Nanthawan Laithong

ชวนเบิ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคอีสาน ในเดือนเมษายน

ดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนเมษายน 2566 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ 98.9 ปรับตัวลดลง จากระดับ 103.9 ในเดือนมีนาคม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 104.5 ในเดือนมีนาคม ปัจจัยลบ – ภาคการผลิตชะลอตัวลง เนื่องจากวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทำให้วันทำงานน้อย – ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า และราคาน้ำมัน – อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในทิศทางขาขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของ SMEs เพิ่มขึ้น ปัจจัยบวก – การบริโภคและการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ – กำลังซื้อในภูมิภาคเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของรายได้ภาคเกษตร อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ส่งผลด้านลบ ต่อค่าดัชนีฯ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มีคำสั่งซื้อลดลง จากตลาดสหรัฐสหภาพยุโรปและลาตินอเมริกา เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น มียอดขายในประเทศลดลง ตามอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอ) อุตสาหกรรมน้ำตาล (ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีคำสั่งซื้อในประเทศลดลง ขณะที่หลายโรงงานทยอยปิดหีบอ้อยทำให้ปริมาณการผลิตลดลง) อุตสาหกรรมเซรามิก (ผลิตภัณฑ์กระเบื้องเซรามิก และสุขภัณฑ์ มียอดขายในประเทศลดลง ขณะที่ปริมาณการผลิตลดลงเนื่องจากวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์) อ้างอิงจาก: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม #ดัชนีความเชื่อมั่น #ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม#อุตสาหกรรม

พาส่องเบิ่ง “อุดร ช.ทวี” อาณาจักรผู้แทนจำหน่ายรถบรรทุกฮีโน่ รายใหญ่แห่งอีสานตอนบน

บริษัท อุดร ช.ทวี จำกัด เป็นเครือช.ทวี ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายรถบรรทุกฮีโน่รายใหญ่ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดย บ.อุดร ช.ทวี ดูแลใน 6 จังหวัด คือ อุดรธานี หนองคาย เลย หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์ โดยเวลานี้ คุณสุระชัย ทวีแสงสกุลไทย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อุดร ช.ทวี จำกัด มอบให้ คุณณัฐชัย ทวีแสงสกุลไทย ลูกชายคนโต เข้ามาดูแลรับผิดชอบในการบริหารธุรกิจทั้งหมดแทน เพราะโลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปต้องให้คนรุ่นใหม่ขึ้นมาบริหารจัดการแทนคนรุ่นเก่า ส่วนคุณสุระชัยออกมาเป็นที่ปรึกษา คอยให้แนวทางการดำเนินงานต่างๆ แทน รวมทั้งไปดูแลงานด้านอสังหาริมทรัพย์ และใช้เวลาที่ว่างมากขึ้นไปศึกษาหาความรู้ มองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงตามดูความเปลี่ยนแปลงโครงข่ายคมนาคมของประเทศและกลุ่มอาเซียนมาก่อนหน้านั้น และระบบโลจิสติกส์ของจีน (โครงการBRI) มาผนวกรวมกัน พบว่าธุรกิจโลจิสติกส์แบบครบวงจร จะมีความจำเป็นและมีโอกาสเติบโตในอนาคต โดยที่บางส่วนของภาคอีสานตอนบน ที่เป็นพื้นที่ทางผ่านของระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก (แนวทางแม่สอด-นครพนม) หรือ East-Weast Corridor จะกลายเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์ของไทย และกลุ่มประเทศอาเซียนตอนบน รวมไปถึงประเทศจีนตอนใต้หลายมณฑล โดยมีประชากรรวมกันหลายร้อยล้านคน ทั้งนี้ กาฬสินธุ์อยู่ในแนวเส้นทางคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงสู่กลุ่มอาเซียนตอนบนและจีน โดยจากเวียดนามกลางผ่านลาวไปจีนตอนใต้ หรือผ่านเมียนมาไปลาวถึงจีน ก็ต้องผ่านพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะบึงกาฬ กับทางหลวงหมายเลข 8 ที่กำลังมีโครงการก่อสร้างจากท่าเรือแหลมฉบัง-นครพนม ผ่านพื้นที่ EEC ซึ่งเป็นฐานการผลิตในภาคตะวันออก ก็ต้องผ่านกาฬสินธุ์ และบึงกาฬ ก่อนเข้าสู่สปป.ลาว บริษัท อุดร ช.ทวี เล็งเห็นโอกาสระยะยาวในธุรกิจด้านโลจิสติกส์ ว่ามีอนาคตการเติบโตสดใสกว่าธุรกิจอื่น จึงได้ลงทุนหาซื้อที่ดินในจังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดแนวชายแดนไว้เกือบทุกจังหวัด รวมถึงแลนด์แบงก์ใน 6 จังหวัดจะได้นำแปลงที่ดินที่มีศักยภาพมาพัฒนารองรับกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ควบคู่ไปด้วย โดยได้ตั้งสาขาที่จังหวัดบึงกาฬไว้แล้ว ส่วนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีที่ดินประมาณ 50 ไร่ ได้แบ่งมา 6 ไร่ ตั้งเป็นศูนย์บริการครบวงจร แก่รถบรรทุกขนาดใหญ่ของบริษัทขนส่งสินค้า ส่วนที่อุดรธานี จะใช้พื้นที่ของบริษัท ที่เตรียมไว้บริเวณริมถนนมิตรภาพ สายอุดรธานี-ขอนแก่นจำนวน 10 ไร่ ตั้งเป็นศูนย์บริการ และมีแผนขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ ทั้ง 6 แห่งต่อไป โดยที่สาขาหนองคาย ได้จัดพื้นที่ไว้ประมาณ 50 ไร่ สำหรับการจัดตั้งคลังสินค้าทันฑ์บน เป็นที่พักสินค้าขาออก-สินค้าเข้า โดยจะนำระบบเน็ตเวิร์คที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการให้บริการ โดยมีเครือข่ายสาขาของบริษัท ช.ทวีฯ ทุกแห่งของภาคอีสานคอยเป็นลูกข่ายให้ โดยแผนงานเหล่านี้มีเป้าหมายจะเสร็จในอีก 5 ปีข้างหน้า ปัจจุบัน ใน 6 จังหวัดภาคอีสานตอนบน บริษัท อุดร ช.ทวี มีส่วนแบ่งตลาดรถบรรทุกฮีโน่ อยู่ที่ 42 % และมุ่งบริการแบบครบวงจร ทั้งบริการอะไหล่รถบรรทุก บริการดูแลซ่อมแซม …

พาส่องเบิ่ง “อุดร ช.ทวี” อาณาจักรผู้แทนจำหน่ายรถบรรทุกฮีโน่ รายใหญ่แห่งอีสานตอนบน อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก “ฟาร์มกำนันเตียง” อาณาจักรโคขุนแห่งอีสาน

“ฟาร์มกำนันเตียง” เป็นผู้ให้ความรู้เรื่องโคขุน การเลี้ยงดู ไปจนถึงการสร้างความยั่งยืนทางด้านอาชีพค้าขายโคขุนให้กับเกษตรกรโคขุนทุกระดับ อีกทั้งยังคัดสรรเนื้อคุณภาพพรีเมี่ยม ราคาที่ทุกคนจับต้องได้ เพื่อให้คนไทยได้ลิ้มลองรสชาติของเนื้อโคขุนไทย และรู้ว่า “เนื้อโคขุนไทย คุณภาพไม่แพ้ชาติใดในโลก” เส้นทางของ “ฟาร์มกำนันเตียง” เป็นอย่างไร? 2535 คุณทองเตียง บริบาล ได้เริ่มก่อตั้งฟาร์มโคขุนในจังหวัดศรีสะเกษโดยมีวัวเริ่มต้นเพียง 5 ตัว 2548 มีการรวมกลุ่มกัน เพื่อเลี้ยงโคขุนส่งขายให้ฟาร์มกำนันเตียงโดยมีสมาชิกเริ่มต้นเพียง 5 ครอบครัว ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ครอบครัว สมาชิกมีวัวเพิ่มขึ้นมา 100 ตัว ฟาร์มกำนันเตียงมี 600 ตัว 2559 ได้ก่อตั้งกลุ่มให้ถูกต้องภายใต้ ชื่อ กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนดอกลำดวน ปัจจุบันมีโคขุนภายในกลุ่มเพิ่มขึ้นมาอีก 250 ตัว รวมมีโคขุนไม่น้อยกว่า 850 ตัว และโคแม่พันธุ์ไม่น้อยกว่า 1,500 ตัว 2560 ก่อตั้ง บริษัท คิดขาย บูชเชอร์แอนด์เรสเตอรองท์ จำกัด 2561 มีสมาชิก 55 ครอบครัว มีโคขุนเพิ่มขึ้นมาอีก 500 ตัว รวมมีโคขุนไม่น้อยกว่า 1,000 ตัว และโคแม่พันธุ์ไม่น้อยกว่า 2,500 ตัว อีกทั้งเริ่มสร้างร้านอาหารแม่เฮาปิ้งย่างและชาบู 2562 มีสมาชิก 300 ครอบครัว มีโคขุนเพิ่มขึ้นมาอีก 1,000 ตัว รวมมีโคขุนไม่น้อยกว่า 2,000 ตัว และโคแม่พันธุ์ไม่น้อยกว่า 3,500 ตัว อีกทั้งเริ่มสร้างร้านขายเนื้อโคขุนฟาร์มกำนันเตียง (Butchers Shop) 2563 เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารโคขุน 2564 เริ่มก่อสร้างโรงงานตัดแต่งและแปรรูปเนื้อโคขุน อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#ฟาร์มกำนันเตียง #ฟาร์มโคขุน #โคขุน

ชวนเบิ่ง อาณาจักรฟาร์มวัวรายใหญ่แห่งภาคอีสาน .

เนื่องในวันนี้เป็นวันพืชมงคล วันนี้ ISAN Insight & Outlook ชวนเบิ่งว่า “อาณาจักรฟาร์มวัว” อยู่หม่องใด๋แหน่ของภาคอีสานและมีรายได้รวมหลายปานใด๋? อันดับที่ 1 บริษัท สิทธิโชค 1962 จำกัด มีรายได้รวม 31 ล้านบาท อยู่ที่ นครราชสีมา อันดับที่ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภู-พิงค์ 2018 มีรายได้รวม 21 ล้านบาท อยู่ที่ สุรินทร์ อันดับที่ 3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนากร แดรี่ ฟาร์ม มีรายได้รวม 10 ล้านบาท อยู่ที่ นครราชสีมา อันดับที่ 4 บริษัท บ้านไร่ กรีน ออแกนิค จำกัด มีรายได้รวม 7 ล้านบาท อยู่ที่ นครราชสีมา อันดับที่ 5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชนบท ฟาร์ม มีรายได้รวม 6 ล้านบาท อยู่ที่ นครราชสีมา อันดับที่ 6 บริษัท ฟาร์มบุญเลี้ยง จำกัด มีรายได้รวม 3.5 ล้านบาท อยู่ที่ มุกดาหาร อันดับที่ 7 บริษัท หนองบัว แดรี่ จำกัด มีรายได้รวม 3.1 ล้านบาท อยู่ที่ หนองบัวลำภู อันดับที่ 8 ห้างหุ้นส่วนจำกัด กัปตันฟาร์มวากิว มีรายได้รวม 2 ล้านบาท อยู่ที่ สุรินทร์ หมายเหตุ: เป็นข้อมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจการเลี้ยงโคนมและโคเนื้อ (รหัสประเภทธุรกิจ 01411) อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปีงบการเงิน 2564 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจฟาร์มวัว#ฟาร์มวัว #ธุรกิจ #Business #ธุรกิจอีสาน

ชวนเบิ่ง 7 อันดับธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตรที่มีรายได้รวมมากที่สุดในภาคอีสาน .

อันดับที่ 1 บริษัท ทองอุไรพัฒนา จำกัด ธุรกิจ การเลี้ยงสุกร รายได้รวม 1,704 ล้านบาท จังหวัด ขอนแก่น อันดับที่ 2 บริษัท โรงสีหิรัณย์เจริญ จำกัด ธุรกิจ โรงสีข้าว รายได้รวม 934 ล้านบาท จังหวัด สุรินทร์ อันดับที่ 3 บริษัท อาร์.เอ็ม.ซี.ฟาร์ม จำกัด ธุรกิจ การเลี้ยงสุกร รายได้รวม 811 ล้านบาท จังหวัด บุรีรัมย์ อันดับที่ 4 บริษัท อรรณพชัยภูมิฟาร์ม จำกัด ธุรกิจ การเลี้ยงไก่เนื้อ รายได้รวม 635 ล้านบาท จังหวัด ชัยภูมิ อันดับที่ 5 บริษัท กิจเจริญโพลทรี 1999 จำกัด ธุรกิจ การเลี้ยงสัตว์ปีก รายได้รวม 573 ล้านบาท จังหวัด บุรีรัมย์ อันดับที่ 6 บริษัท สินพรพงศ์ จำกัด ธุรกิจ การเลี้ยงไก่เนื้อ รายได้รวม 568 ล้านบาท จังหวัด บุรีรัมย์ อันดับที่ 7 บริษัท ซุปเปอร์ เอ้กซ์ จำกัด ธุรกิจ การเลี้ยงไก่ไข่ รายได้รวม 563 ล้านบาท จังหวัด ขอนแก่น จากอันดับข้างต้น จะเห็นได้ว่า ธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตรในขอนแก่น มีรายได้รวมกันมากที่สุด อยู่ที่ 2,267 ล้านบาท เนื่องจากขอนแก่นเป็นพื้นที่ที่มีการเพาะเลี้ยงพืชอาหารสัตว์อย่างหลากหลาย ทำให้สามารถผลิตอาหารสัตว์คุณภาพสูงได้ในปริมาณมาก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ฟาร์มเลี้ยงไก่มีการเติบโตและกำไรสูงขึ้น อ้างอิงจาก: – CredenData #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร #การเกษตร #ธุรกิจ #Business #ธุรกิจอีสาน

UBE เริ่ดคักหลาย เดินหน้ากลยุทธ์นวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร สู่เป้าหมายบริษัท Food Tech .

นางสาวสุรียส โควสุรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันสำปะหลังรายใหญ่ของประเทศไทย ได้เปิดเผยว่า “ภาพรวมผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1/2566 เป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทาย ทั้งจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูง และอุปทานมันสำปะหลังที่ลดลงมาก ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่ในจังหวัดอุบลราชธานี และพื้นที่ใกล้เคียงในไตรมาสที่ 4/2565 ถือเป็นน้ำท่วมใหญ่ในรอบกว่า 43 ปี กระทบแหล่งเพาะปลูกมันสำปะหลังโดยตรง ส่งผลให้อุปทานมันสำปะหลังในฤดูกาลนี้ลดลงกว่า 30% ซึ่งบริษัท ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของธุรกิจเอทานอล ปริมาณยอดขายเอทานอลเกรดเชื้อเพลิงยังทรงตัว เนื่องจากได้อานิสงส์จากการเปิดเมือง และฤดูกาลท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี บริษัทมีแผนเพิ่มปริมาณการขายด้วยการผลักดันการใช้แก๊สโซฮอล์ E20 เป็นน้ำมันพื้นฐาน อีกทั้งคาดการณ์ได้ผลบวกจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะกลับเข้าไทยประมาณ 30 ล้านคนในปี 2566 จะเป็นแรงหนุนอุปสงค์การใช้เอทานอลในช่วงที่เหลือของปี ส่วนเอทานอลเกรดอุตสาหกรรม อุปสงค์ลดลงจากสถานการณ์โควิดที่เริ่มคลี่คลาย ซึ่งบริษัทได้ทำกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง และเดินหน้าผลักดันการเปิดเสรีเอทานอลเกรดอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อเพิ่มปริมาณขาย ด้านธุรกิจแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ด้วยการขยายตลาดต่างประเทศใหม่ๆ เพื่อนำเสนอฟลาวมันสำปะหลังไปใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของลูกค้า รวมถึงเพิ่มช่องทางการตลาดเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคในประเทศ โดยล่าสุดได้เพิ่มช่องทางจำหน่ายแป้งทอดกรอบ ภายใต้แบรนด์ Tasuko ในร้านสะดวกซื้อต่างๆ แล้ว นอกจากนี้ บริษัทยังเดินหน้าเปิดรับความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อผลักดันการพัฒนาผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลังและฟลาวมันสำปะหลัง เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่มีความหลากหลายในการนำไปใช้ รองรับเป้ากลยุทธ์การก้าวสู่บริษัท Food Tech ในอนาคต” ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1/2566 ของ UBE สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 บริษัท มีรายได้รวมที่ 1,499.2 ล้านบาท ลดลง 3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 26.2 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุหลักมาจากต้นทุนวัตถุดิบมันสำปะหลัง และปริมาณขายที่ลดลงของเอทานอลเกรดอุตสาหกรรม และแป้งมันสำปะหลัง สำหรับทิศทางการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2/2566 ยังคงเป็นช่วงที่ท้าทายจากปริมาณวัตถุดิบมันสำปะหลัง และราคามันสำปะหลังทรงตัวในระดับสูง อย่างไรก็ดี คาดการณ์สถานการณ์ขาดแคลนวัตถุดิบจะคลี่คลายในไตรมาสที่ 3/2566 เมื่อผลผลิตฤดูกาลใหม่เริ่มเก็บเกี่ยว ประกอบกับการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว จะหนุนอุปสงค์เอทานอล ทั้งนี้ บริษัท ยังคงสานต่อกลยุทธ์ด้านความร่วมมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มสัดส่วนปริมาณการขายสินค้ากลุ่มมูลค่าสูง ทั้งแป้งออร์แกนิคและฟลาวมันสำปะหลัง และยังอยู่ในระหว่างการศึกษา และแสวงหาโอกาสเพื่อต่อยอดไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ ควบคู่ไปกับการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการต้นทุน และมุ่งเน้นกิจกรรมการตลาด ทั้งการเข้าสู่ตลาดใหม่ในต่างประเทศ และการขยายช่องทางการจำหน่ายสำหรับผลิตภัณฑ์ในประเทศให้หลากหลายและต่อเนื่องมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญกับการสร้างความยั่งยืนในด้านวัตถุดิบ ด้วยการเดินหน้า “โครงการ อีสานล่าง 2 โมเดล” บูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในเรื่องการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สามารถบริหารจัดการแปลงมันสำปะหลังอินทรีย์ได้อย่างยั่งยืน อ้างอิงจาก: https://www.bangkokbiznews.com/environment/1067926 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#UBE #อุบลไบโอเอทานอล #FoodTech#Business …

UBE เริ่ดคักหลาย เดินหน้ากลยุทธ์นวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร สู่เป้าหมายบริษัท Food Tech . อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง อาณาจักรโรงสีข้าว รายใหญ่แห่งภาคอีสาน

ใกล้ถึงวันพืชมงคลแล้ว มื้อนี้ ISAN Insight & Outlook สิพามาเบิ่งธุรกิจโรงสีข้าวในภาคอีสาน ว่ามีบริษัทใด๋แหน่ อยู่จังหวัดใด๋ และมีรายได้ส่ำใด๋ อันดับที่ 1 เกษตรวิสัย ไรซ์ อินเตอร์เทรด จำกัด จังหวัดร้อยเอ็ด รายได้รวม 1,730 ล้านบาท อันดับที่ 2 กล้าทิพย์ จำกัด จังหวัดหนองบัวลำภู รายได้รวม 1,307 ล้านบาท อันดับที่ 3 โรงสีทรัพย์อนันต์ จำกัด จังหวัดสุรินทร์ รายได้รวม 1,139 ล้านบาท อันดับที่ 4 ย่งฮวดอินเตอร์ไรซ์ จำกัด จังหวัดร้อยเอ็ด รายได้รวม 1,090 ล้านบาท อันดับที่ 5 อีสเทิร์นไรซ์มิลล์ จำกัด จังหวัดกาฬสินธุ์ รายได้รวม 1,080 ล้านบาท อันดับที่ 6 โรงสีข้าว ป.ณัฐตพล จำกัด จังหวัดขอนแก่น รายได้รวม 1,046 ล้านบาท อันดับที่ 7 โรงสีแสงทองไรซ์กรุ๊ป จำกัด จังหวัดอุดรธานี รายได้รวม 965 ล้านบาท จังหวัดที่มีโรงสีข้าวมากที่สุดในภาคอีสาน คือ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีจำนวนโรงสีข้าว 27 แห่ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว อีกทั้งยังมีที่ดินและสภาพอากาศที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกข้าว ทำให้มีการผลิตข้าวอย่างต่อเนื่องและมีปริมาณผลผลิตที่สูง ซึ่งข้าวที่ปลูกในร้อยเอ็ดมีคุณภาพที่ดีและแตกต่างจากพื้นที่อื่น โดยเฉพาะข้าวกล้อง ข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียว ที่มีความนิยมในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร้อยเอ็ดยังมีการลงทุนในโรงสีข้าวอย่างต่อเนื่อง โรงสีข้าวในจังหวัดมีการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยในกระบวนการผลิต ทำให้ข้าวที่ผลิตมีคุณภาพและมีความสามารถในการส่งออกข้าวในปริมาณมาก อีกทั้งโรงสีข้าวในพื้นที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมีการสร้างรายได้สูงจากการส่งออกข้าว อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#โรงสีข้าว #ธุรกิจ #ร้อยเอ็ด

พามาเบิ่ง โรงสีข้าวแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน

ในปี 2564 ภาคอีสานมีรายได้รวมจากโรงสีข้าว อยู่ที่ 53,782 ล้านบาท และมีจำนวนโรงสีข้าว 320 แห่ง เรียกได้ว่า “ทั้งรายได้รวมและจำนวนโรงสีเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทยเลยทีเดียว” เนื่องจาก โรงสีข้าวในภาคอีสานมีการผลิตข้าวสีที่เป็นที่นิยม ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ ข้าวสีมักถูกนำมาใช้ในอาหารและสินค้าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ขนม น้ำสี และเครื่องดื่ม ซึ่งทำให้มีการนำข้าวไปแปรรูปในโรงสีข้าวมากขึ้น อีกทั้งโรงสีข้าวในภาคอีสานมีความสามารถในการผลิตข้าวได้อย่างมีคุณภาพ เช่น การเลือกใช้ข้าวพันธุ์ดี การควบคุมกระบวนการผลิต การบรรจุภัณฑ์ และการตรวจสอบคุณภาพข้าว ซึ่งทำให้โรงสีข้าวเป็นที่นิยมในการทำธุรกิจและรับซื้อข้าว 5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้รวมของโรงสีข้าวมากที่สุด อันดับที่ 1 ร้อยเอ็ด มีรายได้รวม 7,822 ล้านบาท อันดับที่ 2 สุรินทร์ มีรายได้รวม 7,520 ล้านบาท อันดับที่ 3 ศรีสะเกษ มีรายได้รวม 6,525 ล้านบาท อันดับที่ 4 ขอนแก่น มีรายได้รวม 5,474 ล้านบาท อันดับที่ 5 อุบลราชธานี มีรายได้รวม 5,231 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า ร้อยเอ็ด มีรายได้รวมมากที่สุด เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว อีกทั้งยังมีที่ดินที่อุดมสมบูรณ์และสภาพอากาศที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกข้าว ทำให้การผลิตข้าวมีคุณภาพและปริมาณผลผลิตที่สูง โดยโรงสีข้าวในร้อยเอ็ดมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยในกระบวนการผลิตข้าว โดยมีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของข้าวที่สีให้มีคุณภาพ อีกทั้งยังมีการส่งออกข้าวที่กว้างขวางที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมีความสามารถในการทำธุรกิจส่งออกข้าวในปริมาณมาก อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#โรงสีข้าว #ธุรกิจ

“ต้นทอง” เริ่ดคักหลาย เปิดชอปขายหมู 24 ชั่วโมง ตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกกลุ่ม กวาดรายได้กว่าคืนละ 10,000 – 20,000 บาท

เรื่องราวของเขียงหมูที่หันมาเปิดชอปขายหมู แบบ 24 ชั่วโมง มีให้เห็นกันมากขึ้น ซึ่งชอปขายหมู 24 ชั่วโมง ไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้น แต่เกิดขึ้นมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งในย่านใกล้กรุงเทพฯ ในแทบปริมณฑล ได้เห็นชอปขายหมู 24 ชั่วโมงหลายแห่ง แต่ที่พามารู้จักวันนี้ เป็น “ชอปขายหมู 24 ชั่วโมง” จากจังหวัดสุรินทร์ คุณเจษฎาพรรณ ต้นทอง กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงเชือดสุกรต้นทอง จังหวัดสุรินทร์ เล่าว่า ครอบครัวทำธุระกิจเขียงหมูมาตั้งแต่สมัยรุ่นคุณพ่อ ทำมากว่า 30 ปี และได้มารับช่วงดูแลกิจการต่อ และเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมาครอบครัวทำโรงเชือดหลังบ้านมาตลอด แต่หลังจากที่มีกฎหมายออกมาให้ทุกโรงเชือดต้องปฎิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนการทำโรงเชือดสุกรจากหลังบ้านมาเป็นหน้าบ้าน และเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้โรงเชือดสุกรต้นทองต้องเข้ามาตรฐาน และได้มาตรฐาน GAP และ GMP ของกรมปศุสัตว์ โดยหลังจากได้ปรับมาเป็นโรงเชือดได้มาตรฐานหน้าบ้าน ทำให้เราได้ลูกค้าที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาติดต่อเพื่อส่งสุกรมาให้เชือด และได้ลูกค้าโมเดิร์นเทรดเพิ่มขึ้นมา ในส่วนของการส่งหมูขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสด ได้มีการขยายพื้นที่การส่งออกไปในหลายจังหวัดทางภาคอีสาน โดยมียอดการขายหมูต่อวันไม่ต่ำกว่า 10 -15 ตัน หลายคนสงสัยว่าทำอย่างไรถึงจะได้ขายในโมเดิร์นเทรด? คุณเจษฎาพรรณ ได้ปรับวิฤตให้เป็นโอกาส ในช่วงที่โควิดระบาด โรงเชือดหมูขนาดใหญ่หลายแห่งขาดแคลนแรงงาน ระบบการขนส่งมีปัญหา เพราะแรงงานติดโควิด ทำให้ต้องปิดโรงเชือดเพราะไม่มีแรงงาน ทางโมเดิร์นเทรดจึงมองหาซัพพรายเออร์คนใหม่ที่ได้รับมาตรฐานGMP ซึ่งแม้ว่าสถานการณ์โควิดกลับมาปกติ โดยโรงเชือดอื่น ๆ กลับมาให้บริการเหมือนเดิม แต่ทางโมเดิร์นเทรดก็ยังคงเลือกสั่งหมูจากโรงเชือดของเรา เพราะด้วยบริการที่สามารถส่งหมูให้เขาได้ตรงตามเวลาและมีคุณภาพ คุณเจษฎาพรรณ เล่าว่า นอกจากโรงเชือดแล้ว ได้เปิดธุรกิจเกี่ยวกับหมูครบวงจร ตั้งแต่การเปิดร้านหมูกระทะ มาจนถึงการเปิดชอปขายหมู 24 ชั่วโมง ซึ่งการเปิดชอปขายหมู 24 ชั่วโมง ช่วยให้ลูกค้าจะมาซื้อหมูเวลาไหนก็สามารถซื้อหมูได้ และยังเป็นชอปขายหมู 24 ชั่วโมงแห่งแรกของจังหวัดสุรินทร์ อย่างไรก็ดี การเปิดชอปขายหมู 24 ชั่วโมง ยังเป็นเรื่องใหม่ของคนสุรินทร์ ในตอนแรกที่เปิดยอดขายในช่วงเวลากลางคืน อยู่ที่หลักร้อยหลักพันบาทต่อวัน ในช่วง 2-3 เดือนแรก แต่พอผ่านมาสักระยะมีคนรู้จักและบอกต่อ ทุกวันนี้ กลายเป็นว่ายอดขายกลางคืนเพิ่มเป็น 10,000 – 20,000 บาท และสาเหตุที่ยอดขายเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจากพ่อค้า แม่ค้า ขายอาหาร หรือแม้แต่เขียงหมูก็จะมาซื้อกันตอนกลางคืน พอจ่ายตลาดซื้อของในตลาดสดเสร็จก็แวะมาซื้อหมู ทำให้ยอดขายในตอนกลางคืนเพิ่มขึ้น สำหรับภายในชอป 24 ชั่วโมง ไม่ได้มีแค่หมู แต่ทางเจ้าของยังได้มีไก่สดขายด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า และทางร้านยังได้จัดเมนูหมูหมัก หมูกระทะมาขายในชอปด้วย เพราะหลายคนชื่นชอบเมนูหมูกระทะ และต้องการซื้อไปปิ้งกินเองที่บ้าน ก็สามารถมาซื้อที่ชอปของทางร้านได้ สำหรับชอปขายหมู 24 ชั่วโมงเป็นรูปแบบใหม่ของการยกระดับเขียงหมูหน้าโรงเชือด ออกมาในรูปแบบของชอป เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจเรื่องของความสดและสะอาด การเปิด 24 ชั่วโมง ทำให้สามารถรองรับลูกค้าได้ทุกกลุ่มคนทั่วไปที่ไม่ใช่พ่อค้า แม่ค้า ก็สามารถแวะมาซื้อได้ ในราคาที่ถูกกว่าทำให้ชอปขายหมู 24 …

“ต้นทอง” เริ่ดคักหลาย เปิดชอปขายหมู 24 ชั่วโมง ตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกกลุ่ม กวาดรายได้กว่าคืนละ 10,000 – 20,000 บาท อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs เป็นจั่งใด๋แหน่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 53.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 0.8 แนวโน้มธุรกิจ SME ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือกลุ่มไหน? กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารทั้งผลิตอาหาร และร้านอาหารมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากคำสั่งซื้อในรูปแบบขายส่งของอาหารอีสานที่สามารถเก็บได้หลายวัน เช่น กุนเชียง แหนม และปลาร้า รวมถึงผลดีจากต้นทุนวัตถุดิบที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 53.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1.5 แนวโน้มธุรกิจ SME ภาคตะวันออก เป็นอย่างไร? ภาคธุรกิจยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว รวมถึงผู้ประกอบการเริ่มมีการสต็อกสินค้าคงคลังเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับ การท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์ ซึ่งเป็นผลดีกับกลุ่มค้าส่งรวมถึงภาคการผลิตที่ส่งสินค้าขายให้กับผู้ค้ารายอื่น เช่น การผลิตไม้และเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากโลหะ ภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 59.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1.4 แนวโน้มธุรกิจ SME ภาคใต้ เป็นอย่างไร? จํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากรัสเซีย สิงคโปร์ และจีน อีกทั้งนักท่องเที่ยวไทยที่ได้อานิสงส์จากโครงการเราเกี่ยวด้วยกับเฟส 5 มากระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างมาก ส่งผลดีกับธุรกิจภาคการผลิตทั้งกลุ่มอาหารและเสื้อผ้า รวมถึงกลุ่มบริการนวดและสปา กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 54.2 แนวโน้มธุรกิจ SME กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นอย่างไร? ภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวต่อเนื่องและมีการจองล่วงหน้าในช่วงเทศกาลในช่วงสงกรานต์รวมถึงธุรกิจก่อสร้างและร้านค้าวัสดุก่อสร้างขยายตัวจากความต้องการปรับปรุงและขยายสถานที่เพื่อรับรองการขยายตัวของการท่องเที่ยว ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 56.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า -1.5 แนวโน้มธุรกิจ SME ภาคเหนือ เป็นอย่างไร? จากปัจจัยฤดูกาลร้อนจัด รวมถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ส่งผลลบต่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวคนไทย และเศรษฐกิจในพื้นที่ อย่างไรก็ตามพื้นที่ยังมีกำลังซื้อเสริมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวคนจีน ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 52.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า -1.9 แนวโน้มธุรกิจ SME ภาคกลาง เป็นอย่างไร? แม้ความเชื่อมั่นฯ จะปรับตัวลดลง เป็นผลมาจากภาคการผลิต โดยเฉพาะกลุ่มผลิตอาหารรวมถึงผลิตภัณฑ์จากโลหะและยาง ที่ชะลอตัวลงหลังจากที่ปรับตัวพุ่งสูงอย่างมากในเดือนก่อนหน้า แต่สถานการณ์ด้านต้นทุนในพื้นที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แม้จะยังอยู่ในระดับสูงก็ตาม อ้างอิงจาก: – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #SMEs #ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการSMEs #ธุรกิจ #ดัชนีความเชื่อมั่น

Scroll to Top