Nanthawan Laithong

พาส่องเบิ่ง นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบายส่งเสริม SMEs ของว่าที่รัฐบาล ที่ส่งผลบวกต่อกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับการบริโภค

อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ https://isaninsight.kku.ac.th/outlook อ้างอิงจาก: – การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ISAN Insight & Outlook อ้างอิงข้อมูลจากพรรคก้าวไกลและเพื่อไทย ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ธุรกิจอีสาน #Business #นโยบาย #รัฐบาลชุดใหม่

พาส่องเบิ่ง 2 นโยบายของว่าที่รัฐบาล ที่ส่งผลบวกต่อกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับการบริโภค

อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ https://isaninsight.kku.ac.th/outlook อ้างอิงจาก: – การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ISAN Insight & Outlook อ้างอิงข้อมูลจากพรรคก้าวไกลและเพื่อไทย ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#ธุรกิจอีสาน #Business #นโยบาย #รัฐบาลชุดใหม่

อีสานบนเริ่ดคักหลาย เอกชนบึงกาฬ ถก “กมธ.คมนาคม” หนุนขนส่งทางราง ดันสินค้าเกษตรบุกตลาดจีน เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

นายเจตน์ เกตุจำนง ประธานกลุ่มสหกรณ์การเกษตรฯจำกัด จังหวัดบึงกาฬ และที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดบึงกาฬ ในฐานะภาคเอกชนของจังหวัดบึงกาฬ เปิดเผยว่า จากการได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับ คณะกรรมาธิการ(กมธ.) คมนาคม วุฒิสภา (ส.ว.) ที่มีพลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธาน เมื่อเร็วๆนี้ ได้รายงานข้อมูลด้านต่างๆของจังหวัดบึงกาฬ พร้อมเสนอแนะความต้องการในการสนับสนุนด้านการขนส่งโลจิสติกส์ โดยเฉพาะการขนส่งระบบรางให้เกิดการเชื่อมโยงต่อกับโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเส้นทางบ้านไผ่ ถึงนครนครพนม ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ให้ผ่านบึงกาฬถึงหนองคาย เพื่อให้เกิดโครงข่ายเชื่อมโยงความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางขนส่งลดต้นทุนค่าขนส่ง เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจยางพาราของภาคอีสานตอนบนที่มีผลผลิตเป็นจำนวนมาก นายเจตน์ กล่าวอีกว่า จังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดของภาคอีสาน มีผลผลิตปีละประมาณ 14,000 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยการขนส่งลงไปสู่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อขนส่งไปยังตลาดยางพาราของเมืองกวางโจว หากสามารถขนส่งทางรางได้ จะทำให้ต้นทุนค่าขนส่งยางพาราลดลงและใช้เวลาประมาณ 5 วันจะถึงปลายทางเร็วกว่าระบบล้อ 3 วัน ลดต้นทุนค่าขนส่งประมาณ 20% นอกจากนี้ยังจะเอื้อประโยชน์ให้กับพื้นที่อื่นๆอีกได้อย่างมากมาย จากการติดตามข่าวด้านการขนส่งทางราง พบว่า มีบริษัทขนส่งเอกชนเปิดการขนส่งสินค้าทางรางไปเชื่อมต่อเข้ากับโครงการรถไฟจีน-ลาว ล่าสุด บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดบริษัทลูกคือ บริษัท พาส พลัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ PASS ได้เปิดทดลองการขนส่งสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทในเครือของ บริษัท ปตท. นอกจากนี้ยังมีตู้คอนเทนเนอร์แช่เย็นสำหรับบรรจุพืชผักผลไม้ การเกษตร โดยเฉพาะทุเรียนไทย ไปยังตลาดกวางโจว ซึ่งเป็นตลาดเดียวกับยางพาราของไทย จึงมีความคิดที่จะมีการปรึกษาหารือกันในกลุ่มธุรกิจยางพาราในพื้นที่และใกล้เคียงว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ในการเปลี่ยนวิธีการขนส่งสินค้ายางพาราจากเดิม มาใช้การขนส่งทางระบบรางแทน ปัจจุบันยังไม่มีระบบรางผ่านพื้นที่บึงกาฬไปยังหนองคาย จะใช้วิธีบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ที่ต้นทางแล้ว บรรทุกรถยนต์ไปขึ้นรถไฟที่สถานีนาทา จังหวัดหนองคาย ซึ่งประหยัดเวลา ค่าขนส่งถูกกว่าระบบล้อ แล้วไปลงเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง ทั้งนี้ทางจังหวัดได้จัดเตรียมพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ในบริเวณโครงการก่อสร้างสะพาน สำหรับจัดทำเป็นพื้นที่รวมกองสินค้าส่งออก (CY) ผ่านสะพานอยู่แล้ว ซึ่งสามารถขยายพื้นที่ได้อีกด้วย ทั้งนี้ คณะ กมธ.การคมนาคม ให้ข้อเสนอแนะว่าพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดชายแดน น่าจะมีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในพื้นที่ จึงได้เสนอข้อมูลให้ กมธ.คมนาคมว่า จังหวัดบึงกาฬได้รับการคัดเลือกจาก การนิคมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ให้เป็น 1 ใน 6 พื้นที่ที่เหมาะสมจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรม ในอนาคตน่าได้รับการสนับสนุนจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดบึงกาฬ และการจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างเช่นพื้นที่ชายแดนอื่นๆ พร้อมกันนี้ได้เสนอข้อมูลก่อสร้างท่าอากาศยานบึงกาฬ ซึ่งทางจังหวัดบึงกาฬได้จัดเตรียมพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ทำการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้แล้ว รวมทั้งรายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงสายอุดรธานี-บึงกาฬ และก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บ่อลิคำไซ) ณ เดือนมีนาคม 2566 ความก้าวหน้าอยู่ประมาณ 79% เร็วกว่ากำหนดประมาณ 1% อ้างอิงจาก: https://www.thansettakij.com/business/567472 ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website …

อีสานบนเริ่ดคักหลาย เอกชนบึงกาฬ ถก “กมธ.คมนาคม” หนุนขนส่งทางราง ดันสินค้าเกษตรบุกตลาดจีน เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง ร้านขายยาในภาคอีสาน

ในปี 2564 ภาคอีสานมีรายได้รวมของร้านขายยา อยู่ที่ 5,210 ล้านบาท และมีจำนวนร้านขายยา 771 แห่ง 5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้รวมของงร้านขายยามากที่สุด อันดับที่ 1 ขอนแก่น มีรายได้รวม 1,439 ล้านบาท อันดับที่ 2 นครราชสีมา มีรายได้รวม 1,278 ล้านบาท อันดับที่ 3 อุดรธานี มีรายได้รวม 678 ล้านบาท อันดับที่ 4 อุบลราชธานี มีรายได้รวม 330 ล้านบาท อันดับที่ 5 สุรินทร์ มีรายได้รวม 202 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า ขอนแก่น มีรายได้รวมมากที่สุด เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาเป็นศูนย์การแพทย์และศูนย์การรักษาโรคที่เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่องในระดับภูมิภาคและประเทศชาติ เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นในภาคอีสาน อีกทั้งขอนแก่นยังถือว่าเป็นเมืองแห่ง Medical Hub ซึ่งมีเหตุผลหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดศักยภาพในด้านการรักษาโรค มีสถานพยาบาลและศูนย์การแพทย์ที่ครอบคลุมและมีความเชี่ยวชาญ เพื่อตอบสนองความต้องการทางการแพทย์ของประชาชนในพื้นที่และภาคอีสาน หมายเหตุ: เป็นข้อมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจร้านขายปลีกสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และเวชภัณฑ์ (รหัสประเภทธุรกิจ 47721) อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปีงบการเงิน 2564 ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#ร้านขายยา #ธุรกิจ #PHARMACY #ธุรกิจอีสาน#Business #ฟาร์มาซี

ชวนเบิ่ง แนวทางการสนับสนุนด้านการเงินสำหรับ SME ในภูมิภาคของประเทศไทย

ความสำคัญของการเงิน SME ในภูมิภาคของประเทศไทย? การเติบโตของธุรกิจ SME ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก จนกลายเป็น Growth Engine ที่มีส่วนสำคัญที่สุดที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ในปี 2565 มูลค่าทางเศรษฐกิจของ SME คิดเป็น 35% ต่อมูลค่า GDP ของทั้งประเทศ หรือ 5.62 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนของภาคธุรกิจเป็น ภาคการบริการ 44% ภาคการค้า 31.4% และภาคการผลิต 22.6% ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้ SME เติบโตอย่างต่อเนื่อง คือ การขยายตัวของการบริโภคครัวเรือนและภาคเอกชน การเติบโตของ E-commerce การเติบโตของภาคท่องเที่ยว รวมถึงนโยบายและมาตรการส่งเสริมต่าง ๆ ของภาครัฐ นอกจากนั้นในช่วงหลังสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาพบว่าภาคธุรกิจ SME มีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ในปี 2565 SME เติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 13% จากปี 2564 ซึ่งมีการเติบโตที่สูงกว่าอัตราการเติบโตของภาคเศรษฐกิจโดยรวม นอกจาก SME จะมีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมอย่างสูง อีกทั้งการจ้างงานของธุรกิจ SME มีจำนวนประมาณ 13 ล้านคนซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 72% ของการจ้างงานทั้งประเทศนอก และหากมองในถึงภาคการส่งออกพบว่ามูลค่าการส่งออกของ SME อยู่ที่ประมาณ 684,000 ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของมูลค่าการส่งออกของประเทศไทย การพัฒนาการให้บริการด้านเงินสำหรับ SME มีความสำคัญอย่างไร? 1. แก้ไขปัญหาการกีดกันทางการเงิน: ผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่ชนบทมักเผชิญกับความท้าทายในการเข้าถึงบริการทางการเงิน การเงิน SME มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาการกีดกันทางการเงินโดยการให้บริการทางการเงินที่ปรับให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของธุรกิจในชนบท 2. การส่งเสริมผู้ประกอบการในชนบท: SMEs ในชนบทมักได้รับแรงผลักดันจากผู้ประกอบการท้องถิ่นและมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนในชนบท ด้วยการจัดหาเงินทุน SME ในพื้นที่ชนบท สิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการในชนบทและการสร้างงาน ผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในชุมชนท้องถิ่น 3. การพัฒนาวิสาหกิจการเกษตรและชนบท: SMEs จำนวนมากในพื้นที่ชนบทมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเกษตรหรือวิสาหกิจในชนบท การเงิน SME ในพื้นที่ชนบทสนับสนุนภาคส่วนเหล่านี้โดยการจัดหาเงินทุนสำหรับปัจจัยการผลิตทางการเกษตร จะช่วยเพิ่มผลผลิต ความสามารถในการแข่งขัน และความยั่งยืนของธุรกิจในชนบท 4. การสร้างรายได้และการบรรเทาความยากจน: SMEs ในชนบทมักเป็นแหล่งรายได้และการดำรงชีวิตที่สำคัญของชุมชนในชนบท การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SME ช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโต สร้างโอกาสในการจ้างงาน และสร้างรายได้ให้กับประชากรในท้องถิ่น 5. การพัฒนาที่ยั่งยืน: การเงิน SME ในพื้นที่ชนบทสามารถสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้เช่นกัน สามารถมุ่งสู่ความคิดริเริ่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเงิน SME ช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 6. การพัฒนาภูมิภาคอย่างสมดุล: การส่งเสริมการเงิน SME ในพื้นที่ชนบทมีส่วนช่วยในการพัฒนาภูมิภาคอย่างสมดุล ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในระดับภูมิภาคโดยนำทรัพยากรทางการเงินและโอกาสไปสู่ภูมิภาคชนบทที่ด้อยโอกาส สิ่งนี้นำไปสู่การเติบโตและการพัฒนาที่เท่าเทียมกันมากขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองและชนบท ดังนั้น การพัฒนาด้านการให้บริการด้านการเงินสำหรับ SME หรือ SME …

ชวนเบิ่ง แนวทางการสนับสนุนด้านการเงินสำหรับ SME ในภูมิภาคของประเทศไทย อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง 7 อันดับธุรกิจรักษาสัตว์ เอาใจทาสหมาทาสแมว

อันดับที่ 1 บริษัท โรงพยาบาลสัตว์ปิยะมิตร จำกัด รายได้รวม 52 ล้านบาท กำไรรวม 540,284 บาท จังหวัด ขอนแก่น อันดับที่ 2 บริษัท โรงพยาบาลสัตว์ปากช่อง จำกัด รายได้รวม 23 ล้านบาท กำไรรวม 741,781 บาท จังหวัด นครราชสีมา อันดับที่ 3 บริษัท วาริน-อุบล เพ็ทแพชชั่น จำกัด รายได้รวม 17 ล้านบาท กำไรรวม 486,424 บาท จังหวัด อุบลราชธานี อันดับที่ 4 บริษัท พยัคฆ์ แอนิมอล เซ็นเตอร์ จำกัด รายได้รวม 7,108,435 บาท กำไรรวม 439,969 ล้านบาท จังหวัด มหาสารคาม อันดับที่ 5 ห้างหุ้นส่วนจำกัด พี่เสือยาสัตว์ รายได้รวม 2,083,247 บาท กำไรรวม 87,179 บาท จังหวัด ขอนแก่น อันดับที่ 6 บริษัท โรงพยาบาลสัตว์อุดรแอร์พอร์ท จำกัด รายได้รวม 1,936,540 บาท กำไรรวม -206,084 บาท จังหวัด อุดรธานี อันดับที่ 7 ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพยาบาลสัตว์ สีวลี รายได้รวม 1,882,049 บาท กำไรรวม 71,659 บาท จังหวัด ขอนแก่น หมายเหตุ: เป็นมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจกิจกรรมเกี่ยวกับสัตวแพทย์ (รหัสประเภทธุรกิจ 75000) อ้างอิงจาก: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram: https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #บริษัทในภาคอีสาน #ธุรกิจรักษาสัตว์ #ธุรกิจ #Business #ธุรกิจอีสาน

ชวนเบิ่ง อุบลราชธานี 1 ใน 4 จังหวัดนำร่องแคมเปญ “เที่ยวไทยถึงถิ่น เที่ยวได้ทั้งปี” กระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยว

นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดงานแคมเปญ “เที่ยวไทยถึงถิ่น เที่ยวได้ทั้งปี” GO LOCAL, LOVE LOCAL โดยมี ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงภาพรวมของแผนงาน ปั้นเมืองรอง กระตุ้นท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ชูจุดแข็งศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั่วประเทศ ภายใต้ 3 แนวคิด ได้แก่ 1.Retail-Led Tourism ชูศูนย์การค้าเป็นเดสติเนชั่นสร้างเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชน 2. Cross-Region Mode! ส่งเสริมการท่องเที่ยวข้ามถิ่นข้ามภาค และ 3. National Soft Power ดึง DNA เมืองรอง จับมือท้องถิ่นสร้างอีเว้นท์ดึงดูดตลอดปี แคมเปญ “เที่ยวไทยถึงถิ่น เที่ยวได้ทั้งปี” GO LOCAL, LOVE LOCAL นำร่องเฟสแรก 4 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช – ดื่มด่ำเสน่ห์แห่ง “ธรรมะ-ธรรมชาติ-วัฒนธรรม” ที่ไม่ธรรมดา โปรโมท ธรรมะแลนด์มาร์กที่สายมูต้องไม่พลาด , “ธรรมชาติ” สุดอันซีน เห็นแล้วต้องอยากแชร์ให้ลูกรู้, และ “วัฒนธรรม” สัมผัสไลฟ์สไตล์ของคนท้องถิ่นแบบอินไซด์ อยุธยา – ท่องเที่ยวกรุงเก่าด้วยมุมมองใหม่ได้อรรถรส สัมผัสเมืองมรดกโลก, ไหว้พระทำบุญชมโบราณสถาน, สายคาเฟ่-สายกิน ฟินของอร่อย และท่องเที่ยวสไตล์วิถีชุมซน อุบลราชธานี – สัมผัสสน่ห์กับ 4 แสงแห่งดินแดนอีสานใต้ ได้แก่ แสงแรกยามรุ่งอรุณ, แสงธรรมจากเกจิอาจารย์ดัง, แสงเทียนแห่งประเพณีสุดงดงาม, และแสงอาทิตย์สุดล้ำเพื่อพลังงานสะอาด จันทบุรี – อินและฟินกับเมืองท่องเที่ยวเนื้อหอมแห่งภาคตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นดื่มต่ำความงดูงามแห่งธรรมชาติสุดหลากหลาย, เต็มอิ่มกับผลไม้เลื่องชื่อเมืองจันท์ และมนต์เสน่ห์ชุมชนริมน้ำสุดคลาสสิก แคมเปญ ดังกล่าวฯ ที่เป็นต้นแบบที่ดีการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบได้ประโยชน์ทั้ง ห่วงโซ่อุปทาน ช่วย ททท. ไม่ว่าจะด้วยเรื่อง Dive Demand , Shape Supply หรือแม้แต่การThieve for Excellence ททท.จะเดินคู่ไปกับหน่วยงาน พันธมิตร แบบ 360 องศา ร่วมกันพัฒนา ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ กับแผนยุทธศาสตร์ ของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน) ผลักดัน การท่องเที่ยวชุมชน “เที่ยวไทยถึงถิ่น เที่ยวได้ทั้งปี” (Go Local , …

ชวนเบิ่ง อุบลราชธานี 1 ใน 4 จังหวัดนำร่องแคมเปญ “เที่ยวไทยถึงถิ่น เที่ยวได้ทั้งปี” กระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยว อ่านเพิ่มเติม »

พาส่องเบิ่ง สถิติที่น่าสนใจของผู้ประกอบการ SMEs

อ้างอิงจาก: – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #ผู้ประกอบการ #SMEs

ชวนเบิ่ง 5 อันดับธุรกิจปลาน้ำจืด

หมายเหตุ: เป็นมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด (รหัสประเภทธุรกิจ 3221) ปลาช่อน ปลาทับทิม ปลาแรด ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน ปลาสลิด ฯลฯ การเพาะฟักและอนุบาลลูกพันธุ์ปลาน้ำจืด รวมถึงการเลี้ยงพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ปลาน้ำจืดเพื่อการเพาะพันธุ์ อ้างอิงจาก: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#Business #ธุรกิจ #ธุรกิจปลาน้ำจืด #ธุรกิจอีสาน

จับตาเบิ่ง นโยบายดันไทยเป็น Medical Hub หนุนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ “ธุรกิจ wellness” เติบโตสูง

ข้อมูลสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี 2564 มีผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปี ประมาณ 13 ล้านคน หรือราว 20% ของประชากรทั้งประเทศ และมีการประเมินว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ปี 2575 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุดคือมีคนอายุเกิน 60 ปี สูงถึง 28% ทำให้กระแสการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ Wellness Tourism กลายเป็นธุรกิจมาแรง ขณะที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งเป้ารายได้รวมการท่องเที่ยวปี 2566 ไว้ 2.38 ล้านล้านบาท โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 30 ล้านคน สร้างรายได้ 1.5 ล้านล้านบาท และนักท่องเที่ยวชาวไทย 135 ล้านคน/ครั้ง สร้างรายได้ 880,000 ล้านบาท ทำให้ธุรกิจ Wellness คึกคักมากยิ่งขึ้น ธุรกิจ Wellness จึงเป็นอีกหนึ่ง Mega Trend ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ยิ่งขณะนี้กระแสการรักสุขภาพ เทรนด์การดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันและรักษามาแรง ทำให้อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมดังกล่าวก้าวกระโดด วันที่ 5 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับภาคีเอกชน และ 10 เครือข่ายมหาวิทยาลัย ได้แก่ – มหาวิทยาลัยขอนแก่น – มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี – มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – มหาวิทยาลัยบูรพา – มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง – มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา – มหาวิทยาลัยพายัพ – มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี การส่งเสริมการลงทุนในเขตนวัตกรรมและพื้นที่ของ กฟผ. เพื่อพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ทั้งนี้ กฟผ. จะจัดทำแผนแม่บทบูรณาการเชื่อมโยงร่วมกับกฎบัตรไทยและเครือข่ายมหาวิทยาลัยในแต่ละภาคของประเทศ เพื่อกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ประจำภาค สำหรับพัฒนาชุมชนในแต่ละจังหวัด โดยมีเขื่อนของ กฟผ. เป็นศูนย์กลางดำเนินงานและเชื่อมโยงสู่ชุมชนซึ่งจะนำร่องในพื้นที่เป้าหมาย 9 แห่งทั่วประเทศ ดังนี้ – ภาคเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ และเขื่อนภูมิพล จ.ตาก – ภาคใต้ 2 แห่ง ได้แก่ โรงไฟฟ้ากระบี่ จ.กระบี่ และเขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 แห่ง …

จับตาเบิ่ง นโยบายดันไทยเป็น Medical Hub หนุนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ “ธุรกิจ wellness” เติบโตสูง อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top