Siree Jamsuwan

ธุรกิจรถมือสองรายใหญ่ของภาคอีสาน ตีตลาดออนไลน์ ยอดขายพุ่ง 15% 

ธุรกิจรถมือสองรายใหญ่ของภาคอีสาน ตีตลาดออนไลน์ ยอดขายพุ่ง 15%    จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้บางธุรกิจปิดตัวลง แต่ก็มีหลายธุรกิจที่ยังสามารถดำเนินการต่อได้ เนื่องจากมีการปรับตัวตามสถานการ์เศรษฐกิจ และมีการปรับกลยุทธ์ต่างๆ    เต็นท์รถรายใหญ่ในภาคอีสานก็เช่นกัน มีการปรับเปลี่ยนวิธีการต่างๆ จนทำให้มียอดขายพุ่ง โดยธุรกิจรถมือสองรายใหญ่ภาคอีสาน คือ ประเสริฐผลยูสคาร์ ได้ทำการตลาดออนไลน์ 14 จังหวัด ทำให้มียอดขายเติบโต 15%    “ประเสริฐผลยูสคาร์” มีโชว์รูมของบริษัททั้งหมด 14 สาขาที่กระจายตัวอยู่ในภาคอีสาน ประกอบด้วยจังหวัดเลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น ยโสธร ร้อยเอ็ด มุกดาหาร บึงกาฬ อุดรธานี และนครพนม มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะการทำตลาดออนไลน์ตั้งแต่ช่วงเกิดโควิด-19 ที่ผ่านมาถึงปัจจุบันมีสัดส่วนลูกค้าออนไลน์ 60% และเดินเข้ามาดูรถที่โชว์รูมด้วยตัวเองอีก 40% ซึ่งลูกค้าที่เข้ามาดูรถเหล่านี้ส่วนใหญ่ดูผ่านออนไลน์มาแล้ว   ทั้งนี้ ปี 2564 บริษัทมีอัตราการเติบโตประมาณ 30% มียอดขายรถเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 1,900 คัน ในปี 2563 เพิ่มเป็น 2,500 คัน    ตั้งเป้าปี 2565 จะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 30% คาดว่ายอดขายเฉลี่ยจะเพิ่มจาก 2,500 คัน ในปีก่อน เป็น 3,000 คัน ในปีนี้ โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า หรือคนที่หารถคันแรก ประเภทรถที่ขายดีเป็นรถอีโคคาร์หรือรถเก๋งเล็ก และรถกระบะ ราคาอยู่ระหว่าง 250,000-400,000 บาท/คัน   จะเห็นได้ว่า ธุรกิจรถมือสอง ทำการตลาดออนไลน์มียอดขายพุ่งขึ้นมาตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ระลอกแรกที่คนไม่ออกจากบ้าน เนื่องจากพฤติกรรมคนเปลี่ยนไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะน้อยลง และหันมาใช้รถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น ซึ่งการเลือกรถมือสอง เหมาะกับการผลิตรถใหม่ทำได้ไม่ตามเป้า ยอดขายรถมือสองจึงเติบโตขึ้น   ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ว่า แนวโน้มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสองในระบบธนาคารพาณิชย์ ปี 2565 มีโอกาสขยายตัวเป็นบวกต่อจากปีก่อน ยอดขายในตลาดรถยนต์มือสองปีนี้ที่คาดว่าจะเติบโตได้ในช่วง 3-5% หรือคิดเป็นปริมาณการซื้อขายรถยนต์มือสองราว 6-7 แสนคัน ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อรถยนต์มือสองมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ ประมาณ 5-7%   อ้างอิงจาก: https://www.prachachat.net/local-economy/news-957863 https://data.creden.co/company/general/0485548000108 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจรถมือสอง

ท่องเที่ยวอีสานรูปแบบใหม่ “UNSEEN New Series” 5 ที่เที่ยวสุดปังไม่ธรรมดา

ท่องเที่ยวอีสานรูปแบบใหม่  “UNSEEN New Series”  5 ที่เที่ยวสุดปังไม่ธรรมดา ใกล้หยุดยาวในเดือนกรกฏาคมแล้ว เตรียมวางแผนในการเที่ยวสถานที่ใหม่ๆของภาคอีสาน จาก ททท. กันเลย  ก่อนหน้านี้ ISAN Insight & Outlook ได้นำเสนอข้อมูลรายได้จากการท่องเที่ยวในภาคอีสานจะเห็นได้ว่าการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รายได้ของแต่ละจังหวัดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโครงการ 25 Unseen New Series ของททท. เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เปิดตัวแหล่งท่องเที่ยว โครงการ 25 Unseen New Series คัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ จำนวน 25 แหล่งจากทั่วประเทศ นำมาเป็นจุดขายใหม่เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นและสามารถสร้างเม็ดเงินกระตุ้นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จัก  ซึ่งภาคอีสาน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ ประกอบไปด้วย 5 แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา , พญานาค 3 พิภพ จังหวัดมุกดาหาร , ภูพระ จังหวัดเลย , หอโหวด จังหวัดร้อยเอ็ด และโลกของช้าง จังหวัดสุรินทร์ โดยทิศทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสำหรับปี 2565 นี้ ททท.จะคงความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อระบบเศรษฐกิจไทย โดยเร่งให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวเร็วและเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง และเป็นสิ่งสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยและก้าวสู่การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ และมีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนาเป็นที่ตั้งของ “เมืองลอยฟ้า” ที่เป็นอ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง มีเสน่ห์ตรงที่มีทุ่งกังหันลมถึง 14 ตัว เรียงรายสุดสายตา เป็นจุดชมวิวมุมสูงที่มองเห็นเขื่อนลำตะคอง และถนนมอเตอร์เวย์สายใหม่ที่คู่ขนานไปกับรถไฟรางคู่ ซึ่งถูกกล่าวขานว่าเป็นชมวิวที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของไทย รวมถึงเป็นที่ตั้งของ “เมืองใต้พิภพ” ที่อยู่ลึกไปใต้ผิวดินกว่า 350 เมตร เป็นอุโมงค์โรงไฟฟ้าใต้ดิน ใช้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการสูบน้ำจากเขื่อนลำตะคองไปเก็บไว้ที่อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง จากนั้นจะปล่อยน้ำลงมาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า นับเป็นจุดเช็คอินที่ไม่เหมือนใคร นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปสัมผัสอากาศบริสุทธิ์ ชมวิวทิวทัศน์ของทุ่งกังหันลมบริเวณเขาเควสต้าหรือเขาอีโต้ และชมวิวมุมสูงของถนนมอเตอร์เวย์ที่สวยงาม สามารถปั่นจักรยานรอบอ่างเก็บน้ำเขายายเที่ยง และมีศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง ที่เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ด้านพลังงานสะอาด พิกัด : https://goo.gl/maps/6NrGPf5nQTniABPP6  พญานาค 3 พิภพ จ.มุกดาหาร ชาวมุกดาหารมีความเชื่อและนับถือศรัทธาองค์พญานาค ความมหัศจรรย์ของพญานาค 3 องค์ ที่บังเอิญตั้งอยู่บนแนวเส้นลองจิจูดเดียวกันที่ตำแหน่ง 104 องศา 43 ลิปดา เป็นตัวแทนแห่งพญานาค 3 พิภพ ซึ่งปกปักคุ้มครองเมืองมุกดาหารให้สงบร่มเย็น ได้แก่  องค์แรก พญาศรีภุชงค์มุกดานาคราช เป็นพญานาคดิน ตั้งอยู่ที่แก่งกะเบา กับคติความเชื่อ “อุดมสมบูรณ์ มั่นคง มั่งคั่ง ร่ำรวย” องค์ที่ 2 พญาอนันตนาคราช …

ท่องเที่ยวอีสานรูปแบบใหม่ “UNSEEN New Series” 5 ที่เที่ยวสุดปังไม่ธรรมดา อ่านเพิ่มเติม »

ศึกธุรกิจวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ ในภาคอีสาน

ศึกธุรกิจวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ ในภาคอีสาน   หลายคนอาจจะเริ่มเห็นร้านขายวัสดุก่อสร้างและของแต่งบ้านเปิดใหม่ขึ้นมากมาย และมีการแข่งขันอย่างดุเดือดของธุรกิจนี้ โดยที่มีเจ้าใหญ่ไม่ว่าจะเป็นไทวัสดุ โกลบอลเฮ้าส์ โฮมโปร และดูโฮม ธุรกิจไทยหลายบริษัทที่มีมูลค่าหลักหมื่นล้านบาท มักมีจุดเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ แล้วขยายออกสู่ต่างจังหวัด แต่ไม่ใช่ “โกลบอลเฮ้าส์” และ “ดูโฮม” บริษัททั้ง 2 มีผู้ก่อตั้งธุรกิจที่เป็นคนภาคอีสาน โดยประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าโดยเน้นวัสดุก่อสร้าง วัสดุตกแต่ง เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ต่อเติม ตกแต่ง บ้านและสวน เป็นต้น   เส้นทางของอาณาจักรค้าวัสดุก่อสร้างแต่ละรายนี้ เป็นมาอย่างไร?  จุดเริ่มต้นของ “โกลบอลเฮ้าส์” มาจากคุณวิทูร สุริยวนากุล ผู้ก่อตั้งบริษัท ที่เกิดและเติบโตในจังหวัดร้อยเอ็ด หลังจากจบปริญญาตรีวิศวกรรมโยธาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น คุณวิทูร ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอยู่ไม่นานก็ขยับขยายมาเปิดร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ชื่อว่า ร้อยเอ็ดฟาร์มโดยได้นำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ มีการทำระบบบาร์โคด คุมสต็อกสินค้าด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือว่าทันสมัยมาก    หลังจากร้อยเอ็ดฟาร์มเติบโตมาเกือบ 10 ปี ก็กลายมาเป็น “โกลบอลเฮ้าส์” ในปี พ.ศ. 2540 โกลบอลเฮ้าส์ตั้งสาขาแรกที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีรูปแบบเป็น Warehouse Store ที่มีพื้นที่คลังสินค้าขนาดใหญ่ ที่รวบรวมสินค้าวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านครบวงจร    อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของโกลบอลเฮ้าส์ คือ มีสินค้ามากกว่า 130,000 รายการ และมีพื้นที่แต่ละสาขากว้างถึง 18,000-32,000 ตารางเมตร มีศูนย์กระจายสินค้าที่ใช้ระบบหุ่นยนต์หยิบและเก็บของภายในคลังสินค้าสูง 11 ชั้น เพื่อให้การควบคุมศูนย์กระจายสินค้ามีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ในแต่ละสาขายังมีบริการ Drive-Thru ให้ลูกค้าสามารถขับรถมารับสินค้าจากหลังร้านได้ทันทีที่ซื้อ   ในขณะที่ “ดูโฮม” เริ่มต้นจากการเป็นร้านค้าวัสดุก่อสร้างเล็ก ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี จนตอนนี้ได้ก้าวมาเป็นแนวหน้าของผู้ค้าวัสดุก่อสร้างในไทยและมีมูลค่าบริษัทมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท โดยคุณอดิศักดิ์ ตั้งมิตรประชา และคุณนาตยา ตั้งมิตรประชา ได้ก่อตั้งร้านขายปลีกวัสดุก่อสร้าง จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด “ศ. อุบลวัสดุ” ในจังหวัดอุบลราชธานี  โดยมีการปรับรูปแบบร้านค้าให้เป็นโกดังขายสินค้าขนาดใหญ่ และมีการนำเทคโนโลยีจัดการคลังสินค้าและจัดการการขาย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “ดูโฮม” ภายใต้ชื่อว่า บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่ ดูโฮม ผลักดันเพื่อให้อัตราการทำกำไรของบริษัทสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ การเพิ่มยอดขายสินค้าที่เป็นแบรนด์ของตัวเอง (House Brands) คือบริษัทไปสั่งผลิตจากผู้ผลิตที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ทำให้บริษัทได้อัตรากำไรที่ดีกว่าการรับสินค้าของแบรนด์อื่นมาขาย    จุดเริ่มต้นของโกลบอลเฮ้าส์และดูโฮม ให้แง่คิดหลายอย่างในการทำธุรกิจ ทำให้รู้ว่า การทำธุรกิจแต่ในต่างจังหวัดก็สร้างรายได้มหาศาลได้ ถ้ามีการจัดการอย่างเป็นระบบ เหมือนกับทั้ง 2 บริษัทก็สามารถยิ่งใหญ่ได้ โดยที่ไม่ต้องมีจุดเริ่มต้นจากกรุงเทพ  นอกจากนี้ การทำธุรกิจต้องมีการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจ พร้อมสํารวจพฤติกรรมและความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนั้น …

ศึกธุรกิจวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

เงินเฟ้อลาว “ พุ่ง ” เงินกีบลาว “ อ่อนค่า ” เที่ยวลาว คิดเงินเรทนักท่องเที่ยว บาท-ดอลลาร์

เงินเฟ้อลาว “ พุ่ง ”  เงินกีบลาว “ อ่อนค่า ”  เที่ยวลาว คิดเงินเรทนักท่องเที่ยว บาท-ดอลลาร์   เมื่อต้นปีที่ผ่านมาเงินกีบลาวอ่อนค่าลงอย่างหนัก จากระดับ 100 บาทแลกได้ 30,000 กีบ ปัจจุบันอ่อนค่าลงเป็น 50,000 กว่ากีบหรืออ่อนค่าลงกว่า 70% ทำให้คนแห่เก็บเงินบาทจนกระทั่งหาแลกเงินบาทไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นร้านแลกเปลี่ยนเงินหรือเคาน์เตอร์ธนาคารพาณิชย์   ขณะที่เงินกีบที่อ่อนค่าทำให้ดูเหมือนว่า ราคาสินค้าและบริการในสปป.ลาวแม้จะเท่าเดิมในราคาเงินกีบ แต่จะถูกลงสำหรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวไทย ที่มีพรมแดนติดต่อกับสปป.ลาว มีด่านถาวรและสะพานมิตรภาพข้ามนํ้าโขงเชื่อมโยงกันหลายแห่ง สามารถข้ามไปเที่ยวเพื่อเดินทาง กิน ดื่ม ในราคาถูกลงมากกว่าครึ่ง   นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย รองประธานหอการค้าไทย (ภาคอีสาน) และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หอการค้าไทย หอการค้าจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวของไทย ที่ต้องการเดินทางโดยรถไฟไปภาคเหนือของลาว ต้องคิดทบทวนการใช้จ่ายประจำวัน ค่าที่พัก ค่าอาหาร สำหรับนักท่องเที่ยว ในประเทศลาวเนื่องจากผู้ประกอบการจะกำหนดราคาเป็นเงินดอลลาร์   ต้องตรวจสอบว่า ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในลาว กำหนดราคาเป็นสกุลเงินใด เพราะผู้ประกอบการลาวหลายแห่งกำหนดค่าสินค้าและบริการเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วจึงคำนวณกลับเป็นราคาเงินบาท หากต้องการจ่ายเป็นเงินบาทไทย หรือเงินกีบลาว ทำให้ราคาสินค้าชิ้นนั้น ๆ ผันแปรไปตามค่าเงินแต่ละวัน เช่น ก๋วยเตี๋ยวเคยจ่ายชามละประมาณ 70 บาทไทย วันนี้ราคาอาจปรับขึ้นเป็นชามละ 120 บาท ราคาที่พักรีสอร์ทคืนละ 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์มาเป็นเงินบาทไทย ในเวลานั้น เช่น 1 ดอลลาร์ ต่อ 33 บาทเศษ เป็นต้น   อ้างอิงจาก : https://www.thansettakij.com/economy/528878 https://www.thansettakij.com/economy/529180    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ค่าเงินลาว #เงินเฟ้อ #เที่ยวลาว

บริษัทใหญ่ ภาคอีสาน ที่สามารถเข้าตลาดหุ้นได้ มีอิหยังแหน่ ?

บริษัทใหญ่ ภาคอีสาน ที่สามารถเข้าสู่ตลาดหุ้นได้ มีอิหยังแหน่?   10 บริษัทภาคอีสานในตลาดหลักทรัพย์ อ้างอิงจากจังหวัดที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้นๆ IPO (Initial Public Offering) คือ การนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น เป็นการนำหุ้นของบริษัทเสนอขายในตลาดหลักทรัพย์ให้กับคนทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์ระดมเงินทุนเพิ่มเติม การที่จะเข้าในตลาดหุ้นได้คุณสมบัติ คือ บริษัทจะต้องเป็น บริษัทมหาชน จำกัด จากนั้นบริษัทต้องมีผลประกอบการตามเกณฑ์ที่กำหนด    สำหรับ SET บริษัทจะต้องมีกำไร 2-3 ปีล่าสุดรวมกันแล้วมากกว่า 50 ล้านบาท ในปีล่าสุดต้องมีกำไรสุทธิมากกว่า 30 ล้านบาท มีกำไรสุทธิในงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก และทุนชำระแล้วหลัง IPO ต้องมากกว่า 300 ล้านบาท   สำหรับ MAI เป็นตลาดหุ้นขนาดรองของประเทศไทย กำหนดว่าบริษัทต้องมีกำไรสุทธิในปีล่าสุดมากกว่า 10 ล้านบาท มีกำไรสุทธิในงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก และทุนชำระแล้วหลัง IPO ต้องมากกว่า 50 ล้านบาท   อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในข้อกำหนดของการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น ยังมีเงื่อนไขอีกจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น งบการเงิน การบริหารงานที่เป็นระบบ การกำกับดูแลกิจการ และการควบคุมภายใน   จะเห็นได้ว่าคนภาคอีสานนั้นก็มีความสามารถอย่างมากที่พาธุรกิจของตนเองเข้าสู่ตลาดใหญ่ได้ และเมื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แล้วยังต้องมีการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในธุรกิจและเพิ่มมูลค่าให้บริษัทมากขึ้น   อ้างอิงจาก : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://www2.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/common_shares_p1.html    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #หุ้น #หุ้นอีสาน #หุ้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แดงกับวีที พี่น้องตระกูลแหนมเนือง ธุรกิจร้านอาหารเจ้าใหญ่ ในภาคอีสาน

แดงกับวีที พี่น้องตระกูลแหนมเนือง   เมื่อนึกถึงแหนมเนืองอีสาน หลายคนคงนึกถึง “แดง แหนมเนือง” และ “วีที แหนมเนือง”  แต่รู้หรือไม่? แดงกับวีที เป็นพี่น้องกันที่ขายแหนมเนืองในจังหวัดหนองคายและอุดรธานี   “แดง แหนมเนือง” กับ “วีที แหนมเนือง” เป็น 2 ใน 8 พี่น้องของคุณพ่อตวน โฮวัน และคุณแม่วี แซ่เรือง สองสามี-ภรรยา ที่อพยพสงครามอินโดจีนเข้ามาตั้งรกรากในจังหวัดหนองคาย คุณแม่วีจึงลองนำความรู้ที่ติดตัวมาปรุงรสเป็นแหนมเนืองที่มีรสชาติถูกปากคนไทยมากขึ้น ใส่หาบเร่ขายในจังหวัดหนองคาย เมื่อมีเงินเก็บได้จำนวนหนึ่งจึงเช่าร้าน 1 คูหาในตัวเมืองจังหวัดหนองคายในปี 2511 เพื่อเปิดร้านแหนมเนืองร้านแรกในจังหวัดหนองคาย   คุณแม่วีได้ตั้งชื่อร้านว่า “แหนมเนือง” เมื่อหลังจากคุณแม่วีได้เปิดร้านแหนมเนืองได้ไม่กี่ปี ทางการไทยมีการกวดขันชาวเวียดนามอพยพเป็นพิเศษ ทำให้คุณแม่วีเปลี่ยนชื่อเป็น “แดง แหนมเนือง” จากชื่อของแดง–วิภาดา จิตนันทกุล ลูกคนที่สองของแม่วี (ลูกสาวคนโต) ผู้ที่ช่วยงานแม่วีทำแหนมเนืองขายมาตลอด และได้เข้ามาสานต่อกิจการ เนื่องจากผู้เป็นแม่ล้มป่วยด้วยโรคหัวใจไม่สามารถทำงานหนักได้   อย่างไรก็ตาม ครอบครัวของแม่วีเป็นครอบครัวใหญ่ที่มีลูกมากถึง 8 คนคุณ ทอง กุลธัญวัฒน์ ลูกคนที่ 5 จึงขอแยกตัวเองออกมาทำงานนอกบ้านในหลากหลายอาชีพ จนมาถึงปี 2540 ได้เปลี่ยนอาชีพมาทำแหนมเนืองจากสูตรของคุณแม่วี ที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อไม่ให้เป็นคู่แข่งกับธุรกิจแดง แหนมเนืองของพี่สาว พร้อมตั้งชื่อร้านแหนมเนืองว่า “วีที แหนมเนือง” เป็นชื่อที่มาจากตัวย่อภาษาอังกฤษของชื่อแม่วี และพ่อต่วน มีรูปหมวกเวียดนามกำกับบนโลโก้ เพื่อสื่อสัญลักษณ์ของชาวเวียดนาม   นี่คือจุดกำเนิดของ “แดง แหนมเนือง” และ “วีที แหนมเนือง” ของลูกแม่วี และพ่อต่วน ที่ได้ชื่อว่า ผู้บุกเบิกอาหารแหนมเนืองในประเทศไทย  และเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา แวดวงคนทำธุรกิจร้านอาหารและลูกค้าจำนวนมาก ต่างตกใจกับการจากไปในวัย 63 ปี ของคุณแดง วิภาดา จิตนันทกุล ซึ่งในปัจจุบัน คุณณัฐ ศัตภัทร สหัชพงษ์  น้องชายของคุณแดง วิภาดา  เป็นผู้จัดการร้านแดงแหนมเนือง จังหวัดหนองคาย   สิ่งสำคัญของการทำธุรกิจร้านอาหาร หรืองานบริการอะไรก็ตาม ควรยึดหลักทำด้วยใจรัก และเอาใจใส่ โดยต้องทำให้เกิดคุณภาพของงานนั้นๆ เช่น การทำร้านอาหารต้องใส่ใจเรื่องรสชาติ ความสดของวัตถุดิบ ความตั้งใจในงานบริการนั้น เป็นที่มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งทางร้านจึงไม่เลือกปฎิบัติเฉพาะกลุ่มลูกค้า  แต่ต้องทำให้ลูกค้าทุกคนมีพึงพอใจ ขณะที่ราคาสินค้าก็ต้องการให้ตลาดกลางและตลาดล่างสามารถเข้าถึงได้ . อ้างอิงจาก: https://marketeeronline.co/archives/112086 https://www.sentangsedtee.com/exclusive/article_82012 https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/ksmeknowledge/article/smestory/pages/success-vt.aspx    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #แหนมเนือง #แดงแหนมเนือง #หนองคาย #วีทีแหนมเนือง #อุดรธานี 

พิษเศรษฐกิจ ปิดคลังพลาซ่า ยอดขายหดไม่ถึงแสนบาท

พิษเศรษฐกิจ ปิดคลังพลาซ่า    บริษัท คลังพลาซ่า จำกัด ภายใต้การบริหารของนายไพรัตน์ มานะศิลป์ เป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่า มีทั้งหมด 3 สาขา ประกอบด้วย คลังพลาซ่า สาขาอัษฎางค์, คลังพลาซ่า สาขาจอมสุรางค์ และคลังวิลล่า สาขาสุรนารายณ์   เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2565 บริษัท คลังพลาซ่า จำกัด เจ้าของห้างสรรพสินค้า “คลังพลาซ่า” จังหวัดนครราชสีมา ออกประกาศแจ้งปิดการให้บริการห้างสรรพสินค้า “คลังพลาซ่า สาขาอัษฎางค์” ซึ่งเป็นสาขาแรกและอยู่ใจกลางเมืองโคราช ที่เรียกกันว่า “คลังเก่า” ตั้งแต่ 31 ก.ค. 2565 เป็นต้นไป ซึ่งเมื่อก่อนหน้านี้ คลังพลาซ่า สาขาถนนจอมสุรางค์ยาตร ที่เรียกกันว่า “คลังใหม่” ได้สั่งปิดชั่วคราวไปเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564    โดยระบุสาเหตุในการกิจการ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจการค้าโลก ประกอบกับการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะมีความยากลำบากมากขึ้น จากสงครามและมาตรการคว่ำบาตรซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในขณะนี้  จากเดิมเคยมีรายได้วันละ 2-3 ล้านบาท ปัจจุบันยอดขายเหลือไม่ถึงแสนบาท    ทั้งนี้ คลังพลาซ่าจอมสุรางค์ยาตร  ได้มีการรีโนเวทครั้งใหญ่ไปตั้งแต่ปี 2557 ลงทุนกว่า 1,200 ล้านบาท รีโนเวทใหญ่ทุกชั้นทุกแผนกของ”คลังพลาซ่า จอมสุรางค์” ทั้งอาคาร 9 ชั้น ให้เป็นสไตล์โมเดิร์น ขยายพื้นที่ขายจาก 20,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) เป็น 30,000 ตร.ม. เพิ่มขึ้น 33 %    เมื่อ 20 ก.พ. 2565 มีการปลดป้ายเดิมและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ARPAYA อาภาญา”  โดย นายไพรัตน์ ชี้แจงว่า เป็นการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจใหม่ จากวิกฤต COVID-19 พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ห้างสรรพสินค้าดีพาร์มเมนต์ที่แยกแผนกสินค้าต่าง ๆ ไม่ตอบโจทย์ยุคใหม่ ต้องปรับตัวใหม่ไปสู่ทางที่ดีกว่าเดิม   ช้อปปิ้งมอลล์ สู่ มิกส์ยูส “อาภาญา” ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์มัลติยูส ที่เป็นอาคารเอนกประสงค์หลากหลายธุรกิจมารวมอยู่ในพื้นที่ โดยจะมีพื้นที่เช่าเกี่ยวกับด้านศูนย์การศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านกีฬา ด้านเทคโนโลยี เป็นอาคารเพื่อการเรียนรู้ และไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ออฟฟิศ ร้านค้า เพราะอยู่ทำเลใจกลางเมือง ใกล้หน่วยงานราชการ การเดินทางสะดวก    อย่างไรก็ตาม มียืนยันจาก นายไพรัตน์ มานะศิลป์ …

พิษเศรษฐกิจ ปิดคลังพลาซ่า ยอดขายหดไม่ถึงแสนบาท อ่านเพิ่มเติม »

5 อันดับ สินค้ายอดฮิตนำเข้าและส่งออกชายแดนไทย – สปป.ลาว ปี 2565 (มกราคม – เมษายน)

5 อันดับ สินค้ายอดฮิตนำเข้าและส่งออกชายแดนไทย – สปป.ลาว ปี 2565 (มกราคม – เมษายน) มูลค่าการส่งออกไทยสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ในปี 2565 ที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 50,993 ล้านบาท และยังคงมีแนวโน้มที่ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในปีนี้ ซึ่งพบว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564 ( ม.ค. – เม.ย. )  มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 43,247  ล้านบาท ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามากถึง 7,746 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 17.9   อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้ายังคงมีแนวโน้มที่ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการนำเข้าไทยจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ในปี 2565 ที่ผ่านมามีมูลค่าการนำเข้า 33,544 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2564 พบว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปี ( ม.ค. – เม.ย. )  มีมูลค่าการนำเข้า 27,863  ล้านบาท ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามากถึง 5,681 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 20.4   สินค้าที่ไทยส่งออกให้สปป.ลาวมากที่สุดคือน้ำมันดีเซล เนื่องจากลาวเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำมัน ลาวต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากไทยมากถึง 90% หรือต้องการน้ำมันประมาณ 120 ล้านลิตรต่อเดือน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน    แต่ปัจจุบันลาวสามารถซื้อได้เพียงแค่ 20 ล้านลิตรต่อเดือน คิดเป็นเพียง 1 ใน 6 ของความต้องการเท่านั้น เนื่องจากสปป.ลาวมีดุลการค้าและบริการที่ติดลบมานาน ส่งผลให้ค่าเงินลาวจึงอ่อนมาก และอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงมาก (เดือนเมษายนที่ผ่านมา สูงถึง 9.9%) . อ้างอิง: กรมการค้าต่างประเทศ https://www.prachachat.net/local-economy/news-939185 https://www.longtunman.com/38342   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สินค้านำเข้า #สินค้าส่งออก #ลาว #ไทยลาว

ภาคอีสาน มีผลผลิตทางการเกษตรอิหยัง หลายที่สุด ผลผลิตทางการเกษตร ปี 2564

พามาเบิ่ง 5 อันดับผลผลิตทางการเกษตรของภาคอีสานที่มากสุด มีอิหยังแหน่ . ผลผลิตทางการเกษตรของภาคอีสาน ในปี 2564 มีจำนวน 20.9 ล้านตัน ซึ่งลดลงจากปี 2563 มากกว่า 13.4 ล้านตัน  ผลผลิตลดลง เนื่องจากปัญหาด้านสภาพอากาศและการเกิดอุทกภัยในแหล่งผลิตสำคัญในช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน 2564 ส่งผลให้ผลผลิตที่ต้องเก็บเกี่ยวในช่วงไตรมาสนี้บางส่วนได้รับความเสียหาย . ในปี 2564 ผลผลิตทางการเกษตรของภาคอีสาน 5 อันดับ มีดังนี้ มันสำปะหลังโรงงาน มีผลิตทั้งหมด 19.9 ล้านตัน ซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 3.6 ล้านตัน (22.2%) โดยมีปัจจัยที่ทำให้เพิ่มขึ้น คือ การขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรประเมินพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่ให้ผลผลิตในปี 2564 อยู่ที่ 9.16 ล้านไร่ เพิ่มขึ้น 2.8% จากปี 2563 เนื่องจากเกษตรกรได้รับแรงจูงใจจากการปรับขึ้นของราคามันสำปะหลังตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังปี 2563 และโครงการสนับสนุนภาคเกษตรจากรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการประกันรายได้ และอีกหนึ่งปัจจัย คือ ปริมาณฝน และน้ำในเขื่อนที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก  ข้าวนาปรัง มีผลิตทั้งหมด 1.07 ล้านตัน ซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 353,800 ตัน (49.6%) เนื่องจากข้าวนาปรัง เป็นนาข้าวที่ทำนอกฤดูทำนา ปลูกง่าย ไวต่อแสง เป็นข้าวที่มีผลผลิตค่อนข้างแน่นอน เพราะสามารถนับอายุการปลูกข้าวได้ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นจนถึงการเก็บเกี่ยว และมีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่สำคัญและแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีมากขึ้น เกษตรกรจึงขยายการเพาะปลูกในพื้นที่นาปรังเดิมที่เคยปล่อยว่าง มันฝรั่งโรงงาน มีผลิตทั้งหมด 7,791 ตัน  ซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 453 ตัน (6.2%) โดยตั้งแต่ปี 2559 – 2563 ความต้องการใช้มันฝรั่งภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก ผู้ประกอบการแปรรูปมันฝรั่งมีแผนการขยายการผลิตมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ปี 2564 มีผลผลิตที่มากขึ้น และการปลูกมันฝรั่งของภาคอีสานมักปลูกทดแทนการปลูกข้าวนาปรังหลังจากฤดูทำนา โดยปลูกเฉพาะมันฝรั่งพันธุ์โรงงาน (สำหรับแปรรูป) ลิ้นจี่ มีผลิตทั้งหมด 1,580 ตัน ซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 335 ตัน (26.9%) โดยจังหวัดที่มีผลผลิตมากที่สุดคือจังหวัดนครพนม พบว่า เกษตรกรนิยมลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 หรือ นพ.1 เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ และยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ตั้งแต่ปี 2560 จึงมีเกษตรกรเริ่มหันมาสนใจเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น กระเทียม มีผลิตทั้งหมด 911 ตัน ซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 125 ตัน (15.9%) จากการประกาศขึ้นทะเบียนกระเทียม GI กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้มีการส่งเสริมการจัดทำระบบการตรวจสอบควบคุมคุณภาพสินค้า การเพิ่มมูลค่าสินค้า และสนับสนุนช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เป็นปัจจัยทำให้จังหวัดศรีสะเกษมีการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2565 …

ภาคอีสาน มีผลผลิตทางการเกษตรอิหยัง หลายที่สุด ผลผลิตทางการเกษตร ปี 2564 อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภค ภาคอีสาน เดือนพฤษภาคม 2565

ดัชนีราคาผู้บริโภค  เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ  โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไป   สำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด . ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนพฤษภาคม 2565 เท่ากับ 106.62 สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 7.1% (YoY) โดยในเดือนเมษายน 2565 สูงขึ้น 4.65% . ปัจจัยหลักยังคงเป็นราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยสินค้ากลุ่มพลังงาน ทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ปรับตัวสูงขึ้น การยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม และการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร  . นอกจากนี้ ฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างต่ำ จึงมีส่วนทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้อยู่ที่ 7.1%อย่างไรก็ตาม ข้าวสาร เครื่องนุ่งห่ม ค่าเช่าบ้าน การศึกษา ราคายังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐาน อยู่ที่ 2.28% (YoY) . เมื่อจำแนกดัชนีราคาผู้บริโภครายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ โดยสูงขึ้น 7.95% รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และกรุงเทพฯและปริมณฑล สูงขึ้น 7.46%,  6.98% และ 6.85% ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ 6.53% . พิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้้ามันเชื้อเพลิง อาหาร สำเร็จรูป เนื้อสุกร และน้ำมันพืช สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ผักสด เช่น ขิง ผักกาดขาว ถั่วฝักยาว เป็นต้น . อัตราการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคอีสาน ที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร  สูงขึ้น 12.54% โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 34.22% ปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก หมวดเคหสถาน  สูงขึ้น 5.85% ค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 45.44% ตามการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในรอบเดือนพฤษภาคม–สิงหาคม 2565 และราคาก๊าซหุงต้มสูงขึ้น 5.16% จากการทยอยปรับเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได ตั้งแต่เดือนเมษายนไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2565 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 5.41% ในด้านกลุ่มอาหารสด เช่น เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่  ราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนการเลี้ยง ผักสดราคาเปลี่ยนแปลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด ส่วนเครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ราคาปรับขึ้นตามต้นทุน . แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2565  . มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในระดับสูง …

พามาเบิ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภค ภาคอีสาน เดือนพฤษภาคม 2565 อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top