ฉุดไม่อยู่ โอกาสของทุเรียนไทย แหล่งผลิตอันดับ 1 ของโลก

ในปี 2564 ไทยมีพื้นที่ให้ผลผลิตทุเรียน 854,986 ไร่ เพิ่มขึ้น 7.2% มีผลผลิต 1.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 7.7%
.
ด้านการบริโภคภายในประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปทุเรียนผลสด จำนวน 0.29 ล้านตัน ลดลง 35.8% โดยสาเหตุหลักของการลดลง มาจากราคาที่สูงขึ้น
.
ราคาที่เกษตรกรขายได้ที่สวน พันธุ์หมอนทอง เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.98 บาท เพิ่มขึ้น 11.6% พันธุ์ชะนี เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.34 บาท เพิ่มขึ้น 6.0%
.
ด้านการส่งออก ปี 2564 ส่งออกทุเรียนสดและผลิตภัณฑ์ 0.95 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,854 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 63.7% ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปทุเรียนผลสด 0.88 ล้านตัน
.
ตลาดส่งออกทุเรียนสดที่สำคัญ ได้แก่ จีน (90.0%) ฮ่องกง (5.6%) เวียดนาม (3.4%) สหรัฐอเมริกา (0.2%) และไต้หวัน (0.2%)
.
ส่วนแรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกและเพิ่มปริมาณการส่งออกมากขึ้น มาจากความต้องการบริโภคในต่างประเทศที่สูง โดยเฉพาะตลาดจีน ส่งผลให้ราคาส่งออกสูง (สูงกว่าราคาในประเทศ) บวกกับปัจจัยสนับสนุน เช่น เส้นทางการขนส่งที่สะดวก หลากหลาย และช่องทางการจำหน่ายรูปแบบใหม่ ๆ อย่างระบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-Order platform)
.
นอกจากทุเรียนสด และทุเรียนแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ที่น่าจับตามองยังมีทุเรียนอบแห้ง แยม/เยลลี่ทุเรียน และทุเรียนกวน
.
สำหรับพื้นที่ที่มีการปลูกทุเรียนมากที่สุด (ข้อมูลปี 2563) คือ ภาคใต้ รองลงมา เป็นภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคกลาง ส่วนพื้นที่ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงที่สุด คือ ภาคตะวันออก รองลงมาเป็น ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
.
ทั้งนี้ แม้ภาคอีสานจะไม่ใช่พื้นที่เพาะปลูกหลัก แต่หนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา (ปี 54-63) อีสานมีพื้นที่เก็บเกี่ยวจาก 1.3 พันไร ในปี 2554 เป็น 6.4 พันไร่ ในปี 2563 ถือว่าขยายตัวสูงที่สุด 372.3% เนื่องจากมีการเพาะปลูกแทนพืชอื่น เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยผลผลิตส่วนใหญ่ของภาคมาจาก จังหวัดศรีสะเกษ
.
.
อ้างอิงจาก: สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ทุเรียน #ส่งออก

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top