Siree Jamsuwan

ฮาคูโฮโดเปิดพฤติกรรมคนไทย  พบคนอีสานใช้จ่ายหลายที่สุด !

ฮาคูโฮโดเปิดพฤติกรรมคนไทย  พบคนอีสานใช้จ่ายหลายที่สุด !   สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ที่พบว่า คนไทยในปี 2021 มีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่สวิงไปมาตลอดทั้งปีโดยแบ่งเป็น ช่วงต้นปี กลางปี และท้ายปี    ความสุขของคนไทย สวิงเหมือนการใช้จ่าย? คุณชุติมา ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เผยว่า คนไทยเป็นชาติที่มีความสุขค่อนข้างสูง คะแนนเต็ม 100 คะแนนคนไทยไม่เคยมีคะแนนความสุขต่ำกว่า 60 อย่างไรก็ดี ในปี 2021 ฮาคูโฮโดพบว่า ช่วงที่คนไทยมีความสุขต่ำที่สุดก็คือเดือนตุลาคม โดยได้คะแนน 59 เต็ม 100 เนื่องจากเป็นเดือนที่เด็ก ๆ เปิดเรียน ขณะที่พ่อแม่ยังต้อง Work From Home พบว่า ครอบครัวจะเครียด โดยเฉพาะคนเป็นแม่ เพราะต้องทำงาน ดูแลลูก และมีค่าใช้จ่ายหลายอย่าง เช่น ค่าเทอม จึงพบว่ามีพฤติกรรมการช้อปแก้เครียดในเดือนดังกล่าว ต่อเนื่องยาวนานถึงปีใหม่   ทั้งนี้ การใช้จ่ายดังกล่าวมีทั้ง Physical และ Digital แต่จุดที่แตกต่างกันระหว่างสองโลกในมุมของผู้บริโภคก็คือ การใช้จ่ายแบบ Digital หลาย ๆ ครั้งเป็นการถูกบังคับให้ขึ้นไปใช้จ่ายบนนั้น เนื่องจากการปิดเมืองทำให้ไม่สามารถเดินทางไปซื้อได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ดี ผลวิจัยของฮาคูโฮโดพบว่า ผู้บริโภคยังมีความต้องการซื้อสินค้าจากโลก Physical อยู่ (เช่น ความรู้สึกอยากออกไปช้อปนอกบ้าน อยากสัมผัสโลกภายนอกแล้ว เป็นต้น) และนั่นทำให้การใช้จ่ายในช่วงปลายปีเกิดขึ้นอย่างคึกคักดังที่ปรากฏ   ทั้งนี้ ฮาคูโฮโดคาดการณ์ว่ากลุ่มคนที่จะเป็นกำลังสำคัญในการใช้จ่ายของปี 2022 ในประเทศไทยคือกลุ่มอายุ  40 – 49 ปี เพราะว่าคนกลุ่มนี้คือคนหารายได้หลักของครอบครัว และไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรก็ตาม คนกลุ่มนี้ก็ยังต้องใช้จ่ายเพื่อดูแลครอบครัว ดูแลลูก – พ่อแม่, ตัวเอง และจากสภาพสังคมที่ไม่แน่นอนกำลังเป็นแรงผลักดันที่ทำให้คนไทยปรับตัว ทั้งพฤติกรรมและความคิดในการใช้ชีวิตอยู่นั้น แบรนด์ที่สามารถสร้างสรรค์ทางเลือก หรือทางออกใหม่ ๆ ให้กับผู้บริโภคและสังคมได้ ก็จะได้รับความสนใจและได้ความชื่นชมเป็นอย่างมากด้วยนั่นเอง   อ้างอิงจาก :  brandbuffet Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND)   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ฮาคูโฮโด #Hakuhodo #พฤติกรรมคนไทย #การใช้จ่าย 

6 โรงไฟฟ้าที่ผลิตจากน้ำในภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ? 

6 โรงไฟฟ้าที่ผลิตจากน้ำในภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ?    อ้างอิงจาก :  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #โรงไฟฟ้าอีสาน #เขื่อนอีสาน #ขอนแก่น #กาฬสินธุ์ #อุบลราชธานี #สกลนคร #นครราชสีมา #ชัยภูมิ

พามาเบิ่ง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2565 

พามาเบิ่ง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2565    สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดสัมนาใหญ่ Year End ประจำปี แถลงบทสรุปภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2565 และแนวโน้มปี 2566 “Go Together Better Thailand เกษตรเข้มแข็งประเทศไทยแข็งแกร่ง” โดยสรุปได้ว่าภาคเกษตรเป็นภาคการผลิตที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเป็นแหล่งวัตถุดิบหรือต้นน้ำของอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงประชากรในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้กับประเทศ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับวิกฤตในอนาคตอย่างรอบด้าน ทั้งการนำเทคดนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรมด้านการเกษตรมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตและทดแทนแรงงานภาคเกษตรที่มีแนวโน้มลดลง   แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2566  คาดว่า จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0 – 3.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่มีเพียงพอต่อการเกษตร และการดำเนินนโยบาย มาตรการของภาครัฐด้านการเกษตรในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 ยังมีปัจจัยเสี่ยงและสถานการณ์สำคัญที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีความแปรปรวนมากขึ้น ราคาปัจจัยการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูง และการระบาดของโรคพืชและสัตว์น้ำ  ทั้งในและต่างประเทศ เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ รวมถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่อาจกลับมาระบาดเป็นวงกว้างอีกครั้ง ซึ่งส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจโลก   อ้างอิงจาก:  วารสารเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร #ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร2565

10 จังหวัด ที่มีผลผลิตมันสำปะหลังหลายที่สุดในอีสาน 

10 จังหวัด ที่มีผลผลิตมันสำปะหลังหลายที่สุดในอีสาน    อ้างอิงจาก:  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #มันสำปะหลัง #นครราชสีมา #ชัยภูมิ #อุบลราชธานี #อุดรธานี #บุรีรัมย์ #กาฬสินธุ์ #เลย #ขอนแก่น #ศรีสะเกษ #มหาสารคาม

อึ้งหลาย!  องุ่นเมืองหนาว ปลูกที่อุบลฯ  ได้ผลผลิตดีไม่แพ้ต่างแดน

อึ้งหลาย!  องุ่นเมืองหนาว ปลูกที่อุบลฯ  ได้ผลผลิตดีไม่แพ้ต่างแดน   สุดยอดดินไทยปลูกได้ทุกอย่าง องุ่นชื่อดังจากประเทศเกาหลีใต้สามารถปลูกได้ในพื้นที่แห้งแล้งของภาคอีสาน ที่จังหวัดอุบลราชธานี ผลผลิตและรสชาติที่ได้แทบไม่ต่างจากผลผลิตองุ่นที่ปลูกจากเกาหลีใต้ ที่สำคัญใช้ระยะเวลาแค่ 70-90 วันก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว โดยสวนองุ่นดังกล่าวตั้งอยู่ที่บ้านหนองกินเพลใต้ ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี น.ส.เด่นภา ถาวรสาย เจ้าของบ้านสวนองุ่นฮัน ลี เล่าถึงที่มาของการมาทำสวนว่า ตนและสามีเป็นเจ้าของสวนผลไม้อยู่ที่ประเทศเกาหลี จึงลองนำพันธุ์องุ่นไชน์มัสแคต และองุ่นพันธุ์มายฮาร์ต (องุ่นรูปหัวใจ) โดยใช้เทคโนโลยีมาต่อยอดปลูกที่บ้านเกิด เพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง ในช่วงแรกมีความกังวล เพราะ จ.อุบลราชธานีอยู่ในดินแดนแห้งแล้งของอีสาน เดิมทำสวนยางพารา ปลูกข้าว แต่เมื่อลองทำปรากฏให้ผลเป็นที่น่าพอใจยิ่ง เพราะองุ่นที่นำมาปลูกได้ผ่านวิกฤตทั้งพายุโนรู ที่ทำให้มีน้ำมาก ทั้งที่เป็นช่วงต้องให้อดอาหารและน้ำต้องไม่มากจนเกินไป   ผลผลิตชุดแรกเก็บได้มากถึง 1,600 พวง เฉลี่ยขณะนี้น้ำหนักต่อพวงกว่า 4 ขีด เพราะให้ผลโตสมวัย ส่วนความหวาน หอม ก็ไม่น้อยหน้าจากต้นตำรับ ซึ่งเป็นที่นิยม ขณะนี้เหลือเพียงเสียงตอบรับจากผู้บริโภคเรื่องความกรอบเท่านั้น เพราะผลองุ่นจะให้ผลโตเต็มที่ เก็บขายได้จริงๆ ในราวเดือนมีนาคมถึงเมษายน ขณะนี้ก็อยู่ในช่วงให้ลูกค้าจองไว้ก่อน โดยองุ่นไซส์พรีเมียมหนักพวงละ 600 กรัมขึ้นไป กิโลกรัมละ 750 บาท ซึ่งมียอดจองแล้วกว่า 70 กิโลกรัม ที่เหลือยังเปิดจองไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด   โดยปีนี้คาดจะมีรายได้จากการขายองุ่นประมาณ 400,000 บาทเศษ และตั้งเป้าเก็บผลผลิตในรอบต่อไปในราวเดือนตุลาคมที่จะถึง ซึ่งสวนองุ่นของตนจะให้ผลผลิตได้มากถึง 8,000-9,000 พวง ซึ่งจะมีรายได้จากการเก็บผลผลิตขายกว่า 2 ล้านบาท โดยทั้งหมดเป็นราคาขายที่หน้าสวน จุดเด่นขององุ่นจากเกาหลีใต้ที่นำมาปลูก คือให้ผลผลิตต่อรอบเร็วกว่าในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ต้องใช้เวลาถึง 120 วันถึงจะเก็บผลผลิตได้ แต่ดินปลูกที่ประเทศไทยใช้เวลาเพียง 70-90 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตที่โตเต็มที่ออกขายได้แล้ว ขณะนี้กำลังคิดขยายต้นพันธุ์จำหน่ายให้แก่ผู้สนใจ โดยสามารถมาเรียนรู้วิธีการดูแล และการปลูกจากทางสวนได้ แต่ต้องเข้าใจว่าโรงเรือนใช้ปลูกอาจมีราคาสูงกว่าปกติ เพราะวัสดุใช้ทำโรงเรือนนำเข้ามาจากต่างประเทศ เนื่องจากในประเทศไทยไม่มีขาย รวมทั้งผ้ายางที่ใช้คลุมก็เป็นแบบสะท้อนความร้อน ไม่ได้รับแดดและความร้อนเข้ามาในโรงเรือนที่ใช้ปลูกทั้งหมด ทั้งยังติดตั้งพัดลมระบายอากาศในช่วงที่อากาศร้อนจัดหน้าร้อนด้วย เพราะประเทศไทยมีอากาศร้อนกว่าที่เกาหลีใต้มาก สำหรับความมั่นคงแข็งแรงของโรงเรือนไม่ต้องห่วง มีความคงทน สามารถรองรับลมพายุโนรูเมื่อปีที่ผ่านมาแล้ว   ทั้งนี้ การปลูกองุ่นแค่เพียงปีเดียวเก็บผลผลิตออกขายได้แล้ว ต้องใส่ใจเรื่องการเตรียมแปลงปลูก เพราะองุ่นจะเจริญเติบโตเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับการเตรียมดินเป็นสำคัญ และควรปลูกแบบอินทรีย์ใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ย จะให้ผลดีที่สุด ส่วนสรรพคุณองุ่นมีมากมาย แต่ที่เห็นๆ คือ เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอด ม้าม และไต บำรุงโลหิต   อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์   #ISANInsightAndOutlook #อุบลราชธานี #วารินชำราบ #องุ่นไชน์มัสแคต #องุ่นพันธุ์มายฮาร์ต  

ผลสำรวจพฤติกรรม การใช้จ่ายของคนไทย Valentine’s Day เดือนแห่งความฮัก

ผลสำรวจพฤติกรรม การใช้จ่ายของคนไทย Valentine’s Day เดือนแห่งความฮัก   ม.หอการค้าไทย เผยผลโพลวาเลนไทน์ ปี 66 คึกคัก คาดเม็ดเงินสะพัดเกือบ 2.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.5% จากปี 65 โดยมูลค่าการใช้จ่ายต่อคนเฉลี่ย 1,848 บาท สูงสุดในรอบ 4 ปีนับตั้งแต่ปี 63 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายช่วงวาเลนไทน์ ปี 2566 โดยคาดว่าวาเลนไทน์ปีนี้ จะมีเม็ดเงินสะพัด 2,389 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 15.5% โดยบรรยากาศคึกคักสุดในรอบ 3 ปีนับตั้งแต่ปี 2563 ที่ประเทศไทยเริ่มมีการระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อถามถึงเหตุผลในการใช้จ่ายช่วงวาเลนไทน์ปีนี้ เทียบกับปี 2565 กลุ่มตัวอย่างที่ตอบว่ามีการใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น เพราะสินค้า-บริการแพงขึ้น รองลงมาคือ ค่าครองชีพสูงขึ้น และความต้องการสินค้ามีมากขึ้น ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่ตอบว่ามีการใช้จ่ายลดลง เพราะรายได้ลดน้อยลง รองลงมาคือ ประหยัดการใช้จ่าย และสินค้าแพงขึ้น เศรษฐกิจไม่ดี นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ผลสำรวจพบว่า บรรยากาศการฉลองวาเลนไทน์ปีนี้ถือว่าคึกคัก แต่อาจจะไม่คึกคักเต็มที่ เนื่องจากวันที่ 14 ก.พ.ปีนี้ ตรงกับวันอังคาร ซึ่งเป็นวันธรรมดา ไม่ใช่ช่วงวันหยุด โดยภาพรวมบรรยากาศการใช้จ่ายช่วงวาเลนไทน์ปีนี้ คาดว่าเม็ดเงินจะสะพัดมากกว่าในปีที่ผ่านมา มูลค่าการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนสูงสุดในรอบ 4 ปี อย่างไรก็ดี ยังไม่รวมเม็ดเงินที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเข้ามาฉลองวาเลนไทน์ในประเทศไทย โดยวาเลนไทน์ปีนี้ ถือว่าคึกคักในระดับหนึ่ง และมากกว่าปี 2565 แต่คึกคักได้ไม่เต็มที่ เพราะตรงกับวันอังคาร ทำให้โดนกลบไปด้วยบรรยากาศของวันธรรมดาที่เป็นต้นสัปดาห์ แต่เราคาดว่าวาเลนไทน์ปีหน้า (2567) จะคึกคักมากกว่านี้ เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่ดีขึ้น   อ้างอิงจาก: สยามรัฐออนไลน์ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สถิติคู่สมรส  #Valentine #คู่สมรส #คู่รัก 

10 จังหวัดแห่งความฮัก จำนวนคู่สมรสกับต่างชาติหลายที่สุด

10 จังหวัดแห่งความฮัก จำนวนคู่สมรสกับต่างชาติหลายที่สุด   อ้างอิงจาก: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สถิติคู่สมรส  #Valentine #คู่สมรส #คู่รัก

Valentine’s day พามาเบิ่งสถิติคู่สมรสปี 2564 

Valentine’s day พามาเบิ่งสถิติคู่สมรสปี 2564    ในเทศกาลวันแห่งความรัก ที่กำลังจะมาถึง ISAN Insight พามาเบิ่งสถิติคู่สมรสปี 2564 โดยมี 10 อันดับจังหวัดที่มีสถิติการแต่งงานสูงสุด นครราชสีมา    9,316 คู่ ขอนแก่น         6,238 คู่ อุบลราชธานี   5,990 คู่ อุดรธานี          4,818 คู่ ศรีสะเกษ        4,260 คู่ บุรีรัมย์            4,186 คู่ ร้อยเอ็ด           3,796 คู่  สกลนคร         3,719 คู่ สุรินทร์            3,612 คู่ ชัยภูมิ            3,286 คู่   อ้างอิงจาก: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #สถิติคู่สมรส  #Valentine #คู่สมรส #คู่รัก   

ฮ่วมมือ ! 🚋🚉 การท่าเรือแห่งประเทศไทย เร่งสร้าง 2 ท่าเรือบก ‘ขอนแก่น-โคราช’

ฮ่วมมือ ! 🚋🚉 การท่าเรือแห่งประเทศไทย เร่งสร้าง 2 ท่าเรือบก ‘ขอนแก่น-โคราช’ กทท. เปิดโมเดลสร้างท่าเรือบก นำร่องพื้นที่ขอนแก่น-โคราช 1.4 พันล้านบาท เล็งศึกษาดึงเอกชนร่วมทุน PPP-จัดตั้งบริษัท คาดได้ข้อสรุปปลายปีนี้ ลุ้นแผนสร้างท่าเรือบกฉะเชิงเทรา 1 พันไร่ในอนาคต การท่าเรือแห่งประเทศ ไทย (กทท.) เร่งพัฒนา โครงการท่าเรือบก (Dry Port) หนึ่งในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในอนาคต นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยความคืบหน้าดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ว่า ขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการลงทุนที่จะนำร่องพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จ.ขอนแก่น และ จ.นครราชสีมา คาดว่า ผลการศึกษารูปแบบการลงทุนจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2566 จากนั้นจะนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กทท. กระทรวงคมนาคม และ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบผลการศึกษา ก่อนจะดำเนินการตามขั้นตอนตามผลการศึกษา หาก PPP ต้องจัดทำการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน (เวนคืน) จัดหางบประมาณดำเนินการ และเปิดประกวดราคาต่อไป นายเกรียงไกร กล่าวว่า สำหรับท่าเรือบก จ.ขอนแก่น ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านโนนพยอม ต.ม่วงหวาน อ.นํ้าพอง จ.ขอนแก่น ใช้พื้นที่ 1,500-2,000 ไร่ ส่วน จ.นครราชสีมา อยู่ระหว่างการพิจารณาพื้นที่ที่มีความเหมาะสม เพราะผลการศึกษาในอดีต ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ที่ ต.กุดจิก อ. สูงเนิน จ.นครราชสีมา แต่ปัจจุบันพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น จึงพิจารณาพื้นที่ใหม่ที่มีความเหมาะสม และมีศักยภาพมากกว่าพื้นที่เดิม เพราะต้องพิจารณาพื้นที่โดยรอบให้ครอบคลุมกับการขนส่งทางถนนและทางราง ส่วนโครงการท่าเรือบก จ.นครราชสีมา มีการเสนอทำเลที่ตั้งใหม่ คือ บริเวณสถานีรถไฟบ้านกระโดน ต.หนองไข่นํ้า อ.เมืองนครราชสีมา ซึ่งติดกับสถานีรถไฟและถนน รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยประสบปัญหานํ้าท่วมด้วย แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า จะใช้พื้นที่เดิมหรือพื้นที่ใหม่ โดยต้องพิจารณาให้เหมาะสม เนื่องจาก จ.นครราชสีมา เป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนล่าง มีการขนส่งสินค้าเกษตรจำนวนมาก อาทิ แป้ง มันสำปะหลัง และข้าว ซึ่งการผลิตจะสามารถนำส่งสินค้าได้ทันที ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจมหาศาล โดยคาดว่าภายในปี 2566 จะได้ข้อสรุปตำแหน่งที่ตั้งของท่าเรือบก จ.นครราชสีมา ส่วนขนาดพื้นที่ จ.นครราชสีมา จะใช้พื้นที่น้อยกว่า จ.ขอนแก่น เนื่องจาก จ. นครราชสีมา มีโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนอาจมีราคาสูง การดำเนินการท่าเรือบก ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น และ …

ฮ่วมมือ ! 🚋🚉 การท่าเรือแห่งประเทศไทย เร่งสร้าง 2 ท่าเรือบก ‘ขอนแก่น-โคราช’ อ่านเพิ่มเติม »

6 จังหวัด 🛩📦 การค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ในปี 2565 เป็นจั้งใด๋ ?

6 จังหวัด 🛩📦 การค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ในปี 2565 เป็นจั้งใด๋ ? ในเดือน มกราคม – ธันวาคม 2565 ภาคอีสานมีมูลค่าการค้าชายแดนกับ สปป.ลาว 260,081 ล้านบาท มีเปอร์เซ็นต์มากกว่าเป้าส่งออกถึง 21.08% โดยมีการส่งออกมูลค่ากว่า 156,738 ล้านบาท มีเปอร์เซ็นต์มากกว่าเป้าส่งออกถึง 25.64% และมีมูลค่าการนำเข้ากว่า 103,343 ล้านบาท มีเปอร์เซ็นต์มากกว่าเป้าส่งออกถึง 14.77% ด่านศุลกากรสำคัญ (ส่งออก/นำเข้า, หน่วย: ล้านบาท) ด่านมุกดาหาร (127,215 / 123,772), ด่านหนองคาย (74,885 / 26,415), ด่านนครพนม (60,412 / 30,016) และด่านเชียงของ (48,024 / 18,140) การส่งออกสินค้าจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปยัง สปป. ลาว โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็น เช่น น้ํามันดีเซล น้ํามันสำเร็จรูปอื่น ๆ และทองคํายังไม่ได้ขึ้นรูป เป็นต้น สินค้านำเข้าเป็น เชื้อเพลิงอื่นๆ ผักและของปรุงแต่งจากผัก และเครื่องรับ-ส่งภาพและเสียง เป็นต้น อ้างอิงจาก: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #การค้าชายแดน #หนองคาย #มุกดาหาร #อุบลราชธานี #เลย #นครพนม #บึงกาฬ #การค้าชายแดนไทยลาว #ลาว

Scroll to Top