ภาคอีสานตอนบน  Mega Project  มีอิหยังแหน่ ? 

ภาคอีสานตอนบน 

Mega Project 

มีอิหยังแหน่ ? 

 

Mega Project ที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยในภาคอีสานตอนบน มีทั้งหมด 6 โครงการ

  1. ทางเลี่ยงเมืองหนองคาย (ตะวันออก) (G)

สร้างเลี่ยงเมืองหนองคายด้านตะวันออก 2,893 ล้านบาท จำนวน 3 ตอน คืบหน้ากว่า 70% คาดแล้วเสร็จภายในปีนี้ ช่วยรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้น ลดแออัดในตัวเมือง หนุนพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนเชื่อมโยง สปป.ลาว ผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน อยู่ในแผนโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวง เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ 

  1. นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว อุดรธานี (G+P)

ป็นความร่วมมือระหว่าง กนอ. กับ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด ภายใต้แนวคิดการเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวแห่งแรกของภาคอีสาน โดยใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการความยั่งยืน เน้นหลักการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความเจริญเติบโตให้กับคนไทยในภาคอีสาน อีกทั้งเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในภาคอีสาน ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ในการมีช่องทางการประกอบอาชีพในถิ่นเกิดโดยไม่ต้องอพยพไปทำงานที่อื่น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งนิคมฯแห่งนี้ จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนในภูมิภาค ที่ทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในพื้นที่ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท

  1. ศูนย์การแพทย์สถาบันพระบรมราชชนก (G) ระยะที่ 1

เพื่อพัฒนาจังหวัดอุดรธานี ให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์นานาชาติที่มีมูลค่าสูง เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการดูแลสุขภาพระดับโลก ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพลิกโฉมจังหวัดอุดรธานี เป็นมหาอำนาจด้านสุขภาพของโลก (World Class Wellness Destination) ภายใต้การขับเคลื่อนและการบูรณาการความร่วมมืออย่างเป็นเอกภาพ ระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม

  1. โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม (G+P)

เพื่อสร้างโครงข่ายการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพัฒนาสถานีขนส่งสินค้ารองรับกิจกรรมการขนส่ง ทั้งการรวบรวมและกระจายสินค้า รวมถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) บนเส้นทางสาย R12 (ไทย-ลาว-เวียดนาม-จีนตอนใต้) ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 โดยจัดเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และยังรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้ากับระบบราง ผ่านแนวการพัฒนารถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ: มีให้เอกชนลงนามร่วมลงทุน วงเงิน 1,307 ล้านบาท

  1. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)  (G)

รัฐบาลไทยใช้งบประมาณลงทุน 2,630 ล้านบาท ส่วน สปป.ลาวใช้เงินกู้จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือเนด้า วงเงินลงทุน 1,300 ล้านบาท รวมเงินลงทุนก่อสร้าง ระยะทางรวม 16.18 กิโลเมตร แยกเป็นงานก่อสร้างฝั่งไทย 12 กิโลเมตร และฝั่งลาว 2.8 กิโลเมตร ยกระดับให้ จ.บึงกาฬ กลายเป็นศูนย์กลางด้านการค้า ในภูมิภาค เพิ่มศักยภา พในการขนส่ง เดินทางสะดวกและประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น ดึงดูดการค้าการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว

  1. สนามบินบึงกาฬ  (G)

มีพื้นที่ประมาณ 4,400 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่างทางหลวงชนบทหมายเลข บก.3013 และทางหลวงเชื่อมโยง จังหวัดอุดรธานี-บึงกาฬ (ในอนาคต) มีระยะทางห่างจากตัวเมืองบึงกาฬ และสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 (อยู่ระหว่างก่อสร้าง) ห่างจากที่ตั้งท่าอากาศยานบึงกาฬ ประมาณ 12 กิโลเมตร

หมายเหตุ: Mega project ที่มีงบประมาณ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป

อ้างอิงจาก:

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กระทรวงเจ้าของสังกัดหน่วยงานเจ้าของโครงการ

เว็บไซต์บริษัท

 

#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #MegaProject #เมกะโปรเจค #หนองคาย #นครพนม #อุดรธานี #บึงกาฬ

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top