Nanthawan Laithong

จับตาเบิ่ง นโยบายดันไทยเป็น Medical Hub หนุนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ “ธุรกิจ wellness” เติบโตสูง

ข้อมูลสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี 2564 มีผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปี ประมาณ 13 ล้านคน หรือราว 20% ของประชากรทั้งประเทศ และมีการประเมินว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ปี 2575 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุดคือมีคนอายุเกิน 60 ปี สูงถึง 28% ทำให้กระแสการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ Wellness Tourism กลายเป็นธุรกิจมาแรง ขณะที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งเป้ารายได้รวมการท่องเที่ยวปี 2566 ไว้ 2.38 ล้านล้านบาท โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 30 ล้านคน สร้างรายได้ 1.5 ล้านล้านบาท และนักท่องเที่ยวชาวไทย 135 ล้านคน/ครั้ง สร้างรายได้ 880,000 ล้านบาท ทำให้ธุรกิจ Wellness คึกคักมากยิ่งขึ้น ธุรกิจ Wellness จึงเป็นอีกหนึ่ง Mega Trend ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ยิ่งขณะนี้กระแสการรักสุขภาพ เทรนด์การดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันและรักษามาแรง ทำให้อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมดังกล่าวก้าวกระโดด วันที่ 5 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับภาคีเอกชน และ 10 เครือข่ายมหาวิทยาลัย ได้แก่ – มหาวิทยาลัยขอนแก่น – มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี – มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – มหาวิทยาลัยบูรพา – มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง – มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา – มหาวิทยาลัยพายัพ – มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี การส่งเสริมการลงทุนในเขตนวัตกรรมและพื้นที่ของ กฟผ. เพื่อพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ทั้งนี้ กฟผ. จะจัดทำแผนแม่บทบูรณาการเชื่อมโยงร่วมกับกฎบัตรไทยและเครือข่ายมหาวิทยาลัยในแต่ละภาคของประเทศ เพื่อกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ประจำภาค สำหรับพัฒนาชุมชนในแต่ละจังหวัด โดยมีเขื่อนของ กฟผ. เป็นศูนย์กลางดำเนินงานและเชื่อมโยงสู่ชุมชนซึ่งจะนำร่องในพื้นที่เป้าหมาย 9 แห่งทั่วประเทศ ดังนี้ – ภาคเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ และเขื่อนภูมิพล จ.ตาก – ภาคใต้ 2 แห่ง ได้แก่ โรงไฟฟ้ากระบี่ จ.กระบี่ และเขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 แห่ง …

จับตาเบิ่ง นโยบายดันไทยเป็น Medical Hub หนุนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ “ธุรกิจ wellness” เติบโตสูง อ่านเพิ่มเติม »

ชวนเบิ่ง 2 บริษัทผลิตไฟฟ้าในภาคอีสาน

ความเป็นมาของ “บริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด” เป็นอย่างไร? โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น เป็นบริษัทในเครือกลุ่มบริษัทเคเอสแอล (KSL Group) 2546 สร้างบริษัท โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น จำกัด ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าและผลิตไอน้ำโดยใช้กากอ้อยเป็นเชื้อเพลิงหลัก 2550 สร้างโรงงานแห่งใหม่ตั้งอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ตามแนวคิด Bio-Refinery Complex ซึ่งเป็นการจัดระบบการสร้างและการจัดการโรงงานน้ำตาลและผลิตภัณท์ต่อเนื่อง คือ โรงงานเอทานอล, โรงงานไฟฟ้า, และโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ ไว้ในที่เดียวกัน 2554 บริษัทได้ลงทุนเพิ่ม 1 โครงการ คือ โครงการสร้างโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าที่จังหวัดเลย 2555 บริษัทได้ลงทุนโครงการขยายกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า และปรับปรุงโรงงานน้ำตาลเพื่อเพิ่มความสามารถในการหีบอ้อย ที่จังหวัดขอนแก่น ในขณะที่ ความเป็นมาของ “บริษัท ผลิตไฟฟ้าครบุรี จำกัด” เป็นอย่างไร? บริษัท ผลิตไฟฟ้าครบุรี จำกัด เป็นเครือในกลุ่มบริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตน้ำตาลทรายที่มีประสบการณ์มากกว่า 45 ปี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2508 โดยคุณถวิล ถวิลเติมทรัพย์ จัดตั้งบริษัท อุตสาหกรรมหนองใหญ่ จำกัด ปี 2539 บริษัทได้ย้ายฐานการผลิตไปอยู่ที่ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด และหลังจากนั้นได้ก่อตั้ง บริษัท ผลิตไฟฟ้าครบุรี จำกัด ปี 2558 บริษัท ผลิตไฟฟ้าครบุรี จำกัด เริ่มขายไฟให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตามสัญญา ชนิด Firm 22 เมกะวัตต์ ปี 2561 บริษัทได้เปิดโครงการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้า ที่อำเภอสีคิ้ว มูลค่าโครงการประมาณ 4,000 ล้านบาท ปี 2563 โรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลครบุรี จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อย่อที่ใช้ใน การซื้อขายหน่วยลงทุน คือ “KBSPIF” เพื่อเสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลทั่วไป อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ผลิตไฟฟ้าครบุรี #ธุรกิจ #โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น #โรงไฟฟ้า #Business

พามาฮู้จัก “นาราไอซ์” อาณาจักรโรงน้ำแข็งภาคอีสาน เงินทุน 150 ล้าน ชูจุดขายน้ำแข็งทรงสี่เหลี่ยม

อากาศร้อนแบบนี้ ISAN Insight & Outlook พามาทำความฮู้จักกับเจ้าของโรงน้ำแข็งเย็นๆ เพื่อดับร้อนกันกับ “นาราไอซ์” อาณาจักรโรงน้ำแข็งจากภาคอีสาน นำเสนอรูปแบบน้ำแข็งทรงสี่เหลี่ยมฉีกรูปแบบน้ำแข็งหลอด ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน และหน้าตาโรงน้ำแข็งที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งที่ลบภาพโรงน้ำแข็งที่หลายคนเคยเห็นกันด้วยเงินลงทุน 150 ล้านบาท ของคุณพัชราภรณ์ อ่อนวิมล วัยเพียง 20 ปี (ช่วงเริ่มทำโรงน้ำแข็ง) คุณพัชราภรณ์ อ่อนวิมลเป็นทายาทเจ้าของโรงน้ำแข็งชื่อดังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเธอมีโรงน้ำแข็งภายใต้แบรนด์นาราไอซ์ ถึง 3 แห่ง มีรถส่งนำแข็งมากกว่า 80 คัน และส่งน้ำแข็ง 485 ตันต่อวัน เส้นทางความเป็นมาของ “นาราไอซ์” เป็นอย่างไร? คุณพัชราภรณ์ ได้มารับช่วงต่อการดูแลกิจการโรงน้ำแข็งร่วมกับครอบครัวตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเพียง 20 ปี ก่อนที่จะแยกตัวเองออกมาสร้างอาณาจักรเป็นเจ้าของโรงน้ำแข็งภายใต้แบรนด์ของตัวเอง ในวัย 24 ปี ปัจจุบันได้มีการขยายสาขาโรงน้ำแข็งนาราไอซ์ ให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสาน 3 แห่ง ได้แก่ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี ฯลฯ ย้อนกลับไปในช่วงที่พ่อแม่ของคุณพัชราภรณ์ ผู้บุกเบิกสร้างโรงน้ำแข็งในขณะนั้น ไม่มีแม้แต่ชื่อ แต่ชาวบ้านก็จะเรียกกันว่า “โรงน้ำแข็งกุดชุม” จ.ยโสธร บ้านเกิดของคุณพัชราภรณ์ ซึ่งในสมัยพ่อกับแม่ทำโรงน้ำแข็งยังเป็นกิจการเล็กส่งขายในพื้นที่ใกล้เคียง และกิจการเริ่มขยายใหญ่ขึ้นหลังจากที่พี่สาวกับพี่เขยได้เข้ามาพัฒนากิจการโรงน้ำแข็งต่อ มีการสร้างโรงน้ำแข็ง อีกหลายแห่งในพื้นที่ภาคอีสาน โดย คุณพัชราภรณ์ เริ่มเข้ามาทำโรงน้ำแข็ง จากการช่วยเหลือจากพี่สาวก่อน ตอนนั้นอยู่ในวัย 20 ปี ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง ก่อนจะเปิดโรงน้ำแข็งนาราไอซ์ของตัวเอง คุณพัชราภรณ์ไม่ได้ชอบการทำธุรกิจโรงน้ำแข็งเลย แต่การจะลงทุนทำอะไร ถ้าหากไปเริ่มต้นทำธุรกิจประเภทอื่นใหม่ก็เหมือนนับหนึ่งกันไหม ซึ่งไม่เหมาะกับการลงทุนในยุคนี้ เพราะมีการแข่งขันและความเสี่ยงสูง อีกทั้ง โรงน้ำแข็งมีการแข่งขันสูง แต่คุณพัชราภรณ์มีประสบการณ์ เคยทำมันมาก่อนสามารถจะต่อยอดได้ โดยรู้ปัญหา รู้ว่าจะต้องแก้อย่างไร เพราะในวงการโรงน้ำแข็ง ถ้าในพื้นที่เดียวกันก็จะรู้จักกัน และรู้มารยาท ถ้ามาที่หลังจะต้องทำอย่างไร “ตัวเองโชคดีที่มีพี่เขยและพี่สาวที่ทำมาก่อน พอเราแยกมาทำ แบ่งพื้นที่ดูแลไม่ได้ทับเส้นทางกัน ซึ่งการส่งน้ำแข็ง เริ่มจากต้องเข้าไปพูดคุยกับเจ้าของร้านที่เราจะเอาน้ำแข็งไปส่ง และหลังจากนั้นก็นำถังน้ำแข็งที่เป็นแบรนด์ของเราไปวาง เขาจะไม่เอาน้ำแข็งของตัวเองไปใส่ถังของคนอื่น ร้านไหนขายน้ำแข็งที่สะอาดลูกค้าก็จะซื้อร้านนั่น ซึ่งความสะอาดดูจากความใสของก้อนน้ำแข็ง เรามั่นใจว่าน้ำแข็งของเราใสกว่าน้ำแข็งรายอื่น ๆ อย่างแน่นอน เพราะผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน น้ำที่นำมาใช้ทำน้ำแข็งผ่านเครื่องกรองที่มีประสิทธิภาพและน้ำต้องอยู่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด” คุณพัชราภรณ์ กล่าว นอกจากนี้ นาราไอซ์ยังเป็นน้ำแข็งหลอดรายเดียวในจังหวัดอุบลราชธานี ที่ทำน้ำแข็งออกมาในรูปก้อนทรงสี่เหลี่ยมและการที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมทำให้น้ำแข็งมีมุมช่วยให้น้ำแข็งดูก้อนใหญ่ และละลายช้าลงกว่าน้ำแข็งหลอดทรงกลม ลูกค้าให้การตอบรับกับน้ำแข็งทรงสี่เหลี่ยมเป็นอย่างดี และการผลิตน้ำแข็งของเราจะทำแบบวันต่อวัน เพราะน้ำแข็งที่ผลิตไว้ค้างคืนจะเกิดปัญหาน้ำแข็งเกาะกันเป็นก้อนใหญ่ เวลานำไปตักขายก็จะลำบาก ลูกค้าซื้อไปเค้าก็กินลำบากเช่นกัน อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า – MGR Online #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #นาราไอซ์ #โรงน้ำแข็ง #ธุรกิจอีสาน #ธุรกิจ #Business

พามาเบิ่ง 7 อาณาจักรการขายส่งผลิตภัณฑ์นม รายใหญ่แห่งภาคอีสาน

เนื่องจากวันที่ 1 มิถุนายน เป็นวันดื่มนมโลก (World Milk Day) มื้อนี้ ISAN Insight & Outlook สิพามาเบิ่งอาณาจักรการขายส่งผลิตภัณฑ์นมในภาคอีสาน ว่ามีบริษัทใด๋ อยู่จังหวัดใด๋ และผลประกอบการเป็นจั่งใด๋แหน่ อันดับที่ 1 บริษัท พญาเย็น แดรี่ จำกัด จังหวัดนครราชสีมา รายได้รวม 590 ล้านบาท กำไรรวม -1.1 ล้านบาท อันดับที่ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนวัฒน์วอลล์ จังหวัดร้อยเอ็ด รายได้รวม 120 ล้านบาท กำไรรวม 1.5 ล้านบาท อันดับที่ 3 บริษัท คิดบวก ดิสทริบิวเตอร์ จำกัด จังหวัดบุรีรัมย์ รายได้รวม 114 ล้านบาท กำไรรวม 1.2 ล้านบาท อันดับที่ 4 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจนวิกัย จังหวัดร้อยเอ็ด รายได้รวม 79 ล้านบาท กำไรรวม 4.6 ล้านบาท อันดับที่ 5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เคซี ไชยบุญเรือง จังหวัดมหาสารคาม รายได้รวม 67 ล้านบาท กำไรรวม 355,505 บาท อันดับที่ 6 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีรัมย์ดัชมิลล์ จังหวัดบุรีรัมย์ รายได้รวม 63 ล้านบาท กำไรรวม 207,516 บาท อันดับที่ 7 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดัชมิลล์ มหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม รายได้รวม 59 ล้านบาท กำไรรวม 453,522 บาท ในการทำธุรกิจการขายส่งผลิตภัณฑ์นม ต้องมีการวางแผนธุรกิจ เพื่อกำหนดเป้าหมายธุรกิจ รวมถึงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาด เพื่อให้เข้าใจลักษณะและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้ง ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตนมและกระบวนการต่าง ๆ ทางธุรกิจ และยังควรศึกษาเรื่องการจัดหาวัตถุดิบที่เหมาะสมและราคาที่เหมาะสม รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับการบรรจุภัณฑ์และการจัดส่งสินค้าให้มีความเหมาะสม หมายเหตุ: เป็นมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจการขายส่งผลิตภัณฑ์นม (รหัสประเภทธุรกิจ 46314) อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th …

พามาเบิ่ง 7 อาณาจักรการขายส่งผลิตภัณฑ์นม รายใหญ่แห่งภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชัยภูมิ เริ่ดคักหลาย ขึ้นทะเบียนสินค้า GI “กล้วยหอมทองหนองบัวแดง”

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผย ว่า กรมฯ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “กล้วยหอมทองหนองบัวแดง” ซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากของจังหวัดชัยภูมิ โดยกล้วยหอมทองหนองบัวแดง เป็นการนำกล้วยหอมทองพันธุ์กาบดำจากจังหวัดลพบุรี มาปลูกในพื้นที่อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ และด้วยภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ราบสลับกับเนินเขาเตี้ย ภูเขาสูงสลับซับซ้อน ลักษณะดินร่วนปนทรายทำให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะแร่ธาตุโปแตสเซียมที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของต้นกล้วย ส่งผลให้กล้วยหอมทองหนองบัวแดงมีผลยาวใหญ่ สีเหลืองนวล เนื้อแน่น เหนียวนุ่ม และมีเนื้อละเอียดกว่ากล้วยชนิดอื่น เปลือกมีความหนาและไม่มีจุดดำ เนื้อกล้วยจึงไม่ช้ำ ทำให้สะดวกและเอื้อต่อการขนส่ง ปัจจุบันมีการส่งออกกล้วยหอมทองหนองบัวแดงไปยังตลาดต่างประเทศที่สำคัญ คือ ประเทศญี่ปุ่น สามารถสร้างรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท โดยภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแนวทางที่จะส่งเสริมการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพสินค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและขยายช่องทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการจำหน่ายกล้วยหอมทองสดแบบบรรจุกล่องๆ ละ 12.5 กิโลกรัม มีตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยตลาดในประเทศจำหน่ายประมาณ 1,000-2,000 กิโลกรัม/สัปดาห์ เช่น บริษัทคิงฟรุ้ต ที่ทำกล้วยส่งเซเว่นอิเลฟเว่นทั่วประเทศ และบริษัท บานาน่า เจ จังหวัดนครราชสีมา ส่วนตลาดต่างประเทศ คือ บริษัท พีพีเอฟซี เพื่อส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 3,000-5,000 กิโลกรัม/สัปดาห์ ผ่านทางเรือขนส่งสินค้า นอกจากนี้ ยังมีการแปรรูปผลผลิต อาทิ กล้วยตาก ภายใต้แบรนด์ ไทยดง (Thaidong) อีกด้วย อ้างอิงจาก: https://www.koratdaily.com/blog.php?id=15734 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ชัยภูมิ #สินค้าGI #กล้วยหอมทองหนองบัวแดง #กล้วยหอม

ชวนเบิ่ง โรงน้ำแข็งแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน

ในปี 2564 ภาคอีสานมีรายได้รวมจากโรงน้ำแข็ง อยู่ที่ 4,575 ล้านบาท คิดเป็น 47.7% ของรายได้รวมจากโรงน้ำแข็งทั้งหมดในประเทศ และมีจำนวนโรงน้ำแข็ง 427 แห่ง คิดเป็น 32.4% 5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้รวมของโรงน้ำแข็งมากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา มีรายได้รวม 663 ล้านบาท อันดับที่ 2 สุรินทร์ มีรายได้รวม 451 ล้านบาท อันดับที่ 3 ร้อยเอ็ด มีรายได้รวม 421 ล้านบาท อันดับที่ 4 ขอนแก่น มีรายได้รวม 401 ล้านบาท อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ มีรายได้รวม 383 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า นครราชสีมา มีรายได้รวมมากที่สุด เนื่องจากนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในภาคอีสาน ซึ่งโรงน้ำแข็งเป็นส่วนสำคัญของการผลิตและจัดเก็บสินค้าให้สดชื่น สถานที่ตั้งที่เหมาะสมและความต้องการในการใช้น้ำแข็งในอุตสาหกรรมนี้ส่งผลให้มีโรงน้ำแข็งมากในพื้นที่นี้ อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปีงบการเงิน 2564 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #โรงน้ำแข็ง #ธุรกิจ #น้ำแข็ง #ธุรกิจอีสาน #Business

พามาเบิ่ง 6 โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังที่มีกำไรมากที่สุดในภาคอีสาน

อันดับที่ 1 บริษัท โชคยืนยงอุตสาหกรรม จำกัด รายได้รวม 3,287 ล้านบาท กำไรรวม 319 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 2 บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด รายได้รวม 7,102 ล้านบาท กำไรรวม 194 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 3 บริษัท พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช(2012) จำกัด รายได้รวม 1,020 ล้านบาท กำไรรวม 144 ล้านบาท จังหวัด สกลนคร อันดับที่ 4 บริษัท สงวนวงษ์สตาร์ช จำกัด รายได้รวม 4,286 ล้านบาท กำไรรวม 135 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 5 บริษัท แป้งมันร้อยเอ็ด จำกัด รายได้รวม 1,765 ล้านบาท กำไรรวม 95 ล้านบาท จังหวัด ร้อยเอ็ด อันดับที่ 6 บริษัท วีพี สตาร์ซ (2000) จำกัด รายได้รวม 2,006 ล้านบาท กำไรรวม 84 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา จากอันดับข้างต้น จะเห็นได้ว่าบริษัทที่มีกำไรมากที่สุดจะอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมามากที่สุด เนื่องจากนครราชสีมาถือเป็นจังหวัดใหญ่ในภาคอีสาน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของการค้าและการส่งออกสินค้า บริษัทส่วนใหญ่จึงทำธุรกิจในจังหวัดนี้ อีกทั้งยังมีสถานีรถไฟและทางด่วนที่สำคัญเชื่อมต่อกับจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน สถานีรถไฟนครราชสีมาเป็นสถานีกลางที่สำคัญในการขนส่งสินค้าและบุคคล โดยการขนส่งที่สะดวกสบายจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าของบริษัท อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทในภาคอีสาน #บริษัทมีกำไรมากที่สุด #ธุรกิจ #Business#ธุรกิจอีสาน

พาส่องเบิ่ง “ACG” โกยรายได้ไตรมาสแรก 486 ล้านบาท ลุยเปิดฟาสต์ฟิต AUTOCLIK 30 สาขา

จากดีลเลอร์รายใหญ่ของฮอนด้า ออโตโมบิล ประเทศไทยในเขตภาคอีสาน ขยับไปเป็นเสือข้ามห้วยปักธงที่จังหวัดภูเก็ต “ฮอนด้า มะลิวัลย์” ในเครือ บริษัท ออโตคอร์ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เดินหน้าลงทุนขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมุ่งสรรพกำลังไปที่ศูนย์ดูแลรักษาสำหรับรถที่หมดระยะประกัน ฟาสต์ฟิต ที่มีมูลค่าตลาดกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจยานยนต์มากว่า 30 ปี คุณภานุมาศ รังคกูลนุวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออโตคอร์ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ ACG ยังมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ จึงเป็นจุดกำเนิดของ ออโตคลิกบายเอซีจี “เราทำศูนย์บริการรถยนต์แบบเร่งด่วน หรือ ฟาสต์ฟิตมากว่า 2 ปี ภายใต้แบรนด์ ออโตคลิก (AUTOCLIK) ปัจจุบันมี 12 สาขาทั่วประเทศ ส่วนปีนี้เตรียมเปิดเพิ่มอีก 8 สาขา และตั้งเป้าในปี 2567 จะขยายครบ 30 แห่ง” คุณภานุมาศ กล่าวและว่า การขยายสาขาของ AUTOCLIK บริษัทจะดำเนินการลงทุนเองทั้งหมด และไม่เปิดรับแฟรนไชส์ เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการควบคุมคุณภาพงานบริการ รวมถึงบุคลากร ซึ่งการเปิดเพิ่มแต่ละสาขาอยู่บนพื้นฐานการลงทุนที่สมเหตุสมผล บนทำเลที่มีศักยภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเช่าที่ดิน AUTOCLIK เป็นศูนย์บริการรถยนต์ทุกยี่ห้อประเภทเร่งด่วน ให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ยางรถยนต์ แบตเตอรี่ ระบบเบรก โช้คอัพ ช่วงล่าง และระบบแอร์รถยนต์ ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทุกสาขา ซึ่งการที่บริษัทมีแผนขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ยังช่วยเพิ่มอำนาจการต่อรองกับซัพพลายเออร์ (คู่ค้าที่จัดส่งอะไหล่ให้) ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี “ACG มีบริษัทย่อยที่มีประสบการณ์ยาวนานจากการเป็นผู้จัดจำหน่ายและศูนย์บริการรถยนต์ ทำให้เราสามารถใช้ประสบการณ์มาต่อยอดธุรกิจประเภท ฟาสต์ฟิตได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องการควบคุมต้นทุน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างผลกำไรในระยะยาว” สำหรับจุดเด่นของ AUTOCLIK คือ การให้บริการในรูปแบบดิจิทัล ตั้งแต่การเปิดใบสั่งซ่อมจนถึงส่งมอบรถ โดยไม่ใช้กระดาษ (Paperless) และเป็นเจ้าแรกของประเทศไทยที่มีการจัดทำ e-Tax invoice และ e-Receipt (ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์) เพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้า AUTOCLIK เปิดดำเนินการสาขาแรกในเดือนมีนาคม 2564 ปัจจุบันมี 12 สาขา กรุงเทพฯ 4 แห่ง ภูเก็ต 2 แห่ง เชียงใหม่ 2 แห่ง นนทบุรี 2 แห่ง สมุทรสาคร 1 แห่ง ปทุมธานี 1 แห่ง ล่าสุด ACG โชว์งบไตรมาส 1/2566 มีกำไร …

พาส่องเบิ่ง “ACG” โกยรายได้ไตรมาสแรก 486 ล้านบาท ลุยเปิดฟาสต์ฟิต AUTOCLIK 30 สาขา อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก “PQS” หุ้นน้องใหม่ โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง แห่งภาคอีสาน

บริษัท พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช จำกัด (มหาชน) PQS ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2548 นำโดยคุณสมยศ ชาญจึงถาวร และทีมงานที่มีประสบการณ์ ในด้านการผลิตแป้งมันสำปะหลังมายาวนานกว่า 18 ปี ซึ่งบริษัทมีโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ตั้งอยู่เลขที่ 185 หมู่ 14 ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร บนทำเลที่ตั้งที่อุดมไปด้วยวัตถุดิบมันสำปะหลังคุณภาพจากเกษตรกรในพื้นที่ ส่งผลให้วัตถุดิบมีความสดใหม่อยู่เสมอและทำให้คุณสมบัติแป้งมันสำปะหลังของบริษัทถูกจัดว่าเป็นคุณภาพพิเศษ นอกจากนี้บริษัทยังสามารถผลิตตามคุณภาพเฉพาะที่ลูกค้าต้องการ (Made to order) โดยกระบวนการผลิตที่ทันสมัยได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และตอบสนองต่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีบริษัท พรีเมียร์ไบโอเอนเนอร์จี จำกัด (PBE) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2551 เป็นบริษัทในเครือ โดยมีผลิตภัณฑ์คือแป้งมันสำปะหลัง และกระแสไฟฟ้าจากการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิง (ก๊าซมีเทน) ซึ่งเกิดจากการหมักของน้ำ ที่ผ่านกระบวนการผลิตแป้ง และการหมักกากมันสำปะหลังแบบไร้อากาศ โดยสอดคล้องกับแนวทางการกำจัดของเสีย (Zero waste) และนำผลพลอยได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ทั้งยังเป็นการส่งผลดีในการลดมลภาวะที่อาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบอย่างยั่งยืน อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #PQS #โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง #ธุรกิจอีสาน #ธุรกิจ #Business #พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช #IPO #หุ้นน้องใหม่ #หุ้นใหม่

ชวนเบิ่ง โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน

ในปี 2564 ภาคอีสานมีรายได้รวมจากโรงมันสำปะหลัง อยู่ที่ 52,165 ล้านบาท และมีจำนวนโรงมันสำปะหลัง 59 แห่ง เรียกได้ว่า “ทั้งรายได้รวมและจำนวนโรงมันสำปะหลังเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทยเลยทีเดียว” เนื่องจากภาคอีสานมีพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ทำให้โรงมันสำปะหลังเป็นที่นิยมในการทำธุรกิจในภาคอีสาน นอกจากนี้ภาคอีสานยังมีผลผลิตจากมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่ 19,863,491 ตัน 5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้รวมของโรงมันสำปะหลังมากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา มีรายได้รวม 32,814 ล้านบาท อันดับที่ 2 อุบลราชธานี มีรายได้รวม 3,595 ล้านบาท อันดับที่ 3 ชัยภูมิ มีรายได้รวม 3,349 ล้านบาท อันดับที่ 4 กาฬสินธุ์ มีรายได้รวม 2,529 ล้านบาท อันดับที่ 5 ศรีสะเกษ มีรายได้รวม 2,038 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า นครราชสีมา มีรายได้รวมมากที่สุด เนื่องจากนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศ อยู่ที่ 5,507,286 ตัน ทำให้หลายบริษัทเลือกตั้งโรงงานที่จังหวัดนี้ เนื่องจากการตั้งโรงมันสำปะหลังอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกจะทำให้ประหยัดต้นทุนและมีความสะดวกในการขนส่ง อีกทั้ง นครราชสีมายังเป็นศูนย์กลางของการค้าและการส่งออกสำปะหลังในภาคอีสาน มีสถานีรถไฟสำหรับการขนส่งสินค้าและเชื่อมต่อทางถนนสำคัญที่เชื่อมต่อจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน ทำให้สินค้าจากมันสำปะหลังสามารถส่งออกไปยังตลาดภายในประเทศและต่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปีงบการเงิน 2564 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#โรงมันสำปะหลัง #ธุรกิจ #มันสำปะหลัง #ธุรกิจอีสาน#Business

Scroll to Top