ผลไม้ GI
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) คือ เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว GI จึงเปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ของท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า . ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย คือ ตราของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ออกให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อรับรองว่าเป็นสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์ที่ได้รับขึ้นทะเบียนไว้โดยต้องปฏิบัติตามคู่มือและแผนการควบคุมนั้นแล้ว . . นครราชสีมา – มะขามเทศเพชรโนนไทย – ทุเรียนปากช่องเขาใหญ่ – น้อยหน่าปากช่องเขาใหญ่ . กาฬสินธุ์ – พุทรานมบ้านโพน . นครพนม – สับปะรดท่าอุเทน – ลิ้นจี่นครพนม . สกลนคร – หมากเม่าสกลนคร . ศรีสะเกษ – ทุเรียนภูเขาไฟ . มหาสารคาม – มันแกวบรบือ . บึงกาฬ – สับปะรดบึงกาฬ . หนองคาย – สับปะรดศรีเชียงใหม่ . ชัยภูมิ – ส้มโอทองดีบ้านแท่น – กล้วยหอมทองหนองบัวแดง – มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองบ้านโหล่น . . หมายเหตุ: ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 . . อ้างอิงจาก: – กรมทรัพย์สินทางปัญญา ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook LINE Official : https://lin.ee/yIS5bdP #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ISAN #อีสานอินไซต์ #Business #Economy #ธุรกิจ #เศรษฐกิจ#ธุรกิจอีสาน #เศรษฐกิจอีสาน #GI ผลไม้GI #สินค้าGI