4 Megatrends กำหนดทิศทางการพัฒนาทักษะแรงงาน

กระแส Megatrends ในโลกยุคใหม่ ที่จะมากำหนดทิศทางการพัฒนาทักษะของแรงงาน ซึ่งภาคธุรกิจควรให้ความสำคัญ ได้แก่

1. การปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ

จากการสำรวจผู้ประกอบการท่ัวโลกโดย World Economic Forum (WEF) พบว่า เทคโนโลยีที่กิจการคาดว่าจะนำมาปรับใช้มากที่สุด (เกิน 80%) ในปี 2568 คือ Cloud Computing, Big Data และ Internet of things

และจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ทำให้องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางไซเบอร์มากข้ึน จึงคาดว่า ในอนาคตจะเกิดการเร่งตัวของการใช้เทคโนโลยี Encryption and cybersecurity

2. Green Economy หนุนการโตของ Green Jobs

หากทั่วโลกหันมาใช้ ‘พลังงานทางเลือก’ ที่สามารถผลิตและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแพร่หลาย จะผลักดันให้เกิดการจ้างงานในกลุ่มอาชีพ เช่น Green Marketers, Innovation Manager และ Solar / Wind Energy Technician มากขึ้น ในทางกลับกัน ตำแหน่งงานในภาคธุรกิจที่ไม่สอดรับกับหลักการ Green Economy จะเป็นที่ต้องการลดลง

3. ESG กับการพัฒนาทุนมนุษย์

กระแสความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, and Governance : ESG) จะผลักดันให้องค์กรต่าง ๆ ต้องเตรียมพร้อมในการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human capital)

สำหรับมาตรวัด (Metrics) ที่องค์กรควรให้ความสำคัญ เช่น การเข้าถึงการพัฒนาอย่างเท่าเทียม มีเครื่องมือรองรับสำหรับพนักงานที่มีศักยภาพสูง สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และการเปิดรับคำติชมจากพนักงาน

4. Multistage Life อายุยืนขึ้น ยิ่งต้องรู้หลายทักษะ

ค่าเฉลี่ยอายุขัยประชากรโลกที่เพิ่มข้ึนจาก 72.8 ปี (ในปี 2563) เป็น 77 ปี (ในปี 2593) ทำให้เส้นแบ่งการเรียน-ทำงาน-เกษียณไม่ชัดเจน ยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดอาชีพ และทักษะใหม่ ๆ รวมไปถึงการที่หลายประเทศเริ่มมีนโยบายส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ ผู้อยู่ในกำลังแรงงานจึงควรพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง

โอกาสของธุรกิจ Corporate Training

● Customise โปรแกรมฝึกอบรมตามความต้องการของลูกค้า: โดยเน้นหลักสูตรที่ใช่ ในรูปแบบที่ชอบ เจาะกลุ่มทักษะที่สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

● เสริมพลังการให้บริการด้วย Partnership: โดยผนึกกำลังความเชี่ยวชาญกับพันธมิตรกลุ่มต่าง ๆ เพื่อยกระดับการฝึกอบรมให้ตรงใจลูกค้ามากที่สุด

● ต่อยอดธุรกิจกระจายกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย: เพื่อโอกาสในการขยายตลาดที่มากขึ้น เช่น กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ นักศึกษาที่ใกล้จะจบการศึกษา หรือผู้สูงอายุที่ต้องการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ

อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจไทยกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัล โดยเฉพาะตำแหน่งงานที่ใช้ทักษะดิจิทัลสมัยใหม่ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลหรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่มีความสำคัญมากในยุคนี้

ดังนั้น หากธุรกิจ Corporate Training สามารถจับเทรนด์ และทำให้ลูกค้าเข้าใจเรื่องโอกาสของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมไปถึงสามารถเติมเต็มทักษะที่ขาดหายได้ไว นอกจากเรื่องของผลตอบแทนในรูปของรายได้แล้ว ยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แรงงานของไทยมีความเข้มแข็ง (Resilience) สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย

ที่มา: รายงาน Corporate Training ธุรกิจติดอาวุธทางปัญญา เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จัดทำโดย Krungthai COMPASS, —https://www.sciencedirect.com/…/pii/S2211467X19300082
และ https://www.disruptignite.com/blog/7-jobs-of-2022

Leave a Comment

Your email address will not be published.

Scroll to Top