พามาเบิ่ง “กลุ่มมิตรผล” จัด ISAN BCG Expo 2022 ยกระดับภาคเกษตร ที่ตึก Khon Kaen Innovation Center
พามาเบิ่ง “กลุ่มมิตรผล” จัด ISAN BCG Expo 2022 ยกระดับภาคเกษตร ที่ตึก Khon Kaen Innovation Center ภาคเกษตรเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญของไทย โดยมีประชากรมากถึง 27 ล้านคนอยู่ในภาคเกษตร แต่เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ยังขาดองค์ความรู้และการพัฒนาอย่างเหมาะสม โดยส่วนมากทำการเกษตรแบบดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้เกษตรกรไทยมีรายได้น้อย ขาดความมั่นคงในชีวิต นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมไทยในที่สุด “กลุ่มมิตรผล” ผู้นำในอุตสาหกรรมการเกษตร ผนึกพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน จัดงาน “ISAN BCG Expo 2022” งานมหกรรมนวัตกรรมยั่งยืนใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน 9-12 ธ.ค.65 ที่ ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ (KKIC) ภายใต้แนวคิด Collaboration | “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” ผลักดันให้อีสานเป็นศูนย์กลางสร้างเศรษฐกิจไทยสู่ภูมิภาคอาเซียน หวังยกระดับเทคโนโลยีทางการเกษตรและอาหาร สร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคอีสาน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นสู่ Smart City รวมทั้งโอกาสในการพัฒนาอีสานให้เป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมของลุ่มน้ำโขงได้ในอนาคต โดยจัดแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ผ่านโซนต่างๆ เช่น Creative, Innovative และ Green เป็นการประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีหมุนเวียน และเทคโนโลยีสีเขียว เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ยกระดับเทคโนโลยีทางการเกษตรและอาหาร ตลอดจนการท่องเที่ยวและเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลุ่มมิตรผลได้ดำเนินการพัฒนาชุมชนผ่านตำบลมิตรผล ร่วมพัฒนา 21 ตำบล ใน 7 จังหวัด โดยมีกรอบเป้าหมายการทำงานที่มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) มาโดยตลอด โดยมีเป้าหมายหลัก ได้แก่ 1. การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน มุ่งส่งเสริมและปรับเปลี่ยนวิธีคิด การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน รวมถึงมีการจ้างงานผู้พิการในชุมชน เพื่อสนับสนุนโอกาสในการสร้างอาชีพ และความภาคภูมิใจให้แก่ผู้พิการ 2. การพัฒนาระบบเกษตรชุมชนและอาหารปลอดภัย ที่ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตของชุมชนในหลายด้าน ทั้งการปลูกอยู่ปลูกกิน ลดการพึ่งพิงจากภายนอก มีอาหารที่ปลอดภัยบริโภค รวมถึงสนับสนุนให้ชุมชนมีรายได้เสริมจากการผลิตพืชผักปลอดภัยขายอีกด้วย 3. การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน ที่ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าบนพื้นฐานของความถนัด ความสามารถ และทรัพยากรของชุมชนที่มีอยู่ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเงินหมุนเวียน 4. การพัฒนาด้านการศึกษา โดยเน้นหลักสูตรให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มุ่งเน้นการบ่มเพาะทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Self-Learning) และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) เน้นการลงมือทำ ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินผ่านโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) จำนวน 8 แห่ง ใน 6 จังหวัด มีการส่งเสริมให้นำแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ การสนับสนุนกลุ่มปลูกผัก ผ่านการรับรองมาตรฐานผักปลอดภัย (GAP) มีการใช้ปุ๋ยชีวภาพ เตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้เพื่อใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช และอยู่ระหว่างพัฒนาสู่มาตรฐานผักอินทรีย์ …