พาส่องเบิ่ง
“จิ้งหรีด” โปรตีนทางเลือกในอนาคตที่สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจในภาคอีสาน แต่ละจังหวัดเป็นจังใด๋แหน่
ความมั่นคงทางอาหารและความนิยมในกลุ่มอาหารแห่งอนาคต (Future food) สามารถสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการในภาคอีสาน ความต้องการอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับประสิทธิภาพการผลิตอาหารที่เริ่มชะลอตัวลงซึ่งกำลังกระทบกับความสามารถในการเข้าถึงอาหาร รวมถึงความมั่นคงทางอาหารในแต่ละประเทศ
ซึ่งโปรตีนจากแมลงมีการเติบโตมากที่สุดในกลุ่มโปรตีนทางเลือกต่างๆ และมีการขยายตัวของมูลค่าตลาด และผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
โดยโปรตีนทางเลือกที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด คือ โปรตีนจากแมลง และควบคู่ด้วยเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง แต่การเพาะเลี้ยงแมลงที่ข้อได้เปรียบชัดเจน คือไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี หรือ R&D ในการผลิตที่สูง รวมถึงการที่ตลาดมีการขยายและรองรับการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ โปรตีนจากแมลงจึงเป็นอุตสาหกรรมที่เหมาะสมที่จะเข้ามาเป็นอุตสาหกรรมอาหารในอนาคตที่สุด
การเพาะเลี้ยงแมลงมีความต้องการในการใช้ทรัพยากรการผลิตที่น้อย รวมถึงยังมีการปล่อยก๊าซเรือน กระจกในระดับที่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตโคเนื้อ ประกอบกับสินค้าแปรรูปของแมลง เช่น ผงจิ้งหรีด เป็นสินค้าจําพวกโปรตีนที่มีมูลค่าสูง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก ซึ่งที่ตั้งของไทยยังสะท้อนจุดแข็งในการเป็นฐานผลิตอุตสาหกรรมแมลง จากการที่เป็นแหล่งอาศัยของแมลงหลายชนิด และอยู่ใกล้กับตลาดผู้บริโภค แมลงที่กระจุกตัวในเอเชียตะวันออก โดยสินค้าแปรรูปของแมลง จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าวัตถุดิบพิเศษสําหรับการประกอบอาหาร ซึ่งจะเป็นกลุ่มอาหารโปรจีนที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงขึ้น
อีสานเป็นแหล่งที่เหมาะสมในการเป็นฐานผลิตแมลง ทั้งจากปัจจัยด้านสถานที่ตั้ง สภาพอากาศ รวมถึง ด้านต้นทุนที่อยู่ในจุดที่เหมาะสมกับภูมิภาคอื่นสถานที่ตั้งและสภาพอากาศของไทย โดยเฉพาะภาคอีสานเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงกินได้ รวมถึงเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหลักกว่า 80% ของประเทศ อีกปัจจัยที่สนับสนุนโดยภาคอีสานมีฟาร์มจิ้งหรีดจำนวนมากที่สุด เป็นเพราะการใช้กากการของมันสำปะหลังที่สามารถทดแทนอาหารเพาะเลี้ยงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นวิธีการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก
อีสานยังเผชิญความท้าทายในอุตสาหกรรมแมลงอยู่ 2 ประเด็นหลัก คือ การที่ผลิตภัณฑ์ยังออกมาในรูปของสินค้าขั้นต้น ยังงขาดการแปรรูป และการบริโภคแมลงยังไม่เป็นที่แพร่หลาย
ผลิตภัณฑ์จากแมลงในปัจจุบันของไทย ยังอยู่ในรูปของสินค้าขั้นต้นเป็นหลัก เช่น แมลงแช่แข็ง และแมลงทอด ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้น้อย โดยการยกระดับอุตสาหกรรมแมลง ควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถสร้างมูลเพิ่มได้มากขึ้น เช่น การแปรรูปเป็นผงหรือสารสกัดจากแมลง
ข้อจํากัดหลักของตลาดอาหารจากแมลง คือ การขยายตัวของเขตเมือง ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของสังคมเมืองกระทบกับการรับรู้และความคุ้นเคยในการบริโภคแมลง และทำให้ความต้องการบริโภคแมลงลดลง แต่เมื่อเปรียบเทียบอีสานกับภูมิภาคอื่น อีสานมีการขยายตัวของเขตเมืองที่ช้ากว่า ซึ่งสะท้อนความเหมาะสมในการเป็นแหล่งเพาะเลี้ยง ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากแมลง
อ้างอิงจาก:
ติดตาม ISAN Insight & Outlook ได้ที่
Instagram : https://www.instagram.com/isan.insight.and.outlook/
Website : https://isaninsight.kku.ac.th
Youtube : https://youtube.com/@ISANInsightOutlook
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #ผลิตภัณฑ์จากแมลง #แมลงแช่แข็ง #แมลงทอด #อาหารแห่งอนาคต #โปรตีนจากแมลง #อุตสาหกรรมแมลง