Infographic

สรุปเรื่อง น่ารู้ แดนอีสาน ทั้ง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม

🔎พาเปิดเบิ่ง 20 อันดับเส้นทางที่มีการใช้รถมากที่สุดอยู่ไหนบ้างในภาคอีสาน🚗🛣️

อันดับที่ 1 ถนนหมายเลข 2 เส้นนครราชสีมา – ดอนหวาย มีปริมาณการใช้รถ 137,258 คัน อันดับที่ 2 ถนนหมายเลข 204 ทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา มีปริมาณการใช้รถ 119,243 คัน อันดับที่ 3 ถนนหมายเลข 2 เส้นมวกเหล็ก – บ่อทอง มีปริมาณการใช้รถ 98,718 คัน อันดับที่ 4 ถนนหมายเลข 2 เส้นดอนหวาย – บ้านวัด มีปริมาณการใช้รถ 97,435 คัน อันดับที่ 5 ถนนหมายเลข 2 เส้นน้ำสวย – สะพานมิตรภาพที่หนองคาย(เขตแดนไทย/ลาว) มีปริมาณการใช้รถ 93,592 คัน อันดับที่ 6 ถนนหมายเลข 291 ทางเลี่ยงเมืองมหาสารคาม มีปริมาณการใช้รถ 93,592 คัน อันดับที่ 7 ถนนหมายเลข 2 เส้นโคกกรวด – นครราชสีมา มีปริมาณการใช้รถ 91,551 คัน อันดับที่ 8 ถนนหมายเลข 201 เส้นหนองบัวโคก – บ้านลี่ มีปริมาณการใช้รถ 91,475 คัน อันดับที่ 9 ถนนหมายเลข 12 เส้นร่องแซง – หนองแก มีปริมาณการใช้รถ 84,919 คัน อันดับที่ 10 ถนนหมายเลข 224 เส้นพะโค – หนองสนวน มีปริมาณการใช้รถ 84,261 คัน อันดับที่ 11 ถนนหมายเลข 2050 เส้นอุบลราชธานี – ตระการพืชผล มีปริมาณการใช้รถ 82,993 คัน อันดับที่ 12 ถนนหมายเลข 304 เส้นดอนขวาง – โพธิ์กลาง มีปริมาณการใช้รถ 80,359 คัน อันดับที่ 13 ถนนหมายเลข 23 เส้นหนองจิก – ห้วยแอ่ง มีปริมาณการใช้รถ 74,949 คัน อันดับที่ 14 ถนนหมายเลข 22 …

🔎พาเปิดเบิ่ง 20 อันดับเส้นทางที่มีการใช้รถมากที่สุดอยู่ไหนบ้างในภาคอีสาน🚗🛣️ อ่านเพิ่มเติม »

ติดลบต่อเนื่อง!! บ้านสร้างใหม่ในอีสาน จังหวัดส่วนใหญ่ยังหดตัว ตลอดปี 67

  หมายเหตุ: บ้าน ในที่นี้นับรวมเฉพาะ บ้าน, บ้านแฝด, บ้านแถว, ทาวน์เฮาส์ และทาวน์โฮม   สถานการณ์การสร้างบ้านใหม่ในภาคอีสานหดตัวหนักแบบ YoY . จากข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างบ้านใหม่ในภาคอีสาน พบว่ามีการลดลงของตัวเลขแบบปีต่อปี (YoY) ในหลายจังหวัดอย่างชัดเจน ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม และต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับเดือนพฤศจิกายน ปี 2567 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปี 2566 หลายจังหวัดในภาคอีสานมีสถิติการสร้างบ้านใหม่ที่ลดลงอย่างมาก โดยบางจังหวัดมีการลดลงสูงถึง 31% เช่น จังหวัดบุรีรัมย์ ขณะที่จังหวัดที่มียอดการสร้างบ้านเพิ่มขึ้น เช่น สุรินทร์ +166% . ภาพรวมของการลดลงในภาคอีสานในหลายจังหวัด เช่น ขอนแก่น -28%, นครราชสีมา -20%, และอุดรธานี -1% การหดตัวของสถิติการสร้างบ้านใหม่สะท้อนถึงการชะลอตัวในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ ข้อมูลบ่งชี้ว่าปัจจัยหลายประการอาจส่งผลต่อสถานการณ์ดังกล่าว เช่น   1.กำลังซื้อที่ลดลงของประชาชน ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค ส่งผลต่อรายได้และกำลังซื้อของประชาชน โดยเฉพาะในภาคอีสานที่เน้นเกษตรกรรม และราคาสินค้าเกษตรช่วงนี้ก็ไม่แน่นอน ซ้ำยังมีหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงราว 90% ซึ่งบ่งบอกถึงภาคประชาชนนั้นมีปัจจัยอยู่มาก 2.อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวในระดับประเทศส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคอีสาน นักลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์มีความระมัดระวังมากขึ้นในการพัฒนาโครงการใหม่ 3.การย้ายถิ่นฐานของคนรุ่นใหม่ จากชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เกิดจากหลายปัจจัย เช่น โอกาสในการทำงานที่หลากหลายและรายได้ที่สูงกว่า รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า เช่น การเข้าถึงบริการสุขภาพ การศึกษา และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และแนวโน้มของคนรุ่นใหม่นิยมเช่าอยู่มากขึ้น . ข้อมูลที่น่าสนใจของปี 2567 และปีอื่นๆ พบว่าสถิติการสร้าบ้านใหม่มี High Season ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งมีตัวเลขสูงกว่าช่วงเดือนอื่นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ในเดือนมกราคม จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวนการสร้างบ้านใหม่สูงสุดที่ 1,188 หลัง แต่ในเดือนพฤศจิกายนเหลือเพียง 932 หลัง (-21% จากเดือนมกราคม) หรือจังหวัดขอนแก่น เริ่มต้นที่ 752 หลังในเดือนมกราคม และลดลงเหลือ 638 หลังในเดือนพฤศจิกายน -15%   ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น ปัจจัยทางฤดูกาลที่สภาพอากาศในช่วงต้นปีมักจะเป็นฤดูแล้ง ทำให้การก่อสร้างดำเนินไปได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการและประชาชนเริ่มต้นแผนการลงทุนหลังจากสิ้นปีที่ผ่านมา รวมถึงโปรโมชั่นทางการเงินจากธนาคารที่มักมีในช่วงต้นปีเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจสร้างบ้านใหม่ อย่างไรก็ตามเราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าตัวเลขการบ้านใหม่ของภาคอีสาน ลดลงจากหลายที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด ด้วยปัจจัยที่ได้กล่าวไปข้างต้น . โดยสรุปการลดลงของสถิติการสร้างบ้านใหม่ในภาคอีสานเป็นภาพสะท้อนของปัญหาเศรษฐกิจและโครงสร้างในระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ด้วยมาตรการที่เหมาะสมและการสนับสนุนที่ตรงจุด การฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอีสานยังคงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในอนาคต สู้ต่อไปพี่น้อง! . ที่มา: กรการปกครอง, ธนาคารแห่งประเทศไทย ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight …

ติดลบต่อเนื่อง!! บ้านสร้างใหม่ในอีสาน จังหวัดส่วนใหญ่ยังหดตัว ตลอดปี 67 อ่านเพิ่มเติม »

เตรียมตัวเบิ่ง.. “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ฝนดาวแรกของปี 68 สถานที่ดูดาวในภาคอีสานอยู่ที่ไหนบ้าง

หลังเที่ยงคืนของวันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 02:00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าของวันเสาร์ที่ 4 มกราคม 2568 จะเกิดปรากฏการณ์    “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ศูนย์กลางการกระจายอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส (Hercules) กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Boötes) และกลุ่มดาวมังกร (Draco) เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปีนี้คาดมีอัตราการตกสูงสุด 80 ดวงต่อชั่วโมง และไร้แสงจันทร์รบกวน จึงเหมาะแก่การสังเกตการณ์ สามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ แนะนำชมในสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน   “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ตั้งตามกลุ่มดาวควอดแดรนส์ มูราลิส (Quadrans Muralis) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากลุ่มดาวเครื่องมือเดินเรือ ซึ่งเป็นกลุ่มดาวที่เคยมีในแผนที่ดาวในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 (ในปัจจุบันได้ถูกยกเลิกไปแล้ว) อยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ และกลุ่มดาวมังกร เชื่อกันว่า ฝนดาวตกนี้ถูกค้นพบครั้งแรกโดยแอนโตนิโอ บรูคาลาสซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อปี 1825 ซึ่งสังเกตเห็นอุกกาบาตที่เปล่งแสงออกมาจากท้องฟ้า   ฝนดาวตกควอดรานติดส์ มีสาเหตุจากเศษอนุภาคจากอุกกาบาต (ที่มาจากหิน) ขณะที่ดาวตกชนิดอื่น ๆ เกิดมาจากดาวหาง (ซึ่งประกอบด้วยน้ำแข็งและฝุ่น)     สถานที่ดูดาว ทั้ง 22 แห่ง ในภาคอีสาน ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย นับเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมในการสังเกตการณ์ฝนดาวตก เนื่องจากมีความพร้อมในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เช่น มีพื้นที่โล่งที่ไม่มีต้นไม้หรือวัตถุบดบังบริเวณขอบฟ้า มีการบริหารจัดการแสงสว่างที่ดี และมีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมาะกับการท่องเที่ยวทุกรูปแบบ   📍นครราชสีมา – ภูคำหอม รีสอร์ท – สวนไพลินชมดารา – มกุฏคีรีวัน เขาใหญ่ – อุ่นฟ้าอิงดาวแคมป์ปิ้ง – อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ – ไร่เขาน้อยสุวณา – ไร่องุ่นไวน์กราน-มอนเต้ – หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา – โรงแรมเรนทรี เขาใหญ่ – ไร่องุ่นไวน์ อัลซิดินี่ – โรงแรม เดอะเปียโน รีสอร์ท เขาใหญ่   📍ชัยภูมิ – อุทยานแห่งชาติไทรทอง – อุทยานแห่งชาติตาดโตน – อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม – เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว – อุทยานแห่งชาติภูแลนคา   📍ขอนแก่น – หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น – อุทยานแห่งชาติภูเวียง – สวนสัตว์ขอนแก่น   📍อุบลราชธานี – …

เตรียมตัวเบิ่ง.. “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ฝนดาวแรกของปี 68 สถานที่ดูดาวในภาคอีสานอยู่ที่ไหนบ้าง อ่านเพิ่มเติม »

พาเลาะเบิ่ง คนอีสานมัก “ดื่มในงานเทศกาล” มากแค่ไหน

จากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2564 ภาคอีสาน มีสัดส่วนนักดื่มมากถึง 32.3% ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากภาคเหนือ และมีสัดส่วนของนักดื่มประจำ อยู่ที่ 38.6% ซึ่งมีสัดส่วนน้อยที่สุดในประเทศ เมื่อไปดูก็พบว่า ภาคอีสานมีนักดื่มที่ดื่มในงานประเพณี/คอนเสิร์ต/งานเลี้ยงมากถึง 70.0% ซึ่งมีสัดส่วนมากเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ   ภาคอีสานโดยทั่วไปมีวัฒนธรรมการดื่มที่ผูกพันกับวิถีชีวิตและสังคมมาอย่างยาวนาน การดื่มมักเป็นส่วนหนึ่งของการพบปะสังสรรค์ งานบุญ งานเทศกาล และกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลให้คนในพื้นที่คุ้นเคยและยอมรับการดื่มมากกว่าพื้นที่อื่นๆ ทำไมคนถึงชอบดื่มในงานสังสรรค์มากกว่าดื่มอยู่บ้าน? “บรรยากาศ” เพราะวงสังสรรค์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานในการดื่มกินได้อย่างไม่น่าเชื่อ   จากการสำรวจในปี 2016 เพื่อค้นหาคำตอบว่าเราสนุกกับการดื่มมากแค่ไหน โดยรวบรวมข้อมูลจากแอปพลิชันชื่อ ‘Mappiness’ ที่ให้คะแนนความสนุกจาก 1-100 คะแนน พบว่าการดื่มเชื่อมโยงกับความสนุก 10.79 คะแนน หมายความว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลต่อความสนุกของคนจริงๆ ซึ่งนอกเหนือจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ปัจจัยแวดล้อมและกิจกรรมอื่นๆ ก็ยังส่งผลเช่นกัน   การที่คนเรา “รู้สึกดี” ท่ามกลางบรรยากาศสังสรรค์ในวงเหล้า ไม่ใช่แค่เรื่องของการเข้าสังคมเพื่อพบปะเพื่อนฝูงเท่านั้น งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยพอร์ทสมัธ (University of Portsmouth) ประเทศอังกฤษ ระบุว่า ระดับ “ความดัง” ของบรรยากาศทำให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ “หวาน” ขึ้นด้วย โดยเฉพาะเมื่อเปิดดนตรีขับกล่อมเป็นพื้นหลัง นอกจากนี้มันยังส่งผลต่อปริมาณการดื่มและอัตราความเร็วในการดื่มของผู้คนด้วย พูดง่ายๆ คือยิ่งเสียงดัง คนก็ยิ่งดื่มเยอะ แถมยังดื่มเร็วขึ้น   ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้าในปี 2008 ของมหาวิทยาลัย เด เบรทาเน ซาด (Université de Bretagne-Sud) ในฝรั่งเศส ซึ่งทดสอบระดับความดังในบาร์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของนักดื่ม พบว่า เมื่อเปิดเพลงเสียงดังในระดับ 88 เดซิเบล ทำให้ผู้ดื่มจะสั่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นและสั่งถี่ขึ้นตามความดังของบรรยากาศรอบตัว   มนุษย์เราอาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชื่นชอบเครื่องดื่มมึนเมา ซึ่งบรรยากาศสังสรรค์ ผู้คนที่กำลังสรวลเสเฮฮา บวกกับเสียงดนตรีที่เปิดคลอเคล้าภายในงานสังสรรค์ต่างๆ ก็ล้วนเป็น “ตัวกระตุ้นชั้นดี” ที่ทำให้อยากดื่ม แถมยังสนุกกับการดื่มมากขึ้นไปอีก นั่นจึงเป็นคำตอบว่า ทำไมหลายคนถึงโหยหาบรรยากาศการดื่มสุราในงานสังสรรค์มากกว่าการนั่งดื่มที่บ้านนั่นเอง     อ้างอิงจาก:  – BrandThink – ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) – สำนักงานสถิติแห่งชาติ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #นักดื่ม #สุราก้าวหน้า #เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ #นักดื่มหนัก #ดื่มหนัก

พามาเบิ่ง ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามกำลังแซงหน้าประเทศไทย?

ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามกำลังแซงหน้าประเทศไทย! สถานการณ์การส่งออกข้าวทั่วโลกในปี 5 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่ารวมเฉลี่ยสูงถึง 9 แสนล้านบาท สำหรับประเทศผู้ส่งออกทั้งหมด เมื่อเทียบกับปี 2019 สะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์ที่ผู้คนต้องการบริโภคข้าวมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ก็มีการแข่งขันเพื่อขยายตลาดส่งออกข้าวให้ครอบคลุมทั่วโลก . โดย ไทย และ เวียดนาม ถือเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 และ 3 ของโลกเป็นรองอินเดีย โดยในปี 2020-2021 จะพบว่าเวียดนามมีการส่งออกแซงไทย . . สาเหตุที่เวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้นทุนแรงงาน: เวียดนามมีต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่าไทย ทำให้สามารถผลิตข้าวในราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น เทคโนโลยีการเกษตร: รัฐบาลเวียดนามสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ในระดับที่สูงกว่าไทย (เฉลี่ยประมาณ 970 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ไทยประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่) ความยืดหยุ่นในการทำการค้า: เวียดนามมีความสามารถในการเจรจาข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ ซึ่งช่วยลดอุปสรรคทางภาษีและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การขยายตลาดใหม่: เวียดนามเน้นการขยายตลาดส่งออกข้าวไปยังประเทศในแอฟริกา, จีน, และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีความต้องการข้าวราคาประหยัดและข้าวที่มีคุณภาพหลากหลาย   ความต่างของการส่งออกข้าวระหว่างไทยกับเวียดนาม เวียดนามส่งออกข้าวเกรดรองในปริมาณมาก ซึ่งมีราคาที่ต่ำกว่าและเป็นที่ต้องการของตลาดประเทศกำลังพัฒนา เช่น แอฟริกาและเอเชียใต้ ในขณะที่ไทยมุ่งเน้นการส่งออกข้าวหอมมะลิและข้าวเกรดพรีเมียมที่มีราคาสูง ทำให้เสียส่วนแบ่งตลาดข้าวทั่วไปให้กับเวียดนาม   ปี ไทย(ล้านตัน) เวียดนาม(ล้านตัน) 2019 7.6 6.4 2020 5.7 6.2 2021 6.1 6.2 2022 7.7 7.1 2023 8.7 8.1 จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2563-2566 ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปี 2566 เวียดนามสามารถส่งออกข้าวได้มากกว่าไทย . แม้ไทยจะถูกหลายชาติแซงหน้าด้วยกำลังการผลิตที่สูงกว่า อีกทั้งปัญหาของการส่งออกข้าวไทย สาเหตุสำคัญคือ ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง ค่าเงินบาทแข็ง พันธุ์ข้าวไทยไม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค สร้างผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยมูลค่านับหมื่นล้านบาท . ขณะที่ตลาดสำคัญของข้าวหอมมะลิยังคงนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เช่น สหรัฐฯ แคนาดา ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คาดว่า หลังจากนี้ตลาดจะกลับเข้าสู่ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงอีกครั้ง เนื่องจากอินเดียได้ยกเลิกมาตรการจำกัดการส่งออก ทั้งการยกเลิกภาษีส่งออกและการกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำ ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกของอินเดียสามารถส่งออกได้โดยไม่มีข้อจำกัด ประกอบกับอินเดียยังมีอุปทานข้าวปริมาณมากและราคาค่อนข้างต่ำ . อีกทั้งการส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืน กลายเป็นนโยบายหลักที่แต่ละชาติให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของข้าวให้เป็นที่นิยมและครองส่วนแบ่งการตลาดให้ได้มากที่สุดแล้ว ยังได้ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ที่จะลดการสร้างมลภาวะจากเกษตรกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยไทยเล็งไปที่การพัฒนาคุณภาพและส่งออกข้าวเกรดพรีเมียมราคาสูงมากขึ้นนั้นเอง . ที่มา เว็ปไซต์: fftc.org,กระทรวงพาณิชย์,statista

ข้อมูลน่าฮู้ 🇹🇭อีสาน กับ 🇨🇳จีน

สิพามาเบิ่ง ข้อมูลน่าฮู้ของอิสาน กับ จีน   . ภาคอีสานของไทย และประเทศจีนแม้ว่าจะเปรียบเทียบกันได้ยากในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากขนาดของพื้นที่ จำนวนประชากร รวมถึงทรัพยากรที่ต่างกันมาก แต่ด้วยประวัติศาสตร์ การย้ายถิ่นฐานของประชากร และการค้าที่มีร่วมกันมาอย่างยาวนาน จึงทำให้ภาคอีสานส่วนหนึ่งก็ได้รับอิทธิพลมาจากจีนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงของอีสานยังคงต้องพึ่งพาจีนเป็นหลัก เนื่องจากการเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งนำมาสู่โอกาสมากมายที่นำมาซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ภาคอีสานรวมถึงประเทศไทยจำเป็นต้องมองเห็นความสำคัญ   . ➤ด้านเศรษฐกิจ ภาคอีสาน: เศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมมีรายได้จากการปลูกข้าว ข้าวโพด อ้อย และยางพารา มี GRP อยู่ที่ 1.76 ล้านล้านบาท โดยที่มีค่าแรงขั้นต่ำโดยเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2567 อยู่ที่ 343 บาทต่อวันและมีรายได้เฉลี่ยต่อประชากรอยู่ที่ 95,948 บาทต่อปี นอกจากนี้อิสานยังมีประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักคือ ลาว, จีน และเวียดนาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งสัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ของภาคอิสานที่ต้องการจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศในแถบ GMS นี้ โดยในปัจจุบัน การนำเข้าสินค้าฝั่งอีสานมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากจีนมากขึ้นเป็นอันดับที่ 1 แซงหน้าลาวที่เคยเป็นประเทศที่เรานำเข้าสินค้ามากที่สุดในครั้งอดีต ซึงเกิดขึ้นจากรถไฟลาวจีน ที่เป็นทางเชื่อมสำคัญในการลำเลียงสินค้าทั้งจากจีนมาไทย และจากไทยไปยังจีน   จีน : เป็นประเทศมหาอำนาจที่มีขนาดเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้ามากที่สุดในโลก โดยมีสินค้าสำคัญอย่าง อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงยานยนต์และส่วนประกอบ ที่เป็นสินค้าที่มูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของหลายประเทศทั่วโลก ทั้งนี้จีนยังคงมีปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ควรเฝ้าระวังหลายด้าน เช่น ผลกระทบจากนโยบายทางการค้า เงินฝืด และราคาที่พุ่งสูงของอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งรายได้เฉลี่ยต่อประชากรที่ไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าของ GDP เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ทำให้การกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ชนบทยังทำได้ไม่ทั่วถึงมากนัก    . ➤ด้านภูมิศาสตร์ ภาคอีสาน: ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีพื้นที่ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 20 จังหวัด ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีเทือกเขาภูพานและภูหลวงเป็นแนวแบ่งเขตทางทิศตะวันตก แม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล  จีน: เป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 – 4  ของโลก และมีพรมแดนติดกับประเทศอื่นๆมากถึง 14 ประเทศ ทำให้มีสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยมีแม่น้ำสายหลักอยู่ 2 เส้นคือแม่น้ำหวงและแม่น้ำแยงซี ปัญหาด้านภูมิศาสตร์ที่พบคือ ปัญหาการขยายตัวของทะเลทราย    . ➤ด้านประชากร ภาคอีสาน: มีประชากรประมาณ 21.7 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยลาว พูดภาษาไทยอีสาน จีน: มีประชากรมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ทำให้มีความหลากหลายของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่    . ➤ด้านวัฒนธรรม ภาคอีสาน: ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ขอม …

ข้อมูลน่าฮู้ 🇹🇭อีสาน กับ 🇨🇳จีน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง⭐ดาวรุ่ง ดาวร่วง ภาคอีสานปี 2024

ธุรกิจในภาคอีสานปี 2567 มีแนวโน้มทรงตัวแต่เริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกมากขึ้น จากจำนวนธุรกิจที่ปิดตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม อัตราการเกิดใหม่ของธุรกิจยังคงต่ำกว่าปีก่อนหน้า โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนการจดทะเบียนใหม่หรือการเลิกกิจการมากกว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ เนื่องจากการเริ่มต้นของธุรกิจขนาดเล็กทำได้ง่ายกว่า แต่ก็ทำให้การเลิกกิจการเกิดขึ้นได้ง่ายเช่นเดียวกัน   ดาวรุ่งในภาคอีสานปี 2024 การผลิตสิ่งทอ การผลิตสินค้าในกลุ่มสิ่งทอประเภทของใช้ภายในครัวเรือนนั้นได้รับปัจจัยบวกจาก งานฝีมือในการทำผ้าไทยที่สะท้อนเอกลักษณ์และคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างโดดเด่น ควบคู่ไปกับการยกระดับงานฝีมือให้ทันยุคสมัย การบริการด้านข้อมูลและเทคโนโลยี การขายสินค้าและเป็นตลาดกลางผ่านอินเทอร์เน็ตและแพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดียเติบโตขึ้น สะท้อนถึงเทรนด์พฤติกรรมการบริโภคที่คนคุ้นชินกับการซื้อของออนไลน์ ด้านการกีฬา ความบันเทิงและนันทนาการ กระแสการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายที่มาแรงในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนหันมาสนใจในการใส่ใจดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโตขึ้น นอกจากนี้การพักผ่อนหย่อนใจ และความบันเทิงในด้านต่างๆก็ยังได้รับผลดีตามไปด้วย การผลิตสื่อผ่านช่องทางออนไลน์ และโฆษณา ผู้คนหลายช่วงวัยหันมาให้ความสนใจในการดูสื่อบันเทิงผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยูทูบเบอร์และผู้ผลิตคอนเทนต์ในสื่อออนไลน์ กลายเป็นธุรกิจดาวรุ่งที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง แต่การแข่งขันก็สูงตามเช่นกัน การสร้างสรรค์ศิลปะและความบันเทิง งานเทศกาลที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภาคอีสาน ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจในกลุ่มการให้บันเทิงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ต หมอลำ หรือรถแห่ ทำให้ธุรกิจในกลุ่มนี้ได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง   ดาวร่วงในภาคอีสานปี 2024 การผลิตเครื่องจักรและเครื่องมือ การผลิตผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด สาเหตุของดาวร่วงในลำดับ 1 – 2 เนื่องจาก สินค้าในกลุ่มธุรกิจนี้ได้รับความท้าทายจากการนำเข้าของสินค้าจีนที่มีต้นทุนและราคาขายถูกกว่า ทำให้การแข่งขันของตลาดภายในประเทศนั้นสูงขึ้น อีกทั้งการส่งออกไปยังต่างประเทศในอนาคต เช่น สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกหลัก ได้รับผลกระทบจาก Trump 2.0 ที่จะทำให้การส่งออกเป็นไปได้ยากขึ้น การผลิตผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างได้รับผลกระทบจากในช่วงต้นปีที่ภาครัฐมีการเบิกจ่ายล่าช้า และเริ่มมีการเร่งเบิกจ่ายในช่วงสิ้นปี  สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มบ้านราคาสูงมีการเติบโตที่ชัดเจน ในขณะที่ตลาดอาคารชุดยังคงเหลือขายอยู่ในระดับสูง สถาบันกวดวิชา พฤติกรรมการเรียนพิเศษของนักเรียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากทางเลือกที่หลากหลายขึ้น โดยการซื้อคอร์สเรียนออนไลน์ และวิธีอื่นๆ ซึ่งทั้งสะดวกสบายและยืดหยุ่นกว่าการเดินทางไปเรียนที่สถานที่จริง กิจกรรมด้านคอมพิวเตอร์บางประเภท ตลาดการจัดทำเว็บเพจ หรือโปรแกรมต่างๆในภาคอีสานเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ปัจจุบันผู้คนสามารถทำเองได้ง่ายขึ้น ลดการจ้างทำ และในธุรกิจบางประเภทได้เปลี่ยนจากการทำเว็บเพจเป็นการทำเพจในโซเชียลมีเดียที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าแทน   ดาวที่น่าจับตามอง การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ และก่อให้เกิดการทะลักของสินค้าจีนราคาถูกเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันภายในประเทศที่รุนแรงยิ่งขึ้น คลังสินค้า และกิจกรรมสนับสนุนการขนส่ง ไปรษณีย์และการรับส่งเอกสาร/สิ่งของ สาเหตุที่ต้องระวังในลำดับที่ 2 – 3 เนื่องจาก การแข่งขันในธุรกิจโลจิสติกส์มีแนวโน้มสูงขึ้นจากการขยายตัวของผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อการพัฒนาเครือข่ายบริการที่ครอบคลุมการขนส่งแบบต่อเนื่องทุกประเภท นอกจากนี้ ธุรกิจยังเผชิญกับปัจจัยท้าทาย เช่น การเพิ่มขึ้นของต้นทุนขนส่ง และค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนเพื่อยกระดับประสิทธิภาพระบบขนส่ง ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลกดดันต่อความสามารถในการทำกำไร โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมักเผชิญข้อจำกัดในด้านเงินทุน ขอบเขตการให้บริการ ระบบการจัดการเทคโนโลยี และเครือข่ายพันธมิตร ส่งผลให้การแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น   หมายเหตุ: การวิเคราะห์ดาวรุ่ง ดาวร่วงของธุรกิจในภาคอีสาน คิดจากร้อยละการเปลี่ยนแปลงของจำนวนการจดทะเบียนใหม่ จำนวนการเลิกกิจการ และทุนจดทะเบียนโดยเปรียบเทียบภายในปีพ.ศ. 2567 กับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า รวมถึงวิเคราะห์ประกอบกับปัจจัยภายนอกที่สามารถส่งผลต่อธุรกิจในกลุ่มนั้นๆ   อ้างอิงจาก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจอีสาน ไตรมาส 4/2567 โดย ISAN Insight & Outlook, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, ศูนย์วิจัยกรุงศรี

สถิติสายดื่ม ในประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง

ฮู้บ่ว่า ประเทศลาวเป็นอันดับหนึ่ง ด้านปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยหนึ่งคนจะมีปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์อยู่ที่ 10.7 ลิตรต่อปี ประเทศ รวม  ผู้ชาย ผู้หญิง บริษัทเจ้าใหญ่ในตลาด ลาว 10.7 17.1 4.6 คาร์ลสเบิร์ก เอ/เอส (ส่วนแบ่งการตลาด 84%) เวียดนาม 8.7 14.1 3.5 ไฮเนเก้น เอ็นวี (ส่วนแบ่งการตลาด 42%) ไทย 8.3 13.4 3.5 ไทยเบฟเวอเรจ (ส่วนแบ่งการตลาด 45%) จีน 7.1 10.9 3 ไชน่ารีซอร์ส โฮลดิ้งส์ (ส่วนแบ่งการตลาด 22%) กัมพูชา 6.6 10.9 2.7 เขมรเบฟเวอเรจ (ส่วนแบ่งการตลาด 40%) เมียนมา 5.1 8.4 2 ไฮเนเก้น เอ็นวี (ส่วนแบ่งการตลาด 39%)    *หน่วยลิตร/ คน/ ปี . การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยผสมผสานอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ทำให้ในปัจจุบันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของพื้นที่นั้นๆ ที่ผ่านการพัฒนาและปรับปรุงไปตามยุคสมัย ซึ่งเอกลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทำให้ในปัจจุบัน เราได้พบเห็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีความหลากหลายและมีคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าในอดีต    แต่การบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปย่อมส่งผลเสียมากมาย ไม่ว่าจะด้านปัญหาสุขภาพ อัตราการเกิดอุบัติเหตุที่เพิ่มขึ้น รายจ่ายที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนคุณภาพชีวิตของคนในสังคมที่ลดลง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หากไม่มาตรการควบคุมที่ชัดเจนและครอบคลุมมากเพียงพอ   . วัฒนธรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  ในแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีวัฒนธรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากมีพรมแดนใกล้กัน มีสภาพภูมิศาสตร์และผลผลิตทางการเกษตรที่คล้ายกัน อีกทั้งยังมีวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และการค้าร่วมกันมาตั้งแต่อดีต ทำให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์พื้นเมืองของแต่ละประเทศในแถบนี้มีความคล้ายคลึงกัน โดยส่วนมากมักจะเป็น เครื่องดื่มที่ได้จากการหมักข้าว ซึ่งจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่และภาษาที่ใช้ แต่ความนิยมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งในปัจจุบันผู้คนในแถบนี้ก็ได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตกมากขึ้น ทำให้เริ่มหันมาบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์มากขึ้นแทนที่เครื่องดื่มพื้นเมืองที่ค่อยๆ ลดลงไป   . 🇱🇦ลาว  เป็นประเทศที่มีปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อคนใน 1 ปีมากที่สุดใน GMS โดยนิยมดื่มเบียร์มากที่สุด ตามมาด้วย เหล้าขาวและเหล้าสาโท ที่ได้จากการหมักข้าว และในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของลาวมีเจ้าใหญ่อยู่หนึ่งเจ้า ที่ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากถึง 84% ทำให้ลาวเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีแนวโน้มของการผูกขาดในตลาดสูงเป็นอันดับแรกใน GMS ด้วยเช่นกัน   . 🇹🇭ไทย  ประเทศไทยของเราเองก็มีปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อคนต่อปีสูงด้วยเช่นกัน โดยนับเป็นอันดับ 3 ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีเบียร์และเหล้ารัมเป็นอันดับต้นๆในด้านความนิยมจากคนไทย นอกจากนี้ไทยยังนิยมเครื่องดื่มพื้นเมืองอย่าง เหล้าที่ได้จากการหมักข้าวด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในภาคอีสานที่เป็นแหล่งเพาะปลูกหลักของประเทศ และในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยมีเจ้าใหญ่อยู่ด้วยกัน 2 เจ้าคือ ไทยเบฟเวอเรจและ บุญรอดบริวเวอรี่ ที่สองบริษัทนี้มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันสูงถึง 86%   …

สถิติสายดื่ม ในประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง อ่านเพิ่มเติม »

ไทยหนึ่งในสามประเทศขุมพลังการผลิต Casio ทั่วโลก

1 ใน 8 โรงงานผลิต Casio ทั่วโลกตั้งอยู่ที่โคราช หนึ่งในฐานการผลิตและส่งออกสินค้าที่สำคัญทั้งนาฬิกา เครื่องคิดเลข ย้อนกลับไปในปี 1946 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นาย Tadao Kashio (ทาดาโอะ คาชิโอะ) วิศวกรชาวญี่ปุ่น ได้ก่อตั้งบริษัท คาสิโอ คอมพิวเตอร์ จำกัด โดยเริ่มต้นจากการผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์คีบบุหรี่ที่ชื่อว่า Yubiwa Pipe ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุคนั้น เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับสภาวะความเครียดหลังสงคราม ผู้คนจำนวนมากจึงหันมาสูบบุหรี่เพื่อผ่อนคลาย ต่อมาในปี 1949 ทาดาโอะ คาชิโอะ ร่วมกับน้องชายของเขาได้คิดค้นและพัฒนา เครื่องคิดเลข จนกระทั่งในปี 1957 พวกเขาเปิดตัว Casio 14-A ซึ่งเป็นเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ที่มีฟังก์ชันหน่วยความจำเครื่องแรกของโลก ความสำเร็จนี้ทำให้ชื่อเสียงของ Casio แพร่หลายไปทั่วโลก ในปี 1974 ทาดาโอะ คาชิโอะ เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมนาฬิกาข้อมือ ซึ่งในขณะนั้นกำลังเผชิญกับวิกฤต Quartz Crisis หรือ วิกฤตนาฬิกากลไกแบบใส่ถ่าน ทาดาโอะจึงตัดสินใจบุกตลาดด้วยการเปิดตัว Casiotron นาฬิกาดิจิทัลระบบควอตซ์รุ่นแรกที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี LCI Quartz ของเครื่องคิดเลข จุดเด่นของ Casiotron คือการเป็นนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ที่มีราคาย่อมเยา และมาพร้อมฟังก์ชัน ปฏิทินอัตโนมัติแบบดิจิทัล ที่ไม่จำเป็นต้องรีเซ็ตปฏิทินอีกเลย ความสำเร็จครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ Casio กลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนาฬิกา และปูทางสู่การสร้างสรรค์นาฬิการุ่นใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้งานและเทคโนโลยีในอนาคต สินค้าภายใต้แบรนด์ Casio ได้รับการส่งมอบไปยังลูกค้าทั่วโลก โดยมีการขยายเครือข่ายไปยังหลากหลายประเทศ ฐานการผลิตหลักตั้งอยู่ในญี่ปุ่น จีน และไทย พร้อมด้วยการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงกระบวนการประกอบเสร็จสมบูรณ์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูง มีอายุการใช้งานยาวนาน และสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้ Casio ยังมีระบบจัดหาวัสดุและพันธมิตรทางธุรกิจที่ครอบคลุมหลากหลายประเทศ ส่งผลให้เกิดเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานในระดับโลก นอกจากนี้ Casio ยังถือครองสิทธิบัตรทางการค้ามากถึง 1,427 ฉบับใน 192 ประเทศ เพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ Casio ในปี 2566 สินค้าหลักของ Casio ที่วางจำหน่ายทั่วโลกสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มสำคัญ ได้แก่ ธุรกิจนาฬิกา คิดเป็นสัดส่วน 59.7% ของรายได้ทั้งหมด โดยสินค้าหลักคือ นาฬิกาที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านเทคโนโลยีล้ำสมัยและดีไซน์ที่ทันสมัย ธุรกิจเพื่อการศึกษา คิดเป็นสัดส่วน 22.7% ของรายได้ทั้งหมด สินค้าในกลุ่มนี้เน้นตอบโจทย์ด้านการศึกษา เช่น พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูง และเครื่องคิดเลขทางการเงิน ธุรกิจด้านเสียง คิดเป็นสัดส่วน 10.0% ของรายได้ทั้งหมด โดยสินค้าหลัก เช่น คีย์บอร์ดไฟฟ้า ซึ่งเป็นที่รู้จักและใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ธุรกิจอุปกรณ์ระบบ คิดเป็นสัดส่วน 5.6% …

ไทยหนึ่งในสามประเทศขุมพลังการผลิต Casio ทั่วโลก อ่านเพิ่มเติม »

🔎พาเปิดเบิ่ง “โรงสีข้าวแดนอีสาน” มูลค่ารวมกว่า 67,030 ล้านบาท กระจายอยู่ที่ไหนบ้าง

ในปี 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายได้รวมจากธุรกิจโรงสีข้าวมากกว่า 67,030 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 20% ของมูลค่ารายได้ของโรงสีข้าวทั้งหมดในประเทศ   5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้รวมมากที่สุด – ร้อยเอ็ด มีรายได้รวมกว่า 11,086 ล้านบาท – ศรีสะเกษ มีรายได้รวมกว่า 9,322 ล้านบาท – สุรินทร์ มีรายได้รวมกว่า 7,793 ล้านบาท – นครราชสีมา มีรายได้รวมกว่า 7,234 ล้านบาท – อุบลราชธานี มีรายได้รวมกว่า 5,913 ล้านบาท   จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า 3 จังหวัดแรกที่มีรายได้รวมมากที่สุดในภาคอีสาน อย่างร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และสุรินทร์ จะเป็นจังหวัดที่มีการปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทำให้มีวัตถุดิบในการผลิตข้าวจำนวนมาก ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นข้าวที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และข้าว GI ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2550 อีกด้วย   โรงสีข้าวในทั้ง 3 จังหวัดข้างบน ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิต ทำให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพสม่ำเสมอและปริมาณมาก อีกทั้งโรงสีหลายแห่งได้รับมาตรฐานสากล ทำให้สามารถส่งออกข้าวไปยังตลาดต่างประเทศได้     อ้างอิงจาก:  – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight   #ISANInsightandOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #ธุรกิจโรงสีข้าว #ธุรกิจโรงสีข้าวในอีสาน #โรงสีข้าว

Scroll to Top