Article

อีสาน เตรียมรับมือ ‘พายุโนรู’

อีสาน เตรียมรับมือ ‘พายุโนรู’ กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน พายุไต้ฝุ่น “โนรู” ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองฮอยอัน ประเทศเวียดนามแล้ว และจะเข้าสู่ประเทศไทยประมาณช่วงค่ำวันที่ 28-29 ก.ย.65 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจะส่งผลให้หลายพื้นที่ของประเทศไทย มีฝนตกมาก โดยพายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ สำหรับการเคลื่อนตัวของพายุโนรูในครั้งนี้ คาดว่าพื้นที่น่าเป็นห่วงคือภาคอีสาน โดยเฉพาะ ขอนแก่น, ร้อยเอ็ด, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ และอีกหลายพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำชีและมูล เพราะปริมาณน้ำในลำน้ำขณะนี้หลายจุดเกินความจุ จนส่งผลให้บางพื้นที่มีน้ำท่วม และหากมีฝนจากพายุเข้ามาอีกจะทำให้มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ขนาดกลางในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนนี้ ส่วนใหญ่มีน้ำมากเกือบเต็มความจุที่แล้ว ขณะนี้มีพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณลุ่มน้ำชีและมูล ได้รับผลกระทบแล้วประมาณ 3 แสนไร่ คาดว่าเมื่อพายุโนรู เคลื่อนตัวเข้ามาจะทำให้มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น จนทำให้มีพื้นที่ได้รับผลกระทบเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย แต่ละพื้นที่ในภาคอีสาน ได้เตรียมเครื่องสูบน้ำมากกว่า 10 ตัว เพื่อเร่งระบายน้ำในแต่ลงที่ลงสู่แม่น้ำชีและมูล ผลกระทบของพายุโนรู ส่งผลให้พื้นที่เกษตรกรรมของชาวอีสานเสียหายอย่างมาก อาจส่งผลต่อราคาสินค้าเกษตรที่อาจเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบอย่างมากในการใช้ชีวิต และการทำงานเพื่อหารายได้ อ้างอิงจาก : ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ https://www.dailynews.co.th/news/1518335/ https://www.thaipost.net/general-news/230844/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #พายุโนรู #พายุไต้ฝุ่นโนรู #น้ำท่วมอีสาน

อินเดียระงับส่งออกข้าว ไทยอีสาน ได้ประโยชน์

อินเดียระงับส่งออกข้าว ไทยอีสาน ได้ประโยชน์   รัฐบาลอินเดียตัดสินใจระงับการส่งออกข้าวหักและเก็บภาษีส่งออกข้าวหลายประเภทถึง 20% เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา เพื่อควบคุมราคาข้าว การตัดสินใจระงับการส่งออกเป็นสินค้าที่เรียกว่า “ข้าวหัก” ซึ่งเป็นเมล็ดข้าวที่มีความยาวน้อยกว่า 3 ใน 4 ของความยาวโดยเฉลี่ยของเมล็ดข้าวในล็อตเดียวกัน รวมถึงเมล็ดข้าวที่หักและเหลือไม่ถึง 80% ของเมล็ด   เว็บไซต์ข่าวซีเอ็นบีซี นำเสนอรายงานเกี่ยวกับการประกาศใช้มาตรการห้ามส่งออกข้าวของรัฐบาลอินเดียว่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาข้าวในตลาดโลก โดยเฉพาะส่งผลกระทบต่อตลาดข้าวในภูมิภาคเอเชีย   ในปีนี้ ข้าวยังคงมีราคาสูง เนื่องจากราคาขายปลีกในตลาดเพิ่มขึ้น 9.3% เมื่อเทียบเดือน ก.ค. ปีก่อนและดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของราคาข้าวทะยาน 3.6% เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค. ปีก่อน 0.5%   ในบางประเทศอาจจะก่อให้เกิดปัญหาเนื่องจากบางประเทศจำเป็นต้องนำเข้าข้าว จึงมีความเสี่ยงที่ราคาข้าวจะแพงมากขึ้น    ซึ่งในทางกลับกันบางประเทศ อาจพลิกวิกฤตนี้เป็นโอกาสให้ประเทศได้รับประโยชน์ โดยประเทศไทยและเวียดนามจะเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์ จากการงดส่งข้าวของอินเดียในครั้งนี้ เนื่องจากเวียดนามเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับที่ 2 และไทยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับที่ 3 ทำให้ทั้งสองประเทศเป็นทางเลือกใหม่ของบรรดาประเทศผู้นำเข้าข้าว เพื่อเติมเต็มปริมาณข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ   อ้างอิงจาก : กรุงเทพธุรกิจ   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ข้าว #ส่งออกข้าว 

ความคืบหน้า โครงการก่อสร้างศูนย์แพทย์ฯ สถาบันพระบรมราชชนก จ.อุดรธานี

ความคืบหน้า  โครงการก่อสร้างศูนย์แพทย์ฯ  สถาบันพระบรมราชชนก  จ.อุดรธานี   โครงการก่อสร้างศูนย์แพทย์เพื่อการเรียนการสอน วิทยาลัยแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาเขตอุดรธานี เพื่อผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว รวมทั้งเป็น รพ.ขนาด 300 เตียง    นายแพทย์ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ ได้มีแผนการพัฒนา Medical Hub ด้านระบบบริการ มีเป้าหมายให้จังหวัดอุดรธานีเป็นเมืองศูนย์กลางการแพทย์ บริการสุขภาพลุ่มน้ำโขง    ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม 2565 โดยจะเป็นโรงพยาบาลขนาด 300 เตียง ให้บริการดูแล รักษาประชาชนทั้งในพื้นที่ จังหวัดใกล้เคียง และจากประเทศเพื่อนบ้าน   วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ได้จัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างโรงพยาบาล และศูนย์การแพทย์ โดยได้รับเมตตาจากพระราชภาวนาวชิรากร (หลวงพ่ออินถวาย สันตุสโก) เจ้าอาวาสวัดป่านาคำน้อย อำเภอนายูง องค์อุปถัมภ์ สร้างโรงพยาบาล และศูนย์การแพทย์ เป็นประธานสงฆ์ เจิมแผ่นศิลาฤกษ์และเจิมแบบแปลน   สำหรับศูนย์แพทย์ฯ แห่งนี้เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาในจังหวัดอุดรธานี และได้รับความเมตตาจาก พระราชภาวนาวชิรากร (หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก) วัดป่านาคำน้อย เป็นองค์อุปถัมภ์ในการก่อสร้าง ได้รับการสนับสนุนที่ดินจากกรมธนารักษ์จำนวน 500 ไร่    ในระยะที่ 1 จะเป็นโรงพยาบาลขนาด 300 เตียง, โรงเรียนแพทย์ฯ-แพทย์ทางเลือก, ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ, อาคารที่พักเจ้าหน้าที่, อาคารบริการ, ลานจอดรถ, ถนน และสิ่งสาธารณูปโภคเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ระบบบำบัดน้ำเสีย-พลังงานสะอาด-รีไซด์เคิล    ใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี (2565-2567) วงเงิน 1,200 ล้านบาท โดยปีแรก 2565 จะเป็นการปรับพื้นที่ ในส่วนของโรงพยาบาล จะแล้วเสร็จในปี 2568 และศูนย์แพทย์ฯ จะแล้วเสร็จในปี 2575   อ้างอิงจาก :  สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (NNT) รัฐบาลไทย (Thaigov)   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อุดรธานี #ศูนย์แพทย์ #MedicalHub  

นำร่องแล้ว!  โลตัส ร่วม ม.ขอนแก่น เพิ่มมูลค่าอาหารค้างสต็อค  บริจาคให้เกษตรกรใช้เลี้ยงแมลงโปรตีน

นำร่องแล้ว!  โลตัส ร่วม ม.ขอนแก่น เพิ่มมูลค่าอาหารค้างสต็อค  บริจาคให้เกษตรกรใช้เลี้ยงแมลงโปรตีน   นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย ได้เริ่มบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ภายใต้โครงการ กินได้ไม่ทิ้งกัน โดยเริ่มนำร่องจากโลตัสในกรุงเทพและปริมณฑล โดยร่วมมือกับมูลนิธิ SOS ในการนำอาหารส่วนเกินที่ยังรับประทานได้ ส่งมอบให้ผู้ที่ยากไร้ แทนการทิ้งให้กลายเป็นขยะอาหารซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม   ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โลตัส เดินหน้าขยายโครงการไปสู่พื้นที่อื่น ๆ รวมถึงร่วมมือกับพันธมิตรในการหาทางออกในการบริหารจัดการอาหารส่วนเกินที่ไม่สามารถรับประทานได้แล้ว อาทิ โครงการบริจาคอาหารส่วนเกินให้กับสวนสัตว์ โครงการทำปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหาร   เมื่อไม่นานนี้ โลตัส ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงนามข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนนวัตกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ต่อยอดโครงการกินได้ไม่ทิ้งกันของโลตัส เพื่อลดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2030 (Zero food waste to landfill by 2030)   โดยการบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดจากโลตัส 30 สาขาในจังหวัดขอนแก่นและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly – BSF) ซึ่งเป็นแมลงที่ปลอดภัยต่อพืชและชุมชน ไม่เป็นพาหะนำโรค และตัวหนอนยังมีคุณค่าทางอาหารสูง นำร่องสนับสนุนเครือข่ายเกษตรกรภาคอีสาน 24 ราย ช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ทางการเกษตรกว่าครึ่ง เตรียมขยายผลสู่การสนับสนุนเกษตรกรทั่วไทย   ซึ่งเกษตรกรสามารถนำหนอนเหล่านี้เสริมในอาหารสัตว์ ช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ไปได้กว่า 50% นอกจากนี้ยังได้ปุ๋ยจากมูลหนอนอีกกว่า 2,200 กิโลกรัม และซากแมลงโปรตีน อีกทั้งยังสร้างผู้ประกอบการให้เกิดธุรกิจใหม่ภายใต้ BCG Economy Model    ความตั้งใจของเราคือการขยายผลโครงการแมลงโปรตีนไปสู่กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ เพื่อนำแมลงโปรตีนและผลพลอยได้ไปใช้ในการเกษตร รวมถึงศึกษาแนวทางต่อยอดการใช้ประโยชน์จากแมลงโปรตีนทางการเกษตรเพิ่มเติมต่อไป   อ้างอิงจาก :  https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000084280   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #มข  #โลตัส #เกษตรอีสาน

CPN ประกาศความสำเร็จ “ เซ็นทรัล โคราช ” Mixed-Use ศูนย์การค้า-คอนโดฯ-โรงแรม กระตุ้นเศรษฐกิจ

CPN ประกาศความสำเร็จ “ เซ็นทรัล โคราช ” Mixed-Use ศูนย์การค้า-คอนโดฯ-โรงแรม กระตุ้นเศรษฐกิจ     Mixed-Use คือ โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ผนวกรวมโครงการที่อยู่อาศัยแบบอาคารชุดและโครงการเพื่อการพาณิชยกรรมเข้าไว้ด้วยกัน เป็นศูนย์กลางของการอยู่อาศัย จับจ่ายใช้สอยขนาดใหญ่ที่ครบครัน ทำให้เกิดความสะดวกสบาย ดึงดูดผู้คนมาอยู่อาศัย มาทำงานและทำธุรกิจภายในพื้นที่โครงการ   CPN ประกาศความสำเร็จ “เซ็นทรัล โคราช” โครงการมิกซ์ยูสที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน มูลค่ารวมกว่า 10,000 ล้านบาท โดยผนึกกำลังศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช, คอนโดมิเนียมเอสเซ็นท์ โคราช และโรงแรม Centara Korat ซึ่งเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 13 ก.ย. 2565    ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา Head of Marketing บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา เผยว่า การพัฒนาโครงการนี้เป็นความตั้งใจตั้งแต่ในปี 2560 เพื่อมอบความเป็นที่สุดให้กับจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมศักยภาพในทุกๆ ด้าน ยกระดับทั้งเศรษฐกิจและการเดินทางท่องเที่ยวทั้งระบบ โดยมีกลยุทธ์สำคัญ   Develop New District สร้างเมือง เป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิต, เขตเศรษฐกิจใหม่ (New CBD of Korat) และการเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด  ให้การสนับสนุน MICE Events ของภาคอีสานอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเตรียมรองรับเครือข่ายคมนาคมในอนาคต กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเมืองรองด้วยโรงแรม Centara Korat ที่ตอบโจทย์ทุกการเดินทาง    Strong Synergy & Ecosystem เชื่อมโยงธุรกิจภายในมิกซ์ยูส ทั้งศูนย์การค้า-คอนโดมิเนียม-โรงแรม โดย Privilege ของการมีที่อยู่อาศัยหรือมาพักในโรงแรมที่อยู่ติดศูนย์การค้า คือความสะดวกสบาย    Community at Heart ความภูมิใจของชาวโคราช เป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตและดูแลชุมชน พร้อมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของจังหวัด โดยล่าสุดเปิด Cen’za Sport Stadium ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช เพื่อเป็น Sport Community ให้กับชาวโคราช นอกจากนี้ยังเปิดพื้นที่จัด MICE Events ร่วมมือกับเมืองจัดงานประชุมและสังสรรค์ของหน่วยงานราชการต่างๆ เป็นแลนด์มาร์กของงานเทศกาลตลอดปีทั้ง ด้านสิ่งแวดล้อม ติด Solar Rooftop และเป็นอาคารประหยัดพลังงานที่ได้รางวัล ASEAN Energy Awards 2020 จากกระทรวงพลังงานอีกด้วย   อ้างอิงจาก :  ผู้จัดการออนไลน์ REIC ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์   …

CPN ประกาศความสำเร็จ “ เซ็นทรัล โคราช ” Mixed-Use ศูนย์การค้า-คอนโดฯ-โรงแรม กระตุ้นเศรษฐกิจ อ่านเพิ่มเติม »

ดัน “ไส้กรอกอีสาน” Soft Power หลังติด 50 สตรีทฟู้ดเอเชีย

รัฐบาล ผลักดัน “ไข่เจียวปู ข้าวซอย ไส้กรอกอีสาน” ของไทย เป็นอีกหนึ่ง Soft Power ของไทยในด้านอาหาร และด้านอื่น ๆ สู่เวทีโลก เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ หลัง CNN Travel จัดให้ติด 50 อันดับสตรีทฟู้ดที่ดีที่สุดในเอเชีย นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ สตรีทฟู้ด (Street foods) หรืออาหารข้างทางของไทยยังคงสร้างความประทับใจให้คนทั่วโลก โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า CNN Travel ได้ระบุว่า ไข่เจียวปู เป็นเมนูไข่ที่มีรสชาติดีกว่าเมนูไข่ประเภทอื่น ส่วนผสมของไข่และเนื้อปูทำให้อาหารจานนี้ทั้งกรอบและเนื้อนุ่มฟูน่าทาน โดยหากรับประทานพร้อมซอสพริกจะยิ่งทำให้เมนูนี้อร่อยมากยิ่งขึ้น ส่วน ข้าวซอย เป็นอาหารของทางภาคเหนือของไทย มีส่วนผสมของซุปที่มีเครื่องแกงกะหรี่ ผสมกับน้ำกะทิที่เข้มข้น ราดบนเส้นบะหมี่ที่มีน่องไก่หรือเนื้อวัว และโรยด้วยเส้นบะหมี่ทอด ขณะที่ ไส้กรอกอีสาน เป็นอาหารข้างทางที่พบได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เป็นไส้กรอกหมูปรุงรสผสมข้าวเหนียว กระเทียม นำไปหมักและตากแห้งจนมีรสเปรี้ยว “ประเทศไทยได้รับความนิยมด้านความหลากหลายของอาหาร ซึ่งเกิดจากความแตกต่าง เรื่องพื้นที่เพาะปลูกทำปศุสัตว์ของท้องถิ่นแต่ละภูมิภาค ทำให้อาหารไทยมีเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมมาตลอด” ทั้งนี้ รัฐบาลตระหนักถึงข้อได้เปรียบ และได้เดินหน้าผลักดัน ส่งเสริมการขยายผล Soft power ของไทยทั้งในด้านอาหาร และด้านอื่น ๆ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ อ้างอิงจาก: https://www.thansettakij.com/economy/538262 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ไส้กรอกอีสาน #SoftPower #อาหารอีสาน

“KGO Token” เหรียญดิจิทัลเหรียญแรกของไทย พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ชาวขอนแก่น

SMART BUSINESS EXPO 2022 งานแสดงสินค้าเทคโนโลยีดิจิทัลครั้งใหญ่ระดับภูมิภาค กำหนดจัดระหว่างวันที่ 5-9 ต.ค. 2565 นี้ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติขอนแก่น (ไคซ์) ซึ่งได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่หลายภาคส่วนสะดุดตากับข้อความประชาสัมพันธ์ “ใครที่มีเหรียญ KGO Token นำมาใช้เป็นแต้มส่วนลดในรายการโปรโมชันของบูทขายสินค้าและบริการต่างๆ ภายในงานได้” แต่ก็มีไม่น้อยที่มีคำถามว่า KGO Token คืออะไร? . สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน) ในฐานะเขาเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้ง KGO Token (Founder KGO) ภายใต้การบริหารจัดการโดย บริษัทอินฟินิทแลนด์ โทเคน จำกัด อธิบายว่า KGO ย่อมาจาก Knowledge Governance Token เป็นเหรียญที่ถูกกำหนดค่าขึ้นมาเพื่อให้ผู้คนได้ใช้เป็นแต้มส่วนลดสินค้าและบริการหรือใช้ร่วมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์กิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ โดยเหรียญนี้จะอยู่ในระบบบล็อกเชน (Blockchain) สามารถสร้างเศรษฐกิจใหม่ในระบบดิจิทัล ซึ่งยังไม่เคยทำกันมาก่อนในเมืองไทย เหรียญนี้ทำหน้าที่เหมือน E-Voucher สามารถเปลี่ยนมือผ่านการแลกเปลี่ยนเหรียญ โอนมอบให้กันได้ผ่านแอปพลิเคชันหรือกระเป๋าผู้ใช้งาน KGO wallet ที่เราสร้างขึ้น . KGO Token ไม่สามารถใช้แทนเงิน แต่ใช้ควบคู่กับเงินบาท เช่นร้านอาหาร A จัดโปรโมชัน สั่งอาหารและเครื่องดื่มครบ 500 บาท/ครั้งขึ้นไป ลูกค้าจะได้รับโอนเหรียญ KGO Token จำนวน 200 KGO สามารถนำมาใช้เป็นแต้มส่วนลดในการรับปรเทานอาหารครั้งถัดไป เช่น ลูกค้าใช้ 100 KGO เพื่อแลกส่วนลดค่าอาหาร 10% หรือใช้ 300 KGO กับเงินอีก 30 บาทแลกซื้อน้ำผลไม้ปั่นได้ 1 แก้ว จากปกติน้ำผลไม้ปั่นมีราคาขายอยู่ที่แก้วละ 60 บาท . สุรเดชบอกว่า ปัจจุบันเฉพาะในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นมีผู้ใช้งาน KGO Token มากกว่า 25,000 กระเป๋า ขณะที่บรรดาร้านค้าที่รับแต้มส่วนลดด้วยเหรียญนี้มีไม่ต่ำกว่า 600 ร้านค้า ส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหารและร้านขายเครื่องดื่ม คนที่ถือเหรียญ KGO สามารถใช้เป็นแต้มส่วนลดค่าสินค้าหรือบริการกับร้านค้าทั้งที่อยู่ในระบบออฟไลน์และโลกเสมือนได้หมด เริ่มเก็บสะสมเหรียญได้จากตอนลงทะเบียนครั้งแรก แค่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนก็สแกนเพื่อโหลดกระเป๋า KGO Token มาไว้บนหน้าจอได้ง่ายๆ เหมือนโหลดแอปพลิเคชันอื่นๆ ทั่วไป . หากมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย มีร้านค้า มีองค์กรเครือข่ายที่ได้รับการกระจายเหรียญดิจิทัลตัวนี้ไปมากขึ้นเชื่อว่าผู้คนในสังคมจะรู้จักและเข้าถึงกระเป๋า KGO Token เร็วขึ้น ที่สำคัญคือมีความเข้าใจและใช้เป็น จะทำให้การสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลในโลกเสมือนก็จะขยายตัวเติบโตเร็วขึ้น เป็นสิ่งที่นักธุรกิจรุ่นใหม่ชาวขอนแก่นอยากเห็นอยากให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด . ปัจจุบันเครือข่ายองค์กรที่ได้รับมอบ KGO Token ไปแล้วมีหลากหลายหน่วยงาน เช่น …

“KGO Token” เหรียญดิจิทัลเหรียญแรกของไทย พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ชาวขอนแก่น อ่านเพิ่มเติม »

ททท. รุกตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหารสู่แดนอีสาน ลงมิชลินไกด์ ปี 66

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดงานประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้การคัดสรรร้านอาหารครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย คู่มือ “มิชลิน ไกด์” ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นฉบับที่ 6 ของไทยปักหมุด 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา, อุบลราชธานี, อุดรธาน และขอนแก่น เพื่อผลักดัน การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) เผยอัตลักษณ์โดดเด่นด้านอาหารและวัฒนธรรม เตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ รองรับนักชิมและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า คู่มือ “มิชลิน ไกด์” ฉบับปี 2566 ของไทย ขยายขอบเขตการคัดสรรแนะนำร้านอาหารเข้าสู่ 4 จังหวัดภาคอีสาน เพื่อสะท้อนวัฒนธรรมอาหารอีสานที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว มาพร้อมรสชาติจัดจ้าน มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจโดยได้รับอิทธิพลจากหลากหลายวัฒนธรรม มีสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีความโดดเด่น ตลอดจนเสน่ห์ของวิถีชุมชนที่มีเอกลักษณ์ โดยสามารถรองรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มและยังสามารถเดินตามรอยร้านอร่อยที่ “มิชลิน ไกด์” ได้คัดสรรไว้ให้ ซึ่งในปัจจุบันมีเชฟชาวอีสาน จำนวนมากที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านอาหารจากร้านอาหารชื่อดังในต่างประเทศ กลับมาเปิดร้านอาหารที่บ้านเกิดของตนเอง โดยเลือกนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรุงอย่างพิถีพิถันเพื่อยกระดับอาหารอีสานให้มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการรับประทานอาหารแก่นักเดินทาง ดังนั้น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เล็งเห็นถึงความพร้อมของ 4 จังหวัดที่สามารถสะท้อน วัฒนธรรมอาหาร การกินของคนไทย และสามารถขับเคลื่อนให้เกิดการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวเพื่อต่อยอดสู่ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) นำไปสู่การกระจายรายได้สู่ผู้ประกอบการในพื้นที่ เห็นได้จากรายได้จากการท่องเที่ยวระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 ของจังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น และ อุดรธานี รวมกันประมาณ 30,511 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติใช้ไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มรวมกันประมาณ 7,442 ล้านบาท ซึ่งสูงเป็น อันดับ 1 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายหมวดอื่น ๆ เช่น ค่าที่พัก ค่าของที่ระลึก และค่าคมนาคมขนส่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมเดินหน้ากระตุ้นส่งเสริมการท่องเที่ยว สอดรับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยจัดกิจกรรมท่องเที่ยวตลอดทั้งปี เพื่อให้เกิดแรงส่งไปถึงฤดูการท่องเที่ยวช่วงปลายปีต่อเนื่องไปถึงต้นปีหน้า ซึ่งการขยายขอบเขตการคัดสรรร้านอาหารครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย คู่มือ “มิชลิน ไกด์” ประจำปี 2566 จะเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป อ้างอิงจาก: ​​https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1013739 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #นครราชสีมา #อุบลราชธานี #อุดรธานี #ขอนแก่น #ตลาดท่องเที่ยวเชิงอาหาร #มิชลินไกด์

กงสุลจีนเตรียมเสนอรัฐบาลจีน เล็งใช้นิคมฯ อุดรธานีเป็นฐานพักสินค้าส่งออกนำเข้าจีน-ไทย

อุดรธานี – กงสุลใหญ่จีนลงพื้นที่อุดรธานี สำรวจติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม รวบรวมข้อมูลเสนอรัฐบาลจีน เพื่อใช้เป็นจุดพักก่อนขนส่งสินค้าจากไทยไปจีนและจีนมาไทย เผยล่าสุดผู้ประกอบการจากภาคใต้ก็สนใจขนสินค้าอาหารทะเลและผลไม้มาพักเพื่อส่งออกไปจีน นายเหลี้ยวจวิ้นหยุน กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่น และคณะได้เดินทางมาดูพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี และรับทราบความคืบหน้าการสร้างนิคมฯ โดยมีนายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ประธานบริหารบริษัทเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด นางอรพิน พิพัฒน์วิไลกุล รองประธานฯ และนายพิสิษฐ์ พิพัฒน์วิไลกุล กรรมการผู้จัดการ รวมถึงอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี และหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ให้การต้อนรับและให้ข้อมูล การเข้าเยี่ยมชมโครงการฯ ครั้งนี้ ทางคณะได้มารับทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลดีผลเสียผลกระทบต่อการเปิดรถไฟจีน-ลาวที่มีต่อจังหวัดอุดรธานี จะดำเนินการอย่างไรในการเชื่อมโยงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานการค้าและการขนส่งเพื่อรองรับการเปิดบริการรถไฟจีน-ลาว พร้อมกับติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม และทางนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีได้เตรียมตัวอย่างไรกับการใช้ประโยชน์จากการเปิดรถไฟสายจีน-ไทย นายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ประธานบริหารบริษัทเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี เปิดเผยว่า การเดินทางลงมาในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีทางกงสุลต้องการข้อมูลของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีว่าตอนนี้ทางนิคมมีความพร้อมมากน้อยขนาดไหน และมารับทราบข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโลจิสติกการขนส่งสินค้าจากไทยไปจีนและจีนมาไทย จากนั้นทางกงสุลก็จะไปร่วมประชุมและเสนอกับทางรัฐบาลต่อไป นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานียังไม่คิดขนส่งทางรถไฟ แต่นิคมจะแก้ปัญหาโดยใช้รถบรรทุกขนจากนิคมขนสินค้าไปยังเวียงจันทน์ โดยเราจะยกตู้สินค้าไปวางที่จุดขนถ่ายที่ สปป.ลาว เพราะระยะทางจากนิคมฯ ไปที่เวียงจันทน์ประมาณ 70 กิโลเมตร และสินค้าจากทางจีนที่จะมาไทยสามารถยกใส่รถบรรทุกกลับมาได้ ขณะนี้ทางนิคมฯ ได้เตรียมพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ไว้รองรับ ขณะนี้มีผู้ประกอบการจากทางภาคใต้เดินทางมาดูพื้นที่นิคมฯ แล้วหลายราย คาดว่าจะนำสินค้าจากภาคใต้จำพวกผลไม้ อาหารทะเล มาจัดเก็บมาพักไว้ที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ก่อนจะลำเลียงส่งออกไปยังประเทศจีน และเร็วๆ นี้ทางหอการค้าภาคเหนือก็จะนำผู้ประกอบการเดินทางมาดูพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีเช่นกัน โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี แบ่งออกเป็น 2 เฟส เฟสแรกใช้พื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ และเฟส 2 อีกราว 1,000 ไร่ตามแผนงานต้องสร้างแวร์เฮ้าส์ทั้งหมด 25 หลัง ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางเพื่อให้โรงงานต่าง ๆ เช่าเพื่อเก็บสินค้า นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนอุตสาหกรรม และส่วนโลจิสติกส์ โดยในส่วนของโลจิสติกส์ปาร์กจะประกอบด้วย สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง หรือ ICD เขตปลอดอากร (FREE ZONE) คลังสินค้า ซึ่ง ICD จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในภาคอีสานตอนบนในการที่จะส่งสินค้าออกต่างประเทศหรือนำของเข้ามาในประเทศ ซึ่งส่วนนี้มีความจำเป็นเกี่ยวกับศุลกากรในเรื่องนำเข้าและส่งออก จุดนี้จะสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าให้นำเข้าและส่งออกสินค้าต่างประเทศได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางผู้บริหารโครงการนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้เคยระบุว่าอยากให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีใน 4 เรื่อง คือ ปรับปรุงพัฒนาบริเวณทางแยกเข้านิคมให้สามารถอำนวยความสะดวกต่อการวิ่งของยวดยานพาหนะทุกประเภท, การลากรางรถไฟเข้ามาในพื้นที่นิคมฯ รองรับการขนส่งสินค้า, NEC สิทธิพิเศษ สิทธิประโยชน์ และขอสิทธิพิเศษเขตเศรษฐกิจชายแดนจากหนองคายให้ครอบคลุมมาถึงอุดรธานี อ้างอิงจาก: https://mgronline.com/local/detail/9650000061261 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #กงสุลจีน #อุดรธานี #นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี

1 ปีผ่านไป “ทีดี ตะวันแดง” ปั้นร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ผลเป็นอย่างไร ?

1 ปีผ่านไป “ทีดี ตะวันแดง” ปั้นร้าน  “ถูกดี มีมาตรฐาน” ผลเป็นอย่างไร ?   นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีก “ถูกดี มีมาตรฐาน” เปิดเผยว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของร้านค้าปลีก “ถูกดี มีมาตรฐาน” มุ่งสร้างมาตรฐานร้านค้าปลีกชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานเศรษฐกิจที่สำคัญ ด้วยการยกระดับมาตรฐานร้านค้าปลีกให้ทันสมัยด้วยความรู้ และเทคโนโลยีการบริหารจัดการร้าน โดยเน้น “ร้านค้าของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน”   ทั้งนี้เริ่มจากจังหวัดนครปฐม ขอนแก่น  อุดรธานี ขยายไปยังภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง พบว่าได้รับการตอบรับที่ดี สามารถเพิ่มรายได้ให้กับโชห่วย จากเดิมที่ขายสินค้าได้ 3-5 พันบาทต่อวัน เพิ่มเป็นมากกว่าหมื่นบาทต่อวัน สามารถช่วยเจ้าของร้านฝ่าวิกฤตต่างๆ สร้างชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปัจจุบัน ร้านถูกดี มีมาตรฐานดำเนินการมาแล้วกว่า 1 ปี และมีสาขากว่า 5,000 สาขาทั่วประเทศ แม้จะเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ประกาศไว้เมื่อคราวแถลงข่าวใหญ่ปีที่แล้วที่มีเป้าหมายอยู่ที่การมีจำนวนสาขาทั้งหมด 8,000 สาขา แต่ตัวเลขที่มีอยู่ก็ถือว่าเป็นจำนวนที่น่าสนใจ   โดย ทีดี ตะวันแดง ยังมีกิจกรรมการตลาดเพื่อโปรโมทร้านถูกและดี มีมาตรฐาน เช่น มีโปรโมชั่นชิงทองคำ 1 สลึง และมอเตอร์ไซค์ รวมมูลค่าของรางวัลกว่า 1 ล้านบาท ถือเป็นการช่วยกระตุ้นยอดขาย โดยการร่วมสนุกกับแคมเปญจะเป็นการซื้อครบ 150 บาท ส่งผลให้มีการซื้อต่อบิลที่มากขึ้น อีกทั้ง ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ประกาศร่วมลงทุนกลุ่มธุรกิจคาราบาว วงเงินกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท รุกแผนพัฒนาร้านสะดวกซื้อชุมชน “ถูกดี มีมาตรฐาน” เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนทั่วไทย ทำให้คนในชุมชนได้ใช้บริการการเงินและสินเชื่อครบวงจร ตั้งเป้ามีผู้ใช้บริการทางการเงินและสินเชื่อครบวงจร 30,000 ร้าน ภายในปี 2567 ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับร้าน ถูกดี มีมาตรฐาน ในตลาดค้าปลีกได้มากยิ่งขึ้น   ยุทธศาสตร์ของบริษัทในการพัฒนา “ร้านถูกดี มีมาตรฐาน ไม่ได้มองเพียงการเข้ามาพัฒนาและปรับร้านโชห่วยให้มีความทันสมัยเท่านั้น แต่วางเป้าหมายเป็นเสมือน แพลตฟอร์มและ โครงข่ายที่เชื่อมโยงกันเพื่อสนองความต้องการของคนในชุมชนทั่วประเทศ และเชื่อมต่อผู้ผลิต และผู้ให้บริการต่างๆ ที่คนในชุมชนเคยเข้าถึงได้ยาก เช่น บริการทางการเงิน, เป็นจุดรับส่งสินค้าในชุมชน, บริการสินค้าทางการเกษตร โดยเฉพาะในชุมชน หมู่บ้านที่ห่างไกล ที่สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังเข้าไม่ถึง   อ้างอิงจาก:  https://www.kaohoon.com/pr/460397  https://www.kaohoon.com/pr/516149  https://www.brandage.com/article/29738/TD-Tawandang  https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?release=y&ref=M&id=VXo3d3F1Z0R4UWM9  #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ถูกดีมีมาตรฐาน #ทีดีตะวันแดง

Scroll to Top