Infographic

พา “วัยรุ่นฟันน้ำนม” ไปดู “เครื่องบิน” ที่ไหนดี?

กองทัพอากาศ ด้วยหน่วยขึ้นตรงกับกองทัพอากาศทั้ง 4 แห่งในอีสาน ได้แก่ กองบิน 1 ที่นครราชสีมา กองบิน 21 ที่อุบลราชธานี กองบิน 23 ที่อุดรธานี ฝูงบินในสังกัด 237 (น้ำพอง) เปิดบ้านต้อนรับเด็ก ๆ และวัยรุ่นฟันน้ำนม พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับอากาศยาน ทั้ง เครื่องบิน และเฮลิคอปเตอร์ รวมถึงการแสดงจากอากาศยาน หลากหลายรุ่นในพื้นที่ของกองทัพอากาศ ภายในวันเด็กนี้ วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2566 ที่มา กองทัพอากาศ ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#IsanEcon #วันเด็ก #วันเด็ก2567 #วันเด็ก2024#เครื่องบิน #เครื่องบินวันเด็ก

พามาเบิ่ง แบรนด์ของฝากขึ้นชื่อ “โคราช บ้านเอ๋ง”

พามาเบิ่ง แบรนด์ของฝากขึ้นชื่อ “โคราช บ้านเอ๋ง”   หากพูดถึงของกินของฝากของเมืองโคราช หลายคนคงจะนึกถึงสองแบรนด์เก่าแก่อย่าง “เจ้าสัว” และ “ปึงหงี่เชียง” แต่รู้ไหมว่า แม้สินค้าของทั้งคู่จะสามารถครองใจผู้บริโภคทั้งเก่าและใหม่มาได้ตลาดหลายปีที่ผ่านมา แต่พวกเขาก็ไม่หยุดพัฒนา โดยเฉพาะความท้าทายครั้งใหญ่หลังภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนส่งผลให้ธุรกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวจำนวนมากได้รับผลกระทบตามไปด้วย   ครั้งนี้เราชาว ISAN Insight & Outlook จึงอยากพาทุกคนไปดูว่าช่วงที่ผ่านมา “เจ้าสัว” และ “ปึงหงี่เชียง” มีวิธีรับมืออย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงนี้   เริ่มที่ “เจ้าสัว” ในปี 2563 หันมาปรับกลยุทธ์รองรับ จากเดิมที่เน้นเพิ่มสาขา เปลี่ยนมาเป็นบุกโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำต่าง ๆ ทำให้ยอดขายรวมของปีที่แล้วโตขึ้น 15% ยังไม่รวมไปถึงการลงทุนกับเครื่องจักรภายในโรงงานและระบบหลังบ้านเพื่อให้ทันยุคดิจิทัลในช่วงที่ผ่านมา จนสามารถสร้างรายได้รวมเกือบพันล้านบาทเป็นครั้งแรก ประกอบกับการที่ผู้คนมีไลฟ์สไตล์เร่งรีบ เเละคนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น แม้จะเป็นอาหารทานเล่นหรือของขบเคี้ยวอย่าง “เนื้อสัตว์แปรรูป” ซึ่งในไทยมีผู้เล่นไม่กี่ราย ปี 2564 จึงทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ปรับภาพลักษณ์ ไม่เป็นเเค่ร้านขายของฝากที่รอให้คนมาซื้อ เเต่พยายามเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ด้วยการบุกตลาดสแน็ก, Ready to eat และ Ready to cook meal อย่างเต็มตัว อีกทั้งใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นครั้งเเรกในรอบ 63 ปี  ปัจจุบัน เจ้าสัวมีจำนวน 100 กว่าสาขาทั่วประเทศ เเบ่งเป็นร้านค้าของตัวเอง (Stand Alone) ประมาณ 15 สาขา และแฟรนไชส์ประมาณ 90 สาขา กระจายอยู่ในปั๊มนำ้มัน ปตท. ส่วนการส่งออกไปต่างประเทศจะเน้นที่ตลาดเอเชียเป็นหลัก เช่น ฮ่องกง จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ฯลฯ   ต่อกันด้วย “ปึงหงี่เชียง” ที่ก็มีสินค้ากลุ่มของทานเล่นเช่นเดียวกับเจ้าสัว ปี 2564 นี้ ได้รับรางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากโครงการ “ต้นกล้า ทู โกล” ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถยืดอายุอาหารให้นานขึ้นได้ ยกตัวอย่าง “กุนเชียง” จากเดิมที่มีระยะเวลาขายอยู่ 3 เดือน เมื่อพัฒนาเป็น “กุนเชียงพร้อมทาน” ก็ช่วยยืดอายุสินค้าไปได้นานถึง 6 เดือน ซึ่งเหมาะกับการขยายช่องทางการตลาดไปสู่ห้างฯ หรือโมเดิร์นเทรดต่าง ๆ ในอนาคต รวมไปถึงการส่งออกต่างประเทศที่มากขึ้น   ปัจจุบัน ปึงหงี่เชียง มีแฟรนไชส์ที่อยู่ตามปั๊มน้ำมัน ปตท. 130 สาขาทั่วประเทศ และตามตลาดเป็นส่วนใหญ่ …

พามาเบิ่ง แบรนด์ของฝากขึ้นชื่อ “โคราช บ้านเอ๋ง” อ่านเพิ่มเติม »

เตรียมพร้อมต้อนรับวันเด็ก พาส่องเบิ่ง “เด็กน้อยอีสาน” (อายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์) มีมากแค่ไหน

ข้อมูลสะสมถึงเดือนพฤศจิกายน ปี 2566 ในภาคอีสานมีจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ทั้งหมด 3.3 ล้านคน โดยแบ่งเป็นเพศชาย 1.7 ล้านคน หรือคิดเป็น 51.5% และเพศหญิง 1.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 48.5% โดย 5 อันดับจังหวัดที่มีจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีมากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา มีจำนวน 390,176 คน อันดับที่ 2 อุบลราชธานี มีจำนวน 301,923 คน อันดับที่ 3 ขอนแก่น มีจำนวน 255,355 คน อันดับที่ 4 บุรีรัมย์ มีจำนวน 251,234 คน อันดับที่ 5 อุดรธานี มีจำนวน 237,526 คน ข้อสังเกต!! จังหวัดที่มีเด็กมากก็แปรผันตามจำนวนประชากรรวมทั้ง โคราช ขอนแก่น อุบลฯ แต่ อุบล กลับเป็นจังหวัดใหญ่ที่มีสัดส่วนประชากรเด็กมากกว่าอีก 2 จังหวัด และ บึงกาฬ มีสัดส่วนเด็กต่อประชากรสูงที่สุด ถึง 16.8% ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในอีสาน โดยมี มุกดาหาร อุบลฯ และ บุรีรัมย์ เป็นลำดับถัดมา ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนเด็กน้อยต่อประชากรน้อยที่สุด กลับเป็น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และโคราช ตามลำดับ โดยมีสัดส่วนเด็กต่อประชากรต่ำกว่า 15% ซึ่งจะส่งผลต่อโครงสร้างประชากร ซึ่งอาจสร้างผลกระทบหลายด้านต่อภาพเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต รวมทั้งยังเป็นความท้าทายของสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หากแบ่งเป็น Generations ก็จะพบว่า The Digital Native (Gen Z) มีอายุตั้งแต่ 12-14 ปี ในภาคอีสานจะมี 399,987 คน เป็น Gen ที่เติบโตในยุคอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย เสพติดความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี และยังมีความเป็นตัวเองสูงและมีความคิดริเริ่ม เรียกได้ว่าใช้สื่อออนไลน์เป็นหลัก 99% ดูทีวี 54% เลยทีเดียว สามารถใช้แพลตฟอร์มหลากหลาย เข้าถึงสื่อกลุ่มใหม่ๆ เปิดรับสื่อและแพลตฟอร์มใหม่ อีกทั้งยังซื้อของออนไลน์สูงสุด เล่นเกมออนไลน์สูงเป็นอันดับ 2 The AI Kids (Gen Alpha) จะมีอายุน้อยกว่า 12 ปี ซึ่งในภาคอีสานมีมากกว่า 2,899,670 คน …

เตรียมพร้อมต้อนรับวันเด็ก พาส่องเบิ่ง “เด็กน้อยอีสาน” (อายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์) มีมากแค่ไหน อ่านเพิ่มเติม »

เด็กเอย เด็กดี พาเที่ยวงานวันเด็กในอีสาน

เด็กเอย เด็กดีพาเที่ยวงานวันเด็กในอีสาน ขอนแก่น : ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC Khon Kaen https://maps.app.goo.gl/8WcJZcUJcQy65QncA TCDC ขอเชิญชวนทุกคน มาร่วมกันสร้างสรรค์คาแรกเตอร์ไทย ในกิจกรรม “อึกทึกคึกคักรักคาแรกเตอร์ไทย” สุดน่ารักที่มีมาให้เลือกมากถึง 10 ตัว พบกันวันเสาร์ ที่ 13 มกราคม 2567 ตั้งแต่เวลา 10.30 – 19.00 น. พิเศษ ! เวลา 13.30 – 14.30 น. พบมาสคอตน้อง RUBY พร้อมระบายสีไปกับน้องภัทร Pat-Art เจ้าของผลงานคาแรคเตอร์น้อง RUBY ร่วมกิจกรรมฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนขอรับอุปกรณ์ได้ที่โถงชั้น 1 TCDC ขอนแก่น ร้อยเอ็ด : ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด https://maps.app.goo.gl/pGjRycqTKfScMB1E7 ท้องฟ้าจำลอง เปิดให้ชมฟรี 12 รอบ รอบละ 30 นาที รอบแรกเริ่ม 09.00 น. ฟรีตลอดทั้งงาน อุดรธานี : กองบินที่ 23 https://maps.app.goo.gl/u9jYPkiJtiHQGJue9 การตั้งแสดงเครื่องบินรบแบบต่างๆ ของกองทัพอากาศ การป้องกันฐานบินภาคพื้น และป้องกันภัยทางอากาศ การบินของเครื่องบิน Alpha Jet, การแสดงสุนัขทหาร อุบลราชธานี : สวนสัตว์อุบลราชธานี https://maps.app.goo.gl/5NHubM383ksAs1ws8 พบกับเจ้าหญิงเจ้าชายในเทพนิยาย รับชมการแสดงความสามารถสัตว์ เพิ่มพิเศษเป็น 3 รอบ 10.00 น. / 13.00 น. / 15.00 น. เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี หรือ สูงไม่ถึง 135 ซม. กิจกรรมการให้อาหารเสือโคร่งอินโดจีน (Feeding Show) กิจกรรมป้อนอาหารเสือ-สิงโต (พุธ-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) กิจกรรมป้อนอาหารนกซันคอนัวร์ นครราชสีมา : กองบิน 1 https://maps.app.goo.gl/SH4TnwvPZqi3k4fj6 การจัดแสดงอากาศยาน และยุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศ การแสดง ฮ.EC 725 การแสดง F16 บินในรูปหมู่ 4 ลำ การแสดงสุนัขทหาร กาฬสินธุ์ : พิพิธภัณฑ์สิรินธร-Dinosaur museum https://maps.app.goo.gl/chy1UpNKf6m37dD1A ขอเชิญเด็กๆ ชวนคุณพ่อคุณแม่แต่งชุดแฟนตาซี #ในธีมซุปเปอร์ฮีโร่_หรือการ์ตูนที่ชื่นชอบ เที่ยวงานวันเด็ก …

เด็กเอย เด็กดี พาเที่ยวงานวันเด็กในอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง เจ้าสัว และ ชูวิทย์ฟาร์ม 2 บริษัทอีสาน เตรียม IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ ปี 67

บริษัท เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) พร้อมแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเตรียมออกขายหุ้นในปี 2567 บริษัท เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจ: ผลิตและจัดจำหน่ายขนมขบเคี้ยว และ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ จะเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 87,684,100 หุ้น คิดเป็นร้อยละไม่เกิน 29.2 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ มีแผนนำเงินที่ได้จากการระดมทุนส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิต ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจการ บริษัท ชูวิทย์ฟาร์ม (2019) ประกอบธุรกิจ: ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ จะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 149.00 ล้านหุ้น หรือไม่เกิน 25.69% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัท โดยวัตถุประสงค์หลักในการระดมทุน เพื่อก่อสร้างฟาร์ม ปรับปรุงโรงเรือน อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ นอกจากนี้ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ รองรับการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนของธุรกิจ อ้างอิงจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #การเงินอีสาน#เจ้าสัว #ชูวิทย์ฟาร์ม #IPO #ตลาดหลักทรัพย์ #SET#mai

ชวนมาฮู้จัก ชื่อเก่าแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน

1. จังหวัดกาฬสินธุ์ ชื่อเก่าคือ บ้านแก่งสำเริง 2. จังหวัดขอนแก่น ชื่อเก่าคือ เมืองขามแก่น 3. จังหวัดชัยภูมิ ชื่อเก่าคือ บ้านหลวง 4. จังหวัดนครพนม ชื่อเก่าคือ เมืองมรุกขนคร 5. จังหวัดนครราชสีมา ชื่อเก่าคือ เมืองโคราฆะ กับเมืองเสมา 6. จังหวัดบึงกาฬ ชื่อเก่าคือ อำเภอไชยบุรี 7. จังหวัดบุรีรัมย์ ชื่อเก่าคือ เมืองแปะ 8. จังหวัดมหาสารคาม ชื่อเก่าคือ บ้านลาดกุดยางใหญ่ 9. จังหวัดมุกดาหาร ชื่อเก่าคือ เมืองมุกดาหาร 10. จังหวัดยโสธร ชื่อเก่าคือ บ้านสิงห์ท่า 11. จังหวัดร้อยเอ็ด ชื่อเก่าคือ สาเกตนคร หรือ เมืองร้อยเอ็จประตู 12. จังหวัดเลย ชื่อเก่าคือ หมู่บ้านแฮ่ หรือ เมืองเลย 13. จังหวัดสกลนคร ชื่อเก่าคือ เมืองสกลทวาปี 14. จังหวัดสุรินทร์ ชื่อเก่าคือ เมืองประทายสมันต์ 15. จังหวัดศรีสะเกษ ชื่อเก่าคือ เมืองขุขันธ์ 16. จังหวัดหนองคาย ชื่อเก่าคือ บ้านไผ่ 17. จังหวัดหนองบัวลำภู ชื่อเก่าคือ เมืองกมุทธาสัย 18. จังหวัดอุดรธานี ชื่อเก่าคือ บ้านเดื่อหมากแข้ง 19. จังหวัดอุบลราชธานี ชื่อเก่าคือ ดอนมดแดง 20. จังหวัดอำนาจเจริญ ชื่อเก่าคือ เมืองค้อ อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ข้อมูลจังหวัด – อีสานร้อยแปด – GOTOLOEI.COM – ​​sanook.com ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #ISANCulture #Culture #บ้านเมืองอีสาน#ชื่อเก่าจังหวัดในอีสาน #จังหวัดในอีสาน #ชื่อเก่า ดูน้อยลง

พามาฮู้จักเครื่องปั้นดินเผาโบราณจากแดนอีสาน

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง – จังหวัดอุดรธานี แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่มีอายุกว่า 3,500 ปีที่สำคัญของประเทศไทย ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2509 เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการทั้งชาวไทยและต่างชาติ มีหลักฐานแสดงให้เห็นถึงการทำเกษตรกรรม การผลิตเซรามิก และเทคโนโลยีการทำเครื่องมือทองสัมฤทธิ์ อีกทั้งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกคือแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ซึ่งได้มีการค้นพบแหล่งโบแราณคดีรวมถึง “เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง” คุณสมบัติพิเศษ – เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่โดดเด่นในเรื่องลวดลาย ในสมัยเริ่มแรก ลวดลายที่ทำเกิดจากการใช้เชือกทาบหรือใช้วัสดุกดทับเพื่อทำให้เกิดลวดลายบนภาชนะ จนพัฒนามาถึงปัจจุบัน มีการตกแต่งสีสันมากขึ้น และนำมาวาดเป็นลวดลาย ที่ปรากฏจะเป็นรูปคน สัตว์ และลายก้นหอย ลายเรขาคณิต เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน – จังหวัดนครราชสีมา แต่เดิมพื้นที่บริเวณด่านเกวียนนั้นเป็นเมืองหน้าด่านที่เรียกว่า “ด่านกระโทก” ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าทางบกระหว่างนครราชสีมากับชายแดนกัมพูชา ด้วยความที่ในสมัยก่อนมีพ่อค้าเกวียนจำนวนมาก ชุมชนดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า “ด่านเกวียน” แต่ก่อนที่จะมีคนไทยอพยพเข้าไปตั้งรกรากบริเวณชุมชนด่านเกวียน พื้นที่ดังกล่าวเป็นถิ่นอาศัยของชาวข่า ซึ่งเป็นคนเชื้อสายมอญ ดังนั้น เมื่อมาอยู่รวมกันจึงเกิดการถ่ายทอดกรรมวิธีการทำเครื่องปั้นดินเผาขึ้น ต่อมาในช่วงปี 2485 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างรายได้จากสินค้าท้องถิ่น อันมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ได้แพร่เข้ามาในชุมชนด่านเกวียน จึงทำให้การผลิตมีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายมากยิ่งขึ้นจนชุมชนด่านเกวียนกลายเป็นแหล่งค้าเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงในวงกว้าง คุณสมบัติพิเศษ – ใช้ดินที่ขุดขึ้นจาก “กุด” ซึ่งเป็นบริเวณแนวกัดเซาะของริมฝั่งแม่น้ำ มีแร่ธาตุหล็กอยู่ในเนื้อดินจำนวนมาก เมื่อนำดินมาเผาในอุณหภูมิสูง พบว่าแร่เหล็กในเนื้อดินจะหลอมละลายแล้วมาเคลือบผิวทำให้เครื่องปั้นดินเผามีเอกลักษณ์พิเศษเป็นสีดำ สีน้ำตาลแดง หรือ สีสัมฤทธิ์ที่มีความมันวาว และคงทนต่อการนำมาใช้งาน เมื่อเคาะจะมีเสียงดังกังวาน อ้างอิงจาก: – กรมทรัพย์สินทางปัญญา, สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ#ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #เครื่องปั้นดินเผาโบราณ #เครื่องปั้นดินเผา #เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง#เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน

ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่าง 9 วัดสวยและศักดิ์สิทธิ์ ในภาคอีสาน

1. วัดป่าภูหายหลง – นครราชสีมา วัดถูกสร้างเมื่อปี 2482 เพื่อสร้างไว้สำหรับเป็นที่พักของพระสงฆ์ โดยเมื่อก่อนนั้นจะมีชื่อว่า วัดภูเขากอย แต่ต่อมาเมื่อปี 2542 พระอาจารย์ประพันธ์ อนาวิโล (ครูจารย์สุ่ม) ได้มีโอกาสมาพำนักที่วัดแห่งนี้ ซึ่งตอนนั้นมีแค่เพียงกุฏิ และศาลาหลังเล็กๆ เท่านั้น ไม่มีพระประจำวัดมานานแล้ว ชาวบ้านจึงได้อาราธนาพระอาจารย์ประพันธ์ให้เป็นหลักศาสนา และศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน พระอาจารย์จึงได้ตั้งชื่อวัดขึ้นมาใหม่เพื่อความเป็นสิริมงคลว่า วัดป่าภูหายหลง ที่มีความหมายว่า ดินแดนแห่งความหลุดพ้นจากความหลงทั้งปวง 2. วัดเขาวันชัยนวรัตน์ – นครราชสีมา เป็นวัดสาขาที่ 82 ของ วัดหนองป่าพง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งวัดขึ้นตั้งแต่ปี 2484 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี 2559 ความโดดเด่นของวัดแห่งนี้คือ อุโบสถ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเนินเขา สร้างเสร็จเมื่อปี 2549 เป็นอุโบสถลายไม้ แห่งเดียวของโลก สร้างด้วยหินทรายแปรรูปที่มีเส้นสายของชั้นตะกอนคล้ายกับลายไม้เนื้อแข็งสวยงาม และลักษณะของอาคารคล้ายกับบ้านไม้สมัยโบราณ 3. วัดถ้ำซับมืด – นครราชสีมา ถ้ำซับมืดถูกพบในปี 2478 โดยเริ่มแรกนั้นชาวบ้านได้บุกเบิกพื้นที่เพื่อทำการเกษตร ได้พบถ้ำที่มีความมืดครึ้มตลอดทั้งวัน มีน้ำซับ (น้ำผุด) จากแอ่งหิน จากนั้นในปี 2480 หลวงปู่สีลา อิสฺสโร ได้เดินทางธุดงค์มายังปากช่อง แล้วได้พบถ้ำซับมืด จึงหยุดพักปักกลดและบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้ กระทั่งปี 2498 พระครูญาณโศภิต (มี ญาณมุนี) ได้มาอยู่จำพรรษาอบรมชาวบ้าน และพัฒนาวัดเรื่อยมา 4. วัดพระธาตุเชิงชุม – สกลนคร เป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองสกลนครมาแต่โบราณ มีข้อสันนิษฐานว่าแต่เดิมพระธาตุเชิงชุมอาจเป็นปราสาทหินทรายศิลปะสมัยขอม เนื่องจากภายในกรอบประตูทางเข้าอุโมงค์ด้านขวามือ พบจารึกพระธาตุเชิงชุมอักษรขอมโบราณราวพุทธศตวรรษที่ 16 แต่องค์พระธาตุในปัจจุบันเป็นศิลปะล้านช้าง เนื่องด้วยอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างแผ่เข้ามาบริเวณภาคอีสานของไทยราวพุทธศตวรรษที่ 19 และได้มีการบูรณะองค์พระธาตุขึ้นมาใหม่ 5. วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว – อุบลราชธานี ท่านพระอาจารย์บุญมากเป็นผู้ริเริ่ม ท่านเป็นคนฝั่งลาวจำปาสัก ได้เข้ามาเผยแพร่อบรมสมาธิทางฝั่งไท และได้ปักกลดที่ภูพร้าวแห่งนี้ในปี 2497-2498 ต่อมาปี 2516 ท่านได้ขอบิณฑบาตพื้นที่ให้เป็นวัดจากทางหน่วยทหารและทางราชการ อ.พิบูลมังสาหาร ทางอำเภอจึงให้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดสิรินธรวราราม” หลังจากนั้นท่านพระอาจารย์บุญมากต้องกลับประเทศลาว ทิ้งให้วัดร้างหลายสิบปี จนกระทั่งปี 2542 พระครูกมล ลูกศิษย์ของท่านได้ค้นพบวัดอีกครั้งและบูรณะให้กลับมาเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมได้ดังเดิม หลังจากพระครูกมลละสังขารไปในปี 2549 พระครูปัญญาก็เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดและสานต่องานสร้างวัดต่อไป อย่างต้นกัลปพฤกษ์เรืองแสง 6. วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร – นครพนม พระธาตุพนม ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งภาคอีสาน พระบรมธาตุที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาของนครพนมมาแต่โบราณกาล สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธกาลประมาณ ปี 8 ในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรเจริญรุ่งเรือง ประดิษฐานอยู่บนภูกำพร้าตั้งตระหง่าน อยู่ริมฝั่งโขง เป็นสถานที่ครั้งหนึ่งพุทธองค์เคยเสด็จมาโปรดสัตว์น้อยใหญ่ ตามตํานานอุรังคธาตุกล่าวถึง พระมหากัสสปะและพระอรหันต์ 500 องค์ ได้นําพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาจากชมพูทวีปและท้าวพญาผู้ครองนครทั้ง …

ชวนมาเบิ่ง ตัวอย่าง 9 วัดสวยและศักดิ์สิทธิ์ ในภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่งรายได้ทุกๆ 100 บาท เจ้าของร้านอาหาร/คาเฟ่ในอีสาน ได้กำไรกี่บาท

8 ธุรกิจอาหาร สัดส่วนกำไรสูงสุด   1. หจก. รีแลกซ์ 4289 ขอนแก่น ตัวอย่างแบรนด์ในเครือ สวนอาหารรีแลกซ์ รายได้ 7.1 ล้านบาท กำไร 2.3 ล้านบาท รายได้ทุกๆ 100 บาท ได้กำไร 32 บาท 2. บริษัท ออร่า คาเฟ่ แอนด์ เรสเตอรองต์ จำกัด ขอนแก่น ตัวอย่างแบรนด์ในเครือ Aura Cafe and Restaurant Khon Kaen รายได้ 3.2 ล้านบาท กำไร 0.7 ล้านบาท รายได้ทุกๆ 100 บาท ได้กำไร 22 บาท 3. บริษัท โตไก โคราช อาหารและเครื่องดื่ม จำกัด นครราชสีมา ตัวอย่างแบรนด์ในเครือ Tohkai Japanese Restaurant รายได้ 5.0 ล้านบาท กำไร 0.7 ล้านบาท รายได้ทุกๆ 100 บาท ได้กำไร 14 บาท 4. บริษัท สตูดิโอบี กรุ๊ป จำกัด นครพนม ตัวอย่างแบรนด์ในเครือ 76A The Space รายได้ 12.0 ล้านบาท กำไร 1.6 ล้านบาท รายได้ทุกๆ 100 บาท ได้กำไร 13 บาท 5. บริษัท โชคชัย เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด นครราชสีมา ตัวอย่างแบรนด์ในเครือ โชคชัยสเต็กเฮ้าส์ รายได้ 150.6 ล้านบาท กำไร 13.8 ล้านบาท รายได้ทุกๆ 100 บาท ได้กำไร 9 บาท 6. บริษัท จังเกิ้ล จังเกิ้ล จำกัด นครราชสีมา ตัวอย่างแบรนด์ในเครือ Jungle Jungle Eat&Meet รายได้ 7.9 ล้านบาท กำไร 0.7 …

พาส่องเบิ่งรายได้ทุกๆ 100 บาท เจ้าของร้านอาหาร/คาเฟ่ในอีสาน ได้กำไรกี่บาท อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง จังหวัดไหน “ดื่มบ่อยสุด“ ในภาคอีสาน

จากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2564 ภาคอีสาน มีสัดส่วนนักดื่มมากถึง 32.3% ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากภาคเหนือ อีสานอินไซต์เลยจะพามาดูว่า ในสัดส่วนนักดื่มนี้ มีนักดื่มที่ดื่มเป็นประจำมากแค่ไหน? เมื่อไปดูก็พบว่า ภาคอีสานมีนักดื่มประจำมากถึง 38.6% ซึ่งมีสัดส่วนน้อยที่สุดในประเทศ โดยจังหวัดที่มีนักดื่มประจำมากที่สุดในภาคอีสาน คือ จังหวัดบุรีรัมย์ มีสัดส่วนมากถึง 65.8% (มีนักดื่มอยู่จำนวน 100 คน จะมีคนที่ชอบดื่มเป็นประจำไปแล้ว 65-66 คน) ส่วนจังหวัดที่มีนักดื่มประจำน้อยที่สุดในภาคอีสาน คือ จังหวัดอุบลราชธานี มีสัดส่วนเพียง 21.6% (มีนักดื่มอยู่จำนวน 100 คน จะมีคนที่ชอบดื่มเป็นประจำอยู่ 21-22 คน) หมายเหตุ: เป็นข้อมูลสัดส่วนของนักดื่มประจำ โดยวัดจากนักดื่มที่มีความถี่ทุกวัน (7วัน/สัปดาห์) ถึงทุกสัปดาห์ (1-2 วัน/สัปดาห์) หารด้วย นักดื่มปัจจุบัน (อายุ 15 ปีขึ้นไป) อ้างอิงจาก: – ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) – สำนักงานสถิติแห่งชาติ ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #นักดื่ม #สุราก้าวหน้า #เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

Scroll to Top