Nanthawan Laithong

พามาเบิ่ง 7 อาณาจักรการขายส่งผลิตภัณฑ์นม รายใหญ่แห่งภาคอีสาน

เนื่องจากวันที่ 1 มิถุนายน เป็นวันดื่มนมโลก (World Milk Day) มื้อนี้ ISAN Insight & Outlook สิพามาเบิ่งอาณาจักรการขายส่งผลิตภัณฑ์นมในภาคอีสาน ว่ามีบริษัทใด๋ อยู่จังหวัดใด๋ และผลประกอบการเป็นจั่งใด๋แหน่ อันดับที่ 1 บริษัท พญาเย็น แดรี่ จำกัด จังหวัดนครราชสีมา รายได้รวม 590 ล้านบาท กำไรรวม -1.1 ล้านบาท อันดับที่ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนวัฒน์วอลล์ จังหวัดร้อยเอ็ด รายได้รวม 120 ล้านบาท กำไรรวม 1.5 ล้านบาท อันดับที่ 3 บริษัท คิดบวก ดิสทริบิวเตอร์ จำกัด จังหวัดบุรีรัมย์ รายได้รวม 114 ล้านบาท กำไรรวม 1.2 ล้านบาท อันดับที่ 4 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจนวิกัย จังหวัดร้อยเอ็ด รายได้รวม 79 ล้านบาท กำไรรวม 4.6 ล้านบาท อันดับที่ 5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เคซี ไชยบุญเรือง จังหวัดมหาสารคาม รายได้รวม 67 ล้านบาท กำไรรวม 355,505 บาท อันดับที่ 6 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีรัมย์ดัชมิลล์ จังหวัดบุรีรัมย์ รายได้รวม 63 ล้านบาท กำไรรวม 207,516 บาท อันดับที่ 7 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดัชมิลล์ มหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม รายได้รวม 59 ล้านบาท กำไรรวม 453,522 บาท ในการทำธุรกิจการขายส่งผลิตภัณฑ์นม ต้องมีการวางแผนธุรกิจ เพื่อกำหนดเป้าหมายธุรกิจ รวมถึงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาด เพื่อให้เข้าใจลักษณะและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้ง ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตนมและกระบวนการต่าง ๆ ทางธุรกิจ และยังควรศึกษาเรื่องการจัดหาวัตถุดิบที่เหมาะสมและราคาที่เหมาะสม รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับการบรรจุภัณฑ์และการจัดส่งสินค้าให้มีความเหมาะสม หมายเหตุ: เป็นมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจการขายส่งผลิตภัณฑ์นม (รหัสประเภทธุรกิจ 46314) อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th …

พามาเบิ่ง 7 อาณาจักรการขายส่งผลิตภัณฑ์นม รายใหญ่แห่งภาคอีสาน อ่านเพิ่มเติม »

ชัยภูมิ เริ่ดคักหลาย ขึ้นทะเบียนสินค้า GI “กล้วยหอมทองหนองบัวแดง”

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผย ว่า กรมฯ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “กล้วยหอมทองหนองบัวแดง” ซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากของจังหวัดชัยภูมิ โดยกล้วยหอมทองหนองบัวแดง เป็นการนำกล้วยหอมทองพันธุ์กาบดำจากจังหวัดลพบุรี มาปลูกในพื้นที่อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ และด้วยภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ราบสลับกับเนินเขาเตี้ย ภูเขาสูงสลับซับซ้อน ลักษณะดินร่วนปนทรายทำให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะแร่ธาตุโปแตสเซียมที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของต้นกล้วย ส่งผลให้กล้วยหอมทองหนองบัวแดงมีผลยาวใหญ่ สีเหลืองนวล เนื้อแน่น เหนียวนุ่ม และมีเนื้อละเอียดกว่ากล้วยชนิดอื่น เปลือกมีความหนาและไม่มีจุดดำ เนื้อกล้วยจึงไม่ช้ำ ทำให้สะดวกและเอื้อต่อการขนส่ง ปัจจุบันมีการส่งออกกล้วยหอมทองหนองบัวแดงไปยังตลาดต่างประเทศที่สำคัญ คือ ประเทศญี่ปุ่น สามารถสร้างรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท โดยภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแนวทางที่จะส่งเสริมการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพสินค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและขยายช่องทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการจำหน่ายกล้วยหอมทองสดแบบบรรจุกล่องๆ ละ 12.5 กิโลกรัม มีตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยตลาดในประเทศจำหน่ายประมาณ 1,000-2,000 กิโลกรัม/สัปดาห์ เช่น บริษัทคิงฟรุ้ต ที่ทำกล้วยส่งเซเว่นอิเลฟเว่นทั่วประเทศ และบริษัท บานาน่า เจ จังหวัดนครราชสีมา ส่วนตลาดต่างประเทศ คือ บริษัท พีพีเอฟซี เพื่อส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 3,000-5,000 กิโลกรัม/สัปดาห์ ผ่านทางเรือขนส่งสินค้า นอกจากนี้ ยังมีการแปรรูปผลผลิต อาทิ กล้วยตาก ภายใต้แบรนด์ ไทยดง (Thaidong) อีกด้วย อ้างอิงจาก: https://www.koratdaily.com/blog.php?id=15734 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ชัยภูมิ #สินค้าGI #กล้วยหอมทองหนองบัวแดง #กล้วยหอม

ชวนเบิ่ง โรงน้ำแข็งแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน

ในปี 2564 ภาคอีสานมีรายได้รวมจากโรงน้ำแข็ง อยู่ที่ 4,575 ล้านบาท คิดเป็น 47.7% ของรายได้รวมจากโรงน้ำแข็งทั้งหมดในประเทศ และมีจำนวนโรงน้ำแข็ง 427 แห่ง คิดเป็น 32.4% 5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้รวมของโรงน้ำแข็งมากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา มีรายได้รวม 663 ล้านบาท อันดับที่ 2 สุรินทร์ มีรายได้รวม 451 ล้านบาท อันดับที่ 3 ร้อยเอ็ด มีรายได้รวม 421 ล้านบาท อันดับที่ 4 ขอนแก่น มีรายได้รวม 401 ล้านบาท อันดับที่ 5 บุรีรัมย์ มีรายได้รวม 383 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า นครราชสีมา มีรายได้รวมมากที่สุด เนื่องจากนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในภาคอีสาน ซึ่งโรงน้ำแข็งเป็นส่วนสำคัญของการผลิตและจัดเก็บสินค้าให้สดชื่น สถานที่ตั้งที่เหมาะสมและความต้องการในการใช้น้ำแข็งในอุตสาหกรรมนี้ส่งผลให้มีโรงน้ำแข็งมากในพื้นที่นี้ อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปีงบการเงิน 2564 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #โรงน้ำแข็ง #ธุรกิจ #น้ำแข็ง #ธุรกิจอีสาน #Business

พามาเบิ่ง 6 โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังที่มีกำไรมากที่สุดในภาคอีสาน

อันดับที่ 1 บริษัท โชคยืนยงอุตสาหกรรม จำกัด รายได้รวม 3,287 ล้านบาท กำไรรวม 319 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 2 บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด รายได้รวม 7,102 ล้านบาท กำไรรวม 194 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 3 บริษัท พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช(2012) จำกัด รายได้รวม 1,020 ล้านบาท กำไรรวม 144 ล้านบาท จังหวัด สกลนคร อันดับที่ 4 บริษัท สงวนวงษ์สตาร์ช จำกัด รายได้รวม 4,286 ล้านบาท กำไรรวม 135 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 5 บริษัท แป้งมันร้อยเอ็ด จำกัด รายได้รวม 1,765 ล้านบาท กำไรรวม 95 ล้านบาท จังหวัด ร้อยเอ็ด อันดับที่ 6 บริษัท วีพี สตาร์ซ (2000) จำกัด รายได้รวม 2,006 ล้านบาท กำไรรวม 84 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา จากอันดับข้างต้น จะเห็นได้ว่าบริษัทที่มีกำไรมากที่สุดจะอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมามากที่สุด เนื่องจากนครราชสีมาถือเป็นจังหวัดใหญ่ในภาคอีสาน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของการค้าและการส่งออกสินค้า บริษัทส่วนใหญ่จึงทำธุรกิจในจังหวัดนี้ อีกทั้งยังมีสถานีรถไฟและทางด่วนที่สำคัญเชื่อมต่อกับจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน สถานีรถไฟนครราชสีมาเป็นสถานีกลางที่สำคัญในการขนส่งสินค้าและบุคคล โดยการขนส่งที่สะดวกสบายจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าของบริษัท อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทในภาคอีสาน #บริษัทมีกำไรมากที่สุด #ธุรกิจ #Business#ธุรกิจอีสาน

พาส่องเบิ่ง “ACG” โกยรายได้ไตรมาสแรก 486 ล้านบาท ลุยเปิดฟาสต์ฟิต AUTOCLIK 30 สาขา

จากดีลเลอร์รายใหญ่ของฮอนด้า ออโตโมบิล ประเทศไทยในเขตภาคอีสาน ขยับไปเป็นเสือข้ามห้วยปักธงที่จังหวัดภูเก็ต “ฮอนด้า มะลิวัลย์” ในเครือ บริษัท ออโตคอร์ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เดินหน้าลงทุนขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมุ่งสรรพกำลังไปที่ศูนย์ดูแลรักษาสำหรับรถที่หมดระยะประกัน ฟาสต์ฟิต ที่มีมูลค่าตลาดกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจยานยนต์มากว่า 30 ปี คุณภานุมาศ รังคกูลนุวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออโตคอร์ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ ACG ยังมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ จึงเป็นจุดกำเนิดของ ออโตคลิกบายเอซีจี “เราทำศูนย์บริการรถยนต์แบบเร่งด่วน หรือ ฟาสต์ฟิตมากว่า 2 ปี ภายใต้แบรนด์ ออโตคลิก (AUTOCLIK) ปัจจุบันมี 12 สาขาทั่วประเทศ ส่วนปีนี้เตรียมเปิดเพิ่มอีก 8 สาขา และตั้งเป้าในปี 2567 จะขยายครบ 30 แห่ง” คุณภานุมาศ กล่าวและว่า การขยายสาขาของ AUTOCLIK บริษัทจะดำเนินการลงทุนเองทั้งหมด และไม่เปิดรับแฟรนไชส์ เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการควบคุมคุณภาพงานบริการ รวมถึงบุคลากร ซึ่งการเปิดเพิ่มแต่ละสาขาอยู่บนพื้นฐานการลงทุนที่สมเหตุสมผล บนทำเลที่มีศักยภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเช่าที่ดิน AUTOCLIK เป็นศูนย์บริการรถยนต์ทุกยี่ห้อประเภทเร่งด่วน ให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ยางรถยนต์ แบตเตอรี่ ระบบเบรก โช้คอัพ ช่วงล่าง และระบบแอร์รถยนต์ ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทุกสาขา ซึ่งการที่บริษัทมีแผนขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ยังช่วยเพิ่มอำนาจการต่อรองกับซัพพลายเออร์ (คู่ค้าที่จัดส่งอะไหล่ให้) ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี “ACG มีบริษัทย่อยที่มีประสบการณ์ยาวนานจากการเป็นผู้จัดจำหน่ายและศูนย์บริการรถยนต์ ทำให้เราสามารถใช้ประสบการณ์มาต่อยอดธุรกิจประเภท ฟาสต์ฟิตได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องการควบคุมต้นทุน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างผลกำไรในระยะยาว” สำหรับจุดเด่นของ AUTOCLIK คือ การให้บริการในรูปแบบดิจิทัล ตั้งแต่การเปิดใบสั่งซ่อมจนถึงส่งมอบรถ โดยไม่ใช้กระดาษ (Paperless) และเป็นเจ้าแรกของประเทศไทยที่มีการจัดทำ e-Tax invoice และ e-Receipt (ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์) เพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้า AUTOCLIK เปิดดำเนินการสาขาแรกในเดือนมีนาคม 2564 ปัจจุบันมี 12 สาขา กรุงเทพฯ 4 แห่ง ภูเก็ต 2 แห่ง เชียงใหม่ 2 แห่ง นนทบุรี 2 แห่ง สมุทรสาคร 1 แห่ง ปทุมธานี 1 แห่ง ล่าสุด ACG โชว์งบไตรมาส 1/2566 มีกำไร …

พาส่องเบิ่ง “ACG” โกยรายได้ไตรมาสแรก 486 ล้านบาท ลุยเปิดฟาสต์ฟิต AUTOCLIK 30 สาขา อ่านเพิ่มเติม »

พามาฮู้จัก “PQS” หุ้นน้องใหม่ โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง แห่งภาคอีสาน

บริษัท พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช จำกัด (มหาชน) PQS ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2548 นำโดยคุณสมยศ ชาญจึงถาวร และทีมงานที่มีประสบการณ์ ในด้านการผลิตแป้งมันสำปะหลังมายาวนานกว่า 18 ปี ซึ่งบริษัทมีโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ตั้งอยู่เลขที่ 185 หมู่ 14 ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร บนทำเลที่ตั้งที่อุดมไปด้วยวัตถุดิบมันสำปะหลังคุณภาพจากเกษตรกรในพื้นที่ ส่งผลให้วัตถุดิบมีความสดใหม่อยู่เสมอและทำให้คุณสมบัติแป้งมันสำปะหลังของบริษัทถูกจัดว่าเป็นคุณภาพพิเศษ นอกจากนี้บริษัทยังสามารถผลิตตามคุณภาพเฉพาะที่ลูกค้าต้องการ (Made to order) โดยกระบวนการผลิตที่ทันสมัยได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และตอบสนองต่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีบริษัท พรีเมียร์ไบโอเอนเนอร์จี จำกัด (PBE) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2551 เป็นบริษัทในเครือ โดยมีผลิตภัณฑ์คือแป้งมันสำปะหลัง และกระแสไฟฟ้าจากการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิง (ก๊าซมีเทน) ซึ่งเกิดจากการหมักของน้ำ ที่ผ่านกระบวนการผลิตแป้ง และการหมักกากมันสำปะหลังแบบไร้อากาศ โดยสอดคล้องกับแนวทางการกำจัดของเสีย (Zero waste) และนำผลพลอยได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ทั้งยังเป็นการส่งผลดีในการลดมลภาวะที่อาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบอย่างยั่งยืน อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #PQS #โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง #ธุรกิจอีสาน #ธุรกิจ #Business #พรีเมียร์ควอลิตี้สตาร์ช #IPO #หุ้นน้องใหม่ #หุ้นใหม่

ชวนเบิ่ง โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน

ในปี 2564 ภาคอีสานมีรายได้รวมจากโรงมันสำปะหลัง อยู่ที่ 52,165 ล้านบาท และมีจำนวนโรงมันสำปะหลัง 59 แห่ง เรียกได้ว่า “ทั้งรายได้รวมและจำนวนโรงมันสำปะหลังเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทยเลยทีเดียว” เนื่องจากภาคอีสานมีพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ทำให้โรงมันสำปะหลังเป็นที่นิยมในการทำธุรกิจในภาคอีสาน นอกจากนี้ภาคอีสานยังมีผลผลิตจากมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่ 19,863,491 ตัน 5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้รวมของโรงมันสำปะหลังมากที่สุด อันดับที่ 1 นครราชสีมา มีรายได้รวม 32,814 ล้านบาท อันดับที่ 2 อุบลราชธานี มีรายได้รวม 3,595 ล้านบาท อันดับที่ 3 ชัยภูมิ มีรายได้รวม 3,349 ล้านบาท อันดับที่ 4 กาฬสินธุ์ มีรายได้รวม 2,529 ล้านบาท อันดับที่ 5 ศรีสะเกษ มีรายได้รวม 2,038 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า นครราชสีมา มีรายได้รวมมากที่สุด เนื่องจากนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศ อยู่ที่ 5,507,286 ตัน ทำให้หลายบริษัทเลือกตั้งโรงงานที่จังหวัดนี้ เนื่องจากการตั้งโรงมันสำปะหลังอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกจะทำให้ประหยัดต้นทุนและมีความสะดวกในการขนส่ง อีกทั้ง นครราชสีมายังเป็นศูนย์กลางของการค้าและการส่งออกสำปะหลังในภาคอีสาน มีสถานีรถไฟสำหรับการขนส่งสินค้าและเชื่อมต่อทางถนนสำคัญที่เชื่อมต่อจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน ทำให้สินค้าจากมันสำปะหลังสามารถส่งออกไปยังตลาดภายในประเทศและต่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปีงบการเงิน 2564 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#โรงมันสำปะหลัง #ธุรกิจ #มันสำปะหลัง #ธุรกิจอีสาน#Business

ชวนเบิ่ง บริษัทในภาคอีสาน กำไร 100 ล้าน ที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น

อันดับที่ 1 บริษัท มาดูโร จำกัด ธุรกิจ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ รายได้รวม 1,598 ล้านบาท กำไรรวม 837 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 2 บริษัท สหเรือง จำกัด ธุรกิจ โรงงานน้ำตาล รายได้รวม 2,157 ล้านบาท กำไรรวม 386 ล้านบาท จังหวัด มุกดาหาร อันดับที่ 3 บริษัท โชคยืนยงอุตสาหกรรม จำกัด ธุรกิจ โรงมันสำปะหลัง รายได้รวม 3,287 ล้านบาท กำไรรวม 319 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 4 บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด ธุรกิจ โรงมันสำปะหลัง รายได้รวม 7,102 ล้านบาท กำไรรวม 194 ล้านบาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 5 บริษัท โค้วยู่ฮะมอเตอร์ จำกัด ธุรกิจ ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ ISUZU รายได้รวม 8,507 ล้านบาท กำไรรวม 193 ล้านบาท จังหวัด ขอนแก่น อันดับที่ 6 บริษัท ยิ่งยง มินิมาร์ท จำกัด ธุรกิจ ร้านสะดวกซื้อ/มินิมาร์ท รายได้รวม 4,850 ล้านบาท กำไรรวม 185 ล้านบาท จังหวัด อุบลราชธานี จากอันดับข้างต้น จะเห็นได้ว่าบริษัทในภาคอีสาน กำไร 100 ล้าน ที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น จะอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมามากที่สุด ซึ่งกำไรรวมกันอยู่ที่ 1,350 ล้านบาท เนื่องจากนครราชสีมาถือเป็นจังหวัดใหญ่ในภาคอีสาน อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของการค้าและการส่งออกสินค้า บริษัทส่วนใหญ่จึงทำธุรกิจในจังหวัดนี้ อีกทั้งยังมีสถานีรถไฟและทางด่วนที่สำคัญเชื่อมต่อกับจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน สถานีรถไฟนครราชสีมาเป็นสถานีกลางที่สำคัญในการขนส่งสินค้าและบุคคล โดยการขนส่งที่สะดวกสบายจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าของบริษัท อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทในภาคอีสาน #บริษัที่ทมีกำไรมากที่สุด #ธุรกิจ #Business#ธุรกิจอีสาน

จับตาเบิ่ง “ระเบียงเศรษฐกิจ” หม่องใหม่ ตลาดอสังหาฯอุดรธานีมาแรง ผู้ประกอบการเจ้าถิ่น-ส่วนกลางลงสนามเพียบ

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เผยผลสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยภาคอีสาน นครราชสีมาและขอนแก่น ยังเป็นจ่าฝูงจังหวัดที่มีขนาดตลาดใหญ่สุดตามลำดับของภาค แต่ในแง่อัตราเพิ่มอุดรธานี โดยเฉพาะครึ่งหลังปี 2565 มีสัญญาณการเพิ่มขึ้นของหน่วยโครงการเปิดใหม่ ก้าวกระโดดถึง 114% มูลค่า 1,959 ล้านบาท กลายเป็นดาวเด่นอสังหาฯภาคอีสาน นายจตุรงค์ ธนะปุระ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ จังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า ตลาดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อุดรธานีกำลังจะดีขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบ 3-4 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ก่อนการระบาดโควิด-19 โดยเวลานี้มีโครงการหมู่บ้านจัดสรรทั้งเก่าและใหม่อยู่ประมาณ 40 กว่าโครงการ ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นของผู้ประกอบการใหญ่จากส่วนกลาง อาทิเช่น ศุภาลัย แสนสิริ ซี.พี.แลนด์ สิทธารมย์ ฯลฯ อีกกว่าครึ่งเป็นของนักลงทุนในท้องถิ่น และอีกส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตตามถูกกฎหมายอีกจำนวนหนึ่ง ธุรกิจคอนโดมิเนียม จะเป็นการลงทุนของนักลงทุนจากส่วนกลาง ซึ่งได้ก่อสร้างเสร็จและเปิดขายหรือให้เช่าหมดแล้ว โดยที่อุดรธานีไม่ใช่ตลาดของธุรกิจคอนโดมิเนียม อาจเป็นสาเหตุให้ยังไม่มีการลงทุนคอนโดมิเนียมใหม่ เวลานี้ ส่วนที่ขายไปแล้วผู้ครอบครองส่วนใหญ่เปิดให้เช่าอยู่เป็นรายเดือน ส่วนกรณีทุนจีนแห่ซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้น นายจตุรงค์ชี้ว่าต้องมองหลายมุม เพราะมีทั้งดีและข้อเสีย ใน เชิงธุรกิจหากคนจีนเข้ามาทำธุรกิจมีการลงทุนด้านต่างๆ ในพื้นที่ก็เป็นการดี จากที่ทุนจีนมีกำลังซื้อสูง เมื่อเข้ามาช่วยกระตุ้นท้องถิ่นให้เจริญเติบโต ช่วยให้ธุรกิจอสังริมทรัพย์ในพื้นที่ดีขึ้น ที่สำคัญปัจจุบันกฎหมายก็อนุญาตให้ต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ ด้านนายณัฐวัชร สวนสุจริต ที่ปรึกษาอิสระโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายโครงการ เปิดเผยว่า อสังหาฯอุดรธานีเวลานี้ประดังออกตลาด มีทั้งโครงการที่มีแผนลงทุนก่อนเกิดโควิค-19 ก็กลับมาเร่งลงมือ ขณะที่โครงการใหม่ที่เริ่มลงทุนตั้งแต่ปี 2565 ต่อเนื่องถึงที่มีแผนจะเปิดในระยะต่อไป ทำให้มีซัพพลายออกมาทับซ้อนกันของโครงการเดิมและใหม่ และยังมีโครงการที่มีแผนจะขึ้นในระยะถัดไปอีกจำนวนหนึ่ง ทำให้ตลาดมีการแข่งขันกันสูงมาก “เกิดจากปัจจัยด้านการเติบโตของพื้นที่และปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น อุดรธานี อยู่ในพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการลงทุนตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล เช่น ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) เขตเศรษฐกิจพิเศษ มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ตั้งอยู่ เป็นจังหวัดศูนย์กลางของภาคอีสานตอนบน ที่สำคัญคือเป็นพื้นที่ที่จะเป็นเจ้าภาพมหกรรมงาน พืชสวนโลกปี พ.ศ. 2569” ในมุมผู้ซื้อถือเป็นโอกาสที่จะสามารถเลือกได้หลากหลายรูปแบบหลายทำเล เพราะโครงการจะมี กระจายออกไปยังพื้นที่ต่างๆ ของเมือง แต่การลงทุนช่วงนี้ต้องมีภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งวัสดุก่อสร้างปูน เหล็ก นํ้ามันที่เพงขึ้น ยังมีเรื่องค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น จนถึงราคาที่ดินที่ขยับขึ้น ทำให้ราคาบ้านต้นทุนใหม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นจากเดิม “บ้านทาวน์โฮมเดิมราคาล้านเศษๆ ที่เป็นโครงการของนักลงทุนท้องถิ่นเวลานี้ไม่มีเหลือแล้ว ส่วนโครงการของบริษัทมหาชนจากส่วนกลาง เปิดตัวที่ระดับราคา 3-3.5 ล้านบาทขึ้นไป ขณะที่นักลงทุนท้องถิ่นก็หันมาทำบ้านจัดสรรในราคาดังกล่าวด้วย” ส่วนปัจจัยลบปี 2566 เรื่องหลักคือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารต่างๆ ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง อีกประเด็นคือ มาตรการ LTV ที่ไม่มีการต่ออายุให้อีกแล้ว การขอกู้ 100% ไม่มีอีกแล้ว ทำให้การจะขอสินเชื่อจะผ่านการอนุมัติน้อยลง เนื่องจากระดับรายได้ของประชาชนทั่วไปยังเท่าเดิมไม่ได้เพิ่มขึ้น แม้สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายแล้ว ขณะที่การลงทุนโครงการอสังหาฯ อุดรธานี จะขยายตัวโซนทิศตะวันออกนอกเขตถนนสายรอบเมือง เริ่มตั้งแต่บริเวณสี่แยกบ้านจั่น ไปตามถนนสายรอบเมืองด้านตะวันออก จนถึงสี่แยกทางออกไปจังหวัดหนองคาย พื้นที่ตำบลกุดสระและต่อเนื่องด้านทิศตะวันออกของถนนมิตรภาพอุดรธานี-หนองคาย เป็นโซนที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง มีบริษัทมหาชนจากส่วนกลางหา พื้นที่และปักหมุดเตรียมขึ้นโครงการมากที่สุด อ้างอิงจาก: https://www.thansettakij.com/real-estate/565725 #ISANInsightAndOutlook #อีสาน …

จับตาเบิ่ง “ระเบียงเศรษฐกิจ” หม่องใหม่ ตลาดอสังหาฯอุดรธานีมาแรง ผู้ประกอบการเจ้าถิ่น-ส่วนกลางลงสนามเพียบ อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs เดือนเมษายน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 53.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 0.1 แนวโน้มธุรกิจ SME ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือกลุ่มไหน? ภาคการค้าทั้งการค้าส่งและค้าปลีกปรับตัวดีขึ้น โดยได้กำลังชื้อที่เพิ่มขึ้นจากแรงงานที่กลับภูมิลำเนาในช่วงสงกรานต์ ขณะที่เศรษฐกิจในภาพรวมได้รับผลกระทบทางลบจากปัญหาทางสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดพายุฝนใน หลายพื้นที่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ SMEs ภาคธุรกิจ เป็นอย่างไร? ภาคการค้าและการบริการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ขยายตัวจากกำลังซื้อและการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงสงกรานต์ ภาคการผลิต 52.9 ลดลง -0.7 จากเดือนมีนาคม ภาคการผลิตชะลอตัวลง จากแรงงานกลับภูมิลำเนาในช่วงวันหยุดยาวของเทศกาลสงกรานต์ ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าลดลง โดยเฉพาะกับกลุ่มเสื้อผ้า รวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์จากไม้ ภาคการค้า 54.0 เพิ่มขึ้น 1.4 จากเดือนมีนาคม ภาคการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งการค้าส่งและค้าปลีก โดยส่วนมากจะได้ยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากเทศกาลสงกรานต์ โดยเฉพาะกับร้านที่ตั้งในเขตอำเภอเมือง ซึ่งกลุ่มสินค้าที่มียอดขายมากขึ้นจะเป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในเทศกาลสงกรานต์ ภาคการบริการ 58.4 เพิ่มขึ้น 0.7 จากเดือนมีนาคม ภาคการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น โดยได้รับอานิสงส์จากวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมถึงมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ที่กระตุ้นความต้องการท่องเที่ยวในเดือนเมษายนให้สูงขึ้น ภาคการเกษตร 51.6 ลดลง -2.8 จากเดือนมีนาคม ภาคการเกษตรชะลอตัวลง จากปัจจัยสภาพอากาศเป็นสําคัญที่ในหลายพื้นที่เผชิญกับพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งกระทบปริมาณในการผลิตสินค้าเกษตร แต่ผู้ประกอบการเริ่มลดความกังวลด้านต้นทุนลง จากราคาปุ๋ยที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หมายเหตุ: ดัชนี SMEs มีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และมีค่าฐานเท่ากับ 50 – ดัชนี > 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ดีขึ้น” จากเดือนก่อนหน้า – ดัชนี = 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ทรงตัว” จากเดือนก่อนหน้า – ดัชนี < 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ลดลง” จากเดือนก่อนหน้า อ้างอิงจาก: – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#SMEs #ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการSMEs#ธุรกิจ #ดัชนีความเชื่อมั่น #ธุรกิจอีสาน

Scroll to Top