SHARP ADMIN

พามาเบิ่ง ปลดล็อกศักยภาพ เปิดมูลค่าลงทุน 3 จังหวัด SEZ อีสาน ประตูเศรษฐกิจสู่ GMS

หมวด หน่วย นครพนม หนองคาย มุกดาหาร จำนวนธุรกิจจดทะเบียนใหม่ปี 2567 แห่ง 68 123 117 มูลค่าทุนจดทะเบียนปี 2567 ล้านบาท 100 164 476 จำนวนธุุรกิจทั้งหมด แห่ง 910 1475 1160 มูลค่าทุนจดทะเบียนรวม ล้านบาท 3864 7104 10069 ผลประกอบการงบการเงิบปี 2566 ธุรกิจ ขายยานพาหนะ การผลิตสุรากลั่น ขายส่งผักผลไม้ มูลค่า (ล้านบาท) 4805 4359 7441 ธุรกิจ ขายเชื้อเพลิงยานยนต์ ขายยานพาหนะ ขายสินค้าทั่วไป มูลค่า (ล้านบาท) 2124 2126 3276 ธุรกิจ ขายสินค้าทั่วไป ขายเครื่อวจักรทางการเกษตร การผลิตน้ำตาล มูลค่า (ล้านบาท) 1933 1265 3075 ต่างชาติที่ลงทุนสูงสุด ประเทศ ลาว จีน จีน ทุนจดทะเบียน 54 43 14 ประเทศ อเมริกัน ลาว มาเลเซีย ทุนจดทะเบียน 20 33 9 ประเทศ สิงคโปร์ ฝรั่งเศส ลาว ทุนจดทะเบียน 3 5 7 เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) คือ พื้นที่ที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการลงทุน การค้าชายแดน และการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยรัฐจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่เหล่านี้เป็นพิเศษ เช่น การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษี การผ่อนคลายกฎหมายแรงงานต่างด้าว การอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อลดความซ้ำซ้อนและขั้นตอนทางราชการในการดำเนินธุรกิจ ประเทศไทยเริ่มผลักดันแนวคิดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างจริงจังในปี 2541 โดยมีจุดเริ่มต้นจากแนวคิด “ระเบียงเศรษฐกิจ” (Economic Corridor) ซึ่งธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) โดยการผลักดันพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อการเปลี่ยนระเบียงการขนส่ง (Transport Corridors) ให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มการเชื่อมโยงการค้า การลงทุน และการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาค ต่อมาในปี 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในการจัดตั้ง SEZ เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยมีเป้าหมายให้ SEZ เป็นเครื่องมือกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจจากศูนย์กลางไปยังพื้นที่ชายแดน ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาค […]

พามาเบิ่ง ปลดล็อกศักยภาพ เปิดมูลค่าลงทุน 3 จังหวัด SEZ อีสาน ประตูเศรษฐกิจสู่ GMS อ่านเพิ่มเติม »

ส่องซอด “3 สิทธิรักษาพยาบาล” สำหรับคนต่างด้าว (ถูกกฎหมาย)

“ต่างด้าว” เข้ารักษามีค่าใช้จ่าย ยกเว้น 3 กลุ่ม “รอสัญชาติไทย-อยู่ในประกันสังคม-ซื้อประกันสุขภาพ” มีกองทุนดูแล หลังมีประเด็นข้อพิพาทระหว่างไทย กับ กัมพูชาล่าสุด จึงมีคลิปเล่าเหตุการณ์จาก นพ.พจน์ ปทุมนากุล แพทย์ประจำบ้าน อายุรศาสตร์ มาเล่าประสบการณ์ เมื่อ 3 ปีก่อนว่า ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่ รพ.แห่งหนึ่งที่จังหวัดอุบลราชธานี หลังพบชาวกัมพูชา ใช้บัตรประชาชนคนไทย มาใช้สิทธิ์ 30 บาท 10 มิ.ย. 68 – นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สาธารณสุข) ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่แพทย์ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ออกมาเปิดเผยว่า มีการสวมสิทธิ์บัตร 30 บาทรักษาทุกที่ของคนไทยโดยชาวกัมพูชา ยืนยันเตรียมดันมาตรการใช้ “ไบโอเมตริกซ์” (Biometric) มาตรวจสอบตัวตนเพื่อสกัดการสวมสิทธิ์ นายสมศักดิ์กล่าวว่า ตนได้นำเรื่องปัญหาแรงงานผิดกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบและป้องกันโรคระบาดที่อาจเข้ามาในประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยระบุว่าในอดีตมีหลาย พ.ร.บ. ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ซึ่งกำลังพิจารณาปรับแก้ เมื่อสอบถามว่าได้ตรวจสอบการสวมสิทธิ์ของชาวกัมพูชาแล้วหรือไม่ รมว.สาธารณสุข ชี้แจงว่าเรื่องดังกล่าวเป็นรายละเอียดในระดับเจ้าหน้าที่ ไม่ได้ส่งมาถึงตนโดยตรง เช่นเดียวกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ที่ตนได้ปรับแก้ปัญหาในภาพรวมไปแล้ว นายสมศักดิ์ ย้ำชัดเจนว่าผู้ที่มีสิทธิ์ใช้บัตร 30 บาทรักษาทุกที่นั้น จะต้องเป็นประชาชนชาวไทยเท่านั้น พร้อมกล่าวถึงประเด็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ว่า “ตามที่ได้มีคลิปออกมาว่าตนได้ขอกรรมการควบคุมโรคติดต่อให้มี Biometric ตนก็ยังตกใจเพราะคิดว่าคนคงจะเห็นว่าแพงมาก เครื่องนึงแค่ 15,000 บาท ถ้า 30 โรงพยาบาลที่ชายแดน ซื้อเครื่องนี้ ก็เป็นเงินเพียง 400,000 กว่าบาทเท่านั้นเอง เรื่องนี้สำหรับตรวจม่านตา เพราะเราไม่สามารถออกรหัสให้คนต่างด้าวได้” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการลงทุนเทคโนโลยีเพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ในพื้นที่ชายแดน   ISAN Insight พามาฮู้จัก “3 สิทธิรักษาพยาบาล” สำหรับคนต่างด้าว (ถูกกฎหมาย) ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ระบบสาธารณสุขของไทยมุ่งเน้นการปฏิบัติตามกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เพื่อดูแลผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยไม่เลือกเชื้อชาติหรือศาสนา ปัจจุบันมีการแบ่งสิทธิการรักษาสำหรับคนต่างด้าวออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิหรือบุคคลไร้รัฐ (กลุ่ม ท.99) บุคคลในกลุ่มนี้กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์สัญชาติไทย ได้รับเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และมีรายชื่อในฐานข้อมูลกระทรวงมหาดไทย ใช้สิทธิรักษาผ่านกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ (กองทุน ท.99) ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล ปัจจุบันมีผู้ขึ้นทะเบียนกับกองทุนกว่า 723,603 คน 2.แรงงานต่างด้าวที่ลงทะเบียนถูกต้อง แรงงานกลุ่มนี้อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคม นายจ้างจะต้องส่งเงินสมทบให้ตามกฎหมาย ได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยรายได้เมื่อเจ็บป่วย สิทธิคลอดบุตร ชราภาพ และกรณีว่างงาน 3.กองทุนประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว แรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม หรือกำลังรอสิทธิ จะต้องซื้อประกันสุขภาพจากกระทรวงสาธารณสุข สิทธินี้ครอบคลุมการตรวจสุขภาพ การรักษา การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค  

ส่องซอด “3 สิทธิรักษาพยาบาล” สำหรับคนต่างด้าว (ถูกกฎหมาย) อ่านเพิ่มเติม »

ทำไม อิสราเอล จึงเป็นหมุดหมายสำคัญของแรงงานอีสาน?

อาคารของสถานีโทรทัศน์อิหร่านในกรุงเตหะราน ถูกโจมตีโดยอิสราเอลเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2568 เสียงระเบิดดังสนั่นเกิดขึ้นก่อนที่ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐอิหร่าน (State TV) ซึ่งกำลังออกอากาศสดต้องลุกหนี ท่ามกลางเศษซากและฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย และเสียงตื่นตระหนกของคนในสถานี ก่อนหน้านี้มีเสียงระเบิดดังขึ้นแล้วหลายครั้ง แต่ผู้ประกาศยังคงรายงานสถานการณ์ โดยระบุว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นคือการที่ระบอบไซออนิสต์รุกรานอิหร่านและสื่อของรัฐ แต่สุดท้ายก็ต้องลุกหนีไป กลุ่มควันพวยพุ่งจากเหตุระเบิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของเตหะรานเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2025 สถานีโทรทัศน์แห่งรัฐของอิหร่านถูกโจมตีโดยอิสราเอลจนไม่สามารถออกอากาศได้ชั่วคราว ถ่ามกลางข่าวการปะทะ อิหร่าน – อิสราเอล นั้น แรงงานไทยที่ไปขายแรงที่ต่างแดนก็ต้องตกอยู่ในสภาวะทางสงคราม ทำไม อิสราเอล จึงเป็นหมุดหมายสำคัญของแรงงานอีสาน? เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า ภาคอีสาน เป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนการส่งออกแรงงานไปยังต่างประเทศสูงที่สุดของไทย ปัจจัยสำคัญมาจากข้อจำกัดด้านรายได้ เนื่องจากเศรษฐกิจในภาคอีสานยังคงพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งขึ้นอยู่กับฤดูกาลที่ควบคุมไม่ได้ และราคาผลผลิตที่มีแนวโน้มผันผวนและไม่สูงมากนัก ทำให้ครัวเรือนจำนวนมากมีรายได้ไม่มั่นคง และมักประสบปัญหาหนี้สินเรื้อรัง ขณะเดียวกัน ภูมิภาคอีสานยังเผชิญข้อจำกัดด้านโอกาสในการจ้างงาน จากโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่เน้นการรวมศูนย์ ส่งผลให้งานส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวงและนิคมอุตสาหกรรม แม้งานบางประเภทจะมีในภูมิภาค แต่ค่าแรงก็ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยของจังหวัดในภาคอีสานอยู่ที่ 350.5 บาทต่อวัน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศที่ 355 บาทต่อวัน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยด้านค่านิยมที่ส่งเสริมให้การไปทำงานต่างประเทศของคนอีสานได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีต ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ เมื่อมีคนในหมู่บ้านหนึ่งเดินทางไปทำงานต่างประเทศและสามารถส่งเงินกลับมาช่วยเหลือครอบครัว จนฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ก็ทำให้คนอื่นๆ ในชุมชนมองเห็นโอกาสว่าการไปทำงานต่างแดนนั้นคือ ‘ความหวัง’ และต้องการเดินรอยตาม เกิดเป็นค่านิยมในสังคมอีสานที่มองว่าการไปทำงานต่างประเทศคือหนทางหนึ่งในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว จากปัจจัยเหล่านี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่แรงงานจากภาคอีสานจำนวนมากเลือกย้ายถิ่นฐานไปหางานในต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ เพื่อแสวงหารายได้ที่มั่นคงกว่าและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2568 มีแรงงานจากภาคอีสานเดินทางไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกกฎหมายจำนวนทั้งสิ้น 14,206 คน โดยจังหวัดที่มีจำนวนแรงงานไปทำงานต่างแดนมากที่สุดคือ อุดรธานี ซึ่งมีประวัติการส่งออกแรงงานไปต่างประเทศมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในอดีตที่ ซาอุดีอาระเบีย เคยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของแรงงานจากจังหวัดนี้   แล้วทำไมต้องเป็นอิสราเอล? นอกจาก ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ที่เป็นประเทศยอดนิยมสำหรับแรงงานในภาคอีสานแล้วนั้น อีกประเทศที่นิยมไปกันคือ ‘อิสราเอล’ รัฐของชาวยิวที่เต็มไปด้วยสถานการณ์ความขัดแย้งกับชาวปาเลสไตน์ รวมไปถึงชาวอาหรับโดยรอบตลอดเวลาตั้งแต่ก่อตั้งประเทศในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  โดยล่าสุดวันที่ 13 พฤษภาคม 2568 รัฐอิสราเอล ได้มีการปะทะกับอิหร่าน ส่งผลให้มีผู้เสียบาดเจ็บและชีวิตจำนวนมากในทั้ง 2 ประเทศ แต่แม้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองของประเทศนี้จะไม่เคยสงบ แต่ทำไม แรงงานชาวไทย โดยเฉพาะภาคอีสาน จึงเดินทางไปทำงานที่นั่นอย่างไม่ขาดสาย? รัฐอิสราเอลนั้นตั้งอยู่ในดินแดนที่เต็มไปด้วยความแห้งแล้งและทะเลทราย ไม่ได้มีทรัพยากรธรรมชาติมากนัก แต่ถึงอย่างนั้น อิสราเอลก็ได้ทำการพัฒนาพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรกรรมจนกลายเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญของโลก ทั้ง พืชสวน เช่น ส้ม, อะโวคาโด, มะเขือเทศ และธัญพืช เช่น ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เลย์, ข้าวโพด จนไปถึงการเลี้ยงปศุสัตว์อย่าง โคนม, ไก่ไข่, ไก่เนื้อ เป็นต้น แต่ภาคเกษตรกรรมของอิสราเอลก็ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างมาก เหตุผลนั้นเริ่มมาจากประวัติศาสตร์และสังคมของอิสราเอล อิสราเอลมีประวัติศาสตร์ความขัดแย้งกับปาเลสไตน์และกลุ่มฮามาสมายาวนาน ส่งผลให้แรงงานท้องถิ่นโดยเฉพาะชาวปาเลสไตน์ไม่สามารถทำงานในหลายพื้นที่ได้ ทำให้เกิดช่องว่างแรงงานในภาคเกษตรและภาคบริการ  ดร.เมเอียร์ ชโลโม (เอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย) ด้วยเหตุนี้

ทำไม อิสราเอล จึงเป็นหมุดหมายสำคัญของแรงงานอีสาน? อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐การค้าชายแดนไทย – กัมพูชาเสี่ยงชะลอตัว หากต้องปิดด่านระยะยาว

ฮู้บ่ว่าหากไทยและกัมพูชามีการปิดด่านการค้าชายแดนอย่างเต็มรูปแบบ อาจทำให้การค้าระหว่างไทย และกัมพูชากว่า 40% ต้องชะลอตัวลง   มููลค่าการค้าปี 2568 (ม.ค. – เม.ย.) มูลค่าการค้าทั้งหมด มูลค้าการค้าชายแดน มูลค่าการค้าช่องทางอื่นๆ นำเข้า 17,900 14,387 3,513 ส่งออก 108,383 50,225 58,158 มูลค่าการค้า 126,283 64,612 61,671   ด่านการค้าสำคัญ ส่งออก (ลบ.) นำเข้า (ลบ.) ศก. อรัญประเทศ (สระแก้ว) 30,576 11,865 ศก. คลองใหญ่ (ตราด) 9,707 1,328 ศก. จันทบุรี (จันทบุรี) 9,036 982 ศก. ช่องจอม (สุรินทร์) 900 1,992   สถานการณ์ตึงเครียดเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2568 จากกรณีข้อพิพาทบริเวณพื้นที่ชายแดนช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีรายงานเหตุปะทะระหว่างทหารไทยและกัมพูชา โดยกองทัพบกไทยระบุว่าทหารกัมพูชาได้เข้ามาขุด “ช่องคูเลต” หรือร่องสนามเพาะ เตรียมตั้งแนวรบในพื้นที่ทับซ้อนที่ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ ส่งผลให้เกิดการยิงตอบโต้กันนานราว 10–25 นาที ในช่วงเช้ามืดของวันดังกล่าว มีรายงานว่าทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย ขณะที่ทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวว่าอีกฝ่ายเป็นผู้เริ่มยิงก่อน   . ส่งผลให้ในวันที่ 7 มิถุนายน 2025 ผู้บัญชาการทหารบกได้ออกคำสั่งที่ 806/2568 ซึ่งประกาศใช้มาตรการควบคุมการเปิด–ปิดด่านอย่างเป็นทางการ ‒ เริ่มจากการจำกัดการผ่านแดนเฉพาะกรณีจำเป็น (เช่น การค้า แรงงาน) ลดเวลาทำการ และค่อยๆ ปิดจุดที่มีความเสี่ยงสูง โดยในปัจจุบัน ณ วันที่ 16/6/2568 มีด่านการค้าจำนวนมากที่มีการควบคุมเวลาเปิดทำการ เช่น จุดผ่านแดน ไทย – กัมพูชาในจังหวัดสระแก้ว จุดผ่านแดนถาวร บ้านคลองลึก จุดผ่านแดนถาวร สะพานมิตรภาพไทย – กัมพูชา จุดผ่อนปรนการค้า บ้านหนองปรือ เป็นต้น รวมถึงในพื่นที่จังหวัดอื่นๆ อย่าง บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ ตราด จันทบุรี ซึ่งอาจเป็นผลทำให้การนำเข้า ส่งออกสินค้า การเดินทางของนักท่องเที่ยว และการโยกย้ายของแรงงานทำได้ยากมากขึ้น   มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างประเทศ ของไทย และกัมพูชา ในเดือน มกราคม ถึงเดือนเมษายน คิดเป็นมูลค่ากว่า 64,612

พามาเบิ่ง🧐การค้าชายแดนไทย – กัมพูชาเสี่ยงชะลอตัว หากต้องปิดด่านระยะยาว อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง เพื่อนบ้าน GMS นิยมเข้าไทยผ่านด่านไหน

  จำนวนผู้ผ่านด่านบกในช่วง 5 เดือนแรกของปี 68 สัญชาติ จำนวนคน 5 เดือนแรก 68 (คน) %YoY 5 เดือน ลาว 1,201,542 -13.0% กัมพูชา 475,690 -14.1% เวียดนาม 41,650 -19.6% เมียนมาร์ 34,924 332.0%   จังหวัด สัญชาติ จำนวนคน 5 เดือนแรก 68 %YoY 5 เดือน เลย ลาว 48,578 -6.8% หนองคาย ลาว 456,286 12.2% เวียดนาม 20,613 -10.0% บึงกาฬ ลาว 848 -34.1% นครพนม ลาว 36,853 -8.8% เวียดนาม 10,888 -30.9% มุกดาหาร ลาว 161,639 0.1% เวียดนาม 7,045 -25.5% อุบลราชธานี ลาว 118,760 12.6% เวียดนาม 3,104 -16.4% ศรีสะเกษ กัมพูชา 31,610 0.3% สุรินทร์ กัมพูชา 44,109 -25.8% สระแก้ว กัมพูชา 281,123 -3.1% ลาว 163,838 -37.1% จันทบุรี ลาว 147,089 -50.0% กัมพูชา 93,044 -35.9% ตราด กัมพูชา 25,804 -7.1% เชียงราย เมียนมาร์ 34924 332.0% ลาว 17271 22.7% พะเยา ลาว 26793 36.4% น่าน ลาว 16472 11.8% อุตรดิตถ์ ลาว 7115 -31.0% ที่มา: Travel Link เขตแดนประเทศดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม สุดเขตแดนประเทศไทย พื้นที่ชายขอบของประเทศที่หลายคนอาจมองว่าไกลโพ้นและเงียบเหงา แท้จริงแล้วกลับเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง จุดบรรจบของผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติ ภาษา

พามาเบิ่ง เพื่อนบ้าน GMS นิยมเข้าไทยผ่านด่านไหน อ่านเพิ่มเติม »

จาก ผู้ป่วยอนาถา สู่ บัตรทอง คนป่วยล้มละลาย vs โรงพยาบาลขาดทุน จะเกิดอะไรถ้าคนไทยไม่มีบัตรทอง 30 บาท

ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิ์รักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานของคนไทย หรือที่รู้จักกันในนาม 30 บาทรักษาทุกโรค หรือสิทธิ์บัตรทอง ซึ่งปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนเป็น 30 บาทรักษาทุกที่ คือสิทธิ์ที่คนไทยคุ้นเคยกันมาอย่างยาวนาน ผู้ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งผู้หนึ่งในการริเริ่มผลักดันโครงการนี้คือ นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ที่ได้เรียนรู้ ทดลองปฎิบัติและต่อสู้กับอุปสรรค จนสามารถผลักดันเป็นนโยบายที่สำคัญของประเทศและใช้จริงมาจนถึงปัจจุบัน รูปที่ 1 นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ที่มา: วิสาโล “คุณหมอสงวน (นิตยารัมภ์พงศ์) เอาแนวคิดนี้ไปเสนอมาหมดทุกพรรคแล้ว แต่ไม่มีใครสนใจ แต่ถ้าทุกคนรู้อนาคตได้ เขาคงอยากเป็นเจ้าของนโยบายนี้ เพราะนี่คือ legacy เป็นตำนานทางการเมือง” นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ทาง The MATTER จากประโยคข้างต้น สามารถอนุมานได้ว่า แนวคิดเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอาจเคยถูกเสนอให้กับรัฐบาลชุดก่อน หรือพรรคการเมืองต่างๆ ก่อนหรือระหว่างการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ถูกผลักดันอย่างเป็นรูปธรรมในรัฐบาลที่มี ดร.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในปีดังกล่าว ก่อนการเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทย เล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินนโยบายดังกล่าว จึงนำเสนอเป็นนโยบายหาเสียง และภายหลังได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชน จึงได้นำมาใช้จริงในช่วงต้นของรัฐบาล โดยประกาศเป็นนโยบาย “30 บาท รักษาทุกโรค” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เพื่อรองรับนโยบายนี้อย่างเป็นทางการ ซึ่งสอดคล้องกับ มาตรา 52 และ มาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ก่อนที่ประเทศไทยจะมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คนไทยมีระบบรัฐสวัสดิการอยู่ 4 ระบบ ได้แก่ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ระบบประกันสังคม ระบบประกันสุขภาพโดยสมัครใจ (โครงการบัตรสุขภาพ เสียเงินรายเดือนหรือรายปี) โครงการสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล (สปร.) (บัตรอนาถา) โดยทั้ง 4 ระบบนี้ไม่สามารถให้การครอบคลุมประชากรทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในขณะนั้นยังไม่มีระบบใดที่ดีกว่านี้ นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ได้เห็นถึงความทุกข์ยากของประชาชน โดยเฉพาะคนจนผู้ยากไร้ในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ขณะปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ด้วยความเข้าใจในปัญหาที่เกิดจากการที่ประชาชนจำนวนมากไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล ท่านจึงมีความตั้งใจในการผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เกิดขึ้นในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 นายแพทย์สงวนได้เริ่มดำเนินงานวิจัยและศึกษาเชิงลึกถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งระบบดังกล่าว โดยมีการรวบรวมข้อมูลและพัฒนาแนวคิดอย่างต่อเนื่อง กระทั่งในช่วงรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้น ซึ่งนายแพทย์สงวนก็ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะทำงานจัดทำร่างกฎหมายดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นรัฐสภายังไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวมากเพียงพอ ส่งผลให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้รับการพิจารณาและตกไปในที่สุด 30 บาทรักษาทุกโรค สุขภาพของคนไทย กระเป๋าตังค์ของรัฐ คนไทยดูแลสุขภาพของตัวเองน้อยลง เพราะสามารถไปหาหมอเมื่อไหร่ก็ได้ ทุกข้อดีย่อมมีข้อเสีย แม้โครงการจะดีมากแค่ไหนก็ตาม แต่ในทุกข้อดีล้วนมีข้อเสียที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่เสมอหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็เช่นเดียวกัน ประชาชนบางส่วนมองว่าการที่มีสิทธิ์นี้ทำให้ประชาชนมีการดูแลสุขภาพหรือใส่ใจน้อยลง เนื่องจากมองว่าตนเองสามารถไปหาหมอเทื่อไหร่ก็ได้ และทุกครั้งที่ไปหาก็จ่ายต่ารักษาที่ไม่แพงเพียงแค่ 30 บาทเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นไม่ได้เป็นเช่นนั้น โดยแพทย์มองว่า กรณี 30 บาทรักษาทุกโรคทำให้คนไข้ไม่ดูแลสุขภาพและมาหาหมอมากขึ้นจริงหรือไม่แพทย์บางส่วนมองว่ามีส่วน

จาก ผู้ป่วยอนาถา สู่ บัตรทอง คนป่วยล้มละลาย vs โรงพยาบาลขาดทุน จะเกิดอะไรถ้าคนไทยไม่มีบัตรทอง 30 บาท อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 9 แหล่งน้ำชุมชน 3 จังหวัด ภาคอีสาน สิงห์อาสา จับมือ ม.ขอนแก่น ยกระดับคุณภาพชีวิต แหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน

รายงานแห่งชาติฉบับที่ 4 (NC4) ได้เผยให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด . จากข้อมูลในรายงาน พบว่า 7 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด มีความเสี่ยงสูงสุดต่อภัยความร้อน และจังหวัดนครราชสีมายังมีความเสี่ยงสูงสุดทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมอีกด้วย . ทั้งนี้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของประเทศไทย ภาคการจัดการทรัพยากรน้ำ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ การปนเปื้อนของน้ำ และการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตล้มเหลว โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีความเสี่ยงสูงสุด รองลงมาคือ กรุงเทพมหานคร อุบลราชธานี ขอนแก่น และนครสวรรค์ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ที่มีที่ตั้งโรงงาน อยู่ที่ จ.ขอนแก่น และ จ.มหาสารคาม ได้แก่ บจ.ขอนแก่นบริวเวอรี่ และ บจ.มหาสารคามเบเวอเรช มีแนวทางที่องค์กรธุรกิจใช้ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีมาตรฐานการบำบัดน้ำเสียของโรงงาน รวมถึงไม่สร้างมลพิษทางน้ำ อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่โรงงานต้องใช้ร่วมกับชุมชน, นอกเหนือจากการแสวงหาผลกำไร บริษัทจึงให้ความสำคัญกับ “ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร(CSR)” โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างประโยชน์ต่อชุมชน, สังคม, และสิ่งแวดล้อม และร่วมแก้ปัญหา และจัดการทรัพยากรน้ำ ภัยแล้ง และความสะอาดของแหล่งน้ำ ที่เป็นปัญหาในภาคอีสาน สิงห์อาสา ร่วมกับ ม. ขอนแก่น สร้างแหล่งน้ำชุมชนยั่งยืนภาคอีสานต่อเนื่องปีที่ 6 รองรับการใช้น้ำเพียงพอตลอดท้งปี สิงห์อาสา โดย มูลนิธิพระยาภิรมย์ภักดี และ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินหน้าขยายโครงการสิงห์อาสาสร้างแหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืนปีที่ 6 ที่บ้านโนนรัง ต.สาวะถี อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น เพื่อสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่รองรับการใช้น้ำของชุมชนตลอดทั้งปี เป็นทั้งบ่อกักเก็บน้ำในฤดูฝน ป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และเป็นแหล่งน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งอย่างยั่งยืน โดยนับตั้งแต่ปี 2563 มีแหล่งน้ำชุมชนสิงห์อาสาในจังหวัดภาคอีสานถึง 8 แห่ง ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ชาวบ้านมีน้ำใช้เพียงพอและยังสามารถใช้น้ำทำการเกษตร เช่น การปลูกข้าว พืชผัก ผลไม้ และยังเป็นแหล่งอาหารของชุมชน สร้างรายได้เพราะมีปลาในบ่อให้ชาวบ้านจับเป็นอาหารได้ รวมถึงระบบน้ำประปาสามารถใช้งานได้ตลอดทั้งปี ปัญหา ‘ภัยแล้ง’ ​เป็นหนึ่งในความเดือดร้อนสำคัญของพี่น้อง​ภาคอีสานมาเป็นระยะเวลานาน ประกอบกับความแปรปรวนของสภาพอากาศในปัจจุบันจาก​ภาวะโลกเดือด ทั้งปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาที่จะเกิดขึ้นภายในปีนี้ ทำให้ความรุนแรงของปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน และสำหรับทำการเกษตรมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้จะส่งผลกระทบต่อเนื่อง​เป็นลูกโซ่ ทั้งด้านคุณภาพชีวิต สุขภาพ รวมถึงรายได้ที่ไม่เพียงพอของผู้คนในพื้นที่ การมีแหล่งน้ำที่สะอาดในปริมาณที่เพียงพอ​​ จึงเป็นหนึ่งปัจจัยพื้นฐานในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)​ จึงร่วมกับ “สิงห์อาสา” พร้อมด้วยบริษัท ขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด บริษัทในเครือบุญรอดฯ และ เครือข่ายนักศึกษาสิงห์อาสาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 สถาบัน สร้างสรรค์โครงการ “สิงห์อาสาสร้างแหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน” ต่อเนื่องหลายปี เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำตามธรรมชาติให้ชาวบ้านมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี และยังทำหน้าที่เป็นบ่อกักเก็บน้ำและช่วยชะลอการหลากของน้ำในช่วงฤดูฝน ช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่งด้วย

พามาเบิ่ง 9 แหล่งน้ำชุมชน 3 จังหวัด ภาคอีสาน สิงห์อาสา จับมือ ม.ขอนแก่น ยกระดับคุณภาพชีวิต แหล่งน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน อ่านเพิ่มเติม »

มนต์เสน่ห์แห่งทุ่งปศุสัตว์ วิถีชีวิตและลมหายใจแห่งอีสาน

    จังหวัดในภาคอีสานที่มีรายได้เกินพันล้าน จังหวัด รายได้จากการเลี้ยงหมูเนื้อ (ล้านบาท) รายได้จากการเลี้ยงไก่เนื้อ (ล้านบาท) รายได้จากภาคธุรกิจการเกษตรรวม (ล้านบาท) บุรีรัมย์ 2,122 8,513 13,351 นครราชสีมา 767 6,620 11,604 อุบลราชธานี 226 4,339 4,794 ชัยภูมิ 573 1,899 3,555 ขอนแก่น 1,334 2 3,659 สุรินทร์ 3 1,014 3,001   ภูมิภาค รายได้จากการเลี้ยงหมูเนื้อ (ล้านบาท) รายได้จากการเลี้ยงไก่เนื้อ (ล้านบาท) รายได้จากภาคธุรกิจการเกษตรรวม (ล้านบาท) ภาคกลาง 43,142 42,783 131,993 กรุงเทพและปริมณฑล 27,694 48,307 121,291 ภาคอีสาน 6,414 22,559 42,975 ภาคใต้ 1,725 11,917 23,164 ภาคเหนือ 5,624 2,852 19,368   ตัวอย่างธุรกิจ จังหวัด ตัวอย่างธุรกิจ รายได้ (ล้านบาท) กำไร (ล้านบาท) อุบลราชธานี บริษัท ก้าวหน้าไก่สด จำกัด 4,339 160 ขอนแก่น บริษัท ทองอุไรพัฒนา จำกัด 1,163 -19 ชัยภูมิ บริษัท อรรณพชัยภูมิฟาร์ม จำกัด 846 4 บุรีรัมย์ บริษัท สินพรพงศ์ จำกัด 700 8 นครราชสีมา บริษัท ไทยเจริญพัฒนาเกษตรผสมผสาน จำกัด 613 -21 สุรินทร์ บริษัท เคเอ 88 ฟาร์ม จำกัด 255 11 ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า   สถานการณ์เนื้อสุกรและเนื้อไก่ของไทย และทิศทางตลาดโลก เนื้อไก่และเนื้อสุกรนับเป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายเมนูอาหารไทย รายงานจากกรมปศุสัตว์ระบุว่า ในปี 2565 คนไทยบริโภคเนื้อไก่เฉลี่ย 32.9 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือประมาณ 2.7 กิโลกรัมต่อเดือน ขณะที่การบริโภคเนื้อสุกรเฉลี่ยอยู่ที่ 21.7 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือประมาณ 1.8 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งสะท้อนถึงความแตกต่างด้านราคาที่ส่งผลต่อความสามารถในการเข้าถึง

มนต์เสน่ห์แห่งทุ่งปศุสัตว์ วิถีชีวิตและลมหายใจแห่งอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

หมูจีน หมูแดง หมูแพง หมูเถื่อน หมูทรัมป์ ห่วงโซ่เรื่อง หมูๆ ที่ไม่หมูของเกษตรกรไทย

ฮู้บ่ว่าไทยห้ามนำเข้าเนื้อหมู หมูลักลอบเข้า = หมูเถื่อน ภาคอีสานเป็นแหล่งผลิตอันดับ 2 ของไทย เพราะปัจจุบันการบริโภคหมูในไทยโตแค่ปีละ 0.5% ซึ่งหมายความว่า การผลิต(Supply) เพียงพอต่อ การบริโภคในประเทศ(Demand) ห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าของตลาดสุกรในประเทศไทย มีความซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีผู้เล่นหลายรายและปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง: ภาพรวมการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน การผลิตสุกรในประเทศไทย: การผลิตสุกรของไทยส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงในพื้นที่บ้านเพื่อการบริโภคและสร้างรายได้เสริมสำหรับชาวนา โดยใช้ผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตร อย่างไรก็ตาม มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากฟาร์มในหมู่บ้านไปสู่อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของประชากร การท่องเที่ยว และระดับรายได้ ทำให้ความต้องการเนื้อหมูเพิ่มสูงขึ้น การเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่หรือเชิงอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภาคตะวันออกและภาคกลาง (ประมาณ 36-40% ของการผลิตทั้งหมดของประเทศไทย) ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตหมูต่อปีอยู่ที่ 890,736 ตัน จุดแข็งของการมีฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่คือการควบคุมโรคทำได้ดีกว่า และฟาร์มเหล่านี้ต้องทำมาตรฐานฟาร์ม GAP ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการส่งออกสุกรมีชีวิต ผู้เล่นในห่วงโซ่: ห่วงโซ่อุตสาหกรรมสุกรไทยประกอบด้วยผู้เล่นหลายราย ตั้งแต่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู (รายย่อย รายกลาง รายใหญ่/กลุ่มทุนใหญ่) โบรกเกอร์หรือพ่อค้าคนกลาง โรงชำแหละ แผงขายหมู/ร้านค้า ไปจนถึงผู้บริโภค การขนส่งและการกระจายสินค้า: สมบัติ เจ้าของฟาร์มขนาดกลาง ได้ฉายภาพกระบวนการซื้อขายหมูขุน โดยโบรกเกอร์จะส่งรถมารับหมูที่หน้าฟาร์ม ชั่งน้ำหนัก แล้วนำไปขายต่อ โบรกเกอร์หรือพ่อค้าคนกลางนี้จะเป็นผู้ดำเนินการในแต่ละช่วงตั้งแต่ฟาร์มไปจนถึงช่องทางจำหน่าย หมูที่ผ่านโรงชำแหละจะถูกแปรรูปเป็นซาก (Carcass) ที่แยกชิ้นส่วนแล้ว ก่อนจะส่งไปที่เขียงเพื่อตัดแบ่งเป็นชิ้นส่วนย่อยตามความต้องการของผู้บริโภค ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่ โรคระบาด (ASF): การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ทำให้หมูล้มตายจำนวนมากและผลิตลูกหมูได้น้อยลง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาหมูสูงขึ้น รัฐบาลไทยมีการประกาศโรคระบาดล่าช้า ซึ่งมีส่วนให้ปัญหาบานปลาย ความไม่แน่นอนเรื่องโรคระบาดทำให้เกษตรกรไม่กล้าลงทุนเพิ่ม หมูเถื่อน: การลักลอบนำเข้าเนื้อหมูเถื่อนเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่บ่อนทำลายเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูไทย หมูเถื่อนคือหมูราคาถูกจากต่างประเทศที่นำเข้าโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ผ่านการตรวจโรค ไม่เสียภาษีศุลกากร ปัญหาหมูเถื่อนเกี่ยวข้องกับการปั่นราคาและเป็นภัยต่อความมั่นคงทางอาหาร (ไม่รู้คุณภาพและความปลอดภัย) เชื่อว่ากระบวนการนำเข้าหมูเถื่อนเกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจและเป็นขบวนการขนาดใหญ่ สถานการณ์วัตถุดิบอาหารสัตว์: สงครามรัสเซีย-ยูเครนและปัญหาการผลิตในประเทศผู้ผลิตสำคัญ (สหรัฐฯ อาร์เจนตินา บราซิล) เนื่องจากต้นทุนน้ำมันและปุ๋ยแพง ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การแทรกแซงของรัฐและข้อเสนอแนะ มาตรการของรัฐ: รัฐบาลได้มีมาตรการต่างๆ เช่น ห้ามส่งออกหมูมีชีวิตชั่วคราว ช่วยเหลือด้านราคาอาหารสัตว์ และเพิ่มกำลังผลิตโดยกระจายลูกสุกรให้เกษตรกรรายย่อย และมีการขอความร่วมมือตรึงราคาจำหน่ายหมูเนื้อแดง อย่างไรก็ตาม การตรึงราคาเป็นการทำลายแรงจูงใจของเกษตรกรที่จะลงทุนเพิ่มและอาจทำให้ปัญหายืดเยื้อ รัฐไม่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาต้นทางเรื่องการจัดการต้นทุนวัตถุดิบได้ ข้อเสนอแนะจากสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.): เสนอ 5 แนวทาง ได้แก่: นำเข้าเนื้อหมูแช่แข็งชั่วคราวแบบมีเงื่อนไข (ปลอดสารเร่งเนื้อแดง) ปรับโครงสร้างคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig Board) ผลักดันท้องถิ่นสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยเลี้ยงหมูเพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ ผู้บริโภคร่วมมีบทบาทสนับสนุนการเลี้ยงหมูแบบธรรมชาติ/หมูหลุม เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ สนับสนุนการวิจัยลดการบริโภคเนื้อสัตว์และเพิ่มการผลิตโปรตีนจากพืช โดยสรุป ห่วงโซ่อุปทานของสุกรไทยมีการเปลี่ยนผ่านจากการผลิตรายย่อยไปสู่เชิงพาณิชย์มากขึ้น ต้นทุนการผลิตที่สูง โรคระบาด และหมูเถื่อน เป็นปัจจัยกดดันสำคัญ ขณะที่กลไกการกำหนดราคาถูกอิทธิพลโดยกลุ่มทุนใหญ่ผ่านระบบโบรกเกอร์ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างราคาหน้าฟาร์มและหน้าเขียง และส่งผลให้เกษตรกรรายย่อย/กลางจำนวนมากอยู่รอดได้ยาก ฮู้บ่ว่าฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม ปัจจุบันราคาเนื้อหมูในประเทศแพงกว่าไทย(โดยเฉลี่ย) เหตุเพราะ การระบาด ของโรคอหิวาแอฟริกาในสุกร(ASF) ทำให้ประเทศเปิดรับนำเข้าหมูจากต่างประเทศ โดยเฉพาะนำเข้าจากจีน ซึ่งมีราคาเนื้อหมูที่ถูกกว่าผลิตเองภายในประเทศ เป็นผลดีต่อผู้บริโภค

หมูจีน หมูแดง หมูแพง หมูเถื่อน หมูทรัมป์ ห่วงโซ่เรื่อง หมูๆ ที่ไม่หมูของเกษตรกรไทย อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🧐ประโยชน์ของแร่เกลือหิน🧂สู่โซเดียมแบตเตอรี่🔋 หลัง มข. ส่องมอบแบตฯ เสริม กองทัพ

เกลือหิน (rock salt) คือ ทรัพยากรแร่ตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการตกตะกอนของน้ำทะเล เกลือหินหลากสี พบเหนือชั้นโพแทซ มีความหนาเฉลี่ย 3 เมตร มีสีต่างๆ เช่น สีส้ม แดง เทา ดำ และขาว เป็นชั้นสลับกัน และพบเฉพาะบริเวณที่มีชั้นโพแทซเท่านั้น และในปัจจุบันเเร่เกลือหินถูกนำไปใข้ประโยชน์ในหลายด้าน หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมแบตเตอรี่ . ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของอาเซียนในปี 2565 ซึ่งความสำเร็จครั้งนั้นนับเป็นกลไกลสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบ ให้สามารถผลิตวัตถุดิบคุณภาพสูง รองรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่แห่งอนาคต . ภาตอีสานของเราก็ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่สำคัญของวัตถุดิบหลักของแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน อย่างแร่เกลือหินเนื่องจากในภาคอีสานมีแหล่งแร่เกลือหินอยู่จำนวนมาก โดยครอบคลุมถึง 16 จังหวัดในภาคอีสาน โดยจังหวัดที่โดดเด่น มีแร่เกลือหินใต้ผิวดินมากกว่า 50% ได้แก่ หนองคาย: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 86% มหาสารคาม: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 85% นครพนม: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 79% ร้อยเอ็ด: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 66% สกลนคร: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 58% ยโสธร: มีปริมาณแร่เกลือหินใต้พื้นผิว 53% แนวโน้มในอนาคตทั่วโลกให้ความสนใจในพลังงานสะอาดมากขึ้น ซึ่งความต้องการของแบตเตอรี่ก็จะเพิ่มขึ้นควบคู่กันไป แต่แบตเตอรี่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังต้องมีการพัฒนาอีกมาก แบตเตอรี่โซเดียมไอออนเป็นอีกหนึ่งในอนาคตของแบตเตอรี่ที่คาดว่าจะมีความปลอดภัยมากขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีราคาที่เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งจะสามารถช่วยทั้งโลก และมนุษย์ได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่เซเดียม-ไอออน ยังคงต้องการเวลาในการพัฒนาอีกไม่น้อย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ให้ดีมากยิ่งขึ้น มข. ส่งมอบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนสนับสนุนกองทัพ เสริมความมั่นคงชายแดน พิธีส่งมอบ จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน 2568 เวลา 12.00 น. ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี เป็นประธานในการส่งมอบ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน, รศ.นงลักษณ์ มีทอง ผู้อำนวยการโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ และพลตรี กิตติพงษ์ เนื่องชมภู ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร จ.ขอนแก่น เป็นผู้รับมอบ พร้อมด้วยคณะทหารมณฑลทหารบกที่ 23 การสนับสนุนแบตเตอรี่ เพื่อการปฏิบัติการทางทหารนั้น เป็นรูปแบบการให้ยืมเป็นระยะเวลาชั่วคราว ประกอบด้วย 1. แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน 24V100Ah ซึ่งสามารถนำไปใช้งานสำหรับจั๊ม สตาร์ทเครื่องยนต์รถบรรทุก จำนวน 3 แพ็ก 2. แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน 24V50Ah ซึ่งสามารถนำไปใช้งานสำหรับจั๊ม สตาร์ทเครื่อยนต์ตระกูลนาโต้ จำนวน 3 แพ็ก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี (ยืนกลาง) รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือยาวนานกับกองทัพ และมณฑลทหารบกที่ 23 โดยมีความร่วมมือทั้งในลักษณะกึ่งทางการและเป็นทางการ

พามาเบิ่ง🧐ประโยชน์ของแร่เกลือหิน🧂สู่โซเดียมแบตเตอรี่🔋 หลัง มข. ส่องมอบแบตฯ เสริม กองทัพ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top