ลาว พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประชาชนชาวนครพนม นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งจังหวัดนครพนมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 7 – 13 กรกฎาคม 2567 ณ ลานพญาศรีสัตตนาคราช ริมฝั่งแม่น้ำโขง อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม เพื่อสืบสานตำนานความเชื่อความศรัทธาชาวลุ่มน้ำโขงที่มีต่อพญานาค ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนมในการยกระดับเข้าสู่เมืองหลัก และกระจายได้จากการท่องเที่ยวสู่ชุมชน สนับสนุน Soft Power ตามนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งเป็นการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม ที่มา: สวท.นครพนม FM 90.25 MHz . 🐲เทศกาลผีตาโขน นครพนม . งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ประจำปี 2567 อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย วันที่ 7 กรกฎาคม 2567 เวลา 03:30 น. พิธีบวชพราหมณ์ ณ วัดโพนชัย เวลา 04:00 น. พิธีเบิกพระอุปคุต ณ บริเวณระหว่างลำน้ำหมัน ลำห้วยศอก เวลา 06:00 น. …

เริ่มแล้ว วันแรก!💥7 เดือน 7 นครพนม & เลย เทศกาลดึงดูดนักท่องเที่ยวเมืองรอง กระตุ้นเศรษฐกิจ อ่านเพิ่มเติม »

Sabai: Pride of Isan fashion

เผยคอนเซ็ปต์ชุด Sabai: Pride of Isan fashion จาก สาขาออกแบบ สถาปัตย์ฯ มข. ส่งต่อผลงาน ISAN Soft Power สู่งาน THACCA SPLASH – Soft Power Forum 2024

สาขาออกแบบ สถาปัตย์ฯ มข. ชูภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านชุดผ้าอีสานทรงคุณค่า จาก “ISAN Insight Summit 2024 : ISAN Soft Power ขุมทรัพย์ขับเคลื่อนอีสานใหม่สู่สากล” ที่ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา และได้เชิญ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ISAN Soft Power โอกาสและความท้าทายในการพลิกเศรษฐกิจอีสานให้รุ่งเรืองและยั่งยืน”  จึงทำให้ผลงานการออกแบบของคุณธรากร คำทอน ผู้ออกแบบและตัดเย็บชุด Sabai: Pride of Isan fashion สไบความภาคภูมิใจของแฟชั่นอีสาน ถูกเลือกนำไปนำเสนอผ่านชุดของ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ต่อในงาน THACCA SPLASH – Soft Power Forum 2024 จัดขึ้นในวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ที่ให้โอกาสนักออกแบบรุ่นใหม่ได้สืบสานคุณค่าผ้าทอพื้นถิ่นวัฒนธรรม นักออกแบบและทีมงานจาก สาขาวิชาการออกแบบ (สิ่งทอและแฟชั่น) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานออกแบบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาผ้าทอพื้นถิ่นอีสาน พร้อมเชิญชวนคนไทยให้ช่วยกันอนุรักษ์สืบสานต่อยอดผ้าไทย โดยนำมาใช้ สวมใส่ หรือประยุกต์ใช้ในรูปแบบอื่น ๆ ในการต่อยอดภูมิปัญญาเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศต่อไป   รศ.ดร.กฤตภัทร ถาปาลบุตร  คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า หนึ่งในภารกิจหลักของคณะ คือ การส่งเสริมและยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) ผ่านการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและประเพณีของภูมิภาคอีสาน โดยมีเป้าหมายในการรักษาและต่อยอดความรู้และทักษะที่ถูกสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น พร้อมทั้งมุ่งมั่นในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบ เพื่อให้ศิษย์ได้เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าและสะท้อนถึงวัฒนธรรมของภูมิภาค ซึ่งบ่มเพาะปลูกฝังแนวคิดทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน   คุณธรากร คำทอน ผู้ออกแบบและตัดเย็บชุด Sabai: Pride of Isan fashion เผยว่า“โจทย์คือการเอาผ้าเอกลักษณ์ของชาวอีสาน มาผสมผสานกันให้เป็น 1 ชุด ภายใต้ความเป็นภาคอีสานทั้งหมด ซึ่งผ้าแต่ละชนิดมีความเป็นตัวเองสูง ชัดเจนทางด้านลวดลาย เทคนิค และการใช้งาน โดยการนำผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าแพรวา และผ้าคราม มารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้ได้ จึงเป็นสิ่งที่ยากพอสมควร สิ่งที่นึกถึงคือ ผ้าเบี่ยง ผ้าสไบพาดหน้าอกของผู้หญิงในภาคอีสาน ที่แต่ละชนเผ่าจะมีการใช้ผ้าเบี่ยงเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงเผ่าพันธุ์ แสดงถึงภูมิปัญญาที่งดงามและผ่านการเวลา เรื่องราวและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น สัมผัสถึงความสง่างามและทรงพลังของผ้าผืนเล็ก ๆ ที่มากมายไปด้วยเรื่องราว วิถีชีวิตและภูมิปัญญาของคนที่ราบสูงที่เราเรียกกันว่า คนอีสาน ผสมผสานความเป็นสากลด้วยโครงสร้างเสื้อสูท และใช้สีสันที่ทันสมัยเพื่อปรับภาพลักษณ์ของผ้าไทยให้ได้มากที่สุดเท่าที่ความสามารถเราจะทำได้   ทั้งนี้ได้รับคำปรึกษาและให้โอกาสในการได้ออกแบบและตัดเย็บ จากคณาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นสาขาวิชาการออกแบบ (การออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น) ในฐานะของศิษย์เก่า ขอขอบพระคุณเหล่าคณาจารย์ทุกท่านที่ยังสนับสนุนและผลักดันศิษย์ไปในทางที่ดีเสมอมา” ผศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบ ได้กล่าวว่า “งานชิ้นนี้เป็นงานที่ดี นำองค์ความรู้ภูมิปัญญาจากผ้าไทยมาพัฒนา ผสานทักษะฝีมือ …

เผยคอนเซ็ปต์ชุด Sabai: Pride of Isan fashion จาก สาขาออกแบบ สถาปัตย์ฯ มข. ส่งต่อผลงาน ISAN Soft Power สู่งาน THACCA SPLASH – Soft Power Forum 2024 อ่านเพิ่มเติม »

ทีเซอร์เพลงใหม่ ‘ROCKSTAR’ ของ ‘ลิซ่า’

10 วิ โซเชียลแตก ทีเซอร์เพลงใหม่ ‘ROCKSTAR’ ของ ‘ลิซ่า’ พามาเบิ่ง LISA ซ่อนความเป็นไทยไว้ตรงไหนใน MV

โซเชียลแตก เมื่อ ‘ลิซ่า’ ลลิษา มโนบาล หรือ ‘ลิซ่า BLACKPINK’ ศิลปินระดับโลก ได้ปล่อย MV TEASER เพลงใหม่ ‘ROCKSTAR’ ผ่านอินสตาแกรม @lalalalisa_m และทุกช่องทางของ ‘LLOUD’ บัญชีค่ายเพลงของตัวเองในเช้าวันนี้ (26 มิ.ย. 67) เรียกน้ำย่อยได้ยั่วใจมาก จนแทบอดใจรอเพลงเต็ม วันที่ 28 มิ.ย.นี้ไม่ไหวแล้ว แม้จะเป็นเพียง ทีเซอร์ที่มีความยาวแค่ 10 วินาทีแต่อัดแน่นด้วยเซอร์ไพรส์มากมาย ได้เห็นหลากหลายลุคสุดจี๊ด เปรี้ยว เท่ ซ่า และเซ็กซี่ ของ ‘ลิซ่า’ ที่สะท้อนตัวตนเธออย่างเต็มเปี่ยม มาพร้อมกับดนตรีและเสียงหนักแน่น ประกาศก้องว่า “Baby, I’m a rockstar” และที่ได้สร้างความฮือฮาว่อนโซเชียลมีเดียไทยทันที คือการที่ในทีเซอร์ดังกล่าวมีภาพโลเคชั่นในประเทศไทย นั่นคือ ‘เยาวราช’ หรือไชนาทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังเลือกใช้นักแสดงและแดนเซอร์ที่เป็นคนไทยด้วย อีสาน อินไซต์ พามาเบิ่ง LISA ซ่อนความเป็นไทยไว้ตรงไหนใน MV เพลง ซึ่งนับเป็น 2 MV สำนึกรักบ้านเกิดจากผลงานของ ลิซ่า ผู้นำ Soft Power ความเป็นไทยไปประกาศศักดาให้ชาวโลกรับรู้อย่างแท้จริง 1. ชุดไทย + ชฎา รู้หรือเปล่าชุดไทยที่ลิซ่าใส่ MV เพลง ‘Lalisa’ เป็นชุดที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์ไทยของแบรนด์พี่หมู ASAVA เลยนะ ซึ่งชุดทำจากผ้าไหมยกดอกลำพูน และรัดเกล้ายอดที่สวมใน MV ก็สร้างกระแส และเคยเป็นประเด็นในโลกโซเชียลมาแล้ว 2. อักษรไทย ช่วงต้น MV เพลง ‘Lalisa’ จะเห็นลิซ่าเดินอยู่ในตรอกแคบๆ ที่มีร้านอาหารคล้ายๆไชน่าทาวน์ ทางด้านขวามีป้าย “อาหารจานด่วน” ติดอยู่ด้านหน้า 3. การเต้นผสมผสานการฟ้อนรำ + ดนตรีไทย MV เพลง ‘Lalisa’ หากสังเกตท่าเต้นในช่วงนั้น จะมีท่าจีบสะบัดมืด กรีดกราย ผสมผสานไปกับท่าเต้นสมัยใหม่ ของลิซ่าจะไม่ชัดเพราะมองไม่ค่อยทันด้วย แต่แดนเซอร์ด้านหลังเธอกรีดมืดจีบชัดมาก นอกจากนั้นยังแอบใส่ ดนตรีไทย หลังจากซาวด์ดรอปลง เพื่อเปลี่ยนเข้าจังหวะแร็ปใหม่ชัดเจนมากว่ามีเสียงดนตรีไทยอยู่ในนั้น 4. เส้นอาณาเขตประเทศไทย ทีเซอร์เอ็มวีที่ออกมาก่อนหน้านี้ มีภาพลิซ่านั่งพร้อมภาพสะท้อนด้วยแสงฟ้าผ่า และลวดลายของฟ้าผ่าไม่ได้หนีไปไหนไกล คือเส้นอาณาเขตของประเทศไทยนั่นเอง ซึ่งถือเป็นการออกแบบเล็กๆ น้อยๆ ที่ใส่ใจทุกรายละเอียดจริงๆ 5. สถานที่ในไทย ปราสาทหินพนมรุ้ง สัญลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์บ้านเกิดของลิซ่าใน MV เพลง ‘Lalisa’ และ เพลงล่าสุดอย่าง ‘ROCKSTAR’ …

10 วิ โซเชียลแตก ทีเซอร์เพลงใหม่ ‘ROCKSTAR’ ของ ‘ลิซ่า’ พามาเบิ่ง LISA ซ่อนความเป็นไทยไว้ตรงไหนใน MV อ่านเพิ่มเติม »

Northern Thailand Food Valley Road Show

ครัวเหนือบินลัดฟ้าจากเชียงใหม่สู่อุดรธานี ยกทัพสินค้าระดับพรีเมี่ยมสู่ตลาดโลก ในงาน Northern Thailand Food Valley Road Show

จังหวัดเชียงใหม่ โดย สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ จัดงาน Northern Thailand Food Valley Road Show นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน Northern Thailand Food Valley Road Show โดยมีนายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ให้เกียรติกล่าวการต้อนรับ พร้อมทั้งพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนพาณิชย์จังหวัดอุดร ผู้แทนพาณิชย์จังหวัดหนองคาย ผู้แทนพาณิชย์จังหวัดหนองบัวลำภู รองประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ที่ปรึกษา สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศนครหลวงเวียงจันทน์ กลุ่มเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน ณ บริเวณลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล อุดร จังหวัดอุดรธานี การจัดงาน Northern Thailand Food Valley Road Show ดำเนินการภายใต้โครงการกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกอาหารภาคเหนือในเขตพื้นที่เศรษฐกิจ CLMV โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 24 มิถุนายน 2567 ณ ลานกิจกรรม ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอุดร จังหวัดอุดรธานี ภายในงานพบกับ… การจัดแสดงสุดยอด Showcase นวัตกรรมสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และบูธจำหน่ายสินค้า กว่า 40 คูหา การจัดเจรจาทางธุรกิจ (Business Matching) จาก Buyer กลุ่มประเทศ CLMV+จีน กิจกรรม Workshop สินค้านาทีทอง และลุ้นรับของรางวัลมากมาย เพลิดเพลินกับการแสดงศิลปวัฒนธรรม และกิจกรรมภาคบันเทิงตลอดการจัดงาน #สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ #จังหวัดเชียงใหม่ #NorthernThailandFoodValley #NorthernThailandFoodValleyRoadshow

ชวนเบิ่ง คนอีสานมัก “สูบบุหรี่” มากแค่ไหน

ชวนเบิ่งคนอีสานมัก “สูบบุหรี่” มากแค่ไหน..อัตราการสูบบุหรี่ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดต่ำสุด ในปี 2552 แต่หลังจากนั้นใน 2554 และ 2557 มีอัตราการสูบบุหรี่ที่สูงขึ้นทุกภาค ยกเว้นภาคอีสาน.สำหรับในปี 2564 ภาคใต้ยังมีอัตราการสูบบุหรี่สูงที่สุด 22.4% รองลงมาเป็นภาคอีสาน 18.0% ภาคกลาง 16.4% กรุงเทพมหานคร 16.1% และภาคเหนือ 15.6%.อัตราการลดลงของทุกภาคแสดงว่ามาตรการในการควบคุมยาสูบได้ผลดีในทุกภาคโดยภาคกลางและภาคเหนือ ดีกว่าภาคใต้และภาคอีสาน เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้การสูบบุหรี่ในกรุงเทพมหานครจะ ต่ำสุดมาโดยตลอด แต่กลับมีอัตราสูบเพิ่มขึ้นในปี 2560 มาปี 2564 ทั้งนี้เป็นไปได้ว่ามีการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในช่วงหลังนี้..เมื่อไปดูเจาะเฉพาะภาคอีสานก็พบว่า มีสัดส่วนผู้สูบบุหรี่มากถึง 18.0% ซึ่งมีสัดส่วนมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากภาคใต้.โดยจังหวัดที่มีผู้สูบบุหรี่มากที่สุดในภาคอีสาน คือ จังหวัดมุกดาหาร มีสัดส่วนผู้สูบบุหรี่มากเป็นอับดับที่ 10 ของประเทศ โดยมีสัดส่วนมากถึง 22.6% (มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปอยู่จำนวน 100 คน จะผู้สูบบุหรี่ไปแล้ว 22-23 คน).ส่วนจังหวัดที่มีผู้สูบบุหรี่น้อยที่สุดในภาคอีสาน คือ จังหวัดศรีสะเกษ มีสัดส่วนเพียง 14.4% (มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปอยู่จำนวน 100 คน จะมีผู้สูบบุหรี่ 14-15 คน). ในอีกทางหนึ่ง ภาษียาสูบ ก็ถือเป็นรายได้อีกทางหนึ่งขาก รัฐ ซึ่งสามารถติดตามได้ที่บทความ .อ้างอิงจาก:– ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบมหาวิทยาลัยมหิดลติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่https://linktr.ee/isan.insight#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #สูบบุหรี่ #บุหรี่ #วันงดสูบบุหรี่โลก

พามาเบิ่ง ลายผ้าพื้นเมือง อัตลักษณ์ประจำจังหวัด 

พามาเบิ่ง ลายผ้าพื้นเมือง อัตลักษณ์ประจำจังหวัด ..กาฬสินธุ์ : ผ้าไหมแพรวาลายนาค ๑๒ แขน เป็นลายที่มีชื่อสัตว์ที่เป็นมงคลตามความเชื่อของคนอีสานลุ่มน้ำโขง และ 12 หมายความตามฮีค 12 ของคนอีสาน.ขอนแก่น : ผ้าลายแคนแก่นคูณแคน (KAN) King of Music สัญลักษณ์แทนความเจริญและสนุกสนาน เมืองแห่งหมอแคนแก่น (KAEN) King of Esan หมายถึงมหานครขอนแก่นคูน (Koon) King of Tree and Flower สัญลักษณ์ดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น ดอกคูน.ชัยภูมิ : ผ้าลายหมี่คั่นขอนารี เดิมเป็น ลายขอนารี จากนั้นชาวบ้านเขว้านำลายคั่นมาเสริมเพิ่มเข้าไปจึงได้ชื่อว่า ลายหมี่คั่นขอนารี.นครพนม : ผ้ามุก ผ้าทอลายยกมุก มาจากคนในพื้นที่คล้ายนำเอาหอยมุกมาเจียรนัยเข้าไปในเนื้อผ้า เป็นเอกลักษณ์จนถึงปัจจุบัน.นครราชสีมา : ผ้าหางกระรอกสีแสด “เส้นหางกระรอก” ใช้อุปกรณ์ในการตี คือ ไนและโบก และ “สีแสด”เป็นสีของธงประจำกองเสือป่านครราชสีมา ซึ่ง ร.6 พระราชทานให้แก่จังหวัดนครราชสีมา.บึงกาฬ : ผ้าลายหมากเบ็ง (เบญจลักษณ์แห่งบึงกาฬ) สีม่วง-ขาว คือ สีของจังหวัดบึงกาฬ ประกอบไปด้วยแม่น้ำโขง พญานาค ขันหมากเบ็ง ดอกสิรินธรวัลลี และหินสามวาฬ.บุรีรัมย์ : ผ้าหางกระรอกคู่ เป็นลายผ้าลายริ้วที่เกิดจากการสร้างลวดลายด้วยเส้นไหมต่างสี หรือเส้นไหมพิเศษทางเส้นพุ่งควบ 2 เส้น ในเนื้อผ้าดูคล้ายจะมีปุยขนอ่อนขึ้นมาเหมือนกับเส้นขนของหางกระรอก.มหาสารคาม : ผ้าลายสร้อยดอกหมาก มาจากสิ่งใกล้ตัว ดอกหมากหรือพวงของดอกหมาก โดยลายผ้าเกิดจากการมัดหมี่ นำลายโคมเก้าและโคมห้ามามัดซ้อนกัน.มุกดาหาร : ผ้าไหมลายแก้วมุกดา มีลักษณะเป็นดอกสีขาวหรือเรียกว่าลายตุ้ม แก้วมุกดาซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู๋เมืองของชาวมุกดาหาร.ยโสธร : ผ้าลายยศสุนทร (ลายลูกหวาย) เป็นสีฟ้า สีประจำ จ. ยโสธร และลูกหวาย คือต้นหวายที่มีลำต้นอ่อนโยน เหนียว ไม่หักง่าย เป็นตัวแทนของความหนักแน่น มั่นคง สามัคคี.ร้อยเอ็ด : ผ้าไหมลายสาเกต มีสีดอกอินทนิลบก (สีชมพูอมม่วง) เริ่มต้นจากลายโคมเจ็ด นาคน้อย คองเอี้ย ค้ำเพ้า และหมากจับ.เลย : ผ้าลายดอกฝ้ายเมืองเลย ดอกฝ้ายสะท้อนถึงภาพในอดีตของ จ.เลย ที่เคยเป็นแหล่งปลูกฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเป็นลวดลายของต้นดอกฝ้ายทั้งดอกตูม ดอกเล็ก และกวักฝ้าย.ศรีสะเกษ : ผ้าเหยียบลายลูกแก้ว มาจากลวดลายของหวายป่า ลักษณะคล้ายผลระกำหรือสละ มีรูปร่างเป็นช่อคล้ายลูกแก้วในปัจจุบัน.สกลนคร : ผ้าลายนครธรรม ประกอบด้วย 5 ลวดลายที่มาเชื่อมโยงกัน ลายดอกไม้ป่า (ดอกมณีเทวา) อยู่ที่อุทยานแห่งชาติภูพาน, นครธรรม สื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา, ลายหัวใจ …

พามาเบิ่ง ลายผ้าพื้นเมือง อัตลักษณ์ประจำจังหวัด  อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ผ้า GI จาก 8 จังหวัดในอีสาน

พามาเบิ่ง ผ้า GI จาก 8 จังหวัดในอีสาน . . ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ จดทะเบียนขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 เป็นผ้าทอที่ประดิษฐ์ลายด้วยการขิด และ การจก ใช้เส้นไหมตีเกลียวเป็นทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง รวมทั้งเส้นไหมเพิ่มพิเศษ ทำให้เกิดลวดลายตามกรรมวิธีของชาวผู้ไทยจังหวัดกาฬสินธุ์ . ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท จดทะเบียนขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2552 สร้างลวดลายและสีสันด้วยการค้นลำหมี่และมัดย้อมอย่างประณีตตามกรรมวิธีที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เอกลักษณ์ของผ้าไหมมัดหมี่ชนบท เป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่สร้างลวดลายและสีสันโดยการมัดและย้อมเส้นไหมที่แบ่งเป็นปอยเล็กๆ เนื้อผ้าแน่นนุ่ม เป็นมันวาว มีปุ่มปมลวดลายละเอียดชัดเจน มีการกำหนดขนาดของผ้าและขั้นตอนในการทอที่มีระเบียบวิธี มีทั้งผ้าหน้านาง ผ้าชุด ผ้าถุง หรือผ้าซิ่น ผ้าสไบ ผ้าพันคอ และผ้าคลุมไหล่ . ผ้าไหมมัดหมี่ซิ่นตีนแดงบุรีรัมย์ จดทะเบียนขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2563 ทอลวดลายให้เด่นบนผืนผ้าด้วยการมัดหมี่และทอเรียงเส้นตามลักษณะลายต่อเนื่องกัน การทอผ้าไหมมัดหมี่ซิ่นตีนแดงถือเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากคนรุ่นเก่าไปสู่คนรุ่นใหม่ นิยมสวมใส่เฉพาะงานพิธีกรรมทางศาสนา งานบุญประเพณี พิธีการสำคัญ ซึ่งหลอมรวมความเชื่อ และความผูกพันของคนในชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน . ผ้าหมักโคลนหนองสูง จดทะเบียนขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2559 เนื้อผ้านุ่ม สีไม่ตก มีกลิ่นหอมละมุนของดิน ชาวผู้ไทมีภูมิปัญญาในการปั่นใยฝ้ายเป็นเส้นเพื่อนำมาทอผ้า และสกัดสีจากพืชตามธรรมชาติเพื่อนำมาย้อมผ้า เมื่อพบว่าโคลนในพื้นที่อ.หนองสูง ปละพื้นที่ใกล้เคียงเป็นโคลนที่มีเนื้อละเอียด ชาวผู้ไทจึงได้ทดลองนำเส้นใยผ้าที่ผ่านการย้อมสีจากพืชธรรมชาตินำไปหมักในโคลนก่อนนำไปทอ ทำให้เกิดเป็นผ้าที่มีโทนสีนุ่มนวลสดใส ให้สัมผัสนิ่มนวลและซับเหงื่อได้เป็นอย่างดี . ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง จดทะเบียนขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2557 ผ้าไหมทอมือด้วยทอ ผ้าแบบพื้นบ้านให้เกิดลวดลายจากผ้า เรียกว่าลายลูกแก้ว ย้อมสีดำด้วยผลมะเกลือ อบด้วยสมุนไพรทำให้ ผ้าไหมมีกลิ่นหอม และมีการปักลวดลายด้วยเส้นไหมสีสันต่างๆ หรือการปักแซวให้มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ . ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร จดทะเบียนขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 มีสีน้ำเงินเข้มเป็นมันวาว ไม่ตกสี มีกลิ่นเฉพาะตัว สร้างชื่อเสียงให้กับตัวจังหวัดเป็นเวลานาน ด้วยคุณภาพและการผลิตที่พิถีพิถันมีจุดเด่นจาก 2 ส่วน คือ สีคราม แม้จะย้อมให้เข้มหรือจางก็ให้สีสดใสเป็นเงางาม ติดเนื้อผ้า ทนทาน และความเด่นของเส้นใยฝ้ายที่มีคุณสมบัติระบายอากาศและซึมซับน้ำได้ดี . ผ้าไหมสาเกต จดทะเบียนขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2559 ประดิษฐ์ขึ้นด้วยลายผ้ามัดหมี่โบราณพื้นบ้าน 5 ลาย มาทอต่อกันในผ้าผืนเดียวกัน โดยมีลายโคมเจ็ด ลายนาคน้อย ลายคองเอี้ย ลายค้ำเพ้า และลายหมากจับ โดยมีเอกลักษณ์สำคัญคือลายนาคน้อย 12 ตัว อยู่ตรงกลางและลายหมากจับ 3 ลำ . ผ้าไหมคึมมะอุบัวลาย จดทะเบียนขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 ผ้าไหมทอมือชนิด 2 …

พามาเบิ่ง ผ้า GI จาก 8 จังหวัดในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง อีสานจังหวัดไหน ใช้สินค้าไอทีมากที่สุด?

พามาเบิ่งอีสานจังหวัดไหนใช้สินค้าไอทีมากสุด.ในปัจจุบันเรียกได้ว่า ไม่มีบ้านหลังไหน หรือ ครัวเรือนไหนไม่มี อุปกรณ์ดิจิทัลประเภทคอมพิวเตอร์ เพราะ คอมพิวเตอร์ ถือเป็นอุปกรณ์ด้านไอทีที่มีความสำคัญในการสร้างงาน สร้างความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ตลอดจนเข้าถึงข้อมูล ค้นหาข้อมูลต่างๆ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต.สรุป ประเด็นน่าสนใจ ครัวเรือนอีสานมีคอมพิวเตอร์ เพียง 14% แต่กว่า 95% ของคนอีสานมีโทรศัพท์ โดยที่ผู้สูงอายุ(อายุ 60 ปีขึ้นไป)ในอีสานกว่า 67% ไม่รู้วิธีใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัล.สัดส่วนครัวเรือนที่ถือครอง คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เทียบเท่าคอมพิวเตอร์ในไทยจะพบว่า อีสาน มีสัดส่วนอุปกรณ์คอมฯ เมื่อเทียบกับจำนวนครัวเรือนในรายภูมิภาคต่ำที่สุด โดยแจกแจงได้ ดังนี้กรุงเทพมหานคร 39%ภาคกลาง 23%ภาคเหนือ 20%ภาคใต้ 19%ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14%.และหากเรียงลำดับสัดส่วนครัวเรือนที่ถือครองคอมพิวเตอร์มากไปน้อย จะได้ดังนี้มหาสารคาม 26.5%นครราชสีมา 19.6%ขอนแก่น 19.5%ชัยภูมิ 17.1%อุบลราชธานี 16.1%ศรีสะเกษ 14.7%หนองคาย 13.6%นครพนม 13.5%สุรินทร์ 12.9%หนองบัวลำภู 12.7%มุกดาหาร 11.8%อำนาจเจริญ 11.6%เลย 10.0%บุรีรัมย์ 9.7%อุดรธานี 9.4%บึงกาฬ 8.8%สกลนคร 8.45%ร้อยเอ็ด 7.97%กาฬสินธุ์ 7.22%ยโสธร 5.10%แต่หากเรียงลำดับสัดส่วนครัวเรือนที่ถือครองโทรศัพท์มือถือมากไปน้อย จะได้ดังนี้ขอนแก่น 98.6%อุบลราชธานี 98.1%อุดรธานี 97.4%บึงกาฬ 97.2%หนองบัวลำภู 96.8%หนองคาย 96.8%มหาสารคาม 96.7%กาฬสินธุ์ 96.3%ร้อยเอ็ด 96.2%ชัยภูมิ 95.6%นครราชสีมา 95.3%ศรีสะเกษ 95.3%สกลนคร 95.0%บุรีรัมย์ 94.8%ยโสธร 94.7%นครพนม 94.3%อำนาจเจริญ 93.5%มุกดาหาร 93.1%เลย 92.8%สุรินทร์ 90.7% ซึ่งการที่ประชากรอีสานมีอุปกรณ์ดิจิตัลมากขึ้น ก็ย่อมส่งผลต่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต มากตามขึ้นไปด้วยนั่นเอง โดยสัดส่วนประชากรอีสานตั้งแต่อายุ 6 ขวบขึ้นไปที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถอ่านต่อได้ที่ลิงก์ https://isaninsight.kku.ac.th/3q9c..หน่วย: สัดส่วนต่อครัวเรือนที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่https://linktr.ee/isan.insight.#ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #คอมพิวเตอร์ #มือถือ

พามาเบิ่ง  “EVEANDBOY” อาณาจักรเครื่องสำอางเจ้าดังระดับประเทศ

พามาเบิ่ง “EVEANDBOY” อาณาจักรเครื่องสำอางเจ้าดังระดับประเทศ..จุดเริ่มกำเนิดของต้นของ EVEANDBOY.EVEANDBOY เริ่มจากร้านซูเปอร์มาร์เก็ต ชื่อ “สารคามซูเปอร์มาร์เก็ต” ในจังหวัดมหาสารคาม โดยทำธุรกิจมานานหลายสิบปีตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อ พอความความเจริญเข้าไปต่างจังหวัดมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดห้างร้านโมเดิร์นเทรดต่าง ๆ เริ่มผุดกันเป็นดอกเห็ด ทำให้ธุรกิจต้องถึงเวลาปรับตัวแบบ 360 องศา ไม่อย่างนั้นก็จะสู้กับห้างไม่ได้.คุณ หิรัญ ตันมิตร เป็นหนึ่งในทายาทของสารคามซูเปอร์มาร์เก็ต ได้มีความคิดว่าถ้าขายสินค้าเครื่องสำอางน่ามีโอกาสไปรอดมากกว่า เพราะขายเครื่องสำอางมีกำไรส่วนต่างสูง จึงร่วมกับพี่สาวซึ่งได้เปิดและตั้งชื่อ EVEANDBOY ชื่อร้านมากจากชื่อเล่นของทั้งสองคน โดยร้านขายเครื่องสำอางเริ่มแรกปี พ.ศ.2548 เป็นจำหน่ายคอสเมติกหลากหลายยี่ห้อที่ได้นำแนวคิดจากต่างประเทศนำมาใช้.โดยมองว่าเป็นเทรนด์ของผู้หญิงยุคใหม่ชอบซื้อสินค้าจากร้านแบบนี้มากกว่าคอนเซาส์กับบีเอตามเคาน์เตอร์แบรนด์ห้างสรรพสินค้า เพราะลูกค้าสามารถเดินเลือกดูได้ตามความชอบ และจากการชักชวนปากต่อบากของลูกค้าทำให้ EVEANDBOY ขยายสาขาไปสู่กรุงเทพ และจังหวัดต่างๆในภาคอีสาน จำนวน 11 สาขา และมีแผนขยายเพิ่มอีกในเวลาอันใกล้.รูปแบบธุรกิจ.การทำธุรกิจของ EVEANDBOY คือ การขายพร้อมขยายตลาดเชิงรุก โดยมีการขยายตลาดจากต่างจังหวัดเข้าสู่กรุงเทพฯ หรือ “ป่าล้อมเมือง” เลือกทำเลที่มีคนเป็นแหล่งผู้คนพลุกพล่าน เช่น สยาม รังสิต เมกาบางนา สยามสแควร์วัน เป็นต้น เนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่และมีโอกาสเติบโตค่อนข้างมาก.ปัจจุบันร้านมีเครื่องสำอางมากกว่า 900 แบรนด์ มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 5 หมื่นรายการ ทำให้ลูกค้าให้การตอบรับเป็นอย่างดี และที่สำคัญคือเป็นเครื่องสำอางของแท้ที่ราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดกว่าปกติประมาณ 30% สินค้าทุกชิ้นนำเข้าโดยดิสทริบิวเตอร์ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้าทุกชิ้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพแน่นอน..อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเครื่องสำอางของ EVEANDBOY ได้ทำให้เราได้เห็นว่า การเข้าใจลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในตลาดและมีคู่แข่งใหญ่อย่าง Watsons Boots แต่ EVEANDBOYสามารถขึ้นมาเป็นคู่แข่งได้ เพราะมีความแตกต่างที่จุดขาย โฟกัสกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน ราคา โปรโมชั่น คุณภาพและการโฆษณา EVEANDBOY การสร้างความแตกต่างทางการตลาดทั้ง โดยฉีกกฎเดิม ๆ ไม่ว่าจะชนิดของสินค้าที่มีเฉพาะ ราคาที่จับต้องได้ การโฆษณาที่เข้าถึงได้ง่าย และโปรโมชั่นที่โดนใจ. ข้อมูลพื้นฐานบริษัท ชื่อธุรกิจ    บริษัท อีฟ แอนด์ บอย จำกัด CEO คุณ หิรัญ ตันมิตร ปีก่อตั้ง 2548  สาขาทั้งหมด 24 สาขา สาขาในภาคอีสาน 3 สาขา เริ่มก่อตั้ง จังหวัด มหาสารคาม มูลค่าบริษัท 1,223 ล้านบาท จุดเริ่มต้น EVEANDBOY เริ่มจากร้านซูเปอร์มาร์เก็ต ชื่อ “สารคามซูเปอร์มาร์เก็ต” ในจังหวัดมหาสารคาม โดยทำธุรกิจมานานหลายสิบปีตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อ พอความความเจริญเข้าไปต่างจังหวัดมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดห้างร้านโมเดิร์นเทรดต่าง ๆ เริ่มผุดกันเป็นดอกเห็ด ทำให้ธุรกิจต้องถึงเวลาปรับตัว คุณหิรัญได้มีความคิดว่าถ้าขายสินค้าเครื่องสำอางน่ามีโอกาสไปรอดมากกว่า จึงร่วมกับพี่สาวซึ่งได้เปิดและตั้งชื่อ EVEANDBOY ชื่อร้านมากจากชื่อเล่นของทั้งสองคน    งบการเงิน ปี 2560 รายได้รวม 1,636 ล้านบาท                                                                                                                                                                                                                                         …

พามาเบิ่ง  “EVEANDBOY” อาณาจักรเครื่องสำอางเจ้าดังระดับประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่งคนอีสานใช้อินเทอร์เน็ตกันมากขนาดไหน

พามาเบิ่งคนอีสานใช้อินเทอร์เน็ตกันมากขนาดไหน . โดยเทียบสัดส่วนประชากรอายุ 6 ปี ขึ้นไป ที่มีการใช้อินเทอร์เน็ต แบ่งรายจังหวัด ดังนี้ บุรีรัมย์ 97% มหาสารคาม 95% ขอนแก่น 94% อุดรธานี 91% ยโสธร 90% หนองคาย 90% มุกดาหาร 88% ศรีสะเกษ 88% บึงกาฬ 88% นครราชสีมา 88% หนองบัวลำภู 87% นครพนม 87% สกลนคร 86% กาฬสินธุ์ 85% ร้อยเอ็ด 85% อุบลราชธานี 84% ชัยภูมิ 83% อานาจเจริญ 79% สุรินทร์ 78% เลย 75% . นอกจากนั้นจะเห็นได้ว่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งสอดคล้องกับสถิติการถือครองมือถือของประชากรอีสานที่เพิ่มขึ้นทุกปี ในโพสต์นี้ https://www.facebook.com/100068779069701/posts/762774172691878/ . นอกจากนั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้น เพราะพื้นที่สัญญาณอินเทอร์เน็ตในไทย มีพื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และมีความเร็วติดอันดับโลก ดังที่ปรากฏใน โพสต์นี้ . ดังนั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจึงเป็นทั้งโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร เข้าถึงบริการ ติดต่อสื่อสาร และส่งเสริมให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีกด้วย https://www.facebook.com/share/p/8karCe3wzrWvAfUh/?mibextid=oFDknk . การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet Access) หมายถึงการเชื่อมต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือคอมพิวเตอร์ใด ๆ หรืออุปกรณ์มือถือ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ . ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ . ติดตาม ISAN Insight ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight . #ISANInsight #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #5G #สัญญาณ5G #คนใช้งานอินเตอร์เน็ต #การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต #internetaccess

Scroll to Top