Siree Jamsuwan

พามาเบิ่ง สถิติสงกรานต์ในยุค COVID-19 ปี 2564

พามาเบิ่ง สถิติสงกรานต์ในยุค COVID-19 ปี 2564   สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “สงกรานต์ในยุคโควิด-19” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,324 คน สำรวจวันที่ 3 – 9 เมษายน 2564  จากผลสำรวจพบว่า ถึงแม้จะมีโควิด-19 แต่วันสงกรานต์ยังเป็นเทศกาลที่ประชาชนให้ความสำคัญและใช้เวลากับครอบครัว สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เนื่องจากเป็นวัฒนธรรมประเพณีไทยที่ยึดถือปฏิบัติกันมายาวนาน โดยในปีนี้ถึงแม้มีวันหยุดหลายวัน แต่ประชาชนก็คาดการณ์ว่าจะใช้จ่ายไม่มากนัก เพราะยังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ และยังมีความไม่แน่นอนจากสภาวการณ์โควิด-19 ดังนั้น ภาครัฐจึงควรเร่งบริหารงานด้านสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนมั่นใจ กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว    ดร.วรานี เวสสุนทรเทพ รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตสุพรรณบุรี  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า เทศกาลสงกรานต์ในปี 2564 นี้ คนไทยก็ยังต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 อยู่ เพราะตัวเลขของผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น โดยภาพรวมของเทศกาลสงกรานต์ในปีนี้ประชาชนยังคงเดินทางกลับภูมิลำเนา เนื่องจากปีที่แล้วถูกงด และรัฐบาลไม่ได้ประกาศ Lock Down ซึ่งอาจช่วยให้เศรษฐกิจในช่วงเทศกาลนี้หมุนเวียนขึ้นมาบ้าง  ในส่วนของการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ยังคงมีการทำบุญที่วัด สรงน้ำพระ แต่ละวัดต้องมีมาตรการโควิด-19 อย่างเข้มงวด เว้นระยะห่าง ล้างมือ และอีกหลายๆ มาตรการ การสืบทอดและฉายภาพของวัฒนธรรมไทยมีการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ทำบุญที่วัดใกล้บ้าน การจัดนิทรรศการประเพณีสงกรานต์ และหน่วยงานภาคเอกชน เช่น ห้างสรรพสินค้าได้มีการจัดกิจกรรมที่จะฉายภาพประเพณีของแต่ละท้องถิ่นให้คนเข้าชม และที่สำคัญประชาชนนิยมใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น ในการรดน้ำอวยพรทั้งทางไลน์ เฟซบุ๊ก วันหยุดยาวนี้จึงเชื่อได้ว่าจะนำพาความสุขและกลิ่นอายของความสดชื่นจากเทศกาลสงกรานต์อย่างแน่นอน   อ้างอิงจาก : สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #สงกรานต์ในยุคโควิด-19 #สวนดุสิตโพล #SongkranFestival2023 #Songkran2023 #สงกรานต์2566 #เล่นน้ำสงกรานต์2566   

สงกรานต์ 2566 เล่นน้ำหม่องใด๋ดี ?  10 จุดใหญ่ ทั่วอีสานใกล้หม่องใด๋ ไปหม่องนั่น

สงกรานต์ 2566 เล่นน้ำหม่องใด๋ดี ?  10 จุดใหญ่ ทั่วอีสานใกล้หม่องใด๋ ไปหม่องนั่น   ประเพณีสงกรานต์ หนึ่งในประเพณีของประเทศไทยที่สืบทอด และมีประวัติมาอย่างยาวนาน เนื่องจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยตั้งแต่โบราณ ทำให้ประเพณีสงกรานต์นี้อบอวลไปด้วยมนต์เสน่ห์มากมาย สงกรานต์ หมายถึง การก้าวผ่าน และเปลี่ยนผ่าน ทำให้วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยที่มีมาก่อนวันปีใหม่ในช่วงคริสต์ศักราช ประเพณีสงกรานต์มีกิจกรรมที่รู้จักทั่วโลก คือ การเล่นสาดน้ำคลายร้อน นอกจากประเทศไทยแล้วประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า กัมพูชา ก็มีประเพณีวันสงกรานต์เช่นเดียวกัน     วันนี้ ISAN Insight จะพามาเบิ่ง 10 จุดเล่นในภาคอีสานดังนี้  งานสุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูน เสียงแคน และถนนข้าวเหนียว สถานที่ : ถนนข้าวเหนียว จังหวัดขอนแก่น วันที่ : 8-15 เมษายน 2566 ณ บึงแก่นนคร และถนนศรีจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น – ชมการประกวดเกวียนบุปผชาติ, ร่วมพิธีรดน้ำผู้สูงอายุ, กิจกรรมสงกรานต์ถนนข้าวเหนียว (บริเวณถนนศรีจันทร์) และชมการสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP Elephant Songkran Festival จังหวัดสุรินทร์ สถานที่ : คชอาณาจักร (สวนสัตว์จังหวัดสุรินทร์) อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ วันที่ : 10-17 เมษายน 2566 เล่นสงกรานต์กับช้างที่คชอาณาจักร (สวนสัตว์จังหวัดสุรินทร์) อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ – สาดน้ำกับเหล่าบรรดาน้องช้างแสนรู้กว่า 50 เชือก ตลอด 7 วัน 7 คืน งานมหาสงกรานต์อีสาน – หนองคาย สถานที่ : ณ วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย วันที่ : 12-17 เมษายน 2566 งานมหาสงกรานต์อีสาน จังหวัดหนองคาย ทำบุญตักบาตร พิธีอัญเชิญองค์หลวงพ่อพระใสประดิษฐานบนราชรถแห่งรอบอุโบสถแห่รอบเมืองหนองคาย ประเพณีสงกรานต์เมืองร้อยเอ็ด สถานที่ : ณ บึงพลาญชัยและสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ : 13-15 เมษายน 2566 ประเพณีสงกรานต์เมืองร้อยเอ็ดจัด ณ บึงพลาญชัยและสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด ปล่อยปลา ทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลรับปีใหม่ไทย ทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในจังหวัด เพื่อเป็นสิริมงคลตลอดปีใหม่ไทย สงกรานต์บุรีรัมย์ 2566 สถานที่ …

สงกรานต์ 2566 เล่นน้ำหม่องใด๋ดี ?  10 จุดใหญ่ ทั่วอีสานใกล้หม่องใด๋ ไปหม่องนั่น อ่านเพิ่มเติม »

เงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 ภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ? 

เงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2566 ภาคอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?    ดัชนีราคาผู้บริโภค  เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการ  โดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไป   สำหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนมีนาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 2.75% (YoY) เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้าในภาพรวมทั้งประเทศ พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) กับข้าวสำเร็จรูป ไก่สด และมะนาว สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ เนื้อสุกร น้ำมันพืช น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น   แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากราคาสินค้าสำคัญหลายรายการมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเงินเฟ้อ ประกอบกับฐานราคาปี 2565 อยู่ระดับสูง และมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของ ภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การส่งออกของไทยที่ชะลอตัว และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อาจจะส่งผลให้กำลังซื้อของภาคธุรกิจและประชาชนลดลง ซึ่งมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัว  อย่างไรก็ตาม ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มที่ยังอยู่ระดับสูง รวมทั้งการขาดแคลนแรงงานยังคงเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นทุนอยู่ระดับสูง นอกจากนี้ เศรษฐกิจของไทยที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทศกาลสงกรานต์ วันหยุดยาว และ การหาเสียงของพรรคการเมือง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น และจะส่งผลต่ออุปสงค์โดยรวม ราคาสินค้าและบริการ ตามลำดับซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันจากระหว่างร้อยละ 2.0 –3.0 (ค่ากลาง 2.5) เป็นระหว่างร้อยละ 1.7 – 2.7 (ค่ากลาง 2.2) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง   อ้างอิงจาก : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #เงินเฟ้อ #เงินเฟ้ออีสาน #ดัชนีราคาผู้บริโภค 

พามาเบิ่ง ค่าใช้จ่ายครัวเรือนหลายปานใด๋ ? (เดือนมีนาคม 2566)

พามาเบิ่ง ค่าใช้จ่ายครัวเรือนหลายปานใด๋ ? (เดือนมีนาคม 2566)   อ้างอิงจาก : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #เงินเฟ้อ #เงินเฟ้ออีสาน #ดัชนีราคาผู้บริโภค #ค่าใช้จ่ายครัวเรือน

โครงการ U2T ภาคอีสาน ผลลัพธ์เป็นจั้งใด๋ ? 

โครงการ U2T ภาคอีสาน ผลลัพธ์เป็นจั้งใด๋ ?  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมมือกับ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Science Park ,คลินิกเทคโนโลยี ผู้ผลิตสินค้าระดับโอทอป (OTOP) และ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนรูปแบบต่างๆ จนได้ผลผลิตภูมิปัญญาชุมชน ต่อยอดเป็นสินค้าที่จัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภคได้ทั้งในและต่างประเทศ ช่วยกระจายความรู้ ลดปัญหาการว่างงาน โดยมีผลลัพธ์ของภาคอีสานดังภาพและ อีกทั้งยังมีผลผลิตของโครงการโดยแบ่งได้ดังนี้ . ผลผลิตของโครงการ U2T เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ที่ส่งผลต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของตำบลเป้าหมาย   เกิดการจ้างงานที่ตอบสนองต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ โดยในระยะแรกดำเนินการใน 3,000 ตำบลมีการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา ตามความเหมาะสมของแต่ละตำบล รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 60,000 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 2.1 ส่วนการปฏิบัติงานตามภารกิจในภาพรวม คือ การวิเคราะห์ข้อมูล วางแผนและตัดสินใจ เพื่อจัดทำนโยบาย แนวทาง และงบประมาณสนับสนุน (เป็นการจัดการข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บข้อมูลของโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการของกระทรวงมหาดไทย) การเฝ้าระวัง ประสานงานและติดตามข้อมูลสถานการณ์การระบาดของ COVID และโรคระบาดใหม่ การเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง การส่งต่อการรักษา การประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูลข่าวสาร การปรับสภาพแวดล้อม ระบบรายงานสถานการณ์การระบาดของโรค (การสอบสวนโลก การคัดกรอง จัดระดับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัย กลุ่มสัมผัส การวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มการระบาดในพื้นที่) โดยร่วมกับ ศบค. และการจัดทำข้อมูลราชการในพื้นที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Digitalizing Government Data) ร่วมกับ กพร. 2.2 ส่วนการปฏิบัติงานตามกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลของมหาวิทยาลัย รวมถึงเกิดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่างๆ รายตำบลตามโจทย์ปัญหาต่างๆของแต่ละตำบล ได้แก่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับ การท่องเที่ยว) การนาองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน)   เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน.สอวช. สนับสนุนแนวทางส่งเสริมและผลักดันการพลิกโฉมการอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาปรับเปลี่ยนบทบาทให้ตอบโจทย์ทั้งการพัฒนากำลังคน การวิจัย นวัตกรรม ที่สอดคล้องกับบริบทประเทศและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และวิถีชีวิตของประชาชน โดยมุ่งหวังว่าชุมชนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ของประเทศจะมีขีดความสามารถ เข้มแข็ง ต่อยอดธุรกิจ และสามารถบริหารจัดการตนเองได้ ด้วยการนำศักยภาพด้านการอุดมศึกษาเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง อ้างอิงจาก:  สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ …

โครงการ U2T ภาคอีสาน ผลลัพธ์เป็นจั้งใด๋ ?  อ่านเพิ่มเติม »

มาฮู้จัก โครงการ U2T  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล  สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน

มาฮู้จัก โครงการ U2T  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล  สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน   โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล โครงการดีๆ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่จะช่วยสร้างรากแก้วให้ประเทศ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ มหาวิทยาลัยได้สามารถใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาประเทศ  ในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะนำโจทย์หรือปัญหาของประเทศ มาสู่การพัฒนาศักยภาพกำลังคน พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศ   โดยในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยในพื้นที่จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลักๆ คือ มหาวิทยาลัยจะทำหน้าที่หน่วยงานบูรณาการโครงการ (System Integrator) รายตำบล โดยใน 1 ตำบล จะมี 1 มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ดูแล มหาวิทยาลัยดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน เช่น การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ตามรูปแบบกิจกรรมที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยจ้างงานในการดำเนินโครงการของหน่วยงานต่างๆ ในตำบลที่ทำหน้าที่ดูแล โดยจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่และนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 20 คนในแต่ละตำบล มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ประสานงานและทำงานร่วมกับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการโครงการภายในพื้นที่ มหาวิทยาลัยทำหน้าที่บูรณาการและสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่ไปดำเนินการโครงการภายในตำบล ในด้านองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนรายตำบล (Community Big Data) เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน    อ้างอิงจาก:  สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #U2T #โครงการU2T #สอวช

ภาวะเศรษฐกิจอีสาน 2566 เป็นจั้งใด๋ ? มาหาคำตอบกับ E-Saan Poll

ภาวะเศรษฐกิจอีสาน 2566 เป็นจั้งใด๋ ? มาหาคำตอบกับ E-Saan Poll   อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (E-Saan Center for Business and Economic Research – ECBER) โดย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง “ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนอีสาน ไตรมาส 1/2566 และคาดการณ์ไตรมาส 2/2566” รศ. ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือน เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนด้านต่างๆ และคำนวณดัชนีภาวะเศรษฐกิจอีสานในไตรมาส 1/2566 และคาดการณ์ไตรมาส 2/2566 พร้อมประเมินผลงานรัฐบาลด้านเศรษฐกิจและภาพรวม ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 มีนาคม -2 เมษายน 2566 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ18 ปีขึ้นไป 1,106 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด   เมื่อสอบถามเกี่ยวกับ รายได้และทรัพย์สินครัวเรือน โอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ การหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและชำระหนี้และการซื้อของมูลค่าสูง และทำการประมวลผลได้ดัชนีต่างๆ ซึ่งค่า ดัชนีมีค่าระหว่าง 0 – 100 หากดัชนีอยู่ที่ ระหว่าง 0 – 19.9   คือ แย่มาก ระหว่าง 20 – 39.9 คือ แย่  ระหว่าง 40 – 59.9 คือ ปานกลาง/พอใช้  ระหว่าง 60 – 79.9 คือ ดี  และ ระหว่าง 80 – 100 คือ ดีมาก   1) ดัชนีรายได้และทรัพย์สินครัวเรือนไตรมาส 1/2566 เท่ากับ 33.8 = รายได้และทรัพย์สินครัวเรือนอีสาน อยู่ในระดับแย่และใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนซึ่งมีค่าดัชนี 33.6  2) ดัชนีโอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ไตรมาส 1/2566 เท่ากับ 31.8 = โอกาสหางานใหม่หรือเริ่มธุรกิจใหม่ในอีสาน อยู่ในระดับแย่และแย่กว่าไตรมาสก่อนซึ่งมี ค่าดัชนี 32.3  3) ดัชนีการหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและช าระหนี้ไตรมาส 1/2566 เท่ากับ 35.1 = การหมุนเงินเพื่อใช้จ่ายและชำระหนี้ของครัวเรือนอีสาน อยู่ในระดับแย่แต่ดีขึ้นกว่าไตร มาสก่อนซึ่งมีค่าดัชนี 32.9  4) ดัชนีการซื้อของมูลค่าสูงไตรมาส …

ภาวะเศรษฐกิจอีสาน 2566 เป็นจั้งใด๋ ? มาหาคำตอบกับ E-Saan Poll อ่านเพิ่มเติม »

ม่วนหลาย ! ททท. ชวนเซิ้ง Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE  กระตุ้นการท่องเที่ยว 

ม่วนหลาย ! ททท. ชวนเซิ้ง Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE  กระตุ้นการท่องเที่ยว    นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน ” Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE ” เชิญชวนคนไทยออกเดินทางไปสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ ร่วมสนุกกับ Concert หมอลำเสียงอีสาน นำทัพโดย แม่นกน้อยเสียงอีสาน ณ วัดป่าอาเจียง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์   จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ณ ปัจจุบันเริ่มคลี่คลายลง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศให้มากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นที่ต้องยกระดับภาพลักษณ์มาตรฐานสินค้าและการบริการทางการท่องเที่ยว เพิ่มแรงส่งให้คุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวเป็นที่ประจักษ์ยิ่งขึ้นต่อสายตานักท่องเที่ยว   การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ท็อปไลน์ มิวสิค จำกัด จัดงาน ” Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE ” เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากสร้างความเชื่อมั่นความเข้มแข็งยั่งยืนกับการท่องเที่ยวในภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยการสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการเดินทางการเดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัด ผลักดันให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานประกอบการในภาคอีสาน ใน 10 พื้นที่จัดงานในภาคอีสาน เพื่อให้นักท่องเที่ยวออกเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    หลังจากสถานการณ์ COVID 19 ให้เกิดการใช้จ่ายกระจายรายได้ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยร่วมจัดงานใน 10 พื้นที่จัดงานในภาคอีสานดังนี้ ครั้งที่ 1 จัดงานในวันที่ 11 มีนาคม 2566 ณ วัดป่าอาเจียง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ครั้งที่ 2 จัดงานในวันที่ 12 มีนาคม 2566 ณ บ้านละทาย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ครั้งที่ 3 จัดงานในวันที่ 16 มีนาคม 2566 ณ โรงเรียนบ้านหนองเขื่อนช้าง ต.ท่าสองคอน อ.เมือง จ.มหาสารคาม ครั้งที่ 4 จัดงานในวันที่ 9 เมษายน 2566 ณ บึงโขงหลง ต.บึงโขงหลง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ ครั้งที่ 5 จัดงานในวันที่ 10 …

ม่วนหลาย ! ททท. ชวนเซิ้ง Concert หมอลำเสียงอีสาน X ISAN IN LOVE  กระตุ้นการท่องเที่ยว  อ่านเพิ่มเติม »

สายมู มาทางนี้ พามาเบิ่งการท่องเที่ยวสายมูในอีสาน

สายมู มาทางนี้ พามาเบิ่งการท่องเที่ยวสายมูในอีสาน   ความเชื่อเป็นอีกปัจจัยที่จะสร้างรายได้สำหรับภาคการท่องเที่ยวของอีสานให้เพิ่มขึ้น โดยอีสานสะท้อนความพร้อมด้านการท่องเที่ยวสายมู ทั้งในรูปของสถานที่ท่องเที่ยว และเส้นทางในการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวสายมูส่วนใหญ่ในอีสานอยู่ติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของวัดกับโบราณสถานเป็นหลัก แต่หนึ่งในรูปแบบสถานที่ท่องเที่ยวที่กำลังเป็นที่นิยมในอีสาน คือ พญานาค ที่มีการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างชัดเจน อีกทั้งภาพรวมค่าใช้จ่ายด้านความเชื่อ มีมูลค่ารวมกว่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งหากอีสานสามารถจูงใจให้กิจกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่ จะสร้างกิจกรรมเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจน  ความเชื่อ ทั้งด้านสายมูรวมถึงความนับถือในด้านสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างรายได้เฉลี่ยรวมประเทศกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีเงินบริจาคเฉลี่ยรวมประเทศอีกกว่า 35,000 ล้านบาทต่อปี  ซึ่งหากอีสานสามารถใช้จุดแข็งด้านสายมูของพื้นที่ในการดึงดูดผู้เยี่ยมเยือนสายมูมาในพื้นที่ได้ จะสร้างรายได้ภาคการท่องเที่ยวของอีสานให้ปรับดีขึ้นอีกด้วย   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติม: https://isaninsight.kku.ac.th/wp-content/uploads/2023/03/ISAN-INSIGHT-Q1-2566.pdf    อ้างอิงจาก:  กรมอุทยานแห่งชาติ  กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานสถิติแห่งชาติและกรมการปกครอง   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #อีสานตอนบน #จำนวนวัด #สายมู

สถานการณ์ แรงงานย้ายถิ่นในอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?

สถานการณ์ แรงงานย้ายถิ่นในอีสาน เป็นจั้งใด๋ ?   การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภาพรวม ส่งผลให้ความต้องการแรงงานเพิ่มสูงขึ้น แต่อีสานก็กำลังเผชิญปัญหาแรงงานไหลออก สะท้อนจากกำลังแรงงานที่ลดลง แรงงานอีสานที่ย้ายถิ่นสู่ภูมิภาคอื่น ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีทักษะ และอยู่ในกลุ่มภาคการค้า รวมถึงภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ตามการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจ ความต้องการแรงงานใหม่ของอีสานคิดเป็นประมาณ 11% ของทั้งประเทศเท่านั้น ทำให้แรงงานอีสานเริ่มไหลสู่ภูมิภาคอื่นที่มีความต้องการแรงงานมากกว่า ด้านภาคการค้าและภาคการท่องเที่ยว เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น จากกำลังซื้อของนักท่องเที่ยวที่หยุดชะงักมานาน ส่งผลให้เกิดความความต้องการแรงงานที่มีทักษะที่มากขึ้น การที่แรงงานไหลจากอีสาน อาจทำให้อีสานเกิดปัญหาขาดแรงงานที่มีทักษะในอนาคต และผู้ประกอบการต้องแย่งชิงในการจ้างงานมากขึ้น   อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติม: https://isaninsight.kku.ac.th/…/ISAN-INSIGHT-Q1-2566.pdf    อ้างอิงจาก:  สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมการจัดหางาน   #ISANInsightAndOutlook #อีสาน #อีสานอินไซต์ #หางาน #แรงงานย้ายถิ่น #แรงงาน