Article

บทความ จากบทวิเคราะห์เศรษฐกิจอีสาน ทั้ง ISAN Outlook และข้อมูลต่างๆ ที่เปิดเผยสู่สาธารณะ รวบรวมให้คุณรู้ทันทุกข้อมูล เศรษฐกิจ การเมือง สังคม อีสาน

เป็นตาแซ่บหลาย “มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” สุดปังจากบ้านแฮด สดจากสวน พร้อมถึงมือผู้บริโภค

นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการ เกษตร (สศก.) เปิดเผยหลังจากการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก นับเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการผลิตในพื้นที่ และประสบความสำเร็จในการรวมกลุ่มผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออกตลาดต่างประเทศ อีกทั้งได้รับมาตรฐานรับรอง GAP และยังได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับจังหวัดปี 2558 รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับเขต ปี 2558 รางวัลชนะเลิศการประกวดแปลงใหญ่ระดับเขตปี 2561 รางวัลชมเชยการประกวดแปลงใหญ่ระดับประเทศ ปี 2561 จากการติดตาม พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก เริ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูก 1,535 ไร่ มีสมาชิก 58 ราย โดยมี นายสุธีย์ ทินราช เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจ ด้านต้นทุนการผลิตผลผลิตมะม่วงทั้งในฤดูและนอกฤดูของกลุ่มเฉลี่ย 5,426 บาท/ไร่/ปี ซึ่งมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองให้ผลผลิตทั้งในฤดูและนอกฤดู ทั้งนี้ เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน เก็บเกี่ยวช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ของปีถัดไป ห้ผลผลิตทั้งในฤดูและนอกฤดูรวม 1,000 ตัน/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 916.67 กิโลกรัม/ไร่/ปี ด้านราคาขาย แบ่งเป็น มะม่วงในฤดู (เดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม) ราคา 30-50 บาท/กิโลกรัม และมะม่วงนอกฤดู (สิงหาคม–มกราคม) ราคา 70-100 บาท/กิโลกรัม ได้ผลตอบแทนทั้งกลุ่มเฉลี่ย 13,200 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 7,774 บาท/ไร่/ปี สำหรับด้านการตลาด ทางกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้ทำ MOU กับบริษัทผู้ส่งออก ได้แก่ บริษัท P&F เทคโนจำกัด (P&F Techno limited), บริษัท สยาม เอ็กปอร์ตมาร์ท จำกัด (Siam export mart limited), บริษัท สวีฟ จำกัด (Swift limited), บริษัท เจ ฟรุท จำกัด (J Fruit limited), บริษัท สวามี ฟรุท จำกัด (Swami Fruit limited), บริษัท เอเชี่ยนฟรุท จำกัก …

เป็นตาแซ่บหลาย “มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” สุดปังจากบ้านแฮด สดจากสวน พร้อมถึงมือผู้บริโภค อ่านเพิ่มเติม »

เริ่ดคักหลายพี่น้อง กรมขนส่งฯ เตรียมเซ็นสัญญา สร้าง “ศูนย์การขนส่งชายแดน” จ.นครพนม รองรับการขนส่งสินค้า เชื่อมต่อ 4 ประเทศ

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีพิจารณา ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน และร่างสัญญาร่วมลงทุน (PPP) โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อสร้างโครงข่ายการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพัฒนาสถานีขนส่งสินค้ารองรับกิจกรรมการขนส่ง ทั้งการรวบรวมและกระจายสินค้า รวมถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) โดยมีบริษัท สินธนโชติ จำกัด เป็นผู้ที่ ผ่านการประเมินสูงสุด ทั้งนี้ เอกชนรายดังกล่าวจะเป็นผู้รับผิดชอบลงทุนค่าก่อสร้างในองค์ประกอบอาคารที่ก่อให้เกิดรายได้ และเครื่องมืออุปกรณ์ และรับผิดชอบในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ (Operation and Maintenance : O&M) รวมทั้งเป็นผู้รับความเสี่ยงทางด้านรายได้และจ่ายค่าสัมปทานให้แก่ภาครัฐ ตามรูปแบบการร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost ในการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาร่วมลงทุน 30 ปี นับจากปีเปิดให้บริการ มีมูลค่าโครงการทั้งในส่วนที่ภาครัฐและเอกชนลงทุนรวมกว่า 1,361 ล้านบาท นายจิรุตม์ กล่าวว่า โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม จัดเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า (Truck Terminal) และโครงการนำร่องโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ช่วยรองรับการขนส่งสินค้าทางถนน ระหว่างประเทศบนเส้นทางสาย R12 เชื่อมต่อการขนส่งระหว่างไทย – สปป.ลาว – เวียดนาม – จีนตอนใต้ ผ่านด่านพรมแดน นครพนม และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) จัดเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และยังรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้ากับระบบราง ผ่านแนวการพัฒนารถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในอนาคตอีกด้วย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดนครพนมและพื้นที่ใกล้เคียง และการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางให้เป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรองรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดยอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของภาคเอกชน ตลอดจนการดำเนินโครงการบนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้โครงการศูนย์การรขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ประสบความสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ นายจิรุตม์ กล่าวต่อไปว่า สําหรับการนําเนินการตามแผนพัฒนาโครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ภายหลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบกได้เร่งรัดจัดการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับภาคเอกชนให้ได้ภายในเดือนมีนาคม 2566 เพื่อภาคเอกชนจะได้เตรียมการดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุน (PPP) และเพื่อให้สามารถเปิดให้บริการโครงการได้ตามแผนในปี 2568 ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างในส่วนที่ภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานส่วนกลางและอาคารที่ภาครัฐใช้ประโยชน์วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง 624 ล้านบาท โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในช่วงปลายปี พ.ศ. 2567 พร้อมกับการก่อสร้างในส่วนที่ภาคเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบ อ้างอิงจาก: https://www.thebangkokinsight.com/news/business/1053271/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ศูนย์การขนส่งชายแดน #นครพนม #โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน

ม.มหิดล พัฒนา “ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ”    สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นมและถั่วเหลือง

ม.มหิดล พัฒนา “ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ”    สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นมและถั่วเหลือง   “ข้าวทุ่งกุลาร้องไห้” บนที่ราบสูง 2 ล้านไร่ในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดทางภาคอีสาน ได้แก่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ศรีสะเกษ และยโสธร จากที่เคยแห้งแล้งมีแต่ดินปนทรายปัจจุบันได้รับการพลิกฟื้นสู่แผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ กลายเป็นแหล่งเพาะปลูก “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” ที่ได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก   โดย มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้ทุ่มเททำวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างเครือข่ายการผลิตและการตลาด “ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นมและถั่วเหลือง” จนสามารถทำให้ “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ระยะเขียว” ส่วนเหลือทิ้ง สร้างรายได้อย่างยั่งยืนแก่เกษตรกรในชุมชน   ซึ่งวงจรของข้าวว่าสามารถนำมาพัฒนาเป็นอาหารสุขภาพ นับตั้งแต่ที่ข้าวเริ่มออกรวง 10 วัน โดยการทำเป็น “ข้าวเม่า” ที่หอมนุ่มนิ่ม รวมทั้ง “น้ำนมข้าว” ที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ หลังจากนั้นอีกประมาณ 20 – 30 วัน จะเป็นระยะของข้าว”ระยะเขียว” ที่แม้ยังอ่อนแต่มีร้อยละต้นข้าวที่สามารถนำมาหุงบริโภค ซึ่งข้าวระยะเขียวอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ แกมมาออไรซานอล สารพฤกษเคมี มีสัดส่วนโปรตีนและใยอาหารสูงขณะที่คาร์โบไฮเดรตต่ำ แต่มักกลายเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากโรงสีข้าว   จากการนำส่วนเหลือทิ้ง “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลารัองไห้” ที่เป็นข้าวกล้องอินทรีย์ ทั้งข้าวระยะเขียว ข้าวหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมมะลิแดง มันเทศ และมันม่วง ทำให้ได้ “ผลิตภัณฑ์ขนมหวานอัดเม็ด” “ส่วนผสมผง” และ “เครื่องดื่มผง” ที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ใยอาหาร และมีกรดอะมิโน (Amino Acid) หรือโมเลกุลของโปรตีนที่จำเป็นครบถ้วน   โดยมีสูตรน้ำตาลและไขมันน้อยเพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้มีอาการแพ้นมวัว และถั่วเหลือง ตลอดจนนักมังสวิรัติแบบวีแกน (Vegan) หรือผู้เลือกรับประทานอาหารจากพืช 100% แม้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ทยอยขึ้นทะเบียนจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเภทลูกอมและขนมหวาน แต่ผู้บริโภคจะมั่นใจได้ถึงส่วนผสมของน้ำตาลซึ่งไม่ได้มาจากน้ำตาลสังเคราะห์ ซึ่งมีความปลอดภัย และจะไม่ทำให้ระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในกระแสเลือด ซึ่งดีต่อผู้ที่เสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง   จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่พบไม่ได้จากลูกอมและขนมหวานโดยทั่วไป คือ ผู้บริโภคจะได้รับใยอาหารที่สูงมากถึง 5,000 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้ใช้เทคโนโลยีการลดปริมาณความชื้นในกระบวนการผลิต และใช้บรรจุภัณฑ์อลูมิเนียม ที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นหืน คงคุณภาพและมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานถึงกว่า 1 ปีโดยไม่ต้องใช้สารเคมีร่วมด้วย ซึ่งในขั้นตอนการผลิตในส่วนของ “การทำแห้งผงข้าว” ที่ผ่านมาทำได้ยาก ต้องสูญเสียเวลา และต้นทุนสูง โดยผู้วิจัยได้ช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้า ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยี “การย่อยด้วยเอนไซม์บางส่วน” ก่อนนำไปทำแห้งด้วยเทคโนโลยี spray dry ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร นับเป็นตัวอย่างของการใช้องค์ความรู้ในการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพ เพื่อสุขภาวะ และยกระดับทางเศรษฐกิจของคนไทย พร้อมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนจนสามารถพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน    อ้างอิงจาก: …

ม.มหิดล พัฒนา “ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ”    สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อคนแพ้นมและถั่วเหลือง อ่านเพิ่มเติม »

เริ่ดคักหลาย ธนาสิริฯ เตรียมรุกอสังหาริมทรัพย์ภาคอีสาน วางกลยุทธ์เติบโตปีละ 30%

นายสุทธิรักษ์ เสถียรภาพอยุทธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธนาสิริ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (THANA) ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจที่บริษัทยึดมั่นพันธกิจสู่การเติบโตน่าอยู่ยั่งยืนว่า ตามโรดแมปแผน 3 ปีจากนี้ (2566-2568) บริษัทได้วางกลยุทธ์ที่จะรักษาการเติบโตทั้งในเรื่องของยอดขายและรายได้อยู่ระดับ 30% ทุกปี และมีอัตรากำไรที่เติบโตระดับ 10% ขึ้นไปทุกปีเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปี 2565 ธนาสิริฯ มีการเติบโตในเชิงตัวเลขอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก นอกจากนี้ มองว่าปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลมีการแข่งขันรุนแรงมาก จึงมีแนวความคิดที่จะขยายพอร์ตไปตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้ได้ร่วมทุนกับพันธมิตรใน จังหวัดอุดรธานี พัฒนาโครงการแนวราบภายใต้แบรนด์สิริวิลเลจ อุดรธานี-แอร์พอร์ต และสิริวิลเลจ ภูเก็ต-อนุสาวรีย์ ซึ่งเป็นการพัฒนาเอง โดยที่สิริวิลเลจ อุดรธานี-แอร์พอร์ต ในกลางปี 2566 มีแผนที่จะเปิดขายเฟส 2 อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีแผนที่จะปรับแบรนด์ “สิริวิลเลจ” ที่พัฒนาในโครงการต่างจังหวัดให้มีแบรนด์ของธนาสิริเข้าไปด้วย เพื่อสร้างความจดจำของผู้บริโภค และหากแลนด์ลอร์ดที่ดินในต่างจังหวัดสนใจที่จะนำที่ดินว่างเปล่าให้บริษัทเข้าไปร่วมพัฒนา สนใจที่จะร่วมทุน ซึ่งอยู่ในระหว่างเจรจาอยู่ 2 ราย คือ ทางภาคเหนือและภาคอีสาน คาดว่าในปีนี้จะมีความชัดเจน 1 ราย สำหรับแผนธุรกิจในปีนี้ บริษัทวางเป้าเปิด 4 โครงการใหม่ มูลค่า 3,300 ล้านบาท มีการกระจายสินค้าในแต่ละระดับราคาให้ครอบคลุมกับความต้องการของลูกค้า โดยจะเริ่มขยับการขายสินค้าที่มีราคาใกล้เข้าเมืองมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งให้ธนาสิริมีก้าวต่อไปที่เติบโตน่าอยู่ยั่งยืน เนื่องจากบริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกค้าที่ไม่ใช่เพียงการพัฒนาบ้านที่มีคุณค่า แต่ให้ความสำคัญในมิติของคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดระยะเวลาการเป็นลูกค้า ภายใต้พันธกิจ “Lifetime Total Living Solution” รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม สังคม และสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development : ESG) ที่สร้างสมดุลของผลประกอบการในเชิงตัวเลข เพื่อเติบโตไปพร้อมกับลูกค้า เพื่อนบ้านข้างเคียง สังคม และร่วมลดผลกระทบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้าน โดยผลประกอบการในปี 2565 สามารถทำยอดขายได้ 1,422 ล้านบาท ขณะที่รายได้เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้คือ 1,024 ล้านบาท และประสิทธิภาพการทำกำไรสุทธิกว่า 12% มากกว่าปีที่ผ่านมากว่า 3 เท่าตัว ปัจจุบันบริษัทฯ มีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และขาย 5 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท มียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) 198 ล้านบาท อ้างอิงจาก: https://mgronline.com/stockmarket/detail/9660000019499 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธนาสิริ #สิริวิลเลจ

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 66 ยืนยันตัวตน กรณียังไม่มีบัญชีธนาคารทำจั้งใด๋

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 66 ยืนยันตัวตน กรณียังไม่มีบัญชีธนาคารทำจั้งใด๋ แนะผู้ผ่านเกณฑ์ที่ยังไม่มีบัญชีธนาคารจะต้องเปิดบัญชีธนาคารและผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น โดยสามารถเปิด “บัญชีพื้นฐาน” ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากที่ไม่กำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี ทั้งนี้ ประเภทบัญชีดังกล่าวเป็นการให้บริการเฉพาะผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนภายใต้โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐและผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ช่องทางยืนยันตัวตนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย โดยสาขาทั่วไปตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น. และสาขาในห้างสรรพสินค้าตั้งแต่เวลา 11.00-16.00 น. ทุกสาขาใกล้บ้าน เมื่อยืนยันตัวตนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะสามารถตรวจสอบสถานะการยืนยันตัวตนของตนเองผ่านทาง เว็บไซต์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ https://xn--12cm1ane3a8dcb9a6abq9eehm8a4u7e.mof.go.th/ หรือที่ https://welfare.mof.go.th ในวันถัดไป หรือติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสำหรับคนที่ยืนยันตัวตนผ่านขั้นตอนสุดท้ายสามารถใช้บัตรประชาชนแทนบัตรสวัสดิ์การแห่งรัฐได้เลย เริ่มใช้ 1 เมษายนนี้ อ้างอิงจาก: https://www.bangkokbiznews.com/business/1057253 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ #พร้อมเพย์ #บัญชีธนาคาร #บัตรสวัสดิการแห่งรัฐล่าสุด #เช็คสิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ #ยืนยันตัวตนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

เริ่ดแฮง ! กระทรวงการอุดมศึกษา  ดันสินค้าชุมชน U2T for BCG อีสานศรีสะเกษ-สุรินทร์ 

เริ่ดแฮง ! กระทรวงการอุดมศึกษา  ดันสินค้าชุมชน U2T for BCG อีสานศรีสะเกษ-สุรินทร์    เมื่อพูดถึงจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ หลายคนมักนึกถึงสินค้าชุมชนที่หลากหลาย ทั้งสินค้าทางการเกษตร พืชผัก ข้าว ผ้าไหม เครื่องจักสานต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าทางวัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทยไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ได้ดำเนินโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” เพื่อเพิ่มมูลค่า ยกระดับสินค้าชุมชนให้เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน   โดย ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เจ้าของฉายา “มิสเตอร์ U2T” ลงพื้นที่ลุยกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG” ที่จังหวัดศรีสะเกษ และสุรินทร์ต่อเนื่อง พร้อมช่วยเหลือและสนับสนุนชุมชนทุกรูปแบบ นำองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งคลินิกเทคโนโลยี, Science Park และศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) ที่มีอยู่ มาช่วยพัฒนาสินค้าให้ชุมชนตั้งแต่จิ้งหรีดจนถึงจานดาวเทียม จิ้งหรีดก็พัฒนาทำเป็นโปรตีนผง ซึ่งมีโปรตีนสูงมาก และสามารถทำราคาขายได้ดีกว่า ส่วนดาวเทียม ก็มีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ดูแลเรื่องดาวเทียม ที่ดูแลสภาพอากาศให้สินค้าทางการเกษตร    ด้านการผลักดันสินค้า U2T ไปจนถึงการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของชุมชนว่า มีความต้องการถึงขั้นไหน เช่น ทำตลาดออนไลน์ ขอ อย. ต้องการเอาสินค้าเข้าไปขายในห้างสรรพสินค้า หรือไปไกลถึงขั้นส่งออกตลาดต่างประเทศ แต่ ณ วันนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จเกินคาดแล้ว ในเรื่องของการช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องของการทำมาร์เก็ตติ้งออนไลน์ เพราะสินค้าผลิตไม่ทันขาย   ปีงบประมาณ 2566 อว. ยังคงมุ่งเน้นเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG หรือ Bio Circular Green Economy ในพื้นที่ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบ จังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ มีจุดได้เปรียบในหลายๆ เรื่อง มหาวิทยาลัยและชุมชนจึงนำทรัพยากรต่างๆ ในแต่ละชุมชน แต่ละตำบล แต่ละอำเภอมาเพิ่มมูลค่าเป็นสินค้าใหม่ๆ รวมถึงนำทรัพยากรที่เป็นของเสียมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างเงิน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนมากขึ้น   ยกตัวอย่างเช่น สินค้าภายใต้แบรนด์ “กูยรงระ” ของชุมชนบ้านรงระ ต.ตูม อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งมีหลากหลายผลิตภัณฑ์ทั้งข้าวสาร ปลาส้ม ปลาร้าบรรจุขวด โลชั่นทาผิว แชมพูสระผม โคลนหมักผม ผ้าไหม ผ้าทอ กระเป๋าผ้าปักมือ เป็นต้น ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากโครงการ U2T …

เริ่ดแฮง ! กระทรวงการอุดมศึกษา  ดันสินค้าชุมชน U2T for BCG อีสานศรีสะเกษ-สุรินทร์  อ่านเพิ่มเติม »

ออนซอนคักหลาย “สมใจ” จับมือ “เงินติดล้อ” ใช้แพลตฟอร์มไอที หนุนธุรกิจพันธมิตรผู้ขายรถจักรยานยนต์

นางสาวธนิตตา ชัยคณารักษ์กูล และ นายบัณฑิต ประดิษฐ์สุขถาวร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สมใจ 2559 จำกัด (“สมใจ”) ผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อและผู้ให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานของผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ จับมือ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR โดยนายปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อร่วมลงทุนเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ โดยได้เสนอขายหุ้นให้ บมจ.เงินติดล้อ ไม่เกิน 10% ด้านนายบัณฑิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สมใจ 2559 จำกัด กล่าวว่า “สมใจ” มีประสบการณ์การดำเนินธุรกิจเช่าซื้อและผู้ให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานของผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ มากกว่า 40 ปี ซึ่งปัจจุบันสมใจมีพันธมิตรผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์กระจายตัวอยู่หลากหลายภูมิภาคทั่วประเทศ และยังคงเปิดรับพันธมิตรผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยสนับสนุนบริการด้านสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ให้กับพันธมิตรผ่านการใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Platform) ของเงินติดล้อ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ท่ามกลางการกำกับดูแลธุรกิจที่เข้มข้นจากหน่วยงานภาครัฐในปัจจุบัน โดยการจับมือกับเงินติดล้อในฐานะผู้นำธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถที่มีจุดแข็งด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีไอทีในครั้งนี้ เพื่อติดปีกสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับสมใจและพันธมิตรผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น 1.การใช้ช่องทางการขายร่วมกันเพื่อเพิ่มยอดขายรถจักรยานยนต์ให้กับพันธมิตร 2.การทำการตลาดร่วมกันเพื่อเพิ่มการรับรู้และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้กับพันธมิตรในแต่ละพื้นที่ 3.การให้คำแนะนำและความช่วยเหลือในการขยายเครือข่ายสาขาของพันธมิตรผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ 4.การบริหารและการควบคุมต้นทุนการดำเนินงาน รวมถึงการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน เป็นต้น นายปิยะศักดิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ”เงินติดล้อ” กล่าวว่า เหตุผลที่เงินติดล้อร่วมลงทุนใน บริษัท สมใจ 2559 จำกัด นั้น เนื่องจากประทับใจการดำเนินงานโดยผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์และความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งในการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างและสร้างสรรค์ นอกจากนี้ การใช้สินเชื่อเช่าซื้อรถมอเตอร์ไซค์อาจถือเป็นการกู้ยืมเงินในระบบครั้งแรกของประชาชน เงินติดล้อจึงต้องการมีส่วนช่วยยกระดับมาตรฐานและความเป็นธรรมในกระบวนการสินเชื่อประเภทนี้อีกด้วย อ้างอิงจาก: https://www.koratdaily.com/blog.php?id=15514 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #เงินติดล้อ #สมใจ

ปังคักหลาย ธุรกิจหมอลำ ฟื้นจากโควิด เดินสายโกยรายได้ก่อนปิดฤดูกาล

กำลังครึกครื้นทั่วไทยสำหรับกิจกรรมการแสดงหมอลำ หนึ่งในเวทีความบันเทิงที่ฟื้นตัวกลับมาแล้วอย่างเต็มรูปแบบหลังเกิดโควิด-19 โดยเฉพาะเวทีหมอลำใหญ่ “ลำเรื่องต่อกลอน” ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจากทุกเพศทุกวัย รวมยอดคนดูนับหมื่นคนต่อคืน สร้างรายได้และเงินสะพัดหลายล้านบาทต่อเดือน หมอลำเงินดีกว่าค่าแรงขั้นต่ำ เฉพาะในจังหวัดขอนแก่น 26 อำเภอ ที่เป็นเมืองหมอแคนแดนหมอลำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีวงหมอลำกระจายอยู่เกือบทุกอำเภอ ช่วงการแสดงคือออกพรรษา-ช่วงเข้าพรรษา ระยะเวลารวมประมาณ 9 เดือน หลังจากนั้นถึงจะหยุดพักงาน โดยหมอลำกลอนแบบดั้งเดิมราคาจ้างอยู่ที่ 2-3 หมื่นบาท/งาน/วัน หมอลำซิ่งหรือหมอลำกลอนประยุกต์ราคาอยู่ที่ 4-6 หมื่นบาท/งาน/วัน ถัดมาเป็นหมอลำเรื่องต่อกลอน ซึ่งเป็นหมอลำวงใหญ่และได้รับความนิยมมากที่สุด ในจังหวัดมีเกือบ 20 วง ทั้งวงเล็กวงใหญ่ ราคาเริ่มต้นที่ 2 แสนบาทขึ้นไป คณะใหญ่ที่มีชื่อเสียงหากไม่มีคนจ้างงานก็สามารถแสดงแบบเก็บบัตรหน้างานได้ เพราะมักจะมีแฟนคลับ มีพ่อยก แม่ยก เป็นจำนวนมาก “สำหรับหมอลำที่โด่งดังที่สุดในภาคอีสานขณะนี้ จะเป็นหมอลำเรื่องต่อกลอน 3 อันดับแรก คือ ระเบียบวาทะศิลป์ ประถมบันเทิงศิลป์ และรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ราคาจ้างงานขั้นต่ำจะอยู่ที่ 2.5 แสนบาท/งาน/วัน บุคลากร 300-400 คน/วง คณะที่เหลือก็รองลงมา ทั้งคนและราคาจ้างก็ลดหลั่นลงตามลำดับ เรียกได้ว่าในธุรกิจหมอลำสร้างเงินสะพัดได้หลายร้อยบาทต่อเดือนต่อปี แต่ประเมินค่อนข้างยากเพราะแต่ละวงมีขนาดไม่เท่ากัน อัตราการจ้างงานก็ต่างกัน ความถี่การรับงานหรือการแสดงก็เฉลี่ยไม่ได้” “คุณราตรี ศรีวิไล” บอกว่า อาชีพหมอลำหากมีชื่อเสียงจะหาเงินได้มากกว่าเงินเดือนค่าแรงขั้นต่ำ อาจได้มากถึง 2-3 หมื่นบาท/เดือน ระดับแดนเซอร์เฉลี่ยขั้นต่ำ 500 บาท/คืน ยิ่งช่วงเทศกาลจะได้มากเป็นพิเศษ โดยคณะหมอลำใหญ่ที่มีชื่อเสียงเมื่อหักค่าใช้จ่ายหลังการแสดงและแบ่งค่าแรงในวงแล้ว จะได้กำไรไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท/วัน แต่อาชีพนี้มีความเสี่ยงคือความไม่แน่นอน เพราะไม่ใช่งานประจำที่มีเงินเดือนตลอด เป็นอาชีพที่กอบโกยได้เฉพาะในช่วงนี้เท่านั้น “อย่างไรก็อยากฝากถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้ามาช่วยดูแลสนับสนุนหมอลำพื้นถิ่นในพื้นที่มากขึ้น มากกว่าวงคอนเสิร์ตสตริงหรือเพื่อชีวิต และอยากให้เข้ามาพัฒนาหมอลำรุ่นใหม่เพื่อเชื่อมโยงศิลปะและวัฒธรรมมากขึ้น เพราะหมอลำยุคใหม่หลายคนไม่มีความรู้และวิ่งตามสื่อ วิ่งตามกระแสมากเกินไป จนขาดความเป็นศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นรากเหง้าแท้จริง” อ้างอิงจาก: https://www.prachachat.net/local-economy/news-1209533 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจหมอลำ #หมอลำ #การแสดงหมอลำ

ห้ามพลาดเด้อสู “พาข้าว” จุดเช็กอินใหม่โคราช จุดพักรถของนักเดินทาง

ห้ามพลาดเด้อสู  “พาข้าว” จุดเช็กอินใหม่โคราช จุดพักรถของนักเดินทาง   เปิดบริการเป็นทางการ “พาข้าว” คอมมูนิตี้ มอลล์ใหม่สุดของโคราช เครือไทยสงวนทุ่ม 100 ล้าน เนรมิตเป็นจุดพักรถของนักเดินทาง และศูนย์รวมความสุขคนโคราชที่พลาดไม่ได้ “PHA-KHAO พาข้าว” คอมมูนิตี้มอลล์ โคราช ถือฤกก์ดีรับเทศกาลแห่งความรัก แกรนด์โอเพนนิ่งยิ่งใหญ่  “เครือไทยสงวน” ทุ่มทุนกว่า 100 ล. เนรมิตพื้นที่ 7 ไร่ หน้าสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 2 วางเป้าหมายเป็นจุดแวะพักรถของนักเดินทาง และศูนย์รวมความสุขของคนโคราช ท่ามกลางความร่มรื่นของแมกไม้ ร้านค้าแบรนด์ดังกว่า 40 ร้าน    โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิด โดยเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ (Community mall) หรือ “ศูนย์การค้าชุมชน” ที่ให้บริการสินค้าและบริการทั่วไปอย่างเป็นทางการ อีกทั้งยังมี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวแสดงความยินดี และมีนายศรรบ หล่อธราประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยสงวนโภชนา จำกัด กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการ    นายศรรบ หล่อธราประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยสงวนโภชนา จำกัด และบริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด ผู้บริหารสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 2 เปิดเผยว่า  โครงการ “พาข้าว” หรือ PHA-KHAO Rest Area @Korat  ได้เปิดให้บริการ เพื่อเป็นคอมมูนิตีมอลล์ (Community mall) หรือ “ศูนย์การค้าชุมชน” ที่ให้บริการสินค้าและบริการทั่วไป อย่างเป็นทางการ โดยมีร้านค้าเข้ามาเป็นพันธมิตรเปิดให้บริการกับโครงการเต็มพื้นที่   จากที่ได้ทดลองเปิดให้บริการลูกค้ามาระยะหนี่ง “พาข้าว” ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ที่เดินทางผ่านโคราชไปต่างจังหวัด และอำเภอต่าง ๆ  และแวะพักรถที่พาข้าวเพื่อมาเลือกซื้อและเลือกรับประทานอาหารขึ้นชื่อที่นี่ รวมถึงผู้โดยสารที่เดินทางมาสถานีขนส่ง เพื่อมาขึ้นรถโดยสารประจำทาง ตลอดจนประชาชนชาวโคราชในเขตตัวเมืองนครราชสีมา กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยว     โดยพาข้าวมีพื้นที่อเนกประสงค์ สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตลอดทั้งวัน ในโอกาสเปิดอย่างเป็นทางการ  ได้จัดพื้นที่ตลาด หรือ “พาข้าวแฟร์” โดยมีการออกบูทขายอาหารและสินค้าขึ้นชื่อของโคราช  และร้านค้าต่าง ๆ ในพาข้าวได้ จัดโปรโมชันพิเศษ เพื่อร่วมฉลองการเปิดโครงการ   ภายในโครงการมีสินค้าแบรนด์ดังต่าง ๆ เข้ามาเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เช่น KFC Drive Thru, เซเว่น อีเลฟเว่น, …

ห้ามพลาดเด้อสู “พาข้าว” จุดเช็กอินใหม่โคราช จุดพักรถของนักเดินทาง อ่านเพิ่มเติม »

พาจอบเบิ่ง CCP เผยแผนธุรกิจปี 66 รุกตลาดภาคอีสาน ปักเป้ารายได้ 2,600 ล้านบาท

CCP เผยแผนธุรกิจปี 2566 ชูกลยุทธ์พัฒนา Precast พร้อมใช้ ขยายธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จ รุกตลาดภาคอีสาน เตรียมลงเครื่องจักรใหม่ขยายกำลังการผลิต เพิ่มความสามารถทำกำไร ตั้งเป้ารายได้ 2,600 ล้านบาท รักษาอัตรากำไรขั้นต้น 12% ภาพรวมเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว การลงทุนโครงการภาครัฐ โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) หนุนภาคเอกชนขยายตัวตาม ดันความต้องการใช้คอนกรีตสำเร็จรูปเพิ่ม ขณะที่บริษัท ชาลี ท็อป โลจิสติกส์ โซลูชั่น จำกัด บริษัทย่อย เร่งเดินหน้าตามแผน ดันรายได้เติบโตตามเป้า นายอาทิตย์ ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) (CCP) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินธุรกิจในปี 2566 บริษัทมุ่งเน้นกลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูป (Precast) พร้อมใช้งาน ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าในปัจจุบัน ที่ต้องการความรวดเร็ว ประหยัดเวลา ลดต้นทุน ลดจำนวนแรงงานในการก่อสร้าง อีกทั้ง เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูปนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ บ่อพัก รางระบายน้ำ ท่อระบายน้ำขนาดพิเศษ ท่อร้อยสายไฟใต้ดิน บล็อกปูพื้นทางเดิน บล็อกหญ้า รองรับงานโครงสร้างพื้นฐาน และงาน Landscape ทั่วประเทศ อีกทั้ง เร่งขยายการให้บริการ ธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mix) ลักษณะ Mobile Plant ในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคอีสาน สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยจัดตั้งแพลนท์ปูนชั่วคราวที่สามารถรื้อถอนได้ รวมถึงให้บริการเช่ารถขนส่ง รถโม่ผสมคอนกรีต เพื่อสามารถเข้าพื้นที่หน้างานได้รวดเร็ว คงคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จให้ลูกค้า ขณะนี้ อยู่ระหว่างการติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีต ใน จ.หนองคาย คาดเริ่มให้บริการได้ในไตรมาส 1/2566 และเตรียมขยายพื้นที่ให้บริการเพิ่มเติมในเขตพื้นที่ จ.ระยอง จ.ฉะเชิงเทรา ภายในปีนี้ สำหรับการร่วมมือพันธมิตรทางธุรกิจ จัดตั้งบริษัทย่อย บริษัท ชาลี ท็อป โลจิสติกส์ โซลูชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจให้บริการบริหารจัดการคลังสินค้า เขตปลอดอากร (Free Zone) ในโซนแหลมฉบัง และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการเฟสแรกได้ภายในไตรมาส 4/2566 ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้บริษัทเติบโตต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทวางงบลงทุนเครื่องจักรใหม่ รวมถึงปรับปรุงโรงงานผลิต มูลค่า 80 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ลดจำนวนแรงงาน ลดความผิดพลาด ความสูญเสียในการผลิต เพิ่มความสามารถทำกำไร พร้อมทั้งเตรียมแผนบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานตามเป้าหมายในปีนี้ที่ประมาณ 2,600 ล้านบาท รักษาอัตรากำไรขั้นต้นไว้ที่ประมาณ 12 % ปัจจุบันบริษัทมี Backlog ประมาณ 1,600 ล้านบาท ทยอยรับรู้รายได้ภายในปี 2567 …

พาจอบเบิ่ง CCP เผยแผนธุรกิจปี 66 รุกตลาดภาคอีสาน ปักเป้ารายได้ 2,600 ล้านบาท อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top