Siree Jamsuwan

สถานการณ์ ‘เงินเฟ้อ’ ภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?  เดือน ก.พ. 66 แตะ 3.61%

สถานการณ์ ‘เงินเฟ้อ’ ภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?  เดือน ก.พ. 66 แตะ 3.61%   เงินเฟ้อ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้น แต่มูลค่าของเงินต่ำลง ทำให้การจะซื้อของชิ้นเดิมต้องใช้เงินมากกว่าเดิม หรือพูดง่าย ๆ คือ “ของแพงขึ้น”   อัตราเงินเฟ้อของภาคอีสาน เดือน กุมภาพันธ์ 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 3.61% (YoY)  สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงต่อเนื่อง ตามราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดหลายรายการที่คาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาและราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ระดับต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับฐานราคา ในเดือนมีนาคม 2565 ค่อนข้างสูง การส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มลดลงตามอุปสงค์โลก และการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด จะกดดันต่อการขยายตัวของเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ค่าไฟฟ้าที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าปีที่ผ่านมา ราคาก๊าซหุงต้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นในเดือนมีนาคมนี้ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการยังคงขยายตัวได้ดี จะส่งผลให้เงินเฟ้อชะลอตัวไม่มากนัก นอกจากนี้ ความเสี่ยงจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และภัยแล้งทั้งในและต่างประเทศ อาจจะส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลก และจะส่งผลมายังราคาสินค้าและบริการของไทยตามลำดับ ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 2.0 – 3.0 ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง    อ้างอิงจาก:  กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #เงินเฟ้อ #เงินเฟ้ออีสาน #ของแพง #ดัชนีผู้บริโภค #ดัชนีผู้บริโภคอีสาน

ภาคอีสานตอนบน  Mega Project  มีอิหยังแหน่ ? 

ภาคอีสานตอนบน  Mega Project  มีอิหยังแหน่ ?    Mega Project ที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยในภาคอีสานตอนบน มีทั้งหมด 6 โครงการ ทางเลี่ยงเมืองหนองคาย (ตะวันออก) (G) สร้างเลี่ยงเมืองหนองคายด้านตะวันออก 2,893 ล้านบาท จำนวน 3 ตอน คืบหน้ากว่า 70% คาดแล้วเสร็จภายในปีนี้ ช่วยรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้น ลดแออัดในตัวเมือง หนุนพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนเชื่อมโยง สปป.ลาว ผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน อยู่ในแผนโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวง เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์โลจิสติกส์  นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว อุดรธานี (G+P) ป็นความร่วมมือระหว่าง กนอ. กับ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด ภายใต้แนวคิดการเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวแห่งแรกของภาคอีสาน โดยใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการความยั่งยืน เน้นหลักการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความเจริญเติบโตให้กับคนไทยในภาคอีสาน อีกทั้งเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในภาคอีสาน ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ในการมีช่องทางการประกอบอาชีพในถิ่นเกิดโดยไม่ต้องอพยพไปทำงานที่อื่น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งนิคมฯแห่งนี้ จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนในภูมิภาค ที่ทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในพื้นที่ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ศูนย์การแพทย์สถาบันพระบรมราชชนก (G) ระยะที่ 1 เพื่อพัฒนาจังหวัดอุดรธานี ให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์นานาชาติที่มีมูลค่าสูง เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการดูแลสุขภาพระดับโลก ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพลิกโฉมจังหวัดอุดรธานี เป็นมหาอำนาจด้านสุขภาพของโลก (World Class Wellness Destination) ภายใต้การขับเคลื่อนและการบูรณาการความร่วมมืออย่างเป็นเอกภาพ ระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม (G+P) เพื่อสร้างโครงข่ายการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพัฒนาสถานีขนส่งสินค้ารองรับกิจกรรมการขนส่ง ทั้งการรวบรวมและกระจายสินค้า รวมถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) บนเส้นทางสาย R12 (ไทย-ลาว-เวียดนาม-จีนตอนใต้) ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 โดยจัดเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และยังรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้ากับระบบราง ผ่านแนวการพัฒนารถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หมายเหตุ: มีให้เอกชนลงนามร่วมลงทุน วงเงิน 1,307 ล้านบาท สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)  (G) รัฐบาลไทยใช้งบประมาณลงทุน 2,630 ล้านบาท ส่วน สปป.ลาวใช้เงินกู้จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือเนด้า วงเงินลงทุน 1,300 ล้านบาท รวมเงินลงทุนก่อสร้าง ระยะทางรวม 16.18 กิโลเมตร แยกเป็นงานก่อสร้างฝั่งไทย 12 กิโลเมตร และฝั่งลาว 2.8 กิโลเมตร ยกระดับให้ จ.บึงกาฬ กลายเป็นศูนย์กลางด้านการค้า ในภูมิภาค …

ภาคอีสานตอนบน  Mega Project  มีอิหยังแหน่ ?  อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง Mega Project เมืองย่าโม จ. นครราชสีมา 

พามาเบิ่ง Mega Project เมืองย่าโม จ. นครราชสีมา    Mega Project ที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยในนครราชสีมา มีทั้งหมด 4 โครงการ รถไฟความเร็วสูง ไทย – จีน (G) รัฐบาลไทยตกลงให้รัฐบาลจีนเข้ามา มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน และจีน เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน สนับสนุนให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์  ทางหลวงพิเศษ บางปะอิน-นครราชสีมา (G+P) แนวเส้นทางโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา มีระยะทางรวมประมาณ 196 กิโลเมตร โดยออกแบบให้มีการควบคุมการเข้าออกอย่างสมบูรณ์ เริ่มต้นเชื่อมต่อกับถนนวงแหวนรอบนอกบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา และไปสิ้นสุดที่บริเวณทางเลี่ยงเมืองจังหวัดนครราชสีมาด้านตะวันตก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา หมายเหตุ: มีให้เอกชนลงนามร่วมลงทุน ที่พักริมทาง วงเงิน 1,606 ล้านบาท  ดำเนินงานและบำรุงรักษา วงเงิน 7,965 ล้านบาท ALLS MEGA KHAO YAI (P) โครงการพัฒนาแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองไทย ที่ตอบโจทย์ผู้ร่วมลงทุน และผู้เข้าใช้บริการ แบบไร้พรมแดน ตั้งอยู่ในเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีออลเมก้าทาวเวอร์ หอคอยดอกบัว ศูนย์รวมเทคโนโลยีและจุดชมวิวเพิ่มความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว พระพุทธรูปสูง 100 เมตร, อุโมงค์สกายวอล์ค 6G, คอนโดมิเนียม, โรงแรม 6 ดาว และอื่นๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน และเศรษฐกิจใน จังหวัดนครราชสีมา มอเตอร์เวย์ นครราชสีมา – ขอนแก่น  (G) เป็นการก่อสร้างบนพื้นที่ใหม่ รูปแบบถนนระดับดิน ขนาด 4 ช่องจราจร แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา มหาสารคาม และขอนแก่น คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2567-2568 และเปิดบริการได้ในปี 2571 โดยประเมินว่าจะมีปริมาณการจราจรอยู่ที่ 41,801 คัน/วัน   อ้างอิงจาก: สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเจ้าของสังกัดหน่วยงานเจ้าของโครงการ เว็บไซต์บริษัท   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #MegaProject #เมกะโปรเจค #โคราช #นครราชสีมา

พามาเบิ่ง Mega Project ขอนแก่น

พามาเบิ่ง Mega Project ขอนแก่น    Mega Project ที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยในขอนแก่น มีทั้งหมด 5 โครงการ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเดินทางทั่วประเทศไทยโดยเน้น โครงข่ายถนน รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าระดับภูมิภาค สนามบิน โดยมีด้านระบบขนส่ง ด้านสุขภาพ ด้านบริการ   รถไฟรางคู่สายใหม่ บ้านไผ่–มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม  เพื่อพัฒนาโครงข่ายรถไฟสายใหม่เชื่อมโยงเส้นทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ สปป. ลาว และจีนตอนใต้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง ลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์   สนามบินขอนแก่น  มีพื้นที่ใช้สอย 28,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้เป็น 2,000 คนต่อชั่วโมง/5 ล้านคน/ปี เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้แก่ผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ ท่าเรือบกขอนแก่น โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับพื้นที่พัฒนากระจายสินค้า เชื่อมการขนส่งแบบถ่ายลำ และทั้งทางบกและทางราง Medical hub มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ บริษัท คริสเตียนี และนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทก่อสร้าง และ บริษัทอรุณชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ส จำกัด ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ขยายบริการทางการแพทย์ สร้างงานวิจัย และนวัตกรรมทางการแพทย์ ขอนแก่นอินโนเวชั่นเซ็นเตอร์ กลุ่มน้ำตาลมิตรผล เจรจากับกลุ่มโฆษะ ซื้อที่ดินพร้อมอาคาร จัดตั้งเป็น ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนานวัตกรรมการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพในอีสาน   อ้างอิงจาก: สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเจ้าของสังกัดหน่วยงานเจ้าของโครงการ เว็บไซต์บริษัท   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #MegaProject #เมกะโปรเจค #ขอนแก่น

Mega Project ภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ?

Mega Project ภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ?     ผลประโยชน์ที่จะได้รับจาก Mega Project  ด้านการขนส่ง – ลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ ลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ – ช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง  – เดินทางสะดวกมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยว – กระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดน  – รองรับการขนส่งสินค้าแบบระบบราง อุตสาหกรรม – รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม ให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการต่ำลง – ฐานการผลิตของ SMEs – สร้างงานให้คนท้องถิ่นในภาคอีสานมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องอพยพไปทำงานที่อื่น  – ดึงดูดการลงทุนเข้ามาในภูมิภาค ด้านพลังงาน เพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการในจังหวัดและภูมิภาคที่สูงขึ้น อีกทั้งที่เขื่อนสิรินธร Nature Walkway  เป็นแหล่งท่องเที่ยวล่าสุดของเขื่อนสิรินธร ด้านสุขภาพ คนที่มาใช้บริการโรงพยาบาล มีผู้ดูแลหรือญาติใช้บริการการเข้าพักของที่พักและจับจ่ายใช้สอยในจังหวัด ด้านบริการ เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว การจัดกิจกรรม รวมถึงมีโรงแรมใหม่ และจุดชมวิวแลนด์มาร์คใหม่ของจังหวัดเพิ่มความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัด   หมายเหตุ: Mega project ที่มีงบประมาณ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อ้างอิงจาก: สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเจ้าของสังกัดหน่วยงานเจ้าของโครงการ เว็บไซต์บริษัท   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #MegaProject #เมกะโปรเจค

ม.มหิดล พัฒนา “ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ”    สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นมและถั่วเหลือง

ม.มหิดล พัฒนา “ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ”    สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นมและถั่วเหลือง   “ข้าวทุ่งกุลาร้องไห้” บนที่ราบสูง 2 ล้านไร่ในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดทางภาคอีสาน ได้แก่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ศรีสะเกษ และยโสธร จากที่เคยแห้งแล้งมีแต่ดินปนทรายปัจจุบันได้รับการพลิกฟื้นสู่แผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ กลายเป็นแหล่งเพาะปลูก “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” ที่ได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก   โดย มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้ทุ่มเททำวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างเครือข่ายการผลิตและการตลาด “ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นมและถั่วเหลือง” จนสามารถทำให้ “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ระยะเขียว” ส่วนเหลือทิ้ง สร้างรายได้อย่างยั่งยืนแก่เกษตรกรในชุมชน   ซึ่งวงจรของข้าวว่าสามารถนำมาพัฒนาเป็นอาหารสุขภาพ นับตั้งแต่ที่ข้าวเริ่มออกรวง 10 วัน โดยการทำเป็น “ข้าวเม่า” ที่หอมนุ่มนิ่ม รวมทั้ง “น้ำนมข้าว” ที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ หลังจากนั้นอีกประมาณ 20 – 30 วัน จะเป็นระยะของข้าว”ระยะเขียว” ที่แม้ยังอ่อนแต่มีร้อยละต้นข้าวที่สามารถนำมาหุงบริโภค ซึ่งข้าวระยะเขียวอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ แกมมาออไรซานอล สารพฤกษเคมี มีสัดส่วนโปรตีนและใยอาหารสูงขณะที่คาร์โบไฮเดรตต่ำ แต่มักกลายเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากโรงสีข้าว   จากการนำส่วนเหลือทิ้ง “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลารัองไห้” ที่เป็นข้าวกล้องอินทรีย์ ทั้งข้าวระยะเขียว ข้าวหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมมะลิแดง มันเทศ และมันม่วง ทำให้ได้ “ผลิตภัณฑ์ขนมหวานอัดเม็ด” “ส่วนผสมผง” และ “เครื่องดื่มผง” ที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ใยอาหาร และมีกรดอะมิโน (Amino Acid) หรือโมเลกุลของโปรตีนที่จำเป็นครบถ้วน   โดยมีสูตรน้ำตาลและไขมันน้อยเพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้มีอาการแพ้นมวัว และถั่วเหลือง ตลอดจนนักมังสวิรัติแบบวีแกน (Vegan) หรือผู้เลือกรับประทานอาหารจากพืช 100% แม้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ทยอยขึ้นทะเบียนจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเภทลูกอมและขนมหวาน แต่ผู้บริโภคจะมั่นใจได้ถึงส่วนผสมของน้ำตาลซึ่งไม่ได้มาจากน้ำตาลสังเคราะห์ ซึ่งมีความปลอดภัย และจะไม่ทำให้ระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในกระแสเลือด ซึ่งดีต่อผู้ที่เสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง   จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่พบไม่ได้จากลูกอมและขนมหวานโดยทั่วไป คือ ผู้บริโภคจะได้รับใยอาหารที่สูงมากถึง 5,000 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้ใช้เทคโนโลยีการลดปริมาณความชื้นในกระบวนการผลิต และใช้บรรจุภัณฑ์อลูมิเนียม ที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นหืน คงคุณภาพและมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานถึงกว่า 1 ปีโดยไม่ต้องใช้สารเคมีร่วมด้วย ซึ่งในขั้นตอนการผลิตในส่วนของ “การทำแห้งผงข้าว” ที่ผ่านมาทำได้ยาก ต้องสูญเสียเวลา และต้นทุนสูง โดยผู้วิจัยได้ช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้า ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยี “การย่อยด้วยเอนไซม์บางส่วน” ก่อนนำไปทำแห้งด้วยเทคโนโลยี spray dry ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร นับเป็นตัวอย่างของการใช้องค์ความรู้ในการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพ เพื่อสุขภาวะ และยกระดับทางเศรษฐกิจของคนไทย พร้อมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนจนสามารถพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน    อ้างอิงจาก: …

ม.มหิดล พัฒนา “ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ”    สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นมและถั่วเหลือง อ่านเพิ่มเติม »

มะเร็งปอดในแต่ละจังหวัด ภาคอีสาน หลายปานใด๋ ? 

มะเร็งปอดในแต่ละจังหวัด ภาคอีสาน หลายปานใด๋ ?    โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลกพบว่าในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จํานวน 18.1 ล้านคน โรคมะเร็งที่พบมากใน 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากถึง 9.6 ล้านคนอีกด้วย   ในบรรดาผู้ป่วยใหม่จํานวน 18.1 ล้านราย พบผู้ป่วยเป็นมะเร็งปอดมากถึง 2.1 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดจำนวน 1.8 ล้านคน นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่าโรคมะเร็งปอดถือเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย ซึ่งพบมากเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย และอันดับ 5 ในเพศหญิง ในประชากร 100,000 คน ผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงถึง 23 คน ส่วนผู้หญิง ประมาณ 10 คน ต่อ 100,000 คน   แต่ละปีจะมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 17,222 คน เป็นเพศชาย 10,766 คน และเพศหญิง 6,456 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 14,586 คน หรือคิดเป็น 40 คนต่อวัน   ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคมะเร็งปอดคือการสูบบุหรี่หรือการได้รับควันบุหรี่มือสองและการสัมผัสสารก่อมะเร็ง อาทิ ก๊าซเรดอน แร่ใยหิน รังสี ควันธูป ควันจากท่อไอเสีย และมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 เป็นต้น   การสูบบุหรี่ โดยพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดมากถึง 10 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับควันจากการสูบบุหรี่ จากการสูดดมเข้าไปโดยที่ตนเองไม่ได้สูบนั้นก็อาจจะทำให้มีสารพิษตกค้างและก่อให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน   การอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองพิษ โดยจากการศึกษาพบว่าฝุ่น PM 2.5 ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้มากถึง 1 – 1.4 เท่า ถือว่าเป็นสารก่อมะเร็งที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเพียง 2.5 ไมครอนที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของ DNA จนกลายเป็นมะเร็งปอดได้ด้วยเช่นกัน   * ข้อมูลในภาพเป็นข้อมูลผู้ป่วยที่ใช้สิทธิระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) และเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคหลักเป็นมะเร็งปอดเท่านั้น   อ้างอิงจาก: Agenda  The Active – thaipbs สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข   …

มะเร็งปอดในแต่ละจังหวัด ภาคอีสาน หลายปานใด๋ ?  อ่านเพิ่มเติม »

ทำไมฝุ่นถึงหลายคัก  ฝุ่น PM 2.5 มาแต่ไส ? 

ทำไมฝุ่นถึงหลายคัก  ฝุ่น PM 2.5 มาแต่ไส ?    เมื่อช่วงต้นปี 2562 ประเทศไทยเกิดปรากฎการณ์ฝุ่นปกคลุมอย่างหนาแน่น เป็นครั้งแรกที่เรื่องฝุ่น PM2.5 เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมาหาคำตอบว่าคืออะไร ?    ฝุ่น PM2.5 หรือชื่อเต็มคือ Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron เป็นฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เป็น 1 ใน 8 ตัววัดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ซึ่งความร้ายแรงจากฝุ่นนี้ สามารถผ่านการกรองของขนจมูกเข้าสู่ชั้นในสุดของปอดได้ แม้จะไม่เป็นอันตรายแบบเฉียบพลัน แต่เมื่อสะสมเป็นเวลาหลายปีก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคทางทางเดินหายใจได้   อ้างอิงจาก: สำนักงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ กองการต่างประเทศ กลุ่มเฝ้าระวัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #PM2.5 #ฝุ่นPM2.5 #ไมครอน

พามาเบิ่ง พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย ปี 2565

พามาเบิ่ง พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย ปี 2565   ปี 2565 เป็นปีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังคงมีอยู่ ในช่วงที่มีการสำรวจคือ เมษายน –  กรกฎาคม มาตรการป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 มีการผ่อนคลายลง วันที่ 1 พฤษภาคม ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้มีการปรับพื้นที่โควิด-19 ลง กิจการ-กิจกรรมต่าง ๆ สามารถเปิดได้เกือบปกติทั้งหมด   การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในปี 2565 ได้มีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนเจนเนอเรชัน ภูมิภาคตามโครงสร้างประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เพื่อให้การสำรวจสามารถดำเนินการเก็บกลุ่มตัวอย่างครบตามสัดส่วน เริ่มกระจายแบบสอบถามในเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2565 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม รวมทั้งสิ้น 46,348 ราย   อ้างอิงจาก: สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อินเทอร์เน็ต #ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต #internet

พามาเบิ่ง ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิต ปี 2565

พามาเบิ่ง ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิต ปี 2565   สมาคมประกันชีวิต ประเมินปี 66 ประกันโรคร้ายและประกันสุขภาพมาแรง หลังคนไทยใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ได้สังคมสูงวัยหนุน โดยผู้สูงอายุภาคอีสาน 3,994,888 คน นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย หรือ TLAA กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมประกันชีวิตไทยในปี 66 ประเมินว่าสถานการณ์จะทรงตัว โดยคาดว่าจะมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 612,500-623,500 ล้านบาท อัตราการเติบโตอยู่ที่ระหว่าง 0-2% ส่วนอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์อยู่ที่ 81-82% โดยมีปัจจัยหนุนจากการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 2.3-2.7%   สำหรับปัจจัยหนุนสำคัญในปี 66 นี้ คือสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ ประชาชนตระหนัก และมีความเข้าใจต่อการประกันมากขึ้นตั้งแต่ช่วงโควิดที่ผ่านมา ทำให้แบบประกันสุขภาพเติบโตถึง 14% ในปี 65   นอกจากนี้ เทคโนโลยีก็มีส่วนทำให้การเข้าถึงประกันชีวิตง่ายและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น การพัฒนาองค์ความรู้ความเข้าใจ และมาตรการเฝ้าระวังภัยต่างๆ ให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นส่วนสำคัญให้เบี้ยประกันภัยรวมต่อ GDP กลับมาที่ 3.8% เหมือนก่อนช่วงโควิดได้เช่นกัน ส่วนทิศทางผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตนั้น ภาคธุรกิจมองว่า ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่จะได้รับความนิยมและมีศักยภาพในการเติบโตสูง คือ ผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง เนื่องจากมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และมีการบริการหลังการขายที่ครบวงจร (ทั้งระบบ Online และ Offline)   อย่างไรก็ตาม ธุรกิจประกันชีวิตยังคงต้องติดตามสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย (Yield Curve) แต่ที่ผ่านมาภาคธุรกิจได้เตรียมความพร้อมในการปรับพอร์ต ทั้งในส่วนของการลงทุนและ Product mix รวมถึงทิศทางกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทประกันชีวิต ที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์อย่างทันท่วงที รวมทั้งการปฏิบัติตามมาตฐานกฎหมายสากล เช่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน TFRS กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย   ทั้งนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยจึงมีแผนดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อปัจจัยท้าทายรอบด้าน เช่น การส่งเสริมให้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตรูปแบบใหม่ ผลักดันกระบวนการให้ความเห็นชอบผลิตภัณฑ์แบบอัตโนมัติ รวมถึงการผ่อนคลายการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมอีกด้วย   อ้างอิงจาก: สมาคมประกันชีวิตไทย https://www.tlaa.org/page_bx.php?cid=23&cname=&cno=1419  https://www.thairath.co.th/business/market/2640718    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #สมาคมประกันชีวิตไทย #ประกันชีวิตประกัน #โรคร้ายแรง #ประกันสุขภาพ

Scroll to Top