Nanthawan Laithong

พามาฮู้จัก “ตำมั่ว” จากร้านอาหารข้างทาง เติบโตจนขายบนห้าง ขยายไปไกลถึงต่างประเทศ

หลายคนน่าจะรู้จัก “ตำมั่ว” ร้านนี้ คือ ร้านอาหารไทยสไตล์อีสาน ที่เมื่อก่อนเริ่มจากการเป็นร้านอาหารข้างทาง วันนี้ “ตำมั่ว” เติบโตจนมาขายบนห้างสรรพสินค้า แถมยังขยายไปไกล ถึงต่างประเทศ แล้วเจ้าของร้านนี้ ทำได้อย่างไร ? จุดเริ่มต้นของร้านตำมั่ว เกิดมาตั้งแต่ปี 2532 โดยชื่อเดิมของร้าน ชื่อว่า “นครพนมอาหารอีสาน” โดยผู้ที่เป็นเจ้าของร้านก็คือ คุณแม่ของ คุณศิรุวัฒน์ ชัชวาลย์ แม่ทัพของร้านคนปัจจุบัน สมัยที่ยังใช้ชื่อร้านว่า นครพนมอาหารอีสาน คุณศิรุวัฒน์ เล่าว่าถึงร้านของคุณแม่จะขายดีแค่ไหน แต่ปัญหาคือลูกค้าหลายคนก็ยังจำชื่อร้านไม่ค่อยได้ และร้านเองก็ไม่ใช่แบรนด์แรก ๆ ที่ลูกค้านึกถึง พอเป็นแบบนี้ เขาจึงเริ่มปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ – เน้นสร้างแบรนด์ให้เป็นที่น่าจดจำ ทำการตลาดมากขึ้น คุณศิรุวัฒน์ รีแบรนด์ใหม่ด้วยชื่อว่า ร้าน “ตำมั่ว” พร้อมทั้งใช้กลยุทธ์การตลาดที่เรียกว่า Music marketing เพื่อทำการโปรโมตร้านอาหารของตนเองผ่านเพลง บ่เป็นหยัง ของ ก้อง ห้วยไร่ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งจนถึงวันนี้มีผู้เข้ามารับชมกว่า 72 ล้านครั้ง ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนรู้จักร้านตำมั่วมากขึ้นไปอีก – วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อจะได้เสนอสินค้าและบริการที่ตรงใจมากขึ้น คุณศิรุวัฒน์ บอกว่า สิ่งสำคัญแรก ๆ คือ รู้ว่าเรากำลังจะขายอาหารให้ใคร ? เพราะการที่เรารู้ว่าลูกค้าคือใคร จะช่วยให้เราวิเคราะห์ต่อไปได้ว่า ลูกค้ามีกำลังจ่ายได้เท่าไร และอะไรคือสิ่งที่พวกเขาต้องการ ซึ่งทางร้านก็พบว่ากลุ่มลูกค้าของร้านตำมั่วนั้นมีหลากหลาย ทุกเพศ ทุกวัย และมีตั้งแต่กลุ่มรายได้น้อยไปจนถึงรายได้สูง หรือพูดง่าย ๆ คือ อาหารที่ร้านนั้นอยู่ในตลาดแมส นั่นคือ ทุกคนสามารถเข้ามาทานได้ตั้งแต่คนรายได้น้อย มนุษย์เงินเดือนรายได้ปานกลาง ไปจนถึงคนรวย เขาบอกว่า เมื่อรู้แล้วว่า กลุ่มลูกค้าคือกลุ่มแมส ดังนั้นจึงค่อยคิดเรื่องอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นราคาอาหาร การตกแต่งร้าน อุปกรณ์ภายในร้าน – เลือกพันธมิตรดี ๆ เวลาต้องขยายธุรกิจไปในสถานที่ที่เราไม่รู้จักดีพอ เช่น การไปเติบโตในต่างประเทศของตำมั่ว ในลาว เมียนมา และกัมพูชา จะทำผ่านการลงทุนกับพันธมิตรด้วยการขายแฟรนไชส์ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้เงินลงทุนคือ ทัศนคติของผู้ที่ต้องการมาร่วมธุรกิจ คุณศิรุวัฒน์บอกว่า ถ้าคนที่ต้องการเป็นพันธมิตรรายไหนบอกว่า รสชาติอาหารของตำมั่วอร่อย แต่เขาจะขอปรับรสชาติ ปรับวัตถุดิบตามแบบของตนเองได้ไหม ถ้าเป็นแบบนี้ คุณศิรุวัฒน์จะไม่คุยต่อเลย เพราะเขามองว่า รสชาติและคุณภาพของตำมั่วไม่ว่าทานที่ไหน จะต้องเหมือนกันหมด นี่คือจุดยืนของทางร้าน การเติบโตของตำมั่ว ทำให้ในปี 2559 ตำมั่ว ได้เซ็นสัญญาร่วมธุรกิจกับบริษัทภายในเครือร้านอาหารยักษ์ใหญ่ ที่ชื่อว่า บริษัท เซ็น แอนด์ สไปซี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท เซ็น …

พามาฮู้จัก “ตำมั่ว” จากร้านอาหารข้างทาง เติบโตจนขายบนห้าง ขยายไปไกลถึงต่างประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

ไทวัสดุ เร่งบุกอีสาน ลุยเปิดสาขา “เลย” ตลาดอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้างกำลังมาแฮง

ไทวัสดุ ผู้นำค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้าน ภายใต้ บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ประกาศแผนการขยายสาขาร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างในปี 2566 รวมจำนวน 10 สาขา โดยในช่วงครึ่งปีแรกได้มีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดในเดือน มิ.ย.นี้ ได้มีการเปิดสาขาใหม่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปักหมุด “จังหวัดเลย” เป็นครั้งแรก สำหรับการเปิดสาขาใหม่ที่”เลย” ถือเป็นสาขาที่ 72 ของบริษัท โดยสาขาแห่งนี้มีขนาดพื้นที่กว่า 16,000 ตร.ม โดยรวบรวมสินค้าวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้านแบรนด์ดัง มุ่งนำเสนอราคาเป็นมิตร เพื่อขยายตลาดแก่กลุ่มลูกค้าชาวจังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ “นายสุทธิสาร จิราธิวัฒน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด ในเครือเซ็นทรัลรีเทล กล่าวว่า การขยายสาขาใหม่ของ ร้านไทวัสดุในปีนี้ จำนวน 10 สาขา เน้นสาขา ทั้งรูปแบบมาตรฐาน (Red Format) และแบบไฮบริด ฟอร์แมท (Hybrid Format) ทำเลยุทธศาสตร์จะเป็นตลาดเมืองเมืองท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งบริษัทตั้งเป้าหมายว่า ในสิ้นปีนี้ ไทวัสดุ มีสาขารวม 80 สาขาทั่วประเทศ พร้อมประเมินยอดขายรวมในปีนี้จะเติบโต 15% จากปีก่อน ทั้งนี้หากมาประเมินตลาดการค้าปลีกในจังหวัดเลยมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง จากแรงหนุนการเป็นจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรองที่สำคัญของประเทศไทย ตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ระบุไว้ และเป็นเมืองที่เดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี รวมถึงถูกจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวเชื่อมโยงไปยังประเทศลาว และต่อไปยังจีน ทั้งนี้ ททท. ระบุว่า นักท่องเที่ยวชาวจีน สามารถเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงจากคุณหมิง เมืองหลวงของมณฑลยูนนาน ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มายังนครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว พร้อมข้ามด่านชายแดนจังหวัดหนองคาย เดินทางเข้าสู่อําเภอปากชม และอําเภอเชียงคาน จังหวัดเลย หรือเลือกผ่านด่านชายแดนท่าลี่ หรือด่านบ้านนากระเซ็งได้เช่นกัน ขณะที่สาขารวมของไทวัสดุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปัจจุบันมีจำนวน 14 สาขา รวมใน 12 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ สกลนคร ขอนแก่น อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม มุกดาหาร อุดรธานี หนองบัวลำภู นครราชสีมา และล่าสุดที่ จังหวัดเลย โดยจังหวัดที่มีสาขามากสุดคือ นครราชสีมา จำนวน 3 สาขา อ้างอิงจาก: https://www.bangkokbiznews.com/business/1075442 ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th …

ไทวัสดุ เร่งบุกอีสาน ลุยเปิดสาขา “เลย” ตลาดอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้างกำลังมาแฮง อ่านเพิ่มเติม »

พามาเบิ่ง 7 อันดับอาณาจักรขายปลีกเครื่องประดับที่มีรายได้รวมมากที่สุดในภาคอีสาน .

อันดับที่ 1 บริษัท ห้างทองทองสวย จำกัด จังหวัด ขอนแก่น รายได้รวม 15,680 ล้านบาท กำไรรวม 7,809,214 บาท . อันดับที่ 2 บริษัท เอ็มทีพี บูลเลี่ยน จำกัด จังหวัด ขอนแก่น รายได้รวม 4,624 ล้านบาท กำไรรวม 959,833 บาท . อันดับที่ 3 บริษัท ห้างทองแม่ทองพูล จำกัด จังหวัด ขอนแก่น รายได้รวม 3,073 ล้านบาท กำไรรวม 2,318,411 บาท . อันดับที่ 4 บริษัท ทองกรุงเทพ จำกัด จังหวัด นครราชสีมา รายได้รวม 1,016 ล้านบาท กำไรรวม 325,084 บาท . อันดับที่ 5 บริษัท ห้างทองเยาวราช จำกัด จังหวัด ร้อยเอ็ด รายได้รวม 876 ล้านบาท กำไรรวม 5,053,659 บาท . อันดับที่ 6 บริษัท แสงมณี โคราช จำกัด จังหวัด นครราชสีมา รายได้รวม 752 ล้านบาท กำไรรวม 253,488 บาท . อันดับที่ 7 บริษัท เอ็มทีพี โกลด์ จำกัด จังหวัด ขอนแก่น รายได้รวม 737 ล้านบาท กำไรรวม 780,714 บาท หมายเหตุ: เป็นข้อมูลนิติบุคคล เฉพาะประเภทธุรกิจร้านขายปลีกเครื่องประดับ (รหัสประเภทธุรกิจ 47732) อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #อาณาจักรขายปลีกเครื่องประดับ #ร้านขายปลีกเครื่องประดับ

ชวนเบิ่ง ราคากัญชงที่คนทำธุรกิจเกี่ยวกับกัญชงต้องฮู้

อ้างอิงจาก: – สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ #ธุรกิจอีสาน #กัญชง #ธุรกิจกัญชง

พามาฮู้จัก “Satom Organic Farm (แซตอม ออร์แกนิก ฟาร์ม)” เกษตรอินทรีย์สุดเริ่ด แห่งอีสาน

“แซตอม” เป็นภาษาของชนพื้นเมืองชาว กวย หรือ กูย ในจังหวัดสุรินทร์ แปลว่า นาที่ตั้งอยู่ริมห้วยบริเวณทุ่งแซตอม ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำลำชีอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำเกษตรกรรมในดินแดนแห่งนี้ คุณสุแทน สุขจิตร ลูกหลานชาวนาแห่งเมืองสุรินทร์ได้พลิกฟื้นผืนดินนี้ไปสู่วิถีเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด ที่นี่ปลูกเฉพาะข้าวเมืองสุรินทร์ที่หากินที่อื่นได้ยาก เช่น ข้าวผกาอำปึล หรือ ข้าวดอกมะขาม มีรสชาติเหมือนข้าวโพดข้าวเหนียว หุงแล้วพองตัวเหมือนลูกเดือย ข้าวมะลินิลสุรินทร์ หรือ มะลิดำ มีจุดเด่นที่สัมผัสนุ่ม หุงง่ายไม่ต่างจากข้าวหอมมะลิขาว ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ หรือ ข้าวมะลิแดง และ ข้าวเหนียวแดง ที่ได้รับรางวัลข้าวเหนียวอร่อย ประจำปี 2563 จากกรมการข้าว อีกทั้ง คุณสุแทนยังได้นำข้าวที่เหลือไปผลิตสุราแช่พื้นเมือง หรือสาโท ซึ่งสาโทของวิสาหกิจชุมชนแซตอม ออร์แกนิก ฟาร์ม สุรินทร์นี้มาทั้งในรูปแบบของสาโทโบราณ รสชาติหวานซ่าสดชื่นและฟิวชั่นสาโท ที่หยิบเอาเทคนิคการทำไวน์องุ่นมาประยุกต์เข้ากับการทำสาโทโบราณ นอกจากจะเก็บไว้ได้นานกว่าแล้วยังมีรสชาติหลากหลายที่ทำมาจากข้าวนานาสายพันธุ์ เช่น ระรื่น ทำจากข้าวเหนียวแดง จุติ ทำจากข้าวเหนียวดำ และ เดอะ แบล็ค จัสมิน ทำจากข้าวมะลินิลสุรินทร์ รวมถึงไวน์ผลไม้ที่หมักจากมะม่วงกะล่อนและกล้วย อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – Gourmet and cuisine #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Satom #แซตอม #ธุรกิจอีสาน #ธุรกิจ #Business #แซตอมออร์แกนิกฟาร์ม #เกษตรอินทรีย์ #วิสาหกิจชุมชนแซตอม

พาพี่น้องมาเบิ่ง เส้นทางอาณาจักร “เหล้าอีสาน” แต่ละจังหวัด

“ซอดแจ้ง (Sod Chaeng Spirit of Issan)” – อุบลราชธานี “ซอดแจ้ง” แปลว่า แสงแรกยามเช้า โรงกลั่นสุราชุมชนซอดแจ้ง เกิดจากแนวคิดในการช่วยเหลือเกษตรกรและชุมชนในท้องถิ่น อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เริ่มต้นในปี 2563 จากการพัฒนาจุลินทรีย์ธรรมชาติเพื่อการเกษตร (EM) โดยใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ และให้ผลผลิตที่มากกว่าการใช้เคมี จากนั้นได้พัฒนามาเป็นสุราชุมชนที่มีคุณภาพ พัฒนาสูตรการผลิตและนำวิธีการผลิตที่ทันสมัยมาใช้ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน สร้างมูลค่าและมาตรฐานให้แก่สุราชุมชนของไทย “เหล้าคูน” – ขอนแก่น คุณสวาท อุปฮาด ทำนาอินทรีย์แล้วไม่อยากเอาข้าวไปขายให้โรงสี จึงเกิดความคิดว่าเอามาทำเหล้าดีกว่า จากข้าวอินทรีย์มาเป็น “สุรา” ด้วยความที่ในวัยเด็กเขาเติบโตมากับการเห็นพ่อแม่ต้มสุรา พอจะซึมซับองค์ความรู้นั้นมาบ้าง นำมาสู่การเป็นการตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกิดโรงกลั่นสุราชุมชนขนาดเล็ก แต่การทำวิสาหกิจชุมชนและจดแจ้งอย่างถูกต้องไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งได้เริ่มจดทะเบียนเมื่อปี 2560 จนกระทั่งต้นปี 2562 ถึงได้ผลิตจริง “สาคู Saku” – นครราชสีมา สุราชุมชนจากเขาใหญ่ Saku ทดลองทำมาแล้ว 3 ปี แต่พึ่งได้รับอนุญาตเมื่อกันยายน 2565 ชื่อแบรนด์คือชื่อยายทวดของเจ้าของแบรนด์ เพราะเหล้าตัวนี้เป็นสูตรของยายที่เคยทำสมัยสาวๆ ยายเล่าให้ฟังว่าทำประมาณไหน แล้วก็เอามาผสมกับความรู้ในอินเตอร์เน็ตร่วมด้วย ได้ทดลองทำดื่มเองมาแล้วปรับปรุงมาเรื่อยๆ จนมองหาวิธีแปรรูปวัตถุดิบที่มีเยอะตามท้องถิ่น เมื่อก่อนเคยเอานมวัวมาหมักเหล้าแล้วกลั่นแต่รสชาติมันออกมาไม่ดี จึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นข้าวโพด และได้พัฒนาวิธีการผลิตเรื่อยๆ จนเกิดเป็นแบรนด์ Saku “ออนซอน Onson” – สกลนคร เริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 แต่เกือบเลิกทำเพราะไม่มีผู้สานต่อ เจ้าของคนปัจจุบันเล่าว่า “จริงๆ แล้วเจ้าของเดิมคือคุณลุงข้างบ้าน แกทำเหล้าออนซอนเป็นงานอดิเรก แต่จุดเปลี่ยนคือเจ้าของคนปัจจุบันกลับจากกรุงเทพ มาเปิดร้านอาหารที่สกลนคร จึงเริ่มเอาเหล้าตัวนี้มาทำอาหาร จนเมื่อถึงต้นปี 2565 คุณลุงจะเลิกทำจริงๆ ผมเลยบอกว่าถ้าจะเลิกเดี๋ยวผมมาช่วยทำต่อเอง จากนั้นก็เริ่มมาปรับสูตรและเริ่มรีแบรนด์ใหม่ เหล้าตัวดั้งเดิมเป็นอ้อยทั้งหมดเลย จากนั้นได้เริ่มทำเหล้าจากใช้ช่อดอกมะพร้าวด้วย” “อีสานรัม (ISSAN RUM)” – หนองคาย แบรนด์ที่เริ่มต้นจากคู่สามีชาวฝรั่งเศส-ภรรยาสาวไทย เริ่มทดลองทำเหล้าตั้งแต่การปลูกอ้อยเอง หมักเอง กลั่นเองตั้งแต่ปี 2556 โรงงานอยู่ที่หนองคาย ผลิตโดยใช้อ้อยในพื้นที่เป็นวัตถุดิบหลัก เหล้าตัวนี้เคยได้รางวัลเหรียญเงินจากเวทีระดับโลก IWSC (International Wine and Spirit Competition) ปี 2557 ในปีแรกที่เริ่มจำหน่าย และขณะนี้พวกเขาได้ขยายโรงงานไปผลิตรัมอีกตัวจากน้ำตาล Molas บนเกาะสมุยเป็นที่เรียบร้อย อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – ประชาชนเบียร์ ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน …

พาพี่น้องมาเบิ่ง เส้นทางอาณาจักร “เหล้าอีสาน” แต่ละจังหวัด อ่านเพิ่มเติม »

ชวนมาฮู้จัก ธุรกิจ “เหล้าอีสาน” สุดเริ่ด แต่ละจังหวัด

“ร้อยธานี เบฟเวอเรจ ป๊าดโธ” – ร้อยเอ็ด ความใฝ่ฝันของคุณยายในวัยเด็ก ที่ได้รับสูตรสาโทต้นตำรับถ่ายทอดมาถึงรุ่นที่ 3 สูตรการทำสาโท รวมเกือบ 100 ปี ได้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น คุณยายเล่าว่า ในสมัยก่อนมีการลงแขกดำนา เกี่ยวข้าว จะทำสาโทให้ญาติพี่น้องได้ชิมกัน ไม่ว่าจะเป็นงานบุญต่างๆ จนกลายเป็นวัฒนธรรมการดื่มสาโท ตามวิถีชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งวัตถุดิบหลักในการผลิตสาโทมาจากข้าวเหนียวในท้องถิ่นของตัวเอง สามารถนำมาแปรรูปเป็นสินค้าที่ถูกต้องตามกฏหมายได้ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของข้าวในท้องถิ่นได้ “ไร่ฟ้าเปลี่ยนสี เหล้าเตยหอม” – ชัยภูมิ เหล้าเตยหอม จากไร่ฟ้าเปลี่ยนสีเป็นสุราชุมชนของชัยภูมิ เหล้าตัวนี้ผลิตจากข้าวเหนียว โดยใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติจากป่าภูเขียว กลั่นผสมกับใบเตยหอม สาเหตุที่เริ่มทำเหล้าตัวนี้เนื่องจากคุณพ่อเป็นคนชอบดื่มสุรา ดื่มทุกวันไม่เคยเว้น ซึ่งเราไม่สามารถไปห้ามแกได้ ดังนั้นก็เลยมีความคิดว่าในเมื่อเราไม่สามารถห้ามให้ดื่มได้ ก็ผลิตเหล้าให้ดื่มซะเลย อย่างน้อยก็สามารถกำหนดวัตถุดิบสมุนไพร และกระบวนการผลิต “The Spirit of Chaiyaphum” – ชัยภูมิ แบรนด์นี้เริ่มผลิตตั้งแต่ปี 2564 จากฝีมือช่างนาฬิกาชาวฝรั่งเศสที่มาพบรักกับสาวชัยภูมิที่เกาะสมุย เมื่อตกลงปลงใจกันแล้วว่าจะมาอยู่ที่ไทย คุณกวางได้เสนอว่าตัวเองมีไร่อ้อยแต่ไม่รู้จะทำไรดี คุณณองหนุ่มฝรั่งเศสผู้ชื่นชอบในการจิบสุราอยู่แล้วจึงเกิดไอเดียในการทำเหล้ารัมจากอ้อย จากที่เป็นแค่นักดื่ม เขาได้ใช้เวลาสองปีในการศึกษาลองผิดลองถูกจนได้เหล้ารัมตัวนี้ขึ้นมา เหล้าตัวนี้ใช้เวลาหมักมากกว่าปกติ เพราะใช้ยีสต์จากธรรมชาติที่ติดมากับลำอ้อย “Thai​ Sato – Satom Organic Farm : Surin” – สุรินทร์ ข้าวที่เหลือจากการขาย คุณสุแทน สุขจิตรได้นำมาผลิตสุราแช่พื้นเมือง เรียกว่า สาโท เพื่อนำเสนอเสน่ห์ของข้าวพื้นเมือง ซึ่งสาโทของวิสาหกิจชุมชนแซตอม ออร์แกนิก ฟาร์ม นี้มาทั้งในรูปแบบของสาโทโบราณ รสชาติหวานซ่าสดชื่น และฟิวชั่นสาโท ที่หยิบเอาเทคนิคการทำไวน์องุ่นมาประยุกต์เข้ากับการทำสาโทโบราณ นอกจากจะเก็บไว้ได้นานกว่าแล้วยังมีรสชาติหลากหลายที่ทำมาจากข้าวนานาสายพันธุ์ เช่น ระรื่น ทำจากข้าวเหนียวแดง จุติ ทำจากข้าวเหนียวดำ และ เดอะ แบล็ค จัสมิน ทำจากข้าวมะลินิลสุรินทร์ รวมถึงไวน์ผลไม้ที่หมักจากมะม่วงกะล่อนและกล้วย “เหล้าอุ” – นครพนม เหล้าอุ เป็นเครื่องดื่มมึนเมาที่มีรสชาติหวานกลมกล่อม ในสมัยก่อนถือเป็นเครื่องดื่มที่ชาวผู้ไทยหรือภูไท ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม มักจะทำไว้เพื่อเลี้ยงสังสรรค์ในงานบุญหรือนำมาต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เครื่องดื่มชนิดนี้มีอีกชื่อหนึ่งที่คนทั่วไปอาจรู้จักในชื่อ ‘เหล้าโท’ หรือ ‘สาโท’ การหมักเหล้าอุ สืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปีในพื้นที่อำเภอเรณูนคร จึงไม่แปลกอะไรที่ภายหลังเหล้าอุจะกลายเป็นสินค้าขึ้นชื่อของอำเภอเรณู และเป็นอีกหนึ่งของฝากของดีประจำจังหวัดนครพนมอีกด้วย โดยพื้นฐานแล้วส่วนประกอบหลักของเหล้าอุคือข้าวเหนียวนั่นเอง อ้างอิงจาก: – เว็บไซต์ของบริษัท – ประชาชนเบียร์ ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #Business #ธุรกิจ …

ชวนมาฮู้จัก ธุรกิจ “เหล้าอีสาน” สุดเริ่ด แต่ละจังหวัด อ่านเพิ่มเติม »

ธุรกิจขายส่งวัสดุก่อสร้างในภาคอีสาน

ในปี 2564 ภาคอีสานมีรายได้รวมของธุรกิจขายส่งวัสดุก่อสร้าง อยู่ที่ 58,483 ล้านบาท และมีจำนวนบริษัท 567 แห่ง 5 อันดับจังหวัดที่มีรายได้รวมของธุรกิจขายส่งวัสดุก่อสร้างมากที่สุด อันดับที่ 1 ร้อยเอ็ด มีรายได้รวม 35,689 ล้านบาท อันดับที่ 2 อุบลราชธานี มีรายได้รวม 3,827 ล้านบาท อันดับที่ 3 ขอนแก่น มีรายได้รวม 2,897 ล้านบาท อันดับที่ 4 นครราชสีมา มีรายได้รวม 2,701 ล้านบาท อันดับที่ 5 สุรินทร์ มีรายได้รวม 2,118 ล้านบาท อ้างอิงจาก: – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์#รายได้รวมธุรกิจขายส่งวัสดุก่อสร้าง #ธุรกิจ #ธุรกิจขายส่งวัสดุก่อสร้าง #ธุรกิจอีสาน #Business#ขายส่งวัสดุก่อสร้าง

อีสานสุดปัง “บีโอไอ” เผย 3 เหตุผล ดันอีสาน เป็นเมืองหลวง BCG อาเซียน ไตรมาสแรกปีนี้มียอดขอรับส่งเสริมลงทุนกว่า 3,800 ล้านบาท

นโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม โดยการขับเคลื่อน “ระเบียงเศรษฐกิจ 4 ภาค” จะเป็นหนึ่งในกลไกที่จะช่วยกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน รวมทั้ง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) หรือ Northeastern Economic Corridor (NeEC) กำหนดพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา อุดรธานี หนองคาย และขอนแก่น ถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและโอกาสที่จะพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bioeconomy) แห่งใหม่ของประเทศและเป็นผู้นำในระดับอาเซียน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และมาตรการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่ที่สนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นการลงทุนในอุตสาหกรรม BCG ทำให้มียอดการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.- มี.ค.) ของปี 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 24 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนกว่า 3,800 ล้านบาท โดยการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร โดยมี 3 เหตุผลที่ภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ ได้แก่ 1.ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ภาคอีสานมีพื้นที่มากที่สุด คิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ หรือกว่า 160,000 ตารางกิโลเมตร และมีขนาดประชากรคิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ กว่า 22 ล้านคน ทั้งยังเป็นพื้นที่เพาะปลูกสูงถึง 43% ของประเทศ โดยมีการปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว และยางพารา ซึ่งวัสดุเหลือใช้จากพืชเหล่านี้ จะกลายเป็นวัตถุดิบล้ำค่าในการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ 2. มีความพร้อมพัฒนาต่อยอดงานวิจัย ภาคอีสานเป็นถิ่นกำเนิดของศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาที่มีขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และหน่วยงานวิจัยจำนวนมาก 3.ตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ ภาคอีสานอยู่ในจุดที่มีความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน สามารถเป็นประตูเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่มีศักยภาพการเติบโตสูงได้อย่างดี จุดแข็งและสินทรัพย์เหล่านี้ ทำให้ภาคอีสานจะเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญในการดึงดูดการลงทุน และมีบทบาทช่วยขับเคลื่อนประเทศไปสู่เศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปอุตสาหกรรมชีวภาพ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมในอนาคต รวมถึงบทบาทของภาคเอกชนในการร่วมขับเคลื่อนการลงทุน “ด้วยศักยภาพอันโดดเด่นของพื้นที่ NeEC ผนวกกับสิทธิประโยชน์บีโอไอที่มุ่งเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย และกระตุ้นให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม” โดยบีโอไอมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์ ซึ่งจะมีการเชื่อมโยงตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำโดยเฉพาะวัตถุดิบการเกษตรท้องถิ่น ไปสู่ผลิตภัณฑ์ปลายน้ำมูลค่าสูง จะส่งผลให้ NeEC สามารถสร้างฐานการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพแบบครบวงจร หรือไบโอคอมเพล็กซ์ และก้าวไปสู่การเป็นเมืองหลวง BCG (Bio-Circular-Green Industry) ของภูมิภาคอาเซียนได้ในที่สุด อ้างอิงจาก: https://www.bangkokbiznews.com/business/1074037 ติดตาม …

อีสานสุดปัง “บีโอไอ” เผย 3 เหตุผล ดันอีสาน เป็นเมืองหลวง BCG อาเซียน ไตรมาสแรกปีนี้มียอดขอรับส่งเสริมลงทุนกว่า 3,800 ล้านบาท อ่านเพิ่มเติม »

สิพาเบิ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs เดือนพฤษภาคม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ที่ 52.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า -1.1 แนวโน้มธุรกิจ SME ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือกลุ่มไหน? ภาคธุรกิจโดยเฉพาะการค้า และบริการมีกำลังซื้อที่ลดลง เนื่องจากก่อนหน้ามีการขยายตัวของกำลังชื่อที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มแรงงานที่กลับภูมิภาคในช่วงเทศกาล โดยเฉพาะมาจากกรุงเทพฯ และตะวันออก ทำให้ปัจจุบันยอดขายปรับตัวลดลงโดยเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตามภาคการเกษตรและบางธุรกิจปรับตัวดีขึ้น เช่น การซ่อมบำรุงยานพาหนะขยายตัวขึ้น จากการเข้าสู่ช่วงเพาะปลูกนาปี ดัชนีความเชื่อมั่นฯ SMEs ภาคธุรกิจ เป็นอย่างไร? ภาคการค้าและการบริการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ขยายตัวจากกำลังซื้อและการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงสงกรานต์ ภาคการผลิต 51.9 ลดลง -1.0 จากเดือนเมษายน ภาคการผลิตชะลอตัวลง โดยเฉพาะกับกลุ่มผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่เผชิญกับราคาทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มเนื้อสัตว์สด ผักและผลไม้ ในขณะที่การผลิตไม้และเฟอร์นิเจอร์จากคำสั่งชื้อของคู่ค้า โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคการค้า 50.1 ลดลง -3.9 จากเดือนเมษายน ภาคการค้าปรับตัวลดลงทั้งการค้าปลีกและค้าส่งจากกำลังซื้อที่ลดลง เนื่องจากการสิ้นสุดเทศกาลที่ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอย และการเดินทาง ซึ่งปรับลดลงในทุกภูมิภาค ภาคการบริการ 56.2 ลดลง -2.2 จากเดือนเมษายน ภาคการบริการที่ได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยวปรับตัวลดลงในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบทางลบจากราคาต้นทุนที่สูงขึ้น แต่กลุ่มบริการอื่น ๆ ยังมีคำสั่งซื้อต่อเนื่อง เช่น การก่อสร้าง หรือกลุ่มบริการกีฬา ภาคการเกษตร 51.1 ลดลง -0.5 จากเดือนเมษายน ธุรกิจการเกษตรในกลุ่มของการค้าขายสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรมียอดขายที่ลดลง แต่ในหลายพื้นที่กิจกรรมการเพาะปลูกปรับตัวดีขึ้น เช่น ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเข้าถึงช่วงเพาะปลูกข้าวนาปี หมายเหตุ: ดัชนี SMEs มีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และมีค่าฐานเท่ากับ 50 ดัชนี > 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ดีขึ้น” จากเดือนก่อนหน้า ดัชนี = 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ทรงตัว” จากเดือนก่อนหน้า ดัชนี < 50 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ “ลดลง” จากเดือนก่อนหน้า อ้างอิงจาก: – สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #SMEs #ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการSMEs #ธุรกิจ #ดัชนีความเชื่อมั่น #ธุรกิจอีสาน

Scroll to Top