Puntawith Kittisuwan

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่เผชิญกับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนนย่างหนัก

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่เผชิญกับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนนย่างหนัก ปีงบฯ 64 (ต.ค. 63 – ก.ย. 64) ประเทศไทยเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จํานวน 70,056 ครั้ง มีผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ 59,909 ราย เมื่อจำแนกเป็นรายภาคพบว่า เป็นส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) 15,615 ราย (26.06%) และส่วนภูมิภาค 44,294 ราย (73.94%) ซึ่งในส่วนภูมิภาคพบว่า ภาคอีสานมีผู้ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุมากที่สุด คือ 19,469 ราย เมื่อดูเฉพาะข้อมูลผู้เสียชีวิต จังหวัดนครราชสีมามีผู้เสียชีวิตมากที่สุด 305 ราย โดย 1 ใน 3 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดโดยรถจักรยานยนต์ ซึ่งน่าสนใจว่า Top 3 จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตที่เกิดโดยรถจักรยานยนต์อยู่ในภาคอีสานทั้งหมด ได้แก่ นครราชสีมา มหาสารคาม และร้อยเอ็ด ตามลำดับ เมื่อลองมาดูตัวเลขรถจักรยานยนต์ที่ออกใหม่ (ป้ายแดง) ในภาคอีสาน ปีงบฯ 64 พบว่า สูงถึง 405,666 คัน หรือคิดเป็น 25.75% ของทั้งประเทศ จากจำนวนผู้ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกับจำนวนรถออกใหม่ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ หน่วยงานประจำท้องที่อาจต้องมีการรณรงค์ในเรื่องของกฎจราจรควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้น ทั้งนี้หากมีการร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เช่น มหาวิทยาลัย ในการศึกษาถึงรูปแบบการรณรงค์ที่จะได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ก็จะยิ่งช่วยให้เกิดความคุ้มค่าของงบประมาณด้วย ที่มา: กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก

ทำไมคนเมืองกับคนชนบทมีสิทธิในการเข้าถึงน้ำสะอาดไม่เท่ากัน

ทำไมคนเมืองกับคนชนบท มีสิทธิในการเข้าถึงน้ำสะอาดไม่เท่ากัน ปฎิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนต่างจังหวัดมานานหลายปี อย่างน้ำประปาขุ่น ไหลบ้างไม่ไหลบ้าง ไม่สะอาด และมีกลิ่น ได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ปัญหาเกิดจาก “การจัดสรรงบประมาณของท้องถิ่นไม่เพียงพอ” เมื่อดูสัดส่วนรายได้ของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ปี 2564 พบว่า รายได้ของส่วนกลาง 1,893,872 ล้านบาท หรือคิดเป็น 70.75% ขณะที่รายได้ของถ้องถิ่น 783,128 ล้านบาท หรือคิดเป็น 29.25% ยกตัวอย่าง เทศบาลอาจสามารถที่มีงบลงทุนปีละประมาณ 2 ล้านบาท หากจะทำให้น้ำประปาดื่มได้ต้องใช้งบลงทุน 10 ล้านบาท เพราะฉะนั้นหากจะพัฒนาโรงผลิตระบบน้ำประปาที่ดีมีคุณภาพ สามารถควบคุมด้วยระบบ IoT ได้ ต้องใช้เวลามากกว่า 5 ปี อีสานอินไซต์จึงขอยกโครงการน้ำประปาดื่มได้ น้ำใสใน 99 วัน มาเป็นกรณีศึกษาเพื่อเป็นต้นแบบและแนวทางในการศึกษาพัฒนาท้องถิ่นต่อไป เริ่มต้นจากการสำรวจปัญหาในพื้นที่ เทพพร จำปานวน นายกเทศมนตรีตำบลอาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ได้ทำการสำรวจปัญหาในพื้นที่ และพบว่าปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขคือ “ปัญหาเรื่องน้ำ” จากนั้นได้ทำการออกสำรวจและเก็บตัวอย่างน้ำประปาในพื้นที่ จากทั้ง 5 หมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลอาจสามารถ เพื่อนำมาตรวจวัดค่าต่าง ๆ ว่าได้มาตรฐานหรือไม่ ก่อนจะเข้าไปปรับปรุงระบบน้ำประปา แล้วจะปรับปรุงระบบได้อย่างไร? ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำได้เข้าไปจัดการตั้งแต่ต้นทางการผลิตน้ำประปาในโรงผลิต เก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ปรับปรุงคุณภาพน้ำ ยกระดับมาตรฐานการผลิต ไปจนถึงปรับปรุงระบบการส่งน้ำ การประปาอาจสามารถจะสูบน้ำดิบจากแม่น้ำชี แม่น้ำสายสำคัญของภาคอีสาน เข้าสู่โรงผลิตประปา ด่านแรกที่เจอคือ ถังกวน น้ำดิบจะยังมีทั้งตะกอน โคลน ละลายอยู่ในน้ำ และเพื่อให้น้ำแยกตัวออกมา จะต้องเติมสารส้มลงไป ตามด้วยปูนขาว เพื่อปรับค่า PH ของน้ำให้เหมาะสม แล้วน้ำจะใสขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีระบบกรองต่อไปที่น้ำจะถูกผ่านถังกรองทราย เพื่อกรองตะกอนให้มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น จากนั้นเติมคลอรีนในอัตราส่วนที่พอเหมาะ เพื่อกำจัดแบคทีเรียและฆ่าเชื้อโรค สำคัญคือ จะต้องมีการตรวจ ควบคุมคุณภาพน้ำอยู่ตลอดเวลา ระยะต่อมา น้ำจะไหลเข้าสู่ถังน้ำใสเพื่อสำรองน้ำ ก่อนจะถูกสูบขึ้นหอถังสูงเพื่อเพิ่มแรงดันในการกระจายน้ำ ไปยังบ้านเรือนของประชาชน แต่ด้วยสภาพโรงผลิตน้ำประปาที่มีโครงสร้างของอาคารผุพังขาดการดูแล ห้องเครื่องจักรที่ใช้เก็บเครื่องสูบน้ำ ถูกปล่อยปละละเลย ถังน้ำใสที่ไม่ได้ล้างตะกอนมานานหลายปี ห้องเก็บสารเคมีที่ไม่มีมาตรฐาน คือ ปัญหาที่จะต้องแก้ไข และจัดการให้ได้ หลังจากดำเนินการฟื้นฟูสภาพของโรงผลิตน้ำประปา และยกระดับมาตรฐานการควบคุมคุณภาพน้ำประปาให้สามารถใช้เพื่อการบริโภคได้ ผลที่ได้รับคือ คุณภาพน้ำประปาดีขึ้น ประชาชนได้น้ำที่ใสสะอาด มีมาตรฐานการทำงาน ควบคุมคุณภาพน้ำได้ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้เมื่อน้ำมีปัญหา ปัจจุบันมีผลทดสอบคุณภาพน้ำจากห้องปฏิบัติการกลางยืนยันว่าคุณภาพน้ำประปาของเทศบาลตำบลอาจสามารถนำมาบริโภคได้อย่างปลอดภัย และได้ใบรับรองมาตรฐานน้ำประปาดื่มได้อย่างเป็นทางการจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำประปาจาก Rocket Media Lab บอกไว้ว่า ถ้าคนไทยต้องการดื่มน้ำสะอาด 2 ลิตรต่อวัน ต้องทำงานนานถึง 27 นาที เพื่อจ่ายค่าน้ำในราคา 19 บาท (คิดเป็น 45% อ้างอิงจากค่าแรงชั่วโมงขั้นต่ำ 41.31 …

ทำไมคนเมืองกับคนชนบทมีสิทธิในการเข้าถึงน้ำสะอาดไม่เท่ากัน อ่านเพิ่มเติม »

รู้จัก “นักเดินท่องเมือง” ไหม ?

Youtube Creator ที่นิยามตัวเองว่าเป็นนักเดินท่องเมือง (City Walker) จะเป็นในลักษณะของการติดกล้องเดินสำรวจสถานที่ต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อซึมซับบรรยากาศ ซึ่งมักจะไม่มีการพูดบรรยายหรือถ่ายให้เห็นใบหน้า Walker จึงทำให้คนดูรู้สึกไม่ถูกรบกวนหรือบดบังทัศนียภาพ อีกทั้ง วีดีโอของพวกเขาที่มีเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงลำธาร หยาดฝน นกร้อง บางครั้งก็ถูกนำไปใช้ในการบำบัด (Binaural Sounds) เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย หลับสบาย หรือมีสมาธิ สำหรับประเทศไทย มีช่อง REAL THAILAND 4K ที่จะพาไปเดินในย่านเศรษฐกิจ ชมกรุงเก่า และสตรีทฟู้ดของกรุงเทพฯ รวมไปถึงบางพื้นที่ในเชียงใหม่ และเมืองพัทยา โดยปัจจุบันแม้จะมีอายุเพียง 1 ปี 2 เดือน แต่ก็เคยทำยอดวิวรวมได้สูงถึง 1.93 แสนครั้ง/วัน หรือคิดเป็นรายได้ประมาณ 4,926 – 1.72 หมื่นบาท ส่วนในภาคอีสาน น่าสนใจว่า Youtube Creator ที่เป็น Walker พาเดินในพื้นที่อีสานยังไม่ค่อยมี โดยส่วนมากจะเป็นช่องของชาวต่างชาติที่มาเที่ยวในไทย ซึ่งรูปแบบวีดีโอจะเน้นไปที่วิถีชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จึงอาจถือเป็นโอกาสที่น่าลองสำหรับ Walker สายอีสาน ที่มีอุปกรณ์พร้อม ขาดแค่แรงผลักดันในการลุกขึ้นมาทำอะไรใหม่ ๆ ยิ่งหากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนช่วยโปรโมต ก็อาจเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศต่อจากนี้ เรียกได้ว่า “ถ้าทำสำเร็จ ก็วินวินทุกฝ่าย” ที่มา: วิเคราะห์ข้อมูล Youtube Channel จาก NoxInfluencer

รู้จัก YOLO Consumer ผู้ที่กล้าตัดสินใจเพื่อตัวเอง

เกิดอะไรขึ้น ในยุคที่คนจำนวนมากลาออกจากงาน รู้จัก YOLO Consumer ผู้ที่กล้าตัดสินใจเพื่อตัวเอง หากดูข้อมูลผู้ประกันตนปี 2564 (ม.ค. – ก.ย.) พบคนไทยลาออกจากงานเดือนละกว่า 220,000 – 250,000 คน สำหรับภาคอีสานมีผู้ลาออกจากงาน 49,944 คน หรือคิดเป็นถึง 86.1% ของผู้ว่างงานในภาคอีสาน หนึ่งในปัจจัยหลักมาจากผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ที่สร้างความกดดันให้กับแรงงาน อีกทั้งการ Work From Home เป็นเวลานานทำให้คนปรับพฤติกรรม โดยเชื่อว่าการทำงานที่มีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศเสมอไป จึงเริ่มมองหางานใหม่ที่มีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น ครั้งนี้อีสานอินไซต์จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกลุ่มผู้บริโภคที่น่าจับตามอง อย่าง YOLO Consumer (You Only Live Once) หรือผู้ที่กล้าออกจาก Comfort Zone เพื่อตามล่าหาความฝันของตัวเอง สิ่งที่เหล่า YOLO Consumer ต้องการคืออะไร? สิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องการ คือ Work-Life Balance หรือการปรับสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว รวมไปถึงการให้รางวัลตัวเอง ซึ่งสิ่งที่ตามมา คือ ไลฟ์สไตล์แบบ Living Rich หรือการที่คนแบ่งเงินที่ได้จากการทำงานไปใช้จ่ายกับ Passion หรือซื้อประสบการณ์ที่แปลกใหม่ เช่น การชอปปิง การท่องเที่ยว และการรับประทานอาหารร้านใหม่ ๆ เป็นต้น แล้วแบรนด์แบบไหนล่ะ ที่ใช่ในสายตาเหล่า YOLO Consumer 1. แบรนด์ที่สร้างประสบการณ์ในการชอปที่แตกต่าง เหล่า YOLO Consumer ไม่ได้ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการจากความต้องการในตัวสินค้าเพียงเท่านั้นแต่หลายคนเลือกซื้อจากประสบการณ์ที่แบรนด์มอบให้ โดยเฉพาะประสบการณ์ที่แปลกใหม่ น่าประทับใจ น่าถ่ายรูป น่าแชร์ ยิ่งทำให้ได้ใจลูกค้าเหล่านี้ไปเต็ม ๆ 2. แบรนด์ที่ทำการตลาดแบบจริงใจ เน้นประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้เป็นหลัก การที่เหล่า YOLO Consumer ชอบลองสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ทำให้พวกเขาไม่ค่อยยึดติดกับชื่อแบรนด์ ดังนั้น การกลับมาซื้อซ้ำอีกหรือไม่ยังคงขึ้นอยู่กับคุณภาพ และความจริงใจ โดยเฉพาะการใส่ใจลูกค้า เช่น การรับฟัง Feedback เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข รวมไปถึงการใส่ใจประเด็นทางสังคม เช่น การคิดถึงผู้ด้อยโอกาส คิดถึงสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย 3. แบรนด์ที่ให้ความสะดวก รวดเร็ว และสามารถชำระเงินได้หลายช่องทาง อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้แบรนด์โดนใจเหล่า YOLO Consumer คือ ความสะดวก รวดเร็วในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งยุคนี้จะเน้นการชอปออนไลน์ เพราะฉะนั้นทั้งช่องทางการซื้อ การชำระเงิน และการขนส่ง ต้องให้ความรู้สึกสะดวกสบาย ไม่ยุ่งยาก 4. แบรนด์ที่สร้างความพิเศษให้กับลูกค้ากลุ่มแรก เหล่า YOLO Consumer จำนวนมากอยากเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้ทดลองและแชร์ประสบการณ์ก่อนคนอื่น ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราจึงมักเห็นคอนเทนต์ที่มีการรีวิวของกิน ของใช้ รวมไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่าง …

รู้จัก YOLO Consumer ผู้ที่กล้าตัดสินใจเพื่อตัวเอง อ่านเพิ่มเติม »

ข้าวแต๋นมินิ Younger Farm เพิ่มมูลค่าให้ข้าวไทย โลดแล่นไกลต่างแดน

ข้าวแต๋น หรือ นางเล็ด ขนมพื้นบ้านที่เกิดจากความเสียดายที่กินข้าวเหนียวเหลือ จึงนำมาแปรรูปถนอมอาหารด้วยการตากแห้ง เพิ่มรสชาติด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ จนเหนียวได้ที่ และราดลงบนข้าวเหนียวตากแห้งที่ทอดไว้ . จากขนมบ้าน ๆ ในวันนั้น วันนี้ได้บุกตลาดต่างประเทศ ส่งออกไปทั้งจีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์ โดยบริษัท ไทย ยังเกอร์ ฟาร์ม จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นมินิที่สร้าง Value Added ให้กับข้าวไทย ให้เข้าไปอยู่ในใจลูกค้าคนเอเชีย .  มองเห็นโอกาส “ข้าวไทย” ในต่างแดน พร้อมกับตั้งโจทย์ในการผลิตสินค้าที่ชัดเจน . คุณณัฐกิตติ์ จิตต์ปราณีชัย ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทย ยังเกอร์ ฟาร์ม จำกัด เผยกับ Bangkok Bank SME ว่า เมื่อ 11 ปีที่แล้ว ได้มีโอกาสได้ไปเรียนภาษาจีน ณ กรุงปักกิ่ง ทำให้ทราบว่ามีข้าวสารจากประเทศไทยเข้าไปจำหน่ายในตลาดเมืองจีนค่อนข้างเยอะ และเป็นที่นิยม จึงเกิดแนวคิดอยากแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร (Value Added) . โดยมีโจทย์คือต้องผลิตสินค้าให้ถูกใจวัยรุ่นจีน และสามารถเก็บได้นาน ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสทางธุรกิจในการสร้างรายได้ จึงก่อตั้งบริษัท ไทย ยังเกอร์ ฟาร์ม จำกัด เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายข้าวแต๋นมินิแบรนด์ “Younger Farm” โดยมีการทดลอง การทำวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวสินค้าและแพ็กเกจจิ้ง อย่างการทำให้ผลิตภัณฑ์มีอายุ 1 ปี ซึ่งข้าวแต๋นโดยทั่วไปมีอายุประมาณ 3 เดือน ทำให้ลูกค้าหมดกังวลเรื่องหมดอายุ .  ทำอย่างไร…? ให้ผลิตรสชาติที่ถูกปากคนเอเชีย . จากตอนแรกที่ทดลองทำรสชาติที่ถูกปากคนไทย แต่กลับพบว่าไม่ถูกใจคนต่างชาติ จึงทำการ สำรวจตลาดแล้วปรับสูตร – รสชาติให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยการทำ Marketing Survey เช่น การส่งให้เพื่อนชาวต่างชาติทดลองชิมและให้คะแนน เพื่อคัดสรรสินค้าที่มีรสชาติตอบโจทย์มากที่สุด จนได้รสชาติกลาง ๆ แต่จำหน่ายได้ทั้งไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน .  สร้าง Value Added ปรับแพ็กเกจจิ้งทันสมัย ได้มาตรฐาน . ข้าวแต๋นที่เราเห็นทั่วไป จะมีบรรจุภัณฑ์เป็นแบบถุงใส จึงทำการปรับให้ดูทันสมัย เหมาะกับลูกค้าวัยรุ่น วัยทำงาน สามารถถือไปได้ทุกที่ พร้อมกับขยายกิจการจากการเช่าโรงงาน เป็นการซื้อโรงงาน เพื่อการรองรับมาตรฐานต่าง ๆ ให้มากขึ้น . ปัจจุบันมีลูกค้าหลัก คือ เวียดนาม มาเลเซีย จีน และไต้หวัน ซึ่งแต่ละแห่งก็ได้นำสินค้าไปจำหน่ายทั้งในห้างสรรพสินค้าและตามร้านสะดวกซื้อ ส่วนในเมืองไทยมีจำหน่ายในแฟมิลี่มาร์ท เดอะมอลล์ …

ข้าวแต๋นมินิ Younger Farm เพิ่มมูลค่าให้ข้าวไทย โลดแล่นไกลต่างแดน อ่านเพิ่มเติม »

เมื่ออีสานบ้านเฮา เข้าสู่สังคมเมือง (Urbanisation)

ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นเมือง (Urbanisation) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2050 คาดว่าจะมีพื้นที่เมืองสูงถึง 69.5% ของประเทศ ข้อมูลจาก Nielsen Retail Index ชี้ว่า อีสานนับเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่ขยายตัวสู่ความเป็นเมืองมากที่สุดในประเทศ . นำมาซึ่งโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ ตามความต้องการพื้นฐานของสังคมคนเมือง ทั้งโอกาสในการประกอบอาชีพและโอกาสทางธุรกิจของสินค้าและบริการ . มิติ 5 ด้านเพื่อตอบสนองความต้องการชุมชนเมือง ประกอบด้วย .  พลังขับเคลื่อน การเปลี่ยนแปลงระยะยาว – การพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมและบริการดึงดูดแรงงานภาคเกษตรกรรมเข้ามามากขึ้น – ความทันสมัยของเมืองทำให้คนมีแรงจูงใจย้ายจากชนบทสู่เมืองมากขึ้น .  ปัจจัยเร่งระยะสั้นให้เมืองขยายตัว – การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างทั่วถึง – โมบายอินเตอร์เน็ตส่งข้อมูลรวดเร็ว – ฐานการลงทุนหลักของบริษัทข้ามชาติ – ชนชั้นกลางใหม่มีมากขึ้น – เมืองขนาดกลางขยายตัว – เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างเศรษฐกิจและนวัตกรรมสร้างสรรค์ – การคมนาคมขนส่งมีประสิทธิภาพ  ความต้องการพื้นฐานตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง – ที่อยู่อาศัยในทำเลที่เดินทางสะดวก – คมนาคมหลายกหลาย ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม – สุขภาพที่ดี ออกกำลังกายป้องกันโรค – การสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ – คุณค่าของคนเมือง เปิดกว้าง ยอมรับความหลากหลาย  โอกาสตลาดเกิดใหม่ – ชนชั้นกลางใหม่ – ตลาดคนโสด – ตลาดแรงงานต่างด้าว – คนเมืองเสมือนในโลกของเทคโนโลยีดิจิทัล – ตลาดคน Gen M (Millennials) เลือกซื้อสินค้าและบริการเฉพาะตัว – ตลาดของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ  ตัวอย่างไอเดียสร้างสรรค์ – ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางสัญจรในเมือง – ธุรกิจด้านแหล่งเรียนรู้และสาธารณูปโภคทางปัญญา – ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพจิตคนเมือง – ธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ ความสะดวกสบายและคุณภาพ – ธุรกิจที่ตอบสนองความหลากหลายของชีวิตคนเมือง . ปิยะนุช ธูปถมพงศ์ หัวหน้าโครงการการศึกษาเครื่องมือและกระบวนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ สกสว. เห็นว่าการขยายของสังคมเมือง คือ ความเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในอนาคตที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ด้านการเข้าถึงการศึกษา การเดินทางสาธารณะที่มีคุณภาพและปลอดภัย . รวมถึงการใช้พลังงานทดแทน และบริหารการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีความสวยงาม ปลอดภัย พร้อมใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยดูแล ตลอดทั้งการนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการบริการด้านสาธารณสุขทั้งการป้องกันและรักษาให้มีคุณภาพ . ดังนั้น การขยายตัวของสังคมเมืองคือแรงขับเคลื่อนสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต โดยเฉพาะในช่วงที่การเติบโตของเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว ที่รัฐบาลต้องการกระตุ้นและสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศเติบโตแข็งแกร่ง ยกฐานะความเป็นอยู่ของประชากรดีขึ้น ตลอดทั้งมีรายได้มั่นคงยั่งยืน . . อ้างอิง: https://www.brandbuffet.in.th/…/neilsen-outlook…/ https://hr.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/LOOK-ISAN-NOW https://www.bangkokbanksme.com/en/urban-society . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สังคมเมือง #Urbanisation

ใช้ประโยชน์จาก FTA บุกตลาดโลก

แนะผู้ประกอบการกาแฟ-ไม้ประดับ เมืองเลย ใช้ประโยชน์จาก FTA บุกตลาดโลก . นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเกษตรจังหวัดเลย เพื่อหารือเรื่องโอกาสและช่องทางการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสินค้าเกษตรของไทย . โดยกลุ่มแรก เป็นกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออก อันดับที่ 1 ในอาเซียน และอันดับที่ 16 ของโลก มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 124.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4 พันล้านบาท) โดยมีสหรัฐอเมริกา อาเซียน (ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สปป.ลาว) ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และจีน เป็นตลาดส่งออกหลัก . แม้ปัจจุบันจะเน้นการขายไม้ดอกไม้ประดับในประเทศ แต่ทางเกษตรกรก็มีความสนใจที่จะขยายกำลังการผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งจะสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ได้ ซึ่งมี 17 ประเทศที่ได้ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับไม้ดอกไม้ประดับส่งออกจากไทย แต่ยังมีอินเดียที่เก็บภาษีศุลกากรกับไม้ดอกที่ร้อยละ 60 และไม้ประดับที่ร้อยละ 30 .  มองความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก . ผู้บริโภคไม้ดอกไม้ประดับ มักจะให้ความนิยมพันธุ์ใหม่ ๆ ไม้ดอกที่มีสีสันที่โดดเด่นสวยงาม หลากหลาย ไม้ใบที่ทรงสวย ลำต้นที่แข็งแรง และต้านทานโรคได้ดี เป็นต้น . การได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการขยายพันธุ์ต้นกล้าที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งสำคัญและได้รับความสนใจจากเกษตรกร ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเข้าไปให้คำแนะนำแล้ว . ทั้งยังได้พบปะเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดเลย โดยในปี 2564 ไทยส่งออกกาแฟดิบ กาแฟคั่ว และกาแฟสำเร็จรูปไปตลาดโลกรวมมูลค่า 103.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.35 พันล้านบาท) โดยมีกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ เป็นตลาดสำคัญ . ปัจจุบันมี 14 ประเทศคู่ FTA ของไทย คือ อาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ชิลี ที่ไม่เก็บภาษีศุลกากรกับเมล็ดกาแฟที่ส่งออกจากไทยทุกรายการ . ขณะที่ 4 ประเทศ ยังเก็บภาษีศุลกากรอยู่ คือ ญี่ปุ่น จีน เปรู และอินเดีย โดยญี่ปุ่นได้ตกลงลดภาษีศุลกากรกับสินค้ากาแฟคั่วส่งออกจากไทย ภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) โดยจะทยอยลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0 ในปี 2580 .  เพิ่มมูลค่าให้กาแฟไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ . โดยทางหอหารค้าไทย ได้แนะนำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนารู้จักกับน่านโมเดล นำผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย วิทยาเขตกำแพงแสน มาช่วยพัฒนาคุณภาพ ส่งเสริมการตลาด สร้างตรารับรองต่าง ๆ เช่น …

ใช้ประโยชน์จาก FTA บุกตลาดโลก อ่านเพิ่มเติม »

โอกาสจากเทรนด์ Solo Consumer เมื่อคนอยู่เป็นโสดมากขึ้น

Solo Consumer พฤติกรรมผู้บริโภคฉายเดี่ยว กิน ชอป เที่ยว พักคนเดียว แบบไม่ง้อใคร กำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก . สำหรับประเทศไทย จากสถิติที่ผ่านมาคนแต่งงานน้อยลง และหย่าร้างมากขึ้น ทำให้สัดส่วนคนโสด รวมไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ชีวิตคนเดียวเพิ่มขึ้น โดยพบว่า มีการจดทะเบียนสมรสลดลง 13.7% จาก 3.1 แสนคนในปี 2555 มาอยู่ที่ 2.7 แสนคนในปี 2563 ขณะที่มีการจดทะเบียนหย่าเพิ่มขึ้น 8% จาก 1.1 แสนคนในปี 2555 มาเป็น 1.2 แสนคนในปี 2563 . ส่วนภาคอีสาน พบว่า มีการจดทะเบียนสมรสลดลงถึง 18% สวนทางกับการจดทะเบียนหย่าที่เพิ่มขึ้น 5.7% . แนวโน้มผู้ที่ต้องการใช้ชีวิตคนเดียวเพิ่มขึ้น ถ้ามองมากกว่าแค่ปัญหาสัดส่วนประชากรและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ก็ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจด้วยเช่นกัน โดยผู้ประกอบการอาจนำเสนอสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์เหล่า Solo Consumer ซึ่งคาดว่าจะเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง เนื่องจากไม่มีภาระครอบครัว ไม่มีลูก ทำให้มีเวลาและเงินในการดูแลตัวเอง . ถ้าไปดูต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่นที่บรรจุภัณฑ์ของสินค้าต่าง ๆ จะมีขนาดเล็กลง เหมาะสำหรับการใช้หรือบริโภคคนเดียวมากขึ้น มีบริการเช่าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเพื่อที่จะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะและเปลี่ยนได้ตลอด หรือในโลกตะวันตก สถานดูแลผู้สูงอายุมีการเติบโตที่สูงมาก และยังพบว่าคนโสดไม่ชอบสะสมทรัพย์สินแต่นิยมการเช่ามากกว่าการซื้อ . ในไทยเอง จะเห็นว่าร้านอาหารบางร้านได้เริ่มจัดโต๊ะเพื่อบริการลูกค้านั่งทานคนเดียวมากขึ้น อย่างร้าน A Ramen – ราเมงข้อสอบ ร้านราเมงที่จัดโต๊ะเป็นช่อง ๆ เหมือนให้ลูกค้านั่งทำข้อสอบ ซึ่งให้ความรู้สึกสบายใจเวลามานั่งรับประทานอาหารคนเดียว . อีกหนึ่งแนวโน้มที่เห็นได้ชัดคือ ผู้มีสัตว์เลี้ยงเพิ่มสูงขึ้น โดย McKinsey พบว่าระหว่างปี 2558-2563 เพิ่มขึ้นถึง 23% ในอนาคตคาดว่าหุ่นยนต์หรือ Chatbot ที่สามารถตอบโต้กับบุคคลได้อย่างชาญฉลาดจะกลายเป็นอีกหนึ่งเพื่อนคลายเหงาสำหรับครัวเรือนคนเดียว และเป็นไปได้ว่าจะซื้อหุ่นยนต์มาอยู่เป็นเพื่อนแทนการเลี้ยงสัตว์ . ข้อมูลจาก Euromonitor พบว่า ในปี 2562 อัตราค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนคนเดียวของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ (ประมาณ 320,000 บาทต่อครัวเรือน) เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอย่างจีน สิงค์โปร์ หรือ ญี่ปุ่น (ประมาณ 970,000 บาทต่อครัวเรือน) แต่คาดว่าจากปี 2562-2583 ครัวเรือนคนเดียวในไทยจะมีค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 150% นั่นคือธุรกิจสำหรับคนโสดในประเทศไทยยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก . . อ้างอิงจาก: สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, กรุงเทพธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ และ SME Thailand . #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #SoloConsumer

“ยางพารา” พืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ เติบโตในภาคอีสานได้อย่างไร

รู้กันดีว่า ประเทศที่ส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลกมาโดยตลอดอย่างไทยมีแหล่งผลิตยางพาราคุณภาพในพื้นที่ภาคใต้ แต่รู้หรือไม่ว่า พื้นที่ภาคอีสานก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เกษตรกรนิยมปลูกยางพารา และสามารถผลิตน้ำยางที่มีคุณภาพได้ไม่แพ้ที่อื่น .  ยางพาราเข้ามาให้ภาคอีสานได้อย่างไร? . เดิมทีการปลูกยางพาราของภาคอีสานในช่วงแรกเป็นการทดลองปลูกโดยชาวบ้านทั่วไป เรียกได้ว่าเป็นการปลูกแบบ “ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ” จนกระทั่งเกิด วิกฤตการณ์น้ำมันในปี 2516 ทำให้ยางธรรมชาติถูกนำเข้าแทนยางสงเคราะห์ . จึงมองว่ายางพารา “เป็นพืชที่มีอนาคตสดใส” และ “เป็นโอกาสทองที่จะเร่งรัดการผลิตยางเพื่อป้อนความต้องการของตลาดในอนาคต” นำมาสู่การสนับสนุนให้มีการปลูกยางพาราในพื้นที่แห่งใหม่ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “อีสาน” . ภาครัฐได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการส่งเสริม วิจัยและพัฒนา จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากความคิดที่ว่า “ยางพาราปลูกไม่ได้ในภาคอีสาน” มาเป็น “ยางพาราปลูกได้ดีในภาคอีสาน” กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นการทดลองของหน่วยงานอื่น ๆ ตามมา . ระยะถัดมา การที่ยางพาราถูกมองเป็นพืชเศรษฐกิจที่ “ทำรายได้เข้าประเทศสูง” ทั้งยัง ถูกสร้างให้เป็นภาพแทนของ “ป่า” ที่จะช่วยทำให้สภาพแวดล้อมของอีสานดีขึ้น ภาครัฐจึงตัดสินใจใช้ยางพาราเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอีสานผ่านโครงการต่าง ๆ ทั้งโครงการเร่งรัดการปลูกยางพารา เพื่อกระจายรายได้ในภูมิภาคเอง โครงการอีสานเขียว โครงการสงเคราะห์ปลูกยางพาราแก่ผู้ที่ไม่มีสวนยางมาก่อน เป็นต้น . ระยะสุดท้าย เป็นช่วงการขยายตัวของการปลูกยางพาราโดยเกษตรกรรายย่อยและนายทุนรายใหญ่ โดยผลผลิตและรายได้ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากยางรุ่นแรก ได้ทำให้เกษตรกรคนอื่น ๆ ที่ไม่มั่นใจเริ่มหันมาปลูกยางพารา ประกอบกับราคายางพาราที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ปี 2545 โดยเฉพาะในปี 2554 ที่ราคาพุ่งขึ้นสูงเกินกว่า 100 บาท ทำให้พื้นที่ปลูกยางพาราในภาคอีสานขยายตัวอย่างรวดเร็ว . .  กรณีศึกษา “ธุรกิจยางพาราหมื่นล้าน” ในภาคอีสาน บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER . NER ก่อตั้งโดย คุณชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ซึ่งคุณพ่อของคุณชูวิทย์ได้เริ่มปลูกยางพาราในพื้นที่อีสานใต้ ตั้งแต่ปี 2527 ทำให้เกษตรกรในภาคอีสานเริ่มสนใจและหันมาปลูกยางพาราเพื่อสร้างรายได้ แต่ก็ต้องพบกับปัญหาที่ภาคอีสานนั้น “ไม่มีสถานที่รับซื้อยางพารา” จึงต้องนำผลผลิตยางพาราที่ได้ไปขายที่จังหวัดระยอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและยังโดนกดราคา . “เมื่อปัญหานำมาสู่โอกาสทางธุรกิจ” . ปัญหาดังกล่าวก็ได้ทำให้คุณชูวิทย์เห็นถึงโอกาส โดยได้ตัดสินใจตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราขึ้นมาชื่อว่า “นอร์ทอีส รับเบอร์” หรือ NER ในปี 2549 เริ่มจากการรับซื้อยางจากเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงและนำมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันขายให้กับคู่ค้าทั่วประเทศ . ช่วงแรกของการทำธุรกิจก็ได้พบกับวิกฤตครั้งใหญ่ จากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยที่ไม่ Stock ของไว้ในมือ เมื่อราคาของยางพาราวิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทไม่มีเงินพอที่จะซื้อของมาขายตามที่สัญญาไว้ได้ คุณชูวิทย์จึงตัดสินใจบินไปหาคู่ค้าที่สิงคโปร์ด้วยตัวเองและชี้แจงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยขอผ่อนชำระหนี้ในระยะยาวกับคู่ค้าแทน ซึ่งคู่ค้าเห็นด้วย และยังสามารถเป็นคู่ค้ากันต่อไปได้ . จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทำให้เปลี่ยนวิธีทำธุรกิจเป็นแบบ “Matching” คือ ซื้อเข้ามาแล้วขายออกเลย หรือรับออร์เดอร์ขายเข้ามาก่อน แล้วค่อยซื้อเข้ามาเก็บไว้ ทำให้บริษัทไม่ต้องรับความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของต้นทุนสินค้าอีกต่อไป . กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างรายได้สม่ำเสมอในระยะยาว แม้ว่าวัตถุดิบอย่างยางพาราจะเป็นสินค้าที่มีวัฏจักรราคาหรือรอบของมันก็ตาม เมื่อบริษัทมีความมั่นคงและเป็นที่รู้จักมากขึ้น จึงขยายโรงงาน …

“ยางพารา” พืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ เติบโตในภาคอีสานได้อย่างไร อ่านเพิ่มเติม »

Medical Tourism ทางเลือก หรือ ทางรอด ของไทยต่อจากนี้

 Medical Tourism คืออะไร สำคัญยังไง? . หลายคนคงยังไม่รู้ว่า ก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 รายได้ที่กำลังเติบโตด้านหนึ่งของประเทศไทย มาจากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) ซึ่งก็คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีจุดประสงค์เดินทางเข้ามาในไทยเพื่อทำการผ่าตัดหรือรักษาโรค ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยว โดยเป็นช่องทางรายได้ที่รัฐบาลไทยวางโร้ดแมปเป็นนโยบายไว้ตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้ชื่อ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) (พ.ศ.2560 – 2569) .  จากโครงสร้าง Medical Tourism ของไทย ใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย? . อันดับแรก คงหนีไม่พ้นผู้ให้บริการทางการแพทย์ ได้แก่ โรงพยาบาล สถานพยาบาล ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ และศูนย์การแพทย์เพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะที่เจาะกลุ่มลูกค้าพรีเมี่ยมจากต่างประเทศ ซึ่งกินสัดส่วนรายได้ประมาณ 50% ของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ . รองลงมา เป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว สายการบิน และค้าปลีกที่อยู่ในโซนท่องเที่ยว กินสัดส่วนรายได้ 35.7 % ของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ . สุดท้าย ธุรกิจการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ยาและเวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ รวมไปถึงการแพทย์ทางเลือก เช่น ธุรกิจสปา และแพทย์แผนไทย ที่กินสัดส่วนรายได้อีก 14.3 % ของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ .  พฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทย เป็นอย่างไร? . ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยนิยมใช้บริการ “ทันตกรรม” มากที่สุด คิดเป็น 38% ของจำนวนนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ทั้งประเทศ ขณะที่ “การศัลยกรรมความงาม” สร้างรายได้มากที่สุด โดยในปี 2562 การศัลยกรรมความงามสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศไทยกว่า 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาท .  อนาคตตลาด Medical Tourism ของไทย จะโตแค่ไหน? . ตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยมีโอกาสเติบโตตามเทรนด์ของตลาดโลกที่คาดว่าจะแข่งขันกันดุเดือดขึ้นหลังสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งไทยมีความพร้อมสูง เนื่องจากเป็นศูนย์กลางด้านการบริการสุขภาพหลักของเอเชีย โดยมีนักท่องเที่ยวที่จัดอยู่ในเชิงการแพทย์ของทั้งภูมิภาคเอเชียราว 38% และมีสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานตามระบบสากล (JCI) มากถึง 60 แห่ง มากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และเป็นอันดับ 4 ของโลก . อีกทั้งมีปัจจัยสนับสนุนที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นการที่แพทย์ไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะการศัลยกรรมความงาม และการรักษาพยาบาลเฉพาะทาง เช่น ภาวะมีบุตรยาก เวชศาสตร์ชะลอวัย และผ่าตัดแปลงเพศ การที่ไทยมีค่ารักษาพยาบาลก็ถูกกว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาคและประเทศช้ันนำอย่างสหรัฐฯ และมีค่าครองชีพที่ไม่สูงมาก เหมาะแก่การพำนักรักษาตัวและพักฟื้นร่างกายในระยะยาว . Allied Market Research คาดว่า มูลค่าตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยในปี 2566 …

Medical Tourism ทางเลือก หรือ ทางรอด ของไทยต่อจากนี้ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top