ภาคอีสานตอนบน Mega Project มีอิหยังแหน่ ?
ภาคอีสานตอนบน Mega Project มีอิหยังแหน่ ? Mega Project ที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยในภาคอีสานตอนบน มีทั้งหมด 6 โครงการ ทางเลี่ยงเมืองหนองคาย (ตะวันออก) (G) สร้างเลี่ยงเมืองหนองคายด้านตะวันออก 2,893 ล้านบาท จำนวน 3 ตอน คืบหน้ากว่า 70% คาดแล้วเสร็จภายในปีนี้ ช่วยรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้น ลดแออัดในตัวเมือง หนุนพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนเชื่อมโยง สปป.ลาว ผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน อยู่ในแผนโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวง เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว อุดรธานี (G+P) ป็นความร่วมมือระหว่าง กนอ. กับ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด ภายใต้แนวคิดการเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวแห่งแรกของภาคอีสาน โดยใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการความยั่งยืน เน้นหลักการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความเจริญเติบโตให้กับคนไทยในภาคอีสาน อีกทั้งเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในภาคอีสาน ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ในการมีช่องทางการประกอบอาชีพในถิ่นเกิดโดยไม่ต้องอพยพไปทำงานที่อื่น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งนิคมฯแห่งนี้ จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนในภูมิภาค ที่ทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในพื้นที่ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ศูนย์การแพทย์สถาบันพระบรมราชชนก (G) ระยะที่ 1 เพื่อพัฒนาจังหวัดอุดรธานี ให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์นานาชาติที่มีมูลค่าสูง เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการดูแลสุขภาพระดับโลก ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพลิกโฉมจังหวัดอุดรธานี เป็นมหาอำนาจด้านสุขภาพของโลก (World Class Wellness Destination) ภายใต้การขับเคลื่อนและการบูรณาการความร่วมมืออย่างเป็นเอกภาพ ระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม (G+P) เพื่อสร้างโครงข่ายการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพัฒนาสถานีขนส่งสินค้ารองรับกิจกรรมการขนส่ง ทั้งการรวบรวมและกระจายสินค้า รวมถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) บนเส้นทางสาย R12 (ไทย-ลาว-เวียดนาม-จีนตอนใต้) ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 โดยจัดเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และยังรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้ากับระบบราง ผ่านแนวการพัฒนารถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หมายเหตุ: มีให้เอกชนลงนามร่วมลงทุน วงเงิน 1,307 ล้านบาท สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) (G) รัฐบาลไทยใช้งบประมาณลงทุน 2,630 ล้านบาท ส่วน สปป.ลาวใช้เงินกู้จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือเนด้า วงเงินลงทุน 1,300 ล้านบาท รวมเงินลงทุนก่อสร้าง ระยะทางรวม 16.18 กิโลเมตร แยกเป็นงานก่อสร้างฝั่งไทย 12 กิโลเมตร และฝั่งลาว 2.8 กิโลเมตร ยกระดับให้ จ.บึงกาฬ กลายเป็นศูนย์กลางด้านการค้า ในภูมิภาค …