Infographic

5 เขื่อนใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน

พามาเบิ่ง 5 เขื่อนใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน . . อ้างอิงจาก :  กรมชลประทาน . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เขื่อนอีสาน #ขอนแก่น #กาฬสินธุ์ #อุบลราชธานี #สกลนคร #นครราชสีมา

พาซอมเบิ่ง ธุรกิจด้านการผลิตผลิตภัณฑ์โครงสร้างอาคารเหล็กสำเร็จรูป ระดับร้อยล้านในภาคอีสาน

บริษัท เค.ซี.เมททอลชีท จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านการผลิต จำหน่ายและบริการ ผลิตภัณฑ์โครงสร้างอาคารเหล็กสำเร็จรูป (Steel Building Solution) ตลอดจนอุปกรณ์ติดตั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า พร้อมสร้างความประทับใจ และมีส่วนร่วมกับความสำเร็จของลูกค้า ด้วยการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง จากประสบการณ์ 10 ปีที่ผ่านมาตอนนี้ทาง รถถัง กฌมีสินค้า และ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย หลายรายการ หลังคาเหล็กเคลือบ เมทัลชีท อุปกรณ์ และ ให้บริการติดตั้ง ภาตใต้เครื่องหมายการค้า ตรา รถถัง และ คอมมานโด ผู้ประกอบธุรกิจเมททอลชีทรายใหญ่ในภาคอีสาน บริษัทประกอบธุรกิจข้ึนรูปแผ่นเหล็กตามรูปแบบและขนาดตามความต้องการของลูกค้า สำหรับใช้เป็นแผ่นหลังคาและผนังเหล็ก รวมทั้งขึ้นรูปชิ้นงานเหล็กกล้าสำเร็จรูปสำหรับงาน โครงสร้างหลังคาและผนัง และให้บริการงานออกแบบและติดตั้งงานโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปสำหรับอาคารสิ่งปลูกสร้างแบบครบวงจรและงานติดตั้งแผ่นหลังคาและผนังเหล็ก โดยสามารถแบ่งลักษณะกลุ่มผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสังกะสีและอลูมิเนียม และกลุ่มผลิตภัณฑ์โครงสร้างเหล็กกล้าสำเร็จรูป นอกจากนั้นบริษัทยัง มีการขยายการให้บริการไปยังงานออกแบบและรับติดตั้งงานโครงสร้างเหล็กสำหรับอาคารสิ่งปลูกสร้างให้แก่ลูกค้า และได้เริ่มลงทุนธุรกิจก่อสร้างอาคารสาเร็จรูปเพื่อให้เช่าพื้นท่ีในจังหวัดเชียงใหม่ โดยในการทำธุรกิจของบริษัท ฯ นั้นต้องมีการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในอนาคต ซึ่งต้องทําการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุน โดยพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจ พร้อมสํารวจพฤติกรรมและความต้องการสินค้าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ก่อนการทำธุรกิจ อ้างอิงจาก: https://www.set.or.th/…/product/stock/quote/KCM/price https://kcmetalsheet.co.th/%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b5…/ https://s.isanook.com/…/b85284ab645abb24468ce098c7a09b3… #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจด้านการผลิตผลิตภัณฑ์โครงสร้างอาคารเหล็กสำเร็จรูป #ขอนแก่น #ธุรกิจผลิตเหล็ก #เหล็ก #รถถัง #KCM

ภาพรวมปัจจัย การผลิตเกษตรอีสาน ในครึ่งปีแรก เป็นจั่งใด๋ ?

พามาเบิ่ง ภาพรวมปัจจัย การผลิตเกษตรอีสาน ในครึ่งปีแรก เป็นจั่งใด๋ ?   ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงสร้างการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในครึ่งแรกของปี 2565 ได้แก่ สาขาพืช ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 67.5 ของผลิตภัณฑ์ภาค ภาคเกษตร หรือ GRP ภาคเกษตร รองลงมา คือ สาขาปศุสัตว์ 20.1% สาขาบริการทางการเกษตร 8.7% สาขาประมง 3.2%  และสาขาป่าไม้ 0.5%.   สถานการณ์เศรษฐกิจไทยโดยรวมปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวได้ รวมทั้ง มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ต่อเนื่อง ช่วยสนับสนุนให้มีการเดินทางท่องเที่ยว และการบริโภคสินค้ามากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น     โดยมีปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร ได้แก่ สภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ต่อการทำการเกษตรและปริมาณฝนที่มีมากขึ้น ทำให้คาดว่าจะมีปริมาณนํ้าเพียงพอสำหรับ การเพาะปลูกและประสบปัญหาภัยแล้งลดลง การดำเนินนโยบายด้านการเกษตรที่ต่อเนื่อง ของภาครัฐ   อ้างอิงจาก :  ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การเกษตร #เกษตรอีสาน #ปริมาณน้ำฝนอีสาน #ปริมาณอ่างเก็บน้ำ

พามาเบิ่ง ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน เดือนกันยายน 2565

แม้ในปีนี้จะมีสัญญาณที่ดีจากการสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 แต่สถานการณ์เศรษฐกิจก็ยังมีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น บวกกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ครัวเรือนไทยต้องผจญปัจจัยเสี่ยงทางศรษฐกิจ ซึ่งยิ่งมีความเสี่ยง ก็ยิ่งต้องมีการวางแผนให้รอบคอบในเรื่องค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ดังนั้น การวางแผนใช้จ่ายครัวเรือนไทยปี 2565 และ 2566 จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะทิศทางราคาสินค้าหลายรายการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งในโครงสร้างการใช้จ่ายรายเดือนของครัวเรือนไทยยังมีค่าใช้จ่ายบางส่วนที่แอบแฝงอยู่ที่อาจต้องอยู่ในรายการที่ต้องตัดทิ้ง เช่น ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ ค่าอาหารบริโภคนอกบ้าน (ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง เป็นต้น แม้การตัดค่าใช้จ่ายรายเดือนจะเป็นเรื่องง่ายในทางการคำนวน แต่ในทางปฎิบัติถือว่ายากมากเพราะค่าใช้จ่ายเกือบทุกรายการล้วนแต่มีความจำเป็น ทั้งเพื่อการดำรงชีวิตอยู่และเพื่อการอยู่อย่างรื่นรมณ์ ขณะที่การหารายได้เพิ่มก็เป็นอีกความท้าทายในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ การวางแผนเพื่อการดำรงชีพในปีใหม่ที่จะมาถึงนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน อ้างอิงจาก: https://www.price.moc.go.th/…/fileu…/file_cpi/Cpi_tg.pdf #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ค่าใช้จ่ายครัวเรือน

ชวนเบิ่ง เงินเฟ้อภาคอีสาน เดือนกันยายนเป็นจั่งใด๋ ? เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า 6.23% (YoY)

สถานการณ์ “เงินเฟ้อ” ประจำเดือน กันยายน 2565 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข้อมูลการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อถึง 6.41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ก.ย. 64) ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนกันยายน 2565 เท่ากับ 107.70 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนนี้อยู่ที่ 6.41% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ภาคที่ขยายตัวสูงสุด คือ ภาคเหนือ อยู่ที่ 6.80% รองลงมาเป็น กรุงเทพฯและปริมณฑล 6.54% ในส่วนภาคกลาง 6.26% และภาคใต้ 6.26% มีอัตราเงินเฟ้อที่เท่ากัน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ 6.23% เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ ขิง มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารเหนียว ค่าส่งพัสดุ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ เครื่องปรับอากาศและเครื่องซักผ้า เป็นต้น เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 3.12 เฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.- ก.ย.) ปี 2565 เงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้นร้อยละ 6.17 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 2.26 (AoA) อัตราการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคอีสานที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น 1. กลุ่มอาหารสดและพลังงาน สูงขึ้น 12.10% โดยเฉพาะพลังงานสูงขึ้นถึง 16.22% ได้แก่ ก๊าซหุงต้ม จากการปรับขึ้นราคาแบบขั้นบันได สำหรับค่ากระแสไฟฟ้า แม้จะมีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในเดือนนี้ แต่ภาครัฐได้มีมาตรการช่วยเหลือสำหรับ ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย ซึ่งสามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนได้ส่วนหนึ่ง 2. หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 9.17% โดยเฉพาะข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นถึง 25.12% เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบจากภาวะ น้ำท่วมขัง อีกทั้งยังมีความต้องการในการบริโภคเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ 3. หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้น 6.31% โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 15.9% ปรับสูงขึ้นตามทิศทางตามสถานการณ์พลังงานโลก แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า ตามต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ในประเทศ ที่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบและอาหารโลกที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับฐานราคาที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน …

ชวนเบิ่ง เงินเฟ้อภาคอีสาน เดือนกันยายนเป็นจั่งใด๋ ? เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า 6.23% (YoY) อ่านเพิ่มเติม »

หนึ่งปีที่ผ่านมา อีสานเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากแค่ไหน ? 

หนึ่งปีที่ผ่านมา อีสานเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากแค่ไหน ?    ข้อมูลปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม 2564 – สิงหาคม 2565) ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่เผชิญกับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนนย่างหนัก   การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกทั่วประเทศ มีจํานวนทั้งสิ้น 52,540 ครั้ง หรือเฉลี่ยเดือนละ 4,776 ครั้ง มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 19.95 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2564   มีเพียงเดือนสิงหาคม 2565 ที่จํานวนอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.80 และจํานวนรถที่เกิดอุบัติเหตุฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.98 ทั้งนี้คาดว่าเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลายลงและภาครัฐได้ยกเลิกมาตรการการควบคุมฯ ทําให้ประชาชนมีการเดินทางกลับเข้าสู่ภาวะปกติส่งผลให้จํานวนครั้งและจํานวนรถที่เกิดอุบัติเหตุฯ เพิ่มขึ้น   ผู้เสียชีวิตมีทั้งสิ้น 4,919 ราย หรือเฉลี่ยเดือนละ 447 ราย ลดลงร้อยละ 13.14 เมื่อ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2564 (5,663 ราย) โดยจังหวัดนครราชสีมามีผู้เสียชีวิตมากที่สุด 249 ราย (ร้อยละ 5.06)   อ้างอิงจาก : กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อุบัติเหตุบนท้องถนน #จราจร

พามาเบิ่ง ธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ ระดับพันล้านในภาคอีสาน

บริษัทมีผลการดำเนินงานปี 2564 เติบโตกว่าปี 2563 ที่มีรายได้รวม 4,1288 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 504 ล้านบาท เป็นไปตามอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งนี้ บริษัทยังมีรายได้จากการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เข้ามาเพิ่มเติม โดยมีการวางเป้าหมายมีสัดส่วนรายได้มากกว่า 30% ของรายได้รวม ซึ่งที่ผ่านมา PCSGH ก็ได้มีการทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (ปี 63-67) ผ่านมาแล้ว 1 ปี เหลืออีก 4 ปี ในปีนี้บริษัทจะยังคงมุ่งเน้นการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นหลัก เนื่องด้วยปัจจุบันยังมีความต้องการมากอยู่จนกว่าจะเปลี่ยนแปลงไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยวางเป้าหมายจะมีสัดส่วนรายได้จากการผลิตชิ้นส่วน EV เพิ่มเป็น 52% ในปี 2568 ส่วนที่เหลือจะเป็นรายได้จากชิ้นส่วนรถยนต์ที่ไม่ใช่ EV เนื่องจากเทรนด์ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังมา บริษัทฯ ก็ได้เริ่มทำธุรกิจของรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ซึ่งด้วยความสามารถของ PCSGH ก็ถือว่ามีความพร้อมในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าในหลายส่วน เช่น การลดน้ำหนักของตัวรถ โดยเปลี่ยนวัสดุหนักจากเหล็กให้กลายเป็นวัสดุเบาอลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งบริษัทฯ สามารถขยับไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าได้ และเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง ก็เล็งเห็นว่าสินค้าของบริษัทฯ ในกลุ่มที่ไม่ใช่บิ๊กอัพ, ยานยนต์, เครื่องยนต์ และอื่นๆ ก็ยังคงให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง บริษัทยังมีแผนลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อรองรับโปรเจ็คต์ EV ที่น่าจะเริ่มผลิตได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า คาดว่าจะสามารถอนุมัติงบลงทุนได้ในช่วงกลางปีนี้ ขณะที่งบลงทุนอื่นๆ ในปีนี้วางงบไว้ราว 200 ล้านบาทเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบ Smart Factory ในเรื่องของดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น อ้างอิงจาก: https://www.set.or.th/…/financial…/company-highlights https://www.pcsgh.com/th/about/business_overview https://www.moneyclub.asia/pcsgh-%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0…/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ #ธุรกิจพันล้าน #นครราชสีมา

พาซอมเบิ่ง เส้นทางธุรกิจคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ระดับหลายร้อยล้านในภาคอีสาน

น้ำมันถือเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ “คลังน้ำมัน” ก็จัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการกระจายน้ำมันให้ครอบคลุม​ ​PTC หรือ บมจ. พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น ทำธุรกิจ “คลังน้ำมันอิสระ” ที่ทันสมัยที่สุดในภาคอีสาน และเป็นคลังน้ำมันอิสระรายแรกในตลาดหุ้นไทย รองรับเทรนด์ Infrastructure Sharing ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมการกระจายน้ำมันทั่วพื้นที่ภาคอีสานตอนบนและตอนล่าง ผ่านคลังที่ขอนแก่นและศรีสะเกษ ​โดยปัจจุบัน PTC มีรายได้สม่ำเสมอจากผู้เช่าที่เป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ และสามารถสร้างอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยสูงกว่า 40% ต่อปี​ วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพามาเบิ่งเส้นทางของ PTC ว่ามีความเป็นมาอย่างไร? บริษัท พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการคลังรับ เก็บ และจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ด้วยวิสัยทัศน์ และประสบการณ์ของครอบครัวบูรพพัฒนพงศ์ (ผู้ก่อตั้ง) ซึ่งอยู่ในธุรกิจให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงมานานกว่า 20 ปี โดยเริ่มเปิดให้บริการคลังน้ำมันแห่งแรกที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ในปี 2557 ภายใต้ชื่อคลังน้ำมัน PTC ขอนแก่น ด้วยกำลังการจ่ายน้ำมันสูงสุด 3.2 ล้านลิตร เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยมี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้ามาเป็นผู้ใช้บริการในปีเดียวกัน โดยมีสัญญาให้บริการระยะยาว ในปี 2558 บริษัทฯ ได้ลงทุนเพิ่มกำลังการจ่าย และรับน้ำมันเพิ่มอีกอย่างละ 2 ช่องจ่าย โดยทำให้มีกำลังการจ่ายน้ำมันสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 4.2 ล้านลิตรต่อวัน ทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังทำการติดตั้งระบบป้องกันการรับน้ำมันผิดผลิตภัณฑ์ (Product Unload Contaminated Protection) ซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันการผิดพลาดทำให้เกิดความเสียหายกับคุณภาพน้ำมันที่บริษัทฯได้พัฒนาขึ้นมาเอง ในปี 2559 บริษัทฯ ได้ลงทุนก่อสร้างคลังน้ำมันแห่งที่สอง ที่ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในการกระจายน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และเป็นคลังน้ำมันตั้งอยู่บนทำเลที่สามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟได้ทำให้สามารถลดต้นทุนในการขนส่งได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังออกแบบคลังน้ำมันแห่งนี้ให้เป็นระบบ In-Line Blending ทำให้มีความยืดหยุ่นในการปรับสูตรผลิตภัณฑ์และสามารถลดต้นทุนในการขนส่งวัตถุดิบได้มาก ในปี 2561 บริษัทฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นและโครงสร้างต่างๆของบริษัทฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในปี 2562 บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2015, มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001 : 2018, มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO …

พาซอมเบิ่ง เส้นทางธุรกิจคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ระดับหลายร้อยล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจการเกษตร ด้านปศุสัตว์ เป็นจั่งใด๋ในครึ่งปีแรก ?

พามาเบิ่ง  เศรษฐกิจการเกษตร   ด้านปศุสัตว์ เป็นจั่งใด๋ในครึ่งปีแรก ?   ภาพรวมมีการขยายตัวอยู่ที่ ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ดี ผู้เลี้ยงกระบือ ไข่ไก่ โคเนื้อ และสุกร มีการปรับระบบการเลี้ยงเข้าสู่ระบบมาตรฐานฟาร์มและการเฝ้าระวังควบคุมโรคระบาดสัตว์เป็นอย่างดี ประกอบกับ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ให้ความช่วยเหลือดูแล ให้คำปรึกษาแนะนำอย่างทั่วถึงทำให้ระบบการผลิตปศุสัตว์มีประสิทธิภาพมากขึ้น   แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจสาขาปศุสัตว์ ในปี 2565  คาดว่า จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0-1.2 เมื่อเทียบกับ ปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณการผลิตสินค้าปศุสัตว์ โดยรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกร มีการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการบริโภค ของตลาดในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรให้ความสำคัญกับการพัฒนา ระบบการเลี้ยง มีการดูแลเอาใจใส่ บริหารจัด การฟาร์มที่ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีการควบคุมเฝ้าระวังโรคระบาด อย่างต่อเนื่อง   อ้างอิงจาก :  ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การเกษตร #เกษตรอีสาน #ปศุสัตว์ 

ชวนเบิ่ง NER โรงงานผลิตยางพารา หมื่นล้านในภาคอีสาน

รู้หรือไม่ว่าแหล่งผลิตยางพาราคุณภาพของประเทศไทยนั้น นอกจากพื้นที่ภาคใต้ และภาคตะวันออกแล้ว ยังมีอีกพื้นที่หนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูกยางพารา และสามารถผลิตน้ำยางที่มีคุณภาพไม่แพ้ที่อื่น ๆ นั่นคือ พื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งกินพื้นที่กว่า 4 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี วันนี้ ISAN Insight & Outlook จะพาไปดู NER ทำธุรกิจอะไรบ้าง และเติบโตมาไกลแค่ไหน ? จุดเริ่มต้น NER ก่อตั้งโดย คุณชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ เดิมทีครอบครัวคุณชูวิทย์ประกอบอาชีพทำลานมันเส้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จนเมื่อปี พ.ศ. 2527 คุณพ่อของคุณชูวิทย์ได้ริเริ่มการปลูกยางพาราในพื้นที่อีสานใต้ ทำให้เกษตรกรในภาคอีสาน เริ่มสนใจและหันมาปลูกยางพาราเพื่อสร้างรายได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นก็คือ ที่ภาคอีสานนั้น “ไม่มีสถานที่รับซื้อยางพารา” คุณชูวิทย์และเกษตรกรคนอื่น ๆ ต้องนำผลผลิตยางพาราที่ได้มาไปขายที่จังหวัดระยอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและโดนกดราคา แต่ปัญหาดังกล่าวก็ได้ทำให้คุณชูวิทย์เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจ โดยเขาได้ตัดสินใจตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราขึ้นมาชื่อว่า “นอร์ทอีส รับเบอร์” หรือ NER ในปี พ.ศ. 2549 โดยเริ่มจากการรับซื้อยางจากเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงและนำมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันขายให้กับคู่ค้าทั่วประเทศ แต่ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้น บริษัทได้เจอวิกฤติครั้งใหญ่ จากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยที่ไม่สต็อกของไว้ในมือ เมื่อราคาของยางพาราวิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทไม่มีเงินพอไปซื้อของมาขายตามที่สัญญาไว้ได้ ตอนนั้นคุณชูวิทย์มีทางเลือกอยู่สองทาง หนึ่งคือ การไม่ทำตามสัญญาแล้วออกจากธุรกิจนี้ไป สองคือ การไปเจรจากับคู่ค้าโดยตรง คุณชูวิทย์ตัดสินใจบินไปหาคู่ค้าที่สิงคโปร์ด้วยตัวเองและชี้แจงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยขอผ่อนชำระหนี้ในระยะยาวกับคู่ค้าแทน ซึ่งคู่ค้าก็เห็นด้วย เนื่องจากเป็นการแจ้งล่วงหน้า 3 เดือน ทำให้มีเวลาในการปรับตัว และยังสามารถเป็นคู่ค้ากันต่อไปได้ ผลจากวิกฤติครั้งนี้ทำให้บริษัทเรียนรู้ข้อผิดพลาด และเปลี่ยนวิธีทำธุรกิจโดยการไม่ยุ่งกับตลาดซื้อขายล่วงหน้าอีก แต่ใช้วิธี “Matching” คือ ซื้อเข้ามาแล้วขายออกเลย หรือรับออร์เดอร์ขายเข้ามาก่อน แล้วค่อยซื้อเข้ามาเก็บไว้ ทำให้บริษัทไม่ต้องรับความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของต้นทุนสินค้าอีกต่อไป จุดนี้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างรายได้สม่ำเสมอในระยะยาว แม้ว่าวัตถุดิบอย่างยางพาราจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ตัวหนึ่งที่มีวัฏจักรราคาหรือรอบของมันก็ตาม เมื่อบริษัทมีความมั่นคงและเป็นที่รู้จักมากขึ้น สามารถขยายโรงงานเพิ่มกำลังการผลิต และออกสินค้าตัวอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมา อย่างยางอัดแท่ง และยางผสม ซึ่งเป็นที่ต้องการของทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ หากพิจารณาผลประกอบการของ NER เป็นอย่างไรบ้างในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ? รายได้และกำไรของ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ปี 2561 รายได้ 10,074 ล้านบาท กำไร 487 ล้านบาท ปี 2562 รายได้ 13,021 ล้านบาท กำไร 539 ล้านบาท ปี 2563 รายได้ 16,365 ล้านบาท กำไร …

ชวนเบิ่ง NER โรงงานผลิตยางพารา หมื่นล้านในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top