นิคมกรีนอุดรฯ ศูนย์กลางการลงทุนใหม่ ความหวังที่จะได้ทำงานใกล้บ้านของชาวอีสาน

ปฎิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเท​​คโนโลยีก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าหลาย ๆ ด้าน ซึ่งหากมองในเชิงพื้นที่ ที่ใดมีความเจริญก้าวหน้า หรือได้รับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา มีโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการทำงาน จะเป็นแรงดึงดูดให้คนย้ายถิ่นเข้าไปมากกว่าพื้นที่อื่น
.
เมื่อปี 2555 ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง “นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว” ในจังหวัดอุดรธานี ที่มีความได้เปรียบในแง่ของการขนส่งสินค้า กระจายสินค้าสู่หลายจังหวัดในประเทศไทย รวมถึงฝั่ง สปป. ลาว กลุ่มประเทศ CLMV และประเทศจีนตอนใต้
.
โครงการพัฒนาบนพื้นที่ 2,170 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ก่อให้เกิดรายได้ 1,630 ไร่ พื้นที่ระบบสาธารณูปโภค 314 ไร่ และพื้นที่สีเขียวและแนวกันชน 226 ไร่
.
อุตสาหกรรมเป้าหมายในนิคม ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยางพาราขั้นปลาย เช่น โรงงานผลิตถุงมือยาง อุปกรณ์การกีฬา และชิ้นส่วนรถยนต์, อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร, อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมส่งเสริมการผลิค, อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยยนต์ และศูนย์กระจายสินค้า ที่อยู่นอกเหนืออุตสาหกรรมกลุ่มอื่น ๆ
.
ภาพรวมความก้าวหน้าการพัฒนาโครงการ ในด้านความพร้อมของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานก่อสร้างแล้วเสร็จ 80% พร้อมเปิดดำเนินการให้นักลงทุนเข้ามาตั้งโรงงานในกลางปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะมีโรงงานเกิดขึ้นประมาณ 80-100 โรงงาน มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 15,000-20,000 ราย ในพื้นที่ และ 60,000 ราย รอบนิคมฯ มูลค่าการลงทุนประมาณ 100,000 ล้านบาท
.
ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนานิคมฯเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการ ทางนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี มีแผนการพัฒนาระบบ Logistics ของนิคมฯ แบ่งเป็น 2 ระยะ
.
โดยระยะที่ 1 (2563-2565) จะทำเป็นอาคารคลังสินค้าให้เช่า การบริการรับและจ่ายตู้คอนเทนเนอร์ ให้บริการเปิดตู้และบรรจุตู้คอนเทนเนอร์สำหรับสินค้านำเข้า-ส่งออกผ่านแดน มีการขออนุญาตจัดตั้งเขตปลอดอากรและพร้อมให้ใช้บริการ การให้บริการ Tuck Terminal และการให้บริการขนส่งสินค้าด้วยระบบขนส่งทางรางโดยเชื่อมกับสถานีหนองตะไก้
.
ส่วนระยะที่ 2 (2565-2568) จะพัฒนาระบบรางภายในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อเชื่อมต่อกับสถานีหนองอุตสาหกรรมตะไก้ และเป็นผู้ให้บริการขนส่งแบบ Freight Forwarder อย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงภาคขนส่งระหว่างนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี กับ ประเทศลาว กัมพูชา และจีนมากขึ้น
.
การเกิดขึ้นของนิคมฯ จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความเจริญเติบโตให้คนอีสานทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม พร้อมรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในภูมิภาค ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ ในการมีช่องทางประกอบอาชีพในถิ่นเกิด โดยไม่ต้องอพยพไปทำงานที่อื่น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด
.
.
อ้างอิง: Udon thani Industrial City, MGR Online และประชาชาติธุรกิจ
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #นิคมอุตสาหกรรม #อุดรธานี

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top