Siree Jamsuwan

โครงการ U2T ภาคอีสาน ผลลัพธ์เป็นจั้งใด๋ ? 

โครงการ U2T ภาคอีสาน ผลลัพธ์เป็นจั้งใด๋ ?  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมมือกับ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Science Park ,คลินิกเทคโนโลยี ผู้ผลิตสินค้าระดับโอทอป (OTOP) และ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนรูปแบบต่างๆ จนได้ผลผลิตภูมิปัญญาชุมชน ต่อยอดเป็นสินค้าที่จัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภคได้ทั้งในและต่างประเทศ ช่วยกระจายความรู้ ลดปัญหาการว่างงาน โดยมีผลลัพธ์ของภาคอีสานดังภาพและ อีกทั้งยังมีผลผลิตของโครงการโดยแบ่งได้ดังนี้ . ผลผลิตของโครงการ U2T เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ที่ส่งผลต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของตำบลเป้าหมาย   เกิดการจ้างงานที่ตอบสนองต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ โดยในระยะแรกดำเนินการใน 3,000 ตำบลมีการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา ตามความเหมาะสมของแต่ละตำบล รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 60,000 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 2.1 ส่วนการปฏิบัติงานตามภารกิจในภาพรวม คือ การวิเคราะห์ข้อมูล วางแผนและตัดสินใจ เพื่อจัดทำนโยบาย แนวทาง และงบประมาณสนับสนุน (เป็นการจัดการข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บข้อมูลของโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการของกระทรวงมหาดไทย) การเฝ้าระวัง ประสานงานและติดตามข้อมูลสถานการณ์การระบาดของ COVID และโรคระบาดใหม่ การเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง การส่งต่อการรักษา การประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูลข่าวสาร การปรับสภาพแวดล้อม ระบบรายงานสถานการณ์การระบาดของโรค (การสอบสวนโลก การคัดกรอง จัดระดับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัย กลุ่มสัมผัส การวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มการระบาดในพื้นที่) โดยร่วมกับ ศบค. และการจัดทำข้อมูลราชการในพื้นที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Digitalizing Government Data) ร่วมกับ กพร. 2.2 ส่วนการปฏิบัติงานตามกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลของมหาวิทยาลัย รวมถึงเกิดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่างๆ รายตำบลตามโจทย์ปัญหาต่างๆของแต่ละตำบล ได้แก่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับ การท่องเที่ยว) การนาองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน)   เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน.สอวช. สนับสนุนแนวทางส่งเสริมและผลักดันการพลิกโฉมการอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาปรับเปลี่ยนบทบาทให้ตอบโจทย์ทั้งการพัฒนากำลังคน การวิจัย นวัตกรรม ที่สอดคล้องกับบริบทประเทศและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และวิถีชีวิตของประชาชน โดยมุ่งหวังว่าชุมชนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ของประเทศจะมีขีดความสามารถ เข้มแข็ง ต่อยอดธุรกิจ และสามารถบริหารจัดการตนเองได้ ด้วยการนำศักยภาพด้านการอุดมศึกษาเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง อ้างอิงจาก:  สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ …

โครงการ U2T ภาคอีสาน ผลลัพธ์เป็นจั้งใด๋ ?  อ่านเพิ่มเติม »

มาฮู้จัก โครงการ U2T  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล  สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน

มาฮู้จัก โครงการ U2T  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล  สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน   โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล โครงการดีๆ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่จะช่วยสร้างรากแก้วให้ประเทศ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ มหาวิทยาลัยได้สามารถใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาประเทศ  ในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะนำโจทย์หรือปัญหาของประเทศ มาสู่การพัฒนาศักยภาพกำลังคน พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศ   โดยในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลักๆ คือ มหาวิทยาลัยจะทำหน้าที่หน่วยงานบูรณาการโครงการ (System Integrator) รายตำบล โดยใน 1 ตำบล จะมี 1 มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ดูแล มหาวิทยาลัยดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน เช่น การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ตามรูปแบบกิจกรรมที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยจ้างงานในการดำเนินโครงการของหน่วยงานต่างๆ ในตำบลที่ทำหน้าที่ดูแล โดยจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่และนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 20 คนในแต่ละตำบล มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ประสานงานและทำงานร่วมกับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการโครงการภายในพื้นที่ มหาวิทยาลัยทำหน้าที่บูรณาการและสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่ไปดำเนินการโครงการภายในตำบล ในด้านองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนรายตำบล (Community Big Data) เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน    อ้างอิงจาก:  สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #U2T #โครงการU2T #สอวช

ภาวะเศรษฐกิจอีสาน 2566 เป็นจั้งใด๋ ? มาหาคำตอบกับ E-Saan Poll

ภาวะเศรษฐกิจอีสาน 2566 เป็นจั้งใด๋ ? มาหาคำตอบกับ E-Saan Poll   อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (E-Saan Center for Business and Economic Research – ECBER) โดย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง “ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสาน ไตรมาส 1/2566 และคาดการณ์ไตรมาส 2/2566” รศ. ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือน เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนด้านต่างๆ และคำนวณดัชนีภาวะเศรษฐกิจอีสานในไตรมาส 1/2566 และคาดการณ์ไตรมาส 2/2566 พร้อมประเมินผลงานรัฐบาลด้านเศรษฐกิจและภาพรวม ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 มีนาคม -2 เมษายน 2566 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ18 ปีขึ้นไป 1,106 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด   เมื่อสอบถามเกี่ยวกับ รายได้และทรัพย์สินครัวเรือน โอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ การหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและชำระหนี้และการซื้อของมูลค่าสูง และทำการประมวลผลได้ดัชนีต่างๆ ซึ่งค่า ดัชนีมีค่าระหว่าง 0 – 100 หากดัชนีอยู่ที่ ระหว่าง 0 – 19.9   คือ แย่มาก ระหว่าง 20 – 39.9 คือ แย่  ระหว่าง 40 – 59.9 คือ ปานกลาง/พอใช้  ระหว่าง 60 – 79.9 คือ ดี  และ ระหว่าง 80 – 100 คือ ดีมาก   1) ดัชนีรายได้และทรัพย์สินครัวเรือนไตรมาส 1/2566 เท่ากับ 33.8 = รายได้และทรัพย์สินครัวเรือนอีสาน อยู่ในระดับแย่และใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนซึ่งมีค่าดัชนี 33.6  2) ดัชนีโอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ไตรมาส 1/2566 เท่ากับ 31.8 = โอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ในอีสาน อยู่ในระดับแย่และแย่กว่าไตรมาสก่อนซึ่งมี ค่าดัชนี 32.3  3) ดัชนีการหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและช าระหนี้ไตรมาส 1/2566 เท่ากับ 35.1 = การหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและชำระหนี้ของครัวเรือนอีสาน อยู่ในระดับแย่แต่ดีขึ้นกว่าไตร มาสก่อนซึ่งมีค่าดัชนี 32.9  4) ดัชนีการซื้อของมูลค่าสูงไตรมาส …

ภาวะเศรษฐกิจอีสาน 2566 เป็นจั้งใด๋ ? มาหาคำตอบกับ E-Saan Poll อ่านเพิ่มเติม »

ม่วนหลาย ! ททท. ชวนเซิ้ง Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE  กระตุ้นการท่องเที่ยว 

ม่วนหลาย ! ททท. ชวนเซิ้ง Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE  กระตุ้นการท่องเที่ยว    นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน ” Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE ” เชิญชวนคนไทยออกเดินทางไปสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ ร่วมสนุกกับ Concert หมอลำเสียงอีสาน นำทัพโดย แม่นกน้อยเสียงอีสาน ณ วัดป่าอาเจียง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์   จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ณ ปัจจุบันเริ่มคลี่คลายลง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศให้มากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นที่ต้องยกระดับภาพลักษณ์มาตรฐานสินค้าและการบริการทางการท่องเที่ยว เพิ่มแรงส่งให้คุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวเป็นที่ประจักษ์ยิ่งขึ้นต่อสายตานักท่องเที่ยว   การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ท็อปไลน์ มิวสิค จำกัด จัดงาน ” Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE ” เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากสร้างความเชื่อมั่นความเข้มแข็งยั่งยืนกับการท่องเที่ยวในภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยการสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการเดินทางการเดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัด ผลักดันให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานประกอบการในภาคอีสาน ใน 10 พื้นที่จัดงานในภาคอีสาน เพื่อให้นักท่องเที่ยวออกเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    หลังจากสถานการณ์ COVID 19 ให้เกิดการใช้จ่ายกระจายรายได้ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยร่วมจัดงานใน 10 พื้นที่จัดงานในภาคอีสานดังนี้ ครั้งที่ 1 จัดงานในวันที่ 11 มีนาคม 2566 ณ วัดป่าอาเจียง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ครั้งที่ 2 จัดงานในวันที่ 12 มีนาคม 2566 ณ บ้านละทาย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ครั้งที่ 3 จัดงานในวันที่ 16 มีนาคม 2566 ณ โรงเรียนบ้านหนองเขื่อนช้าง ต.ท่าสองคอน อ.เมือง จ.มหาสารคาม ครั้งที่ 4 จัดงานในวันที่ 9 เมษายน 2566 ณ บึงโขงหลง ต.บึงโขงหลง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ ครั้งที่ 5 จัดงานในวันที่ 10 …

ม่วนหลาย ! ททท. ชวนเซิ้ง Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE  กระตุ้นการท่องเที่ยว  อ่านเพิ่มเติม »

สายมู มาทางนี้ พามาเบิ่งการท่องเที่ยวสายมูในอีสาน

สายมู มาทางนี้ พามาเบิ่งการท่องเที่ยวสายมูในอีสาน   ความเชื่อเป็นอีกปัจจัยที่จะสร้างรายได้สำหรับภาคการท่องเที่ยวของอีสานให้เพิ่มขึ้น โดยอีสานสะท้อนความพร้อมด้านการท่องเที่ยวสายมู ทั้งในรูปของสถานที่ท่องเที่ยว และเส้นทางในการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวสายมูส่วนใหญ่ในอีสานอยู่ติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของวัดกับโบราณสถานเป็นหลัก แต่หนึ่งในรูปแบบสถานที่ท่องเที่ยวที่กำลังเป็นที่นิยมในอีสาน คือ พญานาค ที่มีการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างชัดเจน อีกทั้งภาพรวมค่าใช้จ่ายด้านความเชื่อ มีมูลค่ารวมกว่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งหากอีสานสามารถจูงใจให้กิจกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่ จะสร้างกิจกรรมเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจน  ความเชื่อ ทั้งด้านสายมูรวมถึงความนับถือในด้านสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างรายได้เฉลี่ยรวมประเทศกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีเงินบริจาคเฉลี่ยรวมประเทศอีกกว่า 35,000 ล้านบาทต่อปี  ซึ่งหากอีสานสามารถใช้จุดแข็งด้านสายมูของพื้นที่ในการดึงดูดผู้เยี่ยมเยือนสายมูมาในพื้นที่ได้ จะสร้างรายได้ภาคการท่องเที่ยวของอีสานให้ปรับดีขึ้นอีกด้วย   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติม: https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/03/ISAN-INSIGHT-Q1-2566.pdf    อ้างอิงจาก:  กรมอุทยานแห่งชาติ  กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานสถิติแห่งชาติและกรมการปกครอง   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #จำนวนวัด #สายมู

สถานการณ์ แรงงานย้ายถิ่นในอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?

สถานการณ์ แรงงานย้ายถิ่นในอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?   การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภาพรวม ส่งผลให้ความต้องการแรงงานเพิ่มสูงขึ้น แต่อีสานก็กำลังเผชิญปัญหาแรงงานไหลออก สะท้อนจากกำลังแรงงานที่ลดลง แรงงานอีสานที่ย้ายถิ่นสู่ภูมิภาคอื่น ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีทักษะ และอยู่ในกลุ่มภาคการค้า รวมถึงภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ตามการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจ ความต้องการแรงงานใหม่ของอีสานคิดเป็นประมาณ 11% ของทั้งประเทศเท่านั้น ทำให้แรงงานอีสานเริ่มไหลสู่ภูมิภาคอื่นที่มีความต้องการแรงงานมากกว่า ด้านภาคการค้าและภาคการท่องเที่ยว เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น จากกำลังซื้อของนักท่องเที่ยวที่หยุดชะงักมานาน ส่งผลให้เกิดความความต้องการแรงงานที่มีทักษะที่มากขึ้น การที่แรงงานไหลจากอีสาน อาจทำให้อีสานเกิดปัญหาขาดแรงงานที่มีทักษะในอนาคต และผู้ประกอบการต้องแย่งชิงในการจ้างงานมากขึ้น   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติม: https://isaninsight.kku.ac.th/…/ISAN-INSIGHT-Q1-2566.pdf    อ้างอิงจาก:  สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมการจัดหางาน   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #หางาน #แรงงานย้ายถิ่น #แรงงาน  

ภาคใด๋ ? จังหวัดใด๋ ? มีจำนวนวัด หลายที่สุดในไทย

ภาคใด๋ ? จังหวัดใด๋ ? มีจำนวนวัด หลายที่สุดในไทย   จุดแข็งเชิงพื้นที่ของอีสานที่สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ คือ ด้านความเชื่อ ซึ่งสะท้อนจากจำนวนงานเทศกาลเกี่ยวกับบุญและสายมู ทั้งในรูปของสถานที่ท่องเที่ยว และเส้นทางในการท่องเที่ยว รวมถึงจำนวนวัดที่มากที่สุดในประเทศ  ซึ่งเพิ่มโอกาสของธุรกิจอีกด้วย ซึ่งธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากความเชื่อ เช่น โรงแรม และกลุ่มที่พัก, ร้านค้าปลีกของฝาก ของที่ระลึก, ร้านอาหาร, การผลิตเสื้อผ้า เครื่องประดับ, การขนส่งบุคคล ความเชื่อ ทั้งด้านสายมูรวมถึงความนับถือในด้านสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างรายได้เฉลี่ยรวมประเทศกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีเงินบริจาคเฉลี่ยรวมประเทศอีกกว่า 35,000 ล้านบาทต่อปี  ซึ่งหากอีสานสามารถใช้จุดแข็งด้านสายมูของพื้นที่ในการดึงดูดผู้เยี่ยมเยือนสายมูมาในพื้นที่ได้ จะสร้างรายได้ภาคการท่องเที่ยวของอีสานให้ปรับดีขึ้นอีกด้วย   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติม: https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/03/ISAN-INSIGHT-Q1-2566.pdf    อ้างอิงจาก:  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #จำนวนวัด #นครราชสีมา #อุบลราชธานี #ขอนแก่น #ร้อยเอ็ด #อุดรธานี #สายมู

พามาเบิ่ง ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติในภาคอีสาน  เดือน มกราคม ปี 2566

พามาเบิ่ง ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติในภาคอีสาน  เดือน มกราคม ปี 2566   ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ คือ ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่ก่อนการปิดด่านตรวจคนเข้าเมือง และพำนักในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมผู้ที่วางแผนการท่องเที่ยวระยะสั้น แต่ไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาได้ตามแผนการเดินทาง (ไม่รวมชาวต่างชาติที่ประกอบอาชีพในประเทศไทย) ซึ่งเป็นการนับตามกิจกรรมการท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ ซึ่งอาจมีการนับซ้ำในบุคคลเดียวกัน   ปัจจัยบวก – ความต้องการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติยังอยู่ในระดับสูง – ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติที่เข้ามาในอีสาน ผ่านรถไฟลาว-จีน   ปัจจัยเสี่ยง – ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ยังอยู่ในระดับสูงจากต้นทุนเชื้อเพลิง – ขาดสถานที่ท่องเที่ยวที่จูงใจผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/03/ISAN-INSIGHT-Q1-2566.pdf     อ้างอิงจาก: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #นักท่องเที่ยว #รายได้นักท่องเที่ยว #เที่ยวอีสาน #นักท่องเที่ยวต่างชาติ

ภาคอีสานตอนล่าง Mega Project มีอิหยังแหน่ ?

ภาคอีสานตอนล่าง Mega Project มีอิหยังแหน่ ? Mega Project ที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยในภาคอีสานตอนล่าง มีทั้งหมด 4 โครงการ 1. นิคมอุตสาหกรรม อุบลราชธานี บริษัท อุบลราชธานี อินดัสตรี้ จำกัด และกลุ่มสินรุ่งเรือง เสนอแผนร่วมดำเนินกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งถือว่าสอดรับกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NEEC) ช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งในเรื่องพัฒนาสังคม พื้นที่ และยังเป็นฐานการผลิตของผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการต่ำลงจะสามารถแข่งขันในตลาด CLMV และช่วยให้เกิดการสร้างงานคนในท้องถิ่น ได้กว่า 20,000 อัตราในภาคอีสาน 2. Hydro-Floating Solar Hybrid เขื่อนสิรินธร เพื่อสนองนโยบายในการเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนภายในประเทศ โดยสามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในจังหวัดและภูมิภาคที่สูงขึ้น ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร 3. สะพานไทย-ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี -สาละวัน) สะพานความยาว 1.02 กิโลเมตร จะเชื่อมทางหลวงหมายเลข 13 ใต้ในเมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวันของ สปป.ลาว กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2112 ในอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี โดยสะพานแห่งนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดน และทำหน้าที่เป็นระเบียงเศรษฐกิจสำหรับทั้งภูมิภาคด้วย เพราะสะพานแห่งนี้ไม่เพียงแต่จะเชื่อมภาคตะวันออกของไทยกับทางตอนใต้ของลาว แต่ยังจะเชื่อมโยงไปยังเวียดนามด้วย 4. ยกระดับสนามบินบุรีรัมย์ ขณะนี้กำลังเร่งก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานบุรีรัมย์ เพื่อยกระดับเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ ประกอบด้วย การก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่และสิ่งก่อสร้างประกอบอื่นๆ พร้อมคุรุภัณฑ์อำนวยความสะดวกและการต่อเติมความยาวทางวิ่งจากเดิม 2,100 เมตร เป็น 3,000 เมตร, ขยายทางขับและลานจอดเครื่องบินขนส่งสินค้า พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน รวมถึงส่วนอื่นๆ ปัจจุบันรองรับให้บริการผู้โดยสารปีละ 3.5 แสนคน หากพัฒนาปรับปรุงแล้ว คาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5 แสน – 1 ล้านคน ทั้งเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรองรับเปิดสายการบินระหว่างประเทศ หมายเหตุ: Mega project ที่มีงบประมาณ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อ้างอิงจาก: สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเจ้าของสังกัดหน่วยงานเจ้าของโครงการ เว็บไซต์บริษัท #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #MegaProject #เมกะโปรเจค #อุบลราชธานี #บุรีรัมย์

ปังหลาย อุดรธานี คว้าโอกาสเป็นเจ้าภาพ “งานมหกรรมพืชสวนโลก” 2569

ปังหลาย อุดรธานี คว้าโอกาสเป็นเจ้าภาพ “งานมหกรรมพืชสวนโลก” 2569   จังหวัดอุดรธานีได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพงานมหกรรมพืชสวนโลก 2569 ภายใต้แนวคิด ความหลากหลายแห่งสรรพชีวิต เตรียมใช้พื้นที่ชุ่มน้ำหนองแดเป็นสถานที่จัดงาน พื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ภายหลังจากดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และ นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB หรือ สสปน.) เข้าร่วมการประชุมสมาคมพืชสวนโลก(International Association of Horticultural Producers : AIPH) ทาง AIPH ได้ประกาศการคัดเลือกอย่างเป็นทางการ ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 (ระดับ B) ณ Crowne Plaza Dubai Marina เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ภายใต้แนวคิด Diversity of Life: Connecting people, water and plants for sustainable living หรือ ความหลากหลายแห่งสรรพชีวิต: สายสัมพันธ์แห่งน้ำ พืชพรรณ และผู้คนสู่การดำรงชีวิตที่ยั่งยืน  อันสะท้อนถึงเอกลักษณ์ความเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำของจังหวัดอุดรธานี ที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างสายน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ และผู้คนในท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน พื้นที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2569 นี้ ตั้งอยู่ที่ ต.กุดสระ อ.เมืองอุดรธานี ริมถนนมิตรภาพ สายอุดรธานี-หนองคาย ห่างจากตัวเมืองอุดรฯ ประมาณ 4 ก.ม. เนื้อที่ประมาณ 975 ไร่ เป็นพื้นที่น้ำ 400 ไร่ และพื้นดินประมาณ 575 ไร่เศษ ระยะเวลาจัดงานระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2569 – 14 มีนาคม 2570 (134 วัน) เมื่อเสร็จการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 (2026) แล้ว ทางจังหวัดอุดรธานีมีแผนจะอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าว เพื่อใช้ประโยชน์ต่อเนื่องเป็นศูนย์จัดแสดงนิทรรศการ ประเพณีวัฒนธรรม และศูนย์กลางกีฬานานาชาติ ของกลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขงและภาคตะวันออกเฉียงตอนบน   อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อุดรธานี …

ปังหลาย อุดรธานี คว้าโอกาสเป็นเจ้าภาพ “งานมหกรรมพืชสวนโลก” 2569 อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top