ฮู้บ่ว่า จาก 108 พระพุทธรูปคู่เเผ่นดิน เเดนอีสานมีองค์พระปฎิมาเพียง 3 องค์
ฮู้บ่ว่า จาก 108 พระพุทธรูปคู่เเผ่นดิน เเดนอีสานมีองค์พระปฎิมาเพียง 3 องค์ . . พระพุทธรูปหรือพระปฏิมาเป็นสัญลักษณ์เเทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พุทธศาสนิกชนสักการะบูชาด้วยความระลึกถึงพระศาสดา พระพุทธปฏิมาทุกองค์แสดงให้เห็นถึงความ รุ่งเรื่องไพบูลย์ของพุทธศาสนาโดยประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอารามต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนอย่างแน่นแฟ้น ทั้งนำความเป็นสิริมงคลและอานุภาพแห่งพระพุทธปฏิมาปกแผ่คุ้มครองชาวไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา . จำนวน 108 เป็นตัวเลขมงคลในทางพระพุทธศาสนา ตามคัมภีร์ชิ้นาลังการฎีกาของลังการะบุว่าเป็นมงคลที่พราหมณได้เห็นจากฝ่าพระบาทของเจ้าชายสิทธัตฉะเมื่อประสูติได้ 5 วัน ดังปรากฏการจำหลักลวดลายมงคล 108 ประการที่ฝ่าพระบาทพระพุทธไสยาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามและมงคลในทางโหราศาสตร์ ซึ่งอ้างกำลังเทวดาอัฐเคราะห์ได้ 108 เช่นกัน . กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้เลือกสรรพระพุทธปฏิมามาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองจากทั่วประเทศจํานวน 108 องค์ ตามเลขมงคลในทางศาสนาพุทธ อันเป็นหลักฐานเเสดงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาที่ประดิษฐานอย่างมุ่นคงในประเทศไทย . โดยในภาคอีสานมีองค์พระปฏิมาที่ได้รับการเลือกสรรเพียง 3 องค์ดังต่อไปนี้ . 1.หลวงพ่อองค์ตื้อ ที่ตั้ง : วัดศรีชมพูองค์ตื้อ หนองคาย ขนาด : สูง 4 เมตร หน้าตักกว้าง 3.29 เมตร รูปแบบศิลปะ : ล้านช้าง อายุ : ต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ความสําคัญ : เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสําริดที่ใหญ่ที่สุดในหนองคาย เป็นที่เคารพของประชาชนทั้งสองฝั่งเเม่นํ้าโขง ตำนานที่เกี่ยวข้อง : ตำนานกล่าวถึงการหล่อพระเจ้าองค์ตื้อ วัดศรีชมพูองค์ตื้อนี้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมีพระราชดำริจะหล่อพระเจ้าองค์ตื้อขึ้นที่บ้านน้ำโหม่ง และได้ชักชวนชาวบ้านให้มาร่วมบุญ ซึ่งชาวบ้านในท้องที่และต่างถิ่นต่างนำทองเหลือง ทองแดงมาตามจิตศรัทธาได้น้ำหนักรวมกัน 1 ตื้อ มีการแยกกันหล่อเป็นส่วนๆ ในวันสุดท้ายมีการหล่อพระเกศ เริ่มตั้งแต่เช้าแต่ก็ไม่เสร็จเพราะทองยังไม่ละลายดี พอถึงเวลาเพลก็แยกย้ายกันไป ทิ้งเบ้าไว้ในเตา เมื่อกลับมาอีกครั้ง ปรากฏทองถูกเทใส่เบ้าแล้วและมีลักษณะที่งามกว่าที่คาดไว้ เมื่อสอบถามจึงรู้ว่า มีชายชรานุ่งขาวห่มขาวมายกเบ้าจนสำเร็จ หลวงพ่อพระใส ที่ตั้ง : วัดโพธิ์ชัย หนองคาย ขนาด : หน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว สูง 4 คืบ 1 นิ้ว รูปแบบศิลปะ : ล้านช้าง อายุ : ปลายพุทธศตวรรษที่ 22 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ความสําคัญ : หลวงพ่อพระใสหรือหลวงพ่อเกวียนหักตามตํานาน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่สักการะของศาสนิกชนทั้งสองฝั่งเเม่นํ้าโขง ตำนานที่เกี่ยวข้อง : หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง ตำนานเล่าสืบต่อว่า พระธิดา 3 องค์ ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และตั้งชื่อตามนามของตนไว้ว่า พระเสริม พระสุก […]
ฮู้บ่ว่า จาก 108 พระพุทธรูปคู่เเผ่นดิน เเดนอีสานมีองค์พระปฎิมาเพียง 3 องค์ อ่านเพิ่มเติม »