ภาษีมูลค่าเพิ่มกับประเทศไทย ของแสลงคนไทย รายได้หลักรัฐบาล
“บนโลกนี้ไม่มีสิ่งใดแน่นอนนอกจากความตายและภาษี” – Benjamin Franklin, 1789 – จากส่วนหนึ่งของประโยค “Our new Constitution is now established, everything seems to promise it will be durable; but, in this world, nothing is certain except death and taxes.” ประโยคดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของจดหมายที่เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) เขียนถึงฌอง-บัปติสต์ เลอรัว (Jean-Baptiste Le Roy) ในปี ค.ศ. 1789 สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองเชิงปรัชญาเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของชีวิตและข้อเท็จจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลก ซึ่งก็คือ “ความตาย” และ “ภาษี” และยังคงสะท้อนถึงความจริงที่ยังคงเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน แต่สำหรับกรณีประเทศไทยนั้นภาษีนั้นอาจจะเรียกได้ว่าเป็นของแสลงต่อกัน ที่หลายคนมีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีอย่างสุดความสามารถ ขณะที่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ทำตามระบบอย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดและโดนเรียกภาษีย้อนหลังซึ่งถือเป็นฝันร้ายสำหรับใครหลายๆ คน จากกรณีในช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมาที่มีการรายงานข่าวว่ารัฐบาลกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยเป็น 15% จากปัจจุบันที่มีการบังคับใช้อยู่ที่ 7% จึงทำให้เกิดข้อโต้แย้งและการตั้งคำถามว่าการที่คิดจะปรับภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นเท่าตัวนั้นเหมาะสมแล้วจริงๆหรือ? หากดูจากสถานการณ์ปัจจุบันของไทยนั้นควรจะทำหรือไม่? ซึ่งในทุกครั้งที่ไม่ว่ารัฐบาลไหนก็ตามมีการพูดถึงการปรับขึ้น หรือการไม่ต่อพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเกิดการตั้งคำถามทุกครั้งว่าเหมาะสมแล้วหรือยัง? ทำไมภาษีจึงสำคัญ? แท้จริงแล้วไม่ใช่เพียงภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นที่สำคัญ แต่ภาษีทุกตัวล้วนมีความสำคัญต่อประเทศทั้งหมด เพราะเงินภาษีที่ได้มากจากประชาชนนั้นจะเป็นแหล่งงบประมาณของรัฐบาลในปีงบประมาณต่อไป ซึ่งหากเงินภาษีที่เก็บมาได้นั้นไม่เพียงพอต่องบประมาณจะทำให้รัฐบาลต้องไปกู้เงินจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาเป็นงบประมาณของรัฐบาลในปีนั้นๆ หากดูสัดส่วนรายได้จากภาษีของไทยจะพบว่ารายได้หลักของรัฐบาลที่มีสัดส่วนมากที่สุด 5 อันดับแรก ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งมีสัดส่วนเฉลี่ย 25% ของรายได้ทั้งหมดต่อปี ภาษีเงินได้นิติบุคคล 20.8% ต่อปี ภาษีสรรพสามิต 18.6% ต่อปี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 11.3% ต่อปี และภาษีศุลกากร 7.5% ต่อปี ขณะที่รายได้จากแหล่งอื่น ๆ รวมกันคิดเป็น 16.7% ของรายได้ทั้งหมด จะเห็นได้ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นรายได้ที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล โดยมีสัดส่วนสูงสุดต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มได้ถึง 947,320 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงที่สุดตั้งแต่เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต สอดคล้องกับการเติบโตของรายได้ที่สามารถจัดเก็บได้ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มคาดว่าจะยังคงอยู่ที่ประมาณ 30% ของรายได้ทั้งหมด รูปที่ 1: สัดส่วนการจัดเก็บรายได้รัฐบาล ปีงบประมาณ 2533 – 2567 ที่มา: ส่วนนโยบายรายได้ […]
ภาษีมูลค่าเพิ่มกับประเทศไทย ของแสลงคนไทย รายได้หลักรัฐบาล อ่านเพิ่มเติม »