Nanthawan Laithong

พามาเบิ่ง ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “สายมู” ภาคอีสานเป็นจั่งใด๋แหน่

สายมู กำลังเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาคอีสานและภาคกลาง ซึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือการขอให้เป็นสิริมงคล ความเชื่อ ทั้งด้านสายมูรวมถึงความนับถือในด้านสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างรายได้เฉลี่ยรวมประเทศกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีเงินบริจาคเฉลี่ยทั่วประเทศอีกกว่า 35,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งหากอีสานสามารถใช้จุดแข็งด้านสายมูของพื้นที่ในการดึงดูดผู้เยี่ยมเยือนสายมูมาในพื้นที่ได้ก็จะสามารถสร้างรายได้ภาคการท่องเที่ยวของภาคอีสานให้ปรับตัวดีขึ้นได้ อีกทั้ง เมื่อมีผู้เยี่ยมเยือนสายมูมาในพื้นที่ก็สามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจต่างๆ โดยธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากความเชื่อ เช่น โรงแรม และกลุ่มที่พัก, ร้านค้าปลีกของฝาก ของที่ระลึก, ร้านอาหาร, การผลิตเสื้อผ้า เครื่องประดับ และการขนส่งบุคคล เป็นต้น อ้างอิงจาก: – สำนักงานสถิติแห่งชาติ – กรมพัมนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สายมู #ธุรกิจสายมู #ท่องเที่ยวสายมู #สายมูอีสาน

ชวนเบิ่ง บริษัทที่รายได้รวมเกิน 4,000 ล้านบาท แห่งเมืองย่าโม มีบริษัทใด๋แหน่??

ในปี 2564 จังหวัดนครราชสีมา มี GPP อยู่ที่ 315,583 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนตามโครงสร้าง GPP ที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ ภาคการผลิต 29.1% ภาคการเกษตร 14.3% และภาคการค้าส่งค้าปลีก 13.9% จำนวนประชากรของนครราชสีมามีจำนวนมากที่สุด มีถึง 2,634,154 คน รองลงมาเป็น อุบลราชธานี และขอนแก่น ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน นครราชสีมา เป็นอันดับที่ 3 ของภาคอีสาน อยู่ที่ 24,779 บาทต่อครัวเรือน จากข้อมูลข้างต้น ทั้งรายได้ที่บอกถึงกำลังซื้อของคนในจังหวัด และจำนวนประชากรที่จะบอกถึงจำนวนอุปสงค์ของคนในจังหวัด จะเห็นได้ว่า นครราชสีมา ถือเป็นอันดับต้น ๆ ของภาคอีสานจังหวัดหนึ่งที่มีความพร้อมรองรับการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในจังหวัดที่มีกำลังซื้อโดยเฉลี่ยค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่นักลงทุนภาคเอกชนนิยมลงทุนภายในนครราชสีมามากกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในภาคอีสาน โดยปัจจุบันได้มีการลงทุนจากภาคเอกชนซึ่งได้ทุ่มเม็ดเงินจำนวนมากมายังจังหวัดหัวเมืองภาคอีสานอย่างนครราชสีมา อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า – www.terrabkk.com #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #นครราชสีมา#โคราช #บริษัทพันล้าน #ธุรกิจพันล้าน

พาย้อนเบิ่ง สถิติจำนวนนิติบุคคลใหม่ภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋แหน่?

ภาคธุรกิจในภาคอีสานมีการปรับตัวที่ดีขึ้นจากเดิม เป็นผลมาจากจำนวนนิติบุคคลสะสมและมูลค่าทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของธุรกิจสุขภาพ และโรมแรม ร้านอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับกระแสของคนรักสุขภาพและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สถิติจำนวนนิติบุคคลใหม่ #จำนวนนิติบุคคลใหม่ #นิติบุคคล

เป็นตาแซ่บหลาย “มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” สุดปังจากบ้านแฮด สดจากสวน พร้อมถึงมือผู้บริโภค

นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการ เกษตร (สศก.) เปิดเผยหลังจากการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก นับเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการผลิตในพื้นที่ และประสบความสำเร็จในการรวมกลุ่มผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออกตลาดต่างประเทศ อีกทั้งได้รับมาตรฐานรับรอง GAP และยังได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับจังหวัดปี 2558 รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับเขต ปี 2558 รางวัลชนะเลิศการประกวดแปลงใหญ่ระดับเขตปี 2561 รางวัลชมเชยการประกวดแปลงใหญ่ระดับประเทศ ปี 2561 จากการติดตาม พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก เริ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูก 1,535 ไร่ มีสมาชิก 58 ราย โดยมี นายสุธีย์ ทินราช เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจ ด้านต้นทุนการผลิตผลผลิตมะม่วงทั้งในฤดูและนอกฤดูของกลุ่มเฉลี่ย 5,426 บาท/ไร่/ปี ซึ่งมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองให้ผลผลิตทั้งในฤดูและนอกฤดู ทั้งนี้ เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน เก็บเกี่ยวช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ของปีถัดไป ห้ผลผลิตทั้งในฤดูและนอกฤดูรวม 1,000 ตัน/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 916.67 กิโลกรัม/ไร่/ปี ด้านราคาขาย แบ่งเป็น มะม่วงในฤดู (เดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม) ราคา 30-50 บาท/กิโลกรัม และมะม่วงนอกฤดู (สิงหาคม–มกราคม) ราคา 70-100 บาท/กิโลกรัม ได้ผลตอบแทนทั้งกลุ่มเฉลี่ย 13,200 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 7,774 บาท/ไร่/ปี สำหรับด้านการตลาด ทางกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้ทำ MOU กับบริษัทผู้ส่งออก ได้แก่ บริษัท P&F เทคโนจำกัด (P&F Techno limited), บริษัท สยาม เอ็กปอร์ตมาร์ท จำกัด (Siam export mart limited), บริษัท สวีฟ จำกัด (Swift limited), บริษัท เจ ฟรุท จำกัด (J Fruit limited), บริษัท สวามี ฟรุท จำกัด (Swami Fruit limited), บริษัท เอเชี่ยนฟรุท จำกัก …

เป็นตาแซ่บหลาย “มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” สุดปังจากบ้านแฮด สดจากสวน พร้อมถึงมือผู้บริโภค อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง ธุรกิจที่มีรายได้รวมเกิน 2,500 ล้านบาท แห่งอุบลราชธานี มีอิหยังแหน่??

อุบลราชธานีมีธุรกิจที่มีรายได้ 2,500 ล้านบาท คิดเป็น 18.9% จากธุรกิจที่มีรายได้ 2,500 ล้านบาททั้งหมดในภาคอีสาน และยังมีรายได้รวมทั้ง 7 บริษัท อยู่ที่ 48,994 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า จังหวัดอุบลราชธานี เป็น 1 ใน 4 หัวเมืองหลักของภาคอีสาน ถือเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ มีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีงบประมาณในการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง น้ำ ไฟฟ้า และพื้นที่สวนสาธารณะ ตลอดจนห้างสรรพสินค้า สนามบิน สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ทำให้ดึงดูดผู้คนจากจังหวัดอื่นๆให้ขยายตัวมาสู่จังหวัดอุบลได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะมาในรูปแบบของการขยายกิจการ หรือในรูปแบบของการลงหลักปักฐานเพื่ออยู่อาศัย อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อุบลราชธานี#ธุรกิจพันล้าน

พาส่องเบิ่ง ธุรกิจเกี่ยวกับการขายรถที่มีรายได้รวมเกิน 2,500 ล้านบาท อยู่จังหวัดใด๋แหน่??

มีบริษัทใด๋แหน่?? อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจเกี่ยวกับการขายรถ #ขายรถ #ธุรกิจพันล้าน

ชวนเบิ่ง ธุรกิจจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีรายได้รวมเกิน 2,500 ล้านบาท

มีบริษัทใด๋แหน่?? อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค #ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค #ธุรกิจพันล้าน

พามาฮู้จัก “บุญศิริ” ปลาทูแช่แข็งพันล้านแห่งอีสาน

บริษัทฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าปลาทะเลแช่แข็งคุณภาพสูงทั้งในประเทศ และปลาทะเลแช่แข็งจากต่างประเทศ ไม่ว่าเป็น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี จีน ปากีสถาน อินเดีย โอมาน เยเมน แอฟริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลก บริษัทฯ ยังมีการจำหน่ายสินค้าภายในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งสินค้าของบริษัทฯ ได้มีการตรวจสอบคุณภาพและการประกันคุณภาพ สินค้าจึงมีความสดและคุณภาพสูง เนื่องจากการจัดเก็บในห้องเย็นระบบมาตรฐานสากล ณ อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ด้วยประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมากว่า 30 ปี ในปัจจุบัน บริษัทฯ มุ่งเน้นการขยายธุรกิจ เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยเฉพาะในเขตภาคอีสาน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้มากที่สุด บริษัทฯ มีรถขนส่งสินค้าพร้อมบริการส่งสินค้าถึงที่หมาย เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ทางบริษัทฯ ยังมีศูนย์กระจายสินค้าในเขตภูมิภาคอีสาน ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดสุรินทร์ อีกทั้งยังวางแผนในการขยายสาขาโดยจะเปิดศูนย์กระจายสินค้าเพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าปลายทางได้อย่างรวดเร็ว อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บุญศิริ #ปลาทูแช่แข็ง #ศรีสะเกษ

พาส่องเบิ่ง บริษัทที่มีรายได้รวมเกินหมื่นล้านบาท ในภาคอีสานมีบริษัทใด๋แหน่??

บริษัทที่มีรายได้รวมเกินหมื่นล้าน ส่วนมากมักอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ไม่ใช่สำหรับ “โกลบอลเฮ้าส์” “ดูโฮม” “นอร์ทอีส รับเบอร์” และ “ห้างทองทองสวย” โดยทั้ง 4 บริษัทล้วนแต่อยู่ในภาคอีสานและผู้ก่อตั้งเป็นคนอีสาน ทั้ง 4 บริษัททำให้รู้ว่า ภาคอีสานก็สามารถการทำธุรกิจในประสบความสำเร็จหรือสร้างรายได้หลักหมื่นล้านได้ ถ้ามีการจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ และมีการปรับกลยุทธ์ในเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ อีกทั้งต้องมีการสำรวจพฤติกรรมและความต้องการาินค้าของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ก็จะสามารถช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและยิ่งใหญ่ได้ โดยที่ไม่ต้องอยู่ในกรุงเทพฯ อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทที่มีรายได้รวมเกินหมื่นล้านบาท #บริษัทหมื่นล้าน #บริษัทหมื่นล้านในอีสาน

เริ่ดคักหลายพี่น้อง กรมขนส่งฯ เตรียมเซ็นสัญญา สร้าง “ศูนย์การขนส่งชายแดน” จ.นครพนม รองรับการขนส่งสินค้า เชื่อมต่อ 4 ประเทศ

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีพิจารณา ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน และร่างสัญญาร่วมลงทุน (PPP) โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อสร้างโครงข่ายการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพัฒนาสถานีขนส่งสินค้ารองรับกิจกรรมการขนส่ง ทั้งการรวบรวมและกระจายสินค้า รวมถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) โดยมีบริษัท สินธนโชติ จำกัด เป็นผู้ที่ ผ่านการประเมินสูงสุด ทั้งนี้ เอกชนรายดังกล่าวจะเป็นผู้รับผิดชอบลงทุนค่าก่อสร้างในองค์ประกอบอาคารที่ก่อให้เกิดรายได้ และเครื่องมืออุปกรณ์ และรับผิดชอบในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ (Operation and Maintenance : O&M) รวมทั้งเป็นผู้รับความเสี่ยงทางด้านรายได้และจ่ายค่าสัมปทานให้แก่ภาครัฐ ตามรูปแบบการร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost ในการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาร่วมลงทุน 30 ปี นับจากปีเปิดให้บริการ มีมูลค่าโครงการทั้งในส่วนที่ภาครัฐและเอกชนลงทุนรวมกว่า 1,361 ล้านบาท นายจิรุตม์ กล่าวว่า โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม จัดเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า (Truck Terminal) และโครงการนำร่องโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ช่วยรองรับการขนส่งสินค้าทางถนน ระหว่างประเทศบนเส้นทางสาย R12 เชื่อมต่อการขนส่งระหว่างไทย – สปป.ลาว – เวียดนาม – จีนตอนใต้ ผ่านด่านพรมแดน นครพนม และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) จัดเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และยังรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้ากับระบบราง ผ่านแนวการพัฒนารถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในอนาคตอีกด้วย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดนครพนมและพื้นที่ใกล้เคียง และการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางให้เป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรองรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดยอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของภาคเอกชน ตลอดจนการดำเนินโครงการบนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้โครงการศูนย์การรขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ประสบความสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ นายจิรุตม์ กล่าวต่อไปว่า สําหรับการนําเนินการตามแผนพัฒนาโครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ภายหลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบกได้เร่งรัดจัดการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับภาคเอกชนให้ได้ภายในเดือนมีนาคม 2566 เพื่อภาคเอกชนจะได้เตรียมการดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุน (PPP) และเพื่อให้สามารถเปิดให้บริการโครงการได้ตามแผนในปี 2568 ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างในส่วนที่ภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานส่วนกลางและอาคารที่ภาครัฐใช้ประโยชน์วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง 624 ล้านบาท โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในช่วงปลายปี พ.ศ. 2567 พร้อมกับการก่อสร้างในส่วนที่ภาคเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบ อ้างอิงจาก: https://www.thebangkokinsight.com/news/business/1053271/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ศูนย์การขนส่งชายแดน #นครพนม #โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน

Scroll to Top