Puntawith Kittisuwan

เนื้อพรีเมี่ยม “โพนยางคำ” สกลนคร ยกระดับยังไง ถึงเป็นที่ยอมรับในสากล

ก้าวแรกของเส้นทางโคขุนโพนยางคำ . เริ่มจากการจัดตั้ง ‘สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด’ ขึ้นในปี พ.ศ. 2523 เพราะต้องการพัฒนาพันธุ์โคเนื้อของไทยให้เป็นเนื้อระดับพรีเมียมที่สามารถขายได้ แต่ในตอนนั้นยังขาดความเชี่ยวชาญ จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและฝรั่งเศสขึ้น เพื่อพัฒนาพันธุ์โคให้ได้มาตรฐาน . โดยของบประมาณจากรัฐฯ ในการจัดหาน้ำเชื้อโคพันธุ์เนื้อต่างประเทศมาผสมเทียมให้สมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคในภาคอีสาน ปัจจุบันสหกรณ์ฯ โพนยางคำมีสมาชิกกว่า 6,000 คน และมีจำนวนโคมากกว่า 10,000 ตัว โคขุนที่ได้มาตรฐาน ราคาขายอยู่ที่ตัวละ 80,000-100,000 บาท จากเดิมซึ่งขายได้เพียงตัวละ 30,000 บาท . ด้วยสภาพภูมิอากาศในไทยที่ร้อน ทำให้การขุนให้มีไขมันแทรกตามธรรมชาติยากกว่าสัตว์ที่อยู่ในสภาพภูมิอากาศหนาวและเย็น เมื่อต้องขุนให้ได้เนื้อคุณภาพดี จึงต้องปรับปรุงสายพันธุ์ โดยนำสายพันธุ์ยุโรปมาผสมด้วย เช่น พันธุ์ชาร์โรเลส์ (Charolais), พันธุ์ลิมูซ่า (Limousin) และพันธุ์ซิมเมนทัล (Simmental) ทำให้ได้โคที่มี่โครงสร้างกล้ามเนื้อและไขมันที่ดี ทนอากาศในไทยได้ โดยเกษตรกรจะนิยมขุนโคพันธุ์ชาร์โรเลส์มากที่สุด . กรรมวิธีการ ‘ขุน’ ด้วยความรักและใส่ใจเป็นพิเศษ . ฟรังซัว แดร์โฟร์ (Francois Dervaux) ผู้เชี่ยวชาญการเกษตรจากฝรั่งเศส ผู้คอยให้คำแนะนำกับเกษตรกรมาตลอด ได้เปรียบการขุนวัวเหมือนการเลี้ยงเด็ก ที่ร่างกายจะเจริญเต็มที่เมื่อย่างเข้า 25 ปี เมื่อกินอาหารเข้าไปก็จะออกด้านข้าง . โคก็เหมือนกัน เริ่มแรกจึงเลี้ยงแบบปล่อยปกติ พอโตสักประมาณ 2 ปี จะได้โครงสร้างโคหนุ่มที่สมบูรณ์ และจะเริ่มเข้าสู่การขุน คือ ให้ยืนในคอกแล้วเอาอาหารมาป้อน โดยมาตราฐานโพนยางคำคือขุน 12-18 เดือน ซึ่งเป็นเวลาที่เทียบเท่ากับที่ใช้ขุนเนื้อวากิว ประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับ การขุนด้วยอาหารสูตรพิเศษที่เกษตรกรได้คิดค้นลองผิดลองถูกจนได้สูตรอาหารที่ทำให้เกิดไขมันแทรกได้ดีขึ้น . หัวใจสำคัญที่สุดยังคงเป็นขั้นตอนการเลี้ยงอย่างเอาใจใส่ แต่ละครัวเรือนจึงขุนโคไม่เกินครั้งละ 5 ตัว เพื่อให้ให้ทำงานหนักเกินไปจนเกิดความเครียด ทำให้การดูแลเอาใจใส่ทำได้ดี การอาบน้ำ ทำความสะอาด ทำได้อย่างเต็มที่ คนเลี้ยงมีความสุข โคก็ไม่เครียด กินได้เยอะ ขุนได้ดี ได้เนื้อที่มีคุณภาพ . เนื้อโคขุนโพนยางคำ ต่างจากเนื้อทั่วไปตามท้องตลาดอย่างไร? . ปกติเนื้อจะมีกลิ่นเฉพาะที่ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ อาหาร และการเลี้ยงดู บางที่ที่ใช้เวลาขุนเพียง 3 เดือน ทำให้ไม่ค่อยมีไขมันแทรก สำหรับเนื้อโคขุนโพนยางคำจะไม่มีกลิ่นสาบ หรือกลิ่นคาว แต่จะมีกลิ่นหอมจากอาหารธรรมชาติที่เกษตรกรใช้เลี้ยง การชำแหละโดยใช้มาตรฐานฝรั่งเศส ตัดแบ่งชิ้นส่วนและกำหนดชื่อเรียกได้ 23 ส่วน ได้เนื้อสีแดงสดใส มีไขมันแทรกระหว่างเนื้อ ทำให้มีสัมผัสนุ่มเป็นพิเศษ จากการขุนที่ใช้เวลานานพอสมควร . ปัจจุบันเนื้อโคขุนโพนยางคำถือเป็นเนื้อที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างชาติ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดสกลนคร ส่วนที่นิยมรับประทานมากสุดจะเป็นเนื้อส่วนริบอาย (Ribeye) ราคาเฉลี่ย กก.ละ 1,200-1,300 บาท ซึ่งราคาก็จะแบ่งตามเกรดของเนื้อ โดยดูจากไขมันแทรก โดยสหกรณ์โคขุนโพนยางคำสามารถผลิตได้ที่เกรด …

เนื้อพรีเมี่ยม “โพนยางคำ” สกลนคร ยกระดับยังไง ถึงเป็นที่ยอมรับในสากล อ่านเพิ่มเติม »

คิดจาก ‘โซจู’ สู่ ‘อีสานรัม’

มุมที่เหมือนแต่มองต่างกันของภาครัฐไทย กับประเด็นน่าสนใจ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า . . ‘โซจู’ สุราประจำชาติเกาหลีที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน สืบย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 13 และตอนนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมากนอกประเทศบ้านเกิด จากการโฆษณาสอดแทรกวัฒนธรรมการดื่มผ่านซอฟต์พาวเวอร์อุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์หรือละครซีรีส์ที่เกาหลีใต้ส่งออก . แต่รู้ไหมว่า โซจูแบบดั้งเดิมเป็นเหล้าใสดีกรีสูงที่กลั่นจากข้าวขาวบริสุทธิ์เพียงอย่างเดียว จนเมื่อประมาณปี 1910 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองเกาหลีใต้ การปันส่วนข้าวจึงไม่เพียงพอต่อการนำมาผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยิ่งเมื่อเกิดภาวะขาดแคลนข้าวในช่วงสงครามเกาหลี ทำให้ปี 1965 รัฐบาลมีคำสั่งห้ามผลิตเหล้าจากข้าวอย่างเป็นทางการ . ด้วยข้อจำกัดนี้ ผู้ผลิตโซจูจึงหันไปใช้วัตถุดิบทางเลือกอย่างแป้ง ธัญพืช มันเทศ หรือแม้กระทั่งมันสำปะหลังแทน รวมถึงปรับกระบวนการผลิตให้โซจูเจือจางและมีดีกรีต่ำลง แม้ปี 1999 คำสั่งของรัฐบาลที่ห้ามผลิตโซจูจากข้าวจะถูกยกเลิก แต่นักดื่มก็คุ้นชินกับโซจูแบบนี้แล้ว ด้านผู้ผลิตเองก็พอใจกับกรรมวิธีที่ช่วยประหยัดต้นทุน ทำให้สูตรที่ไม่จำกัดเฉพาะข้าวและมีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำกลายมาเป็นมาตรฐานของโซจูสมัยใหม่ดังที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน . ประกอบกับภาครัฐของเกาหลีใต้เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจได้พัฒนา-แข่งขัน จนเกิดเป็นโซจูรสชาติใหม่ ๆ แตกต่างกันไปตามวัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิต โดยเฉพาะรสผลไม้ที่มีแอลกอฮอล์ต่ำ เพื่อเจาะกลุ่มนักดื่มผู้หญิงและคนรุ่นใหม่ รวมถึงการทำข้อตกลงกับธุรกิจเรื่องขนาดและการใช้ขวดสีเขียวใส ซึ่งไม่ใช่แค่การสร้างภาพจำ แต่ยังง่ายและลดต้นทุนในการคัดแยกก่อนนำไปรีไซเคิลด้วย . การบริโภคโซจูที่ได้รับความนิยมทั้งในเกาหลีและต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ปี 2020 ตลาดโซจูทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 3,025 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เรียกได้ว่าสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยก็ว่าได้ . เมื่อย้อนกลับมามองไทย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีเอกลักษณ์ไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่ต้องเสียโอกาสไปอย่างมาก เพราะที่ผ่านมาถูกปิดกั้นด้วยคำกล่าวอ้างด้านศีลธรรม และล่าสุดด้านสิ่งแวดล้อม . ยกตัวอย่าง เหล้าชั้นดีที่คนไทยด้วยกันเองก็แทบจะไม่รู้จัก ‘อีสานรำ’ (ISSAN RUM) แบรนด์ซึ่งเริ่มจากการทดลองปลูกอ้อยเอง หมักเอง กลั่นเองมาตั้งแต่ปี 2013 อีกทั้งมีโรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดหนองคาย จึงใช้อ้อยสด ๆ ในพื้นที่เป็นวัตถุดิบหลัก และด้วยรสสัมผัสที่เฉพาะตัวทำให้อีสานรำได้รางวัลเหรียญเงินจากเวทีระดับโลก IWSC (International Wine and Spirit Competition) ในปี 2014 . สุรากลั่นที่ใช้วัตถุดิบท้องถิ่นเหมือนกัน แต่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดที่มากกว่า อย่างประเด็นล่าสุด พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ซึ่งมีสาระสำคัญต้องการเปิดเสรีให้ประชาชนที่ไม่ได้ผลิตสุราเพื่อการค้า ให้มีโอกาสสามารถดำเนินการได้ แต่ไม่ได้ไปต่อเนื่องจาก ครม.เป็นกังวลเกี่ยวกับมาตรฐาน คุณภาพ และสิ่งแวดล้อมในการผลิต ทั้งที่รัฐเองมีหน้าที่ต้องควบคุมมาตรฐานสินค้าและบริการต่าง ๆ อยู่แล้ว การเปิดให้มีการแข่งขันมากขึ้นจะไม่ทำให้มาตรฐานต่ำลง ตราบใดที่รัฐมีการกำกับอย่างจริงจัง . ธุรกิจสุราที่พัฒนาได้ช้า ออกไปแข่งขันกับโลกไม่ได้ สุดท้ายประเทศจะต้องขาดดุลการค้านำเข้าสุราทุกปี จากการที่คนหันไปดื่มแบรนด์นอกแทน ดังนั้น ถ้ารัฐอยากสนับสนุนธุรกิจสุราไทยโดยเฉพาะของผู้ประกอบการรายย่อยจริง ๆ ควรเปิดกว้างทางการแข่งขัน และใช้นโยบายอื่น ๆ เช่น ช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ดีขึ้น ทำโครงการ Reskill/Upskill ช่วยพัฒนามาตรฐานการผลิตให้มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับข้อบังคับกฎหมายเดิมเพื่อลดการมอมเมา เช่น การไม่ขายให้เด็กมีอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นต้น . . อ้างอิงจาก …

คิดจาก ‘โซจู’ สู่ ‘อีสานรัม’ อ่านเพิ่มเติม »

ฉุดไม่อยู่ โอกาสของทุเรียนไทย แหล่งผลิตอันดับ 1 ของโลก

ในปี 2564 ไทยมีพื้นที่ให้ผลผลิตทุเรียน 854,986 ไร่ เพิ่มขึ้น 7.2% มีผลผลิต 1.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 7.7% . ด้านการบริโภคภายในประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปทุเรียนผลสด จำนวน 0.29 ล้านตัน ลดลง 35.8% โดยสาเหตุหลักของการลดลง มาจากราคาที่สูงขึ้น . ราคาที่เกษตรกรขายได้ที่สวน พันธุ์หมอนทอง เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.98 บาท เพิ่มขึ้น 11.6% พันธุ์ชะนี เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.34 บาท เพิ่มขึ้น 6.0% . ด้านการส่งออก ปี 2564 ส่งออกทุเรียนสดและผลิตภัณฑ์ 0.95 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,854 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 63.7% ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปทุเรียนผลสด 0.88 ล้านตัน . ตลาดส่งออกทุเรียนสดที่สำคัญ ได้แก่ จีน (90.0%) ฮ่องกง (5.6%) เวียดนาม (3.4%) สหรัฐอเมริกา (0.2%) และไต้หวัน (0.2%) . ส่วนแรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกและเพิ่มปริมาณการส่งออกมากขึ้น มาจากความต้องการบริโภคในต่างประเทศที่สูง โดยเฉพาะตลาดจีน ส่งผลให้ราคาส่งออกสูง (สูงกว่าราคาในประเทศ) บวกกับปัจจัยสนับสนุน เช่น เส้นทางการขนส่งที่สะดวก หลากหลาย และช่องทางการจำหน่ายรูปแบบใหม่ ๆ อย่างระบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-Order platform) . นอกจากทุเรียนสด และทุเรียนแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ที่น่าจับตามองยังมีทุเรียนอบแห้ง แยม/เยลลี่ทุเรียน และทุเรียนกวน . สำหรับพื้นที่ที่มีการปลูกทุเรียนมากที่สุด (ข้อมูลปี 2563) คือ ภาคใต้ รองลงมา เป็นภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคกลาง ส่วนพื้นที่ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงที่สุด คือ ภาคตะวันออก รองลงมาเป็น ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง . ทั้งนี้ แม้ภาคอีสานจะไม่ใช่พื้นที่เพาะปลูกหลัก แต่หนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา (ปี 54-63) อีสานมีพื้นที่เก็บเกี่ยวจาก 1.3 พันไร ในปี 2554 เป็น 6.4 พันไร่ ในปี 2563 ถือว่าขยายตัวสูงที่สุด 372.3% เนื่องจากมีการเพาะปลูกแทนพืชอื่น เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยผลผลิตส่วนใหญ่ของภาคมาจาก จังหวัดศรีสะเกษ . . อ้างอิงจาก: …

ฉุดไม่อยู่ โอกาสของทุเรียนไทย แหล่งผลิตอันดับ 1 ของโลก อ่านเพิ่มเติม »

อีสานพ้อ (พบ) ผึ้งสายพันธุ์ใหม่ของโลก กับโอกาสต่อยอดเศรษฐกิจเป็นแหล่ง Ecotourism

เมื่อ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีได้แถลงข่าวการค้นพบ “ผึ้งหยาดอำพันภูจอง” (Phujong resin bee) ผึ้งเฉพาะถิ่นชนิดใหม่ของโลก ที่พบแห่งเดียวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี . ผึ้งหยาดอำพันภูจอง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Anthidiellum (Ranthidiellum) phujongensis n. sp. เป็นกลุ่มผึ้งหายากที่เคยมีการค้นพบก่อนหน้านี้เพียง 4 ชนิดในโลกเท่านั้น และค้นพบเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ . นอกจากนี้ยังพบผึ้งปรสิตชนิดใหม่ ที่พบภายในรังของผึ้งหยาดอำพันภูจอง คือ “ผึ้งบุษราคัมภูจอง” (Topaz cuckoo bee) โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stelis flavofuscinular n. sp. จากลักษณะพิเศษที่มีสีเหลืองเข้ม สลับลายดำบริเวณลำตัว ทำให้นึกถึงความสวยงามของบุษราคัม . . สร้างจุดแข็งด้านการท่องเที่ยวเชิงเชิงนิเวศ (Ecotourism) . การค้นพบผึ้งหายากเช่นนี้ แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และความสำคัญของผืนป่าได้เป็นอย่างดี เหมาะกับการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรธรรมชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ โดยคณะผู้วิจัยร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยได้เพิ่มพื้นที่การสร้างหน้าผาดินธรรมชาติบริเวณพื้นที่ใกล้กับลำห้วย เพื่อเพิ่มโอกาสและสถานที่ในการสร้างรังและขยายพันธุ์ของผึ้งกลุ่มนี้ . อีกทั้งยังจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อ “สร้างการรับรู้เรื่องราวของผึ้ง” ทั้งความสำคัญ ความงดงาม รวมทั้งข้อมูลทางชีววิทยาที่ให้ประชาชนได้ตระหนักและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยให้ความรู้ถึงประโยชน์ของผึ้งต่อระบบนิเวศ และสร้างให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ผลักดันให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ . พัฒนาต่อยอด สร้างงานหัตถศิลป์ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน . ชุมชนได้มีการนำลักษณะเฉพาะของผึ้งหยาดอำพันภูจอง และ ผึ้งบุษราคัมภูจอง ไปสร้างงานศิลปะส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผ้าทอมือ เครื่องจักสาน เสื่อกก ตามความถนัดของชุมชน นับเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ BCG model อีกทางหนึ่ง . ประกอบกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้มีแรงงานย้ายถิ่นออกจากกรุงเทพฯ รวมถึงคนรุ่นใหม่ หรือบัณฑิตจบใหม่ที่มีความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีย้ายคืนสู่ถิ่นฐานภูมิลำเนาของตน ในหมู่บ้านใกล้กับอุทยานฯ ทำให้มีโอกาสในการสร้างงานสร้างอาชีพในถิ่นฐานของตนอีกครั้ง ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างอาชีพและเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชน . ทั้งนี้ ทีมวิจัยยังได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ Zookeys และถูกรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลของผึ้งในประเทศไทยที่ สวทช. ได้สนับสนุนให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว สามารถอ่านงานวิจัยได้ที่ https://kku.world/xw4vh . . อ้างอิง: https://kku.world/bxef9 https://kku.world/gv566 https://kku.world/0dbtx . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผึ้ง #Ecotourism #การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

“แมลงกินได้” อาหารแห่งอนาคต กับโอกาสที่น่าจับตามอง

จากรายงานเกี่ยวกับแมลงที่สามารถรับประทานได้ (Edible Insects) ที่จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่าภายในปี 2050 หรือ พ.ศ. 2593 ประชากรโลกจะมีจำนวนถึง 9.7 พันล้านคน ซึ่งอาหารที่จะเลี้ยงประชากรโลกทั้งหมดในขณะนั้นจะต้องมีเพิ่มเป็นสองเท่า ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูก พื้นที่ป่าและน้ำมีอย่างจำกัด อาหารโปรตีนที่จะมาทดแทนปศุสัตว์ก็คือ “แมลง” เพราะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง . แมลงกินได้มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง . ในฐานะแหล่งโปรตีนทางเลือกและอาหารแห่งอนาคต ปัจจุบันเฉพาะธุรกิจแมลงกินได้ทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (12,800 ล้านบาท) โดยตลาดเอเชียครองสัดส่วน 30-40% ของทั้งโลก ส่วนที่เหลือกระจายตัวอยู่ในโซนยุโรป ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมแมลงเติบโตปีละ 20% และกำลังขยายตลาดไปยังโซนอเมริกาเหนือ . แมลงเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจที่น่าจับตามอง เนื่องจากไทยเป็นตลาดส่งออกสินค้าแมลงมีชีวิตอันดับที่ 17 ของโลก ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564 ไทยส่งออกสินค้าแมลงสู่ตลาดโลกปริมาณ 575 ตัน มูลค่า 85,346 ดอลลาร์สหรัฐฯ (2.8 ล้านบาท) ขยายตัว 29% เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา . “จิ้งหรีด” ดาวเด่นของตลาดส่งออกไทย . ไทยผลิตจิ้งหรีดส่งออกได้ปีละ 7,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาท หากผลิตเป็นผงมูลค่าจะเพิ่มหลายเท่าตัว จากกิโลละ 70-80 บาท ราคาพุ่งเป็นกิโลละ 2,000-3,000 บาท เป็นที่นิยมมากในสหภาพยุโรป โดยมีบริษัทสตาร์ตอัพของคนไทยที่ทำตลาดส่งออก “ผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนจากจิ้งหรีดเป็นเจ้าแรกของโลก” ส่งไปขายยังกลุ่มสหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ทำให้ธุรกิจแปรรูปแมลงคึกคักขึ้น เริ่มมีบริษัทใหม่ ๆ เข้ามา โดยส่วนหนึ่งเป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนทำฟาร์มในแถบภาคอีสาน . ผลักดัน “อุดรธานี” เป็นเมืองแห่งแมลงฮับโปรตีนโลก . 7 มีนาคม ที่ผ่านมา อุดรธานีได้มีการจัดอบรมแปรรูปจิ้งหรีด ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี และบริษัท แมลงรวย จำกัด จัดขึ้นเพื่ออบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ทำฟาร์มเลี้ยงแมลงกินได้ ภายใต้มาตรฐาน GAP ในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแมลงเพื่อการแปรรูปโคกสะอาด หลัก 18 ต.โคกสะอาด อ.เมืองอุดรธานี . อีกทั้งเตรียมจัดงานมหกรรมจิ้งหรีดโลกขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่องานว่า “อุดรธานีเมืองแห่งแมลงฮับโปรตีนโลก” ในวันที่ 5 เมษายน 2565 ที่อุดรธานี เพื่อเป็นการประกาศให้ตลาดแมลงโลกได้รู้จักแมลงแบรนด์ไทย พร้อมทำให้อุดรธานีเป็นศูนย์กลางของการซื้อขายแมลง เกิดแหล่งเรียนรู้เรื่องของการเลี้ยงแมลงกินได้นานาชนิดของไทย ให้ดำเนินการภายใต้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผู้บริโภคมีความมั่นใจและปลอดภัย …

“แมลงกินได้” อาหารแห่งอนาคต กับโอกาสที่น่าจับตามอง อ่านเพิ่มเติม »

ตู้เต่าบิน คาเฟ่อัตโนมัติ 170 เมนู สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ยังไง

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กระแส “ตู้เต่าบิน” ถูกพูดถึงอย่างมากในแวดวงธุรกิจ Vending Machine หรือตู้จำหน่ายสินค้าแบบหยอดเหรียญ แม้ตลาดหลักของไทยจะอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แต่ก็เริ่มมีการขยายออกต่างจังหวัดมากขึ้น อีสานอินไซต์จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกลยุทธ์เต่าบิน ที่เป็นภาพสะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ รวมไปถึงไขข้อข้องใจว่า ทำไม อีสานถึงมักตั้งตู้ไว้ในโรงพยาบาล .  จุดเริ่มต้นของตู้ชงเครื่องดื่ม . จากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป คนไม่ได้เข้างานตอน 8 โมงเช้า เลิก 5 โมงเย็นเหมือนในอดีต ทำให้เจ้าของแบรนด์ ซึ่งเคยประสบความสำเร็จจากธุรกิจให้บริการ 24 ชั่วโมง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “ตู้บุญเติม” เกิดไอเดียอยากต่อยอดธุรกิจเดิม . โดยช่วงนั้น เทรนด์ตู้จำหน่ายสินค้ากำลังได้รับความนิยมในต่างประเทศ จึงลองสั่งซื้อตู้ชงเครื่องดื่มจากจีนมาลง แต่ปรากฏว่า ยิ่งกลไกเยอะ โอกาสไม่เสถียรก็สูง ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงก็มาก สุดท้ายต้องกลับมาวิจัยและพัฒนาเองทั้งหมด .  แนวคิดการออกแบบ . เต่าบิน ตู้ชงเครื่องดื่มอัจฉริยะขนาด 1×1 เมตร ผลิตและพัฒนาโดยคนไทย 100% ซึ่งมีเกือบ 30 สิทธิบัตร ครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ มีระบบจอทัชสกรีนที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน ระบบการชงที่ล้างด้วยความร้อนแรงดันทุกแก้ว หมดกังวลเรื่องความไม่สะอาด หรือรสชาติที่ผิดเพี้ยน . รวมไปถึง ระบบเซ็นเซอร์ AI ที่จะคอยตรวจเช็กสต๊อกวัตถุดิบภายในตู้ ทำให้สามารถแจ้งเตือนเมื่อสินค้าหมด และส่งข้อมูลไปหา Route Man หรือพนักงานเติมวัตถุดิบให้เบิกสต๊อกมาล่วงหน้า ไม่ต้องเทียวไปเทียวมาหลายรอบ ทางฝั่งผู้บริโภคก็ไม่ต้องทนรอเครื่องดื่มเมนูนั้นหลายวันด้วย .  ฟังก์ชันการทำงาน . ตู้เต่าบินสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ชงได้ทั้งร้อน เย็น และปั่น มากถึง 170 เมนู ครอบคลุมสารพัดหมวดตั้งแต่ชา กาแฟ โซดา น้ำอัดลม จนไปถึงน้ำเชื่อมผสมกัญชา และเวย์โปรตีน หรือถ้ารู้สึกยังไม่พอใจ ก็สามารถเพิ่มท็อปปิ้ง เพิ่มช็อตกาแฟได้ด้วย . อีกทั้ง กาแฟกลิ่นหอม ๆ ของตู้ยังเป็นกาแฟสดที่เพิ่งบดเมล็ดออกมาชงให้ลูกค้า สมือนมีบาริสต้าอยู่ข้างใน แม้จะต้องใช้เวลารอเล็กน้อย แต่ก็เพื่อรสสัมผัสตรงตามชื่อแบรนด์ อร่อยเหาะเป็น “เต่าบิน” .  คิดเผื่อกลุ่มคนที่หลากหลาย . หนึ่งในขั้นตอนการสั่งของตู้เต่าบิน ผู้บริโภคจะได้เลือกระดับความหวานเอง (Sweetness level) 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับ 0 แคลอรี (ไม่มีน้ำตาล) ซึ่งเหมาะกับผู้ที่รับประทานคีโต และผู้ป่วยเบาหวาน ไปจนถึง หวานน้อย หวานพอดี หวาน และหวานมาก ตามความชอบของแต่ละคน . รวมไปถึง ช่องทางการชำระเงินที่หลายหลาย ไม่ว่าจะเป็นเงินสด คิวอาร์ เพย์เมนท์ ช้อปปี้เพย์ หรือแม้กระทั่งเครดิตเต่าบิน …

ตู้เต่าบิน คาเฟ่อัตโนมัติ 170 เมนู สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ยังไง อ่านเพิ่มเติม »

สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร ให้เป็นส้มตำพันล้าน

เมื่อพูดถึงอาหารอีสาน หลายคนจะนึกถึงความแซ่บ ที่มีทั้งรสเปรี้ยว เผ็ด ออกรสเค็มหน่อย ไม่ว่าจะเป็น น้ำตก ลาบ ก้อย หรือ “ส้มตำ” ที่ได้แทรกซึม และเป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชื่นชอบอาหารรสจัด ทำให้หลายปีที่ผ่านมา เราเห็นส้มตำได้มีการยกระดับจากร้านข้างทางเข้ามาอยู่ในศูนย์การค้า หรือร้านแบบ Stand Alone ที่มีการทำแบรนด์ ขยายสาขา ดึงดูดลูกค้าด้วยดีไซน์ร้านที่เป็นเอกลักษณ์ . ครั้งนี้ อีสานอินไซต์จะพาไปรู้จักกับ “ตำมั่ว” (tummour) ร้านส้มตำพันล้านที่มี 100 กว่าสาขาทั้งในและต่างประเทศ ทำอย่างไรถึงสามารถขายส้มตำ ที่มีตลาดใหญ่ ให้แตกต่างและสามารถเพิ่มมูลค่าจากส้มตำหลักสิบเป็นหลักร้อย จนแบรนด์มีมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท . กว่าจะมีวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะร้านตำมั่วมีต้นกำเนิดมาจากร้านส้มตำห้องแถวธรรมดาของคุณแม่ ที่มีชื่อร้านว่า นครพนมอาหารอีสาน ที่แม้จะขายดีแค่ไหน แต่ก็ไม่มีคนรู้จักชื่อร้าน และยังไม่เป็นที่จดจำ คุณศิรุวัฒน์ ชัชวาล (เบส) ลูกชาย จึงได้ทำการรีแบรนด์ร้านของคุณแม่ใหม่ โดยเริ่มจากการสร้างตัวตนให้แบรนด์ โดยวิเคราะห์เมนูของทางร้านว่า เมนูยอดนิยมมีอะไรบ้าง และเมนูใดบ้างที่ขายดี จากนั้นจึงหยิบมาเป็นจุดขาย และใส่คาแรกเตอร์เข้าไป . การสร้างตัวตน จาก Brand DNA ที่มีความชัดเจน และตรงกับคาแรกเตอร์ของเจ้าของแบรนด์ . เจ้าของแบรนด์ ได้ทำการเขียนดีเอ็นเอของแบรนด์ให้มีคาแรกเตอร์ใกล้เคียงกับตนเอง โดยให้เป็นคนอีสานที่ทันสมัย แต่ไม่ลืมรากเหง้า จึงเลือกที่จะให้ตำมั่วเป็นอาหารอีสานที่มีความเป็นรากเหง้าที่รสชาติ แต่คาแรกเตอร์อื่น ๆ ทันสมัย สร้างแท็กไลน์ ‘อาหารรสจัด ถนัดเรื่องตำ’ ให้คนรู้จักได้ง่ายขึ้น . ทำการตลาดอย่างเหนือชั้นด้วย Music Marketing พร้อมจับมือกับเซ็นกรุ๊ป ผลักดันให้ดังไกลไปต่างแดน . เพื่อให้เป็นที่จดจำสำหรับคนที่มาทานหรือต้องการบอกต่อ แบรนด์ได้โปรโมทร้านผ่านเพลง “บ่เป็นหยัง” ของก้อง ห้วยไร่ ซึ่งปัจจุบันมียอดวิวกว่า 70 ล้านวิว ทำให้ผู้คนรู้จักมากขึ้นไปอีก . ตอนนี้ตำมั่วดำเนินธุรกิจภายใต้เครือบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยิ่งทำให้แบรนด์เติบโตแบบก้าวกระโดด การตัดสินใจจับมือกับเครือใหญ่อย่างเซ็นกรุ๊ป เพราะต้องการผลักดันแบรนด์ที่เกิดจากคนไทยให้ดังไกลไปต่างแดนจนสร้างความภูมิใจให้กับคนไทย . ส่วนผสมที่ลงตัวทำให้เกิดกลยุทธ์ . ตำมั่ว มีความแข็งแรงในเรื่องของอาหารไทยหรือการเข้าใจตลาดที่เป็นแมสมากกว่า และหาก SMEs อย่างตนจะกระโดดเข้าตลาดหุ้นคงต้องเตรียมการเยอะมาก การจับมือกันเซ็นกรุ๊ป ที่มีความพร้อมหลายด้าน ทั้ง HR, Logistics, R&D หรือ Operation ด้วยส่วนผสมที่เอื้อกัน ทำให้อยู่ในมาตรฐานที่เติบโตได้ง่ายและเร็วขึ้น . ขณะนี้ได้มองถึงด้าน New Business โดยเรียกตนเองว่า Food Service คือการ Verify ตัวเองให้เป็นการขายอาหาร ขายการส่งอาหารถึงบ้าน รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจอาหารทุกรูปแบบของการทำธุรกิจด้านอาหาร …

สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร ให้เป็นส้มตำพันล้าน อ่านเพิ่มเติม »

นิคมกรีนอุดรฯ ศูนย์กลางการลงทุนใหม่ ความหวังที่จะได้ทำงานใกล้บ้านของชาวอีสาน

ปฎิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเท​​คโนโลยีก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าหลาย ๆ ด้าน ซึ่งหากมองในเชิงพื้นที่ ที่ใดมีความเจริญก้าวหน้า หรือได้รับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา มีโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการทำงาน จะเป็นแรงดึงดูดให้คนย้ายถิ่นเข้าไปมากกว่าพื้นที่อื่น . เมื่อปี 2555 ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง “นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว” ในจังหวัดอุดรธานี ที่มีความได้เปรียบในแง่ของการขนส่งสินค้า กระจายสินค้าสู่หลายจังหวัดในประเทศไทย รวมถึงฝั่ง สปป. ลาว กลุ่มประเทศ CLMV และประเทศจีนตอนใต้ . โครงการพัฒนาบนพื้นที่ 2,170 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ก่อให้เกิดรายได้ 1,630 ไร่ พื้นที่ระบบสาธารณูปโภค 314 ไร่ และพื้นที่สีเขียวและแนวกันชน 226 ไร่ . อุตสาหกรรมเป้าหมายในนิคม ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยางพาราขั้นปลาย เช่น โรงงานผลิตถุงมือยาง อุปกรณ์การกีฬา และชิ้นส่วนรถยนต์, อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร, อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมส่งเสริมการผลิค, อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยยนต์ และศูนย์กระจายสินค้า ที่อยู่นอกเหนืออุตสาหกรรมกลุ่มอื่น ๆ . ภาพรวมความก้าวหน้าการพัฒนาโครงการ ในด้านความพร้อมของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานก่อสร้างแล้วเสร็จ 80% พร้อมเปิดดำเนินการให้นักลงทุนเข้ามาตั้งโรงงานในกลางปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะมีโรงงานเกิดขึ้นประมาณ 80-100 โรงงาน มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 15,000-20,000 ราย ในพื้นที่ และ 60,000 ราย รอบนิคมฯ มูลค่าการลงทุนประมาณ 100,000 ล้านบาท . ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนานิคมฯเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการ ทางนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี มีแผนการพัฒนาระบบ Logistics ของนิคมฯ แบ่งเป็น 2 ระยะ . โดยระยะที่ 1 (2563-2565) จะทำเป็นอาคารคลังสินค้าให้เช่า การบริการรับและจ่ายตู้คอนเทนเนอร์ ให้บริการเปิดตู้และบรรจุตู้คอนเทนเนอร์สำหรับสินค้านำเข้า-ส่งออกผ่านแดน มีการขออนุญาตจัดตั้งเขตปลอดอากรและพร้อมให้ใช้บริการ การให้บริการ Tuck Terminal และการให้บริการขนส่งสินค้าด้วยระบบขนส่งทางรางโดยเชื่อมกับสถานีหนองตะไก้ . ส่วนระยะที่ 2 (2565-2568) จะพัฒนาระบบรางภายในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อเชื่อมต่อกับสถานีหนองอุตสาหกรรมตะไก้ และเป็นผู้ให้บริการขนส่งแบบ Freight Forwarder อย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงภาคขนส่งระหว่างนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี กับ ประเทศลาว กัมพูชา และจีนมากขึ้น . การเกิดขึ้นของนิคมฯ จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความเจริญเติบโตให้คนอีสานทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม พร้อมรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในภูมิภาค ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ ในการมีช่องทางประกอบอาชีพในถิ่นเกิด โดยไม่ต้องอพยพไปทำงานที่อื่น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด . …

นิคมกรีนอุดรฯ ศูนย์กลางการลงทุนใหม่ ความหวังที่จะได้ทำงานใกล้บ้านของชาวอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

4 Megatrends กำหนดทิศทางการพัฒนาทักษะแรงงาน

กระแส Megatrends ในโลกยุคใหม่ ที่จะมากำหนดทิศทางการพัฒนาทักษะของแรงงาน ซึ่งภาคธุรกิจควรให้ความสำคัญ ได้แก่ 1. การปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ จากการสำรวจผู้ประกอบการท่ัวโลกโดย World Economic Forum (WEF) พบว่า เทคโนโลยีที่กิจการคาดว่าจะนำมาปรับใช้มากที่สุด (เกิน 80%) ในปี 2568 คือ Cloud Computing, Big Data และ Internet of things และจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ทำให้องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางไซเบอร์มากข้ึน จึงคาดว่า ในอนาคตจะเกิดการเร่งตัวของการใช้เทคโนโลยี Encryption and cybersecurity 2. Green Economy หนุนการโตของ Green Jobs หากทั่วโลกหันมาใช้ ‘พลังงานทางเลือก’ ที่สามารถผลิตและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแพร่หลาย จะผลักดันให้เกิดการจ้างงานในกลุ่มอาชีพ เช่น Green Marketers, Innovation Manager และ Solar / Wind Energy Technician มากขึ้น ในทางกลับกัน ตำแหน่งงานในภาคธุรกิจที่ไม่สอดรับกับหลักการ Green Economy จะเป็นที่ต้องการลดลง 3. ESG กับการพัฒนาทุนมนุษย์ กระแสความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, and Governance : ESG) จะผลักดันให้องค์กรต่าง ๆ ต้องเตรียมพร้อมในการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human capital) สำหรับมาตรวัด (Metrics) ที่องค์กรควรให้ความสำคัญ เช่น การเข้าถึงการพัฒนาอย่างเท่าเทียม มีเครื่องมือรองรับสำหรับพนักงานที่มีศักยภาพสูง สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และการเปิดรับคำติชมจากพนักงาน 4. Multistage Life อายุยืนขึ้น ยิ่งต้องรู้หลายทักษะ ค่าเฉลี่ยอายุขัยประชากรโลกที่เพิ่มข้ึนจาก 72.8 ปี (ในปี 2563) เป็น 77 ปี (ในปี 2593) ทำให้เส้นแบ่งการเรียน-ทำงาน-เกษียณไม่ชัดเจน ยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดอาชีพ และทักษะใหม่ ๆ รวมไปถึงการที่หลายประเทศเริ่มมีนโยบายส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ ผู้อยู่ในกำลังแรงงานจึงควรพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง โอกาสของธุรกิจ Corporate Training ● Customise โปรแกรมฝึกอบรมตามความต้องการของลูกค้า: โดยเน้นหลักสูตรที่ใช่ ในรูปแบบที่ชอบ เจาะกลุ่มทักษะที่สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ● เสริมพลังการให้บริการด้วย Partnership: โดยผนึกกำลังความเชี่ยวชาญกับพันธมิตรกลุ่มต่าง ๆ เพื่อยกระดับการฝึกอบรมให้ตรงใจลูกค้ามากที่สุด ● ต่อยอดธุรกิจกระจายกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย: …

4 Megatrends กำหนดทิศทางการพัฒนาทักษะแรงงาน อ่านเพิ่มเติม »

ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract farming)

ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract farming) ทางเลือกที่มั่นคงของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา เนื้อหมูมีการปรับราคาลงต่อเนื่องตามกลไกลตลาด โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดประเด็นราคาหมูแพงพุ่งสูงก่อนหน้านั้น เกิดจากปัญหาโรคระบาด ASF ที่ทำให้เกษตรกรไทยผู้เลี้ยงหมูได้รับผลกระทบ ต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก สาเหตุดังกล่าว ทำให้เกษตรกรตระหนักได้ว่าวิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิมหรือเลี้ยงตามหลังบ้าน อาจไม่สามารถเลี้ยงหมูให้รอดปลอดภัยได้เมื่อโรคระบาด ASF มาเยือน เรื่องของเทคโนโลยีป้องกันโรคจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ทุกฟาร์มต้องมี เพื่อช่วยลดปัญหาจากโรคระบาดและส่งเสริมให้สินค้าปศุสัตว์มีความปลอดภัย แต่สำหรับเกษตรกรที่คิดจะกลับเข้าสู่อาชีพอีกครั้ง อาจไม่ง่ายนักหากต้องจัดหา ลงทุน และทำอะไรทุกอย่างด้วยตัวเอง อีกทั้งยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของราคาขายหมูหน้าฟาร์ม ทำให้เกษตรกรยุคใหม่เสาะหาทางเลือกที่จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นคงทางรายได้ หนึ่งในทางเลือกนั้นน่าจะเป็น “ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง” ซึ่งเป็นการทำสัญญาข้อตกลงกันระหว่างเกษตรกรกับบริษัท ที่จะร่วมกันผลิตผลิตผลทางการเกษตรและมีผลตอบแทนตามที่ได้ตกลงกัน ซึ่งมี 2 แบบด้วยกัน คือ 1. แบบประกันรายได้ : เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อย บริษัทจะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ ในการเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดให้ พร้อมเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงทุกอย่างแทน ไม่ว่าจะเป็นกรณีสัตว์เกิดความเสียหายจากการป่วยตาย หรือภัยพิบัติ ทั้งยังรับความเสี่ยงต่อสภาวะ ตลาดและราคาสินค้าที่ผันผวนด้วย กล่าวง่าย ๆ คือการที่บริษัทนำทรัพย์สมบัติของบริษัท ทั้งตัวสัตว์ อาหารสัตว์ รวมไปถึงวัคซีน ไปฝากให้เกษตรกรช่วยเลี้ยงที่บ้าน (หรือโรงเรือน) ของเกษตรกร เมื่อสัตว์เติบโตตามที่ตกลงไว้ ก็จะมารับทรัพย์สินดังกล่าวกลับไป และให้ค่าฝากเลี้ยงตอบแทนแก่เกษตรกร ระบบนี้จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ค่อนข้างแน่นอน 2. แบบประกันราคา : เหมาะสำหรับเกษตรกร รายกลางหรือเกษตรกรรายใหญ่ ระบบนี้เหมาะกับเกษตรกรที่ไม่ต้องการเสี่ยงหรือกังวลเรื่องการหาตลาดและเรื่องราคาที่ผันผวน แต่ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ และพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มขึ้น โดยซื้อวัตถุดิบและทำสัญญาเรื่องการรับซื้อ ผลผลิตกับบริษัทในราคาตามที่ตกลงกันไว้ ตัวอย่างเช่น เกษตรกรทำสัญญาตกลงซื้อขายในราคา 60 บาท/กก. ไว้กับบริษัท หากราคาหมูตกต่ำไปที่ 40-50 กว่าบาท/กก. เกษตรกรก็ยังคงขายได้ที่ 60 บาท/กก. แต่ถ้าวันใดที่ราคาตลาดขึ้นเป็น 90 บาท/กก. ก็ยังคงต้องขายในราคาที่เป็นไปตามสัญญาเช่นกัน ทำไมเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูในระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง จึงสามารถอยู่รอดปลอดภัยจากโรคระบาด เนื่องจากบริษัทได้นำเทคนิค วิธีการและระบบมาตรฐานในการป้องกันโรค ตลอดจนสัตวบาลและสัตวแพทย์ ช่วยกันถ่ายทอดความรู้พร้อมกับดูแลการเลี้ยง จึงช่วยให้หมูที่เกษตรกรกลุ่มนี้เลี้ยงมีความปลอดภัยและสามารถป้อนผลผลิตหมูสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีของเกษตรกรในยุคที่ต้องใช้ “เทคโนโลยี” ในการผลิตอาหารให้มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ระบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เกิดมาแล้วกว่า 100 ปี และมีพัฒนาการเรื่อยมา กระทั่งพิสูจน์แล้วว่าช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้เกษตรกรไทยหลายรายได้อย่างยั่งยืน ความเห็นของเหล่าเกษตรกรภาคอีสานผู้อยู่ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง นายอดุลย์ วงษ์ภูเย็น เกษตรกรในระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งของซีพีเอฟ ใน จ.หนองคาย ได้เลี้ยงหมูภายใต้ระบบนี้มาตั้งแต่ปี 2559 เล่าให้ฟังว่า เห็นการระบาดของโรคหมูในข่าวแล้วก็กลัวเหมือนกัน แต่ก็มั่นใจในมาตรฐานการป้องกันโรคที่บริษัทแนะนำ รวมถึงความเคร่งครัดของตนเอง ทำให้ฟาร์มของตนและเพื่อนบ้านไม่พบโรคดังกล่าวเลย ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งแบบประกันรายได้ที่ตนทำอยู่นี้ มีความมั่นคงปลอดภัย และลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพได้มาก หากจะแนะนำให้เลี้ยงหมู ก็จะแนะนำให้เลือกการเข้าระบบนี้ แม้ไม่มีความรู้ก็สามารถเลี้ยงหมูได้ด้วยเทคนิควิชาการต่าง ๆ ที่บริษัทมีให้ ด้านนางใบษร ทรายมูล อายุ 60 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูใน จ.ยโสธร กล่าวในทิศทางเดียวกันว่า …

ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract farming) อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top