SHARP ADMIN

พามาเบิ่ง เปิดพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากจังหวัดนครพนม

จังหวัดนครพนม พบว่ามีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากทั้งหมด 395.22 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของพื้นที่ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นครั้งคราว มีน้ำท่วมขังไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี จำนวน 225.77 ตร.กม. รองลงมาได้แก่พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากบ่อยครั้ง มีน้ำท่วมขัง 4-7 ครั้ง ในรอบ 10 ปี จำนวน 136.88 ตร.กม. และพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำ 32.57 ตร.กม.   อำเภอท่วมมากเป็นอันดับ 1 คือ อำเภอ ศรีสงคราม มีพื้นที่อยู่ 671,317 ตร.กม. มีจำนวนหลังคาเรือนในอำเภออยู่ 24,289 หลังคาเรือน   อำเภอท่วมที่สุดเป็นอันดับ 2 คือ อำเภอ นาทม มีพื้นที่อยู่ 398,129 ตร.กม. มีจำนวนหลังคาเรือนในอำเภอยู่ 7,058 หลังคาเรือน   อำเภอท่วมเป็นอันดับ 3 คือ อำเภอ นาหว้า มีพื้นที่อยู่ 288,448 ตร.กม. มีจำนวนหลังคาเรือนในอำเภออยู่ 15,668 หลังคาเรือน   ย้อนเบิ่งเหตุการณ์น้ำท่วมสำคัญใน นครพนม เหตุการณ์น้ำท่วมสำคัญแม่น้ำโขงยังคงเป็นภัยสำคัญของจังหวัดนครพนม ชาวบ้านริมฝั่งยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำอย่างใกล้ชิด หลังจากที่ในปี 2561 เคยมีการเพิ่มระดับน้ำผิดปกติ ทำให้ชุมชนริมโขงต้องจัดเวรเฝ้าน้ำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันน้ำท่วมซ้ำรอยเหตุการณ์ใหญ่ปี 2521 ซึ่งน้ำท่วมตลาดธาตุพนมเป็นเวลานานถึง 1 เดือน 🔎พาอัพเดตเบิ่ง แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอีสาน☔️🌧️🌊 อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 เหตุการณ์น้ำท่วมกลับมาอีกครั้ง แต่รุนแรงและส่งผลกระทบมากกว่าครั้งก่อน โดยมีหลายอำเภอได้รับผลกระทบหนักทั้งน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ทำให้ประชาชนกว่า 11,000 คนต้องเผชิญกับวิกฤตน้ำท่วมและความเสียหายที่มากกว่าในอดีต สาเหตุหลักยังคงเหมือนเดิม คือระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการระบายน้ำจากฝั่ง สปป.ลาวที่ส่งผลให้ลำน้ำสาขาไม่สามารถระบายน้ำลงได้ ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ต่ำริมแม่น้ำ จากเหตุการณ์ในอดีตถึงปัจจุบัน ชาวบ้านและหน่วยงานท้องถิ่นยังคงร่วมมือกันในการเฝ้าระวัง เตรียมพร้อมรับมือภัยน้ำท่วมซ้ำซาก เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เหตุการณ์น้ำท่วมที่สำคัญล่าสุดที่เพิ่งเกิดไปในจังหวัดนครพนมเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 สาเหตุหลักมาจากระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลำน้ำสาขา เช่น ลำน้ำสงครามและลำน้ำอูน ไม่สามารถระบายลงแม่น้ำโขงได้ ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและชุมชนในหลายอำเภอของจังหวัด พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ได้แก่ อำเภอบ้านแพง อำเภอนาหว้า และอำเภอศรีสงคราม โดยเฉพาะในอำเภอศรีสงคราม มีบางตำบลที่ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร ส่งผลให้ประชาชนต้องอพยพและพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายอย่างหนัก ในอำเภอบ้านแพง ระดับน้ำโขงเพิ่มขึ้นวันละ 10–15 เซนติเมตร ส่งผลให้บ้านเรือนริมน้ำถูกน้ำท่วม ประชาชนต้องอพยพและย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่เสี่ยง พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 60,000 ไร่ ส่วนในอำเภอเมืองนครพนม […]

พามาเบิ่ง เปิดพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากจังหวัดนครพนม อ่านเพิ่มเติม »

จากวิกฤตเด็กเกิดต่ำ สู่นักเรียนน้อยลง🏫 พ่อแม่มีฐานะส่งลูกเรียนอินเตอร์ ดัน ร.ร.เอกชน โตพุ่ง📈 ในขณะ ร.ร.รัฐหลายแห่งปิดตัว🚸ผลวิจัยเผย เด็กไทย 15-24 ปี 1.4 ล้านคน ไม่เรียนต่อ

จากวิกฤตเด็กเกิดต่ำ สู่นักเรียนน้อยลง🏫 พ่อแม่มีฐานะส่งลูกเรียนอินเตอร์ ดัน ร.ร.เอกชน โตพุ่ง📈 ในขณะ ร.ร.รัฐหลายแห่งปิดตัว🚸ผลวิจัยเผย เด็กไทย 15-24 ปี 1.4 ล้านคน ไม่เรียนต่อ จบมาไม่มีงาน ค่าเล่าเรียนแพง . เอกชน โตสวน สังคมสูงวัยที่เด็กเกิดต่ำ ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ให้เห็นว่า จำนวนโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรไทย มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากจำนวนนักเรียนไทยที่ลดลง ทำให้ระหว่างปีการศึกษา 2555-2567 เกิดการทยอยปิดตัวของโรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนเอกชนหลักสูตรไทย ไปมากกว่า 2,000 แห่ง จากโรงเรียนประมาณ 35,000 แห่ง เหลือ 33,000 แห่ง ในทางกลับกัน โรงเรียนนานาชาติกลับเติบโตอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี จาก 138 แห่งเป็น 249 แห่ง เฉพาะปีการศึกษา 2567 ปีเดียว จำนวนโรงเรียนนานาชาติเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของกิจการโรงเรียน สู่หลักสูตรต่างประเทศมากขึ้น ในปีการศึกษา 2567 นักเรียนไทยในโรงเรียนไทยอยู่ที่ 8.8 ล้านคน ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ 8.9 ล้านคน แต่นักเรียนไทยในโรงเรียนนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 70,000 คน เป็น 77,000 คน งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า นอกจากในกรุงเทพฯโรงเรียนนานาชาติมีแนวโน้มขยายตัวออกสู่หัวเมืองต่างจังหวัดมากขึ้น ประมาณการว่าในปี 2567 มูลค่าตลาดโรงเรียนนานาชาติในไทยอยู่ที่ 87,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 13 และยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยังมีโรงเรียนที่อยู่ระหว่างการขออนุญาตเปิดเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก รายงานการสำรวจของ Deloitte ดังกล่าว ได้สำรวจความคิดเห็นคนรุ่นใหม่ทั่วโลกกว่า 23,500 คน ใน 44 ประเทศ🌏 ซึ่งรวมถึงกลุ่มตัวอย่างคนไทย 330 คน🇹🇭 (แบ่งเป็น Gen Z 209 คน และ Gen Y 121 คน) พบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับมุมมองต่อการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือที่เฉพาะเจาะจงว่าเป็น บัณฑิตศึกษา (Post-Bachelor’s Degree) ในหลากหลายมิติ เริ่มจากแง่มุมของการเลือกเรียนต่อ-ไม่เรียนต่อระดับปริญญา พบว่าเริ่มมีบางส่วนที่ขอไม่เรียนต่อดีกว่า?! 🇹🇭แม้ว่าโดยภาพรวมแล้ว คนไทยทั้ง Gen Z และ Gen Y จะให้ความสำคัญกับการเรียนต่อในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรีมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังมีชาว Gen Z ในประเทศไทยถึง 16% และ Gen Y 17% ที่ระบุว่าพวกเขา “ตัดสินใจไม่เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา”

จากวิกฤตเด็กเกิดต่ำ สู่นักเรียนน้อยลง🏫 พ่อแม่มีฐานะส่งลูกเรียนอินเตอร์ ดัน ร.ร.เอกชน โตพุ่ง📈 ในขณะ ร.ร.รัฐหลายแห่งปิดตัว🚸ผลวิจัยเผย เด็กไทย 15-24 ปี 1.4 ล้านคน ไม่เรียนต่อ อ่านเพิ่มเติม »

‘สามเหลี่ยมมรกต อุบลราชธานี’ ชายแดนสามเส้า ไทย – ลาว – กัมพูชา กับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่บรรลุผล

หลังเหตุปะทะกันระหว่างทหารไทยและทหารกัมพูชาในช่วงวันที่ 28 พฤษภาคม 2568 ณ บริเวณพื้นที่ช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ทำให้ประเด็นข้อพิพาทเรื่องดินแดนของทั้ง 2 ประเทศได้รับการพูดถึงมากขึ้นในช่วงนี้ โดยพื้นที่ช่องบกนี้ เป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่ “สามเหลี่ยมมรกรต” รอยต่อระหว่างประเทศไทย – ลาว – กัมพูชา โดยบทความนี้ อีสาน อินไซต์ จะพามาสำรวจเรื่องราวของพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต ซึ่งเต็มไปด้วยนัยยะทางประวัติศาสตร์ การเมือง และเศรษฐกิจที่หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อน    สามเหลี่ยมมรกตคืออะไร? หลายคนคงรู้จัก ‘สามเหลี่ยมทองคำ’ ซึ่งเป็นพื้นที่บรรจบกันระหว่างชายแดนไทย – ลาว – เมียนมา แต่ก็ยังมีอีกพื้นที่ชายแดนสามเส้า ที่กำลังเป็นที่พูดถึงอยู่ในช่วงนี้อย่าง ‘สามเหลี่ยมมรกต’  (Emerald Triangle) หรือ ช่องบก ครอบคุลมพื้นที่ประมาณ 12 ตร.กม.  เป็นจุดบรรจบของสามประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย: อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี สปป.ลาว: เมืองมูนปะโมก แขวงจำปาสัก กัมพูชา: อำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพระวิหาร ในอดีตประมาณ 40 ปีก่อนนั้น พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์และการสู้รบอย่างดุเดือดช่วงสงครามเย็น โดยเฉพาะ สมรภูมิช่องบก ภาพ สามเหลี่ยมมรกต – อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จากชายแดนเงียบสงบ สู่สมรภูมิร้อนของสงครามอินโดจีนครั้งที่สาม ในช่วงสงครามเย็น ช่องบกไม่ได้เป็นเพียงเส้นเขตแดนทางภูมิศาสตร์ แต่กลายเป็นแนวหน้าในสงครามอุดมการณ์ระหว่างโลกทุนนิยมกับสังคมนิยม พื้นที่นี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่กองทัพเวียดนามใช้เป็นทางผ่านในการไล่ล่ากลุ่มเขมรแดงที่ถอยร่นมาจากกัมพูชาเข้าเขตไทย โดยกองทัพเวียดนามได้ก้าวล่วงเข้ามายังเขตแดนอธิปไตยของไทยเป็นระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร ตามรายงาน เป้าหมายคือ ตีโอบวงกว้าง เพื่อตัดการลำเลียงยุทธปัจจัยและป้องกันไม่ให้เขมรแดงวิ่งกลับเข้าไทยแล้วย้อนกลับกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นกองทัพของเวียดนามมีความเชี่ยวชาญในยุทธวิธีเป็นอย่างมาก ประกอบกับมีระบบโลจิสติกส์และเส้นทางลำเลียงที่เชื่อมโยงกับ สปป.ลาว ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิด และอาวุธที่สหรัฐอเมริกาเหลือทิ้งไว้ก็ทำให้เวียดนามมีความได้เปรียบเป็นอย่างมาก  ทหารไทย ภายใต้การบัญชาการของกองกำลังสุรนารี (กองทัพภาคที่ 2) เข้าต่อต้านการรุกล้ำของเวียดนาม ซึ่ง เกิดการสู้รบอย่างหนักบริเวณ ช่องบก – เนิน 500 – แนวชายแดนไทย-กัมพูชา จ.อุบลราชธานีการปะทะกันระหว่างทหารเวียดนามและกองทัพไทยในพื้นที่ช่องบกเกิดขึ้นอย่างดุเดือดในช่วงปี พ.ศ. 2528 – 2530  แม้ไทยจะประสบความสำเร็จในการขับไล่กองทัพเวียดนาม และทางเวียดนามได้ถอนกองกำลังออกจากกำพูชาอย่างเป็นทางการในปี 2530 แต่การประทะกันในครั้งนั้นก็ส่งผลให้ทหารไทยเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (รายงานอย่างไม่เป็นทางการรายงานว่าทหารไทยเสียชีวิต 109 – 200 นาย บาดเจ็บ 600 กว่านาย) และรัฐไทยในเวลานั้น หลีกเลี่ยงการเปิดเผยรายละเอียด เนื่องจากผลลัพธ์ไม่ใช่ชัยชนะเด็ดขาด และอาจกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ   ความพยายามพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่สามเหลี่ยมมรกตที่ไม่บรรลุผล หลังสงครามอินโดจีนสิ้นสุดลง ปี พ.ศ. 2532 พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น ได้ประกาศคำขวัญ  “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” ซึ่งสะท้อนการปรับยุทธศาสตร์ระดับชาติจากการป้องกันภัยสงคราม

‘สามเหลี่ยมมรกต อุบลราชธานี’ ชายแดนสามเส้า ไทย – ลาว – กัมพูชา กับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่บรรลุผล อ่านเพิ่มเติม »

💠ไหมแท้ ไหมไทย “ไหมปักธงชัย” ผ้าไหม GI หนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า มูลค่า 6 พันล้านของไทย💠

ผ้าไหมเทียม ทะลักจาก ชายแดน ไทย-ลาว #กระทบอุตสาหกรรมผลิตและทอผ้าไหมในอีสาน ตัดราคา 10 เท่า คุณภาพไม่ได้มาตรฐานพบ เป็นเส้นใยผสม เส้นใยพลาสติก ไม่ใช่ผ้าไหมแท้ ISAN Insight พามาเบิ่ง ไหมแท้ ไหมไทย “ไหมปักธงชัย” ผ้าไหม GI หนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า มูลค่า 6 พันล้านของไทย . [ข้อมูลมูลค่าผลิตภัณฑ์สินค้า “หม่อนไหม” ภายในประเทศ] ปี 2564 ยังมีมูลค่าสูงถึง 6,614.12 ล้านบาท แบ่งเป็น รังไหม 273.50 ล้านบาท เส้นไหม 195.61 ล้านบาท ผ้าไหม 2,196.41 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม 3,803.96 ล้านบาท หม่อนผลสด 79.11 ล้านบาท ใบหม่อนชา, หม่อนอาหารสัตว์ 50.16 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์อื่นๆ 15.37 ล้านบาท ข้อมูลมูลค่าของอุตสาหกรรมจาก “หม่อนไหม” จะพบว่าอุตสาหกรรมนี้ตั้งแต่ปลูกม่อน> เลี้ยงหนอนไหม> สาวไหม> ถักเส้นใย> ย้อมสี> จนทอผ้า ออกมาเป็นผืน ทุกๆ ขั้นตอนล้วนเป็นห่วงโซ่คุณค่า ที่หล่อเลี้ยง ชาวบ้านใน สายห่วงโซ่อุปทานการผลิต 86,482 ครัวเรือน(กรมหม่อนไหม ปี 2565) โดยข้อมูลคาดการณ์จากข้อมูลกรมพัฒนาชุมชน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล คาดการณณ์ว่าภาคอีสานเป็นแหล่งช่างฝีมือทอผ้าขนาดใหญ่ คาดว่ามีถึง 100,000-200,000 คน กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัดในภาคอีสาน ____________________________ [ความเป็นมาของท้องถิ่นสู่ผ้าไหมปักธงชัย] . สำหรับอำเภอปักธงชัย มีประวัติอันยาวนาน มีความสำคัญตั้งแต่สมัยกรงศรีอยุธยา โดยปรากฏวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมด้านการแต่งกายหรือภูมิปัญญาด้านการทอผ้า ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา โดยสมัยก่อนนั้นอำเภอปักธงชัย (เมืองปัก) เป็นเมืองหน้าด่านของเมืองนครราชสีมา ในบริเวณดังกล่าวมาแต่โบราณ มีการทำนา ทำไร่ การปลูกหม่อน ปลูกฝ้าย เลี้ยงไหม ทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าฝ้ายด้วยกี่พื้นบ้าน ซึ่งเป็นการพอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนหรือแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง หากมีเหลือก็จะนำไปแลกเปลี่ยนกันกับพ่อค้าคนกลาง ที่เรียกตัวเองว่า นายฮ้อย ซึ่งนายฮ้อยจะนำผ้าไหมไปขายยังพื้นที่ต่างๆ อำเภอปักธงชัย ถือเป็นแหล่งที่มีการผลิตผ้าไหมที่สำคัญที่สุดของจังหวัดนครราชสีมา และมีการผลิตมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย จนมีการเรียกผ้าไหมที่ได้มีการผลิตในพื้นที่อำเภอปักธงชัยว่า “ผ้าไหมปักธงชัย” ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงแหล่งผลิตผ้าไหมปักธงชัยเป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครราชสีมาเป็นอย่างมาก ลักษณะของผ้าไหมปักธงชัยที่ได้ผลิตตามกรรมวิธีและภูมิปัญญาตั้งเดิมที่สืบทอดต่อกันมาคือ ผ้าพื้น ซึ่งทำการทอด้วยกี่พื้นบ้าน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นกี่กระตูก ผ้าไหมมีลักษณะเป็นผ้าสีพื้น (ผ้าพื้นเรียบ)ทอแบบ 2 ตะกอ ผ้าไหมมีความกว้างไม่น้อยกว่า 40 นิ้ว เนื้อผ้าหนาแน่น สีคงทน ไม่ตก จนกระทั่งได้ทำการขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ผ้าไหมปักธงชัย”

💠ไหมแท้ ไหมไทย “ไหมปักธงชัย” ผ้าไหม GI หนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า มูลค่า 6 พันล้านของไทย💠 อ่านเพิ่มเติม »

เริ่มแล้ว!.นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี อ.เดชอุดม ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 5,000 ล้านบาท หากแล้วเสร็จตำแหน่งงานมากกว่า 20,000 อัตรา

เริ่มแล้ว!.นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี อ.เดชอุดม ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 5,000 ล้านบาท หากแล้วเสร็จตำแหน่งงานมากกว่า 20,000 อัตรา .อุบลฯ ปักหมุด “นิคมอุตสาหกรรม” 5,000 ล้านบาท จุดประกายเศรษฐกิจพลิกโฉมภูมิภาค รับแรงงานคืนถิ่น! อุบลราชธานี กำลังก้าวสู่ยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยศักยภาพ ด้วยการก่อสร้าง นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ณ อำเภอเดชอุดม ซึ่งเป็นโครงการยักษ์มูลค่า 5,000 ล้านบาท โครงการนี้ไม่ได้เป็นเพียงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน หากแต่กำลังวางรากฐาน “โอกาส” และ “อนาคต” ที่จะเปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจภาคอีสาน และวางตำแหน่งอุบลฯ ให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์เชื่อมโยงประเทศในกลุ่ม CLMV พร้อมรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไร้ขีดจำกัด.พื้นที่รวม 1,748 ไร่ ของนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ถูกจัดสรรอย่างเป็นระบบ เพื่อรองรับการลงทุนและตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของภาคอุตสาหกรรม โดยมีพื้นที่โรงงานมากถึง 1,230 ไร่ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการผลิต พื้นที่สาธารณูปโภคกว่า 300 ไร่ เพื่อรองรับการดำเนินงานที่ราบรื่น รวมถึงพื้นที่พาณิชย์และออฟฟิศขนาด 10 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางธุรกิจและบริการ และพื้นที่สีเขียวและแนวกันชนกว่า 209 ไร่ ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการใส่ใจสิ่งแวดล้อม นอกจากการแบ่งส่วนพื้นที่ดังกล่าวแล้ว นิคมฯ แห่งนี้ยังแบ่งออกเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมทั่วไปและเขตปลอดภาษี เพื่อเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดนักลงทุนจากจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายที่กำลังจะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้.การขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี คือการมุ่งเน้นดึงดูดอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภูมิภาคอย่างยั่งยืน โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ที่สอดรับกับกระแสพลังงานสะอาดและนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของโลกและประเทศ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตแผงวงจรพิมพ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งตอบรับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มีความต้องการสูงในตลาดโลก นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตยางรถทางการเกษตร ที่สามารถใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบหลักในท้องถิ่นอย่างยางพารา และตอบสนองความต้องการของภาคเกษตรกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสุดท้ายคือ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งจะต่อยอดศักยภาพด้านวัตถุดิบทางการเกษตรและอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของภาคอีสาน เพื่อนำไปแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสู่ตลาดสากล การก่อสร้างเฟสแรก 1,000 ไร่ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในประมาณ 1 ปี ซึ่งจะเปิดรับสมัครพนักงานต่อไป เป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกต่อตลาดแรงงานในภูมิภาคที่กำลังจะคึกคักขึ้นอย่างเห็นได้ชัด.โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีนี้มิได้เป็นเพียงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แต่เป็นกลไกสำคัญในการสร้างผลประโยชน์รอบด้าน ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะพลิกโฉมอุบลราชธานีและภาคอีสาน การดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และการลงทุนภายในประเทศ จะสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เม็ดเงินลงทุน 5,000 ล้านบาท จะเป็นตัวกระตุ้นภาคการก่อสร้าง ภาคบริการ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ที่สำคัญกว่านั้นคือการสร้างงานมากกว่า 20,000 อัตรา ซึ่งเป็นการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โดยตรง ลดปัญหาการย้ายถิ่นฐานเพื่อหางานในเมืองใหญ่ และยังเป็นโอกาสทองสำหรับ “แรงงานคืนถิ่น” ที่อยากกลับมาทำงานในบ้านเกิด การลงทุนนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมใหม่ๆ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงานยุคใหม่.นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานีจะกลายเป็น “ศูนย์กลางโลจิสติกส์แห่งอีสาน” ที่สำคัญยิ่ง ด้วยทำเลที่ตั้งอันได้เปรียบ ซึ่งเชื่อมโยงกับประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา, สปป.ลาว, เวียดนาม และเมียนมา) และยังได้รับการสนับสนุนจากโครงข่ายคมนาคมที่ทันสมัย ทั้งรถไฟทางคู่และท่าอากาศยานอุบลราชธานีที่จะช่วยสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระดับนานาชาติ การลดต้นทุนการขนส่งจะส่งผลให้สินค้าจากไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้นในตลาด CLMV ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง บทบาทนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การขนส่งสินค้าสำเร็จรูป แต่ยังรวมถึงการเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบที่สามารถส่งต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อประกอบหรือแปรรูปขั้นสุดท้าย และการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่มีพื้นที่เชิงพาณิชย์และแหล่งรวบรวมนวัตกรรมใหม่ๆ จากผู้ประกอบการ SMEs จะช่วยให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีต้นทุนต่ำและสามารถแข่งขันได้.นอกจากนี้

เริ่มแล้ว!.นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี อ.เดชอุดม ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน งบประมาณ 5,000 ล้านบาท หากแล้วเสร็จตำแหน่งงานมากกว่า 20,000 อัตรา อ่านเพิ่มเติม »

ไฟใต้เถ้าแห่งพรมแดน กรณีปะทะไทย–กัมพูชา “ช่องบก” พาย้อนรอยร้าวประวัติศาสตร์ข้อพิพาทชายแดน

ISAN Insight สิพามาเบิ่ง กรณีปะทะไทย–กัมพูชาที่ช่องบก และรอยร้าวประวัติศาสตร์ข้อพิพาทชายแดน สมรภูมิเดือด! เขตแดนทับซ้อน เปิดตำนาน “ช่องบก” หรือ สามเหลี่ยมมรกต จุดชนวนไทย-กัมพูชา พร้อมข้อตกลงล่าสุด   เหตุปะทะล่าสุดในพื้นที่ช่องบก เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2568 กองทัพบกไทยรายงานเหตุปะทะระหว่างทหารไทยและกัมพูชาในพื้นที่ชายแดนช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี หลังตรวจพบว่าทหารกัมพูชาเข้ามาขุด “ช่องคูเลต” หรือร่องสนามเพาะ เพื่อเตรียมตั้งแนวรบในพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาต่างอ้างกรรมสิทธิ์ โดยมีระยะทางกว่า 650 เมตร การกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดข้อตกลงที่ห้ามมีการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศในพื้นที่พิพาท จนนำไปสู่การปะทะซึ่งกินเวลาประมาณ 10–25 นาทีในช่วงเช้ามืด ซึ่งจากการรายงานข่าวของกัมพูชา ระบุว่ามีทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 ราย และทางกัมพูชาอ้างว่าไทยเป็นฝ่ายเริ่มยิงก่อน ทั้งนี้ แถลงการจากกองทัพบกไทยได้ระบุว่าสาเหตุการปะทะระหว่างทหารสองประเทศว่า หลังจากมีรายงานการรุกล้ำพื้นที่ดังกล่าว ไทยได้พยายามมีการเข้าไปเจรจา แต่เกิดการสื่อสารคลาดเคลื่อน และทางทหารกัมพูชาเข้าใจผิดและเปิดฉากยิงก่อน ทำให้จำเป็นต้องตอบโต้ด้วยกำลัง ทางฝั่งกัมพูชาได้มีการเคลื่อนไหวโดย  “Samdech Hun Sen of Cambodia” ของ จอมพล สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา บิดาของนายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชาคนปัจจุบัน มีการโพสต์ข้อความประณามผ่านโซเชียลมีเดีย และมีการหยิบยกกรณีพิพาทพระวิหาร อีกทั้งภายในที่ประชุมรัฐสภากัมพูชายังได้มีการหยิบยก แนวทางการยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เพื่อหาทางยุติข้อพิพาทเขตแดนกับไทย หลัง กัมพูชาปิดกั้นบล็อกเฟสบุ๊ค IP คนไทย ส่วน ไทย(มีแผนเตรียม)สั่งปิดด่านชายแดนเขมร 6 แห่ง และจุดผ่อนปรน 10 แห่ง ก่อนจะได้ข้อสรุปยังไม่ผิดด่าน เพื่อหาทางเจรจาต่อไป   ไทยยืนยันสถานการณ์โดยรวมยังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีลักษณะใดที่นำไปสู่การเผชิญหน้ากันด้วยกำลังแต่อย่างใด พลตรี วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก เปิดเผยถึงสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย–กัมพูชาในปัจจุบันว่า สถานการณ์โดยรวมยังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีลักษณะใดที่นำไปสู่การเผชิญหน้ากันด้วยกำลังแต่อย่างใด   เมื่อวันที่ 30 พฤภาคม 68 กองทัพบกออกหนังสือแถลงการณ์ผลการเจรจาระหว่าง ผบ.ทบ.ไทย – ผบ.ทบ.กัมพูชา ในประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 1. ผบ.ทบ.ได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียกำลังพลจากเหตุการณ์ปะทะ และเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญต่อเจตนารมณ์ของ รมว.กลาโหม ของทั้งสองประเทศ ที่ต้องการให้มีการเจรจา เพื่อยุติความขัดแย้ง พร้อมแสดงจุดยืนสนับสนุนการพูดคุยเจรจาด้วยสันติวิธีในการหาข้อตกลงร่วมกัน และขอยืนยันว่าจะไม่มีการรุกรานอธิปไตย หรือการหยิบยกประเด็นข้อขัดแย้งในอธิปไตยของกัมพูชาโดยเด็ดขาด การเจรจาครั้งนี้จะส่งผลดีต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ 2. กรณีข้อขัดแย้งบริเวณช่องบก กองทัพบกไทยและกัมพูชา มีความเห็นร่วมกันในการใช้กลไกคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม หรือ Joint Boundary Committee (JBC) ซึ่งเป็นกลไกในระดับรัฐบาลในการเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งผลการประชุม JBC คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในอีก 2 สัปดาห์ โดยปัจจุบันกำลังทั้งสองฝ่ายที่เคยปะทะได้ตกลงที่จะเคลื่อนออกจากพื้นที่ ถือเป็นการคลี่คลายความตึงเครียดระหว่างกัน ทั้งสองฝ่ายยังมีความเห็นพ้องในการใช้กลไกคณะกรรมการร่วมมือรักษาความ

ไฟใต้เถ้าแห่งพรมแดน กรณีปะทะไทย–กัมพูชา “ช่องบก” พาย้อนรอยร้าวประวัติศาสตร์ข้อพิพาทชายแดน อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง ส่งออกสะดุด ทุเรียนเวียดนามเบนเข็มเข้าตลาดไทย หวั่นใช้เป็นฐานการส่งออก

ฮู้บ่ว่า เวียดนาม การส่งออกทุเรียนเวียดนามในไตรมาสที่ 1 เพิ่มสัดส่วนการส่งออกมายังไทยเพิ่มขึ้น ทดแทนการพึ่งพาจากตลาดจีนเพียงที่เดียว สร้างขอสังเกตุเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกทุเรียนโดดเด่นอยู่แล้ว หวั่นเวียดนามต้องการใช้ไทยเป็นทางผ่านก่อนส่งออกเข้าไปจีน ในไตรมาสแรกของปี 2025 เวียดนามส่งออกทุเรียนได้ประมาณ 26,900 ตัน คิดเป็นมูลค่า 98.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 53% ในด้านปริมาณ และ 61% ในด้านมูลค่า ขณะที่ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ 3,655 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลง 18% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักของการหดตัวดังกล่าวมาจาก การเข้มงวดด้านมาตรฐานและความปลอดภัยของจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักที่รองรับทุเรียนเวียดนามมากกว่า 90% โดยเฉพาะหลังจากมีรายงานพบสาร “สีเหลือง O” ในทุเรียนบางล็อตที่นำเข้าจากไทยช่วงต้นปี ทำให้จีนเข้มงวดกับทุเรียนจากทุกประเทศมากขึ้น เวียดนามก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดทุเรียนจีนอย่างรวดเร็วในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หลังจากจีนอนุมัติให้นำเข้าทุเรียนจากเวียดนามอย่างเป็นทางการในปี 2565 โดยเวียดนามได้เปรียบทั้งด้าน ต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า, ระยะทางขนส่งที่ใกล้กว่า, และ ฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่ต่างจากไทย ทำให้สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดจีนได้ต่อเนื่อง ทุเรียนเวียดนามบุกตลาดจีน คู่แข่งสำคัญของไทยในเวลาเพียง 3 ปี แม้ว่าการนำเข้าทุเรียนจากไทยจะยังคงมีอยู่ในระดับสูง แต่สัดส่วนของเวียดนามในตลาดจีนก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จาก 5% ในปี 2022 เป็น 32% และล่าสุดเพิ่มขึ้นเป็น 42% ส่งผลให้ไทยซึ่งเคยครองตลาดเพียงรายเดียวต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากข้อจำกัดด้านมาตรการนำเข้าของจีน ทำให้เวียดนามต้องกระจายตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะ ประเทศไทย ซึ่งกลายเป็นปลายทางใหม่ที่มีสัดส่วนการนำเข้าทุเรียนจากเวียดนาม สูงถึง 26% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของเวียดนามในไตรมาสแรกของปี 2025     ทุเรียนเวียดนามส่งออกไปไทยมากถึง 26% ของส่งออกรวม ยอดส่งออกทุเรียนของเวียดนามไตรมาสแรกปีนี้ลดลงจากปีก่อนถึง 53% ในแง่ปริมาณน้ำหนัก เนื่องจากจีนลดการซื้อลงแต่กระนั่นตัวเลขการส่งออกหลักของเวียดนามยังเป็นประเทศจีน ถึง 51% ของภาพรวม ลำดับสองทุเรียนเวียดนามส่งไปไทย 26% และลำดับสามส่งไปฮ่องกง 11% ราคาเฉลี่ยสามเดือนแรกปีนี้ 3,655 USD/ตัน, ต่ำกว่าปีก่อน 18% เป็นที่น่าแปลกใจว่าไทยและเวียดนามต่างเป็นผู้ผลิตทุเรียนเหมือนกันแต่มีทุเรียนเวียดนามส่งไปไทยแล้วถึง 26% ของการส่งออกรวม ประเด็นนี้สร้างข้อสังเกตสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยเองเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายหลักของโลก การนำเข้าทุเรียนจากเวียดนามในระดับสูงเช่นนี้จึงก่อให้เกิดความกังวลว่า เวียดนามอาจใช้ไทยเป็นทางผ่าน (transit point) เพื่อส่งต่อไปยังจีนในลักษณะ re-export โดยอาศัยต้นทุนที่ต่ำกว่า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคาและภาพลักษณ์ของทุเรียนไทยในตลาดโลก สถานการณ์ดังกล่าวจึงสะท้อนถึงความจำเป็นที่ไทยต้อง ตรวจสอบแหล่งที่มาของทุเรียนอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าและการใช้ไทยเป็นฐานการส่งออกโดยมิชอบ พร้อมทั้งรักษาความน่าเชื่อถือในฐานะผู้ส่งออกทุเรียนคุณภาพของภูมิภาคต่อไป จากกาแฟแพง สู่ทุเรียนถูก บทเรียนเกษตรกร เมื่อเวียดนามหันมาปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น ท่ามกลางการหดตัวลงของการปลูกกาแฟ ทุเรียน 3 ชาติสวมสิทธิ์ทุเรียนไทย ส่งออก สารพัดปัญหา-กดราคาต่ำสุดในรอบ 5 ปี ราคาทุเรียนต่ำกว่า 100 บาท/กก. ดิ่ง 90-95 บาท/กก. เหตุจีนเจอ

พามาเบิ่ง ส่งออกสะดุด ทุเรียนเวียดนามเบนเข็มเข้าตลาดไทย หวั่นใช้เป็นฐานการส่งออก อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาเบิ่ง🌈PROUD อีหลี “อีสานไพรด์” แผนที่อีสาน #ม่วนหลายPridemonth 2025🏳️‍🌈

17 เทศกาล อีสานไพรด์ ทั่วภาคอีสาน ปี 2568 มัดรวมพิกัดสถานที่เฉลิมฉลอง Pride Month เทศกาลแห่งสีสันและความภาคภูมิใจของเหล่า LGBTQ+ ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศไทย ตลอดเดือนมิถุนายน 2567 นี้ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น! ร่วมสนับสนุนความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศไปพร้อมๆ กัน #ม่วนหลายPridemonth บุญบั้ง Pride Yasothon จัดพร้อมงานบุญบั้งไฟ เมื่อ 17-18 พฤษภาคม 2568 Loei Pride Month 2025 จ.เลย 7 มิถุนายน 2568 ศีขรภูมิไพรด์ (อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์)  7 มิถุนายน 2568 ซะเร็นไพรด์ (จ.สุรินทร์) 14 มิถุนายน 2568 UBON PRIDE (จ.อุบลราชธานี) 14 มิถุนายน 2568 Korat Pride (จ.นครราชสีมา)  7, 8, 14 มิถุนายน 2568 อุดรธานีไพรด์ (จ.อุดรธานี)  21 มิถุนายน 2568 บุรีรัมย์ไพรด์ (จ.บุรีรัมย์) 21-22 มิถุนายน 2568 ศรีสะเกษไพรด์ (จ.ศรีสะเกษ) 22 มิถุนายน 2568 มหาสารคามไพรด์ MahaPride (จ.มหาสารคาม) 23 มิถุนายน 2568 ปราสาทไพรด์ (อ.ปราสาท จ.สุรินทร์) 27 มิถุนายน 2568 หอแก้วสีรุ้ง Mukdahan Pride Festival 2025 (จ.มุกดาหาร) 27 มิถุนายน 2568 หนองบัวลำภูไพรด์ (จ.หนองบัวลำภู) 28 มิถุนายน 2568 เขมราฐไพรด์ (จ.อุบลราชธานี) 28 มิถุนายน 2568 สาเกตไพรด์ (จ.ร้อยเอ็ด) 28 มิถุนายน 2568 อีสานไพรด์เฟสติวัล(จ.ขอนแก่น) และ ขอนแก่นไพรด์ 30 มิถุนายน 2568 ชัยภูมิไพรด์ (อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ) 29 มิถุนายน 2568 สกลสีรุ้ง Sakonpride2025 (จ.สกลนคร) 28 – 29

ชวนมาเบิ่ง🌈PROUD อีหลี “อีสานไพรด์” แผนที่อีสาน #ม่วนหลายPridemonth 2025🏳️‍🌈 อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก🧐ช่องทางตรวจสอบมิจฉาชีพ เปิดดูบัญชีม้า เบอร์โทร ฟรีจาก Cyber Check🔎☑️

แค่ 5 เดือน คนไทยเสียหาย 1.1 หมื่นล้าน ตำรวจไซเบอร์ แนะช่องทางตรวจสอบมิจชาชีพ เปิดดูบัญชีม้า เบอร์โทร ฟรีจาก Cyber Check ตำรวจ👮ไซเบอร์ ล้ำสร้างแอปแท้ ตรวจเบอร์โทร📞ได้ทุกเบอร์ ว่าเป็นเบอร์ มิจฯ หรือ ขึ้นบัญชี🔎ใช้งานฟรี(ย้ำ❗โหลดจาก Play Store หรือ App Store เท่านั้น) ISAN Insight พามาฮู้จัก🧐ช่องทางตรวจสอบมิจฉาชีพ เปิดดูบัญชีม้า เบอร์โทร ฟรีจาก Cyber Check🔎☑️ ข้อมูลที่น่าตกใจ จากการเก็บสถิติของ Thaipoliceonline ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2568 พบว่า มูลค่าความเสียหายจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ในประเทศไทยสูงถึงวันละ 91 ล้านบาท โดยตลอด 5 เดือน เสียหายไปกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท 💸คดีออนไลน์: 135,538 เรื่อง 💸แจ้งความออนไลน์: 22,980 เรื่อง 💸แจ้งความที่หน่วยงาน: 12,505 เรื่อง 💸เฉลี่ยต่อวัน: 894 เรื่อง โดยที่ผ่านมาทาง ตำรวจไซเบอร์ ได้ทำการอายัดบัญชีก่อนสูญเงินได้ทันถึง 295,764,203 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3 ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด แม้ทางหน่วยงานจะไล่จับผู้ก่อนเหตุ และคืนเงินได้มากขึ้นจากเมื่อเทียบกับตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดอย่างหนักของมิจฉาชีพในช่วง โควิด-19 โดยในแต่ละวัน ประชาชนไทย เสียหายเฉลี่ยวันละ 91 ล้าน ตัวอย่างเช่น 🫥คดีหลอกซื้อขายสินค้าและบริการ: 4.3 ล้านบาท 🫥คดีหลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ: 9.8 ล้านบาท 🫥คดีหลอกให้กู้เงิน: 3 ล้านบาท 🫥คดี Call Center: 8.3 ล้านบาท 🫥คดีหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์: 16.5 ล้านบาท 🫥และอื่นๆ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (Cyber Crime Investigation Bureau) แนะประชาชน “ป้องกัน” ดีกว่าแก้ “ไม่รับ ไม่คุย ไม่คลิก ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน” พร้อมแนะแอปพลิเคชั่น Cyber Check ใช้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้ประชาชนสามารถ ✅เช็คเบอร์มิจฉาชีพ หรือ เบอร์ขึ้นทะเบียนบัญชีดำ ✅เช็กบัญชีม้า ✅เช็กลิงก์ปลอม ✅เช็ก

พามาฮู้จัก🧐ช่องทางตรวจสอบมิจฉาชีพ เปิดดูบัญชีม้า เบอร์โทร ฟรีจาก Cyber Check🔎☑️ อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง🦽จำนวนสะสมผู้ป่วยมะเร็งปอดแต่จังหวัดภาคอีสาน ปี 2566 เทียบกับสัดส่วนของประชากรรวมของแต่ละจังหวัด

ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งของไทย มีมากถึง 238,625 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งมากถึง 68,501 ราย คิดเป็น 28.71% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด . โดยในจำนวนผู้ป่วย 68,501 ราย เป็นผู้ป่วยจาก ขอนแก่น 10,755 ราย คิดเป็น 15.7% ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งในอีสาน หรือ 0.80% ของประชากรรวมจังหวัด โดย ปี 2566 จากจำนวน 10,755 รายนี้ มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้นถึง 1,403 ราย นครราชสีมา 7,905 ราย คิดเป็น 11.54% ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งในอีสาน หรือ 0.42% ของประชากรรวมจังหวัด โดย ปี 2566 จากจำนวน 7,905 รายนี้ มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้นถึง 3,264 ราย อุดรธานี 6,849 ราย คิดเป็น 10.00% ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งในอีสาน หรือ 0.56% ของประชากรรวมจังหวัด โดย ปี 2566 จากจำนวน 6,849 รายนี้ มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้นถึง 1,499 ราย . ส่วนภูมิภาคอื่นๆ มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็ง ดังต่อไปนี้ ภาคกลาง มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งมากถึง 64,012 ราย คิดเป็น 26.83% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด ภาคใต้ มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งมากถึง 24,611 ราย คิดเป็น 10.31% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด ภาคเหนือ มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งมากถึง 58,652 ราย คิดเป็น 24.58% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งมากที่สุด รองลงมาคือภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ปัจจัยที่ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งมากนั้น สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ประชากรมีจำนวนมาก อัตราการสูบบุหรี่สูง มลพิษทางอากาศสูง และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมาตรการในการรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่นๆ โดยเน้นไปที่การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น รณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ ควบคุมมลพิษทางอากาศ และส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ . . ติดตาม ISAN Insight & Outlook ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/isan.insight . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy

พามาเบิ่ง🦽จำนวนสะสมผู้ป่วยมะเร็งปอดแต่จังหวัดภาคอีสาน ปี 2566 เทียบกับสัดส่วนของประชากรรวมของแต่ละจังหวัด อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top