Siree Jamsuwan

พามาเบิ่ง 4 จังหวัดภาคอีสาน ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 

พามาเบิ่ง 4 จังหวัดภาคอีสาน ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ    ภาครัฐประกาศแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษรูปแบบใหม่ภายใต้ชื่อเรียกว่า “ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ” โดยแบ่งไปตามพื้นต่าง ๆ และใช้จุดแข็งของแต่ละพื้นที่มาเป็นจุดขาย พ่วงด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาต่อยอด โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเน้น Bio Economy ภาคเหนือเน้นเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์  ภาคกลาง-ตะวันตกมุ่งพัฒนาไปสู่สินค้าเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง และอุตสาหกรรมสินค้าไฮเทค และภาคใต้ก้าวไปสู่การเป็นประตูเศรษฐกิจการค้า   “ระเบียงเศรษฐกิจ” พิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : NeEC ต่อกันด้วยระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย โดยมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็น “ศูนย์กลางอุตสาหกรรมหมุนเวียน-Bio Economy และการเกษตรอย่างยั่งยืน”    เนื่องจากมีพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่และเป็นแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอ้อย มันสำปะหลัง และข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวหอมมะลิ ที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดและมีคุณภาพดีที่สุดของประเทศ    ดังนั้นเมื่อนำไปผสมผสานเข้ากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็จะช่วยทำให้เกิดการยกระดับการทำเกษตรกรรมเพื่อให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมากขึ้นแต่ใช้ต้นทุนเท่าเดิมหรือลดลง ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มโอกาสส่งขายไปยังประเทศขนาดใหญ่และประเทศเพื่อนบ้านได้มากยิ่งขึ้น อันนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่มากขึ้น   นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ทั้งประเทศลาว เวียดนาม และจีน   อีกทั้ง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) คือ พื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดน เป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงเพื่อนบ้านเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งแก้ปัญหาความมั่นคง โดยพื้นที่ SEZ ถูกจัดตั้งขึ้นในพื้นที่จังหวัดตามชายแดนติดประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา มาเลเซีย โดยตั้งอยู่ใน 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย กาญจนบุรี นราธิวาส หนองคาย นครพนม ตราด สงขลา ตาก สระแก้ว และมุกดาหาร   สำหรับยอดการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.- มี.ค.) ของปี 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 24 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนกว่า 3,800 ล้านบาท โดยการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหารอีกด้วย   อ้างอิงจาก:  สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรุงเทพธุรกิจ, moneybuffalo, workpointtoday   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/ Website : https://isaninsight.kku.ac.th Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook   #ISANInsightAndOutlook …

พามาเบิ่ง 4 จังหวัดภาคอีสาน ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ  อ่านเพิ่มเติม »

ฮ่วมมือ ! การท่าเรือแห่งประเทศไทย เร่งสร้าง 2 ท่าเรือบก ‘ขอนแก่น-โคราช’ 

ฮ่วมมือ ! การท่าเรือแห่งประเทศไทย เร่งสร้าง 2 ท่าเรือบก ‘ขอนแก่น-โคราช’    กทท. เปิดโมเดลสร้างท่าเรือบก นำร่องพื้นที่ขอนแก่น-โคราช 1.4 พันล้านบาท เล็งศึกษาดึงเอกชนร่วมทุน PPP-จัดตั้งบริษัท คาดได้ข้อสรุปปลายปีนี้ ลุ้นแผนสร้างท่าเรือบกฉะเชิงเทรา 1 พันไร่ในอนาคต การท่าเรือแห่งประเทศ ไทย (กทท.) เร่งพัฒนา โครงการท่าเรือบก (Dry Port) หนึ่งในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในอนาคต   นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยความคืบหน้าดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ว่า ขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการลงทุนที่จะนำร่องพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จ.ขอนแก่น และ จ.นครราชสีมา คาดว่า ผลการศึกษารูปแบบการลงทุนจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2566 จากนั้นจะนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กทท. กระทรวงคมนาคม และ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบผลการศึกษา ก่อนจะดำเนินการตามขั้นตอนตามผลการศึกษา หาก PPP ต้องจัดทำการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน (เวนคืน) จัดหางบประมาณดำเนินการ และเปิดประกวดราคาต่อไป   นายเกรียงไกร กล่าวว่า สำหรับท่าเรือบก จ.ขอนแก่น ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านโนนพยอม ต.ม่วงหวาน อ.นํ้าพอง จ.ขอนแก่น ใช้พื้นที่ 1,500-2,000 ไร่ ส่วน จ.นครราชสีมา อยู่ระหว่างการพิจารณาพื้นที่ที่มีความเหมาะสม เพราะผลการศึกษาในอดีต ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ที่ ต.กุดจิก อ. สูงเนิน จ.นครราชสีมา แต่ปัจจุบันพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น จึงพิจารณาพื้นที่ใหม่ที่มีความเหมาะสม และมีศักยภาพมากกว่าพื้นที่เดิม เพราะต้องพิจารณาพื้นที่โดยรอบให้ครอบคลุมกับการขนส่งทางถนนและทางราง   ส่วนโครงการท่าเรือบก จ.นครราชสีมา มีการเสนอทำเลที่ตั้งใหม่ คือ บริเวณสถานีรถไฟบ้านกระโดน ต.กุดจิก อ.เมืองนครราชสีมา ซึ่งติดกับสถานีรถไฟและถนน รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยประสบปัญหานํ้าท่วมด้วย แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า จะใช้พื้นที่เดิมหรือพื้นที่ใหม่ โดยต้องพิจารณาให้เหมาะสม เนื่องจาก จ.นครราชสีมา เป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนล่าง มีการขนส่งสินค้าเกษตรจำนวนมาก อาทิ แป้ง มันสำปะหลัง และข้าว ซึ่งการผลิตจะสามารถนำส่งสินค้าได้ทันที ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจมหาศาล โดยคาดว่าภายในปี 2566 จะได้ข้อสรุปตำแหน่งที่ตั้งของท่าเรือบก จ.นครราชสีมา ส่วนขนาดพื้นที่ จ.นครราชสีมา จะใช้พื้นที่น้อยกว่า จ.ขอนแก่น เนื่องจาก จ. นครราชสีมา มีโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนอาจมีราคาสูง   …

ฮ่วมมือ ! การท่าเรือแห่งประเทศไทย เร่งสร้าง 2 ท่าเรือบก ‘ขอนแก่น-โคราช’  อ่านเพิ่มเติม »

คึกคักหลาย ! งานแห่เทียนอุบลฯ  นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาชม  คาดเงินสะพัดกว่า 300 ล้าน

คึกคักหลาย ! งานแห่เทียนอุบลฯ  นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาชม  คาดเงินสะพัดกว่า 300 ล้าน   งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี ปีนี้ถือว่าคึกคักมาก ด้วยช่วงวันหยุดยาว 6 วัน ทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาเที่ยวชมต้นเทียนที่มาตั้งแสดงที่สวนสาธารณะทุ่งศรีเมือง คาดตลอดช่วงการจัดงานน่าจะมีเงินสะพัดในพื้นที่มากกว่า 300 ล้านบาท   เมื่อวันที่ 1 ส.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2566 “122 ปี ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา” เป็นไปอย่างคึกคักทั่วทั้งพื้นที่เทศบาลนครอุบลราชธานี โดยนักท่องเที่ยวต่างเข้าไปเยี่ยมชมการเตรียมเคลื่อนขบวนต้นเทียนออกจากวัด เพื่อมารวมเทียนในพื้นที่จัดงานรอบสวนสาธารณะทุ่งศรีเมือง ในช่วงค่ำวันนี้ (1 ส.ค.) เพื่อให้คณะกรรมการตัดสินการประกวด โดยต้นเทียนหลายอำเภอที่อยู่รอบนอก พื้นที่ห่างไกล ได้เคลื่อนมารวมกันที่วัดในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานีหลายวัด เพื่อให้เคลื่อนไปตั้งโชว์ในงานได้ง่าย เช่น วัดเลียบ มีทั้งต้นเทียนของวัดเอง และต้นเทียนของ อ.เขื่องใน อ.นาเยีย มาจอดรอ และเก็บรายละเอียดของต้นเทียน ก่อนเคลื่อนเข้าสู่บริเวณงาน   สำหรับการประกวดเทียนพรรษาประจำปี 2566 แบ่งเป็น  ต้นเทียนพรรษา ประเภทแกะสลัก ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก  ต้นเทียนพรรษา ประเภทติดพิมพ์ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก และ  ต้นเทียนพรรษา ประเภทเทียนโบราณ ขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก รวมจำนวน 53 ต้น   โดยหน้าปะรำพิธีลานขวัญเมือง ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงานแห่ต้นเทียนพรรษาประจำปี 2566 โดยขบวนแรกเป็นการอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทาน และผ้าอาบน้ำฝนพระราชทาน ตามด้วยขบวนฟ้อนรำของนางรำประจำต้นเทียนทั้ง 53 ต้น และธิดาประจำงานเทียนพรรษาปีนี้   โดยต้นเทียนพรรษาที่นำมาแห่ไปรอบเมืองแบ่งเป็นต้นเทียนประเภทต้นเทียนแกะสลัก และต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ขนาดใหญ่ ยังมีต้นเทียนแบบโบราณ และต้นเทียนขนาดกลาง โดยจะมีการเคลื่อนขบวนสลับกันไปมา เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมความงามวิจิตรตระการตาของฝีมือช่างทำต้นเทียนพรรษาในแต่ละประเภทของจังหวัดอุบลราชธานี สำหรับการลงทุนทำต้นเทียนพรรษาปีนี้ ต้นเทียนขนาดใหญ่แต่ละต้นใช้เทียนมากกว่า 10 ตัน ด้วยงบลงทุนต้นละกว่า 1 ล้านบาท    ด้าน นายมงคล จุลทรรศน์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ปีนี้ถือว่าคึกคักเป็นอย่างมาก ประกอบกับเป็นช่วงวันหยุดยาวหลายวัน นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมาร่วมชมการแกะสลักต้นเทียนที่วัดต่างๆ ทั้งในตัวจังหวัดและต่างอำเภอไม่ขาดสาย โรงแรมห้องพักถูกจองเต็มทุกห้อง คาดตลอดการจัดงานแห่เทียนพรรษาปีนี้ น่าจะมีเงินไหลสะพัดจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท   อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์ ไทยรัฐ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่ Instagram : …

คึกคักหลาย ! งานแห่เทียนอุบลฯ  นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาชม  คาดเงินสะพัดกว่า 300 ล้าน อ่านเพิ่มเติม »

เช็กพิกัดงานบุญในอีสานกันเด้อจ้า  รวมที่จัดงานบุญ 2566 วันอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา 

เช็กพิกัดงานบุญในอีสานกันเด้อจ้า  รวมที่จัดงานบุญ 2566 วันอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา    วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาปีนี้ ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 และ วันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566 ตามลำดับ ครั้งนี้ถือว่าพิเศษมากกว่าปีไหนๆ เพราะเป็นช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่องกันถึง 6 วัน ในวันสำคัญทางพุทธศาสนานี้ ชาวพุทธนิยมเดินทางมาไหว้พระทำบุญ โดยเฉพาะการตักบาตร เวียนเทียน ถวายผ้าอาบน้ำฝน และชมริ้วขบวนแห่เทียนพรรษาแต่ด้วยวันหยุดยาวที่มีต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน ทำให้ทางผู้จัดงานเพิ่มกิจกรรมและขยายระยะเวลาในการจัดด้วยในบางพื้นที่ด้วย   วันอาสาฬหบูชา 2566 ประวัติความสำคัญ และกิจกรรมวันอาสาฬหบูชา ปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ 1 ส.ค.66 ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา หรือ เทศน์กัณฑ์แรก ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี หลังทรงตรัสรู้ได้ 2 เดือน    วันเข้าพรรษาแรก หรือปุริมพรรษา ปีนี้ตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม 2566 ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือถ้าหากปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง  โดยเป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น    เมื่อโอกาสมาอำนวยถึงขนาดนี้แล้ว ถ้าใครพอมีเวลาว่างอยากให้ไปร่วมงานบุญครั้งนี้กันดูสักครั้ง หรือเวียนเทียนออนไลน์ https://season.sanook.com/candlewalk/?fbclid=IwAR2dYq5vfsdt3ZGKykykQSYS70w6e0ep-uejm8w80aboIX8-BQ57JnqR0hM  เว็บไซต์ “สนุกสายบุญ เวียนเทียนออนไลน์” เว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถเข้าไปเลือกคาแรกเตอร์ ใส่ชื่อ เลือกวัดได้ เพื่อเอาไว้โพสต์ลงบนโซเชียลมีเดียได้อีกด้วย    อ้างอิงจาก: pptvhd36, tnnthailand, ฐานเศรษฐกิจ   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #วันอาสาฬหบูชา #วันเข้าพรรษา #นครราชสีมา #บุรีรัมย์ #อุบลราชธานี #เลย #แห่เทียนพรรษา

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง  โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริม อุตสาหกรรมเป้าหมาย รายจังหวัดในภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ?  

ISAN Insight & Outlook พามาเบิ่ง  โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริม อุตสาหกรรมเป้าหมาย รายจังหวัดในภาคอีสาน มีอิหยังแหน่ ?     อุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต โดยจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ First S-curve ซึ่งเป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ และ New S-curve ที่เป็นรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม 1)    อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive)   2)    อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)  3)    อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)   4)    การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)   5)    อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)   7 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ 1)    อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics)  2)    อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)   3)    อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)  4)    อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital)  5)    อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)  ซึ่งอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ในอีสานมีการขอส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติมากที่สุดอยู่ในกลุ่มการแพทย์ โดยเฉพาะการบริการเกี่ยวกับโรงพยาบาลและสถานพยาบาล   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ :  https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/July-2566.pdf    อ้างอิงจาก: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ISAN Insight & Outlook ประจำเดือนกรกฏาคม   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมอีสาน 

ราชาผลไม้ไทยในดินแดนอีสาน ทุเรียนอีสาน ความแตกต่างของแต่ละจังหวัดมีอิหยังแหน่ ?

ราชาผลไม้ไทยในดินแดนอีสาน ทุเรียนอีสาน ความแตกต่างของแต่ละจังหวัดมีอิหยังแหน่ ?   ทุเรียนได้รับฉายาว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้” (King of fruits) ด้วยรสชาติที่หวาน มัน และกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นที่ชื่นชอบของทั้งคนไทยและคนต่างชาติ (บางส่วน) หลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้ เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่จากพืชไร่หันมาเพาะปลูกพืชสวนกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะทุเรียนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง    ปัจจุบัน จังหวัดศรีสะเกษเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมีชื่อเสียง ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นการยกระดับมาตรฐานของสินค้า สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ผู้ค้า ในด้านของคุณภาพและความปลอดภัย มีบริเวณที่เพาะปลูกพื้นที่ภูเขาไฟ เป็นดินที่ผุพังมาจากหินบะซอลต์ มีธาตุอาหารชนิดต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อพืชปริมาณสูง   ปี 2564 มีเนื้อที่เพาะปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ 8,404 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 3,479 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 4,213 ตัน/ปี โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 1,220 ราย ด้านต้นทุนการผลิต เฉลี่ย 18,430 บาท/ไร่/ปี (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 5) เกษตรกรจะปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,200 กิโลกรัม/ไร่/ปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 204,000 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 185,570 บาท/ไร่/ปี ราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยอยู่ที่ 160 – 180 บาท/กิโลกรัม   “ทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” เป็นทุเรียนอีกหนึ่งอันที่ได้รับการการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้า GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์  เนื่องจากในพื้นที่ของปากช่อง มีชุดดินที่เป็นดินภูเขาของดงพญาเย็น ซึ่งมีลักษณะเป็นธาตุอาหารเฉพาะ ส่งเสริมให้การปลูกทุเรียน ประกอบกับในเรื่องของ โอโซนต่างๆ และน้ำ ทำให้เหมาะแก่การผลิตทุเรียนอีกด้วย   “ทุเรียนเสิงสาง” ตอบโจทย์ผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นทุเรียน มีการปลูกมานานเกือบ 10 ปี ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอเสิงสางที่มี ความอุดมสมบูรณ์ทั้งสภาพดิน อากาศ และน้ำ ทำให้ผลไม้พืชผัก ที่ปลูกในบริเวณพื้นที่แห่งนี้ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยเฉพาะทุเรียน มีพื้นที่ปลูกไม่ต่ำกว่า 3,000 ไร่ มีเอกลักษณ์โดดเด่นคือหวานมัน เนื้อละเอียดเป็นครีม และที่สำคัญคือกลิ่นไม่แรง   “ทุเรียนโอโซน” ต.บ้านไร่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ นั้นเน้นการรวมกลุ่มการผลิต และให้เกษตรกรเป็นผู้บริหารจัดการแบบครบวงจร ทั้งด้านการผลิต แปรรูปและการตลาด เพื่อให้ได้สินค้าเกษตรที่ให้ผลตอบแทนสูง และคุ้มค่า โดยในปี 2565 นี้อยู่ระหว่างการดำเนินการขอรับรองมาตรฐาน GAP ในนามเกษตรแปลงใหญ่   “ทุเรียนเมืองช้าง” …

ราชาผลไม้ไทยในดินแดนอีสาน ทุเรียนอีสาน ความแตกต่างของแต่ละจังหวัดมีอิหยังแหน่ ? อ่านเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนแปลงของจำนวนแรงงาน  แต่ละธุรกิจในอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?

การเปลี่ยนแปลงของจำนวนแรงงาน  แต่ละธุรกิจในอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ :  https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/July-2566.pdf    อ้างอิงจาก: สำนักงานสถิติแห่งชาติ บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ISAN Insight & Outlook ประจำเดือนกรกฏาคม   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #การว่างงาน #ว่างงานอีสาน #แรงงานอีสาน   

รางวัลแห่งปีคนอีสาน ครึ่งปีแรก ปี 2566  พามาเบิ่ง by E-Saan Poll ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รางวัลแห่งปีคนอีสาน ครึ่งปีแรก ปี 2566  พามาเบิ่ง by E-Saan Poll ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น   อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง “รางวัลแห่งปี ของคนอีสาน ปี 2566 ครึ่งปีแรก” การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานเกี่ยวกับบุคคล องค์กร และผลงานที่มีความโดดเด่นที่สุดแห่งปี ในสาขาต่างๆ 12 รางวัล โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14 – 16 กรกฎาคม 2566 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป จ านวน 1,055 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด การสำรวจนี้ จะให้ชาวอีสานเสนอชื่อ บุคคลหรือองค์กรหรือผลงานที่สมควรได้รับรางวัลแห่งปีใน สาขาต่างๆ 12 รางวัล (แบบปลายเปิดไม่มีตัวเลือกให้) ซึ่งจากการประมวลผล พบว่า คะแนนสูงสุด 4 อันดับแรก แต่ละรางวัล    1.) นักการเมืองแห่งปี  พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 36.8 แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 11.7 สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 4.8 ประยุทธ์ จันท์โอชา ร้อยละ 4.7 รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ 36.0 *ร้อยละ 6.0 เห็นว่ายังไม่มีผู้เหมาะสม    2.) บริษัท/หน่วยงาน/รัฐวิสาหกิจเพื่อสังคมแห่งปี บริษัท ปตท. ร้อยละ 11.1 มูลนิธิกระจกเงา ร้อยละ 8.3 เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ร้อยละ 6.4 ธนาคาร ธ.ก.ส. ร้อยละ 3.4 รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ 38.9 *ร้อยละ 31.9 เห็นว่ายังไม่มีผู้เหมาะสม   3.) นักเคลื่อนไหวเพื่อสังคมแห่งปีแห่งปี ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ร้อยละ 7.9 บุ๋ม ปนัดดา ร้อยละ 7.9 รังสิมันต์ โรม ร้อยละ 3.7 ช่อ พรรณิการ์ ร้อยละ 2.0 รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ …

รางวัลแห่งปีคนอีสาน ครึ่งปีแรก ปี 2566  พามาเบิ่ง by E-Saan Poll ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ่านเพิ่มเติม »

ไตรมาส 2 ปี 2566 การว่างงาน ในอีสานเป็นจั้งใด๋ ? เมื่อเทียบกับก่อน COVID-19

ไตรมาส 2 ปี 2566 การว่างงาน ในอีสานเป็นจั้งใด๋ ? เมื่อเทียบกับก่อน COVID-19   อัตราการว่างงานรายจังหวัดในภาคอีสาน Q2/2566 เทียบกับอัตราการว่างงานช่วงก่อน COVID-19 (Q2/2562) ตลาดแรงงานอีสานฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอัตราการว่างงานที่ต่ำกว่าก่อนช่วง COVID-19 อีกทั้งการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้การจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นตาม แต่จังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็กหลายจังหวัดยังมีอัตราการว่างงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภาคและการจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นชัดเจน ตามภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว เช่นเดียวกับจังหวัดเมืองหลักและจังหวัดติดริมแม่น้ำโขงที่ได้ผลดีจากการท่องเที่ยวเช่นกัน   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ที่ :  https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/July-2566.pdf    อ้างอิงจาก: สำนักงานสถิติแห่งชาติ บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ISAN Insight & Outlook ประจำเดือนกรกฏาคม   ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่  Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/  Website : https://isaninsight.kku.ac.th  Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC4Po8uZ4nMRHJCoORyg9PTw    #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #การว่างงาน #ว่างงานอีสาน #แรงงานอีสาน 

ถ่าเบิ่ง “ BEARHOUSE ” ชงชานมไข่มุกรุกอีสาน  ก่อนขึ้นเหนือลงใต้ปีหน้า เล็งบุกตลาดต่างประเทศ

ถ่าเบิ่ง “ BEARHOUSE ” ชงชานมไข่มุกรุกอีสาน  ก่อนขึ้นเหนือลงใต้ปีหน้า เล็งบุกตลาดต่างประเทศ   “แบร์เฮาส์” รุกหนักตลาดร้านชานมไข่มุก มองเป็นแบรนด์โซนบลูโอเชียน ปีนี้เปิดใหม่อีก 10 สาขา เน้นกทม. อีสาน ก่อนขึ้นเหนือลงใต้ปีหน้า เล็งบุกตลาดต่างประเทศ   นายอรรถกร รัตนารมย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้จัดการทั่วไป บริษัท 21 ซันแพสชั่น จำกัด ผู้บริหารร้านชานมไข่มุกแบร์เฮาส์ (BEARHOUSE) เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดชานมไข่มุกกลับกลายมาเป็นตลาดบลูโอเชียนอีกครั้ง (Blue Ocean) มีคู่แข่งน้อย หลังจากที่ผู้ประกอบการหลายรายได้เลิกไป รวมทั้งเริ่มหันไปสนใจลงทุนในเรื่องอาหารกันมากขึ้น โดยเฉพาะประเภท ชาบู หม่าล่า ปิ้งย่าง และลงทุนเปิดร้านกาแฟมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดชานมไข่มุกแข่งขันน้อยลง ไม่รุนแรงเหมือนในอดีต เมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา ที่เริ่มเป็นตลาดเรดโอเชียน (Red Ocean) และการแข่งขันมีความดุเดือดอย่างมาก   อย่างไรก็ตามในส่วนของบริษัทฯก็ยังคงเดินหน้าาขยายธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เปิดธุรกิจมาเมื่อปี 2562 หรือเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมากับมีการสาขาแรกคือที่สยามสแควร์ และพัฒนามาตลอดเวลา กระทั่งปัจจุบันมีร้านเปิดดำเนินการแล้วรวม 23 สาขา ในกรุงเทพและปริมณฑล และเปิดในต่างจังหวัดสาขาแรกที่นครราชสีมาเมื่อปี 2565   ทั้งนี้ปี 2566 นี้วางแผนที่จะขยายร้านเพิ่มอีก 10 สาขา เพื่อให้สิ้นปีนี้มีครบ 33 สาขาในไทย จากขณะนี้ 23 สาขาโดยดำเนินการเองทั้งหมดไม่มีการขายแฟรนไชส์แต่อย่างใด ยังคงเน้นไปที่ กรุงเทพฯ ปริมณฑลและภาคอีสานมากขึ้น เช่น นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี เน้นเปิดตามศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ มากกว่าเปิดแบบสแตนด์อโลน    ส่วนปีหน้าคาดว่าจะเริ่มขยายไปทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ และภาคใต้เช่น หาดใหญ่ นอกจากนั้นยังมีแผนที่จะขยายตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกันภายในปี 2568 ซึ่งเอยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะเป็นรูปแบบใดดี การขายลิขสิทธิ์แฟรนไชส์กับการหาผู้ร่วมทุน ส่วนแผนระยะยาว ตั้งเป้าเปิดร้านแบร์เฮาส์ให้ได้รวมในไทย 109 สาขา ภายในปี 2571 และมีแผนที่จะเข้าตลาดหุ้นด้วย เบื้องต้นมองไปที่ตลาด MAI ก่อน   ยอดขายที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2562 มีประมาณ 17 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมาเป็น 82 ล้านบาท ในปี 2563 และเพิ่มขึ้นเป็น 104 ล้านบาทในปี 2564 ส่วนปี 2565 ทำได้ 210 ล้านบาท ซึ่งเติบโตมากถึง 79% ซึ่งผู้บริหารทั้งสองยืนยันว่า เป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในตลาดร้านชาในไทย ซึ่งการเติบโตเป็นผลมาจากการที่ขยายสาขามากขึ้น …

ถ่าเบิ่ง “ BEARHOUSE ” ชงชานมไข่มุกรุกอีสาน  ก่อนขึ้นเหนือลงใต้ปีหน้า เล็งบุกตลาดต่างประเทศ อ่านเพิ่มเติม »

Scroll to Top