SHARP ADMIN

เศรษฐกิจ ‘ลาว’ ไปต่อยังไง? หลังหนี้พุ่ง 122 % ของ GDP แรงงานทะลักออกนอกประเทศ เศรษฐกิจชายแดนอีสานได้รับผลกระทบ?

หนึ่งในข้อความจากเพจ ลาว”มอง”ไทย “แรงงานลาวไปทำงานในต่างประเทศ จาก 73% ในปี 2023 มาเป็น 93% ในปี 2024” แม้ข้อความข้างต้นจะไม่ปรากฏข้อมูลตัวเลขอ้างอิง ที่เชื่อถือได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีข่าวและข้อมูลที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจต่างๆ ที่พูดถึงวิกฤตทางการเงินและวิกฤตทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว ประเทศเล็กๆ ที่ไร้ทางออกทะเล ที่ต้องการฟื้นเปลี่ยนสภาพจาก land locked ให้เป็น land linked ประสานกับยุทธศาสตร์การเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ทำให้ลาวต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากนับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งของแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ แต่กลับกันการลงทุนเหล่านั้นก็ได้สร้างหนี้พอกพูนมากขึ้นเป็นลำดับ “ภาคอีสาน และ สปป.ลาว ล้วนพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจมากกว่าที่คิด ดังนั้นการหดตัวทางเศรษฐกิจลาวย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจอีสานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” สถานการณ์ของลาวประเทศเพื่อนบ้านต้องเผชิญกับหนี้สาธารณะในระดับวิกฤตเมื่อมองไปที่นี่เงินกู้ของประเทศตอนนี้สูงถึง 122 % ของ GDP ซึ่งทำให้ลาวกลายเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงเป็นอันดับ 9 ของโลกตามข้อมูลกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ซึ่งทำให้เรื่องนี้กลายเป็นสิ่งที่หลายคนกล่าวถึงลาวว่ากำลัง “ติดกับดักนี่ทางการทูต” จากจีนหรือไม่? จนนักวิเคราะห์หลายคนมองว่าลาวได้กลายเป็นรัฐเงา(shadow state) ของจีนไปด้วยซ้ำ แต่ในขณะเดียวกันลาวก็ไม่ได้มีทางเลือกในการพัฒนามากนักการต้านจีนจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากการเชื่อมโยงพัฒนาเข้ากับจีนดูเหมือนจะเป็นทางเดียวที่ลาวจะสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่พรรคประชาชนปฏิวัติเราเองก็ต้องการความชอบธรรมด้านผลงานจากการพัฒนาเพื่อให้อยู่ในอำนาจได้อย่างต่อเนื่อง แต่ทุกอย่างมีราคาต้องจ่าย ISAN Insight and Outlook จะ พามาเบิ่ง ว่าท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจของลาว ได้เกิดผลกับลาวอย่างไรและได้ส่งผลต่อประเทศไทยรวมถึงภาคอีสานที่ถือเป็นชายแดนติดกับประเทศลาวอย่างไรบ้างตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เศรษฐกิจลาวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ เช่น ภัยธรรมชาติ ภาวะหนี้สิน และผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจลาวก็มีสัญญาณการฟื้นตัวและพัฒนาในหลายด้าน ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจลาว การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน: ลาวให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง รถไฟมาตรฐาน และเขื่อน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจและเชื่อมโยงลาวเข้ากับภูมิภาค การลงทุนจากต่างประเทศ: การลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจลาว แต่ก็ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาระหนี้สินของประเทศ ภาคการเกษตร: ภาคการเกษตรยังคงเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจลาว แม้ว่าจะเผชิญกับปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลนเทคโนโลยี ภาคการท่องเที่ยว: ภาคการท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจลาว แต่การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจลาวในอนาคต การฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป: แม้ว่าเศรษฐกิจลาวจะเริ่มฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวก็ยังมีความเปราะบางและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น สงครามการค้า สภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวน ความท้าทายด้านหนี้สิน: ภาระหนี้สินของลาวยังคงเป็นความท้าทายสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข การพัฒนาอย่างยั่งยืน: ลาวให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปรียบเทียบศักยภาพเศรษฐกิจลาว และ ภาคอีสาน   ลาว ยังเป็นผู้ลงทุน Top3 ของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอีสานมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลข้างต้น ณ 30 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา จะพบว่า ลาว ยังเป็นกลุ่มประเทศที่เข้ามาลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอีสานอย่างต่อเนื่องและติด TOP 3 มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่ฝั่งแรงงานจากลาว ก็ถือเป็นอันดับ 2 ของไทยที่ขับเคลื่อนแรงงานต่างด้าว เป็นรองเพียง […]

เศรษฐกิจ ‘ลาว’ ไปต่อยังไง? หลังหนี้พุ่ง 122 % ของ GDP แรงงานทะลักออกนอกประเทศ เศรษฐกิจชายแดนอีสานได้รับผลกระทบ? อ่านเพิ่มเติม »

คนอีสานและทั่วโลกถูกดักฟัง หลังข่าวฉาว บิ๊กเทคอาจใช้ AI ดักฟังในแพลตฟอร์มต่างๆ เหตุเม็ดเงินโฆษณาเติบโตอย่างต่อเนื่อง

สงครามแย่งชิงความสนใจและเม็ดเงินโฆษณาในวงการสื่อและความบันเทิงไทยกำลังร้อนระอุ! แพลตฟอร์มใหม่ๆ ผุดขึ้นราวดอกเห็ด ผู้บริโภคเสพสื่อหลากหลายช่องทางจนตาลาย แต่ใครจะครองใจคนไทยได้อยู่หมัด? . ผลสำรวจจาก Marketbuzzz ชี้ชัดว่า คนไทยยุคนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโซเชียลมีเดีย (70%) การท่องอินเทอร์เน็ต (50%) และดูวิดีโอสตรีมมิง (47%) LINE และ Facebook ยังคงเป็นเจ้าพ่อโซเชียล โดยเฉพาะ LINE ที่มีผู้ใช้งานสูงถึง 78% สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมในการใช้แอปพลิเคชันนี้ในการสื่อสารและติดตามข่าวสารในชีวิตประจำวัน . Facebook เองก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ใช้งาน 68% แสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มนี้ยังคงเป็นช่องทางสำคัญในการเชื่อมต่อกับเพื่อนฝูงและครอบครัว นอกจากนี้ ยังพบว่า Messenger แอปพลิเคชันแชตในเครือของ Facebook ก็มีผู้ใช้งานสูงถึง 34% บ่งชี้ว่าคนไทยยังคงนิยมการสื่อสารแบบส่วนตัวผ่านช่องทางนี้ . ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน Facebook อยู่มากกว่า 12.9 ล้านบัญชี โดยมีสัดส่วนบัญชีผู้ใช้งาน Facebook แบ่งเป็นผู้หญิง 60.01% และผู้ชาย 39.99%.โดยประเทศไทยเป็นประเทศอันดับที่ 8 ที่มีจำนวนผู้ใช้งาน facebook มากที่สุดในโลก จำนวนกว่า 48.3 – 56.9 ล้านบัญชี โดยผู้ใช้งานส่วนใหญ่50.6% ชอบโพสต์ลิงค์มากที่สุดรองลงมาเป็นรูปภาพ 30.2%video 17.1%สเตตัสทั่วไป 1.9%ส่วนค่าเฉลี่ยการโพสต์จากเพจ 1.92%. จัดอันดับอันดับจังหวัดที่มีสัดส่วนบัญชีผู้ใช้งาน Facebook มากที่สุด.อันดับที่ 1 นครราชสีมา จำนวน 1.7 – 2 ล้านบัญชีอันดับที่ 2 อุบลราชธานี จำนวน 9.8 แสนบัญชี – 1.2 ล้านบัญชีอันดับที่ 3 อุดรธานี จำนวน 8.1 – 9.6 แสนบัญชีอันดับที่ 4 ขอนแก่น จำนวน 8.1 – 9.5 แสนบัญชีอันดับที่ 5 บุรีรัมย์ จำนวน 7.5 – 8.8 แสนบัญชี 6 สุรินทร์ จำนวน 6 – 7 แสนบัญชี 7 ศรีสะเกษ จำนวน 5.9 – 6.9 แสนบัญชี 8 ร้อยเอ็ด จำนวน 5.5 – 6.5 แสนบัญชี 9 สกลนคร จำนวน 5.5 –

คนอีสานและทั่วโลกถูกดักฟัง หลังข่าวฉาว บิ๊กเทคอาจใช้ AI ดักฟังในแพลตฟอร์มต่างๆ เหตุเม็ดเงินโฆษณาเติบโตอย่างต่อเนื่อง อ่านเพิ่มเติม »

ของดีและฟรีมีอยู่จริง!!! บริการจาก “40 บูท” ในงาน “มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” บริการวิชาการแก่ชาวขอนแก่น ครบจบที่เดียว

บริการวิชาการด้วยใจ ครบจบที่เดียว กับ มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ หน่วยงานเครือข่าย ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย เข้าร่วมบริการวิชาการแก่ชาวขอนแก่นกว่า 40 หน่วยงาน โดยการจัดกิจกรรม “มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” ในโครงการ KKU CSV มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 แล้ว ในปีนี้ ได้กำหนดจัดขึ้น ในวันศุกร์ที่ 6 กันยายน  2567 เวลา 09.00 – 15.00 น. ณ สถานีรถไฟขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น และหน่วยงานเครือข่าย ร่วมนำองค์ความรู้ ทั้งทางด้านการบริการวิชาการ การให้คำปรึกษา รวมถึง การบริการด้านสุขภาพ ออกบริการประชาชนในชุมชน ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย  ให้บริการ 4 ด้าน ได้แก่ 1.บริการด้านสุขภาพ  -ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก ขูดหินน้ำลาย อุดฟัน ถอนฟัน –  ให้บริการทันตสุขศึกษา – การตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาล และประเมิน Body Composition (การวัดองค์ประกอบของร่างกาย) พร้อมบริการให้คำปรึกษาสุขภาพ – การให้ความรู้สุขภาพต่าง ๆ การสร้างเสริมสุขภาพด้วยอาหาร – การประชาสัมพันธ์ช่องทางการเข้าถึงโรงพยาบาล – การบริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ – ตอบคำถามโรคติดต่อชิงรางวัลและแจก Set box ป้องกันโรค – การบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม – การแนะนำบริการต่างๆของศูนย์บริการทางการแพทย์ชั้นเลิศ(SMC). อาทิเช่น • คลินิกโรคเฉพาะทาง • คลินิกตรวจสุขภาพ • วัคซีนผู้ใหญ่และเด็ก • ช่องทางการเข้ารับบริการ ผู้รับบริการต้องนำบัตรประชาชนมาด้วยทุกครั้ง -แนะนำบริการต่างๆ และตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น วัดความดัน ประเมินภาวะสุขภาพด้วยเครื่องวัดมวลร่างกาย แบบทดสอบภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย -ให้ความรู้เรื่องการเตรียมตัวก่อนมารับบริการทางวิสัญญีและคลินิกระงับปวด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 2.ให้บริการฝังเข็มเพื่อการระงับปวด 3.แจกของที่ระลึกแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม” -นิทรรศการพิพิธภัณฑ์ทางพยาธิวิทยา โดยให้ความรู้เกี่ยวกับรอยโรคของอวัยวะในร่างกายมนุษย์ -รับบริจาคโลหิต ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริการโลหิต และมอบของที่ระลึกให้ผู้มาร่วมกิจกรรม – ให้ความรู้ทางด้านเซลล์บำบัดรักษา คือ การรักษาฟื้นฟูระดับเซลล์ด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น – ให้สิทธิ์ในการรักษาภาวะเข่าเสื่อม ฟรี 5 ราย และภาวะเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรัง ฟรี 5 ราย – ให้บริการตรวจประเมินผิวหน้าและหนังศีรษะพร้อมให้คำปรึกษา ฟรี – ร่วมกิจกรรมเล่นเกมลุ้นรางวัลและของที่ระลึกมากมาย -การตรวจองค์ประกอบร่างกายและการทดสอบสมรรถภาพทางกายเบื้องต้น ( Body scan

ของดีและฟรีมีอยู่จริง!!! บริการจาก “40 บูท” ในงาน “มหกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่นบริการชุมชน” บริการวิชาการแก่ชาวขอนแก่น ครบจบที่เดียว อ่านเพิ่มเติม »

4 จังหวัด คูเมืองโบราณในอีสาน วิทยาการการจัดการน้ำในเมืองโบราณของคนในอดีต

🌧☔ในฤดูฝนช่วง สิงหา-กันยา ในทุกๆ ปี หลายท่านอาจจะต้องเผชิญกับฝนอยู่บ่อยครั้งโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน หรือเวลาเลิกงาน บางครั้งอาจหนักถึงขั้นพายุ ฟ้าฝน ลม กระหน่ำ จนเกิดน้ำท่วมฉับพลันหรือน้ำป่าไหลหลาก ในยุคเมืองปูน เมืองซีเมนต์ ที่น้ำไหลซึมลงผ่านหน้าดินได้ยากนี้ จึงต้องอาศัยเครืองไม้เครื่องมือในการจัดการน้ำ ที่รอการระบาย หรือไม่สามารถระบายผ่านระบบระบายของตัวเมืองได้ทัน . แล้วในสมัยก่อน คนในอดีตวางผังเมือง และมีแผนการรับมือกับน้ำทั้งใน⛈หน้าฝน ⛅หน้าแล้ง และวางระบบชลประทานอย่างไรบ้าง วันนี้ ISAN Insight 🧐สิพามาเบิ่ง 4 จังหวัด คูเมืองโบราณในอีสาน วิทยาการการจัดการน้ำในเมืองโบราณของคนในอดีต กัน ประวัติความเป็นมาของคูคลอง 4 จังหวัดภาคอีสาน 1. นครราชสีมา #คลองคูเมืองนครราชสีมาได้ก่อสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงปี พ.ศ. 2199 – พ.ศ. 2231 เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของนครราชสีมา.ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชดำริว่า ดินแดนภาคอีสานเป็นฉนวนป้องกันการรุกรานของขแมร์ (เขมร) ลาว ญวน และเป็นหัวเมืองใหญ่ควบคุมเขมรป่าดงที่ขึ้นแก่ไทย จึงโปรดให้สร้างเมืองขึ้นใหม่ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมืองที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการรบ จึงมีการสร้างกำแพงและขุดคู้มืองขึ้นด้วย.โดยคูเมืองกว้าง 20 เมตร (10 วา) และลึก 6 เมตร (3 วา) ยาวล้อมรอบเมือง มีความกว้างประมาณ 1,000 เมตร (มาตราวัดของไทย : 25 เส้น) ยาวประมาณ 1,700 เมตร (มาตราวัดของไทย : 43 เส้น) ยาวล้อมรอบกำแพงเมืองและเขตเมืองเก่า และมีการขุดลำปรุจากลำตะคองเป็นทางน้ำเข้ามาหล่อเลี้ยงคูเมืองด้วย มาทำความรู้จัก ๑๗ คูเมืองโคราช . #ชื่อคูเมืองโคราช คูเมืองโคราชมีทั้งหมด 17 คูและให้ประชาชนร่วมส่งชื่อเข้าประกวด โดยคณะเทศมนตรีชุดบริหาร พ.ศ.2526 ร่วมกับอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำชื่อที่เข้าอันดับมาไล่เรียงให้คล้องจองกัน โดยยึดถือความสอดคล้องทางประวัติศาสตร์โคราชและเกี่ยวกับท้าวสุรนารี (คุณย่าโม) ซึ่งแต่ละคูมีชื่อที่คล้องจองกันดังนี้ นารายณ์รังสฤษดิ์ มหิศราธิบดี เศวตหัตถีคู่แดน พลแสนฮึกหาญ อีสานชาญชัย ชูไทเทิดหล้าน พลล้านต้านปัญจา บูรพารวมพล พหลไกรเกริกหาญ ชลธารเทพสถิต นิรมิตชลเขต สาครเรศบุรารักษ์ พิทักษ์สีมารัฐ ยกกระบัตรลือเลื่อง ปลัดเมืองเกรียงไกร พิชัยชุมพล สัมฤทธิ์รณอริพ่าย ภาพคูเมือง ทั้ง 17 แห่งของโคราช ___________________________ 2. ร้อยเอ็ด #คลองคูเมืองร้อยเอ็ดกำแพงเมืองและคูเมืองร้อยเอ็ด เกี่ยวข้องกับเมืองสาเกตในตำนานอุรังคธาตุ ระบุว่ามีมาก่อน การสร้างพระธาตุพนม (พ.ศ. แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีพบร่องรอยการอยู่อาศัยในพื้นที่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย.ต่อมาจึงมีการสร้างเมืองร้อยเอ็ดเมื่อราวปี พ.ศ.1000 ร่วมสมัยกับเมืองเชียงเหียน เมืองจำปาศรี จังหวัดมหาสารคาม

4 จังหวัด คูเมืองโบราณในอีสาน วิทยาการการจัดการน้ำในเมืองโบราณของคนในอดีต อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🚅🛩⛴ 🐉เส้นทางมังกร: การเดินทางของคนจีนสู่อีสาน 2024🇨🇳

สรุปข้อมูล คนจีนที่เดินทางเข้าในภาคอีสานของไทย ปี 2567 จากข้อมูลที่ให้มา เราสามารถวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมและแนวโน้มการเดินทางของชาวจีนเข้าสู่ภาคอีสานของไทยในปี 2567 ได้ดังนี้ จุดผ่านแดนยอดนิยม จุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพ 1 จังหวัดหนองคาย เป็นจุดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการเดินทางเข้ามาของชาวจีน สะท้อนให้เห็นถึงความสะดวกในการเดินทางและความเชื่อมโยงระหว่างสองประเทศ จุดผ่านแดนอื่นๆ เช่น สะพานมิตรภาพ 2, 3 และช่องเม็ก ก็มีปริมาณผู้เดินทางเข้ามาในระดับที่น่าสนใจ ซึ่งบ่งบอกถึงความหลากหลายของเส้นทางที่ชาวจีนเลือกใช้ กลุ่มอายุ กลุ่มอายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด สะท้อนให้เห็นถึงกลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจการท่องเที่ยวและมีกำลังซื้อ กลุ่มอายุอื่นๆ ก็มีการกระจายตัวค่อนข้างดี ซึ่งบ่งบอกถึงความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมายที่เดินทางมาเที่ยวภาคอีสาน เพศ เพศชาย มีจำนวนมากกว่าเพศหญิง กว่าเท่าตัว วิธีการเดินทาง การเดินทางทางบก เป็นวิธีการเดินทางที่ได้รับความนิยมสูงสุด สอดคล้องกับข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าจุดผ่านแดนทางบกมีปริมาณผู้เดินทางสูงกว่าจุดผ่านแดนทางอากาศและทางน้ำ การเดินทางทางอากาศและทางน้ำ มีสัดส่วนน้อยกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะปัจจัยด้านระยะทางและความสะดวกในการเดินทาง ข้อเสนอแนะ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน: ควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคอีสานให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยว การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: เน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่าง การสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยว: พัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่หลากหลาย การประชาสัมพันธ์: สร้างสรรค์แคมเปญการตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของภาคอีสานให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในตลาดนักท่องเที่ยวชาวจีน วิเคราะห์ถึงการเข้ามาของคนจีนในภาคอีสาน จากข้อมูลที่วิเคราะห์ข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ภาคอีสานของไทยมีความน่าสนใจและมีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาคอีสานจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง โดยพิจารณาจากกลุ่มอายุช่วง 25-34 ปี และ 35-44 ปี เป็นช่วงอายุที่ผ่านด่านเข้ามามากที่สุด รวมทั้ง เป็นเพศชายที่มากกว่าเพศหญิงกว่าเท่าตัว ด้วยความที่ข้อมูลชุดนี้มีเพียงจำนวนผู้ผ่านด่านแต่ละด่าน ไม่ได้แสดงลึกว่าเป็นผู้ถือครองวีซ่าประเภทไหนบ้าง จึงอาจจะไม่ทราบจุดประสงค์ของการเดินทางที่แท้จริงว่าเป็นการท่องเที่ยว หรือเข้ามาทำงาน แต่จากการลงพื้นที่สำรวจ และสัมภาษณ์คนในท้องถิ่นกลุ่มจังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีด่านเหล่านี้ ก็จะพบว่า การมาถึงของฟรีวิซ่าจีนและช่วงวิกฤติเศรษฐกิจจีนทำให้มีชาวจีน เข้ามาในไทยมากขึ้น โดยส่วนมากในอีสานจะเข้ามาทำงาน เดินทางมาทำธุรกิจมากกว่าการท่องเที่ยว และอีกจุดที่น่าสังเกตอีก 1 จุดคือ การเดินทางทางบกมีสัดส่วนสูงสุด โดยด่านหนองคายมีจำนวนผู้ผ่านด่านชาวจีนมากที่สุด อาจจะด้วยสาเหตุที่มีทางรถไฟสายเวียงจันทร์-บ่อเต็น หรือ ทางรถไฟสายจีน-ลาว สามารถลำเลียงสินค้าและผู้โดยสารจากจีนตอนใต้ ผ่านลาวมาถึงไทยได้อีกเส้นทางหนึ่ง โดยเส้นทางนี้จะเชื่อมจากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน มาที่บ่อเต็น สปป.ลาว และมีปลายทางที่นครหลวงเวียงจันทร์ ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดหนองคายเพียงแค่ 24 กิโลเมตร ดังนั้นหากในอนาคต มีการเชื่อมต่อระบบรางของไทยเชื่อมกับ ลาว และ จีนตอนใต้ ก็ยิ่งเพิ่มจำนวนคนจีนที่จะเดินทางเข้าสู่อีสานมากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเป็นทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่ท้าทายมากขึ้นสำหรับคนท้องถิ่นในอีสาน ภาพ เส้นทาง รถไฟ จีน-ลาว หมายเหตุ: การวิเคราะห์ข้างต้นเป็นเพียงการวิเคราะห์เบื้องต้นจากข้อมูลที่ให้มา อาจมีความแตกต่างจากข้อมูลจริงได้ หากต้องการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฤดูกาล: จำนวนนักท่องเที่ยวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลท่องเที่ยว เทศกาล: การจัดงานเทศกาลต่างๆ อาจส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยว นโยบายของรัฐบาล: นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น การยกเว้นวีซ่า อาจส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยว สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ: สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศอาจมีผลต่อการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยว การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมจะช่วยให้สามารถวางแผนและดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาคอีสานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

พามาเบิ่ง🚅🛩⛴ 🐉เส้นทางมังกร: การเดินทางของคนจีนสู่อีสาน 2024🇨🇳 อ่านเพิ่มเติม »

ททท.ขอนแก่น x บัสซิ่ง เปิดวิ่งบัส รอบดึกฟรี! ตลอดเดือน กันยายนนี้!!

ไปดื่ม ไปดริ้ง จะหาของกินมื้อดึก สตรีทฟู้ด โต้รุ่ง ร้านนม สายเที่ยวตอนกลางคืนห้ามพลาด ททท.ขอนแก่น x บัสซิ่ง เตรียมให้บริการ 𝗞𝗵𝗼𝗻 𝗞𝗮𝗲𝗻 𝗡𝗶𝗴𝗵𝘁 𝗕𝘂𝘀! . #ให้บริการฟรี ตลอดเดือนกันยายนนี้ เส้นทาง ม.ขอนแก่น เมืองขอนแก่น ตั้งแต่ 21.00 – 01.00 น. สะดวกสบาย ปลอดภัย แถมยังได้เที่ยวกลางคืนแบบชิลล์ๆ ชาวขอนแก่นสายกินดึกไม่ต้องกังวลเรื่องด่านแล้วจ้า นั่งขนส่งสาธารณะไปม่วนจอยรอบขอนแก่นได้เลย ตั้งแต่ 1 กันยายนนี้ นั่งรถบัสเที่ยวพิเศษ สาย Night Route ฟรี รถให้บริการตั้งแต่ 3 ทุ่ม – ตี 1 วิ่งจากกังสดาล – กัลปพฤกษ์ – เซ็นทรัล – ศรีจันทร์ – หลังเมือง – รื่นรมย์ – ประชาสำราญ – มิตรภาพ ผ่านบาร์ ร้านนม ตลาดโต้รุ่ง ดูตารางเวลา และพิกัดรถผ่าน line @kkcitybus โครงการดีๆ จาก ททท. ขอนแก่น . ยิ่งไปกว่านั้น! มีกิจกรรมสะสมแต้มลุ้นรับของรางวัลสุดเจ๋งรออยู่เพียบ รับรองว่าถูกใจทั้งสายเด็กอ้วน สายเด็กดี และสายปาร์ตี้แน่นอน! รอติดตามเร็วๆ นี้เด้อ ╔═══════════╗ เช็คตาราง/ตำแหน่งรถ/สอบถาม ที่ LINE เพิ่มเพื่อน @kkcitybus หรือคลิก https://lin.ee/tbeGC09 เวลาอาจคลาดเคลื่อนตามสภาพการจราจร ╚═══════════╝ #ขอนแก่นซิตี้บัส #KKcitybus #ขอนแก่น #ไปขอนแก่น #รีวิวขอนแก่น #เที่ยวขอนแก่น #กินเที่ยวขอนแก่น #ขอนแก่นแล่นโลด #ให้บริการฟรี #นั่งฟรี  ไปเลาะยามแลง หาของกินมื้อดึก สตรีทฟู้ด โต้รุ่ง ร้านนม สายเที่ยว มาครบ!! เตรียมตัวให้พร้อม มาร่วมจอยกิจกรรมสะสมแต้มเพื่อลุ้นรับของรางวัล เพิ่มเพื่อน LINE @kkcitybus หรือคลิก https://lin.ee/tbeGC09 ไว้เลยเด้อ

ททท.ขอนแก่น x บัสซิ่ง เปิดวิ่งบัส รอบดึกฟรี! ตลอดเดือน กันยายนนี้!! อ่านเพิ่มเติม »

อะไรทำให้ เศรษฐกิจอีสาน ฟื้นตัวช้า คาดการณ์ การเติบโตต่ำกว่า 1%💼

แบงค์ชาติคาดการณ์ ปีนี้ #อีสานฟื้นตัวแล้ว จากภาคการค้าที่ดีขึ้น แต่ก็ยังโตขึ้นไม่ถึง 1% เหตุ ภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวช้า การเกษตรหดตัว และภาคอสังหาฯ ได้รับผลกระทบจากหนี้ครัวเรือน   เศรษฐกิจอีสาน ปี 66 หดตัวที่ -2.2 ถึง -1.2% ขณะที่ปี 67ขยายตัวเล็กน้อยที่ -0.1 ถึง 0.9% ปี 2566 หดตัวจากภาคอุตสาหกรรมกลุ่มผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ที่หดตัวเนื่องจากสินค้าคงคลังของคู่ค้ายังอยู่ในระดับสูงจาก อุปสงค์ที่ฟื้นตัวช้า เช่นเดียวกับผลผลิตเกษตรที่หดตัว ในพืชสำคัญทำห้กำลังซื้อในภาคการค้าลดลง ด้านภาค อสังหาริมทรัพย์หดตัวตามยอดขายที่เร่งไปในปีก่อนหน้า ประกอบกับสถาบันการเงินระมัดระวังการอนุมัติสินเชื่อ อย่างไร ก็ดี ภาคก่อสร้างขยายตัวได้เล็กน้อยจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ใหม่ หลังจากที่ผู้ประกอบการเร่งระบายสต๊อกไปในปีก่อน  ปี 2567 ขยายตัวเล็กน้อย จากภาคการค้าตามกิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่ทยอยปรับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรม ยังฟื้นตัวช้าตามการฟื้นตัวของภาคอิเล็กทรอนิกส์ และผลผลิต เกษตรยังหดตัว เช่นเดียวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับ ผลกระทบจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง บั่นทอน ความสามารถในการซื้อและผ่อนชำระ สรุปภาพรวมเศรษฐกิจอีสาน ในปี 2566 -🌾 รายได้ในภาคการเกษตรมีการ หดตัว ⬇️ -2.8% YOY จากผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อยเป้นสำคัญ เนื่องจากผุ็ปลูกมันสำปะหลังพบปัญหาใบด่าง ส่วนอ้อยพบปัญหาจากภัยแล้ง ส่วนยางและปศุสัตว์ระดับขยายตัวเล็กน้อยแต่มีราคาที่ถูกลง –รายได้นอกภาคเกษตร หดตัวลง ⬇️ -1.3% YOY  จากภาคก่อสร้างและภาคบริการเป็นสำคัญ -🏛️มาตราการภาครัฐในการกระตุ้นการใช้จ่ายลดลง เช่น คนละครึ่ง,ช็อปดีมีคืน,เราเที่ยวด้วยกัน –ค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง +4.4% แม้ว่าเงินเฟ้อจะลดลง 0.98% ซึ่งทั้งหมดนั้นส่งผลให้ การบริโภคเอกชน ปี 2566 หดตัว -1.9% YOY        สินค้าหมวดยานยนต์ -15.6%     สิ้นค้าอุปโภคบริโภค -0.6%       สินค้าคงทน -6.3% -🏭การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัว สอดคล้องกับการลงทุนเอกชนตามสภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ยังชะลอตัว        การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว-4.7% YOY (2566) เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย น้ำตาลสาย แป้งมันสำปะหลัง        การลงทุนเอกชน ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัว -4.6% YOY เช่น การนำเข้าสินค้าทุน รถยนต์เชิงพาณิชย์ หมายเหตุ : ทั้งนี้ การศึกษาจัดทำประมาณการจากข้อมูลเบื้องต้น ณ ปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์กับธุรกิจและประชาชน และจะมีการทบทวนปรับปรุงประมาณการและเผยแพร่ปีละ 2 ครั้ง ผลมาจากปัจจัยหลายประการที่ซับซ้อนและมีผลกระทบต่อกัน ปัจจัยภายในภูมิภาค: ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นซ้ำซาก ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของภูมิภาค ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงและส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนในภูมิภาค รวมถึงการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและครอบคลุมทั่วถึงก็เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคเช่นกัน ปัจจัยภายนอก: สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์และปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าส่งออกของไทย

อะไรทำให้ เศรษฐกิจอีสาน ฟื้นตัวช้า คาดการณ์ การเติบโตต่ำกว่า 1%💼 อ่านเพิ่มเติม »

📢พามาเบิ่ง สนามบินแห่งแดนอีสาน ในช่วงครึ่งปีแรก✈️

การเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยที่มีศูนย์จัดงาน MICE ขนาดต่างๆ รองรับอยู่มากมาย นอกจากในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ก็ยังมีสถานที่จัดงาน MICE กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นในทุกการเดินทางเพื่อไปร่วมงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วจากการโดยสารเครื่องบินจึงเป็นสิ่งสำคัญ มาดูกันว่า ภาคอีสานมีท่าอากาศยานไว้บริการนักเดินทางไมช์ กี่แห่งและที่ไหนบ้าง? . ปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสนามบินอยู่ 9 แห่งด้วยกัน และมีสนามบินที่มีเที่ยวบินพาณิชย์ให้บริการอยู่ทั้งหมด 8 แห่ง ได้แก่ – ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี มีจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินมากที่สุด  – ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น – ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี – ท่าอากาศยานนครพนม – ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด – ท่าอากาศยานสกลนคร – ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ – ท่าอากาศยานเลย . โดยสนามบินที่ไม่มีเที่ยวบินพาณิชย์ให้บริการ คือ นครราชสีมา . . ทำไมท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ถึงมีจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินมากที่สุด? . เนื่องจากอุดรธานีตั้งอยู่ใกล้เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างจังหวัดหนองคาย และตั้งอยู่ใกล้เวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว โดยอยู่ห่างเพียง 50 กิโลเมตร ทำให้มีผู้โดยสารทั้งลาวและจีนมาใช้บริการ อีกทั้งยังมีเที่ยวบินในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก สามารถเลือกเวลาการเดินทางได้ แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายถูกกว่าที่จะใช้บริการสนามบินนานาชาติวัตไต ที่กรุงเวียงจันทน์  . และยังมีปัจจัยเสริมที่สำคัญคือ มีคนจีนส่วนหนึ่งที่เดินทางมากับรถไฟจีน-ลาว มาถึงลาวแล้วต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวหรือทำธุรกิจที่กรุงเทพฯหรือพื้นที่ภาคตะวันออก ก็จะมาใช้บริการ อีกส่วนที่เป็นชาวลาวที่เดินทางข้ามแม่น้ำโขงมาใช้บริการด้วย สังเกตได้จากป้ายทะเบียนรถยนต์ที่จอดค้างคืนที่สนามบินอุดรธานี  . โดยท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีเป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนของภูมิภาคและประเทศไทย  . . ปัจจุบัน ทย.มีแผนการพัฒนาสนามบินใหม่อีก 3 แห่งในภาคอีสาน ซึ่งได้มีการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นไว้แล้ว บางแห่งก้าวหน้าไปในขั้นการออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA ) ได้แก่  . สนามบินมุกดาหาร เบื้องต้นที่ตั้งที่เหมาะสมอยู่บริเวณ ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร พื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ อยู่ห่างจาก อ.เมืองมุกดาหาร ประมาณ 20 กม. มีสนามบินใกล้เคียง 2 แห่ง ได้แก่ สนามบินนครพนม และสนามบินสกลนคร มีระยะห่างจากแต่ละสนามบินประมาณ 120 กม. ปัจจุบันศึกษาเบื้องต้น ออกแบบ และศึกษา EIA แล้ว วงเงินลงทุน 5,000 ล้านบาท คาดกันว่าจะเป็นสนามบินแห่งใหม่ ลำดับที่ 30 ของ ทย. ต่อจากสนามบินเบตง  . สนามบินบึงกาฬ จุดเหมาะสมอยู่ในเขต ต.โป่งเปือย และ ต.วิศิษฐ์ อ.เมือง จ.บึงกาฬ พื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ ศึกษาเบื้องต้นแล้ว วงเงินลงทุน 3,100

📢พามาเบิ่ง สนามบินแห่งแดนอีสาน ในช่วงครึ่งปีแรก✈️ อ่านเพิ่มเติม »

“คลองฟูนันเตโช” เมกะโปรเจกต์เชื่อมพนมเปญ-อ่าวไทย จะสะเทือนเศรษฐกิจไทย-เวียดนาม ได้อย่างไร? แล้วอีสานและแม่น้ำโขงจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

โครงการคลองฟูนันเตโช หรือชื่อเต็มคือ โครงการระบบขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์โตนเลบาสัก (Tonle Bassac Navigation Road and Logistics System Project) มีระยะทาง 180 กิโลเมตร เชื่อมเส้นทางคมนาคมทางเรือ โดยมีจุดเริ่มต้นจากแม่น้ำโขง บริเวณแปรกตาแก้ว ห่างจากใจกลางกรุงพนมเปญไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 30 กิโลเมตร ผ่านไปยังท่าเรือพนมเปญในแม่น้ำบาสัก และผ่านจังหวัดกันดาล ตาแก้ว กำปอด ไปถึงแกบ เมืองชายฝั่งทางใต้ของกัมพูชาติดกับอ่าวไทย โดยยังเป็นโครงการที่เชื่อมตรงระหว่างพนมเปญกับท่าเรือในสีหนุวิลล์ ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวของประเทศ รวมถึงท่าเรือใหม่ในจังหวัดกำปอด คาดว่าโครงการขุดคลองสายนี้จะใช้เวลาดำเนินการ 4 ปีและน่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2028 กัมพูชาขุดคลอง ฟูนัน เตโช ระยะทาง 180 กม.ด้วยงบ 68,200 ล้านบาทจากประเทศจีน โดยมีความกว้าง 100 เมตร ลึก 5.4 เมตร เขื่อนกั้นน้ำ 3 แห่ง และสะพานข้ามคลองอีก 11 แห่ง เริ่มก่อสร้างปลายปีนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 4 ปี โดยจีนจะได้รับสัมปทานในคลองเป็นระยะเวลา 50 ปี ไม่ว่าจะเป็นรายได้ต่างๆ ค่าผ่านทางที่จะเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน และผลกำไรต่างๆ ภาพจาก: Credit: AP Photo/Heng Sinith โครงการคลองฟูนันเตโชมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นี้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงทางการค้าและอำนาจทางยุทธศาสตร์ของกัมพูชาผ่านการสนับสนุนจากจีนภายใต้กรอบของ Belt and Road Initiative (BRI) คลองฟูนันเตโชเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์กัมพูชาในการแสวงหาความอิสระทางยุทธศาสตร์ โดยลดการพึ่งพาเส้นทางการค้ากับเวียดนามและสร้างทางเลือกใหม่ที่ไม่ถูกครอบงำโดยอิทธิพลภายนอกโดยเฉพาะจากเวียดนาม โครงการนี้สะท้อนถึงความพยายามของรัฐบาลกัมพูชาในการเสริมสร้างความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในภูมิภาคที่มีความซับซ้อนทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างลุ่มแม่น้ำโขง Smoke bombs are ignited during the groundbreaking ceremony of the Funan Techo Canal in Kandal province. Photo: AFP โครงการคลองฟูนันเตโชของกัมพูชามีโครงสร้างทางการเงินที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งมีการประมาณการว่าจะสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลกัมพูชา 88 ล้านดอลลาร์ในปีแรก และเพิ่มขึ้นถึง 570 ล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2050 โดยถูกออกแบบให้เป็นโครงการแบบสร้าง-ดำเนินการ-โอน (BOT) ภายใต้การสนับสนุนจากจีน แต่ยังไม่มีการระบุคู่สัญญาหลักอย่างชัดเจน แม้จะมีการประมาณรายได้ในระยะยาว แต่ความเสี่ยงทางการเงินสูงจากดอกเบี้ยที่สูงกว่าแหล่งทุนอื่น ๆ เช่น ธนาคารโลก อาจทำให้เกิดภาระหนี้สินในอนาคต การที่จีนสนับสนุนโครงการนี้ทำให้เกิดความกังวลต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ซึ่งอาจเห็นว่าการขยายอิทธิพลของจีนผ่านโครงสร้างพื้นฐานและการทหารเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงระดับภูมิภาค โครงการนี้อาจถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การขยายอำนาจของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในบริเวณอ่าวไทยที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากอยู่ใกล้กับเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศและแหล่งทรัพยากรน้ำมันในทะเลจีนใต้ ความตึงเครียดที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการนี้สามารถสร้างผลกระทบทางการเมืองและความมั่นคงที่แผ่ขยายไปยังประเทศไทย ทำให้ต้องมีการวางแผนและปรับนโยบายการจัดการทรัพยากรและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใหม่ ภาพจาก : BBC Thai จีนได้ขยายอิทธิพลในกัมพูชามาอย่างยาวนาน โดยเริ่มจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานผ่านโครงการ

“คลองฟูนันเตโช” เมกะโปรเจกต์เชื่อมพนมเปญ-อ่าวไทย จะสะเทือนเศรษฐกิจไทย-เวียดนาม ได้อย่างไร? แล้วอีสานและแม่น้ำโขงจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? อ่านเพิ่มเติม »

ความท้าทายของการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มประเทศ GMS: ไทยจะสามารถก้าวทันหรือจะถูกทิ้งห่าง?

“เวียดนาม มีจำนวนสิทธิบัตรสะสม มากกว่า ไทย แล้ว” งานวิจัยและพัฒนาถือเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างนวัตกรรมและเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขัน สิ่งที่จีนสามารถทำได้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและนวัตกรรมอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากการนำแนวคิดการพัฒนาแบบไล่กวด (catch-up development) มาใช้ โดยจีนอาศัยการใช้ตลาดในประเทศขนาดใหญ่เป็นเครื่องมือในการต่อรองกับบริษัทยักษ์ใหญ่จากตะวันตกเพื่อให้เกิดการถ่ายโอนเทคโนโลยีในหลายสาขาการผลิต นอกจากนี้ จีนยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาและเทคโนโลยีเหล่านี้ไปต่อยอดอย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถพัฒนาให้ทันหรือแม้กระทั่งล้ำหน้าตะวันตกในหลายด้าน อย่างไรก็ตาม แนวทางการพัฒนานี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ เพราะประเทศในเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เคยใช้วิธีการคล้ายกันมาแล้ว เพียงแต่การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างออกไปตรงที่จีนได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มข้นจากภาครัฐ ทั้งในด้านนโยบายและทรัพยากร ซึ่งทำให้จีนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้นำด้านนวัตกรรมของโลกได้อย่างรวดเร็ว ในภูมิภาค GMS (Greater Mekong Subregion) ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากที่สุดถ้าไม่นับจีน โดยส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) โดยเฉพาะจากญี่ปุ่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ความไม่เสถียรทางการเมืองและการขาดความต่อเนื่องของนโยบายได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ทำให้ประเทศยังคงติดอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง (middle-income trap) เนื่องจากการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ยังไม่เพียงพอ ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น เวียดนาม เวียดนามกลายเป็นจุดหมายสำคัญของการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งคล้ายกับสถานการณ์ของไทยในอดีต ปัจจุบัน เวียดนามมีแรงงานที่มีจำนวนและคุณภาพสูงกว่าไทย ซึ่งส่งผลให้ประเทศมีอำนาจในการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และเป็นแรงจูงใจให้บริษัทต่างชาติเลือกที่จะลงทุนในเวียดนามเพื่อผลิตสินค้าและบริการในประเทศมากขึ้น นี่อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เวียดนามมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นขึ้นในภูมิภาค GMS. เวียดนามมีข้อได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญเพิ่มเติมนอกเหนือจากจำนวนและคุณภาพของแรงงานที่สูงกว่าไทย โดยเฉพาะในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ หนึ่งในจุดเด่นคือการมีท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการค้าระหว่างประเทศและการเชื่อมต่อทางโลจิสติกส์ โดยท่าเรือน้ำลึกเหล่านี้ช่วยลดต้นทุนในการขนส่งและเวลาในการขนส่งสินค้า ทำให้เวียดนามเป็นจุดหมายที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการใช้ประโยชน์จากการส่งออกที่มีต้นทุนต่ำและรวดเร็ว นอกจากนี้ เวียดนามยังได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษา โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ซึ่งทำให้มีแรงงานที่มีทักษะสูงที่สามารถสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีแรงงานที่มีการศึกษาที่มีคุณภาพสูงทำให้เวียดนามสามารถดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจในระยะยาว ด้วยการพัฒนาทั้งโครงสร้างพื้นฐานและการศึกษา เวียดนามไม่เพียงแค่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค GMS แต่ยังมีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้อำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นในเวทีโลก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่มองหาตลาดที่มีศักยภาพสูงในระยะยาว. ภาคอีสานของไทยยังคงเผชิญกับปัญหาและความท้าทายที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ หนึ่งในปัญหาหลักคือการกระจายตัวของสถานศึกษาที่มีคุณภาพยังไม่ทั่วถึง ส่งผลให้การพัฒนาทักษะและคุณภาพของแรงงานในภาคอีสานยังคงต่ำกว่ามาตรฐานที่ต้องการ การขาดแคลนสถานศึกษาที่มีคุณภาพทำให้ภูมิภาคนี้ไม่สามารถผลิตบุคลากรที่มีทักษะสูงที่พร้อมจะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้และนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การทำธุรกิจในภาคอีสานยังคงเผชิญกับอุปสรรคในการทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ เนื่องจากการที่ระบบราชการและโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจยังมีความเข้มข้นอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ และภาคตะวันออก ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการในอีสานต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเข้าถึงบริการและการสนับสนุนจากภาครัฐ นี่เป็นปัจจัยที่ทำให้ภาคอีสานไม่สามารถพัฒนาศักยภาพในการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพและปริมาณได้เต็มที่ ในเชิงเศรษฐศาสตร์ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคอีสานสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การกระจายตัวของสถานศึกษาที่มีคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพของแรงงานในภูมิภาคนี้จะช่วยเพิ่มผลิตภาพทางเศรษฐกิจ (economic productivity) ของภูมิภาค และลดความเหลื่อมล้ำในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค ในระยะยาว ภาคอีสานมีศักยภาพที่จะกลายเป็นแหล่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญของไทย เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดและมีพื้นที่กว้างขวาง หากสามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการสนับสนุนจากภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคอีสานจะสามารถดึงดูดการลงทุนและสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคต. ที่: WIPO, อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น), กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ความท้าทายของการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มประเทศ GMS: ไทยจะสามารถก้าวทันหรือจะถูกทิ้งห่าง? อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top